Urban Sketch
เปิดแนวคิดสุดครีเอทีฟในรูปแบบ Skecth Design เกี่ยวกับการใช้งานพื้นที่ในเมือง เมืองในฝันที่อาจทำได้จริงเป็นอย่างไรดูได้ที่นี่
เปลี่ยนถนนให้เป็นมิตรกับมอ’ไซค์ ขับขี่ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวอุบัติเหตุ
ไปเลยค่ะพี่สุชาติ! ในช่วงเวลาเร่งด่วนของแต่ละวัน ไม่มีการเดินทางไหนที่จะสะดวกไปกว่าการใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ไม่ว่าจะเป็นพี่วินฯ พี่แกร็บ หรือใครมีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเองก็คงจะเลือกขับพาหนะสองล้อแทนการใช้รถยนต์ เพราะการจราจรในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ไม่ค่อยน่าไว้ใจ อย่างน้อยถ้าหากรถติดจนเกินไป มอเตอร์ไซค์เหล่านี้ก็ยังพาเราลัดเลาะไปตามช่องทางเล็กๆ เพื่อให้ไปถึงจุดหมายได้ทันเวลา แม้ว่าสัดส่วนของมอเตอร์ไซค์บนท้องถนนจะมีอยู่มาก แต่ถนนหลายๆ เส้นกลับไม่ค่อยเป็นมิตรกับจักรยานยนต์เท่าไหร่ อาจเป็นเพราะมองว่ารถประเภทนี้มีความคล่องตัว สามารถหลบเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายกว่า จนลืมนึกไปว่าถนนควรให้ความสะดวกแก่ผู้ขับขี่ทุกคน ไม่ว่าจะใช้พาหนะแบบไหนก็ตาม คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบพื้นที่และเส้นทางต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ขับขี่ได้อย่างสบายใจ และใช้ถนนได้อย่างเต็มที่แบบไม่ต้องเสี่ยงเจ็บตัวจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด 1) สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์ ปัญหาที่คนขี่มอเตอร์ไซค์เจออยู่เสมอคือการกลับรถ เพราะต้องใช้จุดกลับรถเดียวกันกับรถยนต์ ทำให้เสี่ยงที่จะโดนรถใหญ่เบียดจนรถล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ เราจึงอยากช่วยลดอุบัติเหตุจากเหตุการณ์เหล่านี้ด้วยการเพิ่ม ‘สะพานกลับรถสำหรับมอเตอร์ไซค์โดยเฉพาะ’ ในบริเวณที่มีพาหนะต่างๆ กลับรถเป็นจำนวนมาก เพื่อเปิดเส้นทางและป้องกันไม่ให้มอเตอร์ไซค์ต้องไปเบียดกับรถยนต์ประเภทอื่นๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สะพานกลับรถมอเตอร์ไซค์ก็มีให้เห็นอยู่บ้าง แต่บางที่อาจถูกปิดการใช้งานไปเพราะเชื่อว่าหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นสะพานลอย และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุลอยฟ้า สะพานกลับรถของเรานั้นจะทำการกั้นโซนแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับคนเดินเท้าที่มาใช้สะพานนี้ด้วย 2) พื้นที่หลบฝน ลดอุบัติเหตุ ภาพที่เห็นกันจนชินตาคือ เวลาที่ฝนตกหนักๆ มอเตอร์ไซค์ทั้งหลายจะต้องรีบหาที่จอดรถใต้สะพานหรือพื้นที่ที่มีหลังคาเพื่อหลบฝนและรอให้ฝนเบาลงก่อนถึงจะออกเดินทางต่อ เพราะถ้าฝืนขับขี่ต่อไปก็อาจจะเจอน้ำท่วมขังหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ แต่ไม่ใช่ถนนทุกเส้นที่จะมีสะพานให้หลบฝน ดังนั้นเราจึงอยากเพิ่ม ‘พื้นที่หลบฝน’ บริเวณริมฟุตพาท ที่มาพร้อมหลังคาและเสากั้นสำหรับป้องกันไม่ให้รถยนต์เข้าไปจอดขวางทาง ซึ่งการทำพื้นที่หลบฝนของเรานี้อาจจะต้องกระจายไปหลายๆ จุด เนื่องจากฟุตพาทในเมืองค่อนข้างเล็กและจะต้องลดทางเดินเท้าลง ทำให้ไม่สามารถทำจุดพักขนาดใหญ่เพื่อรองรับมอเตอร์ไซค์หลายคันได้ […]
Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม
ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]
Accessible Elections ออกแบบหน่วยเลือกตั้ง ให้เอื้อต่อคนทุกกลุ่มและรับรองสิทธิของประชาชน
เป็นช่วงโค้งสุดท้ายที่ต้องบอกว่าถ้าเลี้ยวผิดชีวิตเปลี่ยนแน่นอน สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นจะออกมาในทิศทางไหน ใครจะเป็นนายกฯ และเราจะมีทีมรัฐบาลที่เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนแก้ไขความเป็นอยู่ของสังคมประเทศไทยให้ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ การออกไปเลือกพรรคที่ชอบและลงคะแนนให้กับคนทำงานที่ใช่ เสียงของทุกคนจะตอบคำถามนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม จากการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราทุกคนคงได้เห็นข้อผิดพลาดจากการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กันมาไม่น้อย ส่งผลให้หลายคนเริ่มกังวลต่อความโปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นอย่างมาก ก่อนวันเลือกตั้งใหญ่จะมาถึง คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำปัญหาต่างๆ จากการเลือกตั้งล่วงหน้า รวมถึงความเป็นไปได้อื่นๆ มาออกแบบการเลือกตั้งให้เกิดบรรยากาศที่เป็นมิตร เข้าถึงง่าย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนทุกเพศทุกวัย ทั้งคนหนุ่มสาว ผู้เฒ่าวัยชรา ไปจนถึงคนพิการ ให้ออกไปใช้สิทธิ์ได้อย่างสะดวกสบาย สมศักดิ์ศรี ไม่ต้องกังวลว่าเสียงของตนจะหล่นหายหรือไม่ หน่วยเลือกตั้งที่ใครๆ ก็ไปถึง การเลือกตั้งครั้งนี้แบ่งออกเป็น 400 เขตทั่วประเทศ โดยกรุงเทพฯ มีหน่วยเลือกตั้งมากที่สุดที่ 33 เขต แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเสียงสะท้อนมาว่า การเดินทางไปถึงสถานที่รองรับการเลือกตั้งในหลายเขตเป็นเรื่องยากลำบาก เนื่องจากรายชื่อหรือรหัสของหน่วยเลือกตั้งไม่มีพิกัดแน่ชัด หรือผู้สูงวัยที่บางบ้านไม่มีรถยนต์เป็นของตัวเอง ต้องอาศัยติดรถกันมา บางคนต้องนั่งหลังรถกระบะปะทะกับแดดร้อนๆ กว่าจะถึงก็ใช้เวลานาน ขณะเดียวกัน เมื่อหลายครอบครัวและคนจำนวนมากใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางมายังจุดเลือกตั้ง ก็อาจส่งผลให้การจราจรติดขัดตามไปด้วย เพื่อแก้ปัญหานี้ เราจะเปิดบริการขนส่งสาธารณะฟรีหรือจัดจ้างรถที่ใช้ประจำหมู่บ้าน อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางในวันเลือกตั้ง […]
Better Public Transport Station สร้างสถานีขนส่งสาธารณะใหม่ ฉบับนึกถึงหัวใจคนเดินทาง
ภาพสถานีขนส่งโทรมๆ คลาคล่ำไปด้วยผู้คนจากทั่วทุกสารทิศที่ต้องการเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดที่ตนจากมา บ้างนั่งรอรถโดยสารอย่างใจจดใจจ่อ บ้างก็นอนพักรอให้เวลาเดินทางมาถึง บรรยากาศเหล่านี้กลายเป็นภาพที่เราเห็นกันจนคุ้นชิน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวของทุกๆ ปี แต่ภายใต้ความคุ้นชิน กลับไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสะดวกสบายให้กับบรรดาผู้โดยสารที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงภายในสถานีขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นความแออัดวุ่นวาย สภาพแวดล้อมที่มืดและสกปรก โครงสร้างที่ทรุดโทรม ไหนจะป้ายบอกทางที่สับสน รวมถึงฟังก์ชันต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้บริการเอาเสียเลย วันนี้ Urban Creature จึงขออาสาดีไซน์สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่ ที่มาพร้อม 4 พื้นที่ใช้งานซึ่งเกิดจากแนวคิดที่นึกถึงหัวใจคนเดินทางเป็นหลัก มีตั้งแต่จุดซื้อตั๋วที่สะดวกรวดเร็ว ไปจนถึงการขึ้นลงรถโดยสารที่สะดวกและไม่วุ่นวาย ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าการออกแบบเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่คงจะน่าใช้งานและตอบโจทย์ผู้โดยสารกว่าเดิมเยอะเลย 01 | One-stop Booking Serviceจองตั๋วรถง่ายด้วยปลายนิ้ว เคยเจอปัญหาที่ไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋วรถโดยสารสาธารณะจากที่ไหนไหม พอไปซื้อที่สถานีล่วงหน้า เขาก็บอกให้รอซื้อวันเดินทางจริง พอถึงวันเดินทางจริง พนักงานกลับบอกว่าทำไมไม่ซื้อออนไลน์ แต่พอจะเข้าจองออนไลน์ก็งงเข้าไปใหญ่ เพราะเสิร์ชเข้าไปเจอเป็น 10 เว็บไซต์ แล้วอย่างนี้ต้องจองตรงไหนกันแน่ จะปล่อยให้คนเดินทางปวดหัวแบบนี้ต่อไปคงไม่ไหว เราเลยขอเปลี่ยนระบบการจองใหม่ให้เป็น ‘One-stop Booking Service’ เว็บไซต์กลางสำหรับจองตั๋วที่ไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์หรือรถตู้ค่ายไหน ก็จองได้ง่ายผ่านเว็บไซต์เดียว ไม่ต้องค้นหากันให้วุ่นวาย แต่สำหรับใครที่ไม่สะดวกซื้อตั๋วผ่านออนไลน์ ในสถานีก็จะมีตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และบริการจำหน่ายตั๋วโดยเจ้าหน้าที่บริเวณเคาน์เตอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ไม่คุ้นชินกับการจองออนไลน์ หรือมีเหตุให้ต้องเดินทางแบบกะทันหัน 02 […]
Mu-Center ออกแบบศูนย์มูเตลูครบวงจร รับจบที่เดียวด้านความเชื่อ และเป็นมิตรต่อเมือง
งานไม่เลิศ เงินไม่ปัง ความรักไม่รอด หาทางแก้ไขปัญหามาทุกวิถีทางแล้วก็ยังไม่ดี ที่พึ่งสุดท้ายคงหนีไม่พ้นการ ‘มูเตลู’ ถึงอย่างนั้นการมูฯ ก็มีหลายสาขา หลายความเชื่อ หลายศาสนา สถานที่มูฯ ก็มีมากมายกระจายตัวทั่วเมือง แต่ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน สาขาอะไร ชาวมูฯ ทั้งหลายล้วนต้องเจอกับปัญหาไม่น้อย ตั้งแต่คนจำนวนมากที่ไปรวมตัวตามสถานที่มูฯ จนแทบจะไม่มีที่ยืนขอพร การแบ่งโซนที่ไม่เป็นระเบียบ ไปจนถึงของไหว้ของถวายที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คอลัมน์ Urban Sketch ขอจำลองพื้นที่ Mu-Center ศูนย์รวมการมูเตลูครบจบในที่เดียวภายในพื้นที่ขนาดใหญ่ที่รองรับสายมูฯ หลากหลายสาขา นอกจากจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานและผู้คนรอบนอกสถานที่แล้ว ที่นี่ยังเป็นมิตรกับเมืองอีกด้วย ก่อนจะไปดู Mu-Center ของเรา อย่าลืมกด 99 รับโชคดีกันด้วยล่ะ 1) แยกทางเข้าและทางออก เมื่อมูเซ็นเตอร์ของเราเป็นทั้งศูนย์กลางและศูนย์รวมของการมูเตลู ย่อมต้องมีคนเวียนกันเข้ามาบูชาองค์เทพทั้งวัน ดังนั้นเพื่อลดความแออัดของคนที่เดินเข้า-ออกตลอดเวลา เราจึงแยกทางเข้าและทางออกไว้อย่างละทาง เพื่อสร้างโฟลว์ให้คนสัญจรง่าย และใช้สถานที่อย่างสะดวกสบาย 2) แบ่งโซนตามความเชื่อ ไม่ว่าจะมูฯ แบบไหน ไทย จีน ฮินดู ก็สามารถเก็บครบจบที่มูเซ็นเตอร์ เพราะเราจะรวมทุกการมูฯ เอาไว้ในที่เดียว โดยแบ่งโซนแยกไว้ตามแต่ละศาสนาและความเชื่อ เลือกได้เลยว่าจะมูฯ […]
Beat the Heat in Bangkok ทำกรุงเทพฯ ให้กลับมาเย็นอีกครั้ง
ในปัจจุบันที่กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยไอความร้อนจากการเผชิญหน้ากับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอก ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง เคยลองคิดกันเล่นๆ ไหมว่า ถ้าเราสามารถทำให้หน้าร้อนของเมืองไทยที่มีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีมีอุณหภูมิลดลงได้ หน้าตาของเมืองกรุงเทพฯ จะแตกต่างไปจากปัจจุบันและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน วันนี้คอลัมน์ Urban Sketch จึงขอหยิบเอาแผนพัฒนาเมืองบางส่วนของประเทศสิงคโปร์อย่าง ‘Cooling Singapore’ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อลดภาวะ UHI ภายในเมือง มาออกแบบกรุงเทพฯ กันใหม่ว่า ถ้าต้องการให้อุณหภูมิเมืองลดลงจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง 01 | VEGETATION : เพิ่มสีเขียวให้พื้นที่เมือง หากต้องการลดอุณหภูมิเมืองลง สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ ‘พื้นที่สีเขียว’ เนื่องจากพืชโดยทั่วไปมีคุณสมบัติในการแผ่รังสีความร้อนที่ต่ำและสร้างร่มเงา ช่วยลดการสะสมของพลังงานแสงอาทิตย์ภายในเขตเมืองได้ แต่การจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอุณหภูมิภายในเมืองลงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจำเป็นต้องปลูกต้นไม้จำนวนมากพอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในแนวระนาบหรือแนวดิ่งตามอาคารต่างๆ ก็ตาม การมีสวนสาธารณะขนาดไม่ใหญ่มากแต่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ รอบเมืองอย่างทั่วถึง จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ความเย็นจากพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ ส่งผลดีต่อพื้นที่อาคารโดยรอบได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งทั่วเมืองอย่างปัจจุบัน แต่สำหรับอากาศของประเทศไทย แค่สวนสาธารณะในแนวราบคงไม่เพียงพอ การปลูกพืชเพิ่มในแนวดิ่งไม่ว่าจะเป็นพืชไม้เลื้อยบริเวณผนังอาคาร ฟาร์มผักบนหลังคา พื้นที่สีเขียวบริเวณอาคารร้าง รวมถึงพื้นที่ว่าง ล้วนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชาวเมืองเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ง่ายขึ้น […]
Sexy Red Light District จะเป็นอย่างไรถ้าประเทศไทยทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมาย
‘ประเทศไทย’ ถือเป็นดินแดนแห่ง ‘ศูนย์กลางการค้าประเวณี’ ที่ติดอันดับต้นๆ ของโลก จนทำให้นักท่องเที่ยวมากมายต่างมีหมุดหมายข้ามทวีปมาเพื่อสัมผัสบริการทางเพศหลากหลายรูปแบบ เว็บไซต์ Havocscope ที่เก็บข้อมูลผู้ค้าบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ในปี 2557 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของประเทศไทยสามารถทำรายได้มากกว่าสองแสนล้านบาทต่อปี และอีกห้าปีต่อมาก็ขยับเป็นสองล้านล้านบาท ซึ่งอาจกลายเป็นรายได้หลักของประเทศเลยทีเดียว แม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยจะเฟื่องฟูและทำรายได้มหาศาล แต่ไฉนการค้าประเวณีในประเทศนี้ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แถมสังคมยังมองว่าธุรกิจเหล่านี้ทำให้เกิดอาชญากรรม การค้ามนุษย์ และยังเป็นเรื่องผิดบาปเพราะขัดต่อศีลธรรมทางศาสนา รวมไปถึงการมีเอี่ยวเก็บส่วยแบ่งกันรวยของเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบและผู้ทรงอิทธิพลต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือกฎหมาย และอาจเป็นเหตุผลที่แก้ไม่ได้หากธุรกิจนี้ยังเป็นสีเทา คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองให้ประเทศไทยสามารถปัดเป่าความสกปรกของธุรกิจสีเทานี้ให้กลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความน่าจะเป็นอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น ยกระดับอาชีพ Sex Worker เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบอาชีพ ‘Sex Worker’ หรือผู้ให้บริการทางเพศ มักได้รับการตีตราจากมุมมองทางศีลธรรมของสังคมว่าเป็นอาชีพที่ไร้ซึ่งเกียรติใดๆ และเป็นต้นตอของปัญหาการเกิดอาชญากรรมต่างๆ นั่นเพราะว่าอาชีพ Sex Worker เป็นอาชีพลับเฉพาะ การเปลี่ยนให้มีกฎหมายคุ้มครองการค้าประเวณี ทำให้ธุรกิจค้าบริการทางเพศโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จะช่วยคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ ของผู้ค้าบริการ รวมถึงการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ได้ เป็นต้น ทั้งกำหนดให้ผู้ค้าบริการมีบัตรประจำตัวสองใบ ได้แก่ ใบประกอบวิชาชีพและใบรับรองสุขภาพ รวมถึงกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจสถานค้าบริการต้องเสียภาษี เพื่อจะได้มีสวัสดิการต่างๆ เฉกเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ปรับพื้นที่และกำหนดเขต Sex […]
Meet Cute City เป็นไปได้ไหมหาก ‘กรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ มากกว่านี้
อันดับหนึ่งของเมืองที่โรแมนติกที่สุดในโลกคือ ‘ปารีส’ ประเทศฝรั่งเศส เพราะบ้านเมืองที่นั่นมีศิลปะ มีความงามทางประวัติศาสตร์ รวมถึงร้านอาหาร โรงแรม ให้ผู้คนได้อยู่กับความโรแมนติกไปกับทุกช่วงเวลาสุนทรีย์ของชีวิต ‘ซานฟรานซิสโก’ ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็นอันดับสอง ที่นั่นมีภูเขาให้มอง มีทัศนียภาพของอ่าวให้ดู มีจุดชมวิว ชมความยิ่งใหญ่ของสะพานชื่อดัง ที่สำคัญมีสวนสาธารณะให้ผู้คนพักผ่อนทำกิจกรรมโรแมนติกได้อีกเพียบ ส่วนเมืองที่สามได้แก่ ‘อัมสเตอร์ดัม’ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เรียกได้ว่าเป็นเมืองธรรมชาติ ผู้คนใช้จักรยานเดินทางกันเป็นส่วนมาก มีสภาพแวดล้อมที่มีดอกไม้เบ่งบานเป็นสีสันสดใสกันตลอดทั้งปี และยังสามารถนั่งเรือล่องไปในลำคลองมองดูเมืองได้ ทั้งสามเมืองสุดโรแมนติกนี้อ้างอิงมาจากผลสำรวจในปีที่ผ่านมาของ Bounce เว็บไซต์ฝากกระเป๋าชื่อดัง แน่นอนว่าเราไม่สามารถเอาประเทศทั้งหลายเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับเมืองที่เราอาศัยอยู่ได้ แต่พอลองย้อนกลับมามองที่ ‘กรุงเทพมหานคร’ ต้องบอกว่าเมืองหลวงของไทยหาความโรแมนติกได้ยาก เพราะว่าเมืองนี้ได้กลายเป็นเพียงฉากหลังและมีภาพของการทำงานเป็นสิ่งเคลื่อนไหวทุกเมื่อเชื่อวัน โดยสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แจงจำนวนประชากรของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้คนที่อยู่ใน กทม.นั้นมีจำนวนถึง 5,494,932 คน ผู้คนมากมายขนาดนี้อยู่กับเมืองที่มีความเร่งรีบขึ้นเรื่อยๆ ติดกับงานที่ต้องทำเพื่อดำรงตนในยุคสมัยที่เศรษฐกิจย่ำแย่ขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ในวันที่ผู้คนยังคงต้องทำงาน และการเปลี่ยนแปลงสังคมก็ยังมีเรื่องมหาศาลที่ต้องตามแก้ไขกันต่อไป คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นไปได้ให้เมืองเกิดความโรแมนติกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ชีวิตที่ผูกติดกับความเร่งรีบได้ผ่อนคลายลง เมื่อผู้คนได้มองเมืองที่มีสิ่งโรแมนติกมากกว่าเดิม หวังว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยเป็นความสุนทรีย์ของชีวิต และคอยหล่อเลี้ยงให้ใจดวงน้อยๆ […]
Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO
‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย 1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]
Introvert’s City ถ้าเมืองนี้เป็นเมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต
จะดีแค่ไหนถ้าเมืองของเราออกแบบให้เข้ากับมนุษย์ ‘Introvert’ มากขึ้น เพื่อให้การท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ไม่สูบพลังชีวิต ต้องกลับมานอนติดห้องไปอีกหลายวัน จนหลายคนรู้สึกว่า เรานี่ช่างไม่เหมาะกับการออกไปข้างนอกซะเลย ทั้งที่ความจริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้การออกจากบ้านของประชากร Introvert สูญเสียพลังงานมากกว่าชาว Extrovert นั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเมืองของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้คำนึงถึงคนกลุ่มนี้เท่าไหร่นัก ทั้งที่ผลสำรวจของ The Myers-Briggs Company พบว่ามีผู้คนทั่วโลกมากถึง 56.8 เปอร์เซ็นต์เป็น Introvert ด้วยซ้ำ เพื่อให้การใช้ชีวิตในเมืองเป็นของทุกคน คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบ ‘เมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต’ ในรูปแบบของตัวเอง ที่ทำให้การออกจากบ้านของผู้คนกลุ่มนี้ไม่เป็นเรื่องยากจนเกินไป โดยเน้นที่การออกแบบพื้นที่ให้คำนึงถึงชาว Introvert มากขึ้น 01 | Private Zone in Public Space โดยปกติแล้ว พื้นที่สาธารณะหลายแห่งมักสร้างขึ้นเพื่อนำพาให้ผู้คนในสังคมออกมามีปฏิสัมพันธ์กัน แต่ถ้าหากเราอยากใช้พื้นที่สาธารณะไปพร้อมๆ กับความเป็นส่วนตัวและไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นมากจนเกินไปล่ะ สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องยากไม่น้อยเลยทีเดียว เราจึงขอหยิบเอาแนวคิด ‘Private Zone in Public Space’ ที่เป็นเหมือนหลุมหลบภัยเล็กๆ ในพื้นที่ใหญ่ๆ มาตอบโจทย์ชาว Introvert […]
Snowfall in Thailand ถ้าหิมะตกในไทย จะมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง
ช่วงเวลานับถอยหลังสู่วันคริสต์มาสและวันปีใหม่แบบนี้ ภาพบรรยากาศฤดูหนาวในต่างประเทศก็เริ่มวนกลับมาให้เราได้เห็นกันอีกครั้ง ภาพผู้คนสวมชุดกันหนาวท่ามกลางสภาพอากาศเย็นจัด และพื้นที่ของเมืองต่างๆ ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน ชวนให้เราจินตนาการไปไกลว่า ถ้าได้สัมผัสอากาศหนาวพร้อมกับหิมะแบบนั้นบ้างจะเป็นอย่างไร อากาศเย็นกำลังพัดผ่านมาให้ชาวไทยได้สัมผัสถึงฤดูหนาวในระยะสั้นกันพอดิบพอดี คอลัมน์ Urban Sketch ขอชวนทุกคนมาห่มผ้าหนาๆ หรือคว้าเสื้อกันหนาวมาใส่ แล้วจินตนาการไปพร้อมกันว่า ถ้าหากหิมะตกในประเทศไทยขึ้นมาจริงๆ จะมีเรื่องราวอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง และบรรยากาศจะแตกต่างจากการเป็นประเทศเมืองร้อนขนาดไหนกันนะ เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว สายเลือดนักกีฬาของคนไทยไม่เคยหายไปไหน หากประเทศของเราหนาวจนมีหิมะตก ก็อาจจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ที่จัดขึ้นในภูมิประเทศที่เป็นน้ำแข็งหรือหิมะ เมื่อบ้านเราอากาศหนาว นักกีฬาของเราก็จะคุ้นชินกับสภาพอากาศ และมีพื้นที่ฝึกซ้อมกีฬาสำหรับการแข่งขันได้ เพราะขนาดการแข่งขันแกะสลักน้ำแข็งเรายังครองแชมป์โลกมาหลายสมัย แม้จะอยู่ในประเทศร้อนก็ตาม ถ้าประเทศหนาวจนมีหิมะจนได้เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว ไม่แน่ว่าก็อาจจะคว้าแชมป์มาหลายรายการก็ได้ งานวัดในรูปแบบ Winter Festival ชาวไทยอย่างเราผูกพันกับงานรื่นเริงในรูปแบบต่างๆ แต่ถ้าพูดถึงงานที่ทุกคนเข้าถึงได้คงหนีไม่พ้นงานวัด ที่มักจัดขึ้นตามวันสำคัญทางศาสนาหรือโอกาสพิเศษ ซึ่งงานวัดที่เราต่างคุ้นเคยมักจะมาพร้อมกับความเหนียวเหนอะหนะจากสภาพอากาศที่ทั้งร้อนอบอ้าว รวมถึงยังต้องเบียดเสียดผู้คนในงานจำนวนมากอีกด้วย หากเปลี่ยนงานวัดที่คุ้นเคยให้กลายเป็น Winter Festival ในอากาศหนาวๆ เราก็จะใช้เวลากับงานวัดรูปแบบนี้ได้นานขึ้น สนุกกับเครื่องเล่นได้มากกว่าเดิม แถมพ่อค้าแม่ค้าในงานยังจะมีรายได้มากกว่าเดิมจากการใช้เวลาที่เพิ่มขึ้นด้วย กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ฤดูหนาวถือเป็นช่วงไฮซีซันของการท่องเที่ยวในหลายๆ ประเทศ นักท่องเที่ยวจากประเทศร้อนที่อยากสัมผัสกับอากาศหนาวเย็นก็มักจะรอช่วงนี้เพื่อไปเที่ยวและทำกิจกรรมที่ไม่เคยสัมผัสในประเทศตัวเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้นค่อนข้างต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมืองหนาวในประเทศอื่นๆ อย่างเกาหลีหรือญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นถ้าเราหนาวจนมีหิมะ ก็สามารถดึงมาเป็นจุดเด่นในการจูงใจชาวต่างชาติเข้ามาพักผ่อนและท่องเที่ยวในประเทศได้ด้วย แฟชั่นฤดูหนาว สิ่งที่ทุกคนรอคอยเมื่อมีลมหนาวพัดผ่านมาคือ […]
ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้
ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]