‘บางจาก’ ส่งต่อความเข้าใจเรื่องการเดินทางด้วยพลังงานสะอาด ผ่านงานสัมมนา ‘Greenovative Forum 2023: Regenerative Fuels Sustainable Mobility’

การเดินทางด้วยพาหนะต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ปัจจุบันจึงมีทางเลือกมากมายในการเดินทางที่ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิง ซึ่งเป็นพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งต่อความเข้าใจถึงการพัฒนาชีวิตแห่งอนาคตบนความยั่งยืนให้ทุกภาคส่วน ‘บางจาก’ ได้จัดงานสัมมนา ‘Greenovative Forum 2023: Regenerative Fuels Sustainable Mobility’ ชวนทุกคนมาร่วมพูดคุยและทำความเข้าใจถึงการเดินทางด้วยพลังงานสะอาด หวังสร้างความเป็นมิตรให้สิ่งแวดล้อม และรักษาความสะอาดให้โลกเราเดินหน้าต่อไปได้ การเดินทางและการขนส่งยังมีความต้องการใช้เชื้อเพลิงอย่างมาก ซึ่งเชื้อเพลิงที่จะตอบโจทย์การเดินทางอย่างยั่งยืน คือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Regenerative Fuels ที่เป็นโมเลกุลสะอาด ไม่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ  แต่สำหรับ ‘การบิน’ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรูปแบบสำคัญของการเดินทาง ขนส่ง ยังไม่สามารถใช้แบตเตอรี่มาทดแทนการใช้น้ำมันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักมาก ทำให้ต้องหาเชื้อเพลิงอื่นสำหรับการเดินทางในภาคการบิน ดังนั้น เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF จึงเป็นทางเลือกพลังงานที่จะตอบโจทย์ ในปัจจุบันหลายสายการบินจะมีการแจ้งปริมาณ Carbon Emissions ของแต่ละเที่ยวบิน เพื่อเป็นทางเลือกในการช่วยลดคาร์บอนแก่ผู้โดยสาร แต่นั่นยังไม่ใช่ทางเลือกที่จะช่วยลดการปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศได้มากเท่าไรนัก แถมบางเที่ยวบินยังมีราคาสูงจนอาจทำให้หลายคนไม่สามารถเข้าถึงการโดยสารรูปแบบนี้ได้ แน่นอนว่าจากธุรกิจการท่องเที่ยวที่ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทิศทางของธุรกิจการบินยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เหล่าองค์กรจากหลายประเทศที่ตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงมองหาช่องทางในการลดปริมาณคาร์บอน เพื่อช่วยให้การเดินทางด้วยเครื่องบินสะอาดขึ้น ทั้งยังเป็นการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2030 […]

‘GINLEE Studio’ แบรนด์แฟชั่นจากสิงคโปร์ที่ผลิตสินค้าไปพร้อมๆ กับลดขยะให้โลก

เมื่อพูดถึง ‘สิงคโปร์’ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเมืองสีเขียวหรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่น้อยคนนักที่จะนึกถึง ‘แฟชั่น’ อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่โดดเด่นของสิงคโปร์ เพราะความจริงแล้วสิงคโปร์เองก็มีแบรนด์แฟชั่นโลคอลที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ‘GINLEE Studio’ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แถมยังเป็นแบรนด์ที่บุกเบิกให้วงการแฟชั่นในสิงคโปร์มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านการดำเนินงานและความร่วมมือจากลูกค้าของแบรนด์ Urban Creature มีโอกาสไปร่วมลองทำกระเป๋ากับ GINLEE Studio ที่สิงคโปร์ จึงอยากชวนให้ทุกคนได้ทำความรู้จักแบรนด์นี้กันมากขึ้น เผื่อว่ามีโอกาสจะได้แวะไปสัมผัสกับประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบใหม่ที่สิงคโปร์กัน GINLEE Studio แบรนด์แฟชั่นที่โฟกัสความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม GINLEE Studio ก่อตั้งโดย ‘Gin Lee’ แฟชั่นดีไซเนอร์ชาวสิงคโปร์ และ ‘Tamir Niv’ นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวอิสราเอล โดยธุรกิจนี้เริ่มต้นในปี 2011 ที่ประเทศอิสราเอล ก่อนจะย้ายมาเปิดธุรกิจที่ประเทศสิงคโปร์ในปี 2020 Tamir บอกกับเราว่า ในฐานะผู้ผลิตสินค้าแฟชั่น ทางแบรนด์เข้าใจดีว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นสร้างขยะมากแค่ไหน เช่นเดียวกับแบรนด์เสื้อผ้าอื่นๆ ก่อนหน้านี้ GINLEE เองก็ผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก แต่จำนวนของคนซื้อนั้นกลับน้อยกว่าสินค้าที่ผลิตออกมา ทำให้สินค้าเหล่านั้นต้องเปลี่ยนมูลค่าจากแฟชั่นกลายเป็นขยะ ทำให้แบรนด์ตระหนักถึงปริมาณขยะที่เกิดจากการผลิตสินค้ามากเกินไป จึงตัดสินใจลดการผลิตลงเหลือแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อควบคุมการผลิตให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม  โดย […]

Sustainable Tourism Goals เปลี่ยนการท่องเที่ยวไทยให้สนุกและยั่งยืน กับแคมเปญ ‘STGs เที่ยว 4 ดี’

การท่องเที่ยวของคนยุคนี้ไม่ได้นึกถึงแค่ความสนุกและความสวยงามของจุดหมายปลายทางเหมือนแต่ก่อนแล้ว เพราะการพักผ่อนหย่อนใจที่ได้มาต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดีต่อโลกของเราด้วย ข้อมูลจาก World Travel & Tourism Council ปี 2023 เปิดเผยว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ช่วยยืนยันว่า ‘การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน’ (Sustainable Tourism) ได้กลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ การรณรงค์การท่องเที่ยวที่แคร์สิ่งแวดล้อมจึงถือเป็นความท้าทายที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อพาประเทศไทยก้าวสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอันดับต้นๆ ของโลกให้ได้ นี่คือเหตุผลที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำหนดเป้าหมายที่จะยกระดับและสร้างมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ‘Sustainable Tourism Goals: STGs’ และจัดทำโครงการ ‘STGs เที่ยว 4 ดี ดีต่อโลก ดีต่อเรา’ ขึ้นมา แคมเปญนี้จะช่วยสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร คอลัมน์ Green Insight ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนด้วยแนวคิด STGs การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษให้กับโลกของเราไม่น้อย เพราะมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) ราว 8 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากทั่วโลก โดยปริมาณหลักๆ มาจากการเดินทาง การบริโภคสินค้าและบริการ ซึ่งรวมถึงอาหารและที่พัก เพื่อทำให้ประเทศไทยพร้อมเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน […]

ถอดแนวคิด “เมืองคาร์บอนต่ำ” ชั้นนำเอเชีย ทำอย่างไรให้ชีวิตดี กู้โลกเดือดด้วย?

เมื่อวิกฤต “โลกร้อน” รุนแรงขึ้นเป็น “โลกเดือด” ยังมีสัญญาณที่ดีที่หลายประเทศเริ่มหาวิธีเปลี่ยนให้ ‘เมือง’ ศูนย์รวมของผู้คนและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยแก้วิกฤตดังกล่าว พร้อมทำให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้ ด้วยแนวคิดการพัฒนา ‘เมืองคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon City)’ ซึ่งหมายถึง เมืองที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สาเหตุสำคัญของภาวะโลกเดือด ไม่ว่าจะมาจากกิจกรรมของภาคธุรกิจหรือการใช้ชีวิตของผู้คน วิธีการสร้าง ‘เมืองคาร์บอนต่ำ’ ทำได้หลากหลาย แต่ต้องอาศัยการ “ร่วม-เร่ง-เปลี่ยน” ด้วยกัน ตั้งแต่ ‘ภาครัฐ’ ที่ต้องออกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม วางผังเมืองที่เอื้อให้คนเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยมีระบบขนส่งสาธารณะครอบคลุม หรือสร้างแรงจูงใจให้คนเลือกอุปโภคบริโภคได้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ‘ภาคเอกชน’ ที่ต้องใช้หลัก ESG (Environmental, Social, Governance) ดำเนินธุรกิจ เช่น ลงทุนในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ ก่อสร้างโดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือเพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและยั่งยืน รวมทั้ง ‘ประชาชน’ ที่ต้องตระหนักรู้และมีส่วนร่วมลดการสร้างคาร์บอนในชีวิตประจำวัน ภายในงาน ‘ESG Symposium 2023 : ร่วม เร่ง เปลี่ยน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ’ ที่ SCG และพาร์ทเนอร์หลายภาคส่วนจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผู้นำจากหลายประเทศชั้นนำในเอเชียมานำเสนอวิธีการสร้าง ‘เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ’ ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่ง Urban Creature […]

8 วิธีที่ทำให้การอยู่อาศัยในคอนโดฯ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน

คนเมืองยุคนี้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มักอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น เนื่องจากทำเลตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ตอบโจทย์การเดินทาง สะดวกสบาย ดูแลง่าย และมีราคาที่จับต้องได้มากกว่าการซื้อบ้านเป็นหลัง แต่พอเป็นคอนโดฯ ที่มีพื้นที่จำกัด ก็อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยทำอะไรกับพื้นที่ห้องไม่ได้มากนัก ไม่เหมือนกับบ้านที่เราอาจตกแต่ง ปรับแต่ง หรือเพิ่มเติมส่วนสีเขียว เพื่อทำให้ที่อยู่อาศัยมีชีวิตชีวา เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถึงอย่างนั้น การอยู่อาศัยในคอนโดฯ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะกรีนไม่ได้ เพราะยังมีอีกหลายวิธีให้เราปรับเปลี่ยนหรือเสริมนิดๆ หน่อยๆ เพื่อทำให้ห้องเล็กๆ ของเราดีต่อใจ ร่างกาย และสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนหลอดไฟเป็นไฟ LED ไฟ LED มีข้อดีกว่าหลอดไส้ทั่วไป เนื่องจากใช้พลังงานต่ำกว่ามากสุดถึง 70 เปอร์เซ็นต์ อายุการใช้งานทนทานถึง 20 ปี มีขนาดเล็กและสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย จึงเหมาะกับการเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายๆ ในคอนโดฯ ของเรา ตกแต่งคอนโดฯ ด้วยวัสดุเหลือใช้ ทุกคนน่าจะเคยได้รับของตกทอดมาจากปู่ย่าตายาย หรือมีเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ได้ใช้หรือไม่อินแล้ววางอยู่ แต่ไม่รู้จะทำยังไง แทนที่จะใช้เฟอร์นิเจอร์และสิ่งของประดับที่ซื้อใหม่มาตกแต่งบ้าน ลองเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นแทน หรือถ้าไม่สปาร์กจอย จะลองทาสีตกแต่งเพิ่มเติมให้ดูสนุกสนานและใหม่ขึ้น เพื่อช่วยลดของเสียที่จะถูกทิ้งในกองขยะ และยังเป็นการเพิ่มอายุการเก็บรักษาของวัสดุเหล่านี้ อีกทั้งการใช้ของเก่ามาตกแต่งจะช่วยเพิ่มกลิ่นอายการตกแต่งที่น่าสนใจให้ห้องหับของเราได้ ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ แน่นอนว่าพฤติกรรมรักโลกที่ทำได้ง่ายๆ ที่บ้านที่คนนึกถึงเป็นอย่างแรกๆ คือ การกินอาหารออร์แกนิก […]

ดอกไม้จากธรรมชาติ อาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเสมอไป

‘ดอกไม้’ เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายหลากหลายและแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท จึงมักถูกนำมาใช้ในโอกาสสำคัญและเทศกาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี แสดงความรัก ให้เป็นของขวัญ หรือแม้แต่การมูเตลูเองก็ต้องใช้ดอกไม้ในการกราบไหว้ขอพรด้วยเหมือนกัน แต่หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่า ดอกไม้แสนสวยเหล่านี้คือตัวการที่ทั้งสร้างขยะและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพราะถึงแม้ว่าผลผลิตจากธรรมชาติเหล่านี้จะย่อยสลายกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติได้ด้วยตัวเอง แต่กว่าจะถึงเวลาย่อยสลายนั้น ทั้งดอกไม้และขยะจากดอกไม้กลับสร้างมลพิษที่ค่อยๆ ทำลายสิ่งแวดล้อม ดอกไม้สร้างมลพิษ ในบางภูมิประเทศไม่สามารถปลูกดอกไม้บางประเภทได้ ทำให้ต้องอาศัยการขนส่งดอกไม้ทางไกลทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งในกระบวนการขนย้ายนั้นจำเป็นต้องใช้การทำความเย็นเพื่อรักษาความสดใหม่ของดอกไม้เอาไว้ แม้ว่าตัวดอกไม้จะไม่ได้ปล่อยมลพิษออกมาโดยตรง แต่ไม่ว่าจะเป็นพาหนะอย่างเครื่องบิน รถยนต์ หรือเครื่องทำความเย็นจากการขนส่งนั้น ต่างก็มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมออกมา ไม่ใช่แค่การขนส่งดอกไม้ข้ามพื้นที่เท่านั้นที่ปล่อยของเสียซึ่งไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่การสะสมของดอกไม้สดที่รอวันย่อยสลายเอง เมื่อถูกทับถมกันเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นขยะอินทรีย์นั้น ก็ยังเป็นแหล่งผลิตก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่าเลยทีเดียว หรือในประเทศอินเดียที่มักใช้ดอกไม้ในการสักการบูชาเทพเจ้า ซึ่งตามความเชื่อแล้ว ดอกไม้ที่นำไปบูชาไม่สามารถทิ้งลงถังขยะได้ สุดท้ายจึงถูกนำไปคืนสู่ธรรมชาติด้วยการปล่อยลงแม่น้ำสายใหญ่ โดยที่เราไม่รู้เลยว่าในดอกไม้แต่ละดอกนั้นมียาฆ่าแมลงและสารเคมีตกค้างอยู่มากเท่าไหร่ และสารเคมีเหล่านั้นจะแพร่กระจายอยู่ในแหล่งน้ำที่ผู้คนนำน้ำมาใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นอันตรายต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและชีวิตของประชาชนในประเทศอีกด้วย เปลี่ยนขยะจากดอกไม้ให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง การจะห้ามใช้ดอกไม้เพื่อลดการสร้างขยะอาจเป็นไปได้ยาก แต่หากมีวิธีลดขยะดอกไม้ลงได้บ้าง ก็อาจจะช่วยรักษาความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมไปได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นจึงมีธุรกิจที่ยังมองเห็นถึงความสำคัญของดอกไม้ไปพร้อมๆ กับการหาทางแก้ไขปัญหาขยะดอกไม้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการรีไซเคิลและการอัปไซเคิลด้วยการเปลี่ยนดอกไม้ที่ดูเหมือนจะนำไปใช้งานต่อไม่ได้แล้วให้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง อย่างในประเทศอินเดียที่ในแต่ละปีมีจำนวนดอกไม้หลายล้านตันจากการบูชาเทพเจ้า และกลายเป็นมลพิษทางน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ก็มีธุรกิจอย่าง ‘Phool.co’ ที่นำขยะดอกไม้เหล่านั้นมารีไซเคิลใหม่ให้กลายเป็นธูปหอม กระดาษ และสีน้ำ ทำให้ช่วยลดดอกไม้ที่กำลังจะถูกทิ้งไปได้ในปริมาณมาก และยังช่วยลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ในทางชีวภาพได้ด้วย หรือในประเทศไทยเองก็มีร้านดอกไม้อย่าง ‘Flower in […]

‘Hangles’ ศูนย์รวมเสื้อผ้ามือสองที่อยากให้ทุกคนรักโลกไปพร้อมๆ สนุกกับการแต่งตัว

หลายคนประสบปัญหาเปิดตู้เสื้อผ้ามาแต่ไม่มีอะไรจะใส่ ทำให้ต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่อยู่ตลอด จนกลายเป็นว่ามีเสื้อผ้ามากมายล้นตู้ เพราะบางตัวใส่ไปแค่ครั้งเดียว บางตัวซื้อมาแค่ลองใส่ บางตัวใส่จนเบื่อ หรือบางตัวเก็บเอาไว้นานจนลืมไปแล้วว่าเคยมี แต่จะให้ทิ้งเสื้อผ้าเหล่านั้นไปเฉยๆ ก็รู้สึกเสียดายเงินทองที่จ่ายไปจำนวนไม่น้อย ทว่าจะให้รวบรวมไปวางขายก็อาจไม่ได้มีเวลาขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงอยากพาทุกคนมารู้จักกับ ‘Hangles’ ตัวกลางการโละตู้ที่ทำให้เราไม่ต้องหอบเสื้อผ้าไปหาสถานที่ขาย ไม่ต้องเปิดโซเชียลมีเดียใหม่ทำเป็นร้านค้า แค่เข้าไปขายหรือตามหาเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นมือสองได้ง่ายๆ ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน Hangles เกิดขึ้นเมื่อสามปีก่อนจากความสนใจด้านแฟชั่น ความยั่งยืน และการทำธุรกิจสตาร์ทอัพของสองพี่น้อง ‘ลูกน้ำ-เพ็ญพิชชา สันตินธรกุล’ และ ‘นุ่น-พิชชาธร สันตินธรกุล’ โดยทั้งคู่เริ่มต้นทำตลาดนัดออนไลน์แห่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางให้ใครที่อยากโละตู้เสื้อผ้าได้นำสิ่งของของตัวเองเข้ามาหมุนเวียนแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ ผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อส่งต่อสินค้าเหล่านั้นให้ได้กลับมาใช้งานอีกครั้ง นอกจากนี้ พวกเธอยังอยากให้ทุกคนที่ซื้อสินค้าต่อจากแพลตฟอร์มนี้ได้สนุกกับแฟชั่นโดยยังคงให้ความสำคัญกับความยั่งยืนไปด้วย ศูนย์รวมเสื้อผ้ามือสองที่เปิดพื้นที่ให้คนมาส่งต่อของให้คนที่สอง สาม สี่ จุดเริ่มต้นของ Hangles เกิดขึ้นจากปัญหาที่สาวๆ หลายคนต้องประสบพบเจอ นั่นคือ ปัญหาเสื้อผ้าล้นตู้ที่มีเยอะจนไม่รู้จะไปเก็บไว้ที่ไหน หรือบางตัวก็ลืมไปแล้วว่าเคยมี ซึ่งสองพี่น้องลูกน้ำกับนุ่นก็เคยเป็นหนึ่งในนั้น แน่นอนว่าทั้งคู่ชอบแต่งตัวและเป็นสายแฟชั่นอยู่แล้ว ทว่าในช่วงที่นุ่นไปเรียนต่อต่างประเทศ เธอเริ่มมีความสนใจและศึกษาเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) อย่างจริงจัง ประกอบกับพี่สาวอย่างลูกน้ำเองก็มีความสนใจในการทำสตาร์ทอัพ นั่นจึงทำให้สองพี่น้องนำความสนใจทั้งสามอย่างมาประกอบร่างเข้าด้วยกัน และกลายมาเป็น Hangles แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าแฟชั่นมือสองทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าอย่างในตอนนี้ “การใช้สินค้ามือสองมีส่วนช่วยอุตสาหกรรมแฟชั่นตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือ ลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตเสื้อผ้าใหม่ […]

O’right แบรนด์ความงามจากไต้หวันที่มีส่วนช่วยดูแลโลก จนได้การรับรอง Zero Carbon เป็นแบรนด์แรก

ปัจจุบันองค์ประกอบของการมองหาผลิตภัณฑ์ความงามสักแบรนด์ แค่ใช้แล้วผิวรอดผมสวยคงไม่พอ แต่ต้องพาโลกของเรารอดไปพร้อมๆ กันด้วย ทุกวันนี้คนไทยอาจคุ้นหูกับคำว่า ‘Zero Carbon’ ที่หมายถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์กันมากขึ้นผ่านงานประชุมใหญ่อย่าง COP26 และ COP27 ที่ผ่านมา แต่ใครจะรู้ว่า คำว่า Zero Carbon ที่พูดถึงกันไม่ใช่แค่ภาพใหญ่ที่ขับเคลื่อนเฉพาะภายในภาครัฐหรือองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะสำหรับวงการผลิตภัณฑ์ความงามเองก็มีหลากหลายแบรนด์ที่พยายามทำผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการผลิตให้ได้มากที่สุดเพื่อช่วยโลกของเรา คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปรู้จักกับ ‘O’right’ แบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงามจากประเทศไต้หวันที่มีส่วนผสมเป็นออร์แกนิกและวีแกนแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แถมยังได้รับการรับรองว่าเป็นแบรนด์แรกที่ Zero Carbon ตั้งแต่ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงกิจกรรม CSR แนวคิด ‘สีเขียว’ O’right เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและความงามสัญชาติไต้หวันที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพของผู้คน และดีต่อสุขภาพของโลกไปพร้อมๆ กัน ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารเคมี ‘Steven Ko’ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง O’right มีความตั้งใจในการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของทุกคนให้เป็นมิตรกับโลกมากขึ้น โดยเขามองว่าสิ่งที่จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้คือ การมุ่งไปสู่การเป็น Zero Carbon นั่นเอง ปณิธานนี้สะท้อนตั้งแต่ในโลโก้ของแบรนด์ O’right […]

Wastic Thailand แบรนด์แว่นตากันแดดอัปไซเคิลที่เชื่อว่าเรามีไลฟ์สไตล์ชิกๆ ได้พร้อมกับการช่วยโลก

Wastic Thailand คือแบรนด์สินค้าอัปไซเคิลจากขยะพลาสติกที่อยากหลุดออกจากกรอบเดิมๆ ของสินค้ารักษ์โลก ตั้งแต่ชื่อ Wastic ที่มาจากคำว่า Waste กับ Plastic ตั้งใจให้อ่านออกเสียงว่า วาส-ติก ไม่ใช่ เวส-ติก เพราะไม่อยากให้ลูกค้านึกถึงภาพขยะเมื่อได้ยิน นอกจากชื่อ ผู้ก่อตั้งทั้ง 4 อย่าง กมลชนก คล้ายนก, รสลิน อรุณวัฒนามงคล, สินีนาฏ จารุวาระกูล และ อริสรา พิทยายน ยังเชื่อว่า สินค้ารักษ์โลกไม่จำเป็นต้องมีดีไซน์เรียบง่ายหรือดูออกว่าทำจากวัสดุอะไรเสมอไป แต่สามารถชิกได้ เปรี้ยวได้ เป็นสินค้าที่ให้สายแฟฯ สวมใส่ในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ แว่นกันแดดของ Wastic คือตัวอย่างที่ยืนยันความเชื่อนั้นได้ดี ซึ่งก็ไม่ได้สักแต่ว่าจะดีไซน์ให้เก๋ไก๋ แต่สินค้าตัวแรกของพวกเธอยังสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ในตัวมันเอง อย่างสีทั้ง 3 ของตัวแว่นกันแดดเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจากบรรยากาศของทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกมากที่สุด คอลัมน์ Sgreen คราวนี้ ชวนคุณไปคุยกับกมลชนก หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ ฟังเธอเล่าเบื้องหลังการคิดค้นสินค้าที่เลอค่าทั้งรูปลักษณ์และเป้าหมาย ขั้นตอนกว่าจะเป็นแว่นกันแดดอันแรก ไปจนถึงความเชื่อที่ว่าสินค้าอัปไซเคิลก็ชิกได้ ใส่แล้วไม่อายใคร From Plastic to […]

Idol Ambassador ไม่ได้สร้างมูลค่าให้แค่แบรนด์ แต่ยังส่งเสริมสังคมวัตถุนิยมในเกาหลีใต้

ที่ผ่านมา ‘วงการเคป็อป’ และ ‘สินค้าแบรนด์เนม’ แทบจะกลายเป็นของคู่กันมาตลอด เหล่าแฟนคลับล้วนต้องติดตามแฟชั่นของศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นสนามบิน แฟชั่นในงานอีเวนต์ หรือกระทั่งแฟชั่นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานเพลง เพราะอยากรู้ว่าแบรนด์ไหนน่าทำความรู้จัก หรือมีสินค้าอะไรให้ซื้อใช้ตามศิลปินคนโปรดได้บ้าง ยิ่งในช่วงหลังๆ มานี้ เรามักเห็นแบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ทำการตลาดโดยเลือกใช้ศิลปินเกาหลีในฐานะ ‘แบรนด์แอมบาสเดอร์’ (Brand Ambassador) เพื่อเป็นตัวแทนโปรโมตสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เพื่อขยายฐานผู้บริโภคที่มากกว่าแค่กลุ่มคนที่ชื่นชอบแฟชั่น นั่นคือเหล่าแฟนคลับและผู้ติดตามวงการเคป็อปที่ส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางขึ้นไป ส่งผลให้มูลค่าการจับจ่ายสินค้าแบรนด์เนมในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะอันดับสูงที่สุดของโลก แน่นอนว่าเม็ดเงินปริมาณมหาศาลที่เพิ่มขึ้นนี้คือผลประโยชน์ที่แบรนด์ต่างๆ ได้รับโดยตรง แต่ในขณะเดียวกัน การจับจ่ายใช้สอยสินค้าราคาแพงอาจเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมวัฒนธรรมวัตถุนิยมในประเทศเกาหลีให้เพิ่มมากขึ้น เพราะแฟนคลับย่อมอยากใช้สินค้าแบบเดียวกับศิลปินที่ชอบ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นแฟนคลับและแสดงออกถึงฐานะทางสังคม จนบางครั้งอาจกลายเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ มากกว่าจะเป็นสินค้าที่ซื้อมาเพราะชื่นชอบหรือใช้งานจริงๆ ‘เกาหลีใต้’ ประเทศแห่งวัตถุนิยม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘เกาหลีใต้’ คือประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของ ‘บิวตี้สแตนดาร์ด’ (Beauty Standard) ที่ผู้คนต้องสวยหล่อตรงตามมาตรฐานที่สังคมกำหนดไว้ ไปจนถึงเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับต่างๆ ที่อย่างน้อยต้องมีสักชิ้นที่เป็นสินค้าจากแบรนด์หรูแบรนด์ดัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ตัวเอง เพราะคนเกาหลีจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าสินค้าเหล่านี้เป็นเสมือนใบเบิกทางที่จะช่วยให้พวกเขามีตัวตนในสังคมมากขึ้น จากค่านิยมนี้ ส่งผลให้สังคมเกาหลีใต้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ค่อนข้างยกย่องเชิดชูคนที่มีภาพลักษณ์ดี มีฐานะ ดูร่ำรวย และใช้สินค้าราคาแพงเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง อินฟลูเอนเซอร์และยูทูบเบอร์ ‘ซงจีอา’ […]

ลดเวลาทำงานเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ ช่วยสร้างสมดุลชีวิตคนทำงานและลดการใช้พลังงานได้จริง

เมื่อปีที่แล้วฝั่งยุโรปเผชิญปัญหาอากาศที่ร้อนจัดกว่าปกติ ทางฝั่งปากีสถานเจอฝนตกหนักจนน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ มองไปที่ธารน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกก็ก่อตัวในระดับต่ำกว่าที่เคยมีมา รวมถึงปัญหามลพิษทางอากาศหรือมลพิษต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้นในทุกพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้พลังงานและทรัพยากรของเราทุกคน นักวิทยาศาสตร์จาก EU Copernicus องค์กรสังเกตการณ์ความเป็นไปด้านธรรมชาติของโลก บอกว่า ‘โลกร้อนไม่ใช่ปัญหาในอนาคต แต่มันคือปัญหาในปัจจุบัน’ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สร้างความท้าทายให้เราทุกคนในฐานะประชากรโลก เพื่อหาวิธีรับมือ ปรับตัว และเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ที่นำไปสู่ความยั่งยืนให้ได้มากยิ่งขึ้น ในหลายอุตสาหกรรมต่างตั้งเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุดตามวาระที่กำหนด อีกหลายภาคส่วนก็พยายามรณรงค์ลดการเผาผลาญพลังงานที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และยังมีการหาแนวทางการแก้ปัญหาโลกร้อนนี้กันอีกมากมายหลายวิธี คอลัมน์ Green Insight อยากพาไปดูอีกหนึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่น่าสนใจ นั่นคือ การลดเวลาการทำงานให้เหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ สิ่งนี้จะมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน ลดเวลางาน เพิ่มเวลาชีวิตให้คนทำงาน ช่วงโควิดที่ผ่านมา รูปแบบการใช้ชีวิตได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และในช่วงเวลาวิกฤตของโรคระบาดก็ทำให้เห็นแล้วว่า ‘การทำงาน’ ได้แปรเปลี่ยนไปในทิศทางอื่นๆ เช่นกัน 4 Day Week Global กลุ่มองค์กรอิสระไม่แสวงผลกำไร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แห่งสหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัยบอสตันแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ค้นคว้าและวิจัยการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน จนกลายเป็นต้นแบบของการทำงานรูปแบบใหม่กับหลายประเทศทั่วโลก หลังจากการทดลองครั้งแรกในสหราชอาณาจักรประสบความสำเร็จ และพบว่าการทำงาน 4 […]

L’Oréal Group บริษัทความงามที่รักษ์โลกตั้งแต่ต้นทางกระบวนการผลิตไปจนถึงปลายทางผู้บริโภค

ในยุคที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกัน ลำพังความร่วมมือจากประชาชนตัวเล็กๆ คงไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กร หรือแบรนด์ใหญ่ๆ จากทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่ง ‘อุตสาหกรรมความงาม’ สำหรับ ‘L’Oréal Group’ (ลอรีอัล กรุ๊ป) บริษัทเครื่องสำอางชั้นนำของโลกจากฝรั่งเศส ผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์ดังอย่าง L’Oréal Paris, Garnier, YSL Beauty, La Roche-Posay และแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย ก็มีจุดยืนเรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้เริ่มต้นและปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ อีกทั้งยังมีเป้าหมายที่ชัดเจนและเข้มข้นในการยกระดับการทำงานด้านความยั่งยืนและเอาใจใส่ สร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การทำงานต้นน้ำถึงปลายน้ำของการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ลอรีอัล กรุ๊ปเชื่อว่า ‘ความงามคือพลังสำคัญที่ขับเคลื่อนเรา พลังที่จะช่วยรักษาโลกของเราได้’ เพราะแม้จะไม่ได้ป่าวประกาศความเป็น Green หรือ Clean Beauty ผ่านตราสัญลักษณ์ใดๆ แต่ลอรีอัล กรุ๊ปก็ดำเนินนโยบายในการปรับแนวทางการบริหารจัดการ การผลิต ออกแบบสูตรและบรรจุภัณฑ์บนพื้นฐานของความยั่งยืนมาอย่างยาวนาน บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเคารพต่อ ‘ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก’ (Planetary Boundaries) หรือขีดจำกัดที่โลกสามารถรับไหวไว้อย่างชัดเจน คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปรู้จักดีเทลเบื้องหลังของลอรีอัล กรุ๊ปกันให้มากขึ้น ว่าบริษัทเครื่องสำอางมาตรฐานระดับโลกจากฝรั่งเศสที่มีอายุยาวนานถึง 114 ปี […]

1 2 3 4 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.