‘Spa Spa’ บับเบิลแรปแบบใหม่ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ฉีกได้ด้วยมือเปล่า และรีไซเคิลได้มากกว่า 80%

Kawakami Sangyo เปลี่ยนบับเบิลกันกระแทกจาก ‘วงกลม’ มาเป็น ‘สี่เหลี่ยมจัตุรัส’ สามารถฉีกออกตามไซซ์ที่ต้องการแพ็กสิ่งของได้ง่ายๆ

MUJI ออกอุปกรณ์รับมือภัยพิบัติ ฉบับมินิมอล เตรียมพร้อมทุกเหตุไม่คาดฝัน ด้วยคอลเลกชัน ‘Itsumo Moshimo’

MUJI แบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์จากประเทศญี่ปุ่นที่ขายตั้งแต่ ขนม เสื้อผ้า เครื่องเขียน เครื่องครัว ไปจนกระทั่งขายบ้านทั้งหลัง และเป็นที่ทราบกันดีว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เผชิญกับภัยพิบัติอย่างแผ่นดินไหวอยู่เป็นประจำ ทำให้ผู้คนต้องเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดอยู่เสมอ ล่าสุดเหล่าแฟนๆ MUJIเตรียมเสียเงินอีกครั้ง เมื่อ MUJI ออกชุดรับมือภัยพิบัติ ‘Itsumo Moshimo’ หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ‘เตรียมพร้อมไว้เสมอ’ อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นชุดสำหรับรับมือภัยพิบัติแบบฉุกเฉิน โดยแบ่งออกเป็น 3 ชุด 3 ราคาตามอุปกรณ์ที่มีมาให้ เริ่มจากชุดเล็ก “Portable Set” ชุดพกพา ในราคา 990 เยน (ราว 300 บาท) ในชุดประกอบไปด้วยปลาสเตอร์ หน้ากากอนามัย ซองพลาสติก ทิชชูเปียกป้องกันแบคทีเรีย ชุดกลาง “Take Out Set.” มีอุปกรณ์ทุกอย่างของชุดพกพาในราคา 3,990 เยน (ราว 1,200 บาท) ที่มีการเพิ่มไฟฉายสวมหัว ที่อุดหู ผ้าห่มฉุกเฉิน กระเป๋าสะพายข้าง และซองกันน้ำ มาพร้อมกับดีไซน์หูจับที่สามารถหยิบอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุด่วนได้โดยง่าย และเซตสุดท้าย “Furnish […]

Startup Village เปลี่ยนที่ว่างในอัมสเตอร์ดัมเป็นหมู่บ้านสตาร์ทอัปจากคอนเทนเนอร์มือสอง

การจะสร้างคอมมูนิตี้ของสตาร์ทอัปให้เกิดขึ้นได้จริง นอกจากต้องการการสนับสนุนอย่างเอาจริงเอาจังจากรัฐแล้ว ยังจำเป็นต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำงานของเหล่าสตาร์ทอัปด้วย  โปรเจกต์ Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัปในอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นอีกโปรเจกต์หนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นโครงการเปลี่ยนพื้นที่ร้างให้กลายเป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีชั้นนำของเมือง โดยที่ใช้งบประมาณการก่อสร้างอย่างจำกัด แต่ทำออกมาแล้วเวิร์กสุดๆ  Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัป เป็นส่วนหนึ่งของ Amsterdam Science Park ที่รวมผู้ประกอบการ สตาร์ทอัป งานวิจัย และนวัตกรรมเอาไว้ที่เดียว ทำให้ที่นี่เป็นพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการสร้างสรรค์ ต่อยอด และพัฒนาเทคโนโลยีของเหล่าสตาร์ทอัปภายในประเทศ เพราะรวมคนเจ๋งๆ จากหลายด้านเอาไว้กว่า 55 บริษัท  เปลี่ยนที่ว่างเป็นหมู่บ้าน โปรเจกต์นี้เริ่มต้นเมื่อปี 2016 โดย Julius Taminiau สถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้ริเริ่มโครงการหมู่บ้านสตาร์ทอัปได้รับโอกาสจาก UvA Ventures Holding และ Amsterdam Science Park ให้มาทำโปรเจกต์หมู่บ้านให้เกิดขึ้นจริง โดยการพลิกฟื้นพื้นที่ดินร้างและว่างเปล่าแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ใช้สอยที่มีประโยชน์สำหรับสตาร์ทอัปและคนที่สนใจเรื่องนวัตกรรมในเมืองอัมสเตอร์ดัม ก่อนจะย้ายกลับมาที่เนเธอร์แลนด์ Julius เคยทำงานในลอนดอนให้กับ Carl Turner Architects ในระหว่างการออกแบบและสร้าง Pop […]

Mob T-shirts อุดมการณ์และตัวตนบนเสื้อผ้า

เมื่อต้นปี 2563 การชุมนุมในไทยได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวของผู้ไม่ยอมจำนน คนที่ไม่ยอมถูกกดขี่เริ่มออกมาส่งเสียงเรียกร้อง ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่ตะโกนจากปาก ปรากฏการณ์บีบแตรรถยนต์ยาวนับหลายกิโลเมตร แฮชแท็กในโลกออนไลน์ การชูป้ายข้อความ หรือแม้กระทั่งสิ่งที่อยู่แนบชิดติดตัวที่สุด นั่นก็คือเสื้อผ้า

เดนมาร์กสร้างศูนย์วิจัยภูมิอากาศที่ทั้งเท่และเป็นมิตรต่อโลก

สตูดิโอสถาปัตยกรรม Dorte Mandrup เจ้าของคำนิยามตัวเองว่า ‘Specializes in Irreplaceable Places.’ เพิ่งจะเปิดตัวชุดภาพถ่ายอันน่าทึ่งเซตแรกของอาคาร Ilulissat Icefjord Centre ศูนย์วิจัยสภาพภูมิอากาศ และแหล่งเยี่ยมชมแนวชายฝั่งอันขรุขระของกรีนแลนด์ในประเทศเดนมาร์กไปหมาดๆ Ilulissat Icefjord ตั้งอยู่ห่างจากอาร์กติกเซอร์เคิล (บริเวณพื้นที่วงกลมที่อยู่ในละติจูดสูง ครอบคลุมบริเวณโซนขั้วโลกเหนือ) ไปทางตอนเหนือ 250 กิโลเมตร อาคารแห่งนี้เป็นศูนย์กลางด้านการค้นคว้าวิจัย การศึกษา และจัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจผลกระทบด้านความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภูมิภาค โปรเจกต์ใหญ่เบิ้มนี้มีการลงทุนโดยรัฐบาลระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยได้รับแรงสนับสนุนร่วมจากมูลนิธิ Realdania ประเทศเดนมาร์ก ‘Dorte Mandrup’ สถาปนิกหญิงชาวเดนมาร์ก เจ้าของสตูดิโอสถาปัตยกรรมผู้รับหน้าที่ด้านการออกแบบ ตั้งใจดีไซน์โครงสร้างอาคารให้เป็นรูปสามเหลี่ยมรูปทรงบิดโค้ง (Twisted) ที่มีจุดชมทิวทัศน์อยู่บนบริเวณชั้นดาดฟ้า หัวใจสำคัญของการออกแบบสร้างอาคารแห่งนี้ คือการทำให้ตึกดูโปร่งโล่งและมีน้ำหนักเบา เพื่อให้ผู้เข้าชมได้รู้สึกถึงความเชื่อมโยงไปกับสภาพภูมิทัศน์โดยรอบอย่างกลมกลืน Mandrup เผยว่าศูนย์ Icefjord เปรียบเสมือนสถานที่สำหรับหลบภัยที่ตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศอันน่ามหัศจรรย์ และถูกสร้างสรรค์ด้วยความตั้งใจให้เป็นจุดนัดพบทางธรรมชาติ ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสกับความสวยงามของภูมิทัศน์อันกว้างไกลและดูไร้ขอบเขตของแถบอาร์กติก ทั้งยังได้เห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างความมืดมิดและแสงสว่าง เป็นอีกหนึ่งจุดหมายที่ทำให้เห็นปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืน และได้ดูแสงเหนือเต้นรำระยิบระยับบนท้องฟ้า และเพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่ด้านการตรวจสอบและดูแลสภาพภูมิอากาศของอาคาร โปรเจกต์นี้จึงยึดการออกแบบที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ด้วยการลดการใช้คอนกรีตโดยไม่จำเป็น เพราะผู้คนต่างรับรู้กันดีว่ามันเป็นวัสดุสำหรับการก่อสร้างที่มีคาร์บอนฟุตพรินต์ (ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ) จำนวนมาก  […]

ศราวุธ แววงาม ชาว Punk ที่ผันเป็นช่างสักขาลาย อนุรักษ์รอยสักล้านนาโบราณที่แทบสาบสูญ

หากสังเกตจิตรกรรมฝาผนังโบราณล้านนา เราจะพบว่าบริเวณขาของชายทุกคนจะมีลวดลายจากการสักอยู่ นี่คือหนึ่งในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมล้านนาที่เรียกกันว่า ‘การสักขาลาย’ ซึ่งเกิดมาจากความเชื่อในอดีตของชาวล้านนาว่า เด็กผู้ชายเมื่อจะก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ทุกคนต้องผ่านพิธีการสักขาลายเสียก่อน  นอกจากจะพิสูจน์ความกล้า ความอดทน ยังเชื่อกันว่าเป็นการแสดงความนอบน้อมต่อครอบครัว แสดงความกตัญญูทดแทนพระคุณแม่ และพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป ถึงขั้นมีจารึกบันทึกไว้เลยว่า หากหญิงใดจะดูว่าชายนั้นเหมาะเป็นคู่ครองหรือไม่ ส่วนหนึ่งคือให้ดูว่าชายนั้นสักขาลายแล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้ผู้ชายชาวล้านนาในอดีตทุกคนจึงสักขาลายกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามตลอดช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ค่านิยมการสักขาลายก็ถูกลดทอนลงจนใกล้จะสาบสูญเต็มที เหลือหลักฐานให้ได้เห็นอยู่บ้างบนเรือนร่างของผู้เฒ่าต่างๆ โชคดีที่ยังมีคนจำนวนหยิบมือหนึ่งยังเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมการสักขาลาย และเข้ามาช่วยอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป หนึ่งในคนจำนวนนั้นก็คือ อ๊อด-ศราวุธ แววงาม ช่างสักอดีตเด็กพังก์ (Punk) ที่ผันตัวมาศึกษาวัฒนธรรมการสักขาลายอย่างจริงจัง โดยเดินทางไปศึกษากับอาจารย์ชาวปกาเกอะญอที่ยังคงสักอยู่ และสืบทอดวิชาการสักขาลาย รวมถึงอนุรักษ์การสักขาลายด้วยการบันทึกรอยสักนั้นไว้ลงบนเรือนร่างของผู้ที่สนใจ อะไรที่ทำให้เด็กพังก์ ไว้ทรงโมฮอว์ก สวมเสื้อหนัง ห้อยโซ่ รองเท้าบูตติดหนาม ถึงผันตัวมาสวมใส่เสื้อม่อฮ่อม กางเกงสะดอ และเปลี่ยนจากสักลายร่วมสมัยด้วยเครื่องสัก มาจับเข็มสักโบราณ รับแต่งานสักขาลายโดยเฉพาะ The Professional คราวนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวของชายผู้นี้ อ๊อดเริ่มต้นการเป็นช่างสักตั้งแต่อายุ 18 ปี พร้อมๆ กับการหันมาสนใจวัฒนธรรมพังก์ “เราสนใจความเป็นพังก์ เพราะว่าตอนนั้นยังไม่เป็นที่นิยมในสังคมไทย คนไม่ค่อยแต่งตัวแบบนี้ พังก์น่าสนใจตรงที่การทำสีผม […]

‘มนูญชัย’ แป้นพิมพ์ไทยเลย์เอาต์ใหม่ สร้างจาก AI และ Big data ที่ช่วยสมดุลการพิมพ์ทั้งสองมือ

มนูญชัย แป้นพิมพ์ไทยเลย์เอาต์ใหม่ สร้างจาก AI และ Big data ที่ช่วยสมดุลการพิมพ์ทั้งสองมือ

The Drowned Dreams ไฟฝันของชาวลาวที่ดับหายด้วยสายน้ำเหนือเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยให้ไทยได้ไฟสว่าง

The Drowned Dreams ภาพถ่ายชุดนี้คือความพยายามในการบันทึกความฝันของผู้คนในประเทศที่ต้องแลกไปกับความฝันของรัฐบาล

แฟลตลังเหล็ก ที่พักคนไร้บ้านยามโควิด-19 จากตู้คอนเทนเนอร์

ตู้คอนเทนเนอร์เก่าทำอะไรได้มากกว่า ‘กำแพงเหล็ก’ เพราะ ‘County Supervisor’ ของเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกาผุดโครงการบ้านพัก The Hilda L. Solis Care First Village บนย่านดาวน์ทาวน์ เพื่อดูแลประชาชนที่ประสบปัญหาไร้บ้าน โดยแบ่งเป็น 2 อาคารและใช้ตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด 66 ตู้มาแบ่งเป็นยูนิตและเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไปจนเหมือนบ้าน เดิมทีมันถูกแพลนไว้เป็น ‘เรือนจำใหม่’ จนกระทั่งปี 2019 ก็เปลี่ยนแผนยกใหญ่อีกครั้ง เพราะประชาชนในลอสแอนเจลิสมากกว่า 60,000 คน กำลังประสบปัญหาการ ‘ไร้บ้าน’ ทำให้ภาครัฐต้องการสร้างที่พักพิงสำหรับคนไร้บ้านมากกว่า ประจวบกับวิกฤตโรคระบาดที่เพิ่มจำนวนคนไร้บ้านขึ้นเรื่อยๆ แถมยังมีความเสี่ยงติดเชื้อสูง จึงเป็นตัวเร่งให้ ‘แฟลตลังเหล็ก’ แห่งนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด โดยมี ‘NAC Architecture’ และ ‘Bernards’ เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบและก่อสร้าง The Hilda L. Solis Care First Village ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 5,946 ตร.ม. ประกอบไปด้วยอาคาร 3 […]

‘hi toilet’ ห้องส้วมอัจฉริยะที่สั่งการด้วยเสียง เพื่อสุขอนามัย ไม่ว่าจะทำธุระหนัก-เบาแค่ไหนก็ปลอดภัย!

‘hi toilet’ ห้องส้วมอัจฉริยะที่สั่งการด้วยเสียง เพื่อสุขอนามัย ไม่ว่าจะทำธุระหนัก-เบาแค่ไหนก็ปลอดภัย!

เพราะหนังสือคือการเมือง การแปลจึงเป็นการเคลื่อนไหว : คุยกับแรงงานอักษรจาก Soi Squad

เราอยู่ในยุคสมัยแห่งความย้อนแย้ง ในขณะที่การตื่นตัวทางการเมืองเบ่งบาน วงการหนังสือคึกคักไปด้วยผู้คนที่สงสัยใคร่อ่านงานเขียน #เบิกเนตร ส่งให้บรรดาหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง และหนังสือแปลแนววิชาการที่เคยเงียบเหงา กลายเป็นหนังสือขายดีที่พบได้ในมือวัยรุ่นหรือคนทำงานทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่าในระนาบเวลาเดียวกัน กลับมีข่าวตำรวจบุกเข้าไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อยึดหนังสือที่อ้างว่า ‘มีเนื้อหาผิดกฎหมาย’ (เล่มเดียวกับที่ขายดีนั่นแหละ) และมีหนังสือหลายเล่มถูกห้ามเผยแพร่แจกจ่ายในราชอาณาจักร ย้อนแย้งจริงไหมเล่า  หากประชาชนขวนขวายที่จะอ่าน รัฐบาลจะสั่งห้ามไปทำไม หน่วยงานที่มีอำนาจมากมายจะกลัวอะไรกับแค่หนังสือ ‘หนังสือ การแปล และถ้อยคำสัมพันธ์ สำคัญอย่างไรกันแน่กับการเมือง?’ เราทดคำถามนี้ไว้ในใจ  “ทีมซอยมองเห็นร่วมกันว่าการแปลและการตีพิมพ์เป็นการขับเคลื่อนทางสังคมรูปแบบหนึ่ง การนำความคิดหรือตัวบทในภาษาหนึ่งมาพูดในอีกภาษามันได้พาเราข้ามผ่านพื้นที่ทางการเมืองในหลายมิติ” เป็นประโยคนี้ของเจน-จุฑา สุวรรณมงคล บรรณาธิการบริหารของซอย ที่ทำให้เรามั่นใจว่านี่แหละกลุ่มคนที่จะตอบคำถามให้เราได้! เราจึงรีบจดประโยคจากงานเสวนา บทจTalk ของสำนักพิมพ์บทจร แล้วอีเมลไปขอคุยกับทีมซอยทันที โชคดีของเราที่คำตอบของพวกเขาคือตกลง เรารู้จัก ‘ซอย | soi’ หรือ soi squad ครั้งแรกผ่านหนังสือ แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (Beyond the Gender Binary) ผลงานเล่มบางๆ ที่พาคนอ่านไปครุ่นคิดเรื่องบรรทัดฐานทางเพศให้ลึกซึ้งผ่านเรื่องเล่าของผู้คนหลากหลาย ผลงานของ สำนักพิมพ์ซอย สำนักพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือแปลในประเด็นแสบๆ คันๆ ที่เป็นวาระสำคัญของยุคสมัย อย่างความหลากหลายทางเพศ […]

The Rattanakosin Henge ธีสิสที่อยากเห็นกรุงเทพฯ โรแมนติกด้วยวิวพระอาทิตย์ตก

ช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน คือความสวยงามทางธรรมชาติที่ผู้คนทั้งโลกสามารถเข้าใจและซาบซึ้งไปพร้อมๆ กัน โดยไม่มีกำแพงของภาษาหรือต้องการคำอธิบายอะไรเพิ่มเติม เราจึงได้เห็นฉากในหนังรักโรแมนติกหลายเรื่องที่พระเอกนางเอกเดินทอดน่องคุยกันได้นานๆ ไปเดตกันในสวน และมองวิวพระอาทิตย์ตกด้วยกันในที่สาธารณะ เป็นโมเมนต์โรแมนติกที่แสนจะธรรมดา แต่กลับเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ยากมากในกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ไม่โรแมนติก และผังเมืองไม่ได้ออกแบบมาสอดรับกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ไม่มีพื้นที่สาธารณะที่ใช้เป็นจุดพักผ่อนหรือเป็นจุดชมวิว เราจึงไม่มีโอกาสได้นั่งชิลๆ ชมวิวพระอาทิตย์ตกแบบเต็มตาสักครั้งในพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองแห่งนี้  มายด์-มาธวี ติลกเรืองชัย บัณฑิตจากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งคนที่ตั้งคำถามกับความโรแมนติกของกรุงเทพฯ เชื่อว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนา และมีพื้นที่ดีๆ ที่สามารถปรับปรุงพื้นที่สาธารณะให้รองรับวิวพระอาทิตย์ตก เธอจึงนำคำถามที่ตัวเองอยากรู้มาทำธีสิส ‘The Rattanakosin Henge โครงการรักษาวิวพระอาทิตย์ตกดิน’ (โครงการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อมุมมองอัสดงสาธารณะ) และพาไปดูว่า ถ้าเราเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้โรแมนติกมากกว่านี้ได้ จะออกมาหน้าตาอย่างไรบ้าง วิวพระอาทิตย์ตกไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เกิดจากผังเมืองที่คิดมาแล้ว ในช่วงแรกที่เริ่มหาหัวข้อทำธีสิส มายด์พยายามมองหาเรื่องที่เป็นตัวเองและอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เธอสนใจเรื่องสุนทรียศาสตร์ของเมือง จึงพยายามจะตีโจทย์เรื่อง ‘Romantic City’ แต่ยิ่งรีเสิร์ชยิ่งพบว่าคำกว้างไป และอธิบายยาก จึงสโคปประเด็นลงมา และพบว่าความโรแมนติกคือการได้ดื่มด่ำกับช่วงเวลาดีๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง จึงสรุปออกมาได้ว่า ความโรแมนติกของเธอคือช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตก จากโจทย์เรื่องความโรแมนติกของเมืองและช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกดิน ทำให้มายด์ได้พบว่าทั้งสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องกันโดยตรงและมีให้พบอยู่ทั่วโลก โดยปรากฏการณ์นี้เรียกว่า […]

1 27 28 29 30 31 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.