Urban Sketch
เปิดแนวคิดสุดครีเอทีฟในรูปแบบ Skecth Design เกี่ยวกับการใช้งานพื้นที่ในเมือง เมืองในฝันที่อาจทำได้จริงเป็นอย่างไรดูได้ที่นี่
Sustainable Market Event จัดอีเวนต์อย่างไรให้ยั่งยืนและดีต่อโลก
เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มเห็นอีเวนต์ต่างๆ จัดขึ้น เตรียมให้เราได้ไปเดินเล่นและร่วมสนุกกันแทบทุกสัปดาห์ ซึ่งอีเวนต์ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งมักจะเป็น ‘Market Event’ ที่มีทั้งโซนขายของ โซนอาหาร มาพร้อมสินค้าที่หลากหลายและน่าสนใจตามธีมของแต่ละงาน ทว่าการจัดอีเวนต์แต่ละครั้ง ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การสร้างขยะภายในงาน การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มลภาวะจากการเดินทาง ฯลฯ เพราะกังวลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอนาคต หลายอีเวนต์ทั่วโลกจึงเริ่มตระหนักถึงความรับผิดชอบในมิติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นอีกโจทย์สำคัญของผู้จัดงานต่างๆ ว่าจะมีวิธีและทิศทางการจัดงานแบบไหนบ้าง ที่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คอลัมน์ Urban Sketch วันนี้จึงขอจำลองวิธีการจัด Sustainable Market Event ที่ทุกคนยังคงเพลิดเพลินกับกิจกรรมได้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือแนวทางเรื่องความยั่งยืน สำหรับจัดอีเวนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมๆ กัน 1) บูททำจากวัสดุธรรมชาติ ลดการใช้อุปกรณ์ยึดโครง– Market Event คือการรวมตัวของบูทร้านค้ามากมาย ซึ่งปกติแล้วโครงสร้างของบูทจะทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียม แต่เพื่อให้ตัวงานเกิดความยั่งยืนมากขึ้น เราจึงเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างที่ทำจากไม้ทั้งหมด และเลี่ยงการใช้ตะปูหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวไม้ เมื่อจบงานแล้วก็สามารถถอดเก็บไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในอนาคต 2) ใช้ป้ายลบได้เพื่อเก็บไว้ใช้ซ้ำ – ยกเลิกการใช้ป้ายต่างๆ ภายในงาน เช่น […]
เปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ใช้งานได้จริง
จะดีแค่ไหนถ้ากรุงเทพฯ มี ‘พื้นที่สาธารณะ’ ให้ผู้คนเข้าถึงและใช้งานได้มากกว่านี้ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะได้รับฉายาว่ามหานครที่ไม่เคยหลับใหล เพราะเต็มไปด้วยแสงสี ความสว่างไสว และความคึกคักจากกิจกรรมของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว แต่ถ้าสังเกตดีๆ เมืองหลวงแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้าง ว่างเปล่า หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ แถมหลายแห่งยังขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยน ความหลอน จนน้อยคนนักจะกล้าไปเยือน สิ้นเดือนนี้ก็จะถึงเทศกาลฮาโลวีนแล้ว คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ที่ซุกซ่อนอยู่ตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่มากขึ้น มีหลากหลายไอเดียตั้งแต่การปรับปรุงตึกร้างให้เป็นสวนแนวตั้ง ไปจนถึงเปลี่ยนสุสานเครื่องบินให้เป็นพื้นที่ศิลปะเท่ๆ ก็มี ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนไปล่าท้าผี เอ้ย! ไปสำรวจการออกแบบสนุกๆ พร้อมกันตอนนี้เลย เปลี่ยน ‘ตึกสาธรยูนีค’ ให้เป็น ‘สวนแนวตั้ง’ ที่ชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไม่อั้น หากใครเดินทางไปบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นตึกร้างสูง 49 ชั้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกตกทอดจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ถึงแม้ว่าจะสร้างเสร็จไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ต้องหยุดชะงัก ไม่เสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานได้อย่างที่หวัง ตึกหลังนี้มีชื่อว่า ‘ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์’ หรือที่ต่างชาติต่างขนานนามให้เป็น […]
เปลี่ยนศาลาว่าการ กทม. เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ
สืบเนื่องจากนโยบายของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีแผนย้ายศาลาว่าการ กทม. จากเสาชิงช้าไปย่านดินแดง และเปลี่ยนอาคารหลังเก่านี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของเมืองในอนาคต ด้วยพื้นที่อาคารขนาดใหญ่ประมาณ 7 ไร่ และลานคนเมืองประมาณ 6.5 ไร่ ตีเลขกลมๆ ทั้งหมดเกือบ 14 ไร่ หรือเทียบเท่าพื้นที่ 3 สนามฟุตบอลเลยทีเดียว คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาเปิดพื้นที่รวบรวมไอเดียว่า ศาลาว่าการ กทม. ควรเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์แบบใดจึงจะตอบโจทย์คนเมืองอย่างแท้จริง ผ่านการสัมภาษณ์ตัวแทนในแวดวงต่างๆ เช่น คนรักพิพิธภัณฑ์จากกลุ่ม ‘ไปพิพิธภัณฑ์แล้วหัวใจเบิกบาน’, คนชื่นชอบศิลปะดิจิทัลจากเพจ ‘NFT Thailand’, ตัวแทนกระบอกเสียงคนพิการจากเพจ ‘ThisAble.me’ และเยาวชนที่สนใจเรื่องเมืองจาก ‘เยาวชนริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces – RTUS)’ ที่มาช่วยกันดีไซน์พิพิธภัณฑ์ในแต่ละมุมมองที่น่าสนใจ ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาทุกคนไปทัวร์พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ในฝันพร้อมกันตอนนี้เลย! Bangkok Time Machine Museumพิพิธภัณฑ์ท่องประวัติศาสตร์ ย้อนเหตุการณ์กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ ควรเล่าเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งเมืองและเข้าถึงคนทุกกลุ่ม […]
Make Bangkok Liveable Again จำลองกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ตามนโยบายของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’
‘กรุงเทพฯ’ ในฝันตามแบบฉบับของ ‘ชัชชาติ’ จะเป็นแบบไหนกันนะ หนึ่งในบุคคลที่กระแสแรงที่สุดในช่วงนี้ก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ผู้คว้าชัยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 อย่างถล่มทลาย สูงสุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ หรือกว่า 1,386,769 คะแนน (คะแนนอย่างไม่เป็นทางการ) ช่วงหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติยังเป็นขวัญใจของคนหลายกลุ่ม จากภาพลักษณ์ธรรมดาๆ เข้าถึงง่าย วิธีหาเสียงที่คำนึงถึงผู้คนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสโลแกน ‘กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ มาพร้อมนโยบายกว่า 214 ข้อที่เกิดจากการลงพื้นที่ฟังเสียงของชาว กทม. นานกว่า 2 ปี โดยรวบรวมให้ทุกคนอ่านอย่างละเอียดที่ www.chadchart.com คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองและออกแบบเมืองกรุงเทพฯ ให้ทุกคนเห็นว่า หากชัชชาติพัฒนาเมืองตามนโยบายเหล่านี้ได้จริง เมืองน่าอยู่ในสายตาของเขาจะมีหน้าตาประมาณไหน โดยเราได้หยิบยกไอเดียมาจากนโยบายที่น่าสนใจ ครอบคลุมบริบทของเมืองกรุงเทพฯ หลากมิติ เช่น พื้นที่สาธารณะ ระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย […]
People-friendly Signs ออกแบบป้ายหาเสียงอย่างสร้างสรรค์และเป็นมิตรกับเมือง
สำหรับการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือเลือกตั้งนายกฯ คนใหม่ หนึ่งในประเด็นที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางก็คือเรื่อง ‘ป้ายหาเสียง’ เพราะในหลายพื้นที่ป้ายหาเสียงหลากขนาด หลากสี ถูกติดตั้งไว้ริมถนนจนเกะกะทางเท้า บดบังทัศนียภาพ และขัดขวางการจราจรของผู้คน ซึ่งจากกระแสเหล่านี้ก็ทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์ที่ผู้สมัครหลายรายลุกขึ้นมาปฏิวัติดีไซน์ป้ายหาเสียงให้เป็นมิตรกับคนเมืองมากขึ้น เช่น ป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัส ป้ายขนาดเท่าเสาไฟ ป้ายที่นำไปรีไซเคิลได้ รวมไปถึงกลยุทธ์ลดการติดป้ายและติดเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนน้อยที่สุด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการติดตั้งป้ายเหล่านี้ก็ยังก่อให้เกิดปัญหาและความรำคาญใจต่อการใช้ชีวิตของคนในประเทศอยู่ไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากช่วยเหล่าผู้สมัครต่อยอดไอเดียการทำป้ายหาเสียงให้น่าสนใจกว่าเดิม ผ่านการออกแบบป้ายหาเสียงตามพื้นที่และบริเวณต่างๆ ที่จะช่วยให้บรรยากาศการเลือกตั้งเป็นระเบียบและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น เพราะเราเชื่อว่าการออกแบบป้ายหาเสียงที่คำนึงถึงการใช้ชีวิตของประชาชนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร อีกทั้งยังสะท้อนความหวังในการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย การดีไซน์ป้ายหาเสียงจะเป็นอย่างไร และจะติดตั้งบริเวณใดบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย! หมายเหตุ : ทั้งหมดเป็นแนวคิดที่เราอยากให้เกิดขึ้น หากประเทศไทยไม่มีเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือกฎระเบียบใดๆ เกี่ยวกับการติดป้ายหาเสียง 01 | หาเสียงแบบไม่ขวางทางใครด้วยป้ายสไตล์มินิมอล ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายครั้งป้ายหาเสียงของเหล่าผู้สมัครเลือกตั้ง ถูกติดตั้งตามท้องถนนอย่างกระจัดกระจายและไม่เป็นระเบียบ ในบางพื้นที่ป้ายจำนวนมากวางทับซ้อนกันจนไม่น่ามอง ส่วนในบางพื้นที่ก็มีป้ายชำรุดเสียหาย เนื่องจากพายุฝนลมแรงและฝีมือของคนมือบอน ทำให้บ้านเมืองสกปรก รกรุงรัง ที่หนักไปกว่านั้น ยังอาจทำให้ประชาชนที่สัญจรไปมาประสบอุบัติเหตุได้ด้วย เราจึงอยากติดตั้งป้ายหาเสียงให้เป็นระเบียบและเรียบง่ายที่สุด โดยเอาไอเดียมาจากการติดตั้งป้ายหาเสียงในต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ […]
City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน
จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]
Urban Sketch คน-กรุงเทพฯ-ความคิด ถ้าเมืองที่เราอยู่มีชีวิต เขาจะเป็นคนอย่างไร ?
คุณลองนึกดูถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหรือควรห่างคนแบบนี้กันนะ . เมื่อเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ เราจึงได้คิดโจทย์สนุกๆ ให้ซีรีส์ Bangkok Hope ในการให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจิตนาการของตัวเอง หน้าต้าจะน่ารักหรือน่าคบไหม จะตรงกับสิ่งที่คุณคิดอยู่หรือเปล่า เราตามมาดูพร้อมๆ กันในคลิปนี้เลย! . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #ผู้ว่ากทม #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ
ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ
ถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหาหรือควรถอยห่างคนแบบนี้กันนะ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับคนกรุงเทพฯ หรือคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เราคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งชัง (Love-Hate Relationship) รักในแง่ความเจริญ มีชีวิตชีวา มีความสร้างสรรค์ และมีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า ขณะเดียวกันก็ชังที่ความเจริญนี้มีเพียงวัตถุ แต่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ได้งอกงามตามไปด้วย ผู้คนยังต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเครียด ฝุ่นควัน หมดเวลากับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ หมุนวนไปกับการทำงานรายวันที่ยากจะมีโอกาสหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ เมื่อวินาทีนี้ เรากำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ อยู่ทุกชั่วขณะ คอลัมน์ Urban Sketch จึงใช้โอกาสนี้นำเสนอเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ ผ่านภาพวาดในหัวข้อ ‘ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ’ โดยคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่เมืองหลวงแห่งนี้ จำนวนสามคน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างมุมมอง พวกเขามองกรุงเทพฯ เป็นคนแบบไหน เรายื่นโจทย์ให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจินตนาการของตัวเอง หน้าตาจะน่ารักหรือน่าคบไหม เราตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ อายุ 30 ปีอาชีพ สถาปนิกภูมิลำเนา กรุงเทพฯ “เราคิดว่า ถ้าต้องวาดกรุงเทพฯ […]
Ideal School ชวนนักเรียนออกแบบโรงเรียนในฝันที่ทั้งสนุกและตอบโจทย์ผู้เรียน
การระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน หลายคนเริ่มโอดครวญไม่อยากเรียนผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยมแล้ว เพราะนอกจากนักเรียนจะไม่มีสมาธิ เนื้อหาไม่เข้าหัว จนรู้สึกหมดไฟไปตามๆ กัน และยังไม่มีใครฟันธงได้ว่าเด็กๆ จะได้กลับไปโรงเรียนแบบ 100% อีกเมื่อไหร่ Urban Creature จึงขอพักเบรกความรู้สึกห่อเหี่ยวและเหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์ โดยการชวนนักเรียนชั้นประถมฯ จนถึงวัยมัธยมฯ มาร่วมกันระดมไอเดียสนุกๆ และสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบ ‘โรงเรียนในอุดมคติ’ ตามแบบฉบับ Urban Sketch จุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอไอเดียเกี่ยวกับการออกแบบโรงเรียน ทำให้ห้องเรียน ตึก และอาคารส่วนใหญ่มีฟังก์ชันที่ไม่เหมาะกับการใช้งานของผู้เรียนเท่าที่ควร นอกจากนั้น เวลาซื้ออุปกรณ์หรือสร้างพื้นที่ใหม่ๆ โรงเรียนก็ไม่เคยถามความคิดเห็นจากเด็ก ว่าพวกเขาต้องการหรือคิดว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น เราจึงอยากให้เด็กๆ ช่วยกันจินตนาการว่า ถ้าเลือกเองได้ โรงเรียนควรออกแบบอย่างไร หรือควรมีอะไรบ้าง พวกเขาถึงจะเรียนได้อย่างสบายกายและสบายใจ เพราะหลายโรงเรียนทั่วโลกก็ออกแบบโดยยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางทั้งนั้น การออกแบบของเด็กๆ มีตั้งแต่ฟังก์ชันล้ำที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การออกแบบห้องสมุดเพื่อความสะดวกสบาย ไปจนถึงการจัดวางห้องศิลปะและโรงอาหารที่ผู้ใหญ่อย่างเรานึกไม่ถึงมาก่อน ทั้งหมดนี้คือการออกแบบที่จะทำให้นักเรียนแฮปปี้และสนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนแพ็กกระเป๋า สวมจิตวิญญาณของนักเรียน และไปทัวร์โรงเรียนในฝันด้วยกันเลย! 01 | ห้องเรียนที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคในการเรียน ห้องเรียนส่วนใหญ่ออกแบบให้คุณครูยืนสอนอยู่หน้าห้อง ทำให้นักเรียนหลายคนรู้สึกอึดอัด […]
Bangkok Suit ชุดล้ำๆ ที่จะทำให้ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ อย่างไม่หวั่นแม้วันหนักมาก
จะดีแค่ไหนถ้าเราจะเริ่มที่ตัวเองด้วยการทำชุดที่สวมแล้วเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ในกรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ เราได้ชม Dune ภาพยนตร์ Sci-Fi ฟอร์มยักษ์ ที่กำกับโดยเดนิส วิลล์เนิฟ นอกจากเนื้อเรื่องอันเข้มข้นที่ว่าด้วยการแก่งแย่งชิงดีของเหล่าผู้มีอำนาจ ผสมผสานกับเกมการเมืองที่ทำเอานึกถึงสถานการณ์บ้านเราแล้ว สิ่งที่ทำให้เราจดจำภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มากขึ้นคือ องค์ประกอบต่างๆ อย่างดาวแห่งทะเลทราย หนอน การต่อสู้สุดเจ๋ง ไปจนถึงชุดสูทสุดเท่ Stillsuit ชุดสูทนี้มีที่มาจากสภาพแวดล้อมบนดวงดาวที่ไม่มีแหล่งน้ำบนผืนดินเลย จึงกลั่นน้ำเสียจากร่างกายมนุษย์ให้เป็นน้ำดื่มได้ ทั้งยังมีเกราะหุ้มรักษาน้ำไม่ให้ระเหยออกจากร่างกายง่ายๆ พอเห็นแบบนั้น เราก็หวนนึกถึงสภาพแวดล้อมในกรุงเทพฯ ที่ชวนให้ต้องปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการที่ฝนตกไม่นานน้ำก็ท่วมถึงเข่า อากาศที่ร้อนจนเกินทน ฝุ่นควันมลพิษจากรถติด ทางเท้าที่ไม่เอื้อให้คนเดิน ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์อะไรนิดหน่อยก็โดนตั้งข้อหา คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอลองออกแบบ ‘Bangkok Suit’ บอดี้สูทสำหรับเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ยุคนี้ดูซะหน่อย 1) กันน้ำได้ แห้งไว – จากปัญหาฝนตกน้ำท่วมขังที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานนม เราเลยออกแบบให้ชุดมีคุณสมบัติกันน้ำได้ แถมแห้งไวซะเลย คราวนี้ต่อให้ฝนจะตกเบา-หนักแค่ไหนประชาชนตัวเล็กๆ อย่างเราก็รับมือได้ ต่อให้ต้องตากฝนไปเรียนหรือทำงานก็บ่ยั่น 2) นวัตกรรมที่ทำให้ใส่แล้วเย็นสบาย – จะมีอะไรตอบโจทย์เมืองไทยไปกว่าเสื้อผ้าที่ใส่แล้วเย็นเหมือนติดแอร์ บอดี้สูทของเราจึงพร้อมรับมือกับอากาศร้อนทุกเลเวลกับนวัตกรรมพลังงานแอร์ปรับความเย็นได้ที่ติดตั้งในชุด ยังไม่พอในเมื่อแดดเมืองไทยแรงสุดๆ เราเลยออกแบบให้แขนเสื้อยืด-หดได้ด้วย รับรองว่าเย็นฉ่ำแม้จะต้องเดินในเมืองที่ต้นไม้น้อยกว่าตึกแบบกรุงเทพฯ […]
จิ้นยูนิฟอร์มนักกีฬาทีมชาติไทยใน Olympic 2024
ตั้งแต่วันที่นายกฯ ญี่ปุ่นขโมยซีนด้วยการแปลงร่างเป็นมาริโอ้ในพิธีปิดโอลิมปิกปี 2016 จนถึงพิธีเปิดของกีฬาโอลิมปิก 2020 ณ แดนอาทิตย์อุทัย ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนน่าจดจำ ชวนให้เราอยากติดตามและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งแรงใจเชียร์พลพรรคนักกีฬาทีมชาติไทย แต่สิ่งที่ขัดใจพวกเราไม่น้อย จนกลายเป็นดราม่าที่ทุกคนพูดถึงกัน ก็คือเครื่องแต่งกายของทีมชาติไทย ตั้งแต่ชุดสูทเดินขบวนที่ขาดสีสันความน่าจดจำ ยังคงอนุรักษ์รูปแบบเสมือนดีไซน์ประจำชาติไว้ตั้งแต่ปี 1988 อย่างไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง หรือดราม่าเรื่องชุดการแข่งขัน จนเราต้องตั้งคำถามทุกครั้ง เมื่อเห็นเหล่านักกีฬาต้องคอยถกแขนเสื้ออยู่ตลอดเวลาที่ลงสนาม และสงสัยว่าเป็นความเคยชินของนักกีฬา หรือเป็นเพราะการออกแบบที่ไม่คำนึงถึงการใช้งานจริงกันแน่ เพราะชุดเดินขบวนในพิธีเปิดเปรียบเหมือนเป็นหน้าตาของประเทศ และส่งผลถึงประสิทธิภาพในการแข่งขันของนักกีฬาทีมชาติ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบชุดกีฬาของทัพนักกีฬาไทย เพื่อโอลิมปิกครั้งหน้าที่ปารีส 2024 แบบฉบับ Concept Design ดึงภาพลักษณ์ความเป็นไทยแบบแคชชวลแต่ชาวต่างชาติต้องร้องอ๋อ เช่น ผ้าสามสี กางเกงลายช้าง เสื้อลายเสื่อกกลายขิด ออกมาใช้ให้สร้างสรรค์และน่าจดจำกันสักหน่อย …ชุดนักกีฬาไทยในใจของคุณๆ เป็นยังไงบ้าง ไหนลองแชร์ให้ฟังหน่อย นอกจากชุดกีฬาจะเป็นหน้าตาของประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อการแข่งขันทั้งทางตรงและทางอ้อม เราจึงเห็นพัฒนาการของอุปกรณ์หรือชุดกีฬาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการออกแบบอุปกรณ์ทางกีฬา อยู่ภายใต้แนวคิดว่า ทำอย่างไรให้นักกีฬา Perform ได้ดีขึ้น เป็นสารตั้งต้นง่ายๆ ที่ทำให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะทุกท่วงท่าในการเคลื่อนไหวของนักกีฬาล้วนสัมพันธ์กับอุปกรณ์และเครื่องสวมใส่ทั้งสิ้น เรื่องเล็กๆ อย่างการถกแขนเสื้อแค่หนึ่งครั้ง อาจหมายถึงการเสียแต้มสำคัญ […]
บ้านทดลอง Home Isolation เมื่อโควิดอาจจะอยู่กับเราไปอีกนาน
ตัวเลขที่ฉุดไม่อยู่ส่งผลให้เตียงผู้ป่วยในระบบสาธารณสุขไม่เพียงพอ จนเกิดมาตรการเสริมแก้วิกฤติที่เรียกว่า Home Isolation หรือการพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านทางเลือก และทางรอดใหม่ แทนการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ตัวเลขน่าสนใจอยู่ที่ผู้ป่วยสีเขียว หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ อาการน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง ซึ่งนับเป็น 80% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด และเป็นกลุ่มที่สามารถทำการพักรักษาตัวอยู่บ้านด้วยการทำ Home Isolation ได้ หากทุกคนที่ติดเชื้อสามารถกักตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้ปัญหาเตียงไม่พอทุเลาลงอย่างมาก จนเกิดคำถามที่ว่า หากโควิดไม่ใช่โรคเดียวที่เราต้องทำ Home Isolation ถ้าในอนาคตมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีก บ้านที่เราอาศัยอยู่ควรมีหน้าตาแบบไหน คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากชวนทุกคนไปจินตนาการบ้านทดลองภายใต้กฎเหล็กของ Home Isolation อย่างสวมใส่หน้ากากตลอดเวลา อยู่ห่างจากผู้อื่น 1 – 2 เมตร หรือห้ามใช้ห้องน้ำร่วมกัน แต่ถ้าเรายังอยากอยู่ด้วยกันเหมือนปกติ รูปแบบการอยู่อาศัยของเราจะเป็นอย่างไรหากเราต้องอยู่กันแบบนี้ตลอดไป หากพูดว่าเราอาจจะต้องทำการ Home Isolation ตลอดไป ภาพในหัวคงจะเหมือนหนัง Sci-Fi Dystopia ที่ชวนเศร้าใจไม่น้อย เราคงจะได้เห็นการใช้ชีวิตคู่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถูกเนื้อต้องตัวกัน ใช้ชีวิตในโลกภายนอกด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย […]