‘pong’ ไม้ปิงปองลาย Terrazzo จากพลาสติก HDPE รีไซเคิล

ทุกวันนี้มีสตูดิโอเจ๋งๆ หันมาออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้กันเยอะมาก งานหนึ่งที่เรารู้สึกว่าสนุก สะดุดตา และยังไม่ค่อยเห็นใครทำคืออุปกรณ์กีฬาจากวัสดุรีไซเคิล  Préssec คือสตูดิโอออกแบบในซิดนีย์ ออสเตรเลีย ผู้ออกแบบและพัฒนา ‘pong’ ไม้ตีปิงปองที่ทำจาก พลาสติก HDPE รีไซเคิลออกมาเป็นลวดลายเทอร์ราซโซ (Terrazzo) หรืองานหินขัดที่เก๋ น่าใช้ และกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้ แม้จะไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้กีฬาปิงปอง แต่เห็นดีไซน์แล้วก็กระตุ้นต่อมความอยากเป็นเจ้าของได้เช่นกัน โปรเจกต์นี้ Préssec เล่าว่าพวกเขาคิดขึ้นได้ในระหว่างช่วงที่ซิดนีย์ล็อกดาวน์ ด้วยความเบื่อหน่ายชีวิตในบ้านจึงฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปองในครัวกันบ่อยๆ พวกเขาพบว่าปิงปองเป็นกีฬาที่เล่นง่าย อุปกรณ์ไม่เยอะ แค่มีโต๊ะยาวและไม้ปิงปองก็เล่นตรงไหนก็ได้ และนึกสงสัยขึ้นมาว่าทำไมไม่เคยเห็นใครทำไม้ปิงปองให้มันดูสนุกขึ้นบ้าง จะเป็นอย่างไรถ้าเขาลองเอาวัสดุรีไซเคิลมาทำดู จากที่ฆ่าเวลาด้วยการตีปิงปอง พวกเขาเลยเปลี่ยนมาฆ่าเวลาด้วยการทำไม้ปิงปองกันแทน  Préssec ทดลองสเก็ตช์แบบไม้ปิงปองเพื่อหาความเป็นไปได้กันทุกสัปดาห์ และพบว่าการเอาเศษพลาสติก HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งเป็นพลาสติกที่สามารถนำมาหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้ มีลักษณะขุ่น มีคุณสมบัติยืดหยุ่น ผิวไม่มันเงา แข็ง เหนียว ไม่เปราะแตกง่าย และทนสารเคมี มาลองหลอมและขึ้นรูปใหม่แทนการใช้วัสดุที่เป็นไม้  ไม้ปิงปองเป็นวัสดุที่มีมานาน ถ้าดัดแปลงมาก็อาจจะใช้งานไม่ได้จริง Préssec จึงใช้วิธีคิดแบบใหม่กับการออกแบบวัสดุเดิม เพราะการจะเป็นไม้ปิงปองได้ไม่ใช่แค่รูปทรงถูกต้องเท่านั้น น้ำหนัก สัมผัส และการใช้งานต้องเหมาะสมด้วย […]

Anstalten ดีไซน์เรือนจำให้เป็นมิตร เพื่อเยียวยาผู้ต้องขังกลับสู่สังคม

Schmidt Hammer Lassen (SHL) ออกแบบ ‘Anstalten’ เรือนจำที่มีความปลอดภัยสูงสุดในเกาะกรีนแลนด์ให้เหมือนหมู่บ้านขนาดย่อมที่รองรับนักโทษได้ 76 คน

Flowing Through The Wreckage of Despair

ภาพถ่ายบันทึกเหตุการณ์นํ้าท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปีของประเทศไทย ปี 2554
ถ่ายทอดบรรยากาศของกรุงเทพฯ และพื้นที่ข้างเคียง

This is the Voice เสียงเบาๆ จากแท็กซี่ที่แบกภาระหนัก

ป้ายสะท้อนถึงสถานการณ์ที่ยากลำบากของอาชีพขับแท็กซี่ที่กำลังจะเอาตัวไม่รอดจากการระบาดในระลอกนี้ เพราะการจัดการที่ไม่ทั่วถึงของรัฐ

จิ้นยูนิฟอร์มนักกีฬาทีมชาติไทยใน Olympic 2024

ตั้งแต่วันที่นายกฯ ญี่ปุ่นขโมยซีนด้วยการแปลงร่างเป็นมาริโอ้ในพิธีปิดโอลิมปิกปี 2016 จนถึงพิธีเปิดของกีฬาโอลิมปิก 2020 ณ แดนอาทิตย์อุทัย ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนน่าจดจำ ชวนให้เราอยากติดตามและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งแรงใจเชียร์พลพรรคนักกีฬาทีมชาติไทย  แต่สิ่งที่ขัดใจพวกเราไม่น้อย จนกลายเป็นดราม่าที่ทุกคนพูดถึงกัน ก็คือเครื่องแต่งกายของทีมชาติไทย ตั้งแต่ชุดสูทเดินขบวนที่ขาดสีสันความน่าจดจำ ยังคงอนุรักษ์รูปแบบเสมือนดีไซน์ประจำชาติไว้ตั้งแต่ปี 1988 อย่างไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง  หรือดราม่าเรื่องชุดการแข่งขัน จนเราต้องตั้งคำถามทุกครั้ง เมื่อเห็นเหล่านักกีฬาต้องคอยถกแขนเสื้ออยู่ตลอดเวลาที่ลงสนาม และสงสัยว่าเป็นความเคยชินของนักกีฬา หรือเป็นเพราะการออกแบบที่ไม่คำนึงถึงการใช้งานจริงกันแน่ เพราะชุดเดินขบวนในพิธีเปิดเปรียบเหมือนเป็นหน้าตาของประเทศ และส่งผลถึงประสิทธิภาพในการแข่งขันของนักกีฬาทีมชาติ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบชุดกีฬาของทัพนักกีฬาไทย เพื่อโอลิมปิกครั้งหน้าที่ปารีส 2024 แบบฉบับ Concept Design ดึงภาพลักษณ์ความเป็นไทยแบบแคชชวลแต่ชาวต่างชาติต้องร้องอ๋อ เช่น ผ้าสามสี กางเกงลายช้าง เสื้อลายเสื่อกกลายขิด ออกมาใช้ให้สร้างสรรค์และน่าจดจำกันสักหน่อย …ชุดนักกีฬาไทยในใจของคุณๆ เป็นยังไงบ้าง ไหนลองแชร์ให้ฟังหน่อย นอกจากชุดกีฬาจะเป็นหน้าตาของประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อการแข่งขันทั้งทางตรงและทางอ้อม เราจึงเห็นพัฒนาการของอุปกรณ์หรือชุดกีฬาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการออกแบบอุปกรณ์ทางกีฬา อยู่ภายใต้แนวคิดว่า ทำอย่างไรให้นักกีฬา Perform ได้ดีขึ้น เป็นสารตั้งต้นง่ายๆ ที่ทำให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะทุกท่วงท่าในการเคลื่อนไหวของนักกีฬาล้วนสัมพันธ์กับอุปกรณ์และเครื่องสวมใส่ทั้งสิ้น เรื่องเล็กๆ อย่างการถกแขนเสื้อแค่หนึ่งครั้ง อาจหมายถึงการเสียแต้มสำคัญ […]

กระเบื้องผนังเปลือกไข่ ปลายทางใหม่ของการกำจัดเศษอาหาร

แต่ละวันเรากินไข่ไก่เฉลี่ยคนละ 1 – 2 ฟอง แล้วลองคูณจำนวนคนทั้งโลกเข้าไป คิดดูว่าเปลือกไข่ถูกทิ้งต่อวันจะมีกี่พันล้านฟองกัน ซึ่งพอรวบรวมเป็นสถิติรายปีพบว่าเรามีขยะเปลือกไข่ราว 250,000 ตัน/ปี และมักใช้การฝังกลบในการกำจัดขยะ โดยพื้นที่ 1 ตร.ม. ฝังเปลือกไข่ได้ประมาณ 2,000 ฟอง และใช้ระยะเวลา 20 วันเพื่อย่อยสลาย  ดูเหมือนการกำจัดเปลือกไม่ใช่ปัญหาอะไร แต่ดีไซเนอร์ชาวฮ่องกง ‘Elaine Yan Ling Ng’ อยากหาปลายทางใหม่ของเศษเปลือกไข่ที่ครีเอต เพิ่มมูลค่า และทำประโยชน์ได้มากกว่าการ ‘ทิ้ง’ จึงรีไซเคิลเปลือกไข่ให้กลายเป็น ‘CArrelé’ คอลเลกชันกระเบื้องปูผนัง โดยกระเบื้อง 1 ตร.ม. ช่วยลดจำนวนขยะได้มากถึง 20,000 ฟอง และใช้เวลาผลิตเพียง 2 วันเท่านั้น ด้วยภาพจำของคนมักมองว่าเปลือกไข่มีความเปราะบาง หารู้ไม่ว่ามันแข็งแรงกว่านั้นมหาศาล แถมยังทนต่อรังสี UV ธรรมชาติด้วย โดยขั้นตอนการทำกระเบื้อง พวกเขาจะรวบรวมเปลือกไข่ที่ถูกทิ้งจากร้านเบเกอรี ครัวโรงแรม และตามชุมชนที่ตั้งรอบโรงงานในเมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ แล้วนำมาบดให้ละเอียด ก่อนจะผสมเข้ากับสารเคมี ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้วัสดุยึดเกาะกันได้แน่นขึ้น […]

Taobao Maker Festival พื้นที่ปล่อยของของผู้ประกอบการรุ่นใหม่จากทั่วประเทศจีน

ปัจจุบันแทบไม่มีสินค้าใดบนโลกนี้ที่ไม่สามารถขายบนช่องทางออนไลน์ได้ ยิ่งเมื่อชีวิตผู้คนทั่วโลกต้องเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ต้องล็อกดาวน์ ต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้อุตสาหกรรมรีเทลคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่ พร้อมกับการช้อปออนไลน์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนทั่วโลก  แอปฯ เถาเป่านั้นเป็นที่รู้จักในกลุ่มนักช้อปออนไลน์ตัวยงมาตั้งแต่ก่อนโควิดระบาดแล้ว และเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่เลือกขายสินค้าและเปิดตัวสินค้านวัตกรรมใหม่ล่าสุด ถึงแม้ช่วงนี้เราจะยังบินไปไหนไม่ได้ แต่เราอยากพาทุกคนมารู้จักกับงาน Taobao Maker Festival หรือ TMF งานแสดงความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ในระดับแถวหน้าของเอเชียที่จัดต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว เราจะพาไปดูกันว่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่จีนเขาขายอะไรกัน และเถาเป่าทำอย่างไรเพื่อให้ตลาดนักออกแบบและนักสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เติบโตขึ้นได้บ้าง ซึ่งงานนี้เขาไม่ได้สนุกแค่ดีไซน์ แต่เรื่องเทคโนโลยีก็พัฒนาได้ล้ำไม่แพ้ใคร ปีนี้ Taobao Maker Festival จัดขึ้นในวันที่ 17 – 25 กรกฎาคม ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ผู้ร่วมงานจะได้รับชมผลงานนวัตกรรมกว่า 100 ชิ้น พร้อมพูดคุยกับเจ้าของสินค้าเกี่ยวกับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ถึงเวลาที่จะได้ท่องเทศกาลและเปิดหูเปิดตาดูเทรนด์ผลิตภัณฑ์ที่กำลังมาแรงใน TMF ปีนี้ งานนี้เป็นงานที่มีจำนวนเมกเกอร์หน้าใหม่ที่มาโชว์ผลงานออกแบบและนวัตกรรมสุดล้ำเข้าร่วมเพิ่มขึ้นทุกปี รับรองว่าคนไทยไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนอย่างแน่นอน มีอะไรใน Taobao Maker Festival 2021 เทศกาล Taobao Maker Festival 2021 มีจุดประสงค์ในการแสดงผลงานของผู้ประกอบการที่มีไอเดียน่าสนใจ โดยเฉพาะสินค้าที่เจาะตลาดนิช ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ […]

เกิดไม่ทันเห็น ก็ได้เห็น เมื่อเชียงใหม่คืนชีพเจดีย์หลวง 600 ปีด้วยเทคนิค Projection

เวลาไปท่องเที่ยวสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เราต่างวาดฝันถึงความงดงาม ความสมบูรณ์ ของโบราณสถานที่แตกหัก เราเห็นเพียงเศษซากของอารยธรรมที่เคยรุ่งเรือง จนในบางครั้งเราก็คงอยากเห็นว่ายามรุ่งเรืองของโบราณสถานนั้นหน้าตาจะเป็นอย่างไร แตกต่างจากภาพวาดมากน้อยแค่ไหน  แต่เราอาจจะไม่ต้องจินตนาการคิดไปไกลอีกต่อไป เพราะล่าสุดสมาคมสถาปนิกล้านนาฯ ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ ได้ทดลอง Installation Art ครั้งสำคัญ ส่องแสงเลเซอร์ไปยังองค์เจดีย์หลวงวรวิหาร โบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เทคนิค “Projection” หรือ “ภาพฉาย” สร้างเส้นรอบรูปขององค์เจดีย์ในลักษณะภาพฉายสองมิติ แต่งเติมลงไปบนตัวเจดีย์ที่เป็นสามมิติ การทดลองนี้จึงเป็นการลองใช้ “มิติความแบน” จากโลกกราฟิกสองมิติด้วยขนาดความน่าจะเป็น 1 ต่อ 1 ของตัวโบราณสถาน เพื่อกระตุ้นการรับรู้ใหม่ให้ “มิติความลึก” ในโลกกายภาพสามมิติ เพื่อเติมเต็มซากปรักหักพังด้วยจินตนาการ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ แต่งแต้มความสมบูรณ์ขององค์เจดีย์ ให้เราได้ชื่นชมความงดงาม ความยิ่งใหญ่ ด้วยตาเปล่า โดยไม่กระทบโครงสร้างของโบราณสถานเดิม ตามการอ้างอิงรูปทรง ความสูง จากการศึกษาเทียบเคียงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนาหลายท่าน นับเป็นก้าวที่สำคัญของวงการศิลปะและวัฒนธรรม ในอนาคตเราคงจะได้เห็นภาพ Visual ของโบราณสถานอีกหลายแห่งในประเทศไทยในรูปแบบงานศิลปะร่วมสมัยมากขึ้นและอาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นกระตุ้นการท่องเที่ยวโบราณสถานให้กลับมาครึกครื้นอีกครั้ง 

Super Dad ความซูเปอร์ฮีโร่ของพ่อคนธรรมดา

ผลงานภาพถ่ายชุด Super Dad เป็นการหยิบเอาเรื่องราวจริงในอดีตที่พ่อเคยเล่าให้ฟัง แล้วเรามองว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ น่าตื่นเต้น มาสร้างเป็นภาพถ่ายที่เปรียบพ่อเป็นซูเปอร์ฮีโร่ผ่านภาพและเรื่องราวที่เหมือนจะธรรมดา

หรือจะถึงยุคของศิลปินดิจิทัล เมื่อตลาด NFT มียอดขายสูงถึง 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

หรือนี่จะเป็นยุคของศิลปินดิจิทัล เมื่อตลาด NFT มียอดซื้อขายสูงถึง 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่ 2 ของปี NFT คือเหรียญดิจิทัล Cryptocurrency ประเภทหนึ่งที่ผูกไว้กับผลงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลงานศิลปะ ไอเทมในเกมในลักษณะสินทรัพย์ดิจิทัล โดยนำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ให้สามารถแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ ไม่ต่างอะไรจากของสะสมชนิดอื่น ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา โดยมีสถิติการซื้อขายสูงสุดคือผลงานดิจิทัลของ Mike Winkelmann ที่ถูกขายไปในราคาสูงถึง 69.3 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ความร้อนแรงของ NFT ยังไม่หยุดแค่นั้น รายงานล่าสุดจาก DappRadar รายงานว่าในไตรมาสที่สองของปี NFT มีการซื้อขายสูงถึงกว่า 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมียอดขายเพิ่มขึ้นสูงกว่าไตรมาสแรกถึง 111.46%  เป็นที่น่าจับตามองว่าท่ามกลางตลาดที่เฟื่องฟูของ NFT นี้จะไปในทิศทางไหน จะเป็นเหมือนสภาวะฟองสบู่ที่รอวันแตกหรือไม่ แต่สิ่งที่น่าสนใจของการเกิด NFT คือผู้คนทั่วโลกต่างตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องมูลค่าในงานศิลปะ มากขึ้นอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 

ผลิตโคมไฟจากเปลือกส้ม ด้วย 3D Printing ชิ้นแรกของโลก!

เห็นชื่อครั้งแรกถึงกับหันมามองส้มในมือ ‘มันทำยังไงวะ’ แต่ก่อนสมองจะเผลอจินตนาการถึงวิธีการร้อยแปดพันเก้า เจ้าของไอเดีย ‘Ohmie’ (โอมี่) โคมไฟเปลือกส้มอย่าง ‘Krill Design’ สตาร์ทอัปจากแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี ก็อธิบายโพรเซสทั้งหมดลงใน Kickstarter เหมือนกวักมือเรียกชวนล้อมวงว่าเดินมานี่ เดี๋ยวพี่จะเล่าให้ฟัง Krill Design ตั้งต้นความคิดว่าอยากทำโคมไฟที่ดูปัง ทันสมัย และยั่งยืน แต่ดีไซน์หรือวัสดุแบบไหนล่ะ ที่ตอบโจทย์ ทำให้พวกเขาย้อนกลับมามอง ‘ส้ม’ ซึ่งเป็นพืชพื้นถิ่นในแคว้นซิซิลี และยังครองสัดส่วนการผลิตส้มทั่วโลกอยู่ที่ 3% มีการนำไปแปรรูปเป็นโปรดักต์ต่างๆ และมีเปลือกส้มเหลือทิ้งชนิดที่ว่าใช้ได้ไม่มีวันหมดเลยทีเดียว แน่นอนว่ากระบวนการทำโคมไฟ Ohmie ไม่ได้จบที่ปอกเปลือกส้มแล้วแปะไปกับโครงโคมไฟ เพราะเขาใช้เทคนิค 3D Printing ในการขึ้นรูป โดยนำเปลือกส้มแห้งมาบดเป็นผงละเอียด จากนั้นร่อนซ้ำอีกครั้ง ก่อนนำไปผสมกับผงไบโอโพลิเมอร์ที่มาจากผัก และผลิตอัดให้รูปแบบเม็ด เพื่อนำมาใช้เป็นเนื้อวัสดุ ซึ่งตัวโคมไฟที่ได้จะมีน้ำหนักเบาเพียง 150 กรัมเท่านั้น โดยดีไซน์ของโคมไฟขนาด 23 ซม. ตั้งแต่ลวดลายพื้นผิว กลิ่นส้ม และสีสันสดใส ล้วนสะท้อนถึงต้นกำเนิดว่ามาจากไหน ซึ่งนอกจากทุกอย่างล้วนเป็นส้มแล้ว เหล่าดีไซเนอร์อยากโชว์ศักยภาพของ ‘เศษอาหาร’ ว่านำกลับมาใช้ใหม่เป็นโปรดักต์ […]

SAVANT AUTISM ธีสิสที่ใช้จิวเวลรี่ลบภาพออทิสติก = เอ๋อ

สายตาของคนนอกที่มองเด็กออทิสติก = เอ๋อ นั่งน้ำลายยืด ติงต๊อง ปัญญาอ่อน ล้วนเป็นสิ่งที่ มุ้ย-พิชชาภา จรีภรณ์พงษ์ เจ้าของศิลปนิพนธ์ ‘Savant Autism’ เห็นคนอื่นมอง ‘อิคคิว’ น้องชายออทิสติกมาตั้งแต่เด็กจนโต ทำให้เธอคิ้วขมวดสงสัยว่าเพราะอะไรสังคมถึงมองเด็กออทิสติกเป็นคนแปลกแยก ในเมื่อเธอใช้ชีวิตคลุกคลีกับน้องชายมาทุกวันทุกเวลามาตลอด 18 ปี และเห็นอิคคิวมีอารมณ์ ความรู้สึก การวิเคราะห์เหมือนคนปกติ อาจบกพร่องทางการสื่อสารบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าน้องชายของเธอ ‘บกพร่องความเป็นมนุษย์’ การไม่เข้าใจตัวตนและมองข้ามความสำคัญเด็กออทิสติกของสังคมไทย กลายเป็นแพสชันของมุ้ยตั้งแต่ยังเล็กว่าอยากสื่อสารให้เข้าใจ ‘เด็กออทิสติก’ เสียใหม่ ผนวกเข้ากับความฝันที่อยากมาทางศิลปะ และถูกใจสาขาออกแบบเครื่องประดับ เลยเป็นโจทย์ท้าทายว่าเธอจะใช้จิวเวลรี่เหล่านี้ถ่ายทอดเรื่องราวที่อยากสื่อสารออกมาอย่างไรดี วันนี้ความตั้งใจของมุ้ยออกมาเป็นรูปเป็นร่างกับ ‘Savant Autism’ ธีสิสที่เธอออกแบบเครื่องประดับและอุปกรณ์เสริม ไม่ว่าจะเป็นกำไล สร้อยคอ แหวน เข็มกลัด หมวก เสื้อ และกระเป๋า เพื่อแสดงคุณค่าและความเป็นอัจฉริยะของเด็กออทิสติกผ่านปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและผู้อื่น Savant Autism = อัจฉริยะออทิสติก ถ้าใครเคยดูเรื่อง ‘Rain Man’ ตัวละครที่ชื่อว่า ‘เรย์มอนด์ แบทบิท’ เป็นชายออทิสติกที่มีความจำดีเกินเรื่อง […]

1 29 30 31 32 33 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.