VIDEO
บางเรื่องของ ‘บางรัก’ ย่านการค้าสร้างสรรค์ที่นำเทรนด์มาแต่ไหนแต่ไร
สถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นหลากยุคปะปนไปกับอาคารเก่า ร้านเพชรพลอยของประดับโบราณเก่าแก่ เคล้ากับพื้นที่สร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ คือเสน่ห์ของ ‘บางรัก’ ที่คนในชุมชนเองยังออกปากว่า เป็นย่านที่ ‘อินเทรนด์’ มาแต่ไหนแต่ไร บางรักหรือย่านที่คนยุคใหม่คุ้นเคยในชื่อเขตเจริญกรุง มีประวัติศาสตร์ในฐานะย่านเศรษฐกิจจากการเป็น พื้นที่การค้าของแขกบ้านแขกเรือน เกิดชุมชนหรือร้านค้า ที่รองรับรสนิยมและวัฒนธรรมหลากหลายที่หลั่งไหลเข้ามา จนถึงปัจจุบันที่คนรุ่นใหม่ก็ผลักดันความสร้างสรรค์ให้กับย่านแห่งนี้ บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature
ให้หนังสือทำมือมีซีนที่ SPACEBAR ZINE
การจะทำหนังสือของตัวเองสักเล่มหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราขอแนะนำให้รู้จักกับซีน (Zine) หนังสือทำมือที่เราสามารถ สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ตั้งแต่การคิดเนื้อหาจนถึงการออกแบบรูปเล่ม โดยไม่ยึดอยู่กับกรอบของการบรรณาธิกรหรือสำนักพิมพ์ใดๆ สำหรับใครที่อยากสะสมซีนหรือเรียนรู้การทำซีน Urban Creature ขอพาไปทำความรู้จักกับ Spacebar Zine ร้านหนังสือสิ่งพิมพ์อิสระจาก Spacebar Design Studio โดย ‘วิว-วิมลพร วิสิทธิ์’ พื้นที่ให้ทุกคนที่สนใจทำสิ่งพิมพ์ ของตัวเองเข้ามาพูดคุยหรือเลือกหาซีนที่ชอบได้อย่างอิสระ
บางเรื่องของ ‘บางโพ’ ชุมชนช่างไม้หลากหลายที่สุดในกรุงเทพฯ
‘บางโพ’ ย่านที่หลายคนในกรุงเทพฯ ต่างจดจำได้ ในฐานะย่านที่มีสาวคิ้วโก้ หน้ากลม ผมยาว แต่ในอีกมุม บางโพถือเป็นชุมชนเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ ยาวนานในฐานะ ‘ย่านค้าไม้’ ที่เป็นที่นิยมที่สุดยุคหนึ่งในกรุงเทพฯ ปัจจุบันบางโพปรับตัว เพิ่มเอกลักษณ์ให้กับตัวเอง เป็นย่านสร้างสรรค์ที่อยากเชิญชวนทุกคนที่มีห้องหรือบ้านในฝัน และมองหาเฟอร์นิเจอร์ไม้หลากหลายรูปแบบมาเลือกหาสินค้าประจำย่าน ที่รับรองได้เลยว่า ย่านค้าไม้แห่งนี้ ‘โก้’ ไม่แพ้สาวบางโพจริงๆ บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature
แกะรหัสความเกรงใจ แกะรหัสความเป็นไทย กับ Phum Viphurit
จากการเติบโตที่นิวซีแลนด์กลับมาสู่ประเทศไทย วัฒนธรรมเมืองที่แตกต่างทำให้ ‘Phum Viphurit’ นักร้องเจ้าของเพลงดังอย่าง ‘Lover Boy’ ต้องปรับตัวกลับมาให้เข้ากับสังคมไทย จนเริ่มสังเกตเห็นความเป็นไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าชาติอื่นๆ และอยากจะเล่าความเป็นไทยนี้ให้ต่างประเทศได้รู้จักผ่านเสียงเพลง ‘This is called The Greng Jai Piece and it’s not yours to eat.’ Urban Creature พาไปแกะรหัสความเป็นไทย แกะรหัสความเกรงใจของ ‘ภูมิ วิภูริศ’ ถึงมุมมองตัวเองที่มองประเทศไทย จนกลายมาเป็นอัลบั้ม The Greng Jai Piece
บางเรื่องของ ‘บางกอก’ ชีวิตริมน้ำและรากฐานของกรุงเทพมหานคร
‘บางกอก’ พื้นที่เกาะที่เกิดจากการขุดคลองสัญจรทางน้ำ สู่ชุมชนดั้งเดิมของคนกรุงเทพฯ ที่ยังอบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งยุค พ.ศ. 2500 ที่ยังคงใช้คำว่าบางกอกเป็นชื่อเรียกขานเมืองหลวงแห่งสยาม ขึ้นเรือสำรวจบางกอกผ่านคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ที่ตั้งของชุมชนคนเมืองดั้งเดิมอายุร่วมร้อยปี จนถูกพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เชิงวิถีอนุรักษ์แบบใหม่ ย้อนเวลากลับไปยังครั้งที่กรุงเทพฯ ให้ความสำคัญ กับการจราจรทางน้ำ ทั้งความเป็นอยู่ การค้า การขนส่ง จนถึงภูมิปัญญาการปลูก เรือนริมน้ำของคนในอดีตที่ปัจจุบันยังพบเห็นได้ทั้งสองข้างทาง บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature
รวมคำถามยอดฮิตจากคนเมืองถึงไรเดอร์
“ปักหมุดให้แล้วทำไมยังมาไม่ถูก” “ต้องส่งกี่ออเดอร์ถึงจะพออยู่ได้” “ไรเดอร์รวมตัวกันเรียกร้องอะไร” Urban Creature รวบรวม 108 คำถามยอดฮิตที่คนเมืองสงสัย จนหลายครั้งก็ยังนั่งจับเข่าคุยกับพี่ไรเดอร์ Urban Creature ร่วมกับ @Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี
URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่คนทำสื่อไม่ได้เล่า
“ตอนแรกคิดว่าเขายื่นฟ้องในนามสื่อ แต่พบว่าเราโดนคนเดียวนี่นา”“เป็นสื่อต้องเสียสละ? ไม่จริง สื่อเองก็อยากจะสุขสบายเหมือนกัน” Urban Untold ชวนคนที่ต้องเล่าเรื่องของคนอื่นเป็นอาชีพอย่างนักสื่อสารมวลชน มาเล่าเรื่องของตัวเอง เรื่องที่คนอาจไม่รู้ หรือมองข้ามเพราะมองว่าเป็นหน้าที่ที่สื่อต้องเสียสละ Urban Creature ร่วมกับ Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี
ไฮป์ขั้นสุด! บุกเวทีมวยปล้ำไทย
The Rock, Cody Rhodes, Wrestlemania XL สามชื่อที่กำลังมาแรงสุดๆ ของวงการมวยปล้ำ ทำให้คนไทยหลายคนพร้อมใจกันเริ่มหรือกลับมาดูมวยปล้ำกันอย่างสนุกสนาน Urban Creature ขอชวนทุกคนกลับไปดูบรรยากาศติดขอบเวที SETUP Thailand Pro Wrestling ค่ายมวยปล้ำไทยที่เดินทางมาไกล จากปล้ำบนเบาะเล็กๆ จนถึงวันที่มีคนดูจุสถานที่ และมีนักมวยปล้ำเบอร์ต้นๆ ของโลกอย่าง Zack Sabre Jr. และ EL Phantasmo ที่แฟนมวยปล้ำญี่ปุ่น อเมริกา และทั่วโลกต่างรู้จัก เดินทางมาเยือนกรุงเทพฯ และปล้ำโชว์ร่วมกับไลน์อัปนักมวยปล้ำไทยที่อยู่ร่วมกันบนเวทีได้อย่างไม่น้อยหน้าใคร ปัจจุบันมวยปล้ำไทยมีพันธมิตรอยู่ทั่วโลก และได้มีการส่งยอดฝีมือไปแสดงฝีมือในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะค่ายยักษ์ใหญ่ของทั้งญี่ปุ่นและอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่มวยปล้ำไทยกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด หากใครมีโอกาสต้องมาสัมผัสด้วยตาตัวเอง
คุยเรื่องผังเมืองกับ รศ. ดร.นพนันท์
กรุงเทพฯ เมืองเทพสร้างที่มีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถติด น้ำท่วม ซอยตัน และไม่มีทีท่าว่าปัญหาเหล่านี้จะหายไปสักที อาจเพราะเทพไม่ได้ร่างแผนผังเมืองไว้ก่อน “ปัญหาของเราคือขาดช่วงของการทำงานด้านผังเมืองในช่วงที่มันมีการเติบโตสูงที่สุดของกรุงเทพฯ” Urban Creature คุยกับ รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ ถึงความสำคัญของผังเมืองและต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายจนสะท้อนไปถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทย อ่านในรูปแบบบทความได้ที่ : urbancreature.co/city-plan-with-noppanan/
DRINKS ON ME เว็บไซต์บาร์ทิพย์ฮีลใจ
เมื่อเรารู้สึกไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด เหงา หรือเศร้า หลายๆ คนคงมีการระบายความรู้สึกที่แตกต่างกันไป บางคนอาจไปออกกำลังกายให้เหงื่อออกแทนน้ำตา บางคนอาจไปดื่มเพื่อให้ลืมเธอในแต่ละวัน แต่สุดท้ายความรู้สึกนี้อาจไม่หายไปตราบที่เรายังไม่ได้พูดระบายมันออกมา จะดีกว่าไหมหากเราระบายความรู้สึกเหล่านี้แล้วไม่ต้องกลัวว่ามันจะดูไม่ดีหรือกระทบความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัว drinksonme.live คือเว็บไซต์ที่จะพาคุณไปคุยกับคนแปลกหน้า พร้อมเสียงเพลงและบรรยากาศราวกับอยู่ในบาร์ เริ่มต้นบทสนทนาด้วยค็อกเทลที่บอกความรู้สึกของตัวเราในวันนี้ พร้อมสกินแต่งตัวน่ารักๆ อีกมากมายให้เราได้เลือกสรร อีกทั้งได้เริ่มมีการขยับจากการคุยในบาร์ทิพย์กลายเป็นกิจกรรมการคุยกับคนแปลกหน้าในบาร์จริงทุกๆ เดือน เพื่อที่จะได้มารีเฟลกซ์ความรู้สึกของตัวเองหรือฮีลใจกันและกัน “ทำไมการคุยกับคนไม่รู้จักกันมันถึงฮีลใจกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ อันนี้เป็นฟีดแบ็กที่คนบอกเรามาหลังจากเข้าอีเวนต์ตลอด” Urban Creature คุยกับ ‘นะโม-ชลิพา ดุลยากร’ และ ‘ปั่น-วศิน วัฒนศรีส่ง’ ผู้ก่อตั้ง Drinks On Me ถึงที่มาที่ไปของเว็บไซต์ และความสำคัญของการฮีลใจที่เราอาจทำไม่ได้ด้วยตัวเองก็ลองให้คนแปลกหน้าเข้ามาช่วยเรา
เทพโลเคชัน หาโลเคชันถ่ายหนังแบบเทพๆ
เวลาเราดูภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง เราจะเห็นตัวละครอาศัยอยู่ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดฯ ห้างฯ หรือโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในเมืองของเรา แต่คนที่ทำหน้าที่สรรหาและจัดการให้สถานที่เหล่านี้มาปรากฏบนจอคือคนทำอาชีพ Location Manager ที่ต้องตามหาโลเคชันตามโจทย์ของผู้กำกับ และดูแลความเป็นไปของกองถ่ายและสถานที่ให้ออกมาอย่างราบรื่นที่สุด “อาชีพ Location Manager คือการดูแลความรู้สึกของเจ้าของสถานที่และกองถ่าย ต้องเยียวยาจิตใจของทั้งสองฝ่าย” Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘เทพ-ธัญญเทพ สุวรรณมงคล’ เจ้าของเพจ ThepLocation (เทพโลเคชัน) ที่ทำอาชีพ Location Manager มาถึง 20 ปี มีผลงานทั้งภาพยนตร์ ละคร โฆษณา และซีรีส์ โดยพูดถึงเบื้องหลังการจัดการโลเคชันถ่ายทำ และการเล่าเรื่องสถานที่ที่ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ แต่คือผู้คน
ป๊อก ป๊อก รับหิ้วมื้อเด็ดส่งถึงที่
หากเราขี้เกียจจะเดินออกไปกินข้าวแต่อยากกินอาหารมากมาย สิ่งที่เราทำก็คงหนีไม่พ้นการสั่ง Food Delivery ให้มาส่งถึงหน้าบ้านของเรา แต่กว่าจะเลือกอาหารที่จะกินได้ก็คงเสียเวลาเลือกร้านอาหารที่ถูกใจไม่ใช่น้อย จะดีกว่าไหมถ้าหากมีบริการที่เลือกร้านอาหารเด็ดมาให้แล้วเราแค่เลือกจากในนั้น Pok Pok คือแพลตฟอร์มที่รวมร้านอาหารเด็ดมากมาย จนเหมือนกับเราไปเดินหาของกินใน Food Court ที่มีทั้งร้านดังที่มีชื่อเสียง หรือร้านเด็ดประจำถิ่น รับหิ้วมาให้เราในครั้งเดียว และหลายครั้งยังบริการส่งอาหารข้ามโซนโดยไม่เสียค่าส่ง อีกทั้งวิธีการที่ Pok Pok ให้ลูกค้าสั่งอาหารนั้นก็ง่ายดายจนติดใจกลุ่มผู้สูงวัยจนกลายเป็นลูกค้าประจำ Urban Creature คุยกับ ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Pok Pok ถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้ และความคาดหวังที่จะกลายเป็น 1 ใน Food Delivery ที่ใครๆ ก็หันมาใช้กัน