Mental Help
การสำรวจครั้งที่ลึกถึงจิตใจ ความสัมพันธ์ ซึ่งมาพร้อมวิธีรับมือและเยียวยา
ในวันที่ต้องกักตัวจากโลกภายนอก จะเก็บความรักไว้ได้อย่างไร?
ช่วงนี้ใครๆ ก็แสนเหงา ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 เช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคนรักก็ต้องห่างกันสักพัก อะไรที่นัดไว้ก็เป็นอันต้องยกเลิก รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ ก็น้อยลง ความเหงา เบื่อหน่าย ผิดหวัง หรือวิตกกังวล จึงส่งผลไปถึงสภาพจิตใจ การให้กำลังใจกันและกันน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยคลายความรู้สึกเหล่านี้ได้
ภายนอกเหมือน แต่ในใจไม่ใช่ เมื่อ ‘การเหมารวม’ สร้างบาดแผลให้ผู้บริสุทธิ์
การเหมารวม (stereotype) คือทัศนคติจากประสบการณ์ที่เคยเจอ ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งมีต่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา การเมือง เพศ ไปจนถึงกลุ่มการชอบที่เป็น sub-culture ของสังคม จนกลายเป็นมาตรฐานในการตัดสิน
“เมื่อโลกภายนอกหมุนเร็ว โลกภายในต้องมั่นคง” เช็กเสาหลัก 4 อย่างของใจ เพื่อสัมผัสความสุขในตัวเราเอง
ผ่านปีใหม่มาได้ไม่นาน หลายคนคงมีปณิธานที่ตั้งใจจะทำให้สำเร็จ ไม่เพียงได้ย้อนมองตัวเองในปีที่ผ่านมา ยังหมายมั่นว่าปีหน้าต้องดีกว่าเดิม แต่สิ่งหนึ่งที่เราสังเกตก็คือ เราได้เห็นความสำเร็จของคนอื่นผ่านสเตตัสเฟซบุ๊ก ที่บางครั้งก็อดเปรียบเทียบกับตัวเองไม่ได้ ในชีวิตที่มีปัจจัยภายนอกมาบีบคั้นให้เราต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ เราเคยถามตัวเองไหมว่า “สิ่งที่เราต้องการจริงๆ คืออะไร ?”
The School of Life : เพราะชีวิตจริงไม่มีติด ร. เปิดห้องเรียน ‘วิชาชีวิต 101’ ที่โรงเรียนไหนก็ให้ไม่ได้
ดราม่าเอยจงซับซ้อนยิ่งขึ้น… แปลกไหมยุคสมัยที่เรามีปัญหาร้อยแปด แต่ผู้คนยังชอบเสพดราม่าในโลกโซเชียล หากย้อนไปดูคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็เคยกุมขมับกับเรื่องของความรู้สึกและจิตใจไม่ต่างจากเรา พูดให้เห็นภาพอย่างเพลงฮิตที่ต่อให้ผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย ก็หนีไม่พ้นความเจ็บปวดไม่ว่าจะเป็นเรื่องรักๆ ใคร่ๆ การไม่เป็นที่ยอมรับ ไปจนถึงปัญหาชีวิตที่รุมเร้า
ฟ้าหลังฝนของ ‘พิมพ์พาพ์’ นักวาดภาพประกอบที่บันทึกช่วงเวลา 30 วัน หลังพบก้อนมะเร็งในไดอารี่เด็กหน้าแมว
หากวันหนึ่งไปหาหมอแล้วพบว่า มีก้อนบางอย่างอยู่ในร่างกาย ไม่ว่าใครก็คงกังวลกับความเปลี่ยนแปลงที่จะตามมา หรือไม่ก็หูอื้อนึกอะไรไม่ออก แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นกับเพื่อนสาวที่น่ารักสดใส ‘เจิ้ล’ หรือ แองเจิ้ล – ณัฐณิชา พิมพ์พาพ์ ในตอนนั้นเธออายุ 24 เพิ่งเรียนจบและกำลังเดินบนเส้นทางนักวาดภาพประกอบ โดยใช้นามสกุล ‘พิมพ์พาพ์’ เป็นนามปากกา
‘Facetook’ โลกคู่ขนาน Facebook พื้นที่ระบายทุกข์เพื่อเพิ่มสุขให้ชีวิต
ชวน ‘พี่เม้ง – ประสิทธิ์วิทยสัมฤทธิ์’ และ ‘พี่บอมบ์ – ปัณณวิชณ์แซ่โง้ว’ แห่ง ‘ชูใจกะกัลยาณมิตร’ กลุ่มครีเอทีฟเอเจนซีผู้สร้าง ‘Facetook (เฟซทุกข์)’ มานั่งสนทนาถึงที่มาที่ไปของเฟซทุกข์ และมุมทุกข์สุขในชีวิต
บทสนทนาชีวิต รถติดกับลุงแท็กซี่
โบกแท็กซี่แล้วไม่รับ ต้องส่งรถ เติมแก๊ส รถติดหน่อยพี่ก็ไม่ไป จนต้องถามว่า “พี่จะไปไหน หนูขอติดรถไปด้วย” เหตุการณ์เหล่านี้ คงเป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวกรุงเทพฯ เจอจนชิน วันนี้เราต้องไปขึ้นเครื่องที่ดอนเมือง อย่างที่รู้กันใครจะไปสนามบิน ต้องเตรียมตัวอย่างน้อยครึ่งค่อนวัน ไหนจะรถติด เช็คอิน โหลดกระเป๋า ยิ่งช่วงเย็นๆ ที่คนใกล้เลิกงานด้วยแล้ว การจะหาแท็กซี่สักคันในย่านเอกมัยคงไม่ใช่เรื่องง่าย
Synesthesia เห็นตัวหนังสือเป็นสี สัมผัสพิเศษจาก ‘อาการซินเนสทีเซีย’
ปกติแล้ว ร่างกายมนุษย์เราจะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นคือ การมองเห็น, การดมกลิ่น, การล้ิมรส, การสัมผัส และการได้ยิน แต่หากวันหนึ่ง ตื่นขึ้นมาแล้วพบว่า เรามีสัมผัสพิเศษเพิ่มเข้ามาในร่างกาย สัมผัสพิเศษที่ว่า คือ ‘การรับรู้ข้ามช่องสัมผัส’ อย่างการมองเห็นเชื่อมการฟัง การสัมผัสไปเชื่อมกับรสชาติ อาการเหล่านี้ เรียกว่า ‘ซินเนสทีเซีย’
Double – dating : ทำไมบางคนห้ามใจไม่ไหวจนเลือก ‘คบซ้อน’
เพราะหากขาดเธอก็คงเหงา และถ้าขาดเขาก็คงต้องเสียใจ บางคนจึงตัดสินใจแล้วว่าจะไม่เลือกใคร สิ่งที่เรียกว่า “การคบซ้อน” จึงเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่แรกเริ่มอาจมีแค่เราสอง แต่พอเวลาผ่านไปสัก 1 ปี 2 ปี หรือแม้กระทั่ง 10 ปี ก็ตาม กลับมี ‘บุคคลที่สาม’ เพิ่มเข้ามา
Nostalgia : ทำไมผู้ใหญ่อยากกลับไปเป็นเด็ก ที่เจ็บสุดแค่หกล้ม
สมัยยังเป็นเด็ก เราเฝ้ารอวันที่จะถูกเรียกว่า ผู้ใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ความไร้เดียงสา ความค่อยเป็นค่อยไป แบบฉบับเด็กน้อย กลับกลายเป็นสิ่งที่วัยผู้ใหญ่อย่างเราคิดถึง และมักดึงรอยยิ้ม ความสนุกสนานในวันวาน มาเป็นเครื่องมือทุเลาความเจ็บปวด ลบล้างความเปลี่ยวเหงา และวาดความสุขในวิมานได้ชั่วขณะ
Six Degrees of Separation : โลกของฉันและเธอ พบเจอกันผ่านคน 6 คน
‘สวัสดีครับ เราเคยรู้จักกันหรือเปล่า ท่าทางคุ้นๆ แค่ผมมองคุณยังไม่ค่อยชัด’ ใครเคยเกิดอาการเธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ หรือเดินไปไหนมาไหนแล้วเจอหน้าใครคนหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า ‘คนนี้หน้าคุ้นๆ’ จนอยากจะเดินไปร้องเพลงพี่แสตมป์ใส่ให้ทำหน้างงกันไปข้าง มากไปกว่านั้น ยังมีอาการชวนประหลาดใจที่หากเรารู้จักใครสักคนแล้ว มันจะมีบางสิ่งบางอย่าง (ขอออกตัวก่อนว่าไม่ใช่เรื่องมิติลี้ลับแต่อย่างใด) เชื่อมโยงเรา เขา และผู้คนรอบข้างของกันและกัน จนกลายเป็นว่ารู้จักมักจี่กันไปเสียหมด ดูเป็นเรื่องแปลกแต่มันก็เกิดขึ้นจริง และเมื่อประมาณ 89 ปีที่แล้ว มีนักเขียนชาวฮังการีตั้งชื่อให้เรื่องราวน่างงงวยหัวใจแต่ก็แอบโรแมนติกอยู่หน่อยๆ นี้ว่า ‘ทฤษฎีโลกใบเล็ก’ (Six Degrees of Separation) จากความคิดของนักเขียน | สู่การทดลองของนักจิตวิทยา ‘Frigyes Karinthy’ นักเขียนชาวฮังการี คือจุดเริ่มต้นของทฤษฎีโลกใบเล็กเมื่อ ค.ศ. 1929 โดยตอนแรกเป็นเพียงจินตนาการแบบล้ำๆ อย่างไม่มีชื่อเรียกในเรื่องสั้นชิ้นหนึ่ง ซึ่งเขาคิดไว้ว่า ถ้าลองสุ่มคนบนโลกใบนี้แบบมั่วนิ่มขึ้นมาสัก 2 คน จะพบว่าคนทั้งสองสามารถรู้จักกันได้ผ่านการเช็กแฮนด์ไม่เกิน 5 คน โดยเชื่อกันว่าระหว่างตัวเราและใครสักคนบนโลกใบนี้ ถูกคั่นไปด้วยจำนวนคนเพียง 6 คนเท่านั้น 38 ปีต่อมา จินตนาการล้ำลึกของ Karinthy ถูกนำมาสานต่อด้วยฝีมือและมันสมองของ […]
Hello Strangers : กาลครั้งหนึ่ง…เมื่อต้องคุยกับคนแปลกหน้า
“ห้ามคุยกับคนแปลกหน้า” “คนแปลกหน้าอันตราย” “อย่ารับของจากคนที่ไม่รู้จัก” ประโยคเชิงลบถึงคนแปลกหน้าที่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนเริ่ม แต่ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อนก็ขยันเพิ่มลงซีรีบรัมตั้งแต่เด็ก พร้อมย้ำซ้ำๆ ให้จำกันขึ้นใจอีกว่า ‘คนแปลกหน้า = อันตราย’ เราและหลายคนจึงถูกกระบวนการทางสังคมหล่อหลอม (socialization) ให้เติบโตและใช้ชีวิตกับกรอบความเชื่อแบบนั้นโดยอัตโนมัติ เรากังวลเวลาอยู่ใกล้พวกเขา เพราะเราไม่มีข้อมูล เราไม่รู้ว่าเจตนาของพวกเขาคืออะไร เราจึงจัดพวกเขาไว้ในกล่องของ “คนแปลกหน้า” จนถึงยุคที่สังคมโลกถูกแทรกแซงด้วยคำว่า ‘สังคมไซเบอร์’ เกิดแพลทฟอร์มต่างๆ ที่ทำให้เราได้ทักทายกับคนแปลกหน้าผ่านตัวอักษร หรือแม้กระทั่งการตั้ง status บอกใครสักคนบนโลกให้ผ่านมาเห็น โดยอาจลืมคิดไปว่า สิ่งนั้นคือจุดเริ่มต้นของการพูดคุยกับคนแปลกหน้า เราจึงขอชวนทุกคนมาเปิดโลกอีกมุมในการมองคนแปลกหน้า ที่กลายเป็นความสบายใจภายใต้การไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ Hello Strangers “When you talk to strangers, you’re making beautiful interruptions into the expected narrative of your daily life — and theirs,” ประโยคชวนคิดจาก ‘ไคโอ สตาร์ค […]