ออกไปมองฟ้ากว้างยามค่ำคืน มีเรื่องเครียดอะไรก็ปล่อยให้ลอยไปกับดวงดาวและท้องฟ้าตอนมืดมิด

เวลาเครียดๆ ทุกคนทำอะไรกัน เล่นเกม? ฟังเพลง? หรือจะลองออกจากห้องไปหยุดยืนมองผืนฟ้ายามค่ำคืนบ้างดี เรารู้กันอยู่แล้วว่า พื้นที่สีเขียว พื้นที่โล่งกว้าง หรือแม้แต่ท้องฟ้าแจ่มใสนั้นช่วยให้สภาพจิตใจของเราดีขึ้น แต่ไม่ใช่แค่ท้องฟ้าสดใสในช่วงกลางวันเท่านั้นที่ส่งผลดีต่อจิตใจของเรา เพราะที่จริงแล้วท้องฟ้าในช่วงกลางคืนเองก็มีส่วนช่วยฟื้นฟูให้สภาพจิตใจดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน โฟกัสที่ดวงดาวแทนความเครียดที่มี มีการศึกษาหนึ่งในปี 2564 ที่เผยแพร่ใน Journal of Destination Marketing & Management พบว่า การดูดาวเป็นกิจกรรมที่ช่วยบรรเทาความเครียดได้ แถมยังมีส่วนช่วยฝึกสมาธิ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพจิตในการจดจ่อกับช่วงเวลาปัจจุบัน เพราะความคิดและความสนใจในเวลานั้นจะมุ่งไปยังดวงดาว ทำให้เราดื่มด่ำกับภาพตรงหน้าอย่างเต็มที่ สนใจความสวยงามและความกว้างใหญ่ไพศาลของท้องฟ้า มากกว่าใช้เวลาไปกับการวิตกกังวลหรือสนใจกับสิ่งที่คิดวนเวียนอยู่ในจิตใจ ไม่ใช่แค่เพิ่มความสงบทางจิตใจเท่านั้น แต่การดูดาวยังเป็นวิธีการที่ช่วยให้ออกห่างแสงจากจอ และไปสัมผัสกับแสงจากธรรมชาติแทน ช่วยให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับที่ดีด้วย ท้องฟ้าไม่มีดาวก็ใช้วิธี Skychology แทน จะให้ไปมองดวงดาว แต่ปัญหาใหญ่ของคนเมืองนอกเหนือจากการไม่มีเวลามองฟ้าแล้ว พอเข้าสู่ช่วงกลางคืน มลภาวะทางแสงในเมืองยังรบกวนจนทำให้การดูดาวกลายเป็นเรื่องยาก ถึงอย่างนั้น การจะลดความเครียดไม่จำเป็นต้องดูดาวอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังมีแนวคิด Skychology ที่จะช่วยให้จิตใจสงบได้เหมือนกัน Skychology เป็นแนวคิดและสาขาวิชาที่สร้างขึ้นโดย Paul Conway นักจิตวิทยาที่ทำการศึกษาว่า การมองขึ้นไปบนท้องฟ้าสามารถเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจิตของเรา และยังเป็นการทำสมาธิในทางหนึ่ง เพราะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ ลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ […]

จำลองตัวเองเป็นนักปลูกผัก ใช้ชีวิตในเกม Farming Sim ช่วยจัดระเบียบชีวิต ชุบชูใจด้วยการพิชิตชัยชนะเล็กๆ

นึกภาพตอนที่เราตื่นขึ้นมาในฟาร์มของเรา มีแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าของฤดูใบไม้ผลิสาดส่อง พร้อมกับเสียงเพลงคลอเบาๆ เริ่มต้นวันด้วยการรดน้ำพืชผักท่ามกลางธรรมชาติ เก็บเกี่ยวผลผลิตเตรียมเอาไปแบ่งปันกับชาวเมือง กิจกรรมนี้น่าจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับเหล่ามนุษย์เมืองในสังคมเมืองที่เร่งรีบ เกม Farming Simulator หรือเกมจำลองการใช้ชีวิตในฟาร์มจึงเป็นเหมือนอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่อยากพักจากชีวิตในเมืองที่วุ่นวาย Farming Simulator หรือที่ชาวไทยเรียกง่ายๆ ว่า เกมปลูกผัก เช่น Stardew Valley เกมขวัญใจชาวปลูกผัก, Coral Island หรือ Harvest Moon เกมปลูกผักในความทรงจำของใครหลายคน ซึ่งนอกจากความสนุกแล้ว การเล่นเกม Farming Simulator ยังช่วยเรื่องสุขภาพจิตได้อีกด้วย ชีวิตที่วางแผนได้จากกิจวัตรในฟาร์ม อย่างที่หลายคนรู้กันว่า การเล่นเกมช่วยลดความเครียดได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นของเกมแนว Farming Simulator คือ เราสามารถจัดการวางแผนชีวิตได้ ตั้งแต่กิจวัตรประจำวัน To-do List ไปจนถึงการเลือกมีปฏิสัมพันธ์กับชาวเมืองในเกม มากไปกว่านั้น ยังต้องรู้จักเรียนรู้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งการวางแผนจัดแจงที่ดีมักจะตามมาด้วยผลลัพธ์ที่เหมือนเป็นรางวัลเล็กๆ ให้เราเสมอ เช่น การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เราปลูกเอง การช่วยเหลือชาวเมืองเล็กๆ น้อยๆ การปลดล็อกสูตรอาหารใหม่ๆ ฟังดูอาจเป็นเรื่องไม่สลักสำคัญอะไร เพราะไม่ส่งผลใดต่อชีวิตจริง แต่สำหรับคนที่ตั้งใจเล่นเกม […]

ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นประจำ แค่เดินระยะสั้นๆ แถวบ้านไม่กี่นาที ก็ช่วยให้สุขภาพจิตดีได้

หลายคนอาจหลงลืมไปว่า การเดินคือการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อย และทำได้เลย สำหรับใครที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือกังวลว่าจะต้องหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ลองให้การเดินเป็นตัวเลือกแรกดูก่อน เพราะแค่เปลี่ยนจากการนั่งมอเตอร์ไซค์เป็นการเดินเข้าซอยในระยะทางสั้นๆ เดินไปใช้บริการขนส่งสาธารณะใกล้ๆ หรือการเดินเล่นรอบๆ บ้านในเส้นทางที่คุ้นเคย เท่านี้ก็ช่วยให้เราแข็งแรงได้แล้ว ทว่ามากไปกว่าความแข็งแรงทางกายภาพ การเดินยังช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย เดินวันละนิดจิตแจ่มใส แน่นอนว่าเราพอนึกออกว่าทำไมการเดินถึงช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรงได้ แต่อาจไม่แน่ใจว่าการเดินช่วยเรื่องของสุขภาพจิตได้อย่างไร อย่างที่บอกไปว่าการเดินคือหนึ่งในการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ซึ่งในระหว่างที่ออกกำลังกายนั้น ร่างกายของเราจะหลั่งสาร Endorphins (เอ็นดอร์ฟิน) ที่ช่วยส่งเสริมความสุข ทำให้อารมณ์ดีออกมา รวมถึงยังช่วยคลายเครียดและบรรเทาอาการซึมเศร้า อีกทั้งการได้ขยับร่างกายยังช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดอีกด้วย Mental Health Foundation รายงานว่า การใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติจะช่วยลดระดับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลของเราได้ ซึ่งธรรมชาติเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงป่า เขา หรือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่เท่านั้น แต่การออกจากบ้านเพื่อเดินไปยังพื้นที่ส่วนกลางในชุมชน เดินไปยังร้านค้าแถวบ้าน หรือเดินไปทำกิจกรรมในที่ต่างๆ ผ่านวิวทิวทัศน์ที่ประกอบด้วยต้นไม้ดอกไม้ริมทาง หรือสวนเล็กๆ ของเพื่อนบ้าน กระทั่งพบเจอสัตว์เลี้ยงอย่างหมาแมวก็ช่วยเสริมสุขภาวะที่ดีได้ มีการศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยในหนานจิง ประเทศจีน ระบุว่า การเดินในระยะเวลานานหรือระยะทางไกลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ถ้าเราเดินอย่างสม่ำเสมอและกลายเป็นกิจวัตรประจำวันต่างหากที่จะช่วยสร้างประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีได้มากกว่าคนที่ไม่เดิน เมืองที่สนับสนุนการเดิน = สนับสนุนสุขภาพจิตที่ดี แม้ไม่ได้เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตโดยตรง แต่ถ้าจะบอกว่าเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการเดินเป็นอีกหนึ่งทางในการสนับสนุนให้คนเมืองมีสุขภาพจิตที่ดีก็คงไม่ผิดเท่าไหร่นัก เพราะดูเหมือนว่าละแวกบ้านจะเป็นสถานที่ที่ดีและง่ายที่สุดสำหรับการเดิน นอกจากจะพาให้เราได้ลดความเครียดด้วยการออกมาเปิดหูเปิดตา สูดลมหายใจ สังเกตสิ่งรอบข้างกว้างๆ แล้ว […]

ให้ ‘หลับ’ เยียวยาใจ ไม่ว่าจะเจอเรื่องหนักหนาอะไรมา การนอนช่วยรักษาและฟื้นฟูอารมณ์ให้ดีขึ้นได้

แต่ละคนมีวิธีการจัดการความเครียดแตกต่างกันออกไป บางคนอาจกินเพื่อคลายเครียด บางคนอาจเลือกเล่นเกมให้ลืมความกดดันที่ต้องเจอ และบางคนอาจเลือกให้การนอนช่วยหยุดความวิตกกังวลนี้ แม้ปกติแล้วเวลาเครียดมากจะทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น และอาจส่งผลให้ฝันร้ายจนนอนไม่เต็มอิ่ม แต่หากเราปล่อยให้ตัวเองเครียดแถมยังไม่ยอมนอน ก็จะทำให้ร่างกายเครียดทับถมมากขึ้นไปอีก แล้วตกลงว่าถ้ากำลังเครียดควรนอนหรือไม่ ‘Matthew Walker’ ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนอนเอาไว้ว่า การนอนหลับลึกจะช่วยลดความวิตกกังวลผ่านการจัดระเบียบในสมองใหม่ เรียกได้ว่าเป็นยาลดความวิตกกังวลตามธรรมชาติที่เราจะได้รับตลอดตราบใดที่นอนหลับทุกๆ คืน เพราะร่างกายของเราใช้เวลาตอนที่นอนหลับปรับสมดุลทางเคมีและชีวภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการลดฮอร์โมนความเครียดและลดระดับฮอร์โมนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในช่วงเวลาที่เรานอนหลับ เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอลหรืออะดรีนาลิน ตามที่ ‘Laura DeCesaris’ แพทย์ด้านเวชศาสตร์สมรรถภาพและผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีได้พูดถึงการนอนหลับเอาไว้ เช่นเดียวกับที่ ‘Bill Fish’ ผู้ให้คำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์การนอนหลับที่มองว่า ช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริงคือการนอนหลับ เพราะในขณะที่เรานอนหลับนั้น ร่างกายและสมองจะได้รับการฟื้นฟูจากการใช้งานมาตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการเติมพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกายซ่อมแซมร่างกายจากอาการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ ผ่านการปล่อยฮอร์โมนให้เนื้อเยื่อใหม่เติบโต สร้างเม็ดเลือดขาวในเซลล์ ช่วยลดอาการเจ็บป่วยของเรา จัดการของเสียในสมอง และเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองแทบจะไม่มีเรื่องเครียดที่กระทบจิตใจให้นึกถึงอีกด้วย การนอนจึงถือเป็นหนทางฟื้นฟูร่างกายที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของสุขภาพกายหรือสุขภาพใจ แต่อย่างไรก็ตาม การนอนหลับที่ว่านั้นไม่ควรเป็นการบังคับให้ตัวเองหลับ เพราะจะยิ่งเป็นการกระตุ้นความเครียด แต่ควรจะหากิจกรรมเบาๆ ทำ เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลงบรรเลง และที่สำคัญคือการงดอยู่กับหน้าจอก่อนนอน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนอนที่มีคุณภาพ สภาพจิตใจที่บอบช้ำจะได้กลับมาสดใสเหมือนเดิม Sources : Baylor […]

จะมีช่วงเวลาไหนเหมาะสมกับการชำระล้างจิตใจตัวเองเท่าช่วงสิ้นปี ชวนมาสำรวจด้านมืดที่แอบอยู่ลึกๆ ในตัวเรากัน

ไม่มีใครอยากยอมรับและสบตาด้านมืดของตัวเองนักหรอก หลายคนอยากจะลบหรือปัดมันออกไปให้ไกลด้วยซ้ำ แต่ความจริงที่ไม่น่าสนุกนักคือ การเปิดประตูสู่ความดาร์กหรือสบตากับด้านมืดของเรา นับเป็นหนึ่งในเส้นทางที่จำเป็นมากๆ ในการทำความรู้จักตัวเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อเริ่มเยียวยาปมปัญหาที่มี หากย้อนไปถึงผู้เริ่มศึกษาด้านมืดของจิตใจมนุษย์ มีจิตแพทย์รุ่นบุกเบิกท่านหนึ่งชื่อ ‘คาร์ล ยุง’ (Carl Jung) เคยอธิบายไว้ว่า เงามืดในจิตใจมนุษย์ (Shadow) เป็นด้านมืดของนิสัยเรา เป็นมวลอารมณ์ด้านลบที่มักจะควบคุมได้ยาก เช่น ความโกรธเกรี้ยว ความอิจฉาริษยา ความละโมบ ความเห็นแก่ตัว ไฟราคะ หรือความกระหายในอำนาจ ประสบการณ์ไหนก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วเราปฏิเสธมัน ไม่ว่าจะมีความคิดต่อสิ่งนั้นว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว น่าขยะแขยง ชั่วร้าย ไม่สามารถให้อภัยได้ หรืออะไรก็ตามที่เรารู้สึกตรงกันข้าม ไม่สามารถไปด้วยกันได้กับสิ่งที่จิตสำนึกของเราเลือกส่งออกมา สิ่งนั้นจะตกไปอยู่ในด้านมืดของเราในที่สุด ‘ควรรู้ด้านมืดของเรา เพื่อตั้งรับให้ทัน’ จัสติน บัลโดนี (Justin Baldoni) คือนักแสดงนำจากหนัง It Ends WIth Us ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) เขาแสดงเป็นคุณหมอหนุ่มรูปหล่อ ผู้ทำร้ายร่างกายและขืนใจภรรยาแม้ว่าจะรักเธอมากก็ตาม จัสตินเล่าว่า ก่อนและระหว่างการถ่ายทำ เขาตั้งใจหาข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงรับฟังประสบการณ์จากเหยื่อ เพื่อจะเข้าถึงบทบาทได้อย่างเต็มที่ “ผมคิดว่าสำคัญมากนะ […]

Hello Stranger คลายข้อสงสัย เหตุใดเราถึงไว้ใจเล่าเรื่องส่วนตัวให้คนแปลกหน้าฟัง

ก่อนจะเริ่มเขียนเรื่องนี้ ผู้เขียนเพิ่งเข้าไปใน TikTok และบังเอิญไปเจอหมอดูคนหนึ่งกำลัง Live เปิดไพ่อยู่ ก็เลยถามคำถามที่อยากรู้กับหมอดู ‘แปลกหน้า’ คนนี้ ซึ่งผู้เขียนไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อเขามาก่อน แต่เราก็ไว้ใจเหลือเกินที่จะให้เขาตอบหน่อยว่า “การเงินเดือนนี้จะเป็นอย่างไรคะ” โชคดีที่เป็นเรื่องเงิน ซึ่งสำหรับตัวผู้เขียนไม่ได้กลัวว่าจะได้ยินอะไรบาดใจ และโชคดีอีกที่คำตอบออกมาในระดับที่พอรับได้ “คุณไม่ต้องกังวลนะคะ มีพอใช้ ไม่ได้เยอะ แต่พอใช้แน่นอน” ตัดภาพมาที่คุณผู้หญิงอีกคนที่ถามคุณหมอดูว่า “สามีกำลังนอกใจอยู่หรือเปล่า” “นอกใจค่ะ เขาไม่ได้มีคุณคนเดียว” หมอดูเปิดไพ่อย่างรวดเร็ว แล้วรีบตอบแบบไม่มีการเกริ่นใดๆ จนถึงตอนนี้ ผู้เขียนก็ยังนึกถึงหญิงสาวคนนั้นอยู่ว่าจิตใจจะเป็นอย่างไรบ้างนะ การทำนายอนาคตคงต้องใช้ศาสตร์เฉพาะ หากต้องการรู้ก็ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์นี้เป็นคนตอบให้ แต่ก็มีหลายเรื่องราวส่วนตัว โดยเฉพาะปัญหาที่มีความซับซ้อนและเจ็บปวดใจ ที่หลายคนไว้ใจให้คนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่ได้สนิท ไม่ได้เข้าใจความเป็นเราขนาดนั้น เป็นผู้รับฟังและช่วยชี้แนะ มอบกำลังใจ อะไรใน ‘ความไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว’ ของคนอื่น ที่ทำให้เราอยากเล่า ‘เรื่องราวส่วนตัว’ ให้ฟังขนาดนี้ เรากับคนแปลกหน้าไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียทางความรู้สึกต่อกัน หลายครั้งหลายคราที่เรามีปัญหาเดิมๆ กับเรื่องเดิมๆ คอยฟังคำแนะนำ (หรือบางครั้งก็เป็นคำบ่น) จากคนที่สนิทกันจนชินชา กลายเป็นการฟังหูซ้ายทะลุหูขวา นั่นทำให้เราไม่มีแรงบันดาลใจมากพอที่จะลุกขึ้นมาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นอยู่ แม้จะไม่ได้ชอบสถานการณ์ตอนนี้มากนักก็ตาม แต่พอได้ฟังคำแนะนำจากคนที่ไม่เคยถามเขามาก่อน กลับรู้สึกเหมือนได้รับมุมมองแปลกใหม่ ไม่เคยลองมองสถานการณ์ที่เป็นอยู่ด้วยเลนส์นี้มาก่อน ราวกับได้รีเฟรช เห็นภาพชัดรอบด้าน […]

ไม่ใช่ทุกคนที่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะภาระที่ล้นตัว ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่อยากเติบโต

“เป็นผู้ใหญ่ ทำไมยากจัง” นี่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดได้ยินคนไข้บ่นให้ฟังบ่อยๆ ในชั่วโมงบำบัด ไม่ว่าจะด้วยความซับซ้อนที่มากขึ้นของความสัมพันธ์ การบริหารการเงิน กระทั่งการผ่านพ้นดราม่าในครอบครัว และในวันนี้ เรื่องที่ผู้เขียนอยากชวนคุยเป็นพิเศษคือ ความยากในการเติบโตด้านอาชีพการงาน ถ้ามาพิจารณาดูมุมมองที่คนแต่ละรุ่นให้ความหมายและคุณค่าแก่การทำงาน ก็ต้องบอกว่า จากบทความของ PubMed Central ได้พูดถึงชาว Gen Z หรือกลุ่มคนที่เกิดในช่วงกลางยุค 90 ไปจนถึงต้นยุค 2010 ไว้อย่างน่าสนใจ คุณลักษณะเด่นของคนกลุ่มนี้คือ มีความมั่นใจในตัวเองและมุ่งมั่นกับงานที่ทำสูง ต้องการจะพุ่งไปถึงงานในฝันให้ได้ และโหยหาโอกาสที่จะเพิ่มทักษะในสายงานที่ตัวเองรัก ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาให้ความสำคัญกับการทำงานที่มีความยืดหยุ่น ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป สุขภาพจิตพวกเขาต้องไหว เพราะชีวิตนอกเหนือจากสถานที่ทำงานก็สำคัญมากสำหรับพวกเขาเช่นเดียวกัน ถ้าคนกลุ่มนี้รู้ตัวว่าไม่ชอบสิ่งที่ทำอยู่เมื่อไหร่ พวกเขาจะเปลี่ยนงานทันที สรุปโดยรวมคือ เป็นกลุ่มคนที่ทุ่มเทให้อาชีพในฝันสุดๆ แต่ก็ชัดเจนในจุดยืนมากเหมือนกันว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ใช่ทางหรือไม่ใช่ที่ของตนแล้ว ก็พร้อมจะเดินจากไปเพื่อตามหาเส้นทางใหม่ที่คู่ควร แต่ในยุคก่อนหน้าชาว Gen Z ที่เป็นคนวัยผู้เขียน หลายคนมักรู้สึกว่า พวกเราคือรุ่นคาบเกี่ยว คือใจหนึ่งก็อยากวิ่งตามฝัน สร้างคุณค่าในงานที่อยากแสดงออกมาให้ทุกคนเห็น แต่อีกใจหนึ่งก็เป็นเดอะแบกซะเหลือเกิน บางคนแบกภาระของครอบครัวในฐานะคนดูแลหลัก ส่วนบางคนแบก ‘ความหวังหรือความกดดัน’ ที่ครอบครัวโยนมาให้เราโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว หรือกระทั่งเรานั่นแหละที่โยนให้ตัวเอง จะเห็นว่าผู้คนรุ่นพวกเรามากมายที่ตั้งใจทำงานจนในที่สุดก็เหมือนจะเดินมาสู่ทางแยก ระหว่างเดินต่อไปให้สุด […]

เมื่อศิลปินที่รักดันไม่เป็นอย่างที่คิด พาไปดูวิธีการรักคนดังยังไงให้เซฟใจตัวเองไปด้วย

‘ถ้าสองคนนี้เลิกกันนะ ฉันจะไม่เชื่อเรื่องความรักอีกแล้ว’ หลายคนน่าจะเคยคิดอะไรแบบนี้ จากการเฝ้ามองคู่รักคนดังที่ตัวเองชื่นชอบ ที่ลุ้นให้พวกเขารักกันยั่งยืน แต่ที่สุดแล้วก็ไปไม่รอดถึงฝั่งฝัน การได้รับรู้ข่าวเลิกราของคู่ที่เราเชียร์มานาน มันบาดใจเหมือนเราเจ็บแทนเขา ทั้งๆ ที่ ก็ไม่มีใครรู้จักชีวิตส่วนตัวของคู่รักคนดังอย่างลึกซึ้งและละเอียดเท่าเจ้าตัวเอง ต่อให้คนดังเหล่านั้นจะเล่าเรื่องความรักของตัวเองออกสื่อบ่อยแค่ไหนก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ดูมีเส้นขีดไว้ชัดเจน แต่ความรู้สึกเราเลยเถิดออกไปได้ยังไง ‘เธอไม่รู้จักเขาจริงๆ ด้วยซ้ำ’ อาจเป็นสิ่งที่คนนอกมองเข้ามา ด้วยความไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของคนคนหนึ่งที่หลงใหลคนดังอย่างหัวปักหัวปำ ทั้งในแง่ตัวตนที่เขานำเสนอออกมา หรือความคิดสร้างสรรค์อันสวยงามจากผลงานของเขา คอยติดตามชีวิตตลอด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็คอยเป็นกำลังใจหรือออกตัวปกป้อง หากศิลปินในดวงใจเจอความทุกข์ ความรู้สึกนั้นก็เสียดแทงใจเหมือนตัวเองเจ็บแทน เว็บไซต์ findapsychologist.org อธิบายความสัมพันธ์พิเศษที่มีชื่อเรียกว่า Parasocial Relationship ว่า เป็นความสัมพันธ์ข้างเดียว ที่คนหนึ่งมอบทั้งพลังงานด้านอารมณ์ ความสนใจ และเวลาให้ โดยที่อีกคนไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของอีกฝ่าย ซึ่งมักเกิดในความสัมพันธ์ที่แฟนคลับมีต่อศิลปินหรือทีมกีฬา อย่างในตอนนี้ อีกหนึ่งกลุ่มคนดังที่หลายคนเลือกมีความสัมพันธ์แบบ Parasocial ด้วยคือนักการเมือง ‘ความคุ้นชิน’ ทำให้เกิดความผูกพัน  เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราผูกพันกับอะไร เมื่อนั้นจะยิ่งทำให้ตนรู้สึกว่า เรารู้จักคนคนนี้หรือสิ่งสิ่งนี้ดีพอ ยกตัวอย่าง พ่อแม่หลายคนที่คิดว่าตัวเองรู้จักนิสัยใจคอหรือความฝันของลูกดี ซึ่งเขาไม่ผิดที่จะคิดอย่างนั้น เพราะอยู่ด้วยกันในบ้านทุกวัน แต่จริงๆ แล้วก็มีอีกหลายเรื่องที่ลูกเลือกจะไม่แสดงออกมาให้พ่อแม่เห็น ไม่ต่างจากศิลปินหรือคนดังที่เราหลงรัก ขนาดตัวอย่างแรกที่ยกมาเมื่อตอนเปิดเรื่อง แม้ตัวเองอาจไม่ได้เป็นแฟนคลับเหนียวแน่น แต่การแค่เห็นใครคนหนึ่งผ่านสื่อบ่อยๆ […]

ในโลกอันแสนโหดร้ายที่ใครๆ ให้ค่าแต่ความสำเร็จ เราจะปล่อยวางยังไง ไม่ให้ปล่อยปละละเลย

ขณะที่โลกแห่งการตื่นรู้เรื่องสุขภาพจิตได้พร่ำบอกทุกคนถึงความสำคัญของการ Slow Down หรือค่อยๆ ทำอะไรให้ช้าลง แต่โลกแห่งความจริงที่หลายคนต้องตรากตรำทำทุกอย่างให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การปั้นชีวิตให้สวยดั่งที่ฝัน หรือความสัมพันธ์ ฯลฯ เราก็ไม่สามารถปรับโหมดเป็น ‘ปล่อยมันไป’ กันได้ง่ายๆ และจะยิ่งกระตุ้นความโมโหทุกครั้ง เวลาได้ยินใครบอกให้ ‘อย่าไปคิดมากกับชีวิตนักเลย’ การเข้าถึงสุขภาวะจิต ไม่ได้แปลว่าเราต้องอยู่ฝั่ง ‘Worry-free’ ไร้ซึ่งความกังวลเสมอไป แต่คือการขับเคลื่อนชีวิตไปเรื่อยๆ อย่างมีสติ รับรู้ถึงทุกอารมณ์ และปล่อยบางอย่างที่ขุ่นมัวหัวใจออกไป ไม่ให้มันมาทำลายเราได้ แล้วเรื่องอะไรบ้างเล่าที่เราควรปล่อยวาง ชวนมาสำรวจพร้อมๆ กันในบทความนี้ โลกไม่ได้จ้องแต่จะทำร้ายเรา แต่เป็นหน้าที่ของเราในการจัดการตนเอง นิสัยหนึ่งที่เป็นอุปสรรคในการมีสุขภาพจิตที่ดีคือ การมองว่าตัวเองคือ ‘เหยื่อ’ ในทุกเหตุการณ์โชคร้ายที่เกิดขึ้นกับเรา  สิ่งนี้ไม่ใช่การปล่อยวาง แต่คือการปล่อยปละละเลยแน่นอน เพราะเราไม่ได้รู้สึกสบายใจขึ้นหลังจากมองตัวเองว่าเป็นเหยื่อ อีกทั้งยังกลับทำให้เราไม่อยากพยายามลองหาทางแก้ไขหรือปรับปรุงชีวิตให้เติบโตและพัฒนาขึ้นจากจุดที่เป็นอยู่ ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้เรารู้สึกไม่มีความสุขกับตัวเอง เพราะเชื่อไปแล้วว่าคนอย่างเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ในส่วนหนึ่งก็จริง มีหลายสิ่งที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่เราทุกคนมีความสามารถที่จะทำชีวิตให้ดีขึ้นหรือสุขขึ้นได้เสมอ เช่น ถ้าเราโดนไล่ออกจากงานที่รักและทุ่มเทอย่างเต็มที่ มันไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย เราโมโหโวยวายกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่หลังจากนั้นมันก็อยู่ในอำนาจของเราเช่นกัน ที่จะเลือกเดินต่อไปในชีวิตยังไง จะพยายามหางานใหม่ ที่แม้ไม่ได้เป็นงานที่รักเหมือนเดิมแต่ก็พอเลี้ยงตัวเองอยู่รอด หรือจะจมอยู่ที่เดิม ยอมแพ้กับชีวิต และเอาแต่จ้องจับข้อเสียของโลกใบนี้ที่เกิดกับเรา เพื่อนำมาเป็นบทสรุปให้ชีวิตตัวเองว่า […]

‘Monsoon Blues’ รู้จักความเศร้าที่มากับฝน ทำให้คนหมดไฟ ไม่อยากทำงาน

‘วันนี้ฝนตกไม่อยากทำงานเลย ถ้าได้นอนบนเตียงทั้งวันก็คงดี’ เชื่อว่าหลายคนต้องเคยรู้สึกหมดพลัง ไร้เรี่ยวแรง ไม่อยากทำอะไร ในเวลาที่มองออกไปนอกหน้าต่างแล้วเจอฝนตก โดยเฉพาะคนทำงานที่ต้องเผชิญปัญหาการจราจรระหว่างเดินทาง กว่าจะถึงที่หมายต้องเจอทั้งการยืนเบียดกันบนขนส่งสาธารณะ ความหนาแน่นของรถบนท้องถนน และฝนที่โปรยลงมาพาให้ป่วยกายง่ายๆ อุปสรรคที่มากับฝนทำให้แต่ละวันของมนุษย์เงินเดือนที่เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้วต้องลำบากกว่าเดิมหลายเท่า ความรู้สึกเหนื่อยล้าสะสมเหล่านี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้บางคนมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง เขาว่าฝนนั้นทำให้คน ‘เฉื่อย’ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาพร้อมเมฆฝนและฟ้าครึ้ม ทำให้เช้าที่สดใสของเรากลายเป็นวันที่หม่นหมอง การขุดตัวเองขึ้นจากเตียงกลายเป็นเรื่องยาก เกิดเป็นอารมณ์ความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำอะไรตลอดวัน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนนี้เรียกว่า ‘Monsoon Blues’ คล้ายกับ ‘Winter Blues’ ในเมืองหนาวที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ท้องฟ้ามืดเร็ว ไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรได้มากนัก ส่งผลให้คนรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการใช้ชีวิต ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล’ หรือ ‘Seasonal Affective Disorder (SAD)’ เช่นเดียวกับความรู้สึกเศร้าซึมในฤดูฝน ที่เกิดขึ้นจากความอึมครึมของก้อนเมฆช่วงที่ฝนตกไปบดบังแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ส่งผลกระทบต่อระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของร่างกาย หรือ ‘นาฬิกาชีวภาพ’ (Biological Clock) ซึ่งสัมพันธ์กับเวลากลางวันและกลางคืนตามธรรมชาติ ทำให้การหลั่ง ‘เซโรโทนิน’ (Serotonin) สารสื่อประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้รู้สึกขุ่นมัว และฮอร์โมน ‘เมลาโทนิน’ (Melatonin) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนอนหลับเพิ่มขึ้น จึงทำให้รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน […]

‘อยู่กันดีๆ ให้ได้ได้ไหม’ จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวใหญ่อย่างไรให้สงบสุข ในยุคที่ใครก็ไม่เข้าใจกัน

เวลาพูดถึงจุดร่วมของ ‘สังคมไทย’ หลายครั้งภาพที่ฉายออกมาคือการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ภายในรั้วบ้านหลังคาเดียวกันจะมีสมาชิกอยู่หลากรุ่น หลายเครือญาติ ใครที่มีรูปแบบครอบครัวเช่นนี้ คงจะคุ้นเคยกับความสนุกสนาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสนิทสนมอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ความบาดหมางและความเจ็บปวดใจที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารในครอบครัวใหญ่ ก็เป็นความทุกข์ที่หลายครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ซับซ้อนและตีกันวุ่นไปหมด ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และเงื่อนไขชีวิตที่หลายคนเลือกมีพื้นที่ของตัวเองด้วยการย้ายออกมาอยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยจัดการสภาพจิตใจต่อความกระอักกระอ่วนที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในครอบครัว ไม่มีใครเป็นตัวเอก ไม่มีใครเป็นตัวร้าย แต่เราแค่มาจากหนังคนละเรื่องกัน หลายครั้ง ความไม่ลงรอยกันภายในครอบครัวใหญ่ มักเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่พร้อมเปิดใจรับฟัง ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกได้รับการเห็นค่าจากคนที่รัก โดยเฉพาะญาติอาวุโสที่ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานเท่าไหร่ ยิ่งง่ายที่จะยึดมั่นทั้งความเชื่อและแบบแผนการใช้ชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าถูก ผ่านการเลี้ยงดูและคำสอนจากคนรุ่นอาวุโสกว่าพวกเขามาอีกที คุณค่าบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญ แม้ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัวพบบ่อยในชั่วโมงบำบัด คือการที่คนรุ่นพ่อแม่หรือบางครั้งก็เป็นรุ่นปู่ย่าตายายเลยด้วยซ้ำ พยายามพร่ำบอกให้ลูกหรือหลานตัวเองยึดแนวทางการใช้ชีวิตให้เหมือนเขา เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นนำพาความสำเร็จและชีวิตที่สุขสบายมาให้ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ว่า หนึ่งในนั้นคือ ‘ความอดทน’ ไม่ว่าจะทั้งทางกายหรือใจ การพร่ำบอกให้อดทนต่องานที่ทำ ทำไมถึงบ่นกับเรื่องแค่นี้ ทำไมถึงไม่หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มในเวลาว่าง ทำไมหยุดงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยจัง หรือการบอกให้อดทนต่อความรู้สึก เช่น เรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องไห้ เรื่องมันเกิดมานานแล้ว ทำไมยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่ได้ ทะเลาะกันแค่นี้ ทำไมเลือกที่จะหย่า ฯลฯ แน่นอนว่าความเจ็บปวดเป็นเรื่องปัจเจก สิ่งที่ทำให้อารมณ์แต่ละคนสั่นสะเทือนล้วนมีหน้าตาต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ก็ตาม การปฏิเสธความรู้สึกของใครคนหนึ่งยิ่งสร้างความห่างเหินในใจ […]

‘ไม่ยาก ถ้าไม่อยากเป็นคน Toxic’ ขอโทษให้เป็น เยียวยาใจ และเตือนตัวเองให้อย่าเผลอไปทำร้ายใจใครอีก

หนึ่งคำพูดอันทรงพลังเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่เราเคยได้ยินคือ “Hurt people, hurt people.” อธิบายคือ คนที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เขาเจ็บปวดมา หากเขากอดความปวดร้าวนั้นไว้แน่นกับตัว ไม่ช้าก็เร็ว เขาต้องส่งความเจ็บปวดนี้ให้คนอื่นอีก และประโยคที่ตามมาจากประโยคแรกคือ “Healed people, heal people.” ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเจ็บปวดมาแค่ไหน หากเขาคนนั้นเลือกที่จะเดินเข้าสู่หนทางแห่งการเยียวยาจิตใจ ไม่ช้าก็เร็ว แรงกระเพื่อมของการอยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อคนรอบข้างให้อยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามได้แน่นอน แต่ถ้า Hurt People (คนที่เจ็บปวด) ไม่ได้เจ็บปวดจากการที่คนอื่นทำตัวเองเจ็บ แต่เจ็บปวดจากการทำให้คนอื่นเจ็บแล้วรู้สึกแย่มากๆ หลังจากนั้นแทนล่ะ ความรู้สึกที่เหมือนตัวเองเป็นตัวร้ายนี้จะ Heal (เยียวยา) อย่างไรดี หาต้นตอที่ทำให้เราเจ็บปวด เพื่อรีบออกจากวงจรการเผลอเป็นคน Toxic แทบทุกคนที่เคยทำตัวไม่น่ารักใส่ใคร มักเคยมีคนมาทำให้เจ็บก่อน ไม่ว่าคนคนนั้นจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่นี่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่อนุญาตให้เราสมควรส่งต่อความเจ็บนี้กระจายสู่คนอื่นไปเรื่อยได้ มีช่วงหนึ่งที่ผู้เขียนเคยมีเรื่องผิดใจกับแม่ รู้สึกเจ็บใจที่ไม่น่าเล่าเรื่องส่วนตัวให้เขาฟัง ปนกับความน้อยใจที่คาดหวังไปเองว่าแม่น่าจะเข้าใจฉันมากกว่านี้ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญแม่อยู่เสมอ ซึ่งก็มาจากก้อนความเศร้าที่ต่างคนต่างผิดหวังในกันและกันจากความเชื่อในการใช้ชีวิตบางอย่างที่ไม่ตรงกัน จึงเกิดเป็นถ้อยคำทำร้ายจิตใจกัน แต่ก็เป็นตัวผู้เขียนเองที่ไม่ยอมสลัดความเจ็บนี้ออกจากใจ เลือกที่จะแบกไว้ เพราะหวังเองอยู่ลึกๆ ว่าแม่ต้องเข้าใจความเจ็บปวดนี้บ้าง ซึ่งวิธีจัดการความเจ็บในใจโดยการปักธงอยากจะลงโทษทางอารมณ์คนที่ทำให้เจ็บนั้น ก็เป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก เพราะทุกครั้งที่เราโฟกัสกับความเจ็บที่เรารู้สึกจากเขา และพยายามจะส่งก้อนความเจ็บนี้กลับไปให้เขา กลายเป็นเราเองนั่นแหละที่เจ็บในใจกว่าเหลือเกิน สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นคือ เราหงุดหงิดและรำคาญแม่แทบทุกเรื่องที่เขาทำ […]

1 2 3 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.