
Featured
พาไปล่าท้า 6 สถานที่ที่มี ‘ผี’ เป็นมาสคอต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดึงคนมาเที่ยวด้วยสตอรีหลอนๆ
เรื่องผีมักผูกติดกับสถานที่ ยิ่งเรื่องผีแมสเท่าไหร่ สถานที่ที่เกิดเหตุก็มีคนไปตามรอยเยอะเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นหลายสถานที่ที่โด่งดังจากเรื่องขนหัวลุก และหยิบจับเอาสตอรีเหล่านั้นมาเป็นจุดขาย ดึงดูดคนให้เข้ามาท่องเที่ยวจนเกิดเป็นธุรกิจแบบใหม่ที่มี ‘ผี’ เป็นมาสคอตการท่องเที่ยว วันฮาโลวีนแบบนี้ Urban Creature ขอเอาใจคนชอบล่าท้าผีด้วยการพาไปรู้จัก 6 สถานที่ที่ใช้ผีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดึงคนมาเที่ยวด้วยสตอรีหลอนๆ ก่อนต่อยอดเป็นแลนด์มาร์กที่ห้ามพลาด สัมผัสวิญญาณเชื้อพระวงศ์และชนชั้นสูงหอคอยแห่งลอนดอน อังกฤษ หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) สร้างขึ้นโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี 1078 ถือเป็นสถานที่ผีดุติดอันดับต้นๆ ของทุกโพล เนื่องจากประวัติของตัวสถานที่ที่ในอดีตถูกใช้เป็นป้อม พระราชวัง และคุกหลวงสำหรับขังนักโทษยศสูง ที่ภายในมีการทรมานและประหารชีวิตด้วยการตัดหัวหรือแขวนคออยู่บ่อยครั้ง วิญญาณที่คนว่ากันว่ามักเห็นอยู่บ่อยๆ คือ ‘พระนางแอนน์ โบลีน’ มเหสีองค์ที่ 2 ในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ที่มักมาปรากฏตัวแบบไม่มีหัว ‘Princes in the Tower’ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และเจ้าชายริชาร์ด ดยุกแห่งยอร์ก สองพี่น้องใส่ชุดนอนสีขาว ยืนจับมือกันนิ่งๆ ก่อนจะเลือนหายเข้าไปในผนัง รวมไปถึงวิญญาณชนชั้นสูงอีกมากมายที่มักมาปรากฏตัวให้เห็นอยู่บ่อยๆ […]
Ghost Public Space ถ้ามีพื้นที่สาธารณะให้ผีทำกิจกรรม คนก็ไม่ต้องกลัวผีออกมาหลอกอีกต่อไป
พื้นที่สาธารณะของผีจะมีหน้าตาเป็นแบบไหนกันนะ คนที่ตายไปแล้วก็น่าจะอยากได้พื้นที่ทำกิจกรรมของตัวเองด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าไม่มีพื้นที่รองรับความต้องการนี้ การออกไปเดินเล่นข้างนอกตอนกลางคืนและปรากฏตัวให้คนเห็นจนกลายเป็นการหลอกหลอน ก็คงกลายเป็นเรื่องเดียวที่เหล่าผีสามารถทำได้ในยามว่าง สำหรับฮาโลวีนปีนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จะขอมาเอาใจประชากรในปรโลก ด้วยการออกแบบพื้นที่สาธารณะสำหรับผีที่คนเองก็ใช้งานได้ โดยเปลี่ยนสุสานที่นานๆ ครั้งจะมีคนเข้ามาเยี่ยมเยือนตามโอกาส ให้กลายเป็นพื้นที่เพื่อผีบ้าง 1) Public Housing : เปิดบ้านพักให้ผีทุกตัวไม่ต้องเป็นวิญญาณเร่ร่อน แม้ว่าจะเป็นสุสาน แต่ผีทุกตัวที่อยู่ที่นี่ไม่ใช่ว่าจะมีที่อยู่ทั้งหมด บางตัวอาจเป็นผีไม่มีญาติ ทำให้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง หากมีลูกหลานของใครบางคนเผาตึกหรือคอนโดฯ กระดาษไปให้ อากงอาม่าก็นำไปเปิดเป็นที่พักให้กับผีเร่ร่อนอาศัยร่วมชายคา ช่วยเหลือกันแม้ในยามที่ไม่มีชีวิตอยู่ เพื่อช่วยให้เหล่าผีได้มีความสุขดีในโลกหลังความตาย หรืออาจจะเปิดให้ผีตัวอื่นๆ เช่า สร้าง Passive Income ในอนาคตต่อไป ลูกหลานจะได้ไม่ต้องเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ทุกวันไหว้ 2) Community Space : พื้นที่สร้างสังคม ให้ทั้งคนและผีมีปฏิสัมพันธ์กัน ปกติแล้วพื้นที่ในสุสานมักเป็นลานกว้างๆ ให้ญาติๆ เข้ามาเยี่ยมเยียนหลุมศพของคนในครอบครัวตัวเองเท่านั้น เราเลยขอเพิ่มศาลาหลบแดด เพื่อให้คนทั่วไปและคนที่เข้ามาเยี่ยมหลุมศพได้นั่งพักหลบร้อน รวมตัว พบปะกับผู้คนใหม่ๆ ที่มาเจอกันที่นี่ ส่วนตอนกลางคืน เหล่าผีก็สามารถใช้พื้นที่นี้ในลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะ พูดคุย ทำความรู้จักกับผีใหม่ๆ เพื่อสร้างสังคมแบบผีๆ […]
พาไปดูชีวิตคนเมืองที่ต้องรออะไรสักอย่าง นาน น้าน นาน จนตายไปเป็นผีแล้วก็ยังต้องรออยู่
เวลาดูหนังผี นอกจากความน่ากลัวก็มักมีความเศร้าแฝงมาด้วยตลอด เพราะผีแต่ละตัวมักมีห่วงให้ยังวนเวียนอยู่ในโลกมนุษย์ ตั้งแต่การตายโดยไม่รู้ตัวแล้วยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ตัดใจจากใครสักคนไม่ได้ ต้องคอยไปเฝ้ามอง หรือกระทั่งยังรออะไรบางอย่างอยู่อย่างนั้น รอรถติด รอรถเมล์ รอต่อคิวบีทีเอส รอถนนซ่อมเสร็จ นี่คือตัวอย่างการรอที่คนเมืองต้องประสบพบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ซึ่งถ้าลองเอาเวลาเหล่านั้นมาต่อกันคงน่าทึ่งไม่ใช่น้อย ที่เราต้องเสียเวลาไปกับการรอมากขนาดนี้ และแน่นอนว่า เวลาที่เรารออะไรนานๆ ก็มักนึกถึงการเปรียบเทียบทำนองว่า รอนานขนาดนี้ ตายแล้วเกิดใหม่ไปหลายรอบก็ยังไม่เสร็จหรือไม่ได้ไปเลยมั้ง แล้วจะเป็นไปได้ไหมที่ผีๆ ในเมืองจะยังคงวนเวียนไม่ไปไหน เพราะรอนั่นโน่นนี่จนตายแต่ไม่รู้ตัว คอลัมน์ One Day With… เลยขอใช้โอกาสช่วงฮาโลวีนหยิบเอาสาเหตุการรอจนตายของเหล่าผีในเมืองมาตีแผ่ให้ทุกคนดู ใครเคยมีประสบการณ์ร่วมกับผีตัวไหนก็ไปปลอบใจพี่ผีเขากันได้ เป็นอะไรตายมาล่ะ? ฉันรอ รถเมล์ จนตาย 15 นาที 30 นาที 1 ชั่วโมง คุณเคยรอรถเมล์นานสุดเท่าหร่ายยย (ทำเสียงยานให้สมกับเป็นผี) รู้ไหม ฉันรอรถเมล์นานมากที่สุดเป็นเวลาชั่วกัปชั่วกัลป์ เพราะบางคันก็ไม่ยอมจอดที่ป้าย หรือบางคันก็แน่นจนเบียดตัวขึ้นไปไม่ได้แล้ว รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นผีรอที่ป้ายรถเมล์ ซึ่งจากที่สังเกตการณ์มา คนก็ยังรอรถเมล์นานเหมือนเดิม เพิ่มเติมคืองุนงงสับสนกับสีและสายรถเมล์ที่ปรับใหม่ ทำเอาคนที่ใช้รถเมล์บ่อยๆ มึนไปตามๆ กัน ยังไม่นับประเด็นรถเมล์ร้อนที่นี่ก็ปาไปปี 2024 ภาวะโลกร้อนข้ามขั้นไปยังภาวะโลกเดือด คนไทยก็ยังต้องใช้รถเมล์ร้อนที่ใช้น้ำมันดีเซลซึ่งเป็นสาเหตุของ PM […]
ชวนกันไปจิตตุงแป่ง กับเรื่องลี้ลับไทยๆ ในแบบฉบับการ์ตูน Dandadan
“การที่โลกยังไม่โดนมนุษย์ต่างดาวบุกยึดครอง อาจจะเป็นเพราะโลกได้รับการคุ้มครองจากเหล่าภูตผีวิญญาณอยู่…ก็เป็นได้” Dandadan คืออนิเมะยอดนิยมในช่วงนี้ที่ใครๆ ก็พูดถึง ทั้งงานภาพอันบ้าพลังและเนื้อเรื่องสุดแหวกแนว ว่าด้วยการพบกันแห่งโชคชะตาระหว่าง ‘อายาเสะ โมโมะ’ นักเรียนสาวสายมูฯ ที่เชื่อเรื่องผีสุดใจ และ ‘ทาคาคุระ เคน’ ฉายาลี้ลับคุง โอตาคุหนุ่มผู้คลั่งไคล้เรื่องลี้ลับ มนุษย์ต่างดาว และ UFO เอ๊ะ! ไม่สิ ต้องเรียกว่า UAP สังคมไทยกับเรื่องผีเป็นของคู่กันเสมอ คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้ อยากมานำเสนอตำนานเมืองและเรื่องลี้ลับที่ยึดโยงกับความเชื่อของชาวไทยในรูปแบบสนุกสุดมันตามแบบฉบับ Dandadan จะเป็นอย่างไรถ้าคุณโมโมะและลี้ลับคุงมาเยือนเมืองไทย แล้วก็ขอเตือนผู้อ่านที่น่ารักของเราไว้ก่อนว่า ถ้าเจอยายแก่ในอุโมงค์ อย่าคิดว่าจะวิ่งหนีรอด แม่นาคพระโขนงตัวแทนหญิงสาวแห่งพระโขนง แม่นาคคือผีที่มีลักษณะเป็นหญิงสาวใส่ชุดไทยโบราณ นุ่งโจงกระเบน ห่มสไบ ยืนอุ้มลูกอยู่บริเวณท่าน้ำ รอการกลับมาของนายมาก สามีที่ไปรับราชการทหารนอกเมืองกรุงเทพฯ แม่นาคมีความสามารถยืดมือได้ยาว จากเรื่องเล่าที่ว่า แม่นาคนั้นรีบร้อนยืดมือไปหยิบมะนาวที่ตกใต้ถุนบ้าน ทำให้นายมากบังเอิญเห็นและรู้ว่าภรรยาของตนกลายเป็นผีไปแล้ว นอกจากจะเป็นเรื่องสยองขวัญ เรื่องราวของแม่นาคยังมีอีกมุมที่สะท้อนถึงความรักที่เธอมีต่อครอบครัว แสดงให้เห็นว่า ต่อให้ความตายก็ไม่สามารถแยกแม่นาคและนายมากจากกันได้ ปัจจุบันศาลของแม่นาคตั้งอยู่ในวัดมหาบุศย์ ซอยสุขุมวิท 77 ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้คนนิยมมาขอพรเรื่องความรัก แร้งวัดสระเกศ & […]
รวม 13 สื่อเรื่องผีและสิ่งลี้ลับที่ชาว Urban Creature ขอกระซิบให้ผีในห้องตามไปลองของ
ว่ากันว่าเรื่องนี้มีที่มา ว่ากันว่าที่แห่งนี้มีอะไรซ่อนอยู่ ว่ากันว่าคนไทยชอบเรื่องผี ดับไฟ ปิดม่านให้สนิท เตรียมน้ำ ขนม กระโดดขึ้นบนเตียงอุ่นๆ พร้อมขนหัวลุกตลอดคืนไปกับหลากเรื่องราวสยองขวัญ เพราะวันนี้ ชาว Urban Creature ได้คัดสรรสื่อเรื่องผีและสิ่งลี้ลับทั้งในรูปแบบรายการ การ์ตูน เกม หรือแม้แต่ฟิกชัน! ให้ตามไปดูกัน เรื่อง : มาตานุสติ ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชา ตำแหน่ง : Managing Editor เวลาพูดถึงเรื่องผี นอกจากเรื่องผีน่ากลัวๆ ที่เคยอ่านตามอินเทอร์เน็ตจะโผล่ขึ้นมาในหัวแล้ว อีกสิ่งที่มักปรากฏขึ้นอย่างไม่ค่อยทราบสาเหตุคือ เรื่องราวที่สองแม่ลูกต้องประสบในนิยาย มาตานุสติ ที่เขียนโดย แดนอรัญ แสงทอง เราพยายามไล่เรียงว่ามันมีบรรยากาศน่ากลัว อกสั่นขวัญผวาตรงส่วนไหนบ้าง เพราะเคยอ่านเมื่อนานมาแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็จำได้ชัดเจนว่า ในบางฉากบางตอนที่ทั้งสองคนต้องระหกระเหินย้ายถิ่นฐาน นอกจากผีห่าซาตานที่หลอกหลอนจริงๆ ความยากจน ความลำบากของผู้หญิง และการคุกคามของผู้ชายก็กลายเป็นผีที่ชั่วร้ายและน่ากลัวกว่าวิญญาณ เพราะมันเอาชีวิตพวกเธอได้จริง ทำให้ทั้งสองอกสั่นขวัญแขวนจนต้องย้ายหนีไปเรื่อยๆ มากไปกว่านั้น ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องที่ใช้ชั่วระยะเวลาสั้นๆ ที่ลูกสาวรอแม่ผู้ลงไปสำรวจตรวจสอบเสียงปริศนาข้างล่าง ซึ่งในห้วงเวลานั้นเองที่เด็กสาวหวนคิดถึงความทรงจำที่ผ่านมา ความกลัวที่ผสมผสานกับความกังวล ปะปนกับข่าวสารฆาตกรรมที่เคยได้ยิน […]
สิงคโปร์ พลิกฟื้นสลัมสู่เมืองแนวตั้งและชุมชนทันสมัย สร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด
จากชุมชนชาวประมงเล็กๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเกาะภูเก็ตเพียงเล็กน้อย ปัจจุบัน ‘สิงคโปร์’ กลายเป็นหนึ่งในประเทศศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยโอกาสและเม็ดเงินมหาศาลจากทั่วโลก แต่ถึงอย่างนั้น ทุกเมืองทุกพื้นที่ย่อมมีข้อจำกัดของตัวเอง ด้วยความที่เป็นเกาะขนาดเล็กและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะแรงงานต่างชาติ ทำให้ดินแดนแห่งเมอร์ไลออนกลายเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ติดอันดับหนึ่งในสามของโลกอยู่เสมอ แต่ด้วยความสามารถในการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้สิงคโปร์ยังรองรับผู้คนจากทั่วโลกได้โดยไร้ข้อบกพร่อง ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายการสร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยด้วย ‘HDB Flat’ หรือแฟลตรัฐบาลที่เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในราคาที่จับต้องได้ และนอกจากโมเดลที่อยู่อาศัยแนวตั้งสำหรับชาวสิงคโปร์ อีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงความท้าทายใน ‘แฟลตของประชาชน’ ที่ยังมีข้อจำกัดในกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นงานของรัฐบาลที่ต้องหาทางแก้ไขต่อไป จากชุมชนแออัดสู่ตึกอาคารชุดโดยรัฐ หลังจากหลุดพ้นการเป็นหนึ่งในอาณานิคมของประเทศอังกฤษในปี 1959 เกาะสิงคโปร์ต้องเผชิญกับคลื่นผู้อพยพจากผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งชาวจีน อินเดีย และมาเลเซีย ซึ่งทั้งหมดได้กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศในเวลาต่อมา ด้วยเหตุดังกล่าว ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ในปี 1960 รัฐบาลสิงคโปร์นำโดยนายกรัฐมนตรี ‘ลี กวน ยู’ ได้เริ่มต้นวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยจัดตั้ง Housing & Development Board (HDB) หรือหน่วยการเคหะแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย โดยรัฐบาลได้กว้านซื้อที่ดินสลัมทั่วประเทศและเปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับพัฒนาเมือง ปัจจุบันประชากรในสิงคโปร์กว่า 80 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ใน HDB แฟลต ซึ่งเป็นตึกที่อยู่อาศัยแนวตั้งเพื่อป้องกันปัญหาความแออัด โดยที่รัฐเป็นผู้วางแผนทั้งหมด ผู้เช่าอาศัยจะได้รับสิทธิ์อยู่อาศัยเป็นเวลา […]
ไม่ใช่ทุกคนที่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะภาระที่ล้นตัว ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่อยากเติบโต
“เป็นผู้ใหญ่ ทำไมยากจัง” นี่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดได้ยินคนไข้บ่นให้ฟังบ่อยๆ ในชั่วโมงบำบัด ไม่ว่าจะด้วยความซับซ้อนที่มากขึ้นของความสัมพันธ์ การบริหารการเงิน กระทั่งการผ่านพ้นดราม่าในครอบครัว และในวันนี้ เรื่องที่ผู้เขียนอยากชวนคุยเป็นพิเศษคือ ความยากในการเติบโตด้านอาชีพการงาน ถ้ามาพิจารณาดูมุมมองที่คนแต่ละรุ่นให้ความหมายและคุณค่าแก่การทำงาน ก็ต้องบอกว่า จากบทความของ PubMed Central ได้พูดถึงชาว Gen Z หรือกลุ่มคนที่เกิดในช่วงกลางยุค 90 ไปจนถึงต้นยุค 2010 ไว้อย่างน่าสนใจ คุณลักษณะเด่นของคนกลุ่มนี้คือ มีความมั่นใจในตัวเองและมุ่งมั่นกับงานที่ทำสูง ต้องการจะพุ่งไปถึงงานในฝันให้ได้ และโหยหาโอกาสที่จะเพิ่มทักษะในสายงานที่ตัวเองรัก ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาให้ความสำคัญกับการทำงานที่มีความยืดหยุ่น ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป สุขภาพจิตพวกเขาต้องไหว เพราะชีวิตนอกเหนือจากสถานที่ทำงานก็สำคัญมากสำหรับพวกเขาเช่นเดียวกัน ถ้าคนกลุ่มนี้รู้ตัวว่าไม่ชอบสิ่งที่ทำอยู่เมื่อไหร่ พวกเขาจะเปลี่ยนงานทันที สรุปโดยรวมคือ เป็นกลุ่มคนที่ทุ่มเทให้อาชีพในฝันสุดๆ แต่ก็ชัดเจนในจุดยืนมากเหมือนกันว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ใช่ทางหรือไม่ใช่ที่ของตนแล้ว ก็พร้อมจะเดินจากไปเพื่อตามหาเส้นทางใหม่ที่คู่ควร แต่ในยุคก่อนหน้าชาว Gen Z ที่เป็นคนวัยผู้เขียน หลายคนมักรู้สึกว่า พวกเราคือรุ่นคาบเกี่ยว คือใจหนึ่งก็อยากวิ่งตามฝัน สร้างคุณค่าในงานที่อยากแสดงออกมาให้ทุกคนเห็น แต่อีกใจหนึ่งก็เป็นเดอะแบกซะเหลือเกิน บางคนแบกภาระของครอบครัวในฐานะคนดูแลหลัก ส่วนบางคนแบก ‘ความหวังหรือความกดดัน’ ที่ครอบครัวโยนมาให้เราโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว หรือกระทั่งเรานั่นแหละที่โยนให้ตัวเอง จะเห็นว่าผู้คนรุ่นพวกเรามากมายที่ตั้งใจทำงานจนในที่สุดก็เหมือนจะเดินมาสู่ทางแยก ระหว่างเดินต่อไปให้สุด […]
Animal on Street ส่องสัตว์ในเมือง
ทุกๆ เช้าที่เราตื่นขึ้นมาดำรงชีวิตในเมืองใหญ่ ท่ามกลางความวุ่นวาย ภาพของท้องถนนที่การจราจรติดขัด หรือแม้กระทั่งมลภาวะทางอากาศ ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดความห่อเหี่ยวใจไม่ใช่น้อย บ่อยครั้งที่มีโอกาสเดินสำรวจเมืองในพื้นที่ต่างๆ เราสังเกตว่า นอกจากผู้คนแล้ว ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในพื้นที่อยู่อาศัยของเราอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นหมา แมว หรือนก การมองดูพฤติกรรมและความน่ารักของสัตว์เหล่านั้น ช่วยทำให้ความเครียดของเราลดลง และเติมพลังให้มีแรงทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น ประหนึ่งเป็นกำลังใจของคนที่รักสัตว์ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive ตุลาคม 2567
‘เหมือนได้จับโปเกมอน’ คือความรู้สึกของผมเวลาได้สแนปรูปสิ่งของไทยๆ ดีไอวายสไตล์ #ดีไซน์เค้าเจอ อาจจะอ่านแล้วดูตลกๆ แต่ผมรู้สึกแบบนั้นจริงๆ นะ เวลาเจอสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่น่าสนใจทุกครั้ง ยิ่งถ้าเจอชิ้นที่รู้สึกว้าวมากๆ ก็ยิ่งเหมือนเราได้จับโปเกมอนตัวหายาก แม้ว่าผมจะเคยแชร์เคล็ดลับในการออกตามหาสิ่งของเหล่านี้หลายครั้งแล้วในคอลัมน์นี้ แต่ต้องยอมรับว่า เมื่อได้ลงเดินหาในสถานที่จริงๆ มันก็อาจไม่ง่ายดังกล่าว หาเจอบ้างไม่เจอบ้างเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นว่าสำหรับผมเอง นอกจากจะต้องมีสายตาที่ดีแล้ว การจะพบเจอสิ่งของออกแบบไทยๆ พวกนี้ได้ อาจต้องใช้โชคชะตาประมาณหนึ่งด้วย แล้วมันคล้ายจับโปเกมอนยังไง คือ 1) เราต้องมีความพยายามและออกตามจับ (ด้วยสายตา) คล้ายต้องลงไปในพงหญ้าแบบในเกม 2) ในแต่ละพื้นที่เองก็อาจมีสิ่งของคล้ายๆ กันที่สามารถเจอได้ในบริเวณเดียวกัน คล้ายเป็นโปเกมอนท้องถิ่น ซึ่งในบางครั้งเราก็อาจจะโชคดีได้เจอตัวที่มีความเฉพาะมากๆ ที่หาที่อื่นไม่ได้ เหมือนเจอโปเกมอนหายากนั่นเอง ผมไม่ได้จะบอกว่าการมีอยู่ของสิ่งของออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันแบบนี้ คือโปเกมอนแบบตรงไปตรงมา 100 เปอร์เซ็นต์นะ เพราะโลกความเป็นจริงนี้ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยการกดปุ่มเหมือนเกม แต่ที่ผมต้องการจะสื่อคือ ลักษณะการปรากฏตัวของสิ่งของเหล่านี้มีอารมณ์ที่คล้ายๆ กัน มันเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมและปัญหาหลายๆ อย่างตรงนั้นเป็นตัวกำหนด และถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจากฝีมือผู้คนตรงนั้นอย่างเฉพาะตัว แต่ที่มากไปกว่านั้นคือ เราสามารถเข้าใจและเรียนรู้ที่มาที่ไปของสิ่งของเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหนนั่นเอง กลับมาที่เนื้อหาหลักของคอลัมน์นี้ ผมได้คัดสรรภาพสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ผมตามจับจากสถานที่ต่างๆ มาแบ่งปันให้ทุกท่านได้รับชมกันอีกครั้งเช่นเคย ซึ่งหากใครจับภาพสิ่งของแนวๆ นี้ได้เหมือนกับผม ก็ติด […]
BKK in pieces ธีสิสซีนของคนทำงานออกแบบผู้สนใจเมือง นำเสนอของดีไซน์ไทยๆ ผสมผสานกับความสนุกของกราฟิก
ความชอบในสิ่งพิมพ์ การสังเกตและอธิบายสิ่งธรรมดารอบตัว และการตั้งคำถามเรื่องอะไรคือสุนทรียภาพแบบไทยๆ นำมาสู่การทำ BKK in pieces ธีสิสจบการศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ของ ‘ชิตวัน เพชรรัตน์’ ในช่วงเวลาระหว่างนั้น หนังสือที่เธอกำลังอ่านชื่อ ‘The Beauty of Everyday Things’ โดย Soetsu Yanagi ก็ทำให้เห็นว่าการพิจารณาสิ่งของพาเราสืบสาวไปหารากวัฒนธรรมที่สร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร “ในหนังสือมีส่วนที่กล่าวถึง Fundamental Principle ของการชงชา (Chabi) ไว้ว่า ‘As fortune would have it, it was not an intellectual concept, but rather consisted of concrete objects that acted as intermediaries…’ “กล่าวคือ ด้วยการมีอยู่ของสิ่งที่จับต้องได้อย่างสำนักชา ทางเดินในสวน […]
‘ทุก 4 ชั่วโมง มีคน 1 คนกำลังหายออกจากบ้าน’ สถิติคนหายกำลังบอกอะไรกับเรา
“ทุกสี่ชั่วโมง มีคนหนึ่งคนกำลังหายออกจากบ้าน” คำพูดสั้นๆ นี้คือสิ่งที่ ‘เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข’ หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา หนึ่งในสปีกเกอร์ของงาน dataCon 2024 บอกกับเราระหว่างช่วง Talk ในหัวข้อ ‘ข้อมูลคนหาย อะไรอีกที่หายนอกจากคน’ เป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ที่มูลนิธิกระจกเงามีบทบาทสำคัญในการตามหาคนหาย ที่นอกจากจะพบคนหาย ยังทำให้พบ ‘ความจริง’ บางอย่างที่สะท้อนเบื้องหลังสังคมไทย เมื่อพูดถึงคนหาย สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงเป็นกระบวนการค้ามนุษย์หรือการลักพาตัว แต่หลังจากเอกลักษณ์ก่อตั้งโครงการนี้และย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ทำให้พบว่าการหายตัวของบุคคลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นด้วยหลายปัจจัย โดยระยะเวลา 5 ปี ในระหว่างปี 2563 – 2567 พบว่า 5 อันดับสาเหตุการหายของคนไทยนั้น อันดับหนึ่งคือ การสมัครใจหนีออกจากบ้านด้วยตนเอง จำนวน 2,458 ราย และอันดับสองคือ จิตเวช จำนวน 1,933 ราย ตามมาด้วยสาเหตุ ขาดการติดต่อ 1,802 ราย, โรคสมองเสื่อม 634 […]
ลดแสงจ้า แก้ทางมืด สร้างเมืองน่าเที่ยว ทำความเข้าใจ Lighting Master Plan กับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’
ชีวิตคนเมืองกำลังถูกรบกวนด้วยมลภาวะทางแสงโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นแสงจากป้ายโฆษณา แสงจากอาคาร หรือแม้แต่ไฟจากถนน แน่นอนว่าข้อดีของแสงไฟเหล่านี้คือตัวช่วยให้เรามองเห็นในยามที่ท้องฟ้ามืดมิด แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งความสว่างเหล่านี้กำลังรบกวนการใช้ชีวิตของเราและสรรพสัตว์ในเมืองโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน แล้วจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถกำหนดแนวทางการออกแบบแสงสว่างในเมืองได้ โดยการเลือกใช้สีของแสงให้เข้ากับบรรยากาศในพื้นที่ต่างๆ ของเมือง กำหนดความสว่างให้ไม่รบกวนสายตาทั้งในเขตที่อยู่อาศัยและย่านการค้า ซึ่งนอกจากความสวยงามที่ส่งเสริมอัตลักษณ์และกระตุ้นการท่องเที่ยวของเมืองแล้ว ยังช่วยด้านมิติสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย คอลัมน์ Think Thought Thought วันนี้พาไปพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องแสงในเมืองกับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หนึ่งในนักออกแบบแสงสว่าง (Lighting Designer) ว่า Lighting Master Plan คืออะไร และทำไม ‘แสงสว่าง’ ที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตของเราในทุกมิติ ถึงควรถูกให้ความสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถอดบทเรียนแสงสว่างจากฝรั่งเศส พลิกโฉมอยุธยา กระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองเก่า ย้อนไป 20 ปีก่อน จรรยาพรเริ่มสนใจเรื่อง Lighting Master Plan การกำหนดแผนแม่บทหรือแนวทางการออกแบบแสงสว่างชุมชนเมือง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่ถูกเห็นความสำคัญในประเทศไทย จากการได้ทุนศึกษาปัญหาใน ‘เมืองเก่าอยุธยา’ ที่แม้จะเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย และรายล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมโบราณ ซึ่งเป็นพื้นที่มรดกโลกที่รับรองโดย UNESCO แต่กลับมีจำนวนนักท่องเที่ยวในเวลากลางคืนไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น […]