‘Etihad Airways’ สายการบินแห่งชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้เริ่มให้บริการเที่ยวบิน ‘Eco-Flight’ ลำแรกของสายการบิน ด้วยเที่ยวบิน EY 57 ออกเดินทางจากอาบูดาบีไปยังบรัสเซลส์ โดยเครื่องบินโบอิ้ง 787 Dreamliner ซึ่งเป็นเครื่องบินประเภทใหม่ล่าสุด และมี ประสิทธิภาพมากที่สุดในฝูงบิน Etihad ที่สำคัญยังเป็นเครื่องบินที่กินน้ำมันน้อยกว่าสายการบินอื่นๆ อย่างน้อย 15%
Tony Douglas ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่ม Etihad กล่าวว่า การที่จะทำให้เกิดความ ยั่งยืนในอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก โดยเรามุ่งมั่นที่จะลด การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ และของเสียในขณะเดินทางทางอากาศให้น้อยที่สุด
Douglas ยังบอกอีกว่า ธีม ‘Green’ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของ Etihad ตั้งแต่ปี ค.ศ 2020 – 2050 นอกจากนี้ Etihad ยังร่วมมือกับธุรกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อทดลองเทคโนโลยีที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
โดยนอกเหนือจากการเปลี่ยนเส้นทางให้เหมาะสม เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงแล้ว Etihad ยังเริ่ม เปลี่ยนวิธีการบำรุงรักษา การทำความสะอาดโดยไม่ต้องล้างภายนอกเครื่องยนต์ที่ต้องใช้ทั้งเงินและทรัพยากรเป็นจำนวนมาก รวมถึงการใช้รถพลังงานไฟฟ้าในการขนส่ง สัมภาระ และมีเป้าหมายที่จะลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งลงให้ได้ 80% ภายในปี ค.ศ 2020 ด้วย
RELATED POSTS
Acousticity | Copter คืนนี้ไปส่ง Live Session @ซอยนานา
เรื่อง
Urban Creature
นานาที่หลายคนนึกถึง อาจเป็นซอยในย่านสุขุมวิท แหล่งท่องเที่ยวยามราตรีของเหล่านักดื่ม แต่จริงๆ ยังมีอีกหนึ่งซอยนานาในย่านเยาวราชที่บรรยากาศดีและมีบาร์ Specialty ค็อกเทลมากมายไม่แพ้กัน “เวลาเรา Hang out กันเสร็จแล้ว ก็อาจจะมีมุมที่เจอคนถูกใจหรือว่าอยากจะทำความรู้จักต่อ และเมื่อเรารู้จักกันแล้วก็จะมีความเป็นห่วงเขา เราเลยลองถามเขาดูว่า คืนนี้เขากลับยังไง ให้เราไปส่งไหม” วันนี้รายการ Acousticity พา ‘Copter’ ศิลปินจากค่าย @BOXX Music เจ้าของเพลงดัง ‘เธอบอกว่าฉันไม่ดี’ มาเล่นเพลง ‘คืนนี้ไปส่ง’ ท่ามกลางแสงสีจากซอยนานา ก่อนบอกลาและเข้านอนด้วยกัน
เปลี่ยนสีให้บ้านได้ทุกครั้งที่เบื่อกับ ‘UNPAINT’ สีลอกได้ไม่ทิ้งรอย ยั่งยืน ย่อยสลาย ทาได้ทุกพื้นผิว
เรื่อง
Urban Creature
การเลือกสีทาบ้านและสีเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านถือเป็นโจทย์ยากของหลายๆ บ้าน เพราะเราจะต้องอยู่กับมันไปอีกนาน แถมการแก้ไขก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สำหรับปัจจุบันอาจไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพราะล่าสุดบริษัทนวัตกรรมความยั่งยืน ‘Glasst’ ได้เปิดตัว ‘UNPAINT’ ผลิตภัณฑ์สีที่ทาได้ตั้งแต่ผนัง เฟอร์นิเจอร์ และพื้นผิวต่างๆ ด้วยเทคโนโลยี Glasstomer ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสิทธิบัตรที่บริษัทสีจากโคลอมเบียพัฒนาขึ้น ทำให้สามารถลอกสีออกเมื่อไม่ต้องการได้ง่ายๆ ด้วยมือ ส่วนวิธีใช้ก็แสนง่าย เพียงเลือกสี UNPAINT ที่มีให้เลือกกว่า 57 สี จากนั้นใช้แปรง ลูกกลิ้ง หรือหัวสเปรย์สำหรับพ่น ระบายสีลงบนพื้นผิวที่ต้องการ จากนั้นรอให้แห้งก็เป็นอันเสร็จสิ้น ทั้งนี้ การทาสี UNPAINT หนึ่งครั้งสามารถอยู่ได้นานกว่า 1 ปี และถ้าในระหว่างนั้นผู้ใช้งานเกิดรู้สึกเบื่อสีเดิมขึ้นมา ก็ลอกสีดังกล่าวออกได้ทันทีด้วยมือ โดยแทบจะไม่ทิ้งร่องรอยของสีที่ลอกไว้บนผนังหรือเฟอร์นิเจอร์เดิม นอกจากนี้ UNPAINT ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากย่อยสลายได้ทางชีวภาพและปราศจากสารอินทรีย์ระเหยง่าย อีกทั้งสี 1 กิโลกรัมยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 11 กิโลกรัม UNPAINT วางจำหน่ายแล้วในตลาดลาตินอเมริกา และกำลังขยายตลาดไปทั่วโลกจากการได้รับความนิยมอย่างมากในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งบ้าน การทาสีพื้นที่เชิงพาณิชย์ งานอีเวนต์ และนิทรรศการที่ต้องเปลี่ยนแปลงสีพื้นหลังอยู่บ่อยๆ Sources :Coatings […]
พลังของคนรุ่นใหม่ ที่อยากให้ธนบุรีเป็นย่านที่ดีขึ้นกว่าเดิม | ยังธน
เรื่อง
kittipot p.
เราอาจมองว่าการพัฒนาเมืองเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง แต่ในย่านธนบุรีกลับมีกลุ่ม ‘ยังธน’ ที่ประกอบไปด้วย ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ กลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี ที่ทำให้คนในย่านได้เห็นว่ากลุ่มคนธรรมดาก็รวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ “การที่เราเข้าไปขับเคลื่อนในพื้นที่ไหนก็ตาม แม้เราจะเป็นคนริเริ่ม แต่สุดท้ายคนในพื้นที่ต้องขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง” แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม โดยการนำ ‘ความสนุก’ มาเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาเมือง เพื่อขับเคลื่อนให้ชาวธนบุรีมีความสุขกับย่านนี้
พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก
เรื่อง
Urban Creature
“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH