Oui J’aime โรงแรมที่ลึกเพียง 7 เมตร ของทายาทร้านขนมเปี๊ยะแห่งฉะเชิงเทรา

ชวนนอนและพักใจที่ Oui J’aime โรงแรมไซซ์กะทัดรัดของทายาทร้านขนมเปี๊ยะเมืองแปดริ้ว

อแมนด้า ออบดัม สาวภูเก็ตผู้เคยรับบทผู้ป่วยโรคคลั่งผอม และนางงามผู้รับบทนักฟัง

10 นาทีก่อนเปิดเครื่องบันทึกเสียง อแมนด้า-ชาลิสา ออบดัม ผู้ครองตำแหน่งนางงามเวที Miss Universe Thailand ปี 2020 วางแก้วกาแฟราคา 25 บาทของเธอลงบนโต๊ะ พร้อมบอกว่านี่คือสิ่งที่กินแทบทุกเช้าให้ตาตื่น สักพักสาวภูเก็ตลูกครึ่งไทย-แคนาดาวัย 27 ก็เริ่มจัดระเบียบผมของเธอหลังนั่งวินมอเตอร์ไซค์มาสถานที่นัดหมาย อีกทั้งยังพูดปนขำกับฉันว่า ตั้งใจแต่งหน้ามาเป็นพิเศษเพื่อวันนี้! ก่อนเม้ากันถึงสารคดี 3 เรื่องใน Netflix ที่เธออยากแนะนำให้ดู ได้แก่ Crime Scene: The Vanishing at the Cecil Hotel, Evil Genius และ I Am A Killer ซึ่งล้วนเป็นสารคดีแนวสืบสวนที่ชวนสำรวจพฤติกรรมตัวละครว่าใครโกหก ใครร้าย ใครเห็นอกเห็นใจ ทำไมตัวละครถึงทำแบบนั้น มีปมอะไรอยู่เบื้องหลังจิตใจกันแน่ “สารคดีทำมาจากเรื่องจริง และชี้ให้เห็นว่าคนน่ากลัวกว่าผีซะอีก” ฉันพยักหน้าตามคำพูดเล่นๆ แต่จริงจังของอแมนด้า บางคนร้องขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครฟัง บางคนฟังหูซ้ายทะลุหูขวา แล้วย้อนกลับมาพูดเรื่องตัวเอง หรือบางคนฟังปัญหาแล้วตอบกลับมาว่า “คนอื่นเขาเจอเรื่องแย่กว่าเธออีก” […]

กำแพงกันคลื่นไร้เงา EIA ทางออกที่ไม่ยั่งยืน ต้นเหตุหาดแหว่งและชายฝั่งขาดสมดุลธรรมชาติ

ฉันเป็นเด็กในเมืองที่ใช้ชีวิตท่ามกลางป่าคอนกรีต กว่าจะแล่นรถออกไปชายทะเลก็ต้องรอโอกาสเหมาะสม เช่น พักร้อน หรือวันหยุดเทศกาล มันเลยทำให้ฉันไม่ได้คลุกคลีกับหาดทรายและผืนทะเลบ่อยนัก จนกระทั่งฉันสะดุดประเด็น #กำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA บนโลกออนไลน์ ที่ต้องคลิกเข้าไปดูความเป็นไปของชายหาด ฉันจึงพบว่าผลลัพธ์ของมันสร้าง ‘รอยเว้า’ และ ‘กลืนกินชายหาด’ อย่างไม่น่าเชื่อ การกัดเซาะที่มาของกำแพงกันคลื่น ฉันคว้าความสงสัยที่มีต่อสายตรงหา ผศ. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ‘การกัดเซาะชายฝั่ง’ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจาก ‘คลื่น’ หรือ ‘ลม’ โดยพัดตะกอนจากที่หนึ่งไปทับถมอีกที่หนึ่ง ทำให้แนวชายฝั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ข้อมูลบนเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้วิศวกรรมทางชายฝั่งเชิงโครงสร้างแบบ ‘กำแพงกันคลื่น’ สร้างติดชายฝั่ง ทำหน้าที่ป้องกันการกัดเซาะของดินจากคลื่นและกระแสน้ำ เพื่อไม่ให้พื้นที่หลังกำแพงเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะช่วย ‘ชะลอ’ หรือ ‘ลด’ การกัดเซาะชายฝั่งได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้กำแพงกันคลื่นจะช่วยแก้ปัญหาได้จริง แต่กลับไม่ครอบคลุมพื้นที่ใกล้เคียง ตามปกติแล้วคลื่นจะซัดชายฝั่งเข้า-ออก ทำให้ทรายไหลไปตามคลื่นและกระแสน้ำ โดยมีหาดทรายเป็นตัวชะลอความแรงของคลื่น ซึ่งหากสร้างกำแพงกันคลื่นขึ้นมา […]

#saveบางกลอย บันทึกระหว่างทางกลับบ้านของชาวบ้านที่ต่อสู้เพื่อทวงคืนบ้านเกิดมากว่า 25 ปี

0. หากในข้อสอบมีคำถามว่าข้อใดเป็นสาเหตุของการทำลายป่ามนุษย์ คือคำตอบที่ฉันจะมองหาเป็นตัวเลือกแรก และมั่นใจว่าเฉลยจะไม่ผิดไปจากนี้ แต่ฉันเพิ่งรู้ว่าคำตอบในชีวิตจริงไม่ได้มีแค่คำตอบเดียวมีมนุษย์อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ทำลายแต่ปกป้องผืนป่าบ้านเกิดของพวกเขาเป็นอย่างดี เราเรียกเขาว่า ชาวบ้านบางกลอย 1.  ย้อนกลับไปเมื่อเวลาบ่ายของวันที่ 15 มีนาคม ฉันได้รับอีเมลความยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษ ข้อความข้างในเขียนบอกว่า “พรุ่งนี้ไปเยี่ยมชาวบ้านบางกลอยกัน” พร้อมกับเวลาและสถานที่  ‘เกิดอะไรขึ้นที่บางกลอย’ คำถามผุดขึ้นในหัวฉันและเพื่อนทุกคนทันทีที่อ่านอีเมลฉบับนั้นจบ เราใช้เวลาครึ่งวันที่เหลือก่อนจะถึงเวลานัดพูดคุยกันถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตอนนั้นเองที่ฉันรู้ว่าข้อมูลที่ฉันมีเกี่ยวกับเรื่องนี้มันน้อยนิดมาก เราเพิ่งรู้ด้วยซ้ำว่าบางกลอยอยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ชาวบางกลอยคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในป่าลึกหรือเรียกกันว่า ‘ใจแผ่นดิน’ หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี แต่เมื่ออุทยานแห่งชาติแก่งกระจานถือกำเนิดขึ้น ชาวบ้านบางกลอยทั้งหมู่บ้านจึงต้องอพยพลงมาอยู่พื้นที่ใหม่ที่รัฐจัดหาให้ เรียกว่า ‘บางกลอยล่าง’ หรือบ้านโป่งลึก แต่ที่ดินบริเวณบางกลอยล่างไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านที่ต้องทำไร่หมุนเวียน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนตัดสินใจเดินเท้ากลับขึ้นไปที่ใจแผ่นดิน และตกอยู่ในสถานะผู้บุกรุกป่า วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชาวบ้านบางกลอยบางส่วนเดินทางจากจังหวัดเพชรบุรี มายังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือขอให้นายกรัฐมนตรีถอนกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานในพื้นที่ เนื่องจากสร้างความหวาดระแวงให้ชาวบ้านที่ต้องใช้เส้นทางเข้าออกหมู่บ้าน เมื่อเราถึงสะพานชมัยมรุเชฐข้างทำเนียบรัฐบาล จุดที่ภาคี #saveบางกลอย ปักหลักกันมาเกือบ 2 วัน พระอาทิตย์กำลังจะหายไปหลังตึกสูง ภาพแรกที่เห็นคือกระท่อมไม้ไผ่หลังเล็กๆ แบบเดียวกับที่ใจแผ่นดินตั้งอยู่กลางถนน และป้ายผ้าสีขาวที่เขียนว่า ‘ชาติพันธุ์ก็คือคน’ พี่กอล์ฟ-พชร คำชำนาญ คือคนแรกที่พวกเรามองหา เขาเป็นรุ่นพี่ที่คณะและฉันไม่มั่นใจว่าพี่กอล์ฟจะจำพวกเราได้ […]

‘ซองโด’ เมืองอัจฉริยะที่ตั้งเป้าลดคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์

เกาหลีใต้ไม่ได้มีดีแค่โซล แทกู หรือปูซาน แต่ยังมีเมืองใหม่ที่น่าสนใจอย่าง ‘ซองโด’ เมืองที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ อสังหาริมทรัพย์ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในเมืองนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ตามรอยบ้านเก่า ‘ถนนตะนาว’ บันทึกเรื่องย่านผ่านสถาปัตยกรรมโคโลเนียล

‘ถนนตะนาว’ เป็นเส้นทางสายเล็กๆ ไม่ยาวนัก แต่หากใครที่คิดลองเดิน (เหมือนเรา) ขอบอกว่าแอบมีเหงื่อซึม ตลอดทางส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์สีเหลืองเรียงรายยาวเป็นแถว ภาพจำของใครหลายคนเกี่ยวกับถนนสายนี้ คงเป็นเจ้าพ่อเสือ ศาลเจ้าเก่าแก่เคียงคู่ย่านนี้มานมนาน หรือเป็นทางผ่านด้านหน้าถนนข้าวสารแหล่งแฮงค์เอาต์ยามค่ำ

กระถางวัดอรุณฯ ผลงานดีไซเนอร์รุ่นใหม่ Mo Jirachaisakul

พระปรางค์วัดอรุณฯ ตั้งตระหง่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภาพจำกรุงเทพฯ ที่ไม่ว่าคนชาติไหนก็ต้องตั้งใจเดินทางมาให้เห็นกับตาสักครั้ง ยิ่งถ้าใครเดินทางด้วยเรือด่วนเจ้าพระยาเป็นประจำ ทุกครั้งที่นั่งเรือผ่านจะต้องหันไปชื่นชมความงามจนเรือแล่นลับสายตา แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือคนส่วนใหญ่มักตื่นตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการ จนมองข้ามรายละเอียดสุดประณีตโดยฝีมือช่างไทยโบราณที่บรรจงรังสรรค์ผลงานศิลปะอันยากจะเลียนแบบ

Tempelhof สวนสาธารณะเบอร์ลินจากสนามบินสมัยสงครามโลก

พื้นที่สาธารณะในเบอร์ลิน เมืองหลวงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นั้นมีมากมาย ทั้งสวนสาธารณะ ทางจักรยาน ไปจนถึงสเปซคนเดิน เพื่อรองรับประชากรเกือบ 4 ล้านคนให้มีที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยหนึ่งในพื้นที่ซึ่งนำมาเปลี่ยนเป็นพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองคือ สถานที่รกร้าง เราเลยชวนทุกคนมาสำรวจพื้นที่สาธารณะในเมืองเบอร์ลิน ที่ถือกำเนิดขึ้นจากการคืนชีวิตให้พื้นที่รกร้างมีลมหายใจอีกครั้ง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชาวเบอร์ลิน Tempelhof สวนบนสนามบินร้าง เท็มเพลโฮฟ (Tempelhof) คือชื่อของสนามบินที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ในเขตเท็มเพิลโฮฟ-เชอเนอแบร์ค ทางใต้กลางของกรุงเบอร์ลิน ซึ่งในอดีตนั้นยิ่งใหญ่ในฐานะสนามบินหลักของเมืองเบอร์ลิน มีอาคารผู้โดยสารที่เคยใหญ่ที่สุดในยุโรป รวมถึงเป็นสนามบินแรกของเยอรมนีซึ่งใช้เป็นพื้นที่สำหรับปล่อยเครื่องบินขึ้นไปถ่ายภาพทางอากาศ และปล่อยบอลลูนที่เป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ไม่เพียงเท่านั้น ความที่สุดของสนามบินเท็มเพลโฮฟคือสองพี่น้องตระกูลไรต์ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องบินลำแรกของโลก เคยมา Take Off เครื่องบินที่นี่และทำสถิติใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับวงการการบินในเยอรมนี มากไปจนถึงเคยเป็นส่วนหนึ่งของการรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย แต่งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา สนามบินเท็มเพลโฮฟปิดตัวลงเมื่อ ค.ศ. 2008 และได้รับการปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่ไม่เหมือนที่ไหน เพราะมีทางทอดยาว และกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่เปิดที่มีขนาดใหญ่มากของโลก ซึ่งชาวเบอร์ลินถูกใจกับสิ่งนี้ไม่น้อย และมักออกไปทำกิจกรรมต่างๆ ที่สวนสาธารณะเท็มเพลโฮฟ ไม่ว่าจะเป็นเล่นสเก็ต เล่นว่าว ขี่จักรยาน และยังมีสวนกว้างใหญ่สองข้างทางให้ชาวเมืองได้มานั่งปิกนิกรับแดด […]

Shivam นักมวยปล้ำดีกรีแชมป์กับชีวิตบนบัลลังก์มวยปล้ำไทย | Somebody Ordinary I EP.1

มวยปล้ำเป็นการแสดงแบบนี้เจ็บจริงหรือเปล่า? แบบนี้ก็หลอกคนดูสิ? อีกหลายข้อครหา หลากคำถามที่เกิดขึ้นไม่อาจลบความรักของกลุ่มคนที่รักมวยปล้ำลงได้ หนึ่งในคนเหล่านั้นคือ ศิวัม ทริพาธี แชมป์มวยปล้ำ SETUP Thailand Openweight ผู้ใช้ชีวิตจริงลงทุนไปกับการรับใช้ความฝันบนผ้านวมที่เขารักตั้งแต่เด็ก ปลุกกระแสมวยปล้ำในไทยขึ้นมา Somebody Ordinary รายการที่เชื่อในพลังของคนธรรมดาตอนแรกจะพาไปสำรวจชีวิต พูดคุยกับศิวัม ถึงการฝ่าฟันต่อสู้กว่าจะมีเข็มขัดแชมป์มาคาดเอว จนไปถึงมุมมองของตนที่มีต่อมวยปล้ำที่อยากส่งต่อให้คนภายนอกได้รับรู้ ศิวัมเกริ่นกับเราไว้ว่า “ใครจะว่ามวยปล้ำแสดงอะไรยังไง แต่วันที่กรรมการนับหนึ่ง สอง สาม ผมได้แชมป์ ทุกอย่างทุกความรู้สึกในตอนนั้น มันคือของจริง”

‘Izakaya Bottakuri’ ซีรีส์ญี่ปุ่นที่สอนให้รู้ว่า คุณค่าของอาหารคือรสชาติของชีวิต

ณ ตรอกที่อยู่ถัดจากถนนย่านการค้า มีร้านอิซากายะอยู่ร้านหนึ่ง ร้านนี้มีเครื่องดื่มดีๆ อาหารอร่อยๆ และกลุ่มคนที่มีหัวใจอบอุ่นยินดีต้อนรับเสมอ “อิรัชชัยมาเสะ” ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Izakaya Bottakuri ซีรีส์ญี่ปุ่นขนาดสั้นที่ถูกดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนในชื่อเดียวกัน บอกเล่าเรื่องราวร้านอาหารของสองพี่น้องมิเนะและคาโอรุ ที่คอยสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคราบน้ำตา ให้ผู้คนในร้าน ผ่านเมนูอาหารจานพิเศษของร้านในแต่ละวัน ทำให้บรรยากาศภายในร้านแห่งนี้ตลบอบอวลไปด้วยความอบอุ่น ความสุข และความสัมพันธ์ ผ่านการปรุงอาหารด้วยหัวใจทุกจาน นอกจากจะเป็นซีรีส์ชวนหิว ยังชวนให้เราเข้าครัวในเวลาเดียวกัน ถ้าอยากรู้ว่าเป็นยังไง ต้องดูให้จบตอน! ซีรีส์ที่พาเราไปรู้จักวัฒนธรรมการกินแบบ Izakaya เมื่อพูดถึงดินแดนอารยธรรมอย่างญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจ Izakaya คือรูปแบบร้านกินดื่มประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากร้านเหล้าที่เราคุ้นเคยในประเทศไทย ด้วยเอกลักษณ์การเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควบคู่ไปกับอาหารประเภทต่างๆ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกินดื่มให้มีรสชาติมากขึ้น ส่วนบรรยากาศภายในร้านจะเน้นความอบอุ่นเป็นกันเอง เหมาะแก่การเป็นสถานที่สังสรรค์หลังเลิกงานเพื่อคลายเครียดและกระชับความสัมพันธ์กับผู้คนไปในคราวเดียวกัน รูปแบบการกินดื่มดังกล่าวได้รับความนิยมจนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น และค่อยๆ แพร่กระจายไปยังสถานที่อื่นทั่วโลก ‘Bottakuri’ ชื่อร้านที่หมายถึงการขูดรีด ความพิเศษของร้านแห่งนี้คงต้องเริ่มจากชื่อร้าน ‘Bottakuri’ ซึ่งหมายถึงการขูดรีด โดยมีที่มาจากความคิดของคุณพ่อเจ้าของร้านว่า การที่เรารับเงินจากการเสิร์ฟอาหารที่บ้านไหนก็มี บ้านไหนก็ทำได้ คงเหมือนการขูดเลือดขูดเนื้อผู้มาใช้บริการหรือเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ‘บตตากุริ’ กลายเป็นที่มาที่ไปของชื่อร้าน ถึงแม้ร้านแห่งนี้จะเสิร์ฟอาหารทั่วๆ ไป แต่ต่างตรงที่ความตั้งใจพิถีพิถันของคนปรุงซึ่งปรุงอาหารทุกจานด้วยหัวใจ และเมื่ออาหารสร้างรอยยิ้มบนใบหน้าของผู้คนได้ เมื่อนั้นลูกค้าก็จะไม่เสียดายเงิน ทุกคนที่ก้าวเท้าเข้ามาในร้านจึงพร้อมถูกขูดรีดอยู่เสมอ  เมนูนี้สอนให้รู้ว่า […]

EAT

ท้าดวล 4 ร้านชีสทาร์ต ไส้ล้นละมุนลิ้น

ช่วงนี้อยู่ดีไม่ว่าดีลุกขึ้นมาอบชีสเค้กหน้าไหม้ แต่เป็นอันต้องไหม้ทั้งชิ้น เลยถอดใจหันไปสั่ง ‘ชีสทาร์ต’ หรือมูสครีมชีสที่มาในถ้วยทาร์ต กินง่ายอร่อยทันใจ บอกเลยว่าใครเป็นแฟนตัวยงครีมชีสต้องไม่พลาด แม้กระแสจะไม่แรงเท่าก่อนหน้านี้ แต่ความนุ่มละมุนลิ้นของครีมชีสยังคงไม่จางหายไปจากลิ้น

Chanintr Work แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่เชื่อว่าไลฟ์สไตล์ไม่ได้อยู่แค่ห้องนั่งเล่น แต่รวมถึงที่ทำงาน

โซฟาบ้านคุณแตกลายแล้วหรือยัง
โต๊ะกินข้าวที่บ้านเก่าจนผุแล้วใช่ไหม
สปริงเตียงนอนยังคงทำงานได้ดีหรือเปล่า
แล้วเก้าอี้ทำงานล่ะ มันทำร้ายคอ บ่า ไหล่ ของคุณบ้างไหม
โอเค ในตอนนี้คุณอาจจะไม่ได้มีปัญหาตามที่เราว่ามา แต่หากคุณเป็นคนที่สนใจการแต่งบ้าน แต่งห้อง แต่งออฟฟิศ นาทีนี้เราอยากพาคุณไปรู้จักกับ Chanintr – ชนินทร์ แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ระดับ High-end ที่เต็มไปด้วยของดีไซน์สวยๆ งามๆ และพรั่งพร้อมด้วยฟังก์ชันที่ครบครัน

1 79 80 81 82 83 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.