LATEST
‘Clams’ ประติมากรรมหอยตัวจิ๋ว เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ขยับและส่งเสียงเมื่อน้ำไม่สะอาด
เมื่อไหร่ก็ตามที่ระบบนิเวศแหล่งน้ำเริ่มพัง เหตุเพราะมลพิษต่างๆ ทำให้คุณภาพแหล่งน้ำไม่ดี สิ่งมีชีวิตชนิดแรกๆ ที่สามารถรับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงคือ ‘หอย’ ‘Clams’ คือประติมากรรมรูปร่างหอยสองฝาตัวจิ๋ว ผลงานของ ‘Marco Barotti’ Media Artist ที่หยิบเอาชีววิทยาและการทำงานตามธรรมชาติที่รับรู้ถึงความผิดปกติของคุณภาพน้ำได้ก่อนใครของหอย มาใช้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม เกิดเป็นผลงานจากการรวมตัวระหว่างเซนเซอร์ที่สามารถวัดคุณภาพน้ำได้จริง และพลาสติกใสรีไซเคิลที่ถูกออกแบบมาในลักษณะหอยสองฝาตัวเล็กจำนวนมาก ที่ภายในมาพร้อมลำโพง หลักการทำงานของประติมากรรมชิ้นนี้คือ เมื่อเซนเซอร์ตรวจพบว่าคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำนั้นๆ เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด จะส่งสัญญาณมายังเปลือกหอยเล็กๆ ที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ ทำให้เปลือกหอยเหล่านี้ขยับตัวและส่งเสียงออกมา คล้ายกำลังกรีดร้องให้กับมลพิษที่กำลังเผชิญ Marco Barotti มองว่า การสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะนี้ขึ้นคือการทำให้ชิ้นงานทำหน้าที่อุปมาอุปไมยถึงผลกระทบของมนุษย์ที่มีต่อโลก และมุ่งหวังให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยใช้สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ตัวเราเป็นผู้นำเสนอถึงผลกระทบ Sources :Designboom | t.ly/fLRCA Marco Barotti | www.marcobarotti.com/ClamsYanko Design | t.ly/s7haR
เปลี่ยนพื้นที่ว่างใต้ BTS ให้เป็น ‘จุดนั่งรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์’ ลดปัญหาการแออัดบนบันไดและฟุตพาท
ฝนตก แดดออก รอรถไฟฟ้าก็ว่าเหนื่อยแล้ว หลายคนยังต้องลงมาท้อกับการเข้าแถวรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ จนเกิดเป็นความแออัดบนทางเท้าที่บางครั้งก็ยาวไปถึงตีนบันได BTS อีกต่อ เพราะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้ายังคงมีเพียงบนถนนเส้นหลัก ในขณะที่บ้านของเราหลายคนตั้งอยู่ในซอกซอยที่ขนส่งสาธารณะไปไม่ถึง การเชื่อมต่อด้วยมอเตอร์ไซค์หรือแท็กซี่จึงกลายเป็นชอยส์ที่ดีที่สุด อีกทั้งบางทีพื้นที่ทางเท้าใต้บีทีเอสยังกลายเป็นจุดจอดวินมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก ทั้งที่มีป้ายกำกับไว้ชัดเจนว่าห้ามจอด หรือซ้ำร้ายบางแห่งก็ถูกปล่อยว่างไว้เฉยๆ โดยไม่ได้ใช้งาน จนกลายเป็นจุดบอดที่สร้างความน่ากลัวให้กับคนที่ผ่านไปมาวันนี้คอลัมน์ Urban Sketch ขอหยิบเอาปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขด้วยการออกแบบจุดรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ใต้บันไดบีทีเอสซะเลย เผื่อจะช่วยลดปัญหาความแออัดในการยืนรอ รวมถึงป้องกันปัญหาการใช้พื้นที่ผิดวิธีอีกด้วย 1) ไร้กังวลฝนตกฟ้าร้อง ด้วยส่วนหลังคาต่อขยาย ฝนจะตก ฟ้าจะถล่มก็ไม่ต้องกลัว เพราะเราได้ขยายหลังคาบีทีเอสออกทั้งสองด้าน เพื่อให้การเดินทางไร้รอยต่อ สามารถเชื่อมการเดินทางจากบันไดบีทีเอส สร้างเส้นทางเดินยาวไปยังจุดนั่งรอได้สบายๆ 2) รอได้สะดวก ด้วยที่นั่งใต้บันไดทางลงรถไฟฟ้า ที่ว่างโล่งๆ ใต้บันไดบีทีเอสบางครั้งอาจถูกนำไปใช้ผิดวิธี ทั้งกลายเป็นจุดจอดมอเตอร์ไซค์ พื้นที่ขายของ หรือปล่อยว่างไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร เราขอปรับเป็นม้านั่งยาวๆ ให้ผู้ที่ต้องการเดินทางต่อเนื่องจากบีทีเอส หรือใครก็ตามที่ต้องการรอรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ได้มีที่นั่งกัน ไม่ต้องกลัวเมื่อยหรือขวางเส้นทางเดินเท้าของผู้ที่สัญจรผ่านไปมา 3) ปลอดภัย สบายใจ ด้วยไฟสว่างและ CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความมืดยามค่ำคืนผสมกับเงาใต้บันไดบีทีเอส ที่อาจทำให้พื้นที่นี้กลายเป็นพื้นที่มืดๆ น่ากลัว แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะเราจะติดตั้งหลอดไฟและกล้องวงจรปิดตลอด 24 […]
Sai Kirupa Special School โรงเรียนที่ตั้งใจออกแบบส่วนต่างๆ เพื่อพัฒนาเด็กออทิสติกและผู้พิการโดยเฉพาะ
Sai Kirupa เป็นโรงเรียนเฉพาะทางในการฝึกอาชีพให้กับเด็กและเยาวชนที่มีภาวะออทิสติกสเปกตรัม (ASD) รวมถึงผู้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อื่นๆ ในวิทยาเขตใหม่ที่ Tirupur โรงเรียนมุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนแบบองค์รวม ส่งเสริมความเป็นอิสระและการพึ่งพาตนเอง การออกแบบของวิทยาเขตนี้จึงสะท้อนความต้องการของนักเรียน และสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การบ่มเพาะการเติบโต การออกแบบอาคารนี้แบ่งออกเป็น 3 เฟสในการก่อสร้าง ส่วนแรกเป็นการก่อสร้างสำหรับพื้นที่ใช้งานช่วงกลางวัน ก่อนต่อขยายออกไปยังพื้นที่อื่น อย่างการออกแบบฝั่งหอพักนักเรียนและห้องเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความจำเป็นในการพึ่งพาน้อยกว่า อาคารแบ่งออกเป็นสองปีก คือปีกเหนือกับปีกใต้ โดยมีพื้นที่ตรงกลางเชื่อมระหว่างสองปีกไว้ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวถูกใช้เป็นลานเด็กเล่น และเพิ่มเวทีด้านหน้าสำหรับจัดการแสดง พร้อมทางเข้าที่สะดวกสำหรับผู้เยี่ยมชม ส่วนลานด้านหลังที่มีขนาดใหญ่กว่าถูกจัดให้เป็นสนามเด็กเล่นกลางแจ้งพร้อมด้วยเครื่องเล่นเสริมพัฒนาการต่างๆ ด้วยสภาพอากาศร้อนตลอดทั้งปี การวางผังอาคารจึงเพิ่มพื้นที่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ ลดการโดนแสงแดดโดยตรงในช่วงกลางวัน รวมถึงใช้ผ้าใบกันแดดคลุมบริเวณลานทั้งสอง เปิดเป็นพื้นที่เปิดโล่ง สะดวกสบายสำหรับการเล่น ลานด้านหลังได้รับการออกแบบเพื่อส่งเสริมการเล่นทั้งในรูปแบบการเล่นตามแบบแผนหรือจะเล่นอย่างอิสระก็ได้ ในแต่ละชั้นของอาคารนี้ เน้นการสร้างพื้นที่ที่สอดคล้องกับความต้องการทางประสาทสัมผัสของนักเรียน ทางเดินโค้งเชื่อมจากลานเปิดไปยังภายใน เสริมขอบให้กลายเป็นม้านั่ง รวมถึงทางเดินยาวก็แตกออกเป็นซอกเล็กๆ ที่ทางเข้าของแต่ละห้องเรียนจะมีที่เก็บของสำหรับกระเป๋า รองเท้า ฯลฯ อาคารฝั่งเหนือมีทั้งหมด 8 ห้องเรียน และด้วยนักเรียนออทิสติกหลายคนต้องมีการฝึกใช้ห้องน้ำ แต่ละห้องเรียนจึงมีห้องน้ำใกล้ๆ ไว้โดยเฉพาะ โดยใช้ผนัง Jaali ในพื้นที่เหล่านี้เพื่อช่วยเพิ่มแสงสว่างและการระบายอากาศ แต่ก็รักษาความเป็นส่วนตัวของเด็กไว้ ส่วนอาคารฝั่งใต้เป็นที่ตั้งของห้องบำบัด (Therapy Room) และโรงอาหาร เพื่อสนับสนุนพัฒนาการของนักเรียน เส้นทางการเดินทั่วอาคารเน้นองค์ประกอบการออกแบบเชิงประสบการณ์ […]
Everything Jingle Bell
เทศกาลคริสต์มาสในประเทศอังกฤษ เป็นวันหยุดและเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดของปี ในช่วงฤดูหนาวที่มืดมน เทศกาลนี้จึงเป็นเทศกาลที่เรารอคอย เป็นโอกาสดีที่จะได้ใช้เวลาร่วมกับครอบครัวและคนที่เรารัก เป็นโอกาสที่ผู้คนได้เฉลิมฉลอง พักผ่อน ได้ทบทวนปีที่ผ่านไป รวมถึงวางแผนปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ในช่วงปี 2022 และ 2023 ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เฉลิมฉลองคริสต์มาสในประเทศไทย และรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับความกระตือรือร้นของคนไทยเกี่ยวกับวันคริสต์มาส ตั้งแต่การตกแต่งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ไปจนถึงงานปาร์ตี้คริสต์มาสของแต่ละออฟฟิศ การแลกของขวัญระหว่างเพื่อนๆ หลายๆ ประเพณีที่ผมรู้จักเกี่ยวกับวันคริสต์มาสได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่ หรือมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย การได้เห็นคริสต์มาสผ่านวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก โปรเจกต์ภาพถ่ายของผมจึงต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของคริสต์มาสในประเทศไทย หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
Sounds Right ครั้งแรกที่เสียงจากธรรมชาติได้ค่าลิขสิทธิ์ บนแพลตฟอร์มสตรีมมิงที่มี ‘NATURE’ เป็นศิลปิน
จะเป็นอย่างไร ถ้าธรรมชาติกลายมาเป็นศิลปินที่มีซิงเกิลเป็นของตัวเอง ‘Sounds Right’ คือแพลตฟอร์มสตรีมมิงสำหรับฟังเสียงธรรมชาติ หนึ่งในโครงการของ Museum for the United Nations – UN Live ที่พัฒนาและจัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างนักดนตรี นักสร้างสรรค์ ผู้บันทึกเสียงธรรมชาติ นักอนุรักษ์ และองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม โครงการนี้ยังได้รับการพัฒนาร่วมกับพันธมิตรผู้ก่อตั้ง ได้แก่ EarthPercent, The Listening Planet, VozTerra, Earthrise, Hempel Foundation, Community Arts Network, Dawn Chorus, LD Communications, Dalberg, Axum, Music Declares Emergency, Limbo Music, Count Us In, AKQA, และ Rare Spotify เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติ กระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติ และอนุญาตให้ธรรมชาติสร้างรายได้จากดนตรีของตัวเอง การเปิดตัวโครงการ Sounds […]
‘Bangkok Pains’ บอร์ดเกมที่จำลองการใช้ชีวิตหนึ่งปีบนความเจ็บปวดของการอยู่กรุงเทพฯ
การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ แต่ละวันแทบไม่ต่างอะไรจากการเล่นเกม เพราะมักมีอะไรเซอร์ไพรส์เราอยู่เสมอ วันดีคืนดีก็ดวงดีแบบสุดๆ หรือวันไหนใส่เสื้อผิดสีก็อาจโชคร้ายไปตลอดทั้งวัน ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับดวงทั้งหมดด้วยซ้ำ แต่อาจเป็นเพราะการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ นั้นเดาได้ยากจนเหมือนกับว่ามีคนเล่นเกมกับชีวิตเราทุกวัน หลายคนคงคิดไม่ต่างกันในแง่ที่เราเหมือนตัวละครในเกมที่โดนควบคุม เช่นเดียวกับเอเจนซีโฆษณา ‘Invisible Ink’ ที่หยิบเอาคอนเซปต์การใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในกรุงเทพฯ มาออกแบบเป็นบอร์ดเกมขำๆ ในวัน April Fool’s Day แต่กลับได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้แนวคิดนี้ถูกนำไปต่อยอดและพัฒนา ด้วยการนำความโกลาหลและเสน่ห์เฉพาะตัวของกรุงเทพฯ มาเป็นแรงบันดาลใจ จนได้ออกมาเป็นบอร์ดเกม ‘Bangkok Pains’ ให้ทุกคนได้เล่นกันจริงๆ โดยเนื้อหาของเกมจะมุ่งเน้นไปยังการเอาตัวรอดจากอุปสรรค ซึ่งเป็นความเจ็บปวดในกรุงเทพฯ เช่น การเปลี่ยนอาชีพ การเดินทาง หรือแม้แต่สิ่งไม่คาดคิดต่างๆ ที่เราจะได้เจอในเมืองนี้ เกมนี้เล่นได้ตั้งแต่ 2 – 6 คน วิธีการเล่นก็ไม่ยากแค่แต่ละคนต้องเลือกอาชีพที่คิดว่าสามารถอยู่รอดได้ในกรุงเทพฯ ตลอดระยะเวลาหนึ่งปี ผ่านการจั่วการ์ด ‘Pain or Gain’ และลุ้นว่าในแต่ละตานั้นจะต้องเจออะไรบ้าง เช่น ค่าปรับที่ต้องเสีย ค่ารักษาพยาบาลจากอาหารข้างทาง หรือโบนัสที่ได้มาแบบเซอร์ไพรส์ เพื่อหาผู้ชนะที่เอาชีวิตรอดมาได้พร้อมกับเงินที่เหลือมากที่สุด ใครที่เผชิญหน้ากับความลำบากในการใช้ชีวิตที่กรุงเทพฯ แล้วยังไม่หนำใจ ยังอยากลำบากได้อีก และอยากลองท้าทายชะตาชีวิตในรูปแบบของเกมบ้าง กดสั่งซื้อบอร์ดเกมแบบพรีออเดอร์ในราคา […]
‘พระราม 4’ ย่านที่อยู่อาศัยสุดแรร์ ท่ามกลางไวบ์ธรรมชาติ เต็มไปด้วยเสน่ห์ ตอบโจทย์วิถีชีวิตหลากหลาย
ก่อนหน้านี้ ‘พระราม 4’ อาจเป็นทำเลที่หลายๆ คนมองข้าม เพราะมักถูกพูดถึงในฐานะถนนเส้นที่เชื่อมต่อไปยังสาทร ถนนวิทยุ หรือโซนสุขุมวิท แต่เมื่อไม่นานมานี้เราได้ยินชื่อพระราม 4 บ่อยขึ้น หลังจากมีโครงการระดับ Mega Project ที่กำลังทยอยเปิดให้บริการ จึงไม่แปลกใจที่ชื่อพระราม 4 จะเริ่มคุ้นหู จนมีหลายคนเริ่มมองหาโอกาสในการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ และตกหลุมรักย่านนี้กันมากขึ้น เพราะมีทุกอย่างครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิตคนเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีมุมสงบ ให้บรรยากาศความเป็นธรรมชาติ เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจในวันสบายๆ ขนาบด้วยพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ถึงสองแห่ง ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บริเวณ Central Park คอลัมน์ Neighboroot เลยอยากชวนไปค้นพบเสน่ห์ของพระราม 4 ถนนเส้นที่เชื่อมต่อกับพื้นที่แห่งโอกาสใหม่ๆ เดินทางได้อย่างสะดวกสบาย และเต็มไปด้วยหลากหลายธุรกิจในพื้นที่ที่ช่วยเติมสีสันให้กับย่านได้เป็นอย่างดี เริ่มต้นทำความรู้จักย่านนี้ด้วยภาพจำของทำเลสุดแรร์ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ Central Park ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ถึง 2 แห่ง ที่แรกคือ ‘สวนลุมพินี’ สวนสาธารณะใจกลางเมืองที่หลายคนคุ้นเคย สวนสีเขียวสำหรับออกกำลังกายที่มีห้องสมุดประชาชนเปิดให้ใช้งานฟรี และอีกแห่งคือ สวนป่าขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่มีพื้นที่กว่า 300 ไร่บนที่ดินของโรงงานยาสูบเก่าอย่าง ‘สวนป่าเบญจกิติ’ ที่ภายในมาพร้อมโซนกิจกรรมมากมาย ถือเป็นพื้นที่สีเขียวที่เปรียบเสมือนปอดของคนกรุงเทพฯ ทำให้บรรยากาศภายในย่านดูสงบร่มรื่นเมื่อเทียบกับพื้นที่ใกล้เคียง เปิดโอกาสให้เราได้ใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติมากขึ้น […]
ชีวิตคนต้องปรับเพราะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และยังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตรอบตัว รวมถึงการโยกย้ายถิ่นฐานจากปัญหาที่ว่านี้ ที่เราทุกคนต้องเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นและช่วยกันหาทางออก “ผลกระทบจาก Climate Change จะกระทบต่อลูกหลานเราอย่างหนัก ในอนาคตเราอาจจะอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครไม่ได้อีกแล้ว ถ้าเรายังไม่ทำอะไรสักอย่าง” .Urban Creature คุยกับ รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต ถึงสาเหตุหลักของการเกิด Climate Change รวมถึงผลกระทบที่เกิดกับสภาพแวดล้อมและสังคม จนถึงขั้นมีผู้อพยพและผู้ที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต สร้างความเข้าใจและหาแนวทางแก้ไขที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นก่อนที่จะสายเกินไป
สำรวจ ‘ฉงชิ่ง’ เมืองแห่งภูเขากับความซับซ้อนทางภูมิทัศน์และดาวรุ่งเศรษฐกิจจากการพัฒนาสถาปัตยกรรมล้ำยุค
นาทีนี้คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธความฮอตทั้งความเผ็ดชาและความนิยมของหมาล่าได้ แต่นอกจากความจัดจ้านจากพริกหมาล่าแล้ว เมืองผู้เป็นต้นกำเนิดหม้อไฟแสนอร่อยจากมณฑลเสฉวนอย่าง ‘ฉงชิ่ง’ เองก็กำลังร้อนแรงไม่แพ้กัน ฉงชิ่ง เป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน จากการปลุกปั้นโดยรัฐบาลในช่วงปลายยุค 90 ให้กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ แต่ด้วยภูมิทัศน์ประเทศที่เป็นภูเขาและเนินสูงต่ำมากมายจนเรียกได้ว่าเป็น ‘เมืองแห่งภูเขา’ จึงเป็นเหมือนข้อจำกัดหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงเมือง อย่างไรก็ตาม อุปสรรคเหล่านี้กลับกลายเป็นข้อดีในการสร้างเอกลักษณ์ด้านการวางผังเมือง ที่สามารถเชื่อมต่อระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น ทำไมรัฐบาลจึงเลือกเปลี่ยนเมืองชนบทกลางภูเขาให้กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในจีน รวมถึงแนวคิดการสร้าง ‘เมืองซ้อนเมือง’ เพื่อทลายข้อจำกัดด้านพื้นที่ และจุดยืนในการเป็นเมืองไฮเทคด้วยสถาปัตยกรรมล้ำสมัย ตามคอลัมน์ City in Focus ไปดูกัน เมืองซ้อนเมืองซ้อนภูเขาซ้อนถนน หากจะนิยามเมืองที่ ‘ซับซ้อน’ ฉงชิ่งคือตัวอย่างของเมืองที่มีผังเมือง ‘ซ้อน’ กันอย่างแท้จริง ด้วยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาล้อมรอบและเนินเขาลาดชัน อีกทั้งยังมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำสองสายสำคัญทั้งแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเจียหลิง จุดโดดเด่นแรกคงหนีไม่พ้นการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงาม แต่เมื่อรัฐเลือกให้เป็นพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจ การพัฒนาผังเมืองจำเป็นต้องยืดหยุ่นไปตามพื้นที่อย่างเลี่ยงไม่ได้ แนวคิดเมืองซ้อนเมืองจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับปัญหานี้ ตึกระฟ้า อาคารสูง และถนน ถูกสร้างขึ้นแตกต่างหลายระดับเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน อีกทั้งสะพานยกระดับข้ามแม่น้ำหรือบันไดวนสูงรอบภูเขาก็สามารถพบได้ทั่วไป จนทำให้มองเผินๆ ดูคล้ายกับว่ามีเมืองอีกเมืองหนึ่งซ้อนทับอยู่ด้านบน ด้วยความเป็นเอกลักษณ์เกินปกติของผังเมือง การสัญจรภายในเมืองจึงซับซ้อนคดเคี้ยวราวกับเดินเขาอยู่ตลอดเวลา แต่ฉงชิ่งก็แก้เกมการเดินทางด้วยเทคโนโลยีด้านคมนาคมที่ราวกับหลุดออกมาจากหนังไซไฟอย่าง ‘รถไฟลอยฟ้าทะลุตึก’ เมื่อเศรษฐกิจเติบโต เทคโนโลยีจึงเติบใหญ่ เมื่อได้รับเลือกให้เป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ ฉงชิ่งกลายเป็นที่ตั้งของบริษัทขนาดใหญ่กว่า 500 […]
เตรียมพบ ‘Dior Gold House’ ตัวตึกจำลองสาขาหลักแห่งกรุงปารีส ร่วมมือกับนักออกแบบชาวไทย บูติกใหม่ใจกลางเพลินจิต 8 ธ.ค. นี้
หลายๆ คนน่าจะได้เห็นไซต์ก่อสร้างขนาดใหญ่ตรงบริเวณเพลินจิตที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยอาคารหลังนั้นเป็น Concept Store แห่งใหม่ของ Dior ในรูปแบบตึกสีทองอร่ามจำลองสาขาหลักหมายเลข 30 ถนน Montaigne กรุงปารีส ด้วยความตั้งใจในการออกแบบมาเพื่อพัฒนาไปพร้อมกับฤดูกาลและคอลเลกชันต่างๆ เสมือนโอเอซิสใจกลางเมืองหลวง ตัวตึกของบูติกแห่งนี้ Dior ร่วมงานกับนักออกแบบชาวไทย เพื่อสรรค์สร้างร้านที่ทั้งคงอัตลักษณ์เฉพาะตัวและยังผสานเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น กรกต อารมย์ดี, วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์, ศรัณย์ เย็นปัญญา จาก 56thStudio, รัฐ เปลี่ยนสุข และฟิลิปป์ มัวสัน จาก Sumphat Gallery, บุญเสริม เปรมธาดา, วาสนา สายมา และวาสิน สายมา จาก Vassana และ เอกรัตน์ วงษ์จริต นอกจากนี้ ที่นี่ยังมี Café Dior ที่อยากชวนทุกคนเข้ามาเยี่ยมชมพื้นที่ พร้อมลิ้มลองความหอมหวานแสนอร่อยจากเมนูของเชฟ Mauro Colagreco เจ้าของมิชลิน 3 […]
ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive พฤศจิกายน 2567
ผมเพิ่งอ่านเจอคำว่า ‘Material Culture’ เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า ‘วัฒนธรรมวัตถุ’ โดยในหนังสือที่ผมอ่านเจอ เขาชวนแปลให้ยาวขึ้นอีกนิดว่า ‘วัฒนธรรมที่ส่งผ่านวัตถุสิ่งของ’ เพราะ Material Culture คือการศึกษาที่ว่าด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวัตถุสิ่งของที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อเข้าใจวัฒนธรรม แนวความคิด หรือทัศนคติที่เกิดขึ้นในสังคม Material Culture นั้นมีการใช้กรอบวิเคราะห์ในการศึกษาวัตถุสิ่งของที่เรียกว่า Object-driven ที่พยายามทำความเข้าใจสิ่งที่นอกเหนือจากประเด็นของตัววัตถุเอง ชวนให้ตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับมนุษย์และสังคมที่ผลิตขึ้นและใช้สอยมัน เราไม่สามารถแยกอิทธิพลระหว่างมนุษย์และวัตถุที่ส่งผ่านกันกลับไปกลับมาจนเกิดเป็นพฤติกรรม ก่อรูปความสัมพันธ์เชิงอำนาจของผู้คนในสังคมในแต่ละช่วงเวลาจนเป็นภาพสะท้อนสังคม เมื่อเข้าใจได้ประมาณนี้แล้ว ผมก็พบว่า คอลัมน์ ดีไซน์เค้าเจอ ที่ผมได้หยิบนำภาพสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ริมทางท้องถนนหรือตามร้านรวงต่างๆ มาพยายามเล่าให้เพื่อนๆ ชมและอ่านกันนั้น ก็ถือว่าเป็นการทำงานทาง Material Culture ของสังคมไทยได้เช่นกัน โดยเฉพาะพื้นที่สังคมเมือง เป็นไปตามจุดประสงค์แรกของผมที่หวังว่าคอลัมน์นี้จะช่วยให้เราได้เรียนรู้พฤติกรรมและทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากขึ้น ผมมีข้อสังเกตหนึ่งว่า พฤติกรรมหนึ่งของคนส่วนใหญ่ในเมืองที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจนมากๆ คือการ ‘ดัดแปลง’ และ ‘พลิกแพลง’ เศษวัสดุเหลือใช้ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใหม่ ที่ไม่เน้นหน้าตาแต่เน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก หากมองพฤติกรรมนี้ภายใต้แว่นของ Material Culture แล้วนั้น เราอาจจะพบว่าสิ่งนี้คืออาการที่เป็นผลพวงจากการซ้อนทับของปัญหาและความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมเมือง ไม่ว่าในเชิงเศรษฐกิจ การศึกษา […]
กทม.แจ้งเฝ้าระวัง ‘พิษสุนัขบ้า’ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์จรจัด และสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง
หลังจากที่พบสัตว์ป่วยด้วยอาการโรคพิษสุนัขบ้า บริเวณสำนักงานศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ในซอยอ่อนนุช 86 ทางกรุงเทพมหานครได้ขอความร่วมมือในการเลี่ยงการสัมผัสสัตว์จรจัดในพื้นที่ รวมถึงแจ้งการเฝ้าระวังประชาชนและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงในรัศมี 5 กิโลเมตร คือ – แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร – แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร – แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร – ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยในตอนนี้ทางเขตประเวศเองได้มีการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สำหรับคนและสัตว์เลี้ยงฟรี ตั้งแต่วันที่ 23 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ และให้สังเกตอาการของสัตว์เลี้ยงในบ้านด้วยว่าผิดปกติหรือพบสัตว์ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปหรือไม่ แต่แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เฝ้าระวัง เราก็ต้องคอยสังเกตและระวังทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์จรจัดที่เจอให้ดีว่ามีอาการเข้าข่ายว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ เช่น หงุดหงิด กระวนกระวาย ไล่กัดคนหรือสัตว์อื่นๆ ไม่เลือก ขากรรไกรค้าง เป็นต้น โรคพิษสุนัขบ้าคือโรคติดเชื้อในระบบประสาทที่ติดจากสัตว์สู่คน เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษา จึงทำให้ผู้ติดเชื้ออันตรายถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม สามารถป้องกันเบื้องต้นเพื่อลดการเสียชีวิตได้ด้วยการฉีดวัคซีน แม้จะชื่อว่าพิษสุนัขบ้า แต่ก็พบโรคนี้ได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด […]