One Day With…
การเรียนรู้หนึ่งวันเต็มนอกห้องเรียนกับคุณครูผู้เป็นนักเปลี่ยนเมือง
‘สุขสำราญ’ เรือนำเที่ยวไฟฟ้าที่พาสำรวจวิถีชีวิตตามสายน้ำ ให้สุขสำราญใจเหมือนชื่อเรือ
‘ซัน-ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์’ ยุคสมัยหนึ่งเขาเคยรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อจบการศึกษาก็เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์ของมูลนิธิโลกสีเขียว องค์กร NGO ที่ผลักดันด้านสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการขับเคลื่อนสังคม เขายังใช้ชีวิตแบบ ‘กรีน’ ทั้งการปั่นจักรยานไปไหนมาไหน แยกขยะ ไม่ใช้วัสดุใช้ครั้งเดียวทิ้ง ฯลฯ หลังจากเขามีลูกเล็ก ก็ตกลงกับภรรยาว่าตนเองจะลาออกจากงานประจำเพื่อดูแลลูกเต็มเวลา แต่ ‘ศิระ’ ก็ไม่ได้ละทิ้งสิ่งที่ชอบ ผูกพัน และสังคมที่อยากเห็น ในวันเสาร์-อาทิตย์ หลังพักภารกิจประจำ ตอนนี้เขาทำธุรกิจเรือไฟฟ้าเช่าเหมาลำ ‘สุขสำราญ’ บริการนำท่องเที่ยวแบบไม่เหลือมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม บริเวณคลองบางหลวง สายน้ำเล็กๆ ที่มีวัดปากน้ำภาษีเจริญ องค์พระใหญ่ที่เป็นจุดแลนด์มาร์ก และมีตลาด ชุมชนที่อยู่อาศัย อู่ต่อเรือ หรือโรงสีข้าว ที่ล้วนพัฒนามาจากรากฐานประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เรานัดคุยกับเขาในปลายเดือนมีนาคม ตรงกับวันที่ศิระตกลงอาสาเป็นคนขับเรือ รับส่งผู้คนข้ามฟากในงานประเพณีประจำปีของ ‘ศาลเจ้าซำซัวก๊กอ้วง’ และ ‘ศาลเจ้ากวนอู’ บริเวณตลาดพลูซึ่งมีสายน้ำของคลองบางหลวงคั่นกลาง ในวันที่เทรนด์รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือเรือไฟฟ้ามาแรง ถูกคาดหวังว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนผ่านจากพลังงานถ่านหินเป็นพลังงานสะอาด เพื่อลดระดับความรุนแรงของวิกฤตสภาพแวดล้อมตอนนี้ อาจจะเรียกได้ว่า ‘ศิระ’ เป็นผู้มาก่อนกาลอยู่เหมือนกันที่ลงมือเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลของเรือให้เป็นระบบไฟฟ้าเมื่อ 2 – 3 ปีก่อน ทั้งแนวทางธุรกิจ […]
ลำกระโดงสโมสร คลับคนแม่กลองที่จะพาไปรู้จักและใกล้ชิดเมืองแม่กลองผ่านลำน้ำและการพาย
ย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว วันเดียวกับที่กรมอุตุฯ ประกาศว่าฤดูหนาวมาถึงแล้ว อากาศยามเย็นของแม่กลองพอจะกล่าวได้ว่าเย็นสบาย มีสายลมอ่อนโบกโบยเป็นระยะ และฝนเจ้ากรรมทำท่าว่าจะยังไม่หนีหายไปไหน ส่อเค้าลางเป็นเมฆสีดำที่ลอยอยู่ไกลๆ และเรดาร์น้ำฝนจากแอปพลิเคชันก็การันตีเลยว่าราตรีนี้ไม่รอดแน่ “โห กำลังมาเลย” ก๊อก-กึกก้อง เสือดี ชายหนุ่มเจ้าของคลับลำกระโดงสโมสรกล่าวก่อนเดินไปที่ท่าน้ำของ อบต.แหลมใหญ่ เพื่อยกเรือคายัคสีสดลงจากหลังคารถเอสยูวี ก่อนจะอธิบายทีมงานผู้ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับการคมนาคมทางน้ำที่คราวนี้ต้องรับบทเป็นฝีพายถึงเทคนิคในการพายเรือให้ได้แรงดี กฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน พร้อมอธิบายเส้นทางคร่าวๆ ให้ฟัง เริ่มต้นด้วยเลาะไปตามท่าเรือที่สองฟากฝั่งเต็มไปด้วยเรือหาปลาลำใหญ่ ต้านทางน้ำขึ้นดูประวัติศาสตร์ชุมชนแม่กลอง หยุดอยู่ริมฝั่งนั่งบนเรือเพื่อขอผูกมิตรกับหิ่งห้อยที่วิบวับราวกับแสงไฟจากงานเทศกาล ก่อนจะไหลตามสายน้ำกลับสู่จุดเริ่มต้น ทั้งหมดนี้คือน้ำจิ้มจากลำกระโดงสโมสรที่เราจะได้เจอกันในวันนี้ “เราอธิบายความเป็นแม่กลองจากการพายเรือร่วมกัน วันนี้เรามาที่แหลมใหญ่ก็เลยชวนเป้ (ชาวแม่กลองอดีตนักกีฬาคายัคที่วันนี้เป็นไกด์กิตติมศักดิ์) มาด้วย อยากให้เป้ได้เห็นศักยภาพของบ้านตัวเองว่าเราตื่นเต้นกับสิ่งที่เขามีนะ (ยิ้ม) มันเป็นโอกาส เป็นอนาคต แล้วเราจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไรจากสิ่งที่เรามีอยู่ เราจะพามันไปด้วยได้อย่างไร” ตะวันทำท่าจะคล้อยต่ำ เรากระชับเสื้อชูชีพสีส้มก้าวลงบันไดอย่างมั่นคง แล้วขึ้นเรืออย่างโคลงเคลงตามประสาคนไม่คุ้นเคย เมื่อจำนวนสมาชิกครบถ้วนไม้พายก็เริ่มออกแรงต้านสู้กับสายน้ำ เรือคายัคทั้งแบบสมัครเล่น มืออาชีพ และกระดานซัปบอร์ดไหลไปข้างหน้าทีละนิด เมื่ออยู่ติดผิวน้ำเรือแต่ละลำใหญ่ขึ้นถนัดตา และหนึ่งวันกับลำกระโดงสโมสรก็เริ่มต้นขึ้น… 01 ปฐมบทลำกระโดง เราเดินทางกันอย่างไม่เร่งรีบ เสียงพายกระทบน้ำ ควบคู่ไปกับเสียงสนทนาที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นของผู้มาเยือน หากฟังจากที่พี่ก๊อกเล่า เรารู้สึกได้ว่าแม่กลองเป็นเมืองที่เต็มไปด้วย Active Citizen ที่พยายามทำสิ่งที่ตัวเองถนัดในการพัฒนาให้เมืองดีขึ้น แน่นอนว่าลำกระโดงสโมสรก็เป็นหนึ่งในนั้น “แม่กลองเรามีฐานเป็นคนขับเคลื่อนเมืองอยู่แล้ว […]
สุนัขชุมชน ตลาดแม่กลอง โมเดลที่บอกว่าหมาจรจัดไม่ใช่ภาระ และอยู่ร่วมกับสังคมได้
ยามเย็นของตลาดแม่กลอง ตลาดติดทางรถไฟหุบร่มไปเรียบร้อย คุณแม่แวะมาหิ้วมื้อเย็นไปฝากครอบครัว เด็กนักเรียนถือไม้ลูกชิ้นทอดแกล้มกับน้ำอัดลม ชายหนุ่มวัยเก๋าฝังตัวอยู่ในบาร์เบอร์ที่น่าจะใช้บริการกันมาแต่นานนม หมาปลอกคอเขียวใส่เสื้อกั๊กสีส้มกระโดดขึ้นมอ’ไซค์วินอย่างคุ้นเคย เจ้าตัวอวบอ้วนสีดำไม่สนิทคาบตะกร้าเดินตามคนรู้ใจ ประชากรสี่ขาครับกระจายตัวไปทั่วตลาดอย่างกลมกลืน บ้างเล่นกับพ่อค้าแม่ขาย บ้างนอนทอดอารมณ์ไม่สนใจความเป็นไปของผู้ใด พอจะกล่าวได้ว่าบรรยากาศตลาดแห่งนี้ดูแสนคึกคักแม้เป็นวันธรรมดา หากลองทอดน่องเลยมาทางโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นอกจากจะพบ ‘กล้าหาญ’ ดาราตลาดที่เราบอกว่ากระโจนขึ้นลงรถพี่วินฯ อย่างคล่องแคล่วไร้ความเขินอายแล้ว ‘โอวัลติน’ สามขาพันธุ์ซ่าก็ออกมาทักทายคนรู้จักตามประสา ปลอกคอสีเหลืองเตือนเราว่าอย่าพึ่งรีบทักทายเพื่อนใหม่คนนี้ คอยดูท่าทีความเป็นมิตรอีกสักนิดหนึ่งดีกว่า “โอวัลตินนี่แล้วแต่คนเลยครับ ต้องดูท่าเขาหน่อยว่าจะให้จับหรือเปล่า” พี่หนึ่ง-ณัฐพงษ์ งามสง่า เจ้าของร้านดอกไม้หน้า รพ.สมเด็จฯ และผู้ก่อตั้งโครงการสุนัขชุมชน ตลาดแม่กลอง เอ่ยปากแล้วบอกว่าส่วนเจ้ากล้าหาญนี่ใครอยากเล่นด้วยก็เอาเลย เพราะเป็นมิตรกับทุกคนอยู่แล้ว ยิ่งกับพี่วินฯ นี่จะยิ่งซี้เป็นพิเศษ อยากขึ้นมอเตอร์ไซค์คันไหนก็ได้หมดแถมไม่เสียตังค์ด้วย ใครบอกว่าหมาจรต้องจับเอาไปตอนสถานเดียวพี่หนึ่งบอกว่าไม่จริง เพราะถ้าออกแบบและวางระเบียบให้ดีหมาอยู่กับคนได้แน่ ว่าแต่เจ้าของเสื้อสีฟ้าคนนี้มีวิธีอะไร ฉายาผู้ใหญ่บ้าน (ของชาวสี่ขา) ทำยังไงถึงได้มา ปลอกคอที่ใช้สีจราจรบอกความเป็นมิตรใช้ได้ผลแค่ไหน ชวนอ่านไปพร้อมกันเลยครับ การันตีว่าถูกใจทั้งคนรักและไม่รักหมาแน่นอน เริ่มจากคนรักหมา ในโลกของคนรักหมาผู้ใหญ่บ้านชาวสี่ขาตลาดแม่กลองอย่างพี่หนึ่ง ถือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีคนนับหน้าถือตาไม่น้อย เพราะนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาหมาจร จับหมาไม่มีเจ้าของไปฉีดวัคซีน ทำหมันจนเสร็จสรรพ พี่แกยังเป็นเจ้าของเพจ @มัชเฌ Never Die อัศวินหมาดำ ที่สมัยก่อนเป็นไดอารีของเจ้ามัชเฌ ลาบราดอร์สีดำต้นตำรับเซเลบแห่งตลาดแม่กลองที่ดังถึงขนาดไปออกทีวีที่ญี่ปุ่น […]
หนึ่งชีวิตที่ไม่ควรถูกหลงลืม ‘แสนสิริ’ เปลี่ยนพื้นที่รกร้าง ปลูกอาหารให้ช้างไทย
หยิบอะไรก็ได้ขึ้นมาสักอย่าง ปาลงไปตรงไหนก็ได้ในประเทศไทย คงยากที่จะหล่นไปในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นที่ทราบกันดีครับว่าตอนนี้ภาคการท่องเที่ยวไทยหยุดชะงักมาเกือบ 2 ปี แถมส่งผลกระทบทั้งอุตสาหกรรมไล่ตั้งแต่สายการบิน โรงแรม บริษัททัวร์ และแม้แต่ปางช้างก็หนีไม่พ้น เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ เมื่อประเทศปิดตัวก็ยากที่จะหาเงินมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องช้าง “หยิบหญ้าเนเปียร์สักหลายกำ ปาลงไปในแปลงเกษตร ที่แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่รกร้างรอการพัฒนา ช้างอีกหลายเชือกที่เชียงใหม่จะได้อิ่มท้อง” ใช่ครับ อาจจะเป็นสุภาษิตที่คุ้นเคยแต่เนื้อหาไม่คุ้นเลย จนต้องขออนุญาตพาเข้าเรื่องครับว่า Urban Creature กำลังจะเล่าเรื่องพันธมิตรที่น่ารักของเราอย่างแสนสิริ ที่ได้แบ่งปันที่ดินรอการพัฒนาจำนวน 70 ไร่ ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ให้กับสมาคมสหพันธ์ช้างไทยใช้ในการปลูกหญ้าเลี้ยงช้าง โดยใช้ชื่อโครงการว่า Sansiri Backyard for Elephants เพราะมองเห็นร่วมกันแล้วว่าตอนนี้ปางช้างกำลังขาดรายได้ และลำพังอาศัยการบริจาคอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอในระยะยาว จึงปรับเอาพื้นที่รกร้างที่ตอนนี้ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับใคร มาช่วยช้างที่กำลังขาดรายได้ ช้างไทยยามไร้การท่องเที่ยว นอกจากเกาะสวย หาดทรายขาว ธรรมชาติบนดอย และแหล่งแฮงเอาต์ยามค่ำคืน ‘ช้าง’ ถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกให้มาเยี่ยมเยือนประเทศไทย แต่เมื่อการท่องเที่ยวหยุดชะงัก ปากท้องของช้างก็ย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายต่อจำนวนประชากรช้างในไทย ซึ่งต้องบอกว่าก่อนหน้านี้มีสถิติไม่สู้ดีมาอยู่แล้ว เห็นได้จากในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยมีช้างอยู่ราว 12,500 เชือก […]
หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว
เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]
ภารกิจ #Saveยางนา กู้ชีพไม้หมายเมืองต้นสุดท้ายที่ผูกศรัทธาเวียงเชียงใหม่มา 220 ปี
นั่งรถ 15 นาทีจากสนามบินเชียงใหม่สู่คูเมือง มองบรรยากาศเมืองเก่าที่มีเสน่ห์ พลางคิดถึงภารกิจ Save ยางนา ที่ทำให้เราเดินทางขึ้นเหนือ ภารกิจครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อเราเห็นภาพโปสเตอร์ที่มีข้อความว่า “ฮอมฮักฮอมแฮง Saveยางนา ฮักษาอินทขิล ชวนร่วมเก็บเศษอิฐ เศษปูนชิ้นเล็กๆ ออกจากเก๊ายางหลวง” พร้อมทิ้งเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้สอบถามที่ถูกโพสต์ลงเพจ Saveยางนา ฮักษาอินทขิล ก่อตั้งขึ้นโดยทีมเชียงใหม่มรดกโลก เพื่อโอบอุ้มรักษา ต้นยางนาหลวง ไม้หมายเมืองภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่การเป็นมรดกโลก เราจึงต่อสายตรงหา อาจารย์ป้อง-วรงค์ วงศ์ลังกา อาจารย์สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของเบอร์ในภาพนั้น เพื่อนัดหมายให้เขาพาเราไป Save ยางนา กันถึงถิ่น “เจอกันใต้เก๊า (โคน) ต้นยางนาหลวงครับ แล้วจะเห็นป้ายที่เขียนว่าฮอมฮักฮอมแฮง แต่งตัวทะมัดทะแมง แล้วก็เตรียมหมวกมาหน่อย” ปื๊นเก๊ายางหลวง เรือนยอดเสียดฟ้าเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อเดินเข้าวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดเก่าแก่แห่งที่ 2 ตั้งแต่ตั้งเวียงเชียงใหม่ เราเดินเข้าไปด้านใน เพื่อไปยังใต้เก๊าต้นยางนาหลวงตามนัดหมาย อาจารย์ป้องยืนอยู่ตรงนั้น เราเอ่ยทักทายกัน แล้วเริ่มพูดคุยถึงปื๊น (ตำนาน) ของยางนาหลวง เขาสร้างความเข้าใจว่า ไม้หมายเมือง คือต้นไม้ที่ปลูกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเวียงเชียงใหม่ […]
ไร้บ้านไม่ไร้ค่า หนึ่งวันกับ ‘คนไร้บ้าน’ ชีวิตที่อยากให้เข้าใจ
เรียนรู้ชีวิตคนไร้บ้านไปพร้อมกับ ‘พี่เอ๋-สิทธิพล ชูประจง’ หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนนที่พาเราไปเข้าถึงคนไร้บ้านอย่างเปิดใจให้ว่าง เพื่อทำความเข้าใจ รับฟังเรื่องราว รับรู้ปัญหา และถ่ายทอดสิ่งที่พบเจอให้ทุกคนได้สัมผัส ‘คนไร้บ้าน’ ในมุมมองใหม่
หากคุณหมดไฟ พวกเราซ่อมได้ : ภารกิจตามติดช่างไฟฟ้า
ช่างไฟฟ้า นักปีนเสาไฟที่มีภารกิจแก้ไฟให้ประชาชนได้ใช้อย่างด่วนจี๋ ซึ่งครั้งนี้ ‘คุณเต้-พิพัฒน์พงษ์ สุรพิพิธ’ พนักงานช่างระดับ 3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาย่อยอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา จะพาเราขึ้นกระบะออกไปปีนเสา ซ่อมไฟด้วยกัน พร้อมทำความเข้าใจว่ากว่าจะเป็นช่างไฟฟ้าต้องผ่านอะไรมาบ้าง แล้วอาชีพค่อนข้างอันตรายนี้เขาทำงานและฝึกฝนกันยังไง ? ก่อนเริ่มภารกิจ: ช่างไฟไม่ใช่ใครก็เป็นได้ กว่าจะเป็นช่างไฟไม่ใช่แค่เดินเข้ามาสมัครก็เป็นได้ เพราะอาชีพที่ค่อนข้างเสี่ยงอันตรายนี้ ต้องเรียนจบวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงช่างไฟฟ้า (ปวส.) หรือจบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเท่านั้น ซึ่งถ้าหากใครไม่ได้จบโดยตรง จะต้องไปเรียนเพิ่มเติมให้ได้วุฒิการศึกษาที่กำหนด เพื่อใช้สอบเข้าทำงานช่างไฟฟ้านั่นเอง เหมือนอย่างที่ ‘คุณเต้-พิพัฒน์พงษ์ สุรพิพิธ’ พนักงานช่างระดับ 3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาย่อยอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทราที่พาเราขึ้นรถกระบะลงพื้นที่ตามติดภารกิจช่างไฟครั้งนี้ ที่ไม่ได้เรียบจบตรงสาย เพราะครอบครัวอยากให้เรียนรัฐศาสตร์เพื่อรับราชการ แต่เมื่อได้ลองทำงานกลับพบว่าไม่ใช่ เลยไปสมัครเป็นลูกจ้างช่างไฟ เก็บเกี่ยวประสบการณ์นานถึง 4 ปี ซึ่งระหว่างนั้นคุณเต้ไปเรียนเสริมวุฒิปวส.ไฟฟ้าที่วิทยาลัยการอาชีพบางปะกงร่วมปีกว่า และเมื่อมีโอกาสสอบเข้า ด้วยความขยัน และชอบจริงๆ ทำให้เขาสอบติดบรรจุเป็นพนักงานช่างไฟ ภารกิจที่ 1: เตรียมพร้อมแก้ไฟ ‘แก้ไฟ’ คือภาษาที่ช่างไฟใช้กันเมื่อต้องออกไปซ่อมไฟฟ้าที่ชำรุด ซึ่งกว่าจะออกแก้ไฟได้ ช่างไฟจะต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่ทางการไฟฟ้ากำหนด เช่น การอบรมพื้นฐานช่างสาย […]
“คลองต้องดี เมืองถึงจะดี” ฟังวิธีฟื้นคลองให้กลับมาสำคัญอีกครั้งจาก ‘ธนบุรี มี คลอง’
สทนากับทีม ‘ธนบุรี มี คลอง’ ถึงความสำคัญของคลองกับเมือง และหนทางที่จะทำให้คลองอยู่คู่กับเมืองได้อย่างยั่งยืน
เบื้องหลังโรงงานรีไซเคิลของ ‘พี่โหมว’ มือปราบขยะ
เคยคิดไหม ? ขวดน้ำที่อยู่ในมือเราตอนนี้เมื่อดื่มหมดแล้ว ขวดพลาสติกเปล่าที่เราเพิ่งทิ้งลงถังขยะจะเดินทางไปไหน ระหว่างบ่อขยะ เตาเผาขยะ หรือโรงงานรีไซเคิล เราสืบเสาะมาจนถึงปลายทางของบรรดาขวดพลาสติกผู้โชคดี ที่ได้มาอยู่โรงงานรีไซเคิลในจังหวัดปทุมธานี รอการรีไซเคิลนำกลับไปใช้ประโยชน์อีกครั้ง
Active River Station : จูงมือลงเรือลำเดียวกัน ร่วมคิด ร่วมสร้าง “สถานีเรือเพื่อทุกคน”
“ท่าเรือ” ที่เราใช้ทุกวันนี้เป็นอย่างไร? เท่าที่เห็นกัน คงมีชำรุดหรือบางที่ก็ดีไซน์มาไม่ตอบโจทย์สำหรับคนทุกกลุ่ม เราจึงมีแนวคิดดีๆ จากเหล่า “คนเข้าท่า” มานำเสนอ กับโครงการ “Active River Station – สถานีเรือเพื่อทุกคน” ที่ต้องการสร้างสถานีเรือรูปแบบใหม่ให้คนเมืองได้ใช้