โปรดักชันเฮาส์ใหญ่ขอเปลี่ยนแปลง ประกาศลดชั่วโมงการทำงานจาก 16 ชม. เป็น 14 ชม. เริ่มปีหน้า

ประเด็นเรื่องการลดชั่วโมงการทำงาน และเรียกร้องความเป็นธรรมของคนในกองถ่าย ถือเป็นเรื่องที่คนในสายงานสื่อและ ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย’ (Creative Workers Union Thailand) พยายามผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คนทำงานกองถ่ายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 นักแสดงซีรีส์ ‘นิ้ง-ชัญญา แม็คคลอรี่ย์’ และ ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ’ ได้ส่งคำร้องต่อ กมธ. ที่รัฐสภา เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตในกองถ่าย เช่น ปัญหาการใช้แรงงานเด็กในการผลิตสื่อ, ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน, ความปลอดภัยในการทำงาน และการไม่มีสัญญาจ้างที่เป็นธรรม แต่ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร จนกระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าคุณภาพชีวิตในกองถ่ายจะดีขึ้นเล็กน้อย หลังจากที่ ‘Lighthouse Film Service’ หนึ่งในบริษัทสื่อที่ให้เช่าอุปกรณ์ถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร และโฆษณารายใหญ่ ได้มีการประกาศแจ้งเปลี่ยนแปลงชั่วโมงการทำงาน ในหมวดละครและซีรีส์ ในปี 2566 ให้ระยะเวลาการถ่ายทำละครและซีรีส์ 1 คิว ลดลงจำนวน 2 ชั่วโมง ทำให้จากเดิมที่กำหนดเวลาทำงานไว้ 16 ชั่วโมง เหลือเป็น 14 […]

แคลิฟอร์เนียผ่านกฎหมายใหม่ เปลี่ยนร่างมนุษย์เป็นปุ๋ยหมักได้ อีกทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันกลุ่มคนที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเริ่มหันหลังให้กับการกำจัดศพแบบเดิมๆ อย่าง ‘การเผา’ เพราะเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานเยอะ แถมยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ เป็นสาเหตุที่ทำให้โลกเผชิญภาวะโลกร้อน ส่วน ‘การฝัง’ เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูงเป็นอันดับต้นๆ ทั้งค่าโลงศพ พื้นที่ การเคลื่อนย้าย รวมถึงพิธีกรรมอื่นๆ เพราะเหตุนี้หลายประเทศจึงเพิ่มทางเลือกในการกำจัดศพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและราคาถูกลง หนึ่งในนั้นคือ ‘รัฐแคลิฟอร์เนีย’ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ล่าสุดได้ผ่านร่างกฎหมายรับรองการเปลี่ยนร่างของมนุษย์ให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก (Human Composting) เพื่อเป็นทางเลือกที่รักษ์โลกและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ขั้นตอนการฝังศพรูปแบบใหม่คือ ร่างผู้เสียชีวิตจะถูกบรรจุไว้ในโลงเหล็กขนาด 8 ฟุต และใส่วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพอื่นๆ เข้าไปภายใน เช่น เศษไม้หรือดอกไม้ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ราว 30 – 60 วันให้ร่างกายเข้าสู่กระบวนการย่อยสลาย ก่อนที่บริษัทจะนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้คืนให้ครอบครัวเป็นขั้นตอนสุดท้าย สำหรับค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนร่างมนุษย์เป็นดินมีราคาระหว่าง 5,000 – 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 190,000 – 265,000 บาท) ใกล้เคียงกับค่าฝังศพแบบดั้งเดิมในรัฐแคลิฟอร์เนียที่มีราคาราว 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 227,000 บาท) แต่ก็ยังถูกกว่าพิธีเผาที่มีราคาราว 7,225 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว […]

FYI

ส่องโครงการกรีนๆ จาก เซ็นทรัล รีเทล ศึกษากลยุทธ์ วิธีการเป็นองค์กร Green & Sustainable Retail ที่แรกของไทย

เป็นไปได้ไหมที่ค้าปลีกขนาดใหญ่จะเป็นองค์กรที่ Green & Sustainable ได้ หลายคนอาจรู้จัก เซ็นทรัล รีเทล ในแง่มุมของค้าปลีกที่มีทั้ง ห้างเซ็นทรัล ศูนย์การค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ท็อปส์ ไทวัสดุ และร้านค้าเฉพาะทางต่างๆ เรามักนึกถึงเป็นตัวเลือกแรกเวลาไปช้อปปิง แต่ความจริงแล้ว เซ็นทรัล รีเทล ยังเป็น ‘Green & Sustainable Retail’ องค์กรค้าปลีกที่แรกของไทยที่คิดถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการทำงาน เพราะมีเป้าหมายที่ตั้งใจจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้ได้ภายในปี 2593 เซ็นทรัล รีเทล จึงคิดทำโครงการกรีนๆ และสร้างความยั่งยืนออกมามากมายทั้ง จริงใจ Farmers’ Market, Love the Earth, ขวดเปล่า ไม่สูญเปล่า และ Journey to Zero ตัวอย่างเหล่านี้คือโครงการที่เซ็นทรัล รีเทล คิดจริง ทำจริง ใช้กลยุทธ์ CRC ReNEW ที่เกิดขึ้นจากการนำเอาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development […]

ทอดน่องท่องย่าน ‘แขกตานี’ ตามหาร่องรอยชาวมลายูในบางกอก

เหลียวซ้ายหันขวาพบว่ากลุ่มคนและวัฒนธรรมอิสลามอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ หรือถ้าหากเจาะจงให้แคบลงเฉพาะในเมืองหลวง ลองเปิดแผนที่กรุงเทพฯ ดู ก็ปรากฏชื่อของมัสยิดตั้งอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในโซนเมืองเก่าที่เราเจอว่ามีกลุ่มคนมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันหลายพื้นที่ นอกจากศาสนสถานและอาคารสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสะดุดตา คำศัพท์ต่างๆ ที่ภาษาไทยหยิบยืมมาใช้ อาหารรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ยังมีมรดกอีกหลายอย่างที่ตกทอดและแทรกตัวอยู่ท่ามกลางวิถีชีวิตของคนไทยจนอาจไม่ทันนึกถึง นับว่าเป็นการผสานความหลากหลายของผู้คนที่อยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอติดสอยห้อยตามเพจ Halal Life Magazine นิตยสารออนไลน์ของกลุ่มพี่น้องมุสลิม ไปทอดน่องท่องย่านในกิจกรรม ‘ย่ำตรอก ออกซอย ตามรอยบ้านแขกตานี’ ที่ชวนออกเดินทางสำรวจ ‘ย่านแขกตานี’ ชุมชนดั้งเดิมของคนมลายูที่อพยพมาจากภาคใต้ตั้งแต่ต้นกรุงฯ ตามหาร่องรอยต่างๆ ของแขกมลายูบริเวณนี้ เช่น อาคารบ้านเรือน ชื่อบ้านนามถิ่น อาหารการกิน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของผู้คนแถบนี้ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ที่สำคัญ เรายังได้กูรูด้านประวัติศาสตร์มุสลิมในประเทศไทยอย่าง ‘อาจารย์ศุกรีย์ สะเร็ม’ และผู้รู้อีกหลายๆ ท่าน มาเป็นผู้พาเดินเที่ยวและช่วยเติมเต็มเรื่องราวต่างๆ ของคนมุสลิมในกรุงเทพฯ ให้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย ถิ่นฐานย่านแขก ชุมชนคนมลายูในบางกอก ไม่ไกลจากถนนข้าวสาร แสงสีคู่กรุงเทพฯ ยามค่ำคืน และใกล้ๆ กันกับบางลำพู ช้อปปิงเซ็นเตอร์รุ่นเก่าของเกาะรัตนโกสินทร์ แต่เดิมแถบนี้เคยเป็นหมู่บ้านของพี่น้องชาวมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยกันอย่างหนาแน่น ประกอบกิจการร้านค้ากันเรียงรายทั่วย่าน แต่ปัจจุบันหากเดินสำรวจดูโดยไม่มีผู้รู้คอยนำทาง อาจไม่ทราบเลยว่าที่นี่เคยเป็นถิ่นฐานบ้านชาวมลายู เพราะเหลือเพียงชื่อกับร่องรอยไม่กี่อย่างที่บ่งบอกถึงเท่านั้น […]

ทำไมคนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยง ‘สัตว์’ แทนมี ‘ลูก’

แต่ก่อนเมื่อพูดถึงการมีครอบครัว ก็จะนึกถึงการวางแผนแต่งงานและมีลูกหลานไว้สืบสกุล ทว่าเทรนด์ครอบครัวของคนสมัยนี้อาจจะไม่ได้ยึดติดว่าต้องมีคู่ครองหรือมีลูกเป็นเป้าหมายของชีวิตอีกต่อไป หากขอแค่ได้ใช้ชีวิตเลี้ยงน้องหมาน้องแมวเหมือนลูกน้อยคนหนึ่งก็พึงพอใจแล้ว เนื่องจากไลฟ์สไตล์คนสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้คนมีความคิดและค่านิยมเรื่องครอบครัวต่างไปจากอดีต เดิมทีคนเลี้ยงสัตว์แบบแสดงความเป็นเจ้าของ (Ownership) อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ก็เหมือนการ์ตูนเรื่อง ‘ชินจัง’ ที่มีเจ้าชิโร่ สุนัขคู่ซี้ที่คอยอยู่เคียงข้างเจ้านายเสมอ แตกต่างจากทุกวันนี้ที่คนรุ่นใหม่มีมุมมองต่อสัตว์เลี้ยงเป็นเหมือนลูกคนหนึ่ง ซึ่งเรียกความสัมพันธ์นี้ว่า ‘Pet Parent’ แถมยังมองว่าตนเองไม่ใช่เจ้านาย แต่เป็นพ่อหรือแม่ของสัตว์เลี้ยง ที่ทุ่มเทเอาใจใส่น้องสี่ขาทั้งการใช้ชีวิต การกินและดูแลสุขภาพ ไม่ต่างจากการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจุบันคนไทยนิยมเลี้ยงสัตว์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะน้องหมาและแมว อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงไทย และกรมปศุสัตว์ สรุปว่า ปี 2020 ประเทศไทยมีจำนวนสัตว์เลี้ยงทั้งหมดประมาณ 15 ล้านตัว โดยจำนวนสุนัขประมาณ 9 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 2 ล้านตัว และจำนวนแมวประมาณ 3 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 8 แสนตัว รวมถึงทุกวันนี้คนรุ่นใหม่มีแนวโน้มเลี้ยงแมวมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากแมวสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดและดูแลตนเองง่าย เลี้ยงสัตว์ คนจ่ายไหวและมีข้อผูกมัดน้อย สาเหตุหลักๆ ที่คนสนใจเลี้ยงสัตว์ […]

7 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ไอเดียแก้ปัญหาเล็กๆ ที่ยุ่งยาก แต่พาเมืองไปต่อได้อย่างยิ่งใหญ่

พูดได้ว่า สตาร์ทอัพ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้ว แต่ก็พูดได้อีกเช่นกันว่า ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าสตาร์ทอัพคืออะไร ทำอะไร แล้วใครได้ประโยชน์บ้าง จากเอกสาร ‘Set Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ’ ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สรุปนิยามของธุรกิจสตาร์ทอัพว่า  “เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าว กระโดด ออกแบบให้ธุรกิจมีการทำซ้ำได้โดยง่าย (Repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (Scalable) มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน” พอหันกลับมามองสถานการณ์สตาร์ทอัพในไทย แม้ว่าเราอาจจะยังไม่สามารถพาตัวเองไปถึงระดับเอเชียหรือสากลได้ แต่แนวโน้มที่ผ่านมาก็พอพูดได้เต็มปากว่าสตาร์ทอัพไทยมีทิศทางที่ดี นั่นคือ นอกจากตัวธุรกิจจะได้รับการสนับสนุนจากทั้งเอกชนและรัฐบาลแล้ว ไอเดียต่างๆ ที่เหล่าชาวสตาร์ทอัพคิดค้นก็ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้ผู้คนได้ตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึงระดับเมืองเลย เราจึงขอรวบรวม 7 สตาร์ทอัพไทยที่น่าจับตามอง และมีไอเดียเป็นประโยชน์กับคนเมือง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากโครงการ Hack BKK จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วย iTAX เทคโนโลยีด้านภาษี iTAX คือเทคโนโลยีจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยปริญญาเอกด้านกฎหมายภาษีของ ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ (ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย) ด้วยความที่เชื่อว่าผู้เสียภาษีคือฮีโร่ตัวจริงของประเทศ เขาจึงหยิบเอาเทคโนโลยีชั้นสูงและดีไซน์ที่เรียบง่ายมาทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน […]

อังกฤษพัฒนาแผ่นเสียงแรกของโลก ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพลดปัญหาขยะจากอุตสาหกรรมดนตรี

ยุคหนึ่ง ‘แผ่นเสียง’ เคยเป็นที่นิยมจากนักฟังเพลง ก่อนที่เทปคาสเซตและซีดีจะถูกพัฒนาและได้รับการนิยมแทนที่ แต่ถ้าพูดในมุมของสะสม การได้ดื่มด่ำคุณภาพเสียงที่ต่างออกไป รวมถึงเสน่ห์ที่วัสดุบันทึกเสียงแผ่นกลมบางเท่านั้นจะให้ได้ ในวันนี้แผ่นเสียงกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในหมู่นักฟังเพลงและคนที่หลงใหลในอุปกรณ์ยุคแอนะล็อกอีกครั้ง ทำให้การผลิตแผ่นเสียงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  แผ่นเสียงผลิตขึ้นในปี 1948 โดยใช้วัสดุจากพลาสติกชื่อว่า ‘พอลิไวนิลคลอไรด์’ หรือ ‘PVC’ จึงทำให้เราได้รู้จักและเรียกมันว่า ‘แผ่นไวนิล’ ที่มีน้ำหนักเบาและบาง แถมยังตกไม่แตก ลดเสียงนอยส์จากหัวเข็ม ให้เสียงที่นุ่มนวล และยังบันทึกเพลงได้มากกว่าอุปกรณ์ในอดีต แต่ข้อเสียที่หลายคนพูดถึงก็คือ พลาสติกไวนิลเป็นหนึ่งในวัสดุที่ส่งผลเสียต่อโลกในระยะยาวมากที่สุด เพื่อทำให้การฟังเพลงไม่สร้างผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม บริษัท Evolution Music ในประเทศอังกฤษ จึงปิ๊งไอเดียพัฒนาการผลิตแผ่นเสียงให้มีความยั่งยืนมากขึ้น ด้วยการใช้วัสดุ ‘พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)’ ซึ่งเป็นพลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตรหรือจากธรรมชาติ เช่น ข้าวโพด น้ำตาลอ้อย มันสำปะหลัง ฯลฯ ทำให้แผ่นเสียงรุ่นใหม่จาก Evolution Music กลายเป็นแผ่นเสียงจากพลาสติกชีวภาพแผ่นแรกของโลก  ที่สำคัญ การผลิตแผ่นเสียงจากพลาสติกชีวภาพครั้งนี้ยังได้รับการรองรับจาก ‘Music Declares Emergency’ หรือองค์กรด้านการรณรงค์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2019 โดยศิลปินและผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกันหาทางออกของปัญหามลภาวะที่เกิดจากอุตสาหกรรมดนตรี Evolution Music […]

ไม่ต้องบีบซอสกินเล่นแล้ว ‘Saucesicles’ ไอศกรีมแท่งรสซอส กินเย็นๆ ได้หมดจนหยดสุดท้าย

เวลาเจอซอสที่อร่อย เราก็อยากกินให้หมดจนหยดสุดท้ายใช่ไหมล่ะ แต่ถ้ากินจากซองซอสหรือถ้วยซอสก็คงไม่เกลี้ยงดั่งใจ จะเป็นอย่างไรถ้าเปลี่ยนจากซอสที่คุ้นเคยให้กลายเป็นป็อปสิเคิล ไอศกรีมแท่งที่รับรองว่าเราจะได้กินซอสรสโปรดจนหมดไม่เหลือสักหยดแน่นอน Zaxby’s แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดต้นกำเนิดจากรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาที่อยากให้ลูกค้าได้ลิ้มรสชาติซอสซิกเนเจอร์แสนอร่อยได้ร่วมมือกับแบรนด์ไอศกรีม Frios จากรัฐอลาบามา ผลิต ‘ซอสสิเคิล’ ที่เปลี่ยนซอสตัวดังของร้านให้กลายเป็นป็อปสิเคิลหรือไอศกรีมแท่งเย็นชื่นใจเหมาะกับการเป็นของหวานดับร้อน ซอสสิเคิลมีสองรสชาติให้เลือกคือ ‘Zax’ ซอสซิกเนเจอร์ของแบรนด์ รสหวานอมเปรี้ยวมาพร้อมกับเทกซ์เจอร์ครีมมี่ที่มีส่วนผสมจากวูสเตอร์ซอส พริกไทย และเครื่องเทศสูตรลับของร้าน และ ‘Tongue Torch’ ซอสมะเขือเทศที่มีกลิ่นกระเทียม ปาปริก้า ขมิ้น และรสชาติอมเปรี้ยวจากมะนาว ให้ความรู้สึกทั้งเย็นและร้อนได้ในเวลาเดียวกัน ใครที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาแล้วอยากลองเปิดโลกต่อมรับรสกับขนมหวานรูปแบบใหม่ ลองสั่งฟรีผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ saucesicles.com จนกว่าสินค้าจะหมด  น่าเสียดายที่ไทยยังไม่มีขนมหวานแบบนี้ให้ท้าพิสูจน์ต่อมรับรสกัน แต่ถ้าจะมีซอสสิเคิลแบบไทยๆ ดูบ้าง ทุกคนคิดว่าควรเป็นรสชาติอะไรดี? ซอสศรีราชาก็น่าจะเหมาะกับอากาศร้อนบ้านเราเหมือนกันนะ Sources : DesignTAXI | bit.ly/3R4zza7  PR Newswire | prn.to/3S7ZWNy  Saucesicles | saucesicles.com

Urban Eyes 04/50 เขตคลองสามวา

คลองสามวาเป็นหนึ่งในเขตที่เราไม่ค่อยรู้จักหรือได้ไปเยี่ยมเยียนเท่าไหร่ แต่พอเริ่มหาข้อมูล ก็ทำให้รู้ว่าเราเคยมาเหยียบเขตนี้หลายรอบแล้วเพราะ Safari World ตั้งอยู่ที่นี่นั่นเอง  เขตคลองสามวาแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตก ฝั่งตะวันออกดูแล้วส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีเขียว ส่วนฝั่งตะวันตกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยซะมากกว่า พอถึงวันลงพื้นที่ เราก็ขับรถไปสำรวจพื้นที่โดยรอบ ช่วงเช้าตรงบริเวณตลาดหทัยมิตร ที่เป็นตลาดใหญ่ คนค่อนข้างเยอะและรถติดมาก ตัวตลาดมีหลังคาใหญ่ปิดมิดชิด อากาศถ่ายเทดี แต่เราหาซีนดีๆ ถ่ายรูปได้ค่อนข้างยาก โชคดีที่เราได้ข้อมูลพื้นที่โดยรวมของคลองสามวาจากแม่ค้าพ่อค้าในตลาด เขาอธิบายอย่างดีเลยว่าตรงนั้นตรงนี้เป็นอย่างไร  พอลองไปสำรวจดูแล้ว เราพบผู้คนในเขตนี้อยู่กันแบบกระจายตัว ไปไหนมาไหนต้องมียานพาหนะ อย่างน้อยๆ ก็รถมอเตอร์ไซค์สักคัน ถึงจะทำอะไรได้สะดวก ไม่เหมือนบางเขตที่พอใช้ขนส่งสาธารณะเดินทางได้  หลังจากนั้นเรามุ่งหน้าไปสถานที่ที่ปักหมุดไว้คือ วัดฝอกวนซัน ไท่ฮวาซื่อ ที่นี่เป็นวัดจีนที่ใหญ่โตมาก วันเสาร์-อาทิตย์ และวันพิเศษของจีน จะมีคนแวะเวียนมากันเต็มไปหมด ส่วนอีกที่คือวัดไทยชื่อ วัดพระยาสุเรนทร์ วัดนี้มีองค์พระใหญ่โตเช่นเดียวกัน คิดว่าช่วงวันหยุดคนก็น่าจะแน่นๆ ไม่ต่างกันแน่นอน ส่วนภายในตัวเมือง ช่วงเย็นจะมีตลาดนัดสี่แยกพระพรหมคลองสอง พ่อค้าแม่ค้ามากางเต็นท์กางร่มขายของกันเพียบ ส่วนใครต้องการบรรยากาศสบายๆ ชิลๆ อยู่กับธรรมชาติหน่อย ต้องขับรถไปทางฝั่งตะวันออก เพราะมีสวนวารีภิรมย์ ที่มีของเล่นสำหรับเด็กๆ และลานวิ่งยาวหลายกิโลเมตร ใครอยากนำจักรยานมาปั่นเล่นหรือเช่าที่นี่เอาก็ได้ ใครปั่นแล้วเจอควายเผือก 3 ตัวบอกด้วย อย่างวันที่เราไป น้องยืนกันนิ่งมากตอนแรกนึกว่าเป็นรูปปั้นซะแล้ว […]

สเปนเปลี่ยนเรือนจำให้กลายเป็นพื้นที่ชุมชน โรงอาหาร และที่พักพิงของคนไร้บ้าน

หลายครั้งที่สถานที่เก่าแก่ทั่วโลกถูกปรับปรุงและเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น เช่นเดียวกับ ‘El Roser Social Center’ ในเมืองทาร์ราโกนา ประเทศสเปน ที่อดีตเคยเป็นเรือนจำสำหรับคุมขังนักโทษตั้งแต่ปี 1929 จากนั้นถูกดัดแปลงเป็นอาคารเรียนในปี 1979 และล่าสุดในปี 2022 เรือนจำแห่งนี้ถูกเปลี่ยนอีกครั้งโดย ‘Josep Ferrando Architecture’ สตูดิโอสถาปัตยกรรมของบาร์เซโลนา ให้กลายเป็นพื้นที่ชุมชนใจกลางเมือง เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชนในเมืองให้มากขึ้น Josep Ferrando Architecture เข้ามามีส่วนช่วยในการดูแลและฟื้นฟูให้เรือนจำกลับมาอยู่ในสภาพดังเดิมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเผยให้เห็นถึงโครงสร้างและรูปแบบการก่อสร้างเรือนจำในอดีต อีกทั้งยังมีการออกแบบโครงสร้าง และมองหาวัสดุเพิ่มเติม เพื่อเปลี่ยนให้พื้นที่เรือนจำเดิมสามารถรองรับการใช้งานที่มีจุดประสงค์ใหม่ในการเป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชน โรงอาหาร และสถานที่พักพิงของคนไร้บ้านได้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจในท้องถิ่น และรวมอยู่ในคลังมรดกทางสถาปัตยกรรมของเมือง Tarragona ทำให้สตูดิโอต้องดำเนินงานการซ่อมแซมฟื้นฟู และต่อเติมส่วนอื่นๆ เข้าไปอย่างระมัดระวัง  โดยประตูทางเข้าและทางเดินของเรือนจำยังถูกรักษาคงสภาพไว้ดังเดิม แตกต่างไปเพียงตัวกำแพงทึบรอบลานเรือนจำที่ถูกรื้อถอนออกไป และแทนที่ด้วยโครงเหล็กสีแดงเพื่อให้ความรู้สึกโล่งโปร่งสบาย ลบภาพความอึมครึมของเรือนจำในอดีต กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนในเมืองสามารถเข้ามาใช้สถานที่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนโครงสร้างภายในเรือนจำถูกออกแบบให้กลายเป็นโรงอาหารขนาดใหญ่ของเมืองที่เปิดให้ประชาชนและคนไร้บ้านรับประทานอาหารภายในได้ฟรีเช่นกัน นอกจากนี้ ในส่วนของห้องพักภายในเรือนจำเดิม ยังถูกเปลี่ยนเป็นที่พักพิงสำหรับคนไร้บ้านในเมือง พร้อมติดตั้งระบบทำความร้อนที่ได้ประสิทธิภาพสำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ทำให้ El Roser Social Center ถือเป็นสถานที่แห่งแรกในสเปนที่รวบรวมบริการทางสังคมที่หลากหลายและครอบคลุมไว้ใต้หลังคาเดียวกัน ซึ่งทาง […]

ท่องกรุงเทพฯ ส่องสถาปัตยกรรม พา New Honda Civic e:HEV RS ไปสร้างไลฟ์สไตล์ในเมือง

ถ้าเป็นคนเราอาจสังเกตรูปร่างหน้าตาภายนอกและพูดคุยเพื่อรับรู้ได้ประมาณหนึ่งว่าเขาเป็นคนแบบไหน แต่สำหรับ ‘เมือง’ การได้ออกไปเห็นอาคาร บ้านเรือน และสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวความเป็นมาของย่านนั้นๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน  ซึ่งทุกเมืองทั่วโลกล้วนมีเสน่ห์ในตัว ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ ที่อัดแน่นด้วยเอกลักษณ์มากมายและยังมีอะไรให้น่าค้นหาอยู่ ไปย่านหนึ่งเราอาจได้บรรยากาศแบบหนึ่ง และเพียงเดินทางไม่นานไปอีกย่านหนึ่ง อาคาร บ้านเรือน และบริบทโดยรอบที่เปลี่ยนไปก็ทำให้เราได้ซึมซับบรรยากาศแปลกใหม่แล้ว จึงไม่แปลกที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาเที่ยวในกรุงเทพฯ จะชื่นชอบ จนเอ่ยปากชมกันนักต่อนัก ไหนๆ วันนี้มีเวลาได้ชิล เราขอพาเพื่อนสาวชาว Urban Creature จัดทริปออกไปสำรวจเมืองให้กว้างขึ้น ส่องสถาปัตยกรรมในย่านต่างๆ แวะตามคาเฟ่สุดชิก พร้อมทำคอนเทนต์กับ New Honda Civic e:HEV RS ที่เป็นเจเนอเรชัน 11 ของรุ่น Civic ที่อยู่คู่คนไทยมานาน และครั้งนี้ก้าวสู่มิติใหม่ด้วยระบบขับเคลื่อนฟูลไฮบริด ประหยัดน้ำมันยิ่งกว่าเดิม แต่ยังให้อัตราเร่งที่เร็วแรงเหมือนกับดีไซน์ตัวรถที่ดูสปอร์ตพรีเมียม หรูหราในทุกมุมมอง สอดรับกับไลฟ์สไตล์คนเมืองได้อย่างลงตัว เมื่อเป็นรถที่เข้ากับคนเมืองอย่างเราขนาดนี้แล้ว…งั้นขอสตาร์ทขับไปทั่วเมือง และแวะถ่ายรูปรถคู่กับเมืองย่านต่างๆ มาฝากชาว Urban Creature จะได้เห็นชัดกันเลยว่า New Honda Civic e:HEV RS ดีงามขนาดไหน ความโฮมมี่ ในย่านใจกลางเมือง เริ่มต้นเช้าแบบนี้ ต้องขอแวะดื่มกาแฟกันก่อนที่ […]

ค่า Ft คืออะไร ทำไมใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมแต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

ถัดจากปัญหาฝนตกหนักน้ำท่วมขังที่หลายคนกังวลอยู่ในช่วงนี้ ก็คงเป็นเรื่อง ‘ค่าไฟ’ นี่แหละที่จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ถาโถมใส่ชาวไทยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันดับต่อไป อัตราค่าไฟฟ้าส่อแววเป็นปัญหาน่าปวดหัว หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศปรับ ‘ค่า Ft’ ของงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม ปี 2565 ขึ้นเป็น 93.43 สตางค์/หน่วย จากเดิม 24.77 สตางค์/หน่วย เพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 4 เท่า นี่ยังไม่รวมถึงไตรมาสเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ปี 2566 ที่จะถึงนี้ที่จะมีการปรับขึ้นเป็น 98.27 สตางค์/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าแต่ละครัวเรือนจะใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิมหรือน้อยลง พวกเขาก็อาจต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอยู่ดี หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ทำไมถึงเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการคิดค่าไฟ วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักส่วนประกอบสำคัญของบิลค่าไฟฟ้าอย่างค่า Ft ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และทำไมการขึ้นค่า Ft ของ กกพ. ถึงทำให้ค่าไฟแพงขึ้นขนาดนี้ เผื่อจะช่วยไขข้อข้องใจของใครหลายคน และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อวางแผนการใช้ไฟในอนาคตได้ บิลหนึ่งใบ ค่าไฟหนึ่งเดือน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของ […]

1 125 126 127 128 129 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.