Ubon Agenda 2022 ปฏิบัติการศิลปะรำลึก 121 ปี ‘ผู้มีบุญ’ แห่งศึกโนนโพธิ์ จังหวัดอุบลฯ

ใครเคยได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับ ‘ผู้มีบุญ’ หรือ ‘กบฏผีบุญ’ บ้าง? ย้อนไป พ.ศ. 2444 หมู่บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เคยเป็นพื้นที่สังหารแห่ง ‘ศึกโนนโพธิ์’ ที่รัฐสยามในสมัยนั้นใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนที่ลุกฮือต่อต้านอำนาจภายใต้ชื่อกลุ่ม ‘ผู้มีบุญ’ การปะทะกันครั้งนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 300 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นฝ่ายผู้มีบุญ  ผู้แพ้ที่รอดชีวิตจำนวนหนึ่งถูกทหารสยามจับตัวไปที่ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี ส่วนผู้แพ้ที่เหลือแค่วิญญาณถูกตัดหัวเสียบประจาน ร่างถูกทิ้งกองรวมในบ่อดิน ทั้งหมดถูกตั้งชื่อประณามว่าเป็น ‘กบฏผีบุญ’ เพื่อผลักความเป็นมนุษย์ออกจากผู้มีบุญ เพราะการใช้คำว่า ‘ผี’ ทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นปีศาจที่ต่ำกว่าสัตว์ เช่น ควาย หมู และหมา ส่วนวาทกรรม ‘กบฏ’ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการกำจัดผู้เห็นต่างทางการเมืองของรัฐไทยในสมัยนั้น เมื่อเพิ่มคำว่ากบฏจึงหมายความว่า ‘ฆ่าได้’ ส่วนการต่อสู้ระหว่างรัฐและกบฏผู้มีบุญนั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุประกอบกัน ทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ เช่น ความกดดันจากการขยายอาณานิคมของฝรั่งเศสบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขง และปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจในการรวมศูนย์อำนาจและรีดเก็บส่วยของรัฐสยาม ที่สร้างความเดือดร้อนและความยากลำบากให้กับชาวอีสานอย่างมาก เป็นต้น ทว่า การต่อสู้ของชาวบ้านและความตายของเหล่าผู้มีบุญกลับไม่ถูกพูดถึง ไม่มีในตำราเรียน และไม่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยแต่อย่างใด เป็นเพียงเรื่องราวที่ถูกเล่าต่อกันมาจากลูกหลานของคนในหมู่บ้านสะพือ และจากการรวบรวมหลักฐานและเอกสารจำนวนมาก ศึกโนนโพธิ์และความตายของผู้มีบุญจึงเป็นประวัติศาสตร์ดำมืด ที่อาจถูกกาลเวลากลบฝังไม่วันใดก็วันหนึ่ง 121 ปีผ่านไป […]

‘When We Live Alone’ สารคดีสำรวจความโดดเดี่ยวของชีวิตคนเมือง เปิดให้ชมออนไลน์ฟรีถึง 15 เม.ย. นี้

คุณเหงาไหม?  ที่ถามคำถามนี้อาจจะไม่ได้ชวนตอบกลับตรงๆ แต่อยากชวนทุกคนสำรวจความรู้สึก วิถีชีวิตของเราในแต่ละวันว่าเป็นอย่างไร อยู่คนเดียวบ่อยไหม รู้สึกเหงาบ้างหรือเปล่า คำถามเล็กๆ แบบนี้เป็นประเด็นตั้งต้นของภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘When We Live Alone’ สารคดีที่จะพาเราสำรวจวิถีชีวิตที่ปัจจุบันผู้คนในเมืองมีแนวโน้มอยู่คนเดียวมากขึ้น เชื่อมโยงให้เห็นแนวโน้มการปรับเปลี่ยนของรูปแบบที่อยู่อาศัย ไปจนถึงสภาพสังคมเศรษฐกิจกันเลยว่ามีส่วนกับความรู้สึกของเขาขนาดไหน (และในทางกลับกัน)  สารคดีความยาวครึ่งชั่วโมงจะพาเราตั้งต้นที่ประเทศญี่ปุ่น จากวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นในเมืองหลวงอย่างโตเกียว แนวทาง แนวคิดการใช้ชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั่นเป็นอย่างไร ความเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยในเมืองเป็นแบบไหน ทั้งที่เมื่อ 20 ปีก่อน เมืองหนึ่งเมืองของญี่ปุ่นนั้นเปรียบเสมือนบ้าน เช่น ไปโรงอาบน้ำ ทานอาหารที่ร้านอาหาร หรือพื้นที่สาธารณะอื่นๆ แต่ตอนนี้การใช้ชีวิตทุกอย่างรวมอยู่ในห้องห้องเดียวได้ ประเด็นเหล่านี้จะชวนฉายปมไปถึงเรื่องที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงไปให้ตอบรับกับวิถีชีวิตแบบนี้  สารคดีจะเล่าประเด็นเหล่านี้ผ่านชีวิตของผู้คนที่เข้ามาทำงานในเมืองหลวง นักเรียนนักศึกษา จนถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่น สำรวจวิถีชีวิตของพวกเขาและสถานที่ที่พวกเขาอยู่อาศัย รวมทั้งสอดแทรกมุมมองทางสถาปัตยกรรมที่จะชวนคิดกลับมาสะท้อนชีวิตประจำวันของพวกเรา  ‘When We Live Alone’ เป็นผลงานกำกับของ Daniel Schwartz และอำนวยการสร้างโดยศูนย์สถาปัตยกรรมแคนาดา (Canadian Centre for Architecture – CCA) เป็นหนึ่งในสามซีรีส์สารคดีที่จะชวนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของเมืองในแง่มุมทางสังคมและสถาปัตยกรรม เรื่องแรกที่เผยแพร่ในปี 2019 ชื่อว่า ‘What […]

เปิดใจ เปิดไมค์ เข้าใจประเด็นร้อนในสังคมผ่านพื้นที่ถกเถียงใน ‘That Mad Podcast’ Video Podcast จาก That Mad Woman

เราเชื่อว่าคุณน่าจะเคยเห็นหรือแชร์คอนเทนต์ของเพจ That Mad Woman บนสตอรีในอินสตาแกรมมาบ้างไม่มากก็น้อย That Mad Woman คือเพจเกี่ยวกับเฟมินิสต์ หรือความเท่าเทียมทางเพศ โดยรับหน้าที่ขยายและผลักดันพื้นที่กับเสียงของเพศทุกเพศที่โดนกดขี่ คอนเทนต์ของเพจมักถ่ายทอดออกมาเป็นอัลบั้มภาพสีจัดจ้านกับข้อความบรรยายที่อ่านง่าย ประเด็นที่เพจเลือกมาทำคอนเทนต์สื่อสาร มีทั้งเรื่องค่านิยมไทยที่กดทับเพศหญิง ผู้ลี้ภัยโรฮิงญากับการค้ามนุษย์ ความเป็นพิษของสถาบันครอบครัว รสนิยมทางเพศ ไปจนถึงการบอกเล่าถ้อยคำให้กำลังใจทุกคน พูดง่ายๆ ว่าคอนเทนต์ของ That Mad Woman มีความหลากหลาย ชวนติดตาม เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้วที่เพจนี้ทำคอนเทนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศและประเด็นสังคมอื่นๆ มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด That Mad Woman ได้ทำคอนเทนต์ในรูปแบบ Video Podcast ออกมา ใช้ชื่อว่า ‘That Mad Podcast’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นสังคมต่างๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน ภายใต้คอนเซปต์ ‘Unmute Yourself เปิดใจ เปิดไมค์ เข้าใจประเด็น’ ‘That Mad Podcast’ ได้ปล่อย EP.1 ออกมาแล้ว […]

เกล็ดน้ำแข็งในไอศกรีมคือฝันร้าย นักวิทย์ค้นพบวิธีให้ไอศกรีมไม่แข็งกระด้าง อาจต่อยอดไปถึงการขนส่งอวัยวะช่วยชีวิต

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบอนุภาคนาโนพิเศษในพืช ที่สามารถป้องกันการก่อตัวของผลึกน้ำแข็งทำลายรสสัมผัสอันนิ่มนวลของไอศกรีมให้กลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง การค้นพบดังกล่าวไม่เพียงแต่จะนำไปสู่ไอศกรีมที่อร่อยและอยู่ได้นานมากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถนำมาใช้ในการทางแพทย์ได้อีกด้วย เช่นการทำให้อวัยวะของผู้บริจาคอยู่ได้นานขึ้นระหว่างการขนส่ง โดยปกติแล้วผลึกน้ำแข็งในไอศกรีมจะมีขนาดเล็กมากจนแทบไม่ส่งผลในการลิ้มรส แต่ถ้าอุณหภูมิของไอศกรีมมีการเปลี่ยนแปลงเยอะขึ้น เช่นระหว่างทางจากร้านขายของชำกลับไปแช่ตู้เย็นที่บ้าน ผลึกเหล่านี้ก็จะละลายแล้วรวมตัวกันเป็นผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่ขึ้นจนรู้สึกได้ และหากทิ้งไอศกรีมให้ละลายก่อนนำไปแช่ซ้ำรสสัมผัสก็จะยิ่งแข็งกระด้าง เป็นเกล็ด และแย่ลงมาก เพื่อป้องกันการก่อตัวของผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่เหล่านี้ในไอศกรีม ผู้ผลิตจึงใส่สารเพิ่มความหนืดลงไปเพื่อให้ไอศกรีมคงตัวได้นานขึ้น แต่ Tao Wu นักวิทยาศาสตร์การอาหารจากมหาวิทยาลัยเทนเนสซีบอกว่า สารที่เพิ่มความคงตัวเหล่านี้ไม่ได้ผลเสมอไปเพราะมีปัจจัยหลายอย่าง เช่นเวลาในการเก็บรักษาหรือส่วนผสมที่ไม่เท่ากัน ทำให้สารดังกล่าวไม่สามารถใช้กับทุกผลิตภัณฑ์ได้ ไอเดียของเรื่องนี้คือพืชและสัตว์บางชนิดสามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส โดยผลิตโปรตีนต้านการแข็งตัวชนิดพิเศษที่ทำให้ผิวมีทั้งคุณสมบัติในการไล่น้ำและกักเก็บน้ำ ซึ่งโปรตีนดังกล่าวจะจับกับผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กเพื่อป้องกันไม่ให้หลอมละลายจนรวมเป็นผลึกขนาดใหญ่ที่จะทำลายเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต แต่ถึงโปรตีนชนิดนี้จะป้องกันการแข็งตัวในไอศกรีมได้แต่ก็น่าจะมีราคาแพงเกินไป รวมถึงมีกระบวนการที่ยุ่งยาก Wu ทราบดีว่าผนังเซลล์ของพืชมีอนุภาคที่เรียกว่า เซลลูโลสนาโนคริสตัล ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับโปรตีนต้านการแข็งตัว แต่ราคาถูกและหาได้ง่ายกว่า จึงทดลองเพิ่มอนุภาคดังกล่าวลงในไอศกรีม ซึ่งหลังจากทิ้งไอศกรีมไว้สามชั่วโมงก็พบว่า ผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กในไอศกรีมมีขนาดเท่าเดิม ไม่ได้หลอมละลายมารวมกัน และไอศกรีมยังรับมือกับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นได้ดี จึงเกิดเป็นไอเดียของไอศกรีมที่ละลายช้าลงขึ้นมา จากการเปิดเผยของ Wu ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า โปรตีนต้านการแข็งตัวในไอศกรีมไม่มีความเป็นพิษ แต่ FDA ยังคงต้องทบทวนก่อนจะอนุญาตให้ใช้ในอาหาร.อย่างไรก็ตาม เราสามารถมองไปได้ไกลกว่าโลกของขนมหวาน Wu ตั้งข้อสังเกตว่า การค้นพบครั้งนี้อาจช่วยชีวิตของผู้คนได้มากขึ้น เช่นการปลูกถ่ายหัวใจที่ต้องดำเนินการภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังอวัยวะถูกนำออกมาจากร่างกายของผู้บริจาค ซึ่งโปรตีนต้านการแข็งตัวจากพืชมีความเป็นไปได้ในการยืดอายุของหัวใจที่ถูกนำออกจากร่างกายให้นานขึ้นได้ระหว่างการขนส่งด้วยอุณหภูมิต่ำ 

สตาร์บัคส์ญี่ปุ่นลดใช้พลาสติก เลิกใช้ฝาและใช้แก้วสำหรับดื่มในร้าน เริ่ม 18 เม.ย. 65 กว่า 113 สาขา

ปีนี้สตาร์บัคส์ญี่ปุ่นเอาจริงกับการลดพลาสติกแล้วนะ! สตาร์บัคส์ญี่ปุ่นเพิ่งจะประกาศมาตรการใหม่ 4 ข้อในการลดใช้พลาสติกในร้าน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรที่ต้องการลดขยะลงจากเดิมให้ได้ถึง 50% ภายในปี 2030 โดยจะเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ใช้ภาชนะที่ใช้ซ้ำได้ เพื่อลดจำนวนขยะประเภทถ้วย ฝาปิด และช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้งให้ได้มากที่สุด  มาตรการ 4 ข้อในการลดขยะของสตาร์บัคส์ญี่ปุ่น มีดังนี้1. เสิร์ฟเครื่องดื่มเย็นด้วยแก้วสำหรับลูกค้าที่ดื่มในร้าน2. เครื่องดื่มเย็นสำหรับสั่งกลับบ้านจะเสิร์ฟแบบไม่มีฝาพลาสติก3. บางสาขาจะมีบริการให้ ‘เช่า’ กระบอกน้ำแบบใช้ซ้ำได้4. ช้อนส้อมจะเปลี่ยนเป็นแบบใช้ซ้ำได้ และมีแบบที่ทำจากวัสดุจากพืช 100% ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ร้านสตาร์บัคส์ 106 แห่งในญี่ปุ่นจะเริ่มให้บริการเสิร์ฟเครื่องดื่มเย็นในแก้วสำหรับลูกค้าที่ดื่มในร้าน โดยจำหน่ายสำหรับขนาด Small และ Tall (บริการนี้รวมเมนูปั่นด้วย) ส่วนขนาด Grande และ Venti จะมีให้เลือกแค่บางสาขาเท่านั้น แต่หากลูกค้าท่านใดต้องการใช้แก้วแบบใช้แล้วทิ้งก็ยังสามารถขอพนักงานได้ตามปกติ  นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 65 เป็นต้นไป ร้านสตาร์บัคส์ 113 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มให้บริการเครื่องดื่มเย็นโดยไม่แจกฝาพลาสติก (ยกเว้นเครื่องดื่มสำหรับเด็ก) โดยมาตรการนี้จะนำไปใช้กับเครื่องดื่มเย็นทั้งหมด […]

เทศกาลหนังสือฤดูร้อน 2022 29 เม.ย. – 8 พ.ค.​ นี้ ที่สามย่านมิตรทาวน์

ช่วงนี้กรุงเทพฯ มีเทศกาลหนังสืออย่างคึกคัก ชวนให้นักอ่านได้เดินเลือก เดินช้อปกันอย่างจุใจ  แต่ยังไม่หมด! วันที่ 29 เมษายน 2565 ที่จะถึงนี้ จะมีเทศกาลหนังสือฤดูร้อน (Summer Book Fest 2022) ครั้งที่ 2 ให้ทุกคนได้เลือกซื้อหนังสือ หรือเข้าร่วมกิจกรรมในงานกันอีกรอบหนึ่ง! สำหรับคอนเซปต์ในปีนี้ของเทศกาลหนังสือฤดูร้อนคือ ‘อ่านผลิบาน’ หรือ ‘Blooming Readers’ ที่ทางผู้จัดมี Dress Code ให้เราแต่งกายในธีม ‘เสื้อผ้าสีสดใส’ เพื่อรับความสดใส สว่างจ้าของฤดูร้อนในประเทศไทยกัน ผู้จัดเปิดเผยที่มาคอนเซปต์ ‘ความสดใส’ ไว้ว่า ‘ไม่ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสองสามปีมานี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตมากแค่ไหน แต่การอ่านก็ยังเป็นสิ่งที่ช่วยชุบชูใจ และยังผลิบานอยู่เสมอ และนักอ่านอย่างเรายังคงแสวงหาความท้าทายและความสนุกจากการอ่าน ไม่ว่าฤดูกาลจะเปลี่ยนไปแค่ไหน หรือโลกใบนี้จะหมุนเหวี่ยงเรามากแค่ไหนก็ตาม’ เทศกาลหนังสือครั้งนี้จะขนหนังสือจากกว่า 100 สำนักพิมพ์ใน 170 บูท มีหลากหลายประเภทตั้งแต่หนังสือความรู้ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง ไปจนถึงหนังสือครอบครัวและการพัฒนาตัวเอง นอกจากบูทหนังสือแล้วยังมีงานเสวนา ‘ฮอตทะลุปรอท’ (หากใครจำครั้งแรกของงานได้ คือ มีแกนนำขบวนการเคลื่อนไหวมาขึ้นเวทีนั่นแหละ) […]

‘จรจัดสรร’ โครงการต้นแบบที่พักพิงสุนัขจรจัด เพื่อสวัสดิการหมาจรในเมืองทองธานี ที่มุ่งแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

ใครเดินตามท้องถนนหรือชุมชนบ่อยๆ คงเคยเห็นสุนัขจรจัดที่น่าสงสาร ไร้เจ้าของดูแล และไม่มีที่พักพิง ถ้าโชคดีหน่อยพวกมันจะได้รับอาหารและการดูแลจากผู้ใจบุญในพื้นที่ แต่ถ้าโชคชะตาไม่เข้าข้าง เพื่อนสี่ขาเหล่านี้มักถูกทิ้งให้หิวโซ เดินเตร็ดเตร่ในสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน และยังไม่ได้รับการดูแลรักษาสุขอนามัยจนอาจเจ็บป่วยหรือตายได้ นี่จึงเป็นที่มาของ ‘จรจัดสรร’ โครงการสุนัขชุมชนเมืองทองธานี ที่ติดตั้งที่พักพิงเพื่อสุนัขจรจัดด้วยสถาปัตยกรรมขนาดเล็กน่ารัก เป็นโครงเหล็กและไวนิลสีขาวที่มาพร้อมถ้วยสเตนเลส สำหรับกันแดด กันฝน และให้อาหารน้องหมาจรจัด โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้น และยกระดับสวัสดิการของทั้งคนและสุนัขให้ดีกว่าเดิมด้วย จรจัดสรรเป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยในระดับดุษฎีบัณฑิตของอาจารย์ยศพร จันทองจีน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก ‘ความรัก’ เนื่องจากอาจารย์ยศพรเป็นคนรักสุนัขและคอยช่วยเหลือหมาจรจัดมาโดยตลอดอยู่แล้ว วิจัยนี้จะมีประโยชน์และสามารถจัดการกับปัญหาได้จริงก็ต่อเมื่อคนในสังคมหลากหลายกลุ่มร่วมมือกัน กลุ่มจรจัดสรรจึงต้องการเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในสังคม กลุ่มนี้ไม่ได้แสวงหากำไร แต่ดำเนินการด้วยความรักและความต้องการจัดการกับปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยพวกเขาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับปัญหาสุนัขจรจัดไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ ปัจจุบันพื้นที่ต้นแบบของโครงการนี้ตั้งอยู่บริเวณ ‘วัดนางนอง’ และ ‘เมืองทองธานี’ โดยมีจิตอาสาพื้นที่คอยสอดส่องดูแลความปลอดภัยและความเรียบร้อยของโครงการ ใครอยากเห็นภาพสุนัขจรจัดที่แวะเวียนมาพักพิงและนอนหลับอย่างสบาย สามารถติดตามความเคลื่อนไหวและความคืบหน้าของโครงการได้ที่กลุ่ม จรจัดสรร ส่วนใครอยู่พื้นที่อื่นหรือต่างจังหวัด และอยากนำโครงการสร้างสรรค์เช่นนี้ไปจัดทำในชุมชนของตัวเอง สามารถติดต่อกลุ่มจรจัดสรรเพื่อขอแบบไปทำเองได้เลย ถือเป็นโครงการดีๆ ที่น่าชื่นชมและเป็นต้นแบบของการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้ผู้อยู่ทั้งคนและสุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนสังคมของเราก็จะน่าอยู่ขึ้นอีกหลายเท่าตัวด้วย Sources : Facebook : จรจัดสรร | t.ly/hH74จรจัดสรร | จรจัดสรร.com

ย้อนดูบรรยากาศและคำบอกเล่าของโรงหนัง ‘สกาลา’ ผ่านสารคดี The Scala ใน Netflix 15 เม.ย. 65

ช่วงนี้สยามกำลังรีโนเวตพื้นที่ครั้งใหญ่ ทำให้หวนคิดถึงบรรยากาศเก่าๆ และพาลให้นึกถึงสถานที่ในความทรงจำอย่างโรงภาพยนตร์ลิโด้และสกาลา ใครที่กำลังคิดถึงสกาลา เราอยากชวนมารำลึกความทรงจำในสารคดี ‘The Scala’ ที่กำลังจะเข้า Netflix ในวันที่ 15 เมษายน 2565 ‘The Scala’ (2015) คือภาพยนตร์สารคดีถึงโรงภาพยนตร์ในตำนาน ‘สกาลา’ ที่กำกับโดย ‘จุ๊ก-อาทิตย์ อัสสรัตน์’ เจ้าของผลงานภาพยนตร์นอกกระแสอย่าง ‘Wonderful Town’ (พ.ศ. 2550) และ ‘ไฮโซ’ (พ.ศ. 2553) สารคดีเรื่องนี้จะพาผู้ชมไปร่วมสำรวจมนตร์เสน่ห์แห่งภาพยนตร์ของโรงภาพยนตร์เก่าแก่ในกรุงเทพฯ ที่ยืนหยัดให้บริการเป็นแห่งสุดท้าย โดยเป็นการบันทึกช่วงเวลาสำคัญ บรรยากาศ ความทรงจำ และความรู้สึกจากปี 2015 ผ่านสายตาของเจ้าของและเหล่าพนักงานที่ทำงานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ยุคที่สกาลารุ่งเรืองไปจนถึงช่วงที่ความนิยมลดลงในยุคสมัยที่มีโรงภาพยนตร์หลากหลายขึ้น สำหรับใครที่ลืมเลือนไปแล้ว ‘The Scala’ คือภาพยนตร์ที่ฉายอำลาวันสุดท้ายของสกาลาเมื่อ 2 ปีก่อน เรียกว่าเป็นภาพยนตร์ทิ้งทวนแห่งความทรงจำ ถ้ากลับมาชมเรื่องนี้ในยุคปัจจุบัน เราคิดว่าหลายคนน่าจะคิดถึงบรรยากาศเก่าๆ และเสียดายที่โรงภาพยนตร์แห่งนี้ไม่อยู่ให้เห็นอีกต่อไป หมายเหตุ : โรงหนังสกาลา เป็นโรงหนังเครือเอเพ็กซ์แห่งสุดท้ายที่ปิดตัวไปเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม […]

คืนชีพโรงหนังเก่าอายุ 111 ปี ในอังกฤษ มรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งปลูกสร้างสำคัญ เตรียมกลับมาเปิดอีกครั้งหลังหยุดไป 3 ปี

โรงภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของอังกฤษจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากปิดเพื่อทำนุบำรุงครั้งใหญ่ Electric Palace Cinema สร้างขึ้นในปี 1911 สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียน Grade II* หรือสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญและมีความน่าสนใจเป็นพิเศษ จากคณะกรรมการอาคารประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์อังกฤษ และได้เข้าไปอยู่ใน Heritage at Risk Register หรือมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความเสี่ยงจะพังทลายตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งอาคารหลังนี้ระดมเงินสนับสนุนได้มากถึง 1.5 ล้านปอนด์ สำหรับแก้ไขโครงสร้างอาคารและปัญหาอื่นๆ เช่นการรั่วไหลของน้ำ งานครั้งนี้ยังรวมถึงการเปลี่ยนหลังคาอาคารให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยการกำจัดแร่ใยหิน ซ่อมแซมฝ้าเพดานที่เป็นปูนปลาสเตอร์ เปลี่ยนรูปแบบการตกแต่งภายใน เปลี่ยนพื้นหอประชุมบางส่วน และปรับปรุงที่นั่งในห้องประชุมด้วย แต่ก็รักษากลิ่นอายและสิ่งปลูกสร้างดั้งเดิมไว้ โถงทางเข้า ห้องฉายภาพยนตร์ และหน้าจอยังเป็นของดั้งเดิม David Looser ประธานของโรงภาพยนตร์ดังกล่าวบอกว่า หยุดการใช้แร่ใยหินบนหลังคาตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งสมาคมประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์อังกฤษมีบทบาทในการช่วยเหลืออย่างชัดเจน ด้วยการลงทะเบียนโรงภาพยนตร์ว่าเป็นมรดกที่มีความเสี่ยงภัย และอนุมัติอย่างรวดเร็วเพื่อเคลียร์แร่ใยหิน ด้วยเงินสนับสนุนจากกองทุนมรดกสลากกินแบ่งแห่งชาติ Electric Palace Cinema ถูกสร้างขึ้นโดย Charles Thurston โชว์แมนที่สร้างโรงภาพยนตร์อีกสองแห่งคือ Empire Cinema และ Palace Cinema สำหรับ […]

ชวนดูหนังใหม่ Fast & Feel Love หนังแอ็กชันในชีวิตประจำวัน จากผู้กำกับ เต๋อ นวพล 6 เม.ย. นี้

GDH เปิดตัวภาพยนตร์เรื่องใหม่ล่าสุดของผู้กำกับ เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ‘Fast & Feel Love เร็วโหด..เหมือนโกรธเธอ’ ภาพยนตร์แอ็กชันในชีวิตประจำวัน ที่เดิมพันด้วยความเร็ว และความรัก นำแสดงโดย นัท-ณัฏฐ์ กิจจริต, ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์, โปเต้-อนุสรา กอสัมพันธ์ และ ปริมมี่-วิพาวีร์ พัทธ์ณศิริ และหยิบเอา ‘กีฬาสแต็ก’ หรือการแข่งขันซ้อนแก้วสแต็ก มานำเสนอผ่านเรื่องราวชีวิตประจำวันของผู้คนในวัย 30+ และใส่ฉากล้อเลียนหนังแอ็กชันฟอร์มยักษ์เข้ามาเพิ่มสีสันให้ชีวิตประจำวันของตัวละคร Fast & Feel Love เร็วโหด..เหมือนโกรธเธอ คือเรื่องราวของ เกา (ณัฏฐ์ กิจจริต) แชมป์ Sport Stacking กำลังจะต้องลงแข่งแมตช์สำคัญที่ต้องปะทะกับคู่แข่งเด็กทั่วโลก เขาจะต้องเล่นให้ไวกว่า 4.6 วินาที อันเป็นสถิติใหม่ที่ผู้ท้าชิงลึกลับคนหนึ่งทำไว้ แต่สิ่งที่เขาต้องทำเป็นอย่างแรกคือ กวาดบ้านกับล้างจาน เพื่อให้สภาพแวดล้อมพร้อมกับการฝึกซ้อมมากที่สุด  เตรียมฟาสต์พร้อมกัน 6 เมษายนนี้ ในโรงภาพยนตร์ รับชมตัวอย่างภาพยนตร์ได้ที่นี่ https://bit.ly/FastAndFeelLove_TrFb ใครอยากฟาสต์แบบฟรีๆ […]

ชวนดูเทศกาลศิลปะการแสดง ยามเย็น ‘สามย่าน ละลานใจ’ 2 – 3 เม.ย. ที่อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ

ในยุคที่ ‘ย่าน’ กลายเป็นหมุดหมายในการท่องเที่ยวของคนรุ่นใหม่ พวกเขาไม่ได้ปักหมุดแค่สถานที่ที่เป็นจุดหมายเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ทว่ารวมสถานที่แห่งอื่นๆ สภาพแวดล้อม และโครงสร้างอย่างทางเท้า อาคาร สิ่งก่อสร้าง สวนสาธารณะ ฯลฯ เข้าไปด้วย ย่านไหนที่ป็อป มีความหลากหลาย เดินง่าย มีเอกลักษณ์ มักจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ นอกจากการบอกเล่าปากต่อปากแล้ว สิ่งที่จะทำให้ผู้คนลองไปเดินทางสำรวจ ทำความรู้จักพื้นที่กับเรื่องราวเบื้องหลังอย่างจริงจัง คงหนีไม่พ้นการจัดอีเวนต์สนุกๆ ขึ้นเหมือนที่ย่านเจริญกรุงทำได้ ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นคราวของ ‘สามย่าน’ ย่านที่มีประวัติความเป็นมาหลายยุคสมัยบ้าง ‘สามย่าน ละลานใจ’ คือ เทศกาลศิลปะการแสดงที่ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้ทั้งปิกนิกในสวน ชมการแสดงหลายรสชาติ อิ่มใจกับบรรยากาศยามเย็น และอร่อยกับอาหารจากร้านค้าชื่อดังรอบบริเวณงาน ที่อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและร้านอาหารใกล้เคียง ในวันที่ 2 – 3 เมษายน 2565 ตั้งแต่เวลา 14.00 – 20.30 น. การแสดงภายในงานประกอบด้วย  – ‘เจ้าขุนทอง 2099’ นิทานหุ่นโดยเจ้าขุนทองและผองเพื่อน – ‘ฉิ่งฉับสลับร่าง’ ละครชาตรีร่วมสมัยโดยกลุ่มละครอนัตตา […]

โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เทศกาลหนังสั้นวิกฤตโลกร้อนทั่วเอเชีย รับชมฟรีทางออนไลน์ 2 – 10 เม.ย. 65

เมษายนนี้ เราขอชวนทุกคนที่สนใจและใส่ใจประเด็นสิ่งแวดล้อมรับชม 25 หนังสั้นสะท้อนวิกฤตโลกร้อนหลากมิติจากทั่วทวีปเอเชียที่ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 2’ หรือ ‘CCCL Film Festival 2022’ หนังสั้นทั้ง 25 เรื่องที่จะฉายในเทศกาลหนังสั้นรูปแบบออนไลน์ปีนี้คือผลงานที่เคยฉายในเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยนที่สมาคมฝรั่งเศสในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็นหนังสั้นจากประเทศไทย 18 เรื่อง และหนังสั้นจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย 7 เรื่อง  หนังสั้นเหล่านี้เล่าเรื่องราวครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่วิกฤตมลพิษพลาสติก ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงการรักษาดินตามความเชื่อและประเพณีท้องถิ่น มากไปกว่านั้น ปัญหาวิกฤตโลกร้อนยังถูกถ่ายทอดในหลายรูปแบบ เช่น แอนิเมชัน สารคดี และฟิกชัน ผู้ชมจะได้ซึมซับและเข้าใจปัญหาทางธรรมชาติผ่านมุมมองที่หลากหลาย ตัวอย่างหนังสั้นที่น่าสนใจ ได้แก่ เด-ปอ-ทู่ (Deportu)ประเทศ : ไทยผู้กำกับ : ณัฐธัญ กรุงศรีเรื่องย่อ : เซเก่ทู ชายหนุ่มชนเผ่าปกาเกอะญอ ลาออกจากงานในเมืองหลวงเพื่อกลับมาปกป้องป่าเดปอผืนสุดท้าย เมื่อรู้ข่าวว่าจะมีนายทุนมากว้านซื้อที่เพื่อทำรีสอร์ตและแหล่งท่องเที่ยว เขาจึงต้องหาหนทางเพื่อรักษาผืนป่าแห่งนี้ไว้ ผีตาแฮก สารพันวัฒนธรรมข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ (Journey of Wisdom)ประเทศ : […]

1 76 77 78 79 80 131

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.