
LATEST
กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า
“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]
รณรงค์หยุด Bully ผ่านสติกเกอร์ Line ฝีมือนักเรียนญี่ปุ่นในโยโกฮาม่า
สมาคมผู้ปกครองและครู (PTA) ประจำโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นผุดไอเดียเด็ด สร้างสรรค์สติกเกอร์ในธีมหยุดการบุลลี่ลงบนแอปพลิเคชันแชตยอดฮิตอย่าง Line สติกเกอร์นี้มาจากภาพประกอบฝีมือนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษายามาอุจิ (Yamauchi) ในเขตอาโอบะ เมืองโยโกฮาม่า โดยแนบถ้อยคำให้กำลังใจเด็กๆ ไว้ในภาพ ซึ่ง Seijun Sato อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหวังว่าคนที่ได้ใช้สติกเกอร์เหล่านี้จะได้รับความรู้สึกอบอุ่นหัวใจ สติกเกอร์ที่ว่ามีทั้งหมด 178 รูปแบบ ประกอบไปด้วยวลีภาษาญี่ปุ่นต่างๆ อาทิ ขอบคุณ, คุณทำได้ดีมาก และ ฉันอยู่ข้างคุณเสมอนะ โดยวางเคียงกับเจ้าการ์ตูนมาสคอตของโรงเรียนที่มีชื่อว่า ‘คีย์ลีฟ (Keyaleaf)’ สติกเกอร์ชุดดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกับนักวาดภาพประกอบชื่อ ‘โดคุคิโนโกะ (Dokukinoko)’ ซึ่งลูกสาวของนักวาดภาพคนนี้ ก็เข้าเรียนในโรงเรียนประถมฯ เช่นกัน เธอทำสติกเกอร์คีย์ลีฟกับ PTA ในปี 2019 และเปิดตัวโปรเจกต์อื่นๆ เพื่อทำสติกเกอร์จากภาพที่เด็กนักเรียนวาดในปี 2020 ซึ่งทำให้ได้รับภาพวาดทั้งหมดมาจากเด็กๆ จำนวนประมาณ 100 คน เมื่อเดือนมกราคม 2021 โดคุคิโนโกะยังได้รับรางวัลสูงสุด ประเภทภาพวาดประกอบจากเวที ‘yuru-chara’ โดยศิลปินเข้าร่วมประกวดในธีมป้องกันการฆ่าตัวตายเพราะการถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งรางวัลนี้จัดขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรในโตเกียว ต่อมาในเดือนมิถุนายน ระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน โดคุคิโนโกะได้แนะนำให้มีการทำสติกเกอร์ไลน์เพื่อป้องกันการบุลลี่ขึ้นมา […]
กระแสรักษ์โลกมาแรง แบรนด์ชั้นนำของโลกใช้วัสดุชีวภาพ ผลิตสินค้ามากขึ้นสองเท่าในปี 2021
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วัสดุชีวภาพเคยเป็นสินค้าสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่ในปี 2021 วัสดุจากธรรมชาติได้กลายเป็นสินค้ากระแสหลักและถูกใช้ในวงกว้างมากขึ้น หลังจากบรรดาสถาปนิก นักออกแบบ และผู้ผลิตเลือกใช้วัสดุประเภทนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับสร้างเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ เรจินา โปลันโก (Regina Polanco) ผู้ก่อตั้ง Pyratex บริษัทผลิตสิ่งทอจากธรรมชาติสัญชาติสเปน เปิดเผยว่า ยอดขายวัสดุชีวภาพของบริษัทในปี 2021 เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า เมื่อเทียบกับยอดขายในปี 2020 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ลูกค้าที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายต้องการใช้วัสดุจากธรรมชาติในการผลิตสินค้าของตัวเองมากขึ้น โดยแบรนด์ที่ใช้ผ้าของ Pyratex ได้แก่ ASICS, Camper, PANGAIA และ Pepe Jeans เป็นต้น ด้านแจด ฟิงก์ (Jad Finck) รองประธานฝ่ายนวัตกรรมและความยั่งยืนแห่ง Allbirds บริษัทผลิตรองเท้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็ยอมรับว่า ความสนใจในการใช้วัสดุชีวภาพเกิดขึ้นมากมายในปี 2021 โดยทาง Allbirds ได้พัฒนาพลาสติกชีวภาพจากอ้อยสำหรับผลิตรองเท้าผ้าใบให้แก่หลายบริษัท เช่น Reebok และ Timberland โดยฟิงก์อธิบายว่า พืชและสิ่งมีชีวิตอย่างเช่นสาหร่ายและเชื้อรา สามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศได้ เพราะพวกมันดึงก๊าซชนิดนี้จากอากาศและเก็บไว้ในเซลล์ของตัวเอง มากกว่าที่จะผลิตและปล่อยก๊าซออกไป นอกจากนั้น […]
‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี
ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]
Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน
Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’ สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]
E-waste ภัยร้ายใกล้ตัวจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว
โทรศัพท์เครื่องเก่าของคุณ คุณเก็บ หรือ คุณทิ้ง? หลายคนไม่กล้าทิ้งมือถือเนื่องจากกลัวว่าข้อมูลที่เป็นความลับของเราจะหลุดรั่วออกไปสู่สาธารณชน ทำให้ทุกคนยังเก็บมือถือไว้ในลิ้นชักในบ้านของคุณเอง กลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็กๆ ที่เก็บอยู่ในบ้าน ไม่ใช่แค่โทรศัพท์ แต่รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพแล้วเราจะเรียกมันว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ วันนี้ Urban Creature ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ E-waste ภัยร้ายใกล้ตัวจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว ทั้งผลเสียต่อสุขภาพ และผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เราจะทำอย่างไรกับมันได้บ้างในวันที่มันกลายเป็นขยะ ตามมาดูจากคลิปนี้เลย! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #ขยะอิเล็กทรอนิกส์ #City #ขยะ2022 #โลกร้อน
‘Memories for Forgetfulness Elsewhere’ เทศกาลภาพยนตร์ที่ชวนสำรวจมายาคติ ‘ตะวันออกกลาง’
‘Memories for Forgetfulness Elsewhere’ เทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์ที่ชวนทำลายมายาคติของ ‘ตะวันออกกลาง’
พบทางเท้าพัง เจอถนนเป็นหลุม ฯลฯ แจ้งผ่านไลน์ @traffyfondue พร้อมส่งปัญหาไปถึงผู้รับผิดชอบโดยตรง
ทางเท้าพัง ถนนเป็นหลุม ไฟข้ามถนนไม่ทำงาน ป้ายบังทางเดิน ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือสารพัดปัญหาเมืองที่คนไทยน่าจะประสบมาแล้วไม่มากก็น้อย และในขณะเดียวกัน Urban Creature เชื่อว่าคงมีหลายคนที่อยากแจ้งปัญหาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาปรับปรุงแก้ไข แต่อุปสรรคใหญ่คือเรามักไม่รู้ว่าต้องแจ้งใคร และจะรู้ได้ยังไงว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว เพราะอยากให้ประชาชนกับหน่วยงานต่างๆ ร่วมมือทำงานพัฒนาเมืองไปด้วยกันอย่างสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จึงคิดค้น Traffy* Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์/ท่านพี่ฟ้องดู) แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมืองด้วยการใช้ระบบแจ้งและบริหารจัดการด้วย AI Chatbot หลักการใช้งานของ Traffy* Fondue คือการให้หน่วยงานต่างๆ เช่น อบต. เทศบาล อาคารสำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดที่มีระบบรับแจ้งปัญหาอยู่แล้ว นำแพลตฟอร์มนี้มาใช้เพิ่มช่องทางใหม่ในการรับแจ้งและจัดการปัญหาที่พบผ่าน LINE Chatbot แบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ และยกระดับการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Citizen Engagement) และผู้เกี่ยวข้องได้ทุกพื้นที่และทุกเวลา นอกจากอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้หน่วยงาน ฟากประชาชนเองก็สามารถมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลเมืองได้ง่ายๆ แค่แจ้งปัญหาเมืองที่พบผ่าน LINE ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เราพบทั่วไปอย่างทางเท้าพัง ป้ายหาเสียงนักการเมืองบังทางเดิน ไฟถนนไม่ส่องสว่าง ไปจนถึงการแจ้งซ่อมในอาคารสำนักงาน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ สาธารณภัย เป็นต้น จากนั้นระบบ AI […]
สุนัขชุมชน ตลาดแม่กลอง โมเดลที่บอกว่าหมาจรจัดไม่ใช่ภาระ และอยู่ร่วมกับสังคมได้
ยามเย็นของตลาดแม่กลอง ตลาดติดทางรถไฟหุบร่มไปเรียบร้อย คุณแม่แวะมาหิ้วมื้อเย็นไปฝากครอบครัว เด็กนักเรียนถือไม้ลูกชิ้นทอดแกล้มกับน้ำอัดลม ชายหนุ่มวัยเก๋าฝังตัวอยู่ในบาร์เบอร์ที่น่าจะใช้บริการกันมาแต่นานนม หมาปลอกคอเขียวใส่เสื้อกั๊กสีส้มกระโดดขึ้นมอ’ไซค์วินอย่างคุ้นเคย เจ้าตัวอวบอ้วนสีดำไม่สนิทคาบตะกร้าเดินตามคนรู้ใจ ประชากรสี่ขาครับกระจายตัวไปทั่วตลาดอย่างกลมกลืน บ้างเล่นกับพ่อค้าแม่ขาย บ้างนอนทอดอารมณ์ไม่สนใจความเป็นไปของผู้ใด พอจะกล่าวได้ว่าบรรยากาศตลาดแห่งนี้ดูแสนคึกคักแม้เป็นวันธรรมดา หากลองทอดน่องเลยมาทางโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นอกจากจะพบ ‘กล้าหาญ’ ดาราตลาดที่เราบอกว่ากระโจนขึ้นลงรถพี่วินฯ อย่างคล่องแคล่วไร้ความเขินอายแล้ว ‘โอวัลติน’ สามขาพันธุ์ซ่าก็ออกมาทักทายคนรู้จักตามประสา ปลอกคอสีเหลืองเตือนเราว่าอย่าพึ่งรีบทักทายเพื่อนใหม่คนนี้ คอยดูท่าทีความเป็นมิตรอีกสักนิดหนึ่งดีกว่า “โอวัลตินนี่แล้วแต่คนเลยครับ ต้องดูท่าเขาหน่อยว่าจะให้จับหรือเปล่า” พี่หนึ่ง-ณัฐพงษ์ งามสง่า เจ้าของร้านดอกไม้หน้า รพ.สมเด็จฯ และผู้ก่อตั้งโครงการสุนัขชุมชน ตลาดแม่กลอง เอ่ยปากแล้วบอกว่าส่วนเจ้ากล้าหาญนี่ใครอยากเล่นด้วยก็เอาเลย เพราะเป็นมิตรกับทุกคนอยู่แล้ว ยิ่งกับพี่วินฯ นี่จะยิ่งซี้เป็นพิเศษ อยากขึ้นมอเตอร์ไซค์คันไหนก็ได้หมดแถมไม่เสียตังค์ด้วย ใครบอกว่าหมาจรต้องจับเอาไปตอนสถานเดียวพี่หนึ่งบอกว่าไม่จริง เพราะถ้าออกแบบและวางระเบียบให้ดีหมาอยู่กับคนได้แน่ ว่าแต่เจ้าของเสื้อสีฟ้าคนนี้มีวิธีอะไร ฉายาผู้ใหญ่บ้าน (ของชาวสี่ขา) ทำยังไงถึงได้มา ปลอกคอที่ใช้สีจราจรบอกความเป็นมิตรใช้ได้ผลแค่ไหน ชวนอ่านไปพร้อมกันเลยครับ การันตีว่าถูกใจทั้งคนรักและไม่รักหมาแน่นอน เริ่มจากคนรักหมา ในโลกของคนรักหมาผู้ใหญ่บ้านชาวสี่ขาตลาดแม่กลองอย่างพี่หนึ่ง ถือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีคนนับหน้าถือตาไม่น้อย เพราะนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาหมาจร จับหมาไม่มีเจ้าของไปฉีดวัคซีน ทำหมันจนเสร็จสรรพ พี่แกยังเป็นเจ้าของเพจ @มัชเฌ Never Die อัศวินหมาดำ ที่สมัยก่อนเป็นไดอารีของเจ้ามัชเฌ ลาบราดอร์สีดำต้นตำรับเซเลบแห่งตลาดแม่กลองที่ดังถึงขนาดไปออกทีวีที่ญี่ปุ่น […]
Home and Places เหมันต์เมื่อธันวา
ในขณะที่สังคมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การได้กลับไปสำรวจที่เดิมที่เราคุ้นเคย การได้ทบทวนถึงช่วงเวลาที่ผ่านมาจึงทำให้เกิดงานภาพถ่ายชุดนี้ขึ้นมา
รวม 5 ข่าวดี๊ดีประจำปี 2021 ที่ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ปะ
รวม 5 ข่าวดี (ไม่ต้องมีก็ได้) ประจำปี 2021
UNDP ชวนหาสาเหตุความรุนแรง เมื่อความสุดโต่งและปัจจัยเชิงโครงสร้างคือบ่อเกิดของการใช้ความรุนแรง
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราเห็นภาพความเคลื่อนไหวทั้งในประเทศไทยและรอบโลก การกลับมาของฝ่ายขวาจัดและแนวคิดนิยมเผด็จการ และที่อีกด้าน ผู้คนออกไปเรียกร้องความเท่าเทียมและความยุติธรรม บางครั้งพวกเขาได้รับการรับฟังและบรรลุเป้าหมายได้ด้วยสันติวิธี แต่ก็มีอีกหลายครั้งที่เกิดความรุนแรงเพราะรัฐเมินเฉยจนทำให้สถานการณ์ยิ่งปะทุ หรือรัฐลงมือปราบอย่างรุนแรง หลายกลุ่มเลือกลงมือก่อการร้ายเพราะความคับแค้นใจที่เผชิญมาเป็นเวลานานและเชื่อว่าความรุนแรงจะเป็นคำตอบ เสียงของอาวุธปืนและระเบิดอาจทำให้ได้รับความสนใจจากสังคม แต่นั่นคือทางออกจริงหรือ ในสังคมประชาธิปไตยที่มีรากฐานมาจากการเคารพความหลากหลาย ไม่ผิดหากจะมีแนวคิดสุดโต่ง (Extremism) ที่หมายถึงยึดถือในอุดมการณ์/ความเชื่อ/ความศรัทธาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สิ่งนั้นอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้นได้ เช่น การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของชาติพันธุ์หรือสิทธิสตรี แต่ถ้าหากแนวคิดสุดโต่งนั้นกลายเป็นแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง (Violent Extremism) เมื่อใด กลุ่มบุคคลนั้นจะมองว่าการใช้ความรุนแรงไม่ผิดและยอมทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และเมื่อนั้น การสูญเสียก็จะเกิดขึ้น ย้อนกลับไปก่อนหน้าที่จะเกิดความสูญเสียขึ้น สาเหตุที่แท้จริงของมันคืออะไร คนเราไม่ได้มีแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงขึ้นมาได้ง่ายๆ ที่ด้านหนึ่ง มันถูกฟูมฟักขึ้นมาจากความขัดแย้งทางศาสนา ชาติพันธุ์ หรือเพศ และความเดือดร้อนต่างๆ ที่มาจากการขาดโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมเพราะไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองและไม่ถูกมองเห็นจากภาคส่วนต่างๆ เช่น ชนกลุ่มน้อยที่ถูกกีดกันทางกฎหมายในเรื่องสัญชาติและโอกาสทางเศรษฐกิจ หรือบุคคลที่มีศาสนาและวัฒนธรรมแตกต่างจากส่วนกลางทำให้รู้สึกเป็นอื่น ส่วนที่อีกด้าน ความรุนแรงอาจมาจากกลุ่มที่ไม่ได้ตระหนักถึงความแตกต่างหลากหลายและไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย (Minority) ในสังคมก็ได้ เช่น กลุ่มหัวรุนแรงขวาจัด (Right-Wing Extremists) ในหลายประเทศ และผู้ที่สมาทานแนวคิดที่ว่าคนขาวเหนือกว่าคนกลุ่มอื่น (White Supremacy) ที่สหรัฐอเมริกา พวกเขาเชื่อว่าคนกลุ่มอื่นจะทำให้สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขาสั่นคลอน จึงลงมือใช้ความรุนแรงเพราะต้องการปกป้องสถานภาพและผลประโยชน์ของตัวเองเอาไว้ หากอยากตัดไฟความรุนแรงแต่ต้นลม เราจะทำอย่างไรได้บ้าง โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ […]