เทพโลเคชัน หาโลเคชันถ่ายหนังแบบเทพๆ

เวลาเราดูภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง เราจะเห็นตัวละครอาศัยอยู่ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดฯ ห้างฯ หรือโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในเมืองของเรา แต่คนที่ทำหน้าที่สรรหาและจัดการให้สถานที่เหล่านี้มาปรากฏบนจอคือคนทำอาชีพ Location Manager ที่ต้องตามหาโลเคชันตามโจทย์ของผู้กำกับ และดูแลความเป็นไปของกองถ่ายและสถานที่ให้ออกมาอย่างราบรื่นที่สุด “อาชีพ Location Manager คือการดูแลความรู้สึกของเจ้าของสถานที่และกองถ่าย ต้องเยียวยาจิตใจของทั้งสองฝ่าย” Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘เทพ-ธัญญเทพ สุวรรณมงคล’ เจ้าของเพจ ThepLocation (เทพโลเคชัน) ที่ทำอาชีพ Location Manager มาถึง 20 ปี มีผลงานทั้งภาพยนตร์ ละคร โฆษณา และซีรีส์ โดยพูดถึงเบื้องหลังการจัดการโลเคชันถ่ายทำ และการเล่าเรื่องสถานที่ที่ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ แต่คือผู้คน

ป๊อก ป๊อก รับหิ้วมื้อเด็ดส่งถึงที่

หากเราขี้เกียจจะเดินออกไปกินข้าวแต่อยากกินอาหารมากมาย สิ่งที่เราทำก็คงหนีไม่พ้นการสั่ง Food Delivery ให้มาส่งถึงหน้าบ้านของเรา แต่กว่าจะเลือกอาหารที่จะกินได้ก็คงเสียเวลาเลือกร้านอาหารที่ถูกใจไม่ใช่น้อย จะดีกว่าไหมถ้าหากมีบริการที่เลือกร้านอาหารเด็ดมาให้แล้วเราแค่เลือกจากในนั้น Pok Pok คือแพลตฟอร์มที่รวมร้านอาหารเด็ดมากมาย จนเหมือนกับเราไปเดินหาของกินใน Food Court ที่มีทั้งร้านดังที่มีชื่อเสียง หรือร้านเด็ดประจำถิ่น รับหิ้วมาให้เราในครั้งเดียว และหลายครั้งยังบริการส่งอาหารข้ามโซนโดยไม่เสียค่าส่ง อีกทั้งวิธีการที่ Pok Pok ให้ลูกค้าสั่งอาหารนั้นก็ง่ายดายจนติดใจกลุ่มผู้สูงวัยจนกลายเป็นลูกค้าประจำ Urban Creature คุยกับ ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Pok Pok ถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้ และความคาดหวังที่จะกลายเป็น 1 ใน Food Delivery ที่ใครๆ ก็หันมาใช้กัน

Le Petit Restaurant ภัตตาคารอาหารที่เชฟให้น้อยแต่คนก็ยังมา

ในวัยเด็กที่ทุกคนเล่นจำลองสิ่งต่างๆ เช่น เล่นขายของ เล่นเป็นหมอรักษาคนไข้ หรือเล่นทำครัว ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในวัยเด็กนี้อาจเลือนหายไปเมื่อเราโตขึ้นมาแล้วไม่ได้ประกอบอาชีพนั้น ‘Le Petit Restaurant’ คือร้านอาหารที่เชฟให้น้อยแต่คนก็ยังมา เพราะร้านนี้ชวนให้ทุกคนมาเปิดประสบการณ์การเล่นทำอาหารในวัยเด็กอีกครั้ง แต่ยิ่งพิเศษไปกว่าเดิมเมื่อการทำอาหารนี้เล็กจิ๋วยิ่งกว่าที่เราเคยเล่นในวัยเด็ก อีกทั้งยังสามารถทำอาหารออกมาแล้วกินได้จริงอีกด้วย Urban Creature คุยกับ ‘พลอยดาว ธีระเวช’ เจ้าของร้าน Le Petit Restaurant ถึงความเป็นมาของภัตตาคารอาหารจิ๋วที่อาจไม่ได้ทำให้อิ่มท้อง แต่สิ่งที่ได้กลับไปคือความรู้สึกและประสบการณ์ที่แต่ละคนจะได้รับแตกต่างกันไปตามวัย

คุยเบื้องหลังหนังธีสิสเด็กฟิล์ม กับ ‘อาจารย์ญาณิน พงศ์สุวรรณ’

การจะทำหนังสักเรื่องให้ออกมามีคุณภาพ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับ นักแสดง คนเขียนบท ไปจนถึงทีมโปรดักชัน กระบวนการสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจึงต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง แม้แต่หนังสั้นนักศึกษาของเอกภาพยนตร์ที่มีต้นทุนสูงขึ้นทุกปี Urban Creature ชวนมาสนทนาประเด็นนี้กับ ‘อาจารย์ญาณิน พงศ์สุวรรณ’ อาจารย์เอกภาพยนตร์ คณะไอซีที ของมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยพูดถึงเบื้องหลังการศึกษาหลักสูตรภาพยนตร์ ที่ไม่ใช่แค่สอนทำหนัง แต่ยังรวมถึงการบริหารจัดการกับทุนสร้างให้พอดีและสอดคล้องกับคุณภาพของหนังที่ฉาย โดยที่อาจารย์ไม่ต้องกำหนดขอบเขตความคิดของนักศึกษาเพื่อที่จะลดต้นทุนในการสร้างหนังสั้น ตามไปฟังเบื้องหลังการเรียนของเด็กฟิล์มในบทสัมภาษณ์นี้

URBAN UNTOLD | เรื่องราวและมุมมองลูกหลานคนจีนที่อาจไม่เคยได้ยิน

TW : เนื้อหาในคลิปมีการพูดถึงความรุนแรงจากครอบครัว การทำร้ายร่างกาย และภาวะซึมเศร้า วันตรุษจีน คือวันที่คนไทยเชื้อสายจีนไหว้บรรพบุรุษของตัวเองเพื่อระลึกถึงอากงหรืออาม่าที่จากไป เป็นวันที่เราจะได้นั่งกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวด้วยอาหารไหว้ที่หลากหลายและพูดคุยอย่างมีความสุข ส่วนเด็กๆ จะได้รับแต๊ะเอียตามธรรมเนียมของวันตรุษจีนเพื่อเป็นคำอวยพรอีกด้วย แต่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะสุขสันต์เช่นนั้น เพราะการเลี้ยงดูโดยมีวัฒนธรรมจีนอยู่ในสายเลือดของแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน จนอาจทำให้บางคนมีปมหรือเรื่องราวประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการเติบโตมาในครอบครัวเชื้อสายจีนก็เป็นได้ และเรื่องราวเหล่านั้นก็ถูกซ่อนไว้ลึกข้างในโดยไม่ได้มีใครให้รับฟัง ประเดิมตอนแรกของรายการ Urban Untold กับการพาไปรับรู้เรื่องราวส่วนตัวของลูกหลานคนจีนที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน เพื่อนำมาเป็นบทเรียนของชีวิตและเดินก้าวต่อไปให้ไม่ซ้ำรอยกับเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้น

เยียวยาหัวใจผ่านการรักษาตุ๊กตากับ Sewing Thing

ตุ๊กตาเน่าหรือผ้าเน่าคงเป็นสิ่งที่หลายคนเก็บไว้ตั้งแต่เด็กๆ จนปัจจุบัน บางคนอาจได้รับจากคุณแม่ คุณย่า หรือคนที่รักเราในสถานะใดก็ตาม และหลายคนก็คงยังไม่ได้อยากทิ้งมันไป เพราะภายในสิ่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงของเล่นหรือผ้าที่เอาไว้ห่มอย่างเดียว แต่มันเต็มไปด้วยเรื่องราวหรือประสบการณ์ต่างๆ มากมายตั้งแต่ยังเล็กที่เราไม่อาจลืม แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งของเหล่านี้ล้วนเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา จนมันไม่อาจอยู่ในสภาพเดิม สิ่งของที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ช่วยเยียวยาใจของเราในวันที่แย่ๆ ก็อาจหายไปหากไม่มีคนคอยรักษามัน Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘พี่ตุ๊ก-พนิดา เตียวตระกูล’ หมอรักษาตุ๊กตาจากร้าน Sewing_thing ถึงอาชีพที่คอยเป็นคนรักษาน้องเน่า เพื่อรักษาใจของเราให้ยังคงอยู่ต่อไปในทุกวัน ติดตามร้านได้ที่ : www.instagram.com/sewing_thing

ย้อนความทรงจำย่านเมืองเก่า ผ่านลายเส้นของ Siradasue นักวาดเว็บตูน

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เติบโตขึ้น วิถีชีวิตของคนในย่านเมืองเก่าก็ค่อยๆ เลือนหายไป บ้างเหลือไว้แค่เพียงความทรงจำ แต่ภาพในอดีตก็ถูกสะท้อนออกมาในลายเส้นการ์ตูนที่เป็นเอกลักษณ์ของ ‘Siradasue’ หรือ ‘โบว์-ศิรดา สื่อไพศาล’ เจ้าของผลงานใน LINE WEBTOON เรื่อง Blooming Days และ Moonlight Serenade “ตอนที่เขียนการ์ตูนเรื่องหนึ่งออกมา โบว์เขียนเพราะอยากนำเสนอภาพจำของย่านเมืองเก่าที่สวยงาม เพื่อที่คนอ่าน อ่านแล้วต้องรู้สึกอยากมาลองสัมผัสบรรยากาศแบบที่เห็นในการ์ตูนสักครั้ง” ผลงานของโบว์เป็นการหยิบเอาแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรม อาคารสถานที่จริง จากความทรงจำและภาพปัจจุบันที่เธออาศัยอยู่ ทำให้การ์ตูนของเธอเป็นอีกสื่อที่ใช้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ของผู้คน เพื่อให้คนอ่านได้ย้อนเวลากลับไปสัมผัสบรรยากาศในอดีตและมองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และมีความตั้งใจว่าการ์ตูนจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนอ่านรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของย่านเมืองเก่าเอาไว้

รู้จักการสร้างเมืองให้ปังด้วย CITY BRANDING

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมเมืองเกียวโตในประเทศญี่ปุ่น แม้จะมีอาคารสมัยใหม่และมีความเป็นเมืองมากมาย แต่สิ่งที่เราจำได้กลับไม่ใช่อาคารเหล่านี้ หากแต่เป็นบ้านไม้โบราณและวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่นแทน เครื่องมือหนึ่งที่สร้างกระบวนการให้เมืองมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองนี้มีชื่อว่า ‘City Branding’ ซึ่งทำให้คนในชุมชนนั้นเห็นคุณค่าและศักยภาพของตัวเองที่มีอยู่ เพื่อที่จะกลายเป็นจุดขายของเมืองให้ดึงดูดคนเข้ามาพัฒนาสิ่งต่างๆ ในเมือง ทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่อีกด้วย Urban Creature ชวน ‘อาจารย์อั๋น-ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง และ ‘อาจารย์กบ-ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์’ รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คู่หูทำงานวิจัยเกี่ยวกับ City Branding มาพูดคุยกันถึงเครื่องมือนี้อย่างเจาะลึก และการใช้มันออกแบบเมืองให้ดึงดูดคนนอกมาท่องเที่ยว พร้อมกับทำให้คนในรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่ไว้ได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : urbancreature.co/city-branding #UrbanCreature #Scoop #ThinkThoughtThought #CityBranding #City #Architecture #สถาปัตย์ #สถาปัตยกรรม #สร้างเมืองให้ปัง

แชร์ร้านซ่อมของใช้ประจำวันผ่าน ‘วนวน’

“อยากซ่อมเสื้อผ้า ซ่อมของใช้ แต่ไม่รู้ว่าแถวบ้านมีร้านไหนบ้าง” ปัญหาที่คนเมืองหลายคนต้องเจอเมื่อของใช้ในชีวิตประจำวันเสียหรือพัง แม้จะอยากสนับสนุนการใช้ซ้ำและลดการบริโภคที่ไม่จำเป็น แต่การหาร้านซ่อมใกล้บ้านที่ถูกใจก็ยากเสียเหลือเกิน Urban Creature พาไปรู้จัก ‘วนวน’ แพลตฟอร์มที่อยากชวนทุกคนมาแชร์ร้านซ่อมเด็ดๆ ที่ประทับใจ ให้คะแนน รีวิวการให้บริการ และส่งต่อให้คนที่อยากใช้ของซ้ำๆ วนๆ เพื่อช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม ผ่านการพูดคุยกับ ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’ หนึ่งในสมาชิกของ ‘Reviv’ คอมมูนิตี้อาสาที่ส่งเสริมให้คนหันมาซ่อมและใช้สินค้าซ้ำมากขึ้น ปัจจุบัน วนวน อยู่ในช่วงทดลองผ่านทางเว็บไซต์ wonwonbyreviv.com โดยมีร้านซ่อมเสื้อผ้าที่ผู้พัฒนาเลือกมาแนะนำกว่าร้อยร้าน โดยคาดหวังฟีดแบ็กจากคนเมืองเพื่อเปิดให้ทุกคนใช้งานได้เต็มรูปแบบเร็วๆ นี้

ตาม Mean Lee ศิลปินไทยไปดูงานอาร์ตทั่วเมืองเบอร์ลิน

“ทุกคนดูมีความสุขที่จะมีงานนี้ขึ้นมาทำให้คนเกิดแรงบันดาลใจได้ง่ายมากมันยิ่งรู้สึกดีที่คนในประเทศเขาให้ค่ากับสิ่งนี้” เมื่อกลางปี 2022 ที่ผ่านมา ที่เยอรมนีได้จัดงาน Berlin Art Week และ Stuttgarter Comictage ขึ้น ซึ่งเป็น 2 งานเทศกาลศิลปะที่ชวนให้คนได้มา Art Hopping ด้วยการจัดงานที่หลากหลายและเข้าถึงง่าย ทำให้ชาวเมือง ศิลปิน และนักท่องเที่ยว ตื่นเต้นและพร้อมใจกันตบเท้าเข้ามาสร้างสีสันและความคึกคักให้แก่เมืองเบอร์ลิน Mean Lee หรือ ‘มีน-ธันยธรณ์ ลี้ไวโรจน์’ นักวาดภาพประกอบที่มีสีสันฉูดฉาดและข้อความยั่วล้อสังคมซุกซ่อนอยู่ในงาน คือศิลปินที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ในการเดินทางไปที่เมืองเบอร์ลินครั้งนี้ และกลับมาแชร์ประสบการณ์ให้ชาว Urban Creature เกิดความหวังในการมีเมืองที่ ‘ทำให้คนเกิดแรงบันดาลใจได้ง่าย’ กับเขาบ้าง

kintaam อัธยาศัย ไอศกรีมแซนด์วิชสร้างสรรค์จากสองพี่น้องชาวเชียงใหม่

ไอศกรีมคือหนึ่งในของทานเล่นที่หลายคนคงโปรดปราน แต่หากการกินไอศกรีมแท่งหรือโคนนั้นซ้ำซากจำเจเกินไป เราขอแนะนำทางเลือกใหม่ในการทานของหวานอย่างร้านไอศกรีมแซนด์วิชจากเชียงใหม่ที่มีสาขาในกรุงเทพฯ มาให้ทุกคนได้รู้จักกัน ‘กินตาม’ คือไอศกรีมแซนด์วิชที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์จากสองพี่น้องชาวเชียงใหม่ ที่เราสามารถเลือกรสชาติไอศกรีมและคุกกี้ที่จะประกบ รวมทั้งท็อปปิงที่หลากหลายให้เราได้กินตาม ‘อัธยาศัย’ Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ถมทอง ไชยจินดา’ และ ‘น้ำทิพย์ ไชยจินดา’ สองพี่น้องเจ้าของร้าน ‘กินตาม’ ถึงเบื้องหลังของไอศกรีมแซนด์วิชที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ที่จะทำให้ทุกคนน้ำลายสอจนอยากจะลองหาไอศกรีมแซนด์วิชกินตามมากินกัน

เรียนขี่ม้าในกรุงเทพฯ กับ ‘ครูจิ๊บ-ศิระ สีเสม’ ที่โรงเรียนสอนขี่ม้า Rodeo Horse Riding

คงท้าทายไม่น้อยหากเราขึ้นไปอยู่บนหลังม้าที่กำลังวิ่ง แล้วต้องควบคุมมันให้ตัวเราไม่ร่วงลงมา เพราะต้องใช้ทั้งสมาธิและสัญชาตญาณในการควบคุมสัตว์ชนิดนี้.ในอดีตเราขี่ม้าเพื่อศึกสงคราม ไล่ล่าศัตรู แต่ปัจจุบันการขี่ม้าได้กลายเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยเรื่องการออกกำลังกายและผ่อนคลายความเครียด อีกทั้งยังส่งเสริมบุคลิกภาพให้คนที่อยู่บนหลังม้าอีกด้วย “ม้าเป็นสัตว์ที่มีเสน่ห์ เวลาใครเห็นก็อยากมอง เวลามันวิ่งหรือยกหางจะดูน่าสนุก ตื่นเต้น” คอลัมน์ The Professional พาไปสนทนากับ ‘ครูจิ๊บ-ศิระ สีเสม’ เจ้าของโรงเรียนสอนขี่ม้า Rodeo Horse Riding ถึงความน่าสนใจ ความสนุก และความท้าทายของการขี่ม้าที่กลายเป็นกิจกรรมทางเลือกใหม่ในยุคนี้

1 2 3 21

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.