VICMON นักวาดปกนิยาย 300 เล่มแห่ง สนพ.แจ่มใส กับปากกาด้ามใหม่ในฐานะนักเขียนการ์ตูน

ความทรงจำวัยเด็กของใครหลายคน เติบโตมาพร้อมกับแผงหนังสือนิยายรักวัยรุ่น ปกการ์ตูนที่วางเรียงรายอยู่เต็มชั้น เพื่อรอคอยให้นักอ่านวัยใสช้อปลงตะกร้า ภาพความสวย ความหล่อ และความเท่ของตัวละครน่าหยิบจับไม่แพ้กับเนื้อหาในเล่ม จนหลายคนเป็นแฟนตัวยงของนักวาดไปโดยปริยาย หนึ่งในนักวาดปกนิยายที่ตราตรึงใจเหล่านักอ่านคือ ‘VICMON’ (วิกมน) หรือ มน-เพียงพิชญ์ ศาสตร์ศศิ นักวาดภาพปกนิยายแจ่มใสมากกว่า 300 เล่ม ผู้ฝากลายเส้นบนนิยายรักวัยรุ่นจนกลายเป็นยุคทองของ ‘นิยายแจ่มใส’  ถึงเวลาชวนเธอมาพูดคุยถึงเบื้องหลังงานปก และการกระโดดเข้าสู่สนามแห่งใหม่ในอาชีพ ‘นักเขียนการ์ตูน’ ที่ถูกแปลให้อ่าน 3 ภาษาใน 3 ประเทศ วาดภาพบนคอมฯ ด้วยเมาส์หนู บันไดขั้นแรกของวิกมน คงคล้ายกับศิลปินทั่วไปที่ชื่นชอบการวาดภาพ หลงใหลการอ่านการ์ตูน แถมยังมีไอดอลเป็น อาจารย์ทาเคชิ โอบาตะ-นักวาดการ์ตูนเดธโน้ต อาจารย์นาโอกิ คุโรซาวา-นักวาด Monster และ 20th Century Boys และ โนบุฮิโระ วาสึกิ-นักวาดซามูไรพเนจร เมื่อเสพลายเส้นของชั้นเซียนได้สักพัก เธอเริ่มจับดินสอวาดการ์ตูนไว้อ่านเอง จนกระทั่งเพื่อนชักชวนให้ลองปล่อยของในเว็บบอร์ด นั่นเป็นครั้งแรกที่วิกมนได้รู้จักโลกของ ‘คอมพิวเตอร์กราฟิก’ “ตอนนั้นเราอยู่ ม.3 เพิ่งเรียนรู้ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า Computer Graphic […]

Silent Voices Matter เมื่อความเงียบกู่ก้อง นิทรรศการที่ส่งเสียงของเด็กให้ดังขึ้น ผ่านงานศิลปะที่สะท้อนความอัดอั้นในใจ

‘เด็ก’ ผู้ที่ถูกนิยามว่าเป็นอนาคตของชาติ กำลังถูกระบบอาวุโสกดทับเอาไว้ ทุกครั้งที่พยายามพูดหรืออธิบาย กลับกลายเป็นเถียงและก้าวร้าว ทั้งที่อีกฝ่ายยังไม่ทันได้เปิดหู เปิดใจรับฟัง ในเมื่อผู้ใหญ่ก็เคยเป็นเด็ก เหตุใดจึงสานต่อความเจ็บปวดเหล่านั้นมาจนถึงวันนี้ เราจึงอยากชวนทุกคนมาใช้หัวใจฟังเสียงของเด็กๆ ในงาน ‘Silent Voices Matter เมื่อความเงียบกู่ก้อง’ นิทรรศการที่สะท้อนสังคมซึ่งให้ความสำคัญกับระบบอาวุโส แต่กดทับเด็ก ภายในนิทรรศการเต็มไปด้วยงานศิลปะที่เป็นเหมือนตัวแทนของเด็กๆ เป็นพื้นที่ให้พวกเขาได้ระบายความอัดอั้นที่อยู่ในใจ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้ทุกคนได้ตั้งคำถามและมีส่วนร่วมกับความเจ็บปวดเหล่านี้  ผู้ที่สนใจเข้าชมนิทรรศการนี้ได้ที่ Lido Connect ชั้น 2 ตั้งแต่วันนี้ – 25 เมษายน 2564ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3fHOjwj 

โรงละครอังกฤษเตรียมสร้าง Croquet Pavilion ศาลาที่ทำจากจุกแชมเปญและเปลือกหอย

ในพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัย ย่อมมีขยะเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งในแต่ละเมืองก็จะมีนโยบายกำจัดขยะต่างกันออกไป สิ่งที่เราจะช่วยกันได้ง่ายที่สุด ก็คงจะเป็นการนำขยะบางส่วนที่ยังพอใช้ได้มารีไซเคิลเพื่อลดขยะ สตูดิโอออกแบบ BakerBrown จึงปิ้งไอเดียสร้างอาคารจากขยะและวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ในท้องถิ่น โดยพวกเขาดีไซน์ศาลาในสวนให้โรงโอเปร่า ‘Glyndebourne’ ของประเทศอังกฤษ โดยการนำขยะจากงานเลี้ยงที่จัดในโรงละครมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น นำ ‘จุกแชมเปญ’ มาใช้แทนปูนปลาสเตอร์ นำ ‘เปลือกหอยนางรม’ และ ‘เศษแก้ว’ มาทำกระเบื้องมุงหลังคาแทนการใช้คอนกรีต รวมถึง ‘ไม้แอช’ พืชท้องถิ่นมาทำเป็นโครงสร้างหลักของตัวศาลา  ไม่เพียงเท่านั้น ศาลาแห่งนี้ยังถูกออกแบบให้แยกโครงสร้างออกจากกันได้ เพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับอาคารอื่นๆ ในอนาคต แถมยังมีแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอนการก่อสร้างอีกด้วย ศาลารักษ์โลกนี้มีกำหนดเริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2021 หลังรวบรวมขยะจากเทศกาลโอเปร่าที่จะจัดขึ้นในปีนี้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

Apaul Product แบรนด์ยาดมที่ออกแบบประสบการณ์ผ่านการดมกลิ่น

ความท้าทายครั้งใหม่ของการสร้างแบรนด์ยาดม ให้กลายเป็นตัวกลางส่งต่อความสุขของการดมกลิ่นที่ไม่ว่าจะเรื่องทุกข์ใจ เศร้าจนน้ำตาไหล หรือเครียดจัดจนเวียนหัว Apaul Product อยากให้คุณเชื่อว่าการดมกลิ่นสามารถบำบัดอาการเหล่านั้นให้ทุเลาลงได้

Kuube ม้านั่งพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ชาร์จแบตและเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ ให้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น

ลองคิดภาพเล่นๆ ถ้าพื้นที่สาธารณะใกล้บ้านเรามีที่นั่งพักที่ชาร์จแบตและเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ฟรี เราก็คงอยากออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านกันมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าแบตมือถือจะหมดหรือต้องเสียเงินเข้าคาเฟ่ เพื่อแลกกับการเข้าถึงความสะดวกสบายเหล่านี้ ‘Kuube’ คือม้านั่งอัจฉริยะสัญชาติฮังการี ออกแบบโดยอดีตพนักงานกราฟิกดีไซน์ที่เชื่อว่าความยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนา โดยเป้าหมายของพวกเขาคือการได้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองอัจฉริยะยั่งยืนผ่าน Micro-Mobility หรืออุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานจากตัวมันเอง Kuube เป็นม้านั่งที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวเมืองและนักท่องเที่ยวได้ใช้งาน แถมยังเป็นการสนับสนุนให้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้นอีกด้วย ตัวเครื่องเป็นอะลูมิเนียมสเตนเลสที่รีไซเคิลได้ มีกระจกนิรภัยที่ทนทานต่อสภาพอากาศและทำความสะอาดง่าย มีหน้าจอแสดงผลที่ให้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ตอนนี้สภาพอากาศเป็นอย่างไร อุณหภูมิเท่าไร โดยเก้าอี้ชนิดนี้ถูกออกแบบมา 3 ขนาด ได้แก่ ‘Kuube Eco’ ม้านั่งขนาดเล็ก ‘Kuube Nano’ ม้านั่งขนาดกลาง และ ‘Kuube Plus’ ม้านั่งขนาดใหญ่ที่นั่งได้ถึง 8 คน ซึ่งแต่ละขนาดจะมีฟังก์ชันจำเป็นต่างๆ เช่น พอร์ต USB ที่ชาร์จไร้สาย และ Wi-Fi เหมือนกันแต่มีจำนวนต่างกันไป  เรียกว่าเป็นการออกแบบที่ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของความสะดวกสบายและความยั่งยืน ถ้าใครสนใจอยากเป็นเจ้าของม้านั่งพลังงานแสงอาทิตย์นี้ ก็ติดต่อสั่งซื้อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://kuube.hu/en/  Sources :Kuube | https://kuube.hu/en/ Yanko […]

Xspace แกลเลอรีศิลปะในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ ที่เชื่อว่าความสร้างสรรค์พัฒนาคนและเมืองได้

หากมีคนโยนโจทย์มาให้หาจุดตัด ฉันจะนึกถึงแกน X แกน Y ในวิชาคณิตศาสตร์สมัยเรียนมัธยมฯ แต่โจทย์ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งไหนๆ เพราะสองตัวแปรที่ว่าไม่ใช่ตัวเลข แต่เป็น ‘ศิลปะ’ กับ ‘ดีไซน์’ ที่มาบรรจบกันเป็นจุดตัดบนพื้นที่สร้างสรรค์อย่าง Xspace

‘แท่นบูชาแดง’ ความเชื่อสุดขลังของชาวไทย-จีนฮกเกี้ยน พังงา

บ้านทุกหลังมีความเชื่อที่ต่างกันออกไป แต่สำหรับคนหลาดเก่า จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนนั้น คือการไหว้ ‘เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้’ (玉皇) ผ่าน ‘เที่ยนกวนซือฮก’ (天官賜福) แท่นบูชาสีแดงที่มักติดบริเวณหน้าบ้าน เพื่อระลึกถึงเทพฟ้าดิน ระหว่างเดินเล่นที่หลาดเก่า ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เราเห็นว่าทุกบ้านจะมีเที่ยนกวนซือฮกติดอยู่ ต่างกันที่ลักษณะและจุดสำหรับติดตั้งแท่น จึงอดไม่ได้ที่จะยกกล้องเก็บภาพความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนไว้  ชาวไทยจีนฮกเกี้ยนนับถือเทพเจ้า ‘หยกหองซ่งเต้’ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ‘เง็กเซียนฮ่องเต้’ ประมุขแห่งทวยเทพตามความเชื่อ ซึ่งจะพบเห็นวัฒนธรรมนี้ได้ที่จังหวัดภูเก็ตและพังงา ซึ่งทุกคนต่างเชื่อว่าท่านคือ ‘เทพแห่งฟ้าประทานพร’ ส่วนใหญ่การตั้งเที่ยนกวนซือฮก จะถูกติดตั้งที่เสาซ้ายมือหน้าบ้าน หรือที่เรียกว่า ‘หงอคาขี่’ หากบ้านที่ไม่มีหงอคาขี่ ก็จะถูกติดไว้ที่ด้านซ้ายของหน้าบ้านแทน ตามความเชื่อคนจีนที่ถือฝั่งซ้ายเป็นใหญ่ ธรรมเนียมการไหว้เที่ยนกวนซือฮกจะนิยมทำทุกวันตอนเช้าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ตามด้วยไหว้เทพประจำบ้านและบรรพบุรุษ บางบ้านจะไหว้ในวันพระของไทย​หรือในวันพระของจีน โดยของที่ใช้ไหว้มีผลไม้ น้ำชา และขนม ตามขนาดความกว้างของเที่ยนกวนซือฮก แต่หลักๆ จะนิยมไหว้แค่น้ำชา 3 จอก จากนั้นจุดเทียน และธูปไหว้ 3 ดอก แม้รูปแบบของเที่ยนกวนซือฮกจะแตกต่างกัน แต่ความศรัทธาของชาวหลาดเก่านั้นมีหนึ่งเดียวคือ เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ และยังคงเป็นความเชื่อที่ต้องอยู่เสาด้านซ้ายของบ้านเสมอ

ครูประทีป รอดภัย ศิษย์ครูโจหลุยส์รุ่นแรก และช่างทำหัวโขนสุดท้ายแห่งบางซื่อ

ตามหาช่างทำหัวโขนคนสุดท้ายแห่งย่านบางซื่อ ชวนคุยถึงความหลงใหลในศิลปะเก่าแก่ของไทย

‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการที่ชวนตั้งคำถามถึงการพัฒนาสามย่านที่สวนทางกับชุมชน

ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางผังเมืองที่ชัดเจน ทำให้เกิดชุมชนที่พัฒนาไม่ทันเมือง อย่างเช่น ‘ชุมชนสามย่าน’ บริเวณถนนพระราม 4 การพัฒนาทำให้พื้นที่บริเวณสามย่านมีค่าเช่าสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบางส่วนแบกรับไม่ได้ ปรเมษฐ์ จิตทักษะ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มากว่า 20 ปี จึงเปลี่ยนประสบการณ์และความทรงจำที่มีกับชุมชนในสามย่านซึ่งพยายามปรับตัวให้ทันระบบทุนนิยมและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตั้งคำถามที่ว่า ‘ทำไมเราถึงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง’ ในงานนิทรรศการแสร้งเสมือนจริง ‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการนี้ไม่ใช่แค่นำเสนอเรื่องราวให้ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด แต่นำเสนอมุมมองและเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้จินตนาการผ่านกระบวนการดิจิทัล คล้ายๆ การเล่นเกมที่มีองค์ประกอบของภาพและเสียงจริงๆ สอดแทรกอยู่  นับเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยความร่วมมือระหว่างศิลปินกับศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) เจ้าของพื้นที่โดมรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ในสามย่าน  นิทรรศการจะเปิดให้เข้าชมในเว็บไซต์ faamai.wpcomstaging.com/home/ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม – 30 เมษายน นี้

เงยหน้าหา ‘หัวมุมตึก’ สถาปัตยกรรมที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองในอดีต

หัวมุมตึก หนึ่งจุดเด่นที่อยู่คู่กันกับตึกแถว เป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งโครงสร้างและลักษณะของสถาปัตยกรรมสามารถบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย หัวมุมของอาคารในปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นทำเลทองที่มีการอนุรักษ์ ปรับปรุงโดยภาคเอกชน จนกลายเป็นย่านเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไปแล้ว จากความหลงใหลในการเดินย่านที่เต็มไปด้วยตึกเก่าแก่มากมาย ทำให้เราลองเปลี่ยนมุมมองตัวเองจากการมองดูสิ่งรอบตัว เป็นการยกกล้องถ่ายรูปขึ้นแล้วเล็งชัตเตอร์ไปที่ ‘หัวมุมตึก’ “มุมนี้อยู่มาหลายยุคหลายสมัย” “มุมนี้ครบวงจร” “มุมนี้ถูกทิ้งร้าง” “มุมนี้ขายแว่น” “มุมนี้มีพิพิธภัณฑ์” “มุมนี้เปลี่ยนเป็นธนาคาร” “มุมนี้มีคาเฟ่แซมด้วยต้นไม้” “มุมนี้ขายทอง” “มุมนี้เหมือนในหนังฮ่องกง” “มุมนี้ขายตาชั่ง” “มุมนี้มีของอร่อยขาย” “มุมนี้มีโรงแรม” “มุมนี้หุง อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง” “มุมนี้เป็นจุดกำเนิดการประปา” “มุมนี้รวม Art of Hand Painting” “มุมนี้สมดุล” “มุมนี้มีอะไหล่”

GAA รสชาติอินเดียร่วมสมัย ท่ามกลางบ้านเรือนไทยอายุ 60 ปี

บ้านเรือนไทยหลังใหญ่อายุกว่า 60 ปีถูกย้ายจากอยุธยามาตั้งโดดเด่นท่ามกลางร่มเงาไม้ตรงหัวมุมถนนในซอยสุขุมวิท 53 องค์ประกอบภายนอกคือความสมบูรณ์พร้อมอันงดงามแบบฉบับไทย แต่ใครจะคิดกันว่าที่แห่งนี้คือ Gaa ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่งสไตล์ Modern Indian Cuisine ที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2017 บริเวณซอยหลังสวน ให้ได้ลิ้มรสอาหารอินเดียร่วมสมัยจากฝีมือ ‘Garima Arora’ เชฟชาวอินเดียคนแรกที่คว้าดาวมิชลินมาครอง ครั้งนี้ Gaa ย้ายบ้านใหม่สู่บรรยากาศเรือนไทยที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นแต่แรกเห็น ซึ่งยังคงปรัชญาแห่งการทำอาหารอย่างการหยิบวัตถุดิบท้องถิ่นไทยมาผสมผสานกับเทคนิคปรุงอาหารอินเดียแบบดั้งเดิม สู่อาหารอินเดียร่วมสมัยซึ่งอบอวลไปด้วยความแปลกใหม่ของวัตถุดิบที่คุณอาจรู้ดีว่าคืออะไร แต่รับประกันว่าไม่เคยสัมผัสรสชาตินี้ที่ไหน หากไม่มาเยือน Gaa 01 She is Garima Arora ยามบ่ายที่แสงแดดกำลังอ่อนตัวลง เรามีนัดที่ Gaa กับเชฟ ‘Garima Arora’ ผู้รังสรรค์อาหาร และ ‘Luke Yeung’ สถาปนิกจากทีม ArchitectKidd ผู้รีโนเวตเรือนไทยอายุกว่า 6 ทศวรรษ เมื่อเปิดประตูก้าวเข้าสู่เรือนไทย ตามด้วยเดินขึ้นบันไดวนไปยังชั้น 2 ทันทีที่เท้ายกขึ้นจากขั้นสุดท้ายเพื่อเหยียบพื้นไม้ ต้องยอมรับว่าภาพการตกแต่งภายในที่สองตาได้เห็น ทำเอาหัวใจคนชอบงานสถาปัตยกรรมอย่างเราเต้นเร็วขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัว ทำไมถึงเลือกเปิดร้านอาหารอินเดียท่ามกลางบ้านเรือนไทย คือคำถามแรกที่เราเอ่ยกับ […]

หอสมุดแห่งชาติ ชวนย้อนประวัติศาสตร์ ผ่านนิทรรศการ ‘หนังสือการ์ตูนไทยไฉไลกว่าที่คิด’

รู้หรือไม่ หนังสือการ์ตูนเล่มแรกของไทยมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2387 หรือเมื่อ 177 ปีที่แล้ว! เริ่มตั้งแต่ลายเส้นอิทธิพลตะวันตกของ ‘ขรัวอินโข่ง’ จิตรกรชื่อดังยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สู่การ์ตูนสะท้อนสังคมและการเมืองเมื่อประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตย จนครองใจคนทุกเพศทุกวัยได้อย่างในปัจจุบัน กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ จึงอยากเชิญชวนคนรักการ์ตูนมาร่วมย้อนประวัติศาสตร์วิวัฒนาการแต่ละยุคของการ์ตูนไทย ผ่านนิทรรศการ ‘หนังสือการ์ตูนไทยไฉไลกว่าที่คิด’ ที่จัดขึ้นเพื่อจัดแสดงประวัติความเป็นมาของหนังสือการ์ตูนไทยรวมถึงหนังสือการ์ตูนหาชมยาก ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมาจนถึงยุคการ์ตูนดิจิทัลในปัจจุบัน  ผู้ที่สนใจเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 11 เมษายน 2564 ที่ห้องวชิรญาณ 2 และ 3 อาคาร 2 ชั้น 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 16.30 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 – 17.00 น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์) Source : SARAKADEE LITE | https://bit.ly/3txsTpg

1 35 36 37 38 39 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.