ล็อกแบบไหน ทำไมยังดาวน์กันอยู่

ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ถอดหน้ากาก และเริ่มใช้ชีวิตตามปกติ พอมองย้อนกลับมาที่ไทย ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังไม่ทรงตัว ทั้งๆ ที่มีมาตรการ ‘ล็อกดาวน์’ ท็อปอัปด้วย ‘เคอร์ฟิว’ ‘หมอไผ่’ นพ.ไผท สิงห์คำ นายแพทย์ระบาดวิทยาภาคสนาม กรมควบคุมโรค ได้บอกเราว่า “ปัจจัยที่โควิดไม่หยุดทันที เพราะยังมีแรงส่ง ทั้งคนที่ติดมาก่อนล็อกดาวน์และอาการเพิ่งออกหลังล็อกดาวน์…” ‘ล็อกดาวน์’ นั้นไม่มีสูตรสำเร็จ ทุกประเทศล้วนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับ บริบทพื้นที่ตัวเอง ประเทศไทยเองก็เช่นกัน Urban Creature จึงอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันว่า ‘ล็อกดาวน์’ คืออะไร ใช่อันเดียวกับ ‘เคอร์ฟิว’ มั้ย และจุดหมายปลายทางของมันคืออะไรกันแน่ ‘เพราะจำนวนคนติดเชื้อและคนตายไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่คือชีวิตและคนในครอบครัวของใครสักคน’ เราจึงชวนมาตั้งคำถาม มากกว่าจะแสดงความยินดีต่อจำนวนตัวเลขที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน #UrbanCreature #NowYouKnow #ReinventTheWayWeLive #covid #covid19 #Thailand

Virtual Bootcamp รู้กฎหมาย ก่อน ‘ทำหนัง’

รู้กฎหมาย ก่อน ‘ทำหนัง’ โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการที่ iLaw และ ณฐพล บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ ‘เอหิปัสสิโก’ ดำเนินการสนทนาโดย อาทิตยา บุญยรัตน์ จาก HER Interview Panel Discussion นี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการ NIA Creative Contest 2021 โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับ Urban Creature เปิดเวทีให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนร่วมออกแบบอนาคตผ่านไอเดียการผลิตวีดิทัศน์สะท้อนภาพอนาคตและนวัตกรรม ไอเดียที่ผ่านการคัดเลือกจะถูกขัดเกลาจากวิทยากรผู้อยู่เบื้องหลังวงการภาพยนตร์และคนทำงานสร้างสรรค์ โดยทางโครงการได้จัดกิจกรรมอบรมให้กับผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในระหว่างวันที่ 13 – 15 สิงหาคม 2564 ก่อนที่จะลงมือเปลี่ยนไอเดียเป็นหนังสั้น ทางโครงการร่วมกับสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เตรียมพร้อมให้ผู้ร่วมโครงการ เพื่อความเข้าใจกฎหมายและลิขสิทธิ์การผลิตวีดิทัศน์ ผ่านผู้มีประสบการณ์ตรง ทั้งจากฟากฝั่งกฎหมายและจากคนทำหนัง โอกาสนี้ ชวนทุกคนไปร่วมพูดคุยกับ ‘เป๋า-ยิ่งชีพ อัชฌานนท์’ ผู้จัดการที่ iLaw ซึ่งเป็นหนึ่งคนที่ทำงานด้านกฎหมายและทำงานคาบเกี่ยวกับงานคอนเทนต์ออนไลน์และเป็นคนกฎหมายที่สนใจการเปลี่ยนแปลงของสังคม และ […]

Project ผลบุญ : คนกินได้รส ชาวสวนได้รับ สังคมได้รอด

“หัวเราะทั้งน้ำตา! ชาวสวนมังคุดใต้อ่วม ราคาตกต่ำเหลือโลละ 4 บาท”“ชาวสวนมังคุดลุกฮือจี้แก้ปัญหาราคาตกต่ำช้ำถูกกดราคาอย่างหนัก” สถานการณ์ COVID-19 ลากยาวมามากกว่า 1 ปี ผู้ประกอบการไทยต่างเข้าเนื้อ ทุนหาย กำไรหด เจ็บและเจ๊งกันเป็นแถบๆ เมื่อ ‘พลังของประชาชน’ คือความหวังเดียวที่จะช่วยกันเองให้รอด Urban Creature จึงพลิก ‘วิกฤต’ ให้เป็น ‘โอกาส’ ถือโอกาสบอกบุญ กับโปรเจกต์ ‘ผลบุญ’ ร้านผลไม้เฉพาะกิจของ Urban Creature ที่เปิดมาชวนผู้อ่านระดมทุน #อุดหนุน มังคุดเบตง กู้วิกฤตราคาผลผลิตตกแบบดิ่งลงเหว ขนส่งไม่ได้ขายไม่ออก ไป #ส่งต่อ ให้ผู้ต้องการเสบียงในพื้นที่จังหวัดยะลาได้อิ่มท้องในช่วงการระบาดของ COVID-19 อย่าง – กองสาธารณสุขเทศบาลเมืองเบตง กระจายต่อไปยังเจ้าหน้าที่เทศบาลและโรงพยาบาลสนาม– ชมรมมุสลิมสัมพันธ์เบตง เพื่อการศึกษาและเด็กกำพร้า กระจายต่อไปยังชุมชนที่ล็อกดาวน์และเด็กกำพร้าที่ชุมชนดูแล– ที่ว่าการอำเภอเบตง หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กระจายต่อไปยังเจ้าหน้าที่ อสม. และชุมชนหมู่ 4 ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง […]

EV กับอนาคตลมหายใจคนไทย

จากการศึกษาของธนาคารเกียรตินาคินภัทร ที่ประเมินออกมาว่าแรงดึงดูดต่อการลงทุนในไทยต่ำลง มีความเสี่ยงที่โลกจะไม่ได้สนใจไทยอย่างที่เคยเป็น หนึ่งในสาเหตุใหญ่ๆ นั้นก็คือ สินค้าส่งออกของไทยไม่มีการเติบโตในกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง ต่างจากแนวโน้มของประเทศคู่แข่งและภูมิภาค การผลักดันให้เราก้าวไปเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญ และหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญของโลกที่กำลังหมุนไปให้เราได้ปรับตัวกันคือ รถยนต์พลังงานสะอาด หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ EV (Electric Vehicle) ในยุคที่เป้าหมายของโลกคือการลดคาร์บอนฯ ลงให้มากที่สุด รถ EV จึงเป็นคำตอบของหลายๆ คน แล้วกับคนไทยล่ะ ร่วมค้นหาจุดเชื่อมโยงระหว่างรถ EV กับคนไทยว่าเราพร้อมกันแค่ไหนใน Green Link : EV กับอนาคตลมหายใจคนไทย

THE REVERIE IN SUMMER | Urban Eyes

ภาพถ่ายของครอบครัวหนึ่งกำลังพักผ่อนช่วงฤดูร้อนในยุโรป ฟิล์มสไลด์เก่าๆ ได้ข้ามเวลาและถูกพบในโกดังขายของเก่าที่จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยจิตวิญญาณของช่างภาพตัวเล็กๆ อย่างผม หากต้องทิ้งฟิล์มเหล่านี้ไว้ตามเดิมคงจะเสียใจไม่น้อย ราคาที่ต้องจ่ายถือว่าน้อยนิดมาก เมื่อเทียบกับ “ชีวิตที่ยังหลงเหลืออยู่ในภาพ” ยังมีภาพถ่ายอีกไม่น้อยที่กระจัดกระจายไปตามโกดังของเก่าทั่วโลก เชื่อว่า…ถ้าภาพถ่ายที่หลงทางได้กลับไปหาเจ้าของเดิมก็คงจะดีไม่น้อย และกระผมยินดีที่จะส่งกลับคืนถึงที่หมายอย่างปลอดภัย

3 สิ่งที่ HONNE คิดถึงประเทศไทย I Add to my list

Add to My List รายการใหม่จาก Urban Creature ที่เราจะชวนคนมาพูดคุยกันถึงลิสต์ต่างๆ ของพวกเขาว่าในแต่ละหัวข้อลิสต์ของเขามีอะไรบ้าง เปิดมาด้วยการเชิญวงดังจากอังกฤษขวัญใจชาวไทยอย่าง HONNE คู่หู Electronic Music ฟังเพลินที่นอกจากเป็นที่รักของแฟนเพลงชาวไทย เขายังเคยมาเล่นคอนเสิร์ตที่นี่ด้วย ในสถานการณ์โควิดแบบนี้ที่ชาวต่างชาติยังเข้ามาในประเทศเราไม่ได้ เราจึงชวน HONNE มาบอกเราหน่อยว่าในลิสต์ของเขาอะไรคือ 3 สิ่งที่เขาคิดถึงที่สุดในเมืองไทย และอะไรคือสิ่งที่อยากจะทำเมื่อได้กลับมา #UrbanCreature #AddToMyList #HONNE #WHATWOULDYOUDO #ReinventTheWayWeLive

ยาเสพติดเป็นอย่างไรในมุมผู้เสพ

“เกิดมาก็อยู่กับมัน ถูกลุงใช้ไปซื้อยาตั้งแต่เด็ก” หนึ่งในคำสัมภาษณ์ของผู้เสพที่เราได้มีโอกาสคุยด้วยเคลือบความเศร้าแต่ที่เจ็บปวดมากกว่านั้นคือสิ่งนี้เป็นเรื่องจริง 26 มิถุนายนนี้เนื่องด้วยเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก Urban Creature จึงขอลงไปรับรู้อีกมุมหนึ่งจากผู้ที่จมอยู่กับมันอย่างผู้เสพเปิดใจพูดคุยกับเขาถึงวังวนที่ต้องเจอ และทางออกสำหรับเขากับทางออกที่หนังสือเรียนที่ทุกคนได้เรียนตรงกันหรือเปล่า

สวนผักจากสุสานรกร้าง เปลี่ยนพื้นที่ว่างให้เป็นพื้นที่อาหารเพื่อทุกคน

รู้หรือไม่ว่าในขณะที่ประชากรของโลกเรามีเพิ่มมากขึ้น กำลังในการผลิตอาหารกลับมีทีท่าว่าจะไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้คนที่ต้องการอาหารเหล่านั้นเลย ซ้ำไปกว่านั้น ผลิตได้มากก็ไม่ได้แปลว่าผู้คนจะบริโภคได้มากตามไปด้วย เพราะปัจจัยในการเข้าถึงและกระจายอาหารให้ถึงมือคนทุกที่ NOW YOU KNOW จะพาคุณไปทำความรู้จักกับแนวคิดใหม่ในการเปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้กลายเป็นมากกว่าพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่จะเป็นพื้นที่ในการผลิตอาหารที่จะแทรกอยู่ในทุกซอกทุกมุมของเมือง ผลิตอาหารได้ในราคาถูกและเข้าถึงมือของผู้คนได้ง่ายมากขึ้นอย่าง ‘สวนผักคนเมือง’ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนผักที่จะชวนทุกคนมาปลูกผักกินเองในพื้นที่สาธารณะ ดูแลผลผลิต แล้วจำหน่ายให้แก่ชุมชนในราคาถูก

ช่างพีค นักสักขาวดำที่ใครเห็นงานก็ต้องบอกว่าพีค

เมื่อเราตั้งคำถามถึงหญิงสาวคนหนึ่ง คิดว่าคนอื่นมองเขาอย่างไร เขาตอบว่า “โหด คนคงคิดว่าเราโหด” เธอเงียบไปนิดหนึ่งเพื่อคิดต่อ “แต่เราก็ไม่ได้สนใจนะ พอเราได้แตกต่างจากคนอื่นก็รู้สึกชอบ ชอบที่จะไม่เหมือน” คำตอบที่แฝงด้วยเสียงหัวเราะนี้ คือการเปิดบทสนทนากับหญิงสาวนักสักฉายา Missadder หรือช่างพีค ที่คนในวงการต่างให้การยอมรับว่างานขาวดำของคนนี้คือหนึ่งในงานชั้นยอด ยิ่งคุย ยิ่งรู้ลึกถึงเบื้องหลังรอยเข็มของช่างพีคว่ามีแนวคิดที่ซ่อนอยู่ ความแตกต่างที่สวยงามและกล้าท้าทายสิ่งที่คนอื่นตีกรอบไว้ให้อย่างค่านิยม ผู้หญิงกับรอยสัก Somebody Ordinary ตอนนี้ชวนมาสัมผัสรสชาติรอยเข็ม และสีขาวดำบนผิวความคิดของช่างพีคไปด้วยกัน

ชีสนมแพะ ทางเลือกที่มาแรงไม่แพ้ชีสนมวัว

“อีก 5 ปีข้างหน้า การทำการค้าเสรีของไทย ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์จะกลายเป็นศูนย์แล้วนะ หมายถึงว่าเขาจะสามารถส่งผลิตภัณฑ์ของเขามาขาย โดยที่ไม่มีกำแพงภาษี ของเราก็เช่นกัน เราก็ส่งไปขายเหมือนกัน แต่ว่าตลาดในบ้านเรามันโตขึ้นทุกปี…ไม่เตรียมพร้อมกับอีก 5 ปีข้างหน้า พี่คิดว่าตอนนั้นเราจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากๆ” ประโยคข้างต้นคือประโยคจาก คุณไก่-รัชนิกร ศรีคง เจ้าของฟาร์ม Little Goat Farm เจ้าของฟาร์มแพะผู้อยู่เบื้องหลังชีสนมแพะ วัตถุดิบที่เป็นเบื้องหลังความกลมกล่อมบนจานอาหารตั้งแต่ขนมปังยันหม้อชาบู ประโยคข้างต้นที่สื่อให้เราเข้าใจว่าวัตถุดิบก้อนขนาดฝ่ามือนี้ ไม่ได้มีความสำคัญแค่เรื่องของรสชาติ แต่ตั้งแต่กระบวนการผลิต ดูแล นั้นส่งผลต่ออนาคตเป็นอย่างยิ่ง และนี่คือเรื่องราวความสำคัญที่เราอยากชวนทุกคนได้รู้จักเจ้าก้อนชีสนี้ให้มากขึ้นใน Hunt I “ชีสนมแพะ” อีกทางเลือกที่มาแรงไม่แพ้ชีสนมวัว

ใช้ฟอนต์แจกฟรีทำไมผิดลิขสิทธิ์?

ช่วงสองถึงสามอาทิตย์ที่ผ่านมามีหนึ่งข้อถกเถียงเรื่องลิขสิทธิ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมาหลังภาพยนตร์ซีรีส์ชื่อดังอย่าง ‘เด็กใหม่’ ถูกขโมยมาเผยแพร่ในโลกออนไลน์ จนเกิดข้อถกเถียงว่าผิดหรือถูก เดี๋ยวก่อน! ก่อนที่ประเด็นนี้จะถูกขยายความไปมากกว่านี้ เราแค่อยากจะบอกคุณว่าทุกสิ่งสร้างสรรค์ทางปัญญาล้วนมีลิขสิทธิ์ของตัวเองอยู่ ไม่เว้นแม้แต่ฟอนต์ ตัวอักษรที่คุณใช้เขียน มีเบื้องหลังมาจากความคิดของเหล่าผู้คนนักออกแบบ แล้วแบบนี้เรายังจะใช้ฟอนต์ฟรีได้อีกรึเปล่า แล้วฟรียังไงให้ถูก ทำไมลิขสิทธิ์ถึงสำคัญนักหนา เราได้รับเกียรติจากบริษัทออกแบบฟอนต์ คัดสรร ดีมาก มาร่วมให้คำตอบกับเราใน NOW YOU KNOW ตอนนี้

ประเทศไทยไร้คาร์บอนฯ Zero-carbon Nation ฝันกลางวัน หรือทำได้จริง?

เราต่างรู้ว่าสิ่งแวดล้อมทั้งโลกกำลังถดถอย มีการคาดการณ์ถึงวันสิ้นโลกที่มนุษยชาติไม่สามารถใช้ชีวิต ทั่วโลกจึงเกิดวาระที่โลกเห็นพ้องต้องกันหยิบยกมาเป็นวาระแห่งชาติ คือยกระดับสังคมให้เป็นสังคมสีเขียว หนึ่งในเป้าหมายที่แต่ละชาติต้องให้ไปถึงคือการลดคาร์บอนให้เหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ หรือที่เรียกกันว่า Zero-carbon Nation แต่มองกลับมาที่บ้านเราที่ยังคงเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำและมองดูเรื่องเหล่านี้ยังเป็นสิ่งที่คนบางกลุ่มเท่านั้นที่สนใจ เราจึงอยากชวนนักออกแบบนโยบาย นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติที่ลงมือทำ มาพูดคุยกันว่าความฝันที่ชาวไทยจะได้อยู่กับสังคมสีเขียวที่ฝันถึง เป็นจริงได้จริงหรือ และต้องทำอย่างไร

1 14 15 16 17 18 25

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.