ธงไพรด์หรือธงรุ้งสำคัญไฉน | Now You Know

Now You Know เอพิโสดนี้ ขอเล่าเบื้องหลังของ ‘ธงสีรุ้ง’ (Rainbow Flag) ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาว LGBTQIAN+ ยุคนั้นประเด็นเกี่ยวกับเพศเป็นเรื่องที่ซีเรียสขนาดไหน และทำไมเราจึงไม่ควรนำสีรุ้งมาทำการตลาดโดยปราศจากความเข้าใจที่แท้จริง

เจาะลึกนโยบายพัฒนาเมือง กับนักผังเมืองพรรคก้าวไกล | Unlock the City EP.28

เมื่อพรรคก้าวไกลคือพรรคที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะได้จัดตั้งเป็นรัฐบาล Urban Creature ชวนนักผังเมืองรุ่นใหม่ไฟแรง ‘ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์’ ว่าที่ ส.ส. เขต 21 กรุงเทพฯ มาคุยกันถึงเรื่องนโยบายผังเมืองให้ประชาชนเห็นภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาพใหญ่ของพรรค และนโยบายภาพย่อยของเขต

รู้ทุกซอกมุมการตรวจห้องก่อนอยู่กับ ‘Mylovecondo’ | THE PROFESSIONAL

“เวลาซื้อคอนโดฯ เราซื้อหลักล้าน แต่ค่าจ้างตรวจห้องแค่หลักพัน”“เราเป็นเหมือนตัวช่วยลดปัญหาในการเข้าอยู่ ไม่ต้องมาแจ้งซ่อมทีหลัง” ในยุคที่การเป็นเจ้าของบ้านของคนเมืองเป็นไปได้ยากกว่าแต่ก่อน รูปแบบของ ‘ที่อยู่อาศัย’ จึงเริ่มกลายสภาพเป็นห้องเช่าอย่างคอนโดมิเนียม ที่แม้จะมีพื้นที่เล็กลง แต่ราคาและรายละเอียดปลีกย่อยกลับเยอะขึ้น หลายคนจึงต้องการความมั่นใจก่อนจะเสียเงินหลักแสนถึงหลักล้านบาท เพื่อจะได้ของที่ดีที่สุดและมีปัญหาน้อยที่สุด รายการ The Professional ชวนคุยกับทีมงาน ‘Mylovecondo’ ทีมตรวจห้องตรวจบ้าน ที่พร้อมเดินทางเช็กความเรียบร้อยก่อนเข้าอยู่ให้ลูกค้าหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดฯ ทั้งที่ซื้อจากโครงการหรือซื้อต่อจากเจ้าของเก่า เพื่อลดปัญหาการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยสำหรับคนเมืองให้มากที่สุด

Resilient City เมืองปรับตัวตามอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย | Unlock the City EP.27

ในสมัยก่อนมนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกัน การวางรกรากตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มักยึดโยงและปรับตัวตามธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ใกล้แหล่งน้ำหรือพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ง่ายต่อการดำรงชีวิต

แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้คนไม่ได้ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติเหมือนสมัยก่อน ทำให้การมีอยู่ของเมืองเป็นการขัดขวางธรรมชาติไปโดยสิ้นเชิง ยกตัวอย่างการตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แหล่งน้ำในปัจจุบันที่ไม่ตอบโจทย์คนทั่วไปแล้ว เนื่องจากต้องมาคอยระวังปัญหาน้ำท่วม

Resilient City คือคำนิยามถึงเมืองที่ต้องปรับตัวไปตามสภาพอากาศ เนื่องจากอากาศหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติเริ่มมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อเมืองและชาวเมืองมากขึ้น ซึ่งนอกจากมนุษย์เองที่ต้องปรับตัว ตัวเมืองเองก็ต้องปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

ซอสสูตรเด็ดจากเอเชีย สู่น้ำจิ้มสำคัญคู่อาหารฝรั่ง | Now You Know

ย้อนไปในสมัยศตวรรษที่ 15 ชาวเขมรและเวียดนามได้แนะนำให้คนจีนได้รู้จักกับ ‘น้ำปลา’ น้ำใสๆ เค็มๆ ที่เกิดจากการหมักปลาไว้กับเกลือ เวลาต่อมา ชาวจีนได้นำน้ำปลาเดินทางเผยแพร่ไปทั่วโลกจนถึงดินแดนแห่งนวัตกรรมอย่างสหรัฐอเมริกา ก่อนที่พวกเขาจะนำเอามะเขือเทศ ผสมลงไปในน้ำปลา กลายเป็นสูตรต้นตำรับอาหารชนิดใหม่ Now You Know เอพิโสดนี้ พาทุกคนไปสำรวจความเป็นมาของ ‘ซอสมะเขือเทศ’ ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ใช้กินคู่กับอาหารตะวันตกหลายชนิด แท้จริงแล้วมีต้นตระกูลเดียวกันกับน้ำปลาบ้านเรานี่เอง

‘พอกันทีศักดินา ฉันจะโหวต’ การเลือกตั้งครั้งแรกของโลกเมื่อ 2,500 ปีก่อน | Now You Know

ชาวไทยหลายคนคงกำลังตั้งตารอให้ถึงวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ เพราะเป็นวันเลือกตั้งใหญ่ที่เราจะได้เลือกผู้แทนเข้าไปกำหนดอนาคตของประเทศไทย ย้อนไปเมื่อหลายพันปีที่แล้ว ที่กรุงเอเธนส์ ชีวิตของคนทั้งเมืองเคยถูกปกครองโดยคนไม่กี่คน จนเกิดแนวคิดที่จะปฏิรูปด้วยการลดอำนาจการปกครองของชนชั้นสูงลง แล้วเริ่มขยายอำนาจให้คนทั่วไปมากขึ้น Now You Know ครั้งนี้จะพาทุกคนไปรู้จัก ‘การเลือกตั้งครั้งแรกของโลก’ ที่กลายเป็นสารตั้งต้นของแนวคิดประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนทั่วไปมีสิทธิ์ตัดสินใจและกำหนดทิศทางที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของตัวเอง

วิเคราะห์ถึงการเลือกตั้งใหญ่ ปี 2566 กับ อ.ปริญญา | Unlock the City EP.26

การเลือกตั้ง ปี 2566 ที่จะถึงนี้ ถือเป็นอีกการเลือกตั้งครั้งสำคัญสำหรับการกำหนดทิศทางของประเทศไทย

และในโค้งสุดท้ายแบบสุดๆ นี้ ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City ก็ชวน ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล’ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาร่วมพูดคุยถึงปรากฏการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในวันเลือกตั้ง หลังจากเคยชวนมาวิเคราะห์ถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ไปเมื่อเอพิโสดแรก

ความน่าจะเป็นรูปแบบใดที่จะเกิดขึ้นบ้าง ฝ่ายใดที่กำลังถือไพ่เหนือกว่า และปัจจัยอะไรที่เป็นตัวชี้วัดผลในการเลือกตั้งครั้งนี้ ตลอดไปจนถึงทำไมประเทศไทยหลังเลือกตั้งต้องเจอกับภาวะสุญญากาศ 60 วัน ถึงจะมีรัฐบาลใหม่ได้ หาคำตอบได้พร้อมกันในเอพิโสดนี้

อะไรเอ่ย ทุกบ้านต้องมี แก้ร้อนแก้ชื้นไม่เปิดไม่ได้ | Now You Know

เดือนพฤษภาคมช่วงคาบเกี่ยวหน้าร้อนหน้าฝนแบบนี้ คนเมืองน่าจะกำลังหงุดหงิดกับอากาศร้อนๆ ชื้นๆ กันอยู่ ย้อนไปเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 สภาพอากาศที่ว่านี้ก็สร้างปัญหาแก่โรงพิมพ์แห่งหนึ่งในนิวยอร์ก ทำให้เครื่องจักรมีความชื้นจนเกิดความผิดพลาดในการพิมพ์ โรงพิมพ์จึงมอบภารกิจให้วิศวกรหนุ่มแก้ปัญหาอากาศร้อนชื้นนี้ Now You Know พาทุกคนย้อนเวลาไปสู่จุดเริ่มต้นของสิ่งประดิษฐ์ที่จะปฏิวัติสภาพอากาศ ทำให้มนุษย์ควบคุมความเย็นความร้อน ความชื้นความแห้งได้ดั่งใจ อย่าง ‘เครื่องปรับอากาศ’ หรือ ‘Air Conditioner’ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

ไขข้อข้องใจการจัดการบริหารพื้นที่ของ PMCU | Unlock the City EP.25

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยน่าจะเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการพูดถึงอย่างเป็นวงกว้างในสังคมมากที่สุด เนื่องจากมีส่วนเอี่ยวกับสถานที่และพื้นที่ในความทรงจำหลายแห่งของชาวกรุงเทพฯ โดยมีสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ หลายคนอาจตั้งข้อสงสัยว่า พื้นที่ที่เป็นของ PMCU มีหลักการการจัดสรรปันส่วนพื้นที่ และแนวคิดหรือแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่ รวมถึงโครงการอื่นๆ ที่กำลังเกิดขึ้นทั้งตอนนี้และในอนาคตอย่างไร รายการ Unlock the City เอพิโสดนี้ ได้ชวน ‘รศ. ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ’ รองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาฯ มาช่วยไขข้อสงสัยต่อเรื่องต่างๆ ที่สังคมตั้งคำถามถึงมหาวิทยาลัยในช่วงที่ผ่านมา ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/D82MvFY8gv0  Spotify : https://spoti.fi/3Nen8de Apple Podcasts : https://apple.co/3oBjjoe Podbean : https://bit.ly/3NebVcI

เปิดจักรวาลวิกกับ ‘ไจ๋ ซีร่า’ @TheSiravitch | THE PROFESSIONAL

“เราเป็นคนแรกในประเทศไทยที่ใช้คำว่า ‘วิกทอมือ’ และเปิดแบรนด์ SiraWigs ขึ้นมา ทุกคนต้องจำได้ว่านี่คือ วิก! ทอ! มือ!” ‘วิกผม’ อาจเป็นไอเทมพิเศษที่คนทั่วไปไม่รู้ว่าจะซื้อในวาระใด แต่ในอีกโลกหนึ่งกลับเป็นไอเทมสำคัญที่ชาว LGBTQIAN+ ใฝ่ฝันอยากได้มาครอบครอง เพราะวิกไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือประกอบวิชาชีพหรือใส่ในโอกาสพิเศษ แต่สิ่งนี้เป็นเสมือนเครื่องแต่งกายที่สวมใส่เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และส่งต่อความสุขไปยังผู้คนรอบตัว รายการ The Professional ชวนเปิดโลกวงการวิกไปกับ ‘ไจ๋-ศิรวิชญ์ กมลวรวุฒิ’ หรือ ‘ไจ๋ ซีร่า’ เจ้าแม่วงการ Drag Queen ผู้ตามล่าวิกที่ดีที่สุดมาไว้บนศีรษะตัวเอง และส่งต่อสิ่งดีๆ นี้ไปยังผู้อื่น ภายใต้ชื่อ ‘SiraWigs’ แบรนด์วิกทอมือคุณภาพดีที่การันตีถึงความใส่ใจ

เมืองที่ออกแบบไม่ดี ทำให้คนขี้เกียจ กับสถาปนิกผังเมือง | Unlock the City EP.24

รู้ไหมว่าการที่คนญี่ปุ่น คนออสเตรเลีย หรือคนในแถบสแกนดิเนเวีย มีนิสัยชอบเดิน ชอบขยับตัว มีความคล่องแคล่วว่องไวนั้น ไม่ได้มีสาเหตุจากค่านิยมหรือการปลูกฝังต่อๆ กันมาเท่านั้น แต่เหตุผลสำคัญที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังคือ การออกแบบเมืองที่ดี กระตุ้นให้คนเดินได้และเดินดีนั่นเอง แน่นอนว่าเมื่อเราสามารถเดินทางด้วยสองเท้าของเราได้ในเมือง ก็ไม่มีเหตุผลให้ต้องนั่งมอเตอร์ไซค์ สั่งเดลิเวอรี หรือไม่ออกไปข้างนอก เพราะถนนหนทางที่ออกแบบมาโดยให้ความสำคัญกับผู้คน ได้รองรับสองเท้า ไม้เท้า หรือกระทั่งล้อวีลแชร์ไว้เรียบร้อยแล้ว ยังไม่นับรวมพื้นที่สาธารณะที่กลายเป็นพื้นที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมแอ็กทีฟอื่นๆ อีก ใครที่อยากรู้ว่าการออกแบบเมืองทำให้คนคล่องแคล่วหรือขี้เกียจได้อย่างไร ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City จะมาอธิบายถึงประเด็นนี้อย่างเจาะลึกให้ฟัง ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/anrELk5j5_A Spotify : http://bit.ly/3KUMJX2 Apple Podcasts : http://bit.ly/3o9nibm Podbean : http://bit.ly/3KSdUSn

ใครประดิษฐ์ปืนฉีดน้ำ | Now You Know

นับถอยหลังเข้าสู่วันสงกรานต์กันแล้ว ชาวไทยซื้อไอเทมเด็ดอย่าง ‘ปืนฉีดน้ำ’ เพื่อเตรียมตัวเล่นน้ำสนุกๆ ในช่วงหน้าร้อนนี้กันหรือยัง Now You Know เอพิโสดนี้ ขอเกาะกระแสของเล่นประจำวันขึ้นปีใหม่ของไทย เล่าที่มาปืนฉีดน้ำยอดฮิต ที่แท้จริงแล้วอาจมีจุดเริ่มต้นจากการทดลองที่ผิดพลาดของวิศวกรนาซ่า!

1 3 4 5 6 7 24

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.