
Featured
หนึ่งวันใน INVESTORY พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุนแห่งแรกของไทย ที่เชื่อว่าทุกคนเป็นฮีโร่ทางการเงินได้
‘เงิน’ เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่เราคิด และเชื่อว่ายิ่งอายุมากขึ้นเท่าไร หลายคนก็ยิ่งมีความกังวลเกี่ยวกับเงินเก็บมากขึ้น เช่น เงินที่เราเก็บมาตลอดทั้งชีวิตจะเพียงพอต่อการใช้หลังเกษียณไหม และทำอย่างไรจึงจะมีเงินเพียงพอ ถึงจะบอกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่ในขณะเดียวกัน การเงินและการลงทุนก็ดูเป็นเรื่องไกลตัว เพราะมีแต่ตัวเลข เข้าใจยาก แถมชวนงงสุดๆ กับกองทุนนั้น หุ้นนี้ หรือการออมเงินหลากหลายรูปแบบ ด้วยเหตุนี้ Urban Creature อยากชวนทุกคนมาเรียนรู้เรื่องเงินๆ ทองๆ ไปด้วยกันที่ ‘พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน (Investment Discovery Museum)’ หรือ ‘INVESTORY’ ที่ซ่อนตัวอยู่ชั้นใต้ดินของอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มากไปกว่านั้น ด้วยความที่เป็นซีรีส์คอนเทนต์ ‘MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์’ เราจะพาไปเจาะลึกเรื่องราวที่ซ่อนตัวอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ผ่านคนทำงานผู้อยู่เบื้องหลัง ตั้งแต่ที่มาที่ไปของที่นี่ ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความใส่ใจในทุกรายละเอียด ตลอดจนเรื่องราวอินไซต์ที่ถ้ามาเยี่ยมชมเฉยๆ ก็อาจไม่รู้ว่ามีสิ่งนี้ซ่อนอยู่ แหล่งเรียนรู้ใต้ดินโบยบินสู่อิสรภาพทางการเงิน ถัดไปไม่ไกลจาก MRT สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ นอกจากตึกสูงที่เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ลึกลงไปชั้นใต้ดินยังเป็นที่ตั้งของห้องสมุดมารวย ห้องสมุดที่รวบรวมหนังสือและสื่อสารสนเทศเกี่ยวกับการเงินการลงทุน และ ‘พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน (Investment Discovery Museum)’ หรือ ‘INVESTORY’ แหล่งเรียนรู้เรื่องการเงินและการลงทุนแห่งแรกของประเทศไทย จุดหมายปลายทางของเราในวันนี้ด้วย […]
Helmet Station บริการให้ยืมหมวกกันน็อกที่วินมอเตอร์ไซค์
ช่วงนี้ในกรุงเทพฯ กวดขันเรื่องการสวมหมวกกันน็อกสุดๆ เนื่องจากมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังระดับที่ตำรวจเรียกจริงปรับจริง ซึ่งจริงๆ ก็ควรเป็นแบบนี้มานานแล้ว เพราะพาหนะหลักของคนไทยคือมอเตอร์ไซค์ และหมวกนิรภัยก็มีส่วนช่วยเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนได้จริง แต่ขณะเดียวกันก็ใช่ว่าเราจะไม่รู้เพนพอยต์ของการใช้งานหมวกกันน็อก เพราะแม้พี่ๆ วินมอเตอร์ไซค์จะเตรียมหมวกกันน็อกไว้ให้ผู้โดยสารแล้ว แต่ก็ใช่ว่าผู้โดยสารจะอยากสวมใส่อย่างเต็มใจ หรือต่อให้เต็มใจก็ใช่ว่าจะปลอดภัยจริงๆ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเสนอทางแก้ปัญหานี้ด้วยสเตชันให้ยืมหมวกกันน็อกที่วินมอเตอร์ไซค์ เริ่มความปลอดภัยง่ายๆ ที่วินมอเตอร์ไซค์ แม้จะมีบริการแกร็บไบค์ ไลน์แมน หรือแอปฯ เรียกรถมอเตอร์ไซค์อื่นๆ อีกมากมาย แต่ยังไง้ยังไงถ้าเอาสะดวกและไวที่สุด เราก็ยังไว้ใจให้พี่วินฯ เป็นที่พึ่งอันดับแรกก่อนอยู่ดี ดังนั้นเราจะเริ่มนำร่องติดตั้งบริการให้ยืมหมวกกันน็อกที่วินมอเตอร์ไซค์ทั่วกรุงเทพฯ ก่อน ถ้าได้ผลดีแล้วค่อยขยายไปยังพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพต่อไป หลายไซซ์ สี และสไตล์ตามความชอบและพอดีศีรษะ พอเป็นบริการให้ยืม หมวกกันน็อกก็ต้องหลากหลายมากพอให้ผู้ใช้งานเลือกหยิบใบที่ไซซ์พอดีกับศีรษะ หรือกระทั่งเลือกสีกับสไตล์ที่สวมใส่แล้วมั่นใจ โดยทุกใบต้องมีสายรัดคางที่ปรับระดับได้ แข็งแรงทนทาน ผ่านมาตรฐาน มอก. สภาพใหม่ มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ส่งกลิ่นเหม็นอับ มีกล้องบันทึกภาพวิดีโอ และติด GPS อีกฟังก์ชันที่เราจะเพิ่มให้กับหมวกกันน็อกทั้งหลายที่ให้บริการในวินมอเตอร์ไซค์คือ การติดตั้งกล้องบันทึกภาพวิดีโอและติดระบบ GPS เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้โดยสาร ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุไม่คาดฝัน ก็ใช้ภาพวิดีโอที่บันทึกไว้ชี้แจงเป็นหลักฐานได้ ขณะเดียวกัน ระบบ GPS จะช่วยระบุจุดเกิดเหตุได้อย่างแม่นยำ […]
ออกแบบศูนย์ส่งด่วน เตรียมความพร้อม ให้เหล่า Porter ในเกม Death Stranding
ในอนาคตปรากฏการณ์ ‘Death Stranding’ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงกับสังคมมนุษย์ เมื่อวิญญาณของมนุษย์ไม่สามารถผ่านไปสู่ภพแห่งความตายได้ เนื่องจากติดอยู่บริเวณพื้นที่กึ่งกลางระหว่างความตายที่เรียกว่า ‘The Beach’ เหล่าวิญญาณที่ยังติดอยู่และพยายามกลับมาในโลกของคนเป็นจะถูกเรียกว่า ‘BT’ (Beached Thing) ซึ่งถ้า BT สัมผัสกับสิ่งมีชีวิตจะทำให้เกิดการระเบิดครั้งใหญ่หรือ ‘Voidout’ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทำให้มนุษย์ต้องกระจายตัวกันอยู่ ไม่สามารถอยู่รวมเป็นชุมชนขนาดใหญ่ได้ ส่งผลให้สังคมมนุษย์ขาดการเชื่อมต่อ ด้วยเหตุนี้ ‘United Cities of America (UCA)’ นำโดยองค์กร ‘Bridges’ ได้มีความพยายามรวบรวมอเมริกาให้เป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง โดยใช้โครงข่าย Chiral Network เชื่อมต่อเมืองต่างๆ ในอเมริกาได้สำเร็จ เป็นเวลา 11 เดือนต่อมาหลังจาก Bridges เชื่อมต่อ UCA ได้แล้ว พวกเขามีแผนเชื่อมต่อพื้นที่ไปยังประเทศใกล้เคียงอย่างเม็กซิโก และใช้ ‘Plate Gate’ ในการเดินทางข้ามซีกโลกไปยังทวีปออสเตรเลีย ดินแดนรกร้างที่ยังไม่ถูกเชื่อมต่อ นี่จึงกลายเป็นหน้าที่ของเหล่า ‘Porter’ ที่จะออกเดินทางไปยังดินแดนแห่งใหม่นี้ และเชื่อมต่อทุกคนเข้าด้วยกัน ในโลกที่มนุษย์ต้องแยกกันอยู่ Porter หรือคนส่งของกลายเป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการเดินทางในดินแดนรกร้างเป็นเรื่องอันตราย ทั้งจากสภาพแวดล้อม […]
เชื่อมต่ออดีต สำรวจปัจจุบัน ก้าวสู่อนาคต หนึ่งวันใน The Jim Thompson Art Center หอศิลป์ที่อยากเป็นโอเอซิสการเรียนรู้ใจกลางเมือง
ไม่ว่าจะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะแบบไหน จะรถไฟฟ้า รถเมล์ หรือโดยสารเรือคลองแสนแสบ ก็เดินถึงที่นี่ได้ภายใน 3 นาที สถานที่แห่งนี้คือ ‘The Jim Thompson Art Center (หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน)’ อาคารปูนเปลือยสูง 5 ชั้น (รวมที่จอดรถชั้น G) บนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ที่มีกำแพงอิฐเรียงตัวกันเป็นลายผ้ามัดหมี่ อยู่ถัดจาก ‘พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน’ อาคารทรงเรือนไทย ที่หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นสถานที่เดียวกันอยู่บ่อยครั้ง เพื่อทำความรู้จักกับหอศิลป์ที่ยืนหยัดขอเป็นปอดสีเขียวใจกลางเมือง นำเสนอศิลปะร่วมสมัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ซีรีส์คอนเทนต์ ‘MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์’ ตอนที่ 2 จึงขอยืมตัว ‘คุณแชมป์-ชนพล จันทร์หอม’ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์และผู้ช่วยประสานโครงการประจำหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน มาพาเดินชมหอศิลป์ฯ เพื่อบอกเล่าเกี่ยวกับตัวพื้นที่ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน จิม ทอมป์สัน / หอศิลป์ / ศิลปะร่วมสมัย “คนมักเข้าใจว่าตัวหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สันกับพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สันเป็นที่เดียวกัน ทั้งที่จริงไม่ใช่” คุณแชมป์บอกกับเราตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มเข้าสู่บทสนทนาอย่างเป็นทางการ ถึงความเข้าใจผิดที่เป็นคล้ายค่าดีฟอลต์จนเขาต้องขอเกริ่นนำก่อน […]
‘Aa kaan-อาคาร’ เพจของชาวเกมเมอร์ตัวเหลี่ยม ที่เนรมิตสถาปัตยกรรมไทยขึ้นในเกม Minecraft
เอามือทุบต้นไม้ สร้างบ้านดิน ขุดเหมือง สู้กับครีปเปอร์ เดินตกลาวา แย่งบ้าน Villager ทำเรดสโตน เหล่านี้คือตัวอย่างกิจกรรมที่เหล่าผู้เล่นเกม ‘Minecraft’ (ไมน์คราฟต์) ต่างคุ้นเคยกันดี แต่นอกเหนือจากโหมดเอาชีวิตรอด (Survival) ที่เป็นเหมือนสตาร์ทเตอร์แพ็กของชาวเกมเมอร์ ในเกมยังมีโหมด ‘สร้างสรรค์’ (Creative) ที่อนุญาตให้ผู้เล่นสร้างและทำลายสิ่งก่อสร้างและกลไกต่างๆ ได้อย่างอิสระ นี่จึงเป็นเหมือนหลุมหลบภัยให้กับสายครีเอทีฟได้ระเบิดพลังสร้างโลกและสิ่งปลูกสร้างในเกมเป็นของตัวเอง คอลัมน์ Art Attack ขอพามาบุกแมปเทพๆ ของ ‘ณัฐ-ณัฐวุฒิ เอื้อธีรมงคล’ และ ‘น้ำมนต์-ศิวัช สุขเลิศกมล’ 2 ตัวแทนแอดมินจากเพจ ‘Aa kaan-อาคาร’ ที่แม้จะเปลี่ยนชื่อเพจมาแล้วถึง 2 ครั้งจาก ‘Minecraft สถาปัตยกรรม’ และ ‘Minecraft Architecture’ แต่ยังคง DNA ของการลงงานสถาปัตยกรรมไทยในเกมอย่างไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อคุยถึงเบื้องหลังการสร้างสถาปัตยกรรมไทยในเกมไมน์คราฟต์ที่ทำเอาลูกเพจอ้าปากค้างทุกครั้งที่เห็น เริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่เล็กประสบการณ์ “แต่ละคนเริ่มเล่นเกมไมน์คราฟต์กันตั้งแต่เมื่อไหร่” คำถามแรกที่ไม่ถามคงไม่ได้เมื่อเริ่มบทสนทนากับชาวเกมเมอร์ ณัฐวุฒิและศิวัชบอกกับเราว่า เพจ Minecraft สถาปัตยกรรม […]
Intergenerational Space ขอพื้นที่ให้คนต่างวัย ได้หายใจภายในพื้นที่ครอบครัว
จากการ ‘เปิดจักรวาลข้อมูล 6 ปี ของมนุษย์ต่างวัย’ ในงาน ‘มนุษย์ต่างวัย Fest 2025 ชีวิตดี…ชีวิต ซีซัน 2 It’s Okay To Be You’ เมื่อวันที่ 21 – 22 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา ทำให้เรารู้ว่ามูฟเมนต์การขับเคลื่อนสังคมสูงวัยเกิดขึ้นได้จากการสะสมเรื่องเล่าจากผู้คนในวัยต่างๆ ทั้งผู้สูงอายุ วัยกลางคน หรือแม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างการรับรู้ต่อคำว่า ‘วัยใหม่’ เพราะ ‘วัย’ ไม่ใช่สิ่งที่แบ่งแยกเราออกจากกัน แต่คือสิ่งที่เชื่อมเราเข้าหากันผ่านประสบการณ์และมุมมองที่หลากหลาย ครอบครัวเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีความต้องการเหมือนกัน หนึ่งในหัวข้อที่คนต่างวัยต้องเชื่อมโยงกันอย่างแยกออกไม่ได้คือ ‘ที่อยู่อาศัย’ ซึ่งเมื่อมีความเป็น ‘ครอบครัว’ มาเกี่ยวข้องทีไร มักโยงใยไปถึง ‘ความกตัญญู’ อยู่เสมอ ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมาของการเก็บข้อมูลภายในเพจมนุษย์ต่างวัยพบว่า ความกตัญญูยังเป็นค่านิยมที่ลูกๆ ยึดถือ และการแสดงออกถึงความกตัญญูมักมาพร้อมกับการอาศัยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ เพื่อดูแลและแบ่งปันการใช้ชีวิตกับพ่อแม่ในบ้านหลังเดียวกัน จากผลการวิจัยในปี 2562 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล […]
เพ่งพิศ Bangkok Art and Culture Centre หนึ่งวันในศูนย์ศิลปะสะท้อนภาพสังคม พื้นที่สาธารณะที่รอให้ทุกคนออกมาใช้งาน
ภาพบันไดวนสีขาวใหญ่โตตรงหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างชั้น 7 ถึงชั้น 9 คือภาพที่คุ้นเคยกันดีของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) หรือที่เรารู้จักในนาม ‘BACC’ สถานที่ที่ใครๆ ต่างเคยมีความทรงจำร่วม ไม่ว่าจะมาเยือนในฐานะผู้ชมงานศิลปะ หรือแวะเวียนมาใช้พื้นที่เป็นจุดนัดพบเพื่อนฝูงหรือทำกิจกรรมร่วมกัน ยิ่ง BACC อยู่มานานเท่าไหร่ ก็ยิ่งทวีความครึกครื้นมากขึ้นไปเท่านั้น สังเกตได้จากจำนวนผู้คนมากหน้าหลายตาที่มาเยือนพื้นที่แห่งนี้ ทั้งที่มาชมงานศิลปะและเดินเข้าเดินออกร้านรวงต่างๆ ภายในบริเวณ สอดคล้องไปกับปริมาณของร้านค้าและพื้นที่สร้างสรรค์ที่เหมือนจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อ 4 – 5 ปีก่อนอยู่พอสมควรเลยทีเดียว แต่การมา BACC ของคอลัมน์ One Day With… ในครั้งนี้จะแตกต่างออกไปจากครั้งอื่นๆ อย่างแน่นอน เพราะเราจะมาล้วงลึกเบื้องหลังการทำงานของหอศิลปกรุงเทพฯ ผ่านคนวงใน เพื่อทำความรู้จักตึกใหญ่โตสีขาวใจกลางเมืองแห่งนี้ในมุมอินไซต์ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ผ่านซีรีส์ MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์ ไปพร้อมกัน เป็นที่รู้กันว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่นึกถึงเสมอเมื่อใครหลายคนมองหาพื้นที่สงบใจกลางเมือง ทำให้ทุกครั้งที่เรามา BACC มักจะมีเป้าหมายในใจอย่างการตรงดิ่งเข้าชมนิทรรศการบริเวณชั้น 7, 8 และ 9 ก่อนจะปิดท้ายด้วยการแวะอัปเดตสินค้างานคราฟต์บริเวณชั้นร้านค้า artHUB เป็นต้น […]
‘SAMA Garden’ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ในบางนา ที่จะช่วยฮีลใจคนเมืองด้วยธรรมชาติ และกิจกรรมที่ทำให้เป็นวันพักผ่อนที่ดีที่สุด
วันหยุดนี้ลองแวะไปพักผ่อนกายใจที่พื้นที่สีเขียวฮีลใจแห่งใหม่ในย่านบางนาดูสิ เพราะทุกวันในเมืองเรามักต้องพบเจอความเร่งรีบของผู้คน ความตึงเครียดจากงาน และมลพิษที่อยู่รอบตัวตั้งแต่ก้าวเท้าออกจากบ้าน ส่งผลให้หลายคนต้องคอยมองหาวิธีคลายเครียดอยู่เสมอๆ ซึ่งหนึ่งในวิธีการผ่อนคลายที่ได้ผลคือ การเข้าใกล้ธรรมชาติเพื่อช่วยฮีลใจให้ได้สัมผัสกับคำว่าสโลว์ไลฟ์กันบ้าง แต่หากมีเวลาเพียงหนึ่งวัน การไปพักใจในธรรมชาติต่างจังหวัดก็อาจจะไกลเกินไป คอลัมน์ Urban Guide จึงอยากชวนไปใช้เวลาหนึ่งวันให้คุ้มค่าในย่านบางนา กับแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในไบเทคบุรี ที่มีให้ครบทั้งไลฟ์สไตล์และธรรมชาติ ไม่ต้องเดินทางไกลก็ได้สัมผัสสีเขียวในเมือง ตามเราไปสำรวจ SAMA Garden กันว่า สถานที่ที่เป็น Green Living แบบครบวงจรนี้มีกิจกรรมอะไรให้คนเมืองไปใช้เวลาหนึ่งวันแบบสบายๆ เติมพลังใจให้ขึ้นขีดสีเขียวกันบ้าง ปรับชีวิตคนเมืองให้สมดุลด้วยการเรียนรู้ชีวิตแบบ Green Living จริงอยู่ที่ในตอนนี้พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในหลากหลายย่าน แต่ SAMA Garden นั้นเป็นมากกว่าพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะ เพราะยังเป็นสถานที่ที่รวมความเป็นไลฟ์สไตล์เอาไว้ในที่เดียวด้วย ‘คุณบอย-ษัณปการ แสงจันทร์’ SAMA Garden Department Manager เล่าถึงคอนเซปต์ไอเดียของ SAMA Garden ให้เราฟังว่า เดิมทีพื้นที่ของไบเทคบุรีมีการจัดอีเวนต์อยู่ตลอดเวลา และมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เขาจึงอยากสร้างความแปลกใหม่ให้พื้นที่ด้วยการกระตุ้น Sensory Awareness หรือการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของผู้คนผ่านคอนเซปต์ Live & […]
ชวนไปเพ่งพิศ 10 พิพิธภัณฑ์ ที่ได้รับการันตีจากโครงการ Museum STAR
‘พิพิธภัณฑ์’ เป็นเสมือนกุญแจเปิดสู่โลกกว้าง กระตุ้นความคิดและจินตนาการผ่านประสาทการรับรู้ทั้ง 5 ไม่ว่าจะเป็นรูป รส สัมผัส กลิ่น เสียง โดยที่ทุกอย่างได้รับการจัดเรียงและคิดมาเป็นอย่างดีแล้ว และแต่ละคนเองคงมีพิพิธภัณฑ์ติดดาวในดวงใจที่จะไปกับเพื่อนหรือคนเดียวก็เอนจอยและเพลิดเพลินทุกครั้ง ไม่ว่าจะไปชมนิทรรศการ ไปสำรวจพื้นที่ หรือไปใช้เวลาพักผ่อนสบายๆ ก็ตาม ถึงอย่างนั้นก็คงดีไม่น้อยถ้าเราจะได้ลองไปเยี่ยมเยียนมิวเซียมแห่งใหม่ๆ เผื่อได้สถานที่ชุบชูใจเพิ่มเติมมาไว้ในลิสต์อีก เพื่อเป็นอินโทรสู่ซีรีส์คอนเทนต์ที่ Urban Creature ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) และ Museum Thailand จึงอยากชวนผู้อ่านมารู้จักกับลิสต์ 10 พิพิธภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลโครงการ Museum STAR กันก่อนที่จะไปทัวร์แต่ละแห่งอย่างลงลึก พร้อมรับรู้เบื้องหลังการดำเนินงานผ่านถ้อยคำของตัวแทนมิวเซียมในบทสัมภาษณ์คอลัมน์ One Day With… 1) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) ‘หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ BACC’ คือ Art Center เคียงคู่กรุงเทพฯ และพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมตัวของชาววัยรุ่นสยาม ซึ่งไม่เคยว่างเว้นจากนิทรรศการหมุนเวียนนับร้อยที่กระจายตัวทั่วทุกชั้นตั้งแต่ชั้น 1 – 9 อีกทั้งยังมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา […]
ออกแบบ ‘Hawker Center’ แบบไทยๆ แก้ปัญหาหาบเร่แผงลอย คืนพื้นที่ทางเท้าที่หายไป
‘ไทยแลนด์ดินแดนสตรีทฟู้ด’ หนึ่งในอัตลักษณ์ของไทยที่เลื่องลือกันไปทั่วโลก ทว่าเบื้องหลังก็มีปัญหาคลาสสิกมากมายที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข อย่างที่รู้กันว่า กรุงเทพฯ กับหาบเร่แผงลอยเป็นปัญหาคาราคาซังมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งการล้ำเส้นทางเท้า กีดขวางทางสัญจร ความสกปรกจากน้ำทิ้งและเศษซากจากการประกอบอาหารหรือตั้งร้าน รวมถึงสุขอนามัยของผู้บริโภค ปัจจุบันกรุงเทพฯ นำ ‘Hawker Center’ โมเดลศูนย์อาหารจัดระเบียบร้านของสิงคโปร์มาปรับใช้บ้างแล้ว แต่ก็เจอทางตันและข้อจำกัดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นที่ไม่เอื้อต่อการจัดสรร การควบคุมมาตรฐาน ทุนสนับสนุน ไปจนถึงการคงไว้ซึ่งเสน่ห์ของสตรีทฟู้ดแบบไทยๆ ส่งผลให้ประเด็นหาบเร่แผงลอยเป็น Love-Hate Relationship ที่อยู่คู่คนกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน ถึงอย่างนั้น การแก้ไขปัญหาก็ไม่ควรเป็นการขับไล่ร้านเหล่านั้นออกไปเพื่อเป็นการตัดจบ แต่ควรเป็นประเด็นขบคิดว่า เราจะทำอย่างไรให้ทางเท้ากลับมาเป็นทางเท้าเหมือนเดิม ในขณะเดียวกันก็ไม่กระทบการทำมาหากินของเหล่าผู้ประกอบการ คอลัมน์ Urban Sketch ขอเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบ ‘Hawker Center แบบไทยๆ’ สีสันจัดจ้านตามแบบฉบับสตรีทฟู้ดไทยที่ขมวดจบทุกปัญหา เสนอทางออกที่หลายฝ่ายจะแฮปปี้ คืนทางเท้าที่ดีให้นักสัญจรทางเท้าทุกท่าน อีกทั้งยังคงความเป็นสตรีทฟู้ดอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของไทย ขอให้ทางเท้ามีทางให้เท้าเดิน อย่างแรกร้านค้าต้องรู้ก่อนว่า ตรงไหนบ้างที่ห้ามตั้งร้านหาบเร่แผงลอย ปัจจุบันเทศกิจกำหนดว่า บริเวณที่ห้ามจำหน่ายสินค้าเด็ดขาดคือทางเท้าแคบที่กว้างไม่ถึง 2 เมตร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทางเท้าที่ดีควรมีความกว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 2 เมตร แต่ประเทศไทยเองยังมีหลายพื้นที่ที่ทางเท้าแคบและไม่ได้มาตรฐาน เมื่อมีหาบเร่แผงลอยมาตั้งร้านอีกจึงเกิดปัญหาซ้ำซ้อนตามมา ถ้าไปดูกรณีของไต้หวันจะพบว่า […]
นกพิราบในเมือง อารยธรรมความเป็นเมืองที่เอื้อต่อพัฒนาการและปัญหานกพิราบล้นกรุง
ขึงตาข่าย งูปลอม หรือโมไบล์กระดิ่งลม ดูจะเป็นสิ่งของที่ชาวเมืองคุ้นเคยกันดีในฐานะเครื่องมือต่อกรกับ ‘นกพิราบ’ ที่มักมาทำรังบริเวณระเบียงตึกสูงและที่อยู่อาศัย ปัญหานกพิราบในกรุงเทพฯ ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก ทั้งในสเกลของที่อยู่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ จนถึงขนาดมีการออกกฎหมายและข้อระเบียบมาใช้ ภาพจำของนกกับธรรมชาติดูเป็นของคู่กัน แต่พวกมันกลับเจริญเติบโตได้ดีในเมืองที่เต็มไปด้วยพื้นที่คอนกรีต และดูเหมือนว่าอัตราการเพิ่มจำนวนของเจ้าสัตว์ชนิดนี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมของโลก ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้นกพิราบเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมความเป็นเมือง ตามไปดูกันในบทความนี้ โครงสร้างของตึกสูงคล้ายกับถิ่นกำเนิดของนกพิราบ ในอดีตนกพิราบมักอาศัยอยู่บริเวณปากถ้ำหรือหน้าผาหิน พัฒนาการของนกพิราบบนตึกจึงเหมือนเป็นการอยู่อาศัยบนหน้าผาจำลอง โดยเฉพาะตึกสูงที่มีระเบียงให้พวกมันเกาะหรือมีช่องให้ทำรัง อีกทั้งนกพิราบยังมีความสามารถในการจดจำเส้นทางได้ดีมาก ส่งผลให้การจดจำที่อยู่อาศัย หรือมองหาพื้นที่ทำรังในเมืองที่มีผังเมืองซับซ้อนแบบที่มนุษย์อย่างเราแค่มองยังปวดหัว ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพวกมัน และเมื่อจดจำเส้นทางได้ดี นกพิราบจึงควบตำแหน่งสัตว์ที่มีชื่อเสียงในการหาทางกลับบ้าน จนเคยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในฐานะเครื่องส่งข้อความหรือที่เรารู้จักในนาม ‘นกพิราบสื่อสาร’ ตั้งแต่ประมาณ 3,000 ปีก่อน ไม่แปลกเลยที่ฉายาเจ้าแห่งเส้นทางจะเป็นที่มาให้พวกมันสามารถเอาชีวิตรอดและเติบโตในเมืองใหญ่ได้ แหล่งอาหารนกพิราบ เศษซากของเหลือและความใจบุญสุนทาน โดยปกติแล้วสิ่งมีชีวิตจะมาคู่กับห่วงโซ่อาหาร มีผู้ล่าและผู้ถูกล่า เพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่สมดุล แต่สถานการณ์ของวงจรนกพิราบตอนนี้คือ ระบบนิเวศในเมืองกำลังขาดความหลากหลายของผู้ล่าอย่างเหยี่ยวหรืองู อีกทั้งนกพิราบยังเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ปริมาณจึงเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยไม่มีสิ่งใดมาควบคุม ไม่มีผู้ล่าคอยควบคุมจำนวนก็เรื่องหนึ่ง แต่อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นกพิราบใช้ชีวิตในเมืองรุ่นสู่รุ่นได้คือ แหล่งอาหารของพวกมัน คนเมืองจำนวนมากน่าจะคุ้นเคยกับภาพการจิกหาอาหารตามลานโล่งของนกพิราบ โดยเฉพาะบริเวณสวนสาธารณะ ลานโล่ง หรือท่าเรือ พวกมันล้วนแล้วแต่มองหาอาหารที่ชอบ เช่น เมล็ดธัญพืช หนอน และแมลง ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเป็นบริบทของเมืองใหญ่ อาหารลักษณะนี้คงไม่ได้หาได้ง่ายนัก […]
‘ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกระบบ แรงงานก็คือแรงงาน’ คุยถึงปัญหาแรงงานนอกระบบกับตัวแทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
ทำไม ‘แรงงานนอกระบบ’ ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเทียบเท่ากับ ‘แรงงานในระบบ’ กันนะ ในเมื่อไม่ว่านายกฯ ตำรวจ วิศวกร กรรมกร หรืออาชีพใด ต่างล้วนเป็น ‘แรงงาน’ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างเศรษฐกิจและสังคมด้วยกันทั้งนั้น คำถามนี้คือจุดตั้งต้นที่ทำให้ Urban Creature ตัดสินใจติดต่อไปยัง ‘องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO)’ เพื่อพูดคุยกับ ‘เปิ้ล-จิตติมา ศรีสุขนาม’ เจ้าหน้าที่บริหารโครงการอาวุโสประจำประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถึงสถานการณ์แรงงานนอกระบบในประเทศไทยที่ต้องเผชิญ และสิ่งที่ ILO พยายามผลักดันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้อง รับหน้าที่ตัวกลางประสาน เข้าไปพูดคุยกับนายจ้าง หรืออยู่ข้างลูกจ้างที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งหมดนี้ ILO ทำโดยมีหัวใจหลักที่มีชื่อว่า ‘สิทธิมนุษยชน’ เป็นหลักการขั้นพื้นฐาน “เวลาพูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน คำแรกที่เจอเลยคือ ‘มนุษย์’ เพราะฉะนั้นคนทุกคนที่ทำงานก็ต้องมีสิทธิเหล่านี้ มันไม่ใช่ควรได้ แต่ต้องมี” ก่อนอื่นอยากให้คุณอธิบายก่อนว่า องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เป็นองค์การแบบไหน ILO เป็นหนึ่งใน ‘องค์การชำนาญการพิเศษประจำสหประชาชาติ (Specialized UN […]