PEOPLE
ฟังเสียง ‘คนตัวเล็ก’ ไปจนถึง ‘คนตัวใหญ่’ ที่จะมาถ่ายทอดแนวคิด มุมมอง รวมถึงแรงบันดาลใจ เพื่อสะท้อนสังคมที่มีความหลากหลาย เพราะเสียงของทุกคนล้วนสำคัญ
คุยกับผู้อยู่เบื้องหลัง STEP INTO SWING เมื่อเสียงเพลงและสเต็ปเท้าอาจพาเราไปสู่กรุงเทพฯ ที่ดีขึ้น
เย็นวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในชุดวินเทจ เสียงเพลงสวิงดังกึกก้อง ฟลอร์เต้นรำเริ่มขยายพื้นที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มไปทั่วทั้งบริเวณ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งเหล่านี้คือตัวชี้วัดความสำเร็จของ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong อีเวนต์สวิงโดย 2 ทีมงานเบื้องหลังอย่าง The Stumbling Swingout วงดนตรีสวิงแจ๊สที่ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มนักเต้นสวิง และ Jelly Roll Jazz Club โรงเรียนสอนเต้นสวิงที่ตั้งใจสร้างนักเต้นใหม่ๆ เพื่อให้สวิงกลายเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงในอนาคต หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เฝ้ามองแวดวงการเต้นสวิงในไทยมาตั้งแต่ยุคก่อนโควิด-19 ในเวลานั้นหลายคนอาจจินตนาการไม่ออกว่า วันหนึ่งกรุงเทพฯ จะมีอีเวนต์ SWING IN THE PARK เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ก่อนจะขยายตัวลามเลยออกไปสู่สถานที่ที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งอาคารลุมพินีสถาน ไปรษณียาคาร ลานชุมชนต่างๆ รวมถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่ได้โคจรกลับมาจัดเป็นครั้งที่สองแล้ว การขยับขยายของฟลอร์สวิงแดนซ์จากในสตูดิโอสู่พื้นที่สาธารณะต่างๆ […]
พัฒนาย่านอารีย์กับกลุ่มคนขับเคลื่อนเมือง | AriAround
‘อารีย์’ ย่านชิกที่หลายคนอาจจะมีภาพจำของการไปเที่ยวคาเฟ่และถ่ายรูปกันเป็นประจำ ทั้งที่จริงแล้วภายในย่านนี้กลับไม่ได้มีแค่ร้านกาแฟอยู่มากมาย แต่ยังมีธรรมชาติภายใต้เมืองให้เราได้สัมผัส รวมถึงคอมมูนิตี้ที่แข็งแรงที่พร้อมเปิดรับให้ทุกคนเข้ามา และสถานที่ Hidden Gems ที่หลายคนอาจไม่ได้รู้ ซึ่งอารีย์อาจไม่ได้เป็นอย่างนี้เลยหากว่าที่ย่านนี้ไม่ได้มีกลุ่มคนที่คอยซัพพอร์ตการพัฒนาย่านอย่าง ‘AriAround’ อยู่ “เมื่อก่อนเราคิดว่างานพัฒนาเมืองเป็นงานของรัฐ แต่มันลำบากจนต้องลุกขึ้นมาทำอะไรแล้ว สุดท้ายพอเราลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง ได้คอนเนกต์กับรัฐ เราถึงเห็นว่ารัฐก็อยากทำงาน แต่บางทีเขาก็ไม่รู้ว่าจะคอนเนกต์กับคนอย่างไร “การที่มี AriAround มันพาคนในพื้นที่มาคอนเนกต์กับคนจำนวนมากในพื้นที่อีกทีหนึ่ง” AriAround คือแพลตฟอร์มทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่เป็นตัวกลางเชื่อมคนในย่านอารีย์ให้เข้าหากันและกัน ทั้งยังสร้างเสริมคอมมูนิตี้ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น เพื่อหวังว่าทุกคนในย่านจะมีชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตในย่านได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น เพราะการพัฒนาเมืองไม่ได้มีเพียงแค่รัฐที่ทำได้ฝ่ายเดียว Urban Creature เลยไปคุยกับ ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ ผู้ร่วมก่อตั้ง AriAround ถึงพื้นที่อารีย์ในปัจจุบัน และความเปลี่ยนแปลงของย่านอารีย์หลังจากที่กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองนี้ได้สร้างพื้นที่ให้มีมากกว่าแค่ร้านกาแฟถ่ายรูปชิกๆ เก๋ๆ
‘ยังธน’ กลุ่มคนวัย Young ที่รวมพลังพัฒนาฝั่งธนฯ ด้วยความสนุก ตั้งแต่จัดเตะบอลไปจนถึงสร้างเกมที่ทำให้คนอยากมาตามรอย
การพัฒนาเมือง ฟังแล้วเป็นเรื่องแสนยิ่งใหญ่ การเสกโครงสร้างพื้นฐานสุดอลังการ การขุดลอกคูคลอง เอาสายไฟลงใต้ดิน ปรับระดับพื้นทางเดินให้เรียบเกลี้ยง การวางวิสัยทัศน์เมือง ตั้งเป้าหมายมุ่งไปข้างหน้าอีกหลายสิบปี แต่จะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะพัฒนาเมืองด้วยการจัดงานเตะบอลหรือการสร้างเกมขึ้นมาสักอัน ฟังดูแปลก เหนือความคาดหมาย แต่นี่คือสิ่งที่ ‘ยังธน’ ทำมาแล้วจริงๆ ยังธน เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี บ้างก็เกิดและเติบโตในพื้นที่นี้จนเรียกธนบุรีว่าบ้าน แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน บางคนเป็นสถาปนิก บางคนเป็นอาจารย์ แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม แทนที่การพัฒนาเมืองจะเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง ยังธนแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนธรรมดาก็สามารถรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ และมี ‘ความสนุก’ เป็นสารตั้งต้นของการพัฒนาเมืองได้เหมือนกัน ในตึกแถวสีเทาปูนเปลือยริมถนนอิสรภาพ เราได้เจอกับ ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ สี่สมาชิกกลุ่มยังธนที่รอคอยต้อนรับด้วยความยินดี หลังจัดแจงห้องและเก้าอี้ให้เรียบร้อย เตรียมพร้อมกับการสัมภาษณ์ ทั้งหมดก็นั่งประจำที่ แล้วบอกเล่าถึงความฝันของคนตัวเล็กๆ อย่างพวกเขาที่อยากเห็นเมืองที่ดี การขับเคลื่อนย่านธนบุรีเกือบสิบกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงจุดเริ่มต้นของคำว่า ‘ยังธน’ ที่เริ่มต้นในห้องสี่เหลี่ยมสีเทาที่เรานั่งพูดคุยกันอยู่ห้องนี้ กลุ่ม […]
‘AriAround’ แพลตฟอร์มเพื่อชาวอารีย์ ที่เชื่อว่าการเชื่อมโยงระหว่างกันจะทำให้ย่านและพื้นที่รอบๆ ดีขึ้นได้
เมื่อลองพิมพ์คำค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่า ‘ย่านอารีย์’ ผลลัพธ์บนหน้าจอย่อมปรากฏรีวิวคาเฟ่และร้านอาหารขึ้นเต็มไปหมด จึงไม่น่าแปลกใจที่ย่านนี้จะเป็นจุดหมายเบอร์หนึ่งของเหล่าคนชิกๆ แต่นอกจากจะเป็นย่านคนเก๋แล้ว อารีย์ยังมีความน่าสนใจอีกหลายประการที่คนในย่านเองยังไม่รู้ด้วยเช่นกัน ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ คือชาวอารีย์ที่อยากให้ความน่าสนใจเหล่านั้นในย่านได้รับการค้นพบ และให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง ทั้งผู้อยู่อาศัย มาทำงาน หรือมาท่องเที่ยว ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาย่าน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้คนได้เชื่อมโยงกัน โดยเธอได้ร่วมมือกับเพื่อนๆ สร้าง ‘AriAround’ แพลตฟอร์มสื่อกลางสำหรับเชื่อมคนย่านอารีย์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงคนกับชุมชน เป็นสื่อในการให้ข้อมูลของย่านในเชิงลึก ทั้งมิติประวัติศาสตร์ หรือกิจกรรมที่ทำให้คนได้มีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงกับย่านอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงมิติสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่คนในย่านอยากเห็น เพราะคนในย่านมีความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ และคนนอกย่านก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ย่านได้เติบโต คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองจึงอยากชวนทุกคนจับรถไฟฟ้าลงสถานีอารีย์ ตามไปพูดคุยกับ AriAround ถึงการทำงานของแพลตฟอร์มที่ยกให้คนเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและสร้างย่านให้น่าอยู่ โดยมี AriAround เป็นตัวกลางในการเชื่อมคนในชุมชนให้เข้าถึงกันและกันได้ง่ายขึ้น เพราะชื่นชอบจึงอยากทำให้ย่านอารีย์ดีกว่าเดิม ปกติแล้วหากจะมีการพัฒนาพื้นที่ใดสักพื้นที่หนึ่ง เรามักคิดว่าคนที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงคงต้องเป็นคนที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เกิด แต่กับ ‘AriAround’ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะความจริงแล้วอรุณีเองไม่ใช่คนในพื้นที่แต่ดั้งเดิม เพียงแต่เธอมีความสนใจในย่านอารีย์ และเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่น่าจะลงมือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้ “AriAround มีความเป็นมาจากการที่เราชอบย่านนี้ และเราก็อยากทำอะไรบางอย่างกับย่านนี้” อรุณีบอกกับเรา ส่วนความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงย่านของเธอนั้นเกิดจากการที่ได้เดินทางไปใช้ชีวิตต่างประเทศในระยะหนึ่ง ทำให้ได้เห็นการทำงานร่วมกันของชุมชน และการลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จนเธอรู้สึกว่าอยากจะเห็นมูฟเมนต์เหล่านั้นเกิดขึ้นที่ประเทศไทยบ้าง ประกอบกับงาน Bangkok Design Week […]
‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนที่อยากให้คนเห็นย่านหัวลำโพงในมุมใหม่ๆ ด้วยการ Reconnect คนในและคนนอกเข้าด้วยกัน
ภาพของย่าน ‘หัวลำโพง’ ในความทรงจำของหลายๆ คนอาจหยุดอยู่แค่ที่ ‘สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ ยิ่งเมื่อมีการย้ายเส้นทางการเดินรถไฟบางส่วนไปที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) ภาพจำเกี่ยวกับย่านหัวลำโพงจึงเลือนรางตามไปด้วย แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การเข้ามาของกลุ่ม ‘RTUS-Bangkok ริทัศน์บางกอก’ ทำให้เราเห็นย่านหัวลำโพงในมุมมอง มิติ รวมถึงสถานที่ใหม่ๆ มากขึ้น ผ่านการบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชน พร้อมกับกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมมือกันระหว่างเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และชาวบ้านในชุมชนเอง ตามคอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองไปพูดคุยกับ ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ แก๊งเพื่อนที่ร่วมกันทำกิจกรรมในย่านหัวลำโพงในนามของริทัศน์บางกอกกันว่า หัวลำโพงในมุมมองของพวกเขาและคนในย่านเป็นอย่างไร และในฐานะคนรุ่นใหม่ต่างถิ่นที่เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ พวกเขาทำอย่างไรถึงเชื่อมคนในและคนนอกย่านเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว รวมตัวคนรุ่นใหม่ที่อยากลบภาพจำหัวลำโพงแบบเดิมๆ “ตอนแรกชาวบ้านเขาไม่เข้าใจว่าเรามาทำอะไร ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่ แล้วเขาได้อะไร ทำให้มีการปิดกั้นเล็กน้อย แต่ตอนนี้เวลาเราไปลงพื้นที่ เขาจะต้อนรับแบบเอาน้ำไหม จะจัดกิจกรรมอะไรอีกไหม” คำบอกเล่าจากปกรณ์วิศว์ในวันที่ริทัศน์บางกอกทำงานในพื้นที่ชุมชนย่านหัวลำโพงมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ทำให้เราเห็นภาพความเปลี่ยนแปลงและการโอบรับของผู้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าทั้ง 3 คนจะไม่มีใครเกิดและเติบโตในย่านหัวลำโพงมาก่อนเลยก็ตาม จุดเริ่มต้นของริทัศน์บางกอกไม่ได้เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ในชุมชนเพื่อสื่อสารความเป็นตัวตนสู่สายตาคนภายนอกเหมือนอย่างย่านอื่นๆ แต่เป็นการรวมกลุ่มกันของเด็กวัยรุ่นที่มีความสนใจเรื่องเมืองคล้ายๆ […]
‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่ร่วมมือกับผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ พัฒนาย่านทรงวาดให้กลับมาคึกคัก
หากนึกถึงถนนทรงวาดในอดีต เชื่อว่าทุกคนคงนึกถึงภาพถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้าของเหล่าอากงอาม่ากับบรรยากาศเงียบๆ ที่ผสมผสานความคลาสสิกของสถาปัตยกรรมมากมาย แต่ด้วยมนตร์เสน่ห์ของถนนทรงวาดที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิมและกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองครั้งนี้ จะพามารู้จักกับ ‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนที่ทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง จากการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงขึ้น รวมไปถึงจับมือกันโปรโมตย่านนี้ผ่านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันจนดึงดูดให้คนนอกอยากเข้าไปสัมผัสย่านนี้สักครั้ง รวมตัวผู้ประกอบการและโปรโมตย่าน ‘ทรงวาด’ คือหนึ่งย่านเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมทางเชื้อชาติอันหลากหลายที่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ แม้ในมุมของคนนอกอย่างเรานั้นอาจจะมีภาพจำว่าย่านนี้เป็นย่านแห่งการค้าขาย แต่ความจริงแล้วทรงวาดยังมีเสน่ห์อื่นๆ ซุกซ่อนอยู่อีกมากมายที่รอให้หลายคนเข้าไปค้นหา ด้วยกลิ่นอายของความเก่าแก่และความน่าสนใจของย่านนี้ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนที่ทั้งเกิด เติบโต หรือตั้งถิ่นฐานในย่านนี้มานานอยากตอบแทนทรงวาดด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่พวกเขารักให้ดีขึ้น ผู้ประกอบการเหล่านั้นรวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ […]
ในโลกอันแสนโหดร้ายที่ใครๆ ให้ค่าแต่ความสำเร็จ เราจะปล่อยวางยังไง ไม่ให้ปล่อยปละละเลย
ขณะที่โลกแห่งการตื่นรู้เรื่องสุขภาพจิตได้พร่ำบอกทุกคนถึงความสำคัญของการ Slow Down หรือค่อยๆ ทำอะไรให้ช้าลง แต่โลกแห่งความจริงที่หลายคนต้องตรากตรำทำทุกอย่างให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การปั้นชีวิตให้สวยดั่งที่ฝัน หรือความสัมพันธ์ ฯลฯ เราก็ไม่สามารถปรับโหมดเป็น ‘ปล่อยมันไป’ กันได้ง่ายๆ และจะยิ่งกระตุ้นความโมโหทุกครั้ง เวลาได้ยินใครบอกให้ ‘อย่าไปคิดมากกับชีวิตนักเลย’ การเข้าถึงสุขภาวะจิต ไม่ได้แปลว่าเราต้องอยู่ฝั่ง ‘Worry-free’ ไร้ซึ่งความกังวลเสมอไป แต่คือการขับเคลื่อนชีวิตไปเรื่อยๆ อย่างมีสติ รับรู้ถึงทุกอารมณ์ และปล่อยบางอย่างที่ขุ่นมัวหัวใจออกไป ไม่ให้มันมาทำลายเราได้ แล้วเรื่องอะไรบ้างเล่าที่เราควรปล่อยวาง ชวนมาสำรวจพร้อมๆ กันในบทความนี้ โลกไม่ได้จ้องแต่จะทำร้ายเรา แต่เป็นหน้าที่ของเราในการจัดการตนเอง นิสัยหนึ่งที่เป็นอุปสรรคในการมีสุขภาพจิตที่ดีคือ การมองว่าตัวเองคือ ‘เหยื่อ’ ในทุกเหตุการณ์โชคร้ายที่เกิดขึ้นกับเรา สิ่งนี้ไม่ใช่การปล่อยวาง แต่คือการปล่อยปละละเลยแน่นอน เพราะเราไม่ได้รู้สึกสบายใจขึ้นหลังจากมองตัวเองว่าเป็นเหยื่อ อีกทั้งยังกลับทำให้เราไม่อยากพยายามลองหาทางแก้ไขหรือปรับปรุงชีวิตให้เติบโตและพัฒนาขึ้นจากจุดที่เป็นอยู่ ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้เรารู้สึกไม่มีความสุขกับตัวเอง เพราะเชื่อไปแล้วว่าคนอย่างเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ในส่วนหนึ่งก็จริง มีหลายสิ่งที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่เราทุกคนมีความสามารถที่จะทำชีวิตให้ดีขึ้นหรือสุขขึ้นได้เสมอ เช่น ถ้าเราโดนไล่ออกจากงานที่รักและทุ่มเทอย่างเต็มที่ มันไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย เราโมโหโวยวายกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่หลังจากนั้นมันก็อยู่ในอำนาจของเราเช่นกัน ที่จะเลือกเดินต่อไปในชีวิตยังไง จะพยายามหางานใหม่ ที่แม้ไม่ได้เป็นงานที่รักเหมือนเดิมแต่ก็พอเลี้ยงตัวเองอยู่รอด หรือจะจมอยู่ที่เดิม ยอมแพ้กับชีวิต และเอาแต่จ้องจับข้อเสียของโลกใบนี้ที่เกิดกับเรา เพื่อนำมาเป็นบทสรุปให้ชีวิตตัวเองว่า […]
ปั่นรถถีบในเชียงใหม่ เพจบ่นเรื่องถนนหนทางของคนขี่จักรยานที่อยากให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่ Bicycle-friendly มากขึ้น
บอส-สิทธิชาติ สุขผลธรรม ไม่ใช่คนเชียงใหม่ แต่เขาคือเจ้าของเพจ ‘Chiang Mai Urban Cyclist: ปั่นรถถีบในเชียงใหม่’ ที่อยากผลักดันให้การขับขี่จักรยานในเชียงใหม่นั้นปลอดภัย มีถนนหนทางและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรต่อนักปั่นกว่าที่เคย จะพูดว่าบอสชอบปั่นจักรยานจนต้องลุกขึ้นมาก่อตั้งเพจก็อาจพูดได้ไม่เต็มปาก แต่หากจะกล่าวว่าชายหนุ่มชินกับการใช้จักรยาน บวกกับความอินเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ติดตัวมาตั้งแต่วัยรุ่น นั่นอาจนับเป็นแรงจูงใจในการทำเพจได้ เพราะมากกว่าการเรียกร้องเรื่องถนนหนทางและความปลอดภัย เพจของบอสยังอยากผลักดันไปถึงการตั้งนโยบายและพัฒนาเมืองในสเกลใหญ่ ที่ผู้ได้ประโยชน์จะไม่ใช่แค่นักปั่น แต่คือคนเชียงใหม่ทุกคน เวลา 3 ปีที่มาอยู่เชียงใหม่ทำให้คนที่ขับขี่จักรยานในชีวิตประจำวันเช่นเขามองเห็นอะไรบ้าง และแรงผลักดันหน้าตาแบบไหนที่ทำให้เขาเชื่อว่าเชียงใหม่จะเป็นเมือง Bicycle-friendly ได้ในที่สุด เรานัดเจอบอสเพื่อสนทนาเรื่องนี้กัน แน่นอนว่าในวันที่นัดเจอ เขาปรากฏตัวพร้อมกับจักรยานคู่ใจที่ขี่ไปไหนมาไหนรอบเมือง “เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด” “เราสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เรียนจบ ม.6 พอขึ้นมหาวิทยาลัยก็ไปอยู่ชมรมอนุรักษ์ งานหลักๆ ของชมรมคือจัดค่ายและแคมเปญ แต่จริงๆ มันเป็นเรื่องการปลูกจิตสำนึกให้คนเข้าใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่า “พอเรียนปริญญาตรีจบ เราไปเรียนต่อโทด้านวิศวกรรมทางทะเลที่ฮาวาย ที่นั่นทำให้เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด เราใช้รถเมล์บ้าง แต่บางทีรถเมล์ก็ไม่ได้พาเราไปสุดทางที่อยากไป และบางทีมันก็ช้ากว่าขี่จักรยานเสียอีก “ฮาวายเป็นเกาะที่เป็นมิตรกับคนขี่จักรยาน ด้วยเพราะต้นไม้เยอะ ถนนมีร่มเงา คนที่นั่นจึงใช้จักรยานกันค่อนข้างเยอะ ถนนจะมีเลนจักรยานโดยเฉพาะในบางพื้นที่ ส่วนโซนที่ไม่มีเขาก็จะมีป้ายเขียนว่า Share the Road เพื่อให้คนขับรถให้ทางกับคนขี่จักรยานด้วย แม้แต่บนรถเมล์ก็จะมีพื้นที่ให้วางจักรยานบนนั้น “เราอยู่ฮาวายได้สามปี […]
ออกไปฟื้นฟูป่า กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยนพื้นที่สีเขียวรอบชุมชนให้ยั่งยืนไปกับ ‘โพรเทคส์’
‘ถ้าไม่กล้าแล้วจะเปลี่ยนได้ยังไง’ โพรเทคส์ชวนเรากลับมาผจญภัยอีกครั้ง กับภารกิจฟื้นฟูป่า กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยนพื้นที่สีเขียวรอบชุมชนให้ยั่งยืน ผ่านกิจกรรม ‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน’ ที่จัดมาเป็นครั้งที่ 2 ครั้งนี้ โพรเทคส์พาทุกคนมาเปลี่ยนบรรยากาศ ล่องเรือชมธรรมชาติ ณ เมืองสายน้ำสามเวลา จังหวัดสมุทรสงคราม ออกไปขุดดินปลูกต้นโกงกาง ฝ่าเนินโคลนชั้นเซียน ลงมือเปื้อนเพื่อเปลี่ยนต้นกล้าให้กลายเป็นป่าชายเลน พร้อมเรียนรู้ความสำคัญของระบบนิเวศที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผืนใหญ่ของโลก การเข้าร่วมกิจกรรม ‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน ครั้งที่ 2’ ยังคงมีสายฝนเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง อุณหภูมิที่เย็นลง หยาดน้ำฝนที่กระทบหน้าต่าง คล้ายเสียงขับกล่อมให้รู้สึกผ่อนคลาย นั่งรถมาไม่นานก็ถึงที่หมายโดยไม่รู้ตัว ทันทีที่เท้าสัมผัสพื้น กลิ่นอายธรรมชาติและลมทะเลก็ลอยเข้ามาเตะจมูก พร้อมภาพของ ‘ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน’ ที่รายล้อมด้วยต้นโกงกางน้อยใหญ่ ในละแวกเดียวกันยังมีบ้าน ร้านอาหาร และรีสอร์ต แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของป่าชายเลนที่ยึดโยงชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงครามแห่งนี้ หลังจากเปลี่ยนเสื้อและรับหมวกจากโพรเทคส์ เตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรม ‘กอล์ฟ-ชวณัฐ มังน้อย’ ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์โพรเทคส์ ก็ก้าวขึ้นกล่าวต้อนรับ “แบรนด์โพรเทคส์มีความเชื่อในการออกไปลงมือทำ กล้าเลอะ กล้าเปื้อน เปิดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยไม่ต้องกังวล ซึ่งเป็นที่มาของแคมเปญกล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน” ชวณัฐ กล่าวถึงที่มาของกิจกรรมในวันนี้ นอกจากนี้เขายังเสริมอีกว่า การปลูกป่าที่ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน เป็นการต่อยอดจากครั้งก่อนที่ชวนทุกคนไปลงมือปลูกต้นกล้า ฟื้นฟูป่ากันมาแล้ว […]
เรียนดำน้ำกับครูหุย Dive Potato ชวนคนเมืองสัมผัสธรรมชาติใต้ทะเล
การได้ดำลงไปในน้ำทะเลลึกเพื่อชมสภาพแวดล้อมที่หาดูไม่ได้บนพื้นดิน เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์มหัศจรรย์ นอกจากได้พักผ่อนแล้วยังถือว่าเป็นกีฬาที่สร้างความท้าทาย เพราะต้องใช้ความสามารถทั้งระบบหายใจและระบบกล้ามเนื้อที่ต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกฝน “ในฐานะที่เป็นครูสอนดำน้ำ ทะเลเป็นออฟฟิศ ฉะนั้นเราต้องรักษาออฟฟิศของเราให้สวยงามอยู่เสมอ” รายการ The Professional ชวนไปคุยกับ ‘เนตรนภา ยิ่งกิจภิญโญ’ หรือ ‘ครูหุย’ PADI Course Director หญิงเพียงไม่กี่คนในประเทศไทย ที่จะมาเล่าถึงแรงบันดาลใจสู่การเป็นครูสอนดำน้ำที่ Dive Potato เพื่อส่งต่อความสวยงามของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้กับคนรุ่นต่อๆ ไป
‘บุญรอด นาคศิธร’ ช่างทำว่าวจุฬาแห่งแม่กลอง ประธานชมรมว่าวไทยจังหวัดสมุทรสงคราม
‘ฬ’ คือพยัญชนะตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย มีรูปร่างคล้ายคลึงกับดาวห้าแฉก ซึ่งเป็นลักษณะของว่าวจุฬาที่คนไทยในสมัยก่อนละเล่นกัน และมาถึงวันนี้ว่าวจุฬาก็เริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา เนื่องด้วยเทคโนโลยีหรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากแต่ก่อน เราไม่ได้พูดถึงแค่ตัวว่าว แต่อาชีพช่างทำว่าวก็กำลังกลายเป็นแค่ความทรงจำเช่นกัน “ถ้าเราเรียนหนังสือ ท่อง ก-ฮ จะมี ฬ จุฬา ท่าผยอง เพราะพ่อขุนรามฯ เป็นคนประดิษฐ์อักษรไทย ว่าวตัวนี้น่าจะมาก่อนพ่อขุนรามฯ “เมื่อเราตายไป ถ้าเราไม่สอนไว้ ไอ้ ฬ จุฬา ท่าผยอง คงจะหายไปจากอักษรไทย” รายการ The Professional ชวนไปคุยกับ ‘บุญรอด นาคศิธร’ ประธานชมรมว่าวไทย จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ชุบชีวิตการทำว่าวจุฬาไทยในจังหวัดสมุทรสงครามให้ยังคงถลาล่องลอยติดลมบน แม้ในวันที่แทบไม่มีใครสนใจเงยหน้ามองท้องฟ้าอีกแล้ว
‘Monsoon Blues’ รู้จักความเศร้าที่มากับฝน ทำให้คนหมดไฟ ไม่อยากทำงาน
‘วันนี้ฝนตกไม่อยากทำงานเลย ถ้าได้นอนบนเตียงทั้งวันก็คงดี’ เชื่อว่าหลายคนต้องเคยรู้สึกหมดพลัง ไร้เรี่ยวแรง ไม่อยากทำอะไร ในเวลาที่มองออกไปนอกหน้าต่างแล้วเจอฝนตก โดยเฉพาะคนทำงานที่ต้องเผชิญปัญหาการจราจรระหว่างเดินทาง กว่าจะถึงที่หมายต้องเจอทั้งการยืนเบียดกันบนขนส่งสาธารณะ ความหนาแน่นของรถบนท้องถนน และฝนที่โปรยลงมาพาให้ป่วยกายง่ายๆ อุปสรรคที่มากับฝนทำให้แต่ละวันของมนุษย์เงินเดือนที่เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้วต้องลำบากกว่าเดิมหลายเท่า ความรู้สึกเหนื่อยล้าสะสมเหล่านี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้บางคนมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง เขาว่าฝนนั้นทำให้คน ‘เฉื่อย’ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาพร้อมเมฆฝนและฟ้าครึ้ม ทำให้เช้าที่สดใสของเรากลายเป็นวันที่หม่นหมอง การขุดตัวเองขึ้นจากเตียงกลายเป็นเรื่องยาก เกิดเป็นอารมณ์ความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำอะไรตลอดวัน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนนี้เรียกว่า ‘Monsoon Blues’ คล้ายกับ ‘Winter Blues’ ในเมืองหนาวที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ท้องฟ้ามืดเร็ว ไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรได้มากนัก ส่งผลให้คนรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการใช้ชีวิต ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล’ หรือ ‘Seasonal Affective Disorder (SAD)’ เช่นเดียวกับความรู้สึกเศร้าซึมในฤดูฝน ที่เกิดขึ้นจากความอึมครึมของก้อนเมฆช่วงที่ฝนตกไปบดบังแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ส่งผลกระทบต่อระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของร่างกาย หรือ ‘นาฬิกาชีวภาพ’ (Biological Clock) ซึ่งสัมพันธ์กับเวลากลางวันและกลางคืนตามธรรมชาติ ทำให้การหลั่ง ‘เซโรโทนิน’ (Serotonin) สารสื่อประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้รู้สึกขุ่นมัว และฮอร์โมน ‘เมลาโทนิน’ (Melatonin) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนอนหลับเพิ่มขึ้น จึงทำให้รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน […]