
LATEST
ภูมิปัญญาญี่ปุ่นผสมข้าวไทย YoRice เครื่องดื่มเชียงใหม่ที่ช่วยชาวนาแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำ
หากพูดถึงการนำข้าวไปหมักทำเป็นเครื่องดื่ม คนไทยอย่างเราคงคุ้นเคยกับสาโทหรือสุราชาวบ้าน คงไม่ได้นึกถึง ‘อามาซาเกะ’ หรือสาเกหวาน ไร้แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มภูมิปัญญาจากญี่ปุ่น ที่ทำขึ้นเพื่อเป็นทั้งอาหารสุขภาพ และให้เด็กๆ ได้ลิ้มลองรสความเป็นสาเกก่อนถึงวัย การเกิดขึ้นของอามาซาเกะข้าวไทยอย่าง YoRice จึงดึงดูดใจใครหลายคน เพราะนอกจากจะเป็นของแปลกใหม่ในไทย สรรพคุณของเครื่องดื่มชนิดนี้ก็ให้ทั้งประโยชน์ด้านสุขภาพตอบเทรนด์ที่คนกำลังสนใจ ที่สำคัญคือยังสะท้อนให้เห็นปัญหาในจังหวัดเชียงใหม่ (ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นปัญหาที่ลามไปไกลถึงระดับประเทศ) ถึง 3 ประเด็น หนึ่ง คือ ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ สอง คือ ปัญหาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่นับวันยิ่งหลากหลายน้อยลงไปทุกวัน สาม คือ ปัญหาความหิวโหยของคนในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ถูกจัดการผ่านเครื่องดื่มหนึ่งขวดได้อย่างไร ปอ-ภราดล พรอำนวย ผู้อยู่กับ YoRice มาตั้งแต่วันแรก เต็มใจถ่ายทอดเรื่องราวให้ฟังผ่านบทสนทนานี้ เมื่อเห็นปัญหาจึงเกิดคำถาม ใครหลายคนคงเหมือนเราที่คุ้นเคยกับปอในบทบาทนักดนตรี เจ้าของร้าน North Gate แจ๊สบาร์คู่เชียงใหม่ มากกว่าการรู้จักเขาในบทบาทของหนุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคม ที่แม้จะไม่ใช่ภาพที่คุ้นชินของใคร แต่เขาก็ยืนยันว่าจริงๆ ความคิดเรื่องนี้วนเวียนอยู่ในตัวเขามานานตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม ปอย้อนความว่าเหตุการณ์ที่มาจุดประเด็นให้เขาเริ่มสนใจปัญหาปากท้องของคนอื่น มาจากประสบการณ์ครั้งที่เขาโบกรถจากเชียงใหม่ไปฝรั่งเศส การเดินทางครั้งนั้นจะเรียกว่าเป็นการเดินทางเปลี่ยนชีวิตเลยก็ได้ เพราะมันทำให้เขาได้เห็นน้ำใจจากคนครึ่งค่อนโลกที่พร้อมจะหยิบยื่นความช่วยเหลือมาให้นักดนตรีแปลกหน้าอย่างตน “เราไม่ได้มีต้นทุนในชีวิตเยอะ การต้องแบกเครื่องดนตรีโบกรถไปหลายหมื่นกิโล […]
พระสติ พระเครื่องจากพลาสติกที่เตือนให้ทุกคนบริโภคอย่างมีสติและรักสิ่งแวดล้อม
เมื่อช่วงงาน Bangkok Design Week 2022 ที่ผ่านมา หลายคนน่าจะได้ไปร่วมกิจกรรมหรือได้ยินข่าวเกี่ยวกับ ผ้าป่า Design Week โปรเจกต์เชิงทดลองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการทอดผ้าป่า ในการนำวัฒนธรรมการแบ่งปันสู่คนรุ่นใหม่ ด้วยวิธีการทำบุญแบบใหม่ ในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล สิ่งที่ทำให้งานผ้าป่างานนี้ต่างจากงานผ้าป่าทั่วไปคือ การเชื่อมโยงระหว่างผู้บริจาคและผู้รับบริจาคให้เกิดความสะดวก โปร่งใส มีทางเลือกในการบริจาคหลากหลายตามความสนใจของผู้บริจาค ทั้งวัด การแพทย์ และการศึกษา ทั้งยังเพิ่มทางเลือกในการบริจาคขยะพลาสติกและขวดแก้วสะอาดแทนเงิน เพื่อนำไป Upcycle เป็นโปรดักต์ต่อไปด้วย ทว่า นอกจากไอเดียสร้างสรรค์ที่ปรับประยุกต์ความเชื่อประเพณีของคนไทยที่ดูเชยให้กลับมาร่วมสมัย จนคนไปร่วมงานแน่นขนัดชนิดที่เรียกว่างานผ้าป่าแตกแล้ว ‘พระสติ’ ที่สร้างขึ้นจากขยะพลาสติก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกกับผู้ที่บริจาค ผู้รับบริจาค และผู้สนับสนุนโครงการ ก็ถือเป็นไฮไลต์ดึงดูดผู้คนให้มาร่วมงานไม่ต่างกัน จากวัสดุที่คนทิ้งขว้าง ไม่สนใจ กลับกลายเป็นของหายากที่ผลิตเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังไม่นับสตอรี่ที่มาพร้อมกับการออกแบบ และการนำเสนอความเชื่ออิงหลักพุทธร่วมสมัยที่เตือนให้บริโภคอย่างมีสติ สนับสนุนความเท่าเทียม และรักษ์โลกอีกนะ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ผ่านการศึกษาและคิดมาอย่างถี่ถ้วน เพราะต่อให้คนอยากได้พระเครื่องเพราะความแรร์หรือรูปลักษณ์เท่ๆ ก็ตาม ทว่า อย่างน้อยๆ คนคนนั้นจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหลักศาสนา สิ่งแวดล้อม หรือการรีไซเคิลไปด้วย เบื้องหลังของไอเดียพระสตินี้คืออะไร กว่าขยะพลาสติกจะกลายมาเป็นพระเครื่องยอดฮิตที่ใครๆ ต่างอยากได้มาบูชา ต้องผ่านกระบวนการคิดและออกแบบอย่างไรบ้าง เรามาคุยกับ ‘ไจ๋–ธีรชัย […]
แชร์เรื่องนมๆ ปลดปล่อยปัญหาบราบรา ในงาน Boobs On Vacation 14 – 20 เม.ย. 65 ลิโด้ คอนเน็คท์
หน้าร้อนแบบนี้ ปัญหาที่คนมีนมต้องเจอแน่ๆ คือความอับชื้นที่เกิดจากอากาศร้อนจนทำให้เหงื่อออกมากกว่าปกติ ขณะเดียวกันถ้าบราที่ใส่ยิ่งไม่รองรับสรีระหรือทำจากวัสดุที่สวมแล้วร้อน อึดอัด ก็ยิ่งทำให้ไม่สบายตัวเข้าไปอีก การโนบราหรือไม่ใส่บรา จึงกลายเป็นเทรนด์มาแรงของคนมีนมในยุคสมัยนี้ อีกทั้งยังมีการสนับสนุนให้โนบราในหมู่คนมีนมด้วยกัน เพื่อความสบายตัวอีกด้วย แต่ขณะเดียวกันก็ใช่ว่าทุกคนจะรู้สึกสบายใจกับการโนบราออกไปข้างนอก พวกสินค้าจำพวกบราที่ใส่แล้วเหมือนไม่ใส่จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ นอกจากสวมแล้วไม่อึดอัด สบายตัว ยังเป็นการปล่อยให้นมได้พักอีกด้วย แต่ใครที่ยังไม่แน่ใจกับวิธีการนี้ หรือกระทั่งอยากรู้เรื่อง ‘นม’ ของตัวเองให้มากขึ้น วันที่ 14 – 20 เมษายน 2565 เวลา 10.30 – 20.30 น. แบรนด์ชุดชั้นใน Jollynn (โจลีน) ได้จัดงานที่มีชื่อน่ารักๆ ว่า ‘Boobs On Vacation ให้นมได้พักผ่อน’ ในรูปแบบ Pop-up Experience ที่ลิโด้ คอนเน็คท์ ภายในงานได้มีการเปิดพื้นที่ให้เจ้าของนมทุกคนมาแลกเปลี่ยน และปลดปล่อยปัญหานมๆ ที่ทุกคนล้วนต้องพบเจอกันอย่างสนุกๆ ผ่านกิจกรรม ‘ทำไมนมต้องพักผ่อน’ กับการชวนมาแชร์ถึงปัญหาบรา บรา, กิจกรรมพื้นที่ปลด-ปล่อย กับการเป็นตัวเองอย่างเต็มที่กับตู้ถ่ายรูปสุดฮิต และกิจกรรมร่วมโหวตฟีเจอร์ของบราที่คุณมองหา เป็นต้น […]
Food Matter แพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกิน ที่ชวนคนลด Food Waste ด้วยการกิน
ในแต่ละวันมีอาหารที่ผลิตมาเกินความต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าแต่ละร้านจะคำนวณการผลิตให้พอดีต่อความต้องการของผู้บริโภคแล้ว แต่แทบทุกวัน และแทบทุกร้านจะต้องมี ‘อาหารส่วนเกิน หรือ Surplus Food’ ที่ไม่มีใครซื้อเกินมาเสมอ จนกลายเป็นอาหารเหลือทิ้งหรือเกิด Food Waste ขึ้นเสมอ เพื่อแก้ปัญหานี้ Food Matter แพลตฟอร์มสั่งอาหารที่ต้องการจะช่วยให้โลกมีขยะอาหารน้อยลง จากการลดปริมาณอาหารส่วนเกิน (Surplus Food) และช่วยให้คุณได้กินของอร่อยที่มีคุณภาพและราคาสบายกระเป๋า Food Matter เป็นธีสิสของ กรีน-เมธพร ทุกูลพาณิชย์ นักศึกษาปี 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคออกแบบนิเทศศิลป์ (CommDe) ที่สนใจประเด็นเรื่องอาหารเหลือทิ้ง อยากหาวิธีช่วยลดขยะอาหาร เพราะเชื่อว่าอาหารดีๆ เหล่านี้ควรถูกกิน มากกว่าถูกทิ้งลงถังขยะ เนื่องจากเป็นธีสิส Food Matter จึงอยู่ในช่วงทดลองใช้ และเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 – 22 เมษายน 2565 นี้เท่านั้น และเปิดให้เราสั่งซื้อได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ในเวลา 18.00 – 19.00 น. เท่านั้น กรีนเล่าให้ฟังถึงการทำงานหลังบ้านของ […]
มนุษย์ออฟฟิศอ่าน 5 หนังสือพักจากงานที่เหมาะอ่านในวันหยุด
สำหรับวันหยุดยาวในเดือนที่นับว่าร้อนที่สุดแห่งปีแบบนี้ จะมีอะไรดีไปกว่าการนั่งตากลม พักผ่อนสบายๆ จิบชายามบ่าย พลิกหนังสือสนุกๆ อ่านทีละหน้าอย่างไม่รีบร้อน หลังจากเปิดปี 2022 มา บ้านเมืองก็มีความเปลี่ยนแปลงไม่น้อย ทั้งฝั่งการเมืองที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไหนจะข่าวสารใหญ่ๆ ที่ทำให้สังคมหันมาตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในเมืองมากขึ้น ยังไม่นับอากาศที่แปรปรวนจนหลายคนงงไปตามๆ กันอย่างเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา แน่นอนว่าหลังจากนี้คงมีอีกหลายเรื่องราวเกิดขึ้นแน่ แต่เราอยากชวนทุกคนมาพักเบรก ชาร์จพลังใจ กับ 5 หนังสืออ่านสบายๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตให้ราบรื่นในช่วงวัยที่ต้องเผชิญกับความกดดันในชีวิตและการทำงาน เพื่อที่จะได้ผ่านพ้นแต่ละวันไปได้อย่างไม่หนักหนา และตระหนักว่ายังมีคนอีกมากมายที่รู้สึกไม่ต่างจากเรา ‘พักให้ไหว ค่อยไปต่อ’ หนังสือที่บอกว่าใจจะแข็งแรงขึ้นถ้าพักเสียบ้างเขียนโดย Nina Kim ในยุคสมัยที่มีแต่คนบอกให้แอ็กทีฟ ลงทุน ออมเงิน หาเงินเพิ่ม พัฒนาตัวเอง ทำธุรกิจที่สองสามสี่ ฯลฯ จะเป็นอะไรไหมถ้าเราจะขอไม่ทำอะไร อยู่เฉยๆ และให้พื้นที่ตัวเองได้หายใจ หนังสือเล่มกะทัดรัดเล่มนี้มีเนื้อหาให้กำลังใจผู้คนที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะเมื่อต้องทำงาน มีภาระ มีความรับผิดชอบ ชีวิตแสนวุ่นวาย จะหาพื้นที่หายใจอย่างปลอดโปร่งคงยากไปหมด การอดทนอาจเป็นหนทางสำคัญที่จะทำให้มีแรงย่างก้าวไปแต่ละวัน แต่ขณะเดียวกันการพักผ่อนก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าเหนื่อยแล้วรู้จักพัก ร้องไห้บ้างเมื่อรู้สึกเศร้า ระบายความโกรธออกมาบ้าง คงทำให้ใจแข็งแกร่งกว่าที่เป็นอยู่ ลองให้เวลาและพื้นที่ตัวเองบ้าง ลองไม่ต้องอดทนแล้วปลดปล่อยความในใจออกมา อาจทำให้ชีวิตสุขขึ้น […]
อะพาร์ตเมนต์แคปซูลในโตเกียวกำลังจะถูกทุบทิ้ง ข่าวดีคือแคปซูลบางส่วนจะถูกรักษาไว้ และนำไปจัดแสดงทั่วโลก
หลังจากผ่านการพูดคุยกันมาหลายเดือน ตอนนี้ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่า Nakagin Capsule Tower หรืออะพาร์ตเมนต์แคปซูลที่โด่งดังของโตเกียวกำลังจะถูกรื้อถอนในวันที่ 12 เมษายนนี้ แต่ข่าวดีก็คือแคปซูลบางส่วนจะได้รับการเก็บรักษาและนำไปสร้างใหม่ และยังมีแผนจะจัดแสดงแคปซูลเหล่านี้ในพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกอีกด้วย อะพาร์ตเมนต์ที่มีรูปลักษณ์ราวกับหลุดออกมาจากภาพยนตร์ไซไฟดิสโทเปีย ถูกออกแบบโดย Kurokawa Kisho ผู้เป็นสถาปนิกชื่อดังของญี่ปุ่น อาคารแห่งนี้ถือว่ามีเอกลักษณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโตเกียว ซึ่งไปปรากฏตัวในพื้นที่สื่อบ่อยครั้ง รวมถึงเซตภาพถ่ายจาก Norita Mikami ซึ่งเผยให้เห็นแต่ละห้องภายในอาคาร ซึ่งบางห้องก็ดูราวกับหอบังคับยานอวกาศ ในขณะที่บางห้องก็ตกแต่งราวกับหอพักนักศึกษา และนับตั้งแต่ก่อสร้างขึ้นมาในปี 1972 อาคารหลังนี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบ Metabolism ในโตเกียวมาโดยตลอด ตามรายงานระบุว่า เจ้าของใหม่ของอาคารหลังนี้ตั้งใจจะพัฒนาเป็นอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ แต่ก็ไม่ได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้างลักษณะใด ซึ่งการตัดสินใจรื้ออะพาร์ตเมนต์แคปซูลก็ได้มีการพูดคุยกันมาตลอดหลายปีให้หลัง เพราะโครงสร้างที่ไม่ปลอดภัยและไม่สอดรับกับมาตรฐานแผ่นดินไหวในปัจจุบัน นับตั้งแต่ปี 2018 Nakagin Capsule Tower เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจลองเข้ามาพักแบบรายเดือน และเวลาราวสองปีครึ่งที่ผ่านมาก็มีผู้แวะเวียนเข้ามาพักกว่า 200 คน และเป็นแรงบันดาลใจสำคัญของการพัฒนาที่พักแบบแคปซูลทั่วประเทศญี่ปุ่นด้วย
‘ไม่ว่างมองฟ้า’ นิทรรศการภาพถ่าย เล่าถึงชีวิตคนที่ต้องก้มหน้าก้มตาทำงาน ชมฟรีถึง 30 เม.ย. 65 ที่ ปรีดี พนมยงค์ 42
‘ทำงานจนไม่มีเวลามองฟ้า’ เราเชื่อว่าน่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยประสบหรือกระทั่งตอนนี้ก็ยังอยู่ในภาวะข้างต้นนี้อยู่ อย่างที่ทราบกันว่าการมีชีวิตอยู่ในประเทศนี้ถ้าไม่ได้มีต้นทุนที่ดี บ้านมีฐานะมาก่อน คนก็จำต้องก้มหน้าก้มตาทำงานหนัก เพื่อหาเงินมาทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานก่อสร้าง เกษตรกร นักร้อง หรือดาราก็ตาม เพราะต้องดิ้นรนทำงานหนักในอุตสาหกรรมเพลงที่รัฐไม่สนับสนุน ทำให้ ‘AUTTA’ เลือกทำเพลงที่มีชื่อว่า ‘ไม่ว่างมองฟ้า’ ออกมาบอกเล่าถึงชีวิตของตัวเองและคนทำอาชีพอื่นๆ ที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ จนไม่มีเวลาเงยหน้าชื่นชมความสวยงามของท้องฟ้า (ฟังได้ที่ youtube.com/watch?v=_ItZdG8P8qY) นอกจาก Music Video เพลงที่ถ่ายทอดถึงชีวิตของคนทำงานอาชีพต่างๆ และภาพที่พวกเขามองเห็นแล้ว ‘AUTTA’ ยังร่วมมือกับ ‘SEESAN’ หรือ สรรพัชญ์ วัฒนสิงห์ ช่างภาพฝีมือดีผู้อยู่เบื้องหลังภาพถ่ายเหล่าศิลปินระดับประเทศ ทำนิทรรศการภาพถ่าย ‘AUTTA – ไม่ว่างมองฟ้า’ โดยมีคอนเซปต์เป็นแก่นเพลงนี้ที่ว่าด้วยการก้มหน้าก้มตาทำงาน จนไม่มีเวลามองหาความสวยงามบนท้องฟ้า สรรพัชญ์เล่าว่า เขาตั้งใจนำเสนอภาพที่เหล่าคนทำงานหลากหลายอาชีพต้องจดจ้องในแต่ละวัน ยกตัวอย่าง คนขับตุ๊กตุ๊กกับภาพแฮนด์พาหนะที่เขาใช้ทำมาหากิน ช่างแต่งหน้ากับภาพเครื่องสำอางที่เรียงราย ดารากับภาพรถตู้ที่เขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในนั้นทั้งวัน เป็นต้น “พอไปถ่ายภาพคนทำงานต่างอาชีพ เราก็ได้พูดคุยกับพวกเขา อย่างคนทำงานแรงงานจะมีปัญหาที่รุนแรง ต้องทำงานหนักมากเพื่อให้ได้รายได้ที่เพียงพอ ขณะเดียวกันคนที่ดูเหมือนทำงานสบาย เขาก็มีปัญหาชีวิตส่วนตัวที่คนอื่นอาจมองไม่เห็น เราคิดว่าต้นตอหลักๆ ของปัญหาทั้งหมดนี้คือความเหลื่อมล้ำ สุดท้ายมันไม่ใช่แค่เรื่องของการมีเวลามองความสวยงามของท้องฟ้า แต่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตคนทำงานด้วย” […]
โอกาสครอบครอง ‘Naked Woman Reclining’ ผลงานหายากของ ‘ปาโบล ปิกัสโซ’ กับการเปิดประมูลสาธารณะครั้งแรกในโลก
เชื่อว่าหลายคนพอจะคุ้นเคยหรือเคยเห็นภาพวาดสีน้ำมันอันฉูดฉาด มีส่วนประกอบเป็นรูปทรงเรขาคณิตอย่างวงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมอยู่ในชิ้นงาน ภาพวาดเหล่านั้นคือผลงานของ ‘ปาโบล ปิกัสโซ’ จิตรกรชาวสเปนที่ถูกจดจำจากการสร้างสรรค์งานศิลปะโดยใช้รูปทรงเรขาคณิต หรือที่เรียกว่าบาศกนิยม (Cubism) มาอยู่ในผลงานของตัวเอง ตลอดชีวิตการเป็นศิลปินของปิกัสโซนั้น เขาได้ผลิตงานทางจิตรกรรมกว่าหมื่นชิ้น และในช่วงปีทศวรรษ 1930 นั้น นับว่าเป็นช่วงหนึ่งที่เขาผลิตผลงานเลื่องชื่อมากมาย และหนึ่งในนั้นคือผลงาน ‘Femme nue couchée’ (Naked woman reclining – การเอกเขนกของหญิงสาวผู้เปลือยเปล่า) ที่ผลิตออกมาในปี 1932 ซึ่งแสดงถึงความรักความหลงใหลของปิกัสโซที่มีต่อคนรักแบบแอบๆ ซ่อนๆ ของเขาคือ ‘มารี วอลเตอร์ (Marie Walter)’ ภาพสิ่งมีชีวิตในทะเลที่มีหลายขา ‘Naked Woman Reclining’ นี้ เป็นหนึ่งในหลายภาพที่ปิกัสโซวาดถึงมารี วอลเตอร์ เปรียบตัวตนความเป็นนักว่ายน้ำของเธอเข้ากับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล และยังแสดงให้เห็นถึงความรักและความหลงใหลที่จิตรกรมีต่อเธอ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ทางบริษัทจัดประมูล Sotheby’s ประกาศว่าจะนำผลงานชิ้นนี้ของปิกัสโซออกมาประมูลในเดือนพฤษภาคม น่าสนใจว่าการประมูลครั้งนี้นับเป็นการประมูลสาธารณะครั้งแรกหลังผู้ประมูลได้รับผลงานชิ้นนี้มาจากทายาททางสายเลือดของปิกัสโซในปี 2006 การประมูลครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้คนกระเป๋าหนักและสนใจเก็บสะสมงานศิลปะ […]
Twenty Five Twenty One ท่ามกลางความโหดร้ายของยุคสมัย โชคดีแค่ไหนที่เราได้รักกัน
ค่ำวันหนึ่งของเดือนพฤศจิกายน ปี 1997 หลังจากที่ออกไปเตร็ดเตร่ตามประสาวัยรุ่นทั่วไป แพคอีจิน (รับบทโดย นัมจูฮยอก) กลับบ้านมาพบกับภาพของครอบครัวของเขาที่กำลังจะแตกสลาย เปล่าเลย มันไม่ได้เป็นเพราะพ่อกับแม่เขาผิดใจกัน และมันก็ไม่ใช่เพราะสมาชิกคนใดคนหนึ่งได้ตายจากไป ครอบครัวของเด็กหนุ่มยังคงอบอุ่น พวกเขายังคงรักกันอย่างสุดหัวใจ แต่มันเป็นเพราะเหตุการณ์หนึ่งต่างหากที่สั่นสะเทือนความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวนี้อย่างรุนแรง รุนแรงถึงขนาดที่พ่อของอีจินถึงขั้นยื่นข้อเสนอขอหย่ากับแม่ บอกให้ลูกคนโตอย่างอีจินไปเป็นทหารเกณฑ์ ส่วนลูกคนเล็กก็ให้ย้ายไปอยู่กับญาติไปก่อน “ครอบครัวของเราคงต้องแยกกันอยู่สักพัก” พ่อของอีจินกล่าวด้วยน้ำเสียงอ่อนล้า ท่ามกลางเสียงสะอื้นไห้ของมารดา อีจินได้แต่เพียงพยักหน้าอย่างจนปัญญาเพราะไม่รู้จะช่วยครอบครัวอย่างไร เหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนครอบครัวอีจินไม่ใช่อะไรอื่น แต่คือวิกฤต IMF ที่ได้กระชากเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ซึ่งกำลังพุ่งขึ้นเรื่อยๆ ให้ลงมากองอยู่กับพื้นอีกครั้ง สีสันชีวิตวัยรุ่นของอีจินดับสนิทลงในทันทีเพราะเหตุการณ์ครั้งนั้น เช่นเดียวกับความฝันที่ระเหิดหายไปกับอนาคตที่ขมุกขมัว เช้าวันหนึ่งของเดือนกรกฎาคม ปี 1998 นาฮีโด (รับบทโดย คิมแทรี) เด็กสาว ม.ปลาย และนักฟันดาบประจำโรงเรียนรีบพุ่งตัวออกจากบ้านอย่างลิงโลด เธอตรงดิ่งไปนั่งหลับในห้องเรียน จากนั้นก็แวะไปย้ำเฮียร้านเช่าการ์ตูนว่าอย่าลืมเก็บเล่มใหม่ของ ‘ฟูลเฮาส์’ การ์ตูนเรื่องโปรดไว้ให้ด้วยนะ ก่อนจะแผล็วไปยังชมรมฟันดาบของโรงเรียนอีกแห่ง ไปเกาะขอบหน้าต่างแอบดู ‘โกยูริม’ (รับบทโดย โบนา) นักกีฬาฟันดาบทีมชาติเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกผู้เป็นเสมือนไอดอลของเธอ ฮีโดมีฝัน และความฝันของเธอก็ไม่ใช่อะไรอื่นแต่คือการได้ประดาบเคียงข้างกับนักกีฬาฟันดาบที่เป็นดั่งแสงสว่างในชีวิต ท่ามกลางความเปราะบางของสภาพเศรษฐกิจ การเมืองที่เดือดพล่าน และความขัดแย้งของคนในชาติที่ปะทุอยู่เรื่อยๆ ฮีโดยังคงโอบกอดความฝันของตัวเองไว้อย่างแนบแน่น ไม่ได้สนใจอะไรมากไปกว่า ฟูลเฮาส์ […]
เยี่ยมคนเกาหลีย่านอโศก สัมผัสวัฒนธรรมแดนโสมใจกลางกรุงเทพฯ
ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่นะครับที่ความเป็นเกาหลี ทั้งซีรีส์ อาหาร ศิลปิน เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า จะเป็นอะไรก็ตามแต่ก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตพวกเราอย่างไม่รู้สึกแปลกแยกไปแล้ว ตอนนี้ทั้งคนใกล้ตัว หรือไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ดูจะผูกพันกับวัฒนธรรมเกาหลีมากขึ้นไปทุกที ชาวเกาหลีที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยก็มีไม่น้อยโดยเฉพาะช่วงสุขุมวิทตอนต้น และที่ข้ามไปไม่ได้เด็ดขาดก็คือแถวอโศกนี่แหละ โดยมีโคเรียนทาวน์ยืนหนึ่งเรื่องเกาหลีมาร่วมสามสิบปี แถมในช่วงราวสิบปีนี้ก็มีศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีมาเปิดอีกต่างหาก คอลัมน์ Neighboroot ขอพาทุกคนไปคุยกับเจ้าของร้านอาหารเกาหลีร้านแรกๆ ในโคเรียนทาวน์ พร้อมพาตะลุยย่านสัมผัสวัฒนธรรมแดนโสมใจกลางกรุงเทพฯ กันดีกว่า ว่าจะมีอะไรให้พวกเราค้นหาอีกบ้าง! ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว ประเทศไทยยังไม่ได้คุ้นเคยกับวัฒนธรรมเกาหลีมากเท่าไหร่ ไม่ต้องพูดถึงโคเรียนทาวน์ ที่ถ้าพูดชื่อไปก็รับรองได้เลยว่าไม่มีใครร้องอ๋อเหมือนสมัยนี้แน่ๆ ประวัติโดยย่อคือ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2532 โคเรียนทาวน์มีชื่อว่า สุขุมวิทพลาซ่า เพราะตั้งอยู่บริเวณตอนต้นของถนนสุขุมวิท แล้วก็ยังไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับคำว่าเกาหลีเลยแม้แต่น้อย จนกระทั่งชาวเกาหลีที่ย้ายถิ่นฐานมายังประเทศไทยเริ่มเข้ามาเปิดร้านอาหารกันมากหน้าหลายตา และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนภาครัฐขนานนามให้ว่า โคเรียนทาวน์ เพราะถือว่าที่นี่เป็นแหล่งรวมร้านอาหารเกาหลีที่มากที่สุดของไทย ว่าแต่เรื่องราวของโคเรียนทาวน์เป็นมายังไง ชาวเกาหลีเข้ามาทำอะไรที่สุขุมวิทตอนต้น เราชวนขับ Swap & Go จาก PTT Station นานาใต้ ที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่ร้อยเมตร มาฟังจากปาก Jang Won BBQ ร้านอาหารเกาหลีสูตรต้นตำรับ ซึ่งเป็นร้านแรกๆ […]
Tinder แจกฟรี! Explore Guide รวมแหล่งแฮงเอาต์ กิน-ดื่ม-เที่ยว จาก 4 อินฟลูเอนเซอร์ไทยรุ่นใหม่
หลายคนคงรู้จักและคุ้นเคยกับ ‘Tinder’ หนึ่งในแอปพลิเคชันหาคู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ปัจจุบันให้บริการมากกว่า 40 ภาษาในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก นอกจาก Tinder จะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยผู้ใช้งานตามหา ‘คู่แมตช์’ ที่อาจพัฒนาเป็นคนรู้ใจในอนาคต แอปพลิเคชันนี้ยังพร้อมช่วยสร้างคอนเนกชันใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่มีความชอบและไลฟ์สไตล์คล้ายๆ กันด้วย ล่าสุด Tinder ได้เปิดตัว ‘Tinder Explore Guide’ ดิจิทัลไกด์บุ๊กรวบรวมสถานที่กิน ดื่ม เที่ยว และทำกิจกรรม เพื่อให้คนทุกเจเนอเรชันได้เชื่อมต่อและสัมผัสประสบการณ์แบบออฟไลน์มากขึ้น ซึ่งเป็นการคัดเลือกร้านโปรดจาก 4 อินฟลูเอนเซอร์ไทยรุ่นใหม่ ได้แก่ 1) มีเธอ ลพอุทัย TikToker ชื่อดัง tiktok.com/@meturr 2) มิ้น-มิณฑิตา วัฒนกุล นักร้องและนักแสดง instagram.com/mint.tita 3) ต๋อง-อานนท์ ธิติประเสริฐ บาริสต้าแชมป์โลกและเจ้าของร้าน Roast8ry instagram.com/ristr8to/ 4) เชฟชานนท์-ชานนท์ เรืองศรี ผู้เข้าแข่งขันมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซัน 3 instagram.com/chacn_ […]
Ban Phru Cemetery Park ธีสิสเปลี่ยนสุสานบ้านพรุในหาดใหญ่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนเมือง
เมษายนคือช่วงเวลาที่ลูกหลานชาวจีนจะได้กลับมาเจอกันอีกครั้งใน ‘วันเช็งเม้ง’ ประเพณีสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จะต้องไปเคารพและทำความสะอาดหลุมศพของบรรพบุรุษทุกๆ ปี แต่เคยคิดกันไหมว่าพื้นที่สุสานที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ นอกจากวันเช็งเม้งแล้ว พื้นที่หลายร้อยไร่ที่เราไปทุกปีได้ถูกใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาอื่นบ้างไหม? โดยเฉพาะสุสานที่อยู่ในย่านชุมชน อยู่ใกล้เมือง มีคนพลุกพล่าน ที่มีทั้งคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีศักยภาพในการใช้งานมากกว่าแค่ปีละครั้ง จะดีกว่าไหมถ้าสุสานที่อยู่ใกล้เมืองหลายแห่งถูกพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายโอกาส และเปิดให้คนภายนอกได้เข้าไปใช้งานนอกจากวันเช็งเม้งบ้าง เก่ง-ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือลูกหลานชาวจีนในหาดใหญ่ที่ไปเช็งเม้งที่ ‘สุสานบ้านพรุ’ เป็นประจำทุกปี และมองเห็นความเป็นไปได้ของพื้นที่นี้มากกว่าการมาเช็งเม้ง จึงออกมาเป็นธีสิส ‘Ban Phru Cemetery Park’ โครงการพัฒนา ‘สุสานบ้านพรุ’ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนในเมือง เพื่อให้คนในหาดใหญ่ได้เข้าถึงพื้นที่สีเขียว มีกิจกรรมนันทนาการ มีพื้นที่เชิงวัฒนธรรม และที่สำคัญคือช่วยเพิ่มยอดขายหลุมฝังศพบนพื้นที่ที่เหลืออยู่ให้กับสุสานบ้านพรุได้อีกด้วย ธีสิสที่เริ่มจากการไปเช็งเม้ง เก่งเล่าให้ฟังว่า เหตุผลที่เลือกสุสานบ้านพรุมาทำธีสิสเพราะที่นี่คือที่ที่เขาและครอบครัวต้องไปเช็งเม้งเป็นประจำทุกปี จึงมีความคุ้นเคยและผูกพันกับสุสานนี้เป็นพิเศษ “แรงบันดาลใจของธีสิสนี้มาจากตอนปี 4 ได้เรียนวิชา Intro to Urban Architecture ซึ่งมีไฟนอลโปรเจกต์ให้ทำ ตอนนั้นสนใจเกี่ยวกับพื้นที่สุสานในเมืองอยู่แล้ว และสนใจเรื่องการนำมาปรับใช้ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ จึงได้ไปศึกษาเกี่ยวกับสุสานแต้จิ๋วในสาทร ซึ่งมีพื้นที่ประมาณแปดสิบห้าไร่ และเปิดเป็นพื้นที่ให้ประชาชนโดยรอบเข้ามาใช้งานในเชิงสันทนาการได้ตั้งแต่ปี 2539 เป็นสุสานแรกๆ ที่เปิดให้คนเข้ามาใช้ทำกิจกรรมอย่างอื่นได้นอกจากพิธีธรรม” […]