
Report
Smart Card : บัตรร่วมขนส่ง ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว ที่ไทยไม่มี (สักที)
หลายประเทศทั่วโลกเริ่มใช้ ‘สมาร์ตการ์ด’ หรือ ‘บัตรร่วม’ สำหรับระบบขนส่งสาธารณะมานานแล้ว ผู้คนสามารถเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถไฟใต้ดิน รถบัส และเรือ ได้เพียงแค่มีบัตรใบเดียว ทำให้คุณภาพชีวิตของคนง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่การใช้งานสมาร์ตการ์ดไม่ได้หยุดอยู่แค่ขนส่งมวลชนเท่านั้น เพราะในหลายประเทศได้ขยายขอบเขตบริการเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนมากยิ่งขึ้น นอกจากจะใช้จ่ายค่าเดินทางแล้ว บัตรใบเดียวกันยังสามารถใช้ซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงจ่ายค่าจอดรถ ค่ายา และค่าบิลต่างๆ ได้ด้วย และประเทศต่างๆ ยังมีแนวโน้มที่จะครอบคลุมวิถีชีวิตของคนเมืองมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น สมาร์ตการ์ดในต่างแดนยังล้ำหน้าไปอีกขั้น เพราะในหลายประเทศอย่างฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ ได้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตการ์ดเพื่อตอบโจทย์ชีวิตของคนยุคดิจิทัล ผู้คนสามารถชำระค่าบริการโดยใช้สมาร์ตโฟนแทนบัตรจริงๆ ได้เลย ไม่ต้องพกบัตรให้ยุ่งยากและล้นกระเป๋าอีกต่อไป แต่สำหรับประเทศไทย เคยนับไหมว่าแต่ละวันคุณใช้บัตรกี่ใบและใช้ไปกับอะไรบ้าง? กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดตัวบัตรร่วมอย่าง ‘บัตรแมงมุม’ มาตั้งแต่ปี 2008 แต่จนถึงปัจจุบันปี 2021 บัตรใบนี้ก็ยังไม่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ชาวไทยต้องรอบัตรร่วมในฝันกันต่อไป Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูว่าสมาร์ตการ์ดในแต่ละประเทศเขาขยายขอบเขตการบริการไปถึงไหน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างไรบ้าง 01 | Suica ญี่ปุ่น สำหรับญี่ปุ่น แต่ละภูมิภาคใช้สมาร์ตการ์ดแตกต่างกัน […]
‘แมลงสาบ’ สัตว์ชวนอี๋ ดีหรือร้ายกันแน่?
บางคนกลัวจิ้งจก บางคนกลัวแมงมุม บางคนกลัวตะขาบ และบางคนก็กลัวแมลงสาบจนขึ้นสมอง! A : เวลาเห็นมันวิ่งเฉยๆ ก็พยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปใกล้ แต่ถ้ามันอัปเลเวลกางปีกบินเมื่อไหร่ก็วิ่งโกยแนบทางใครทางมัน B : วันไหนฝนตก ภาพกองทัพแมลงสาบเป็นร้อยที่กรูกันหนีน้ำออกมาจากท่อ สำหรับคนทั่วไปอาจแค่หยึยๆ แต่กับคนกลัวแมลงสาบอย่างเรา บอกเลยสยดสยองปนขยะแขยงพานกินข้าวไม่ลงไปหลายวัน C : ฉันก็อยากให้โลกนี้ไม่มีแมลงสาบ ‘ไดโนเสาร์’ และ ‘แมลงสาบ’ ต่างก็เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นบนโลกใกล้ๆ กัน เพียงแต่ชนิดแรกนั้นสูญพันธุ์ไปแล้ว ในขณะที่ชนิดหลังกลับอยู่ยงคงกระพันเอาตัวรอดมาได้หลายร้อยล้านปี เพราะแมลงสาบเป็นสัตว์ที่อยู่เป็น ปรับตัวเก่ง กินอะไรก็ได้ และไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน หรือโลกเปลี่ยนแปลงไปสักเท่าไหร่ก็ไม่สามารถทำอะไรมันได้ แมลงสาบเป็นสัตว์ตัวเล็ก และมีโครงสร้างภายนอกที่ยืดหยุ่นสูง ทำให้มันซ่อนตัวในที่แคบได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีภัยมา นักวิจัยจากสถาบันสรีรวิทยาพืชและนิเวศวิทยาในเซี่ยงไฮ้ บอกว่าในตัวแมลงสาบมี ‘ยีน’ ที่ถอนพิษตัวเองได้ ยีนช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง มีแม้กระทั่งยีนช่วยสร้างแขนขาขึ้นมาใหม่ หมายความว่าต่อให้กินอาหารเน่าหรือมีพิษ อยู่ในสถานที่สกปรก หรือพบพลาดโดนทับโดนเหยียบก็ไม่สามารถทำอะไรพวกมันได้ ในขณะที่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพอร์ดูของสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาเกี่ยวกับการกำจัดแมลงภายในบ้านพบว่า ยาฆ่าแมลงอาจจะใช้กำจัดแมลงสาบไม่ได้อีกต่อไป เพราะแมลงสาบเรียนรู้ที่จะปรับตัวและสร้างภูมิต้านทานการดื้อยาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ผลวิจัยของ ดร.โคบี้ ชาร์ล (Kobe Charles) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ระบุว่า แมลงสาบสามารถใช้ชีวิตอยู่โดยไม่มีหัวนานถึง 1 สัปดาห์ […]
‘เราชนะ’ แล้วหรือยัง
ชวนตั้งคำถามกับรัฐบาลถึงโครงการต่างๆ ว่ามาตรการเหล่านั้นครอบคลุมทุกคนจริงหรือไม่ ข้อดีที่อยากชื่นชม และข้อบกพร่องที่อยากให้รัฐทบทวน
เหนื่อยหน่อยนะ 2020
ปี 2020 ที่ผ่านมาของคุณเป็นอย่างไร บางคนเจ็บปวด บางคนสิ้นหวัง บางคนสูญเสีย
ทำไมกรุงเทพฯ น้ำท่วมไม่เลิก?
‘น้ำท่วม’ ก็เหมือนเป็นข้าศึกที่บุกเข้ากรุงเทพฯ ตลอดเวลา ดังนั้นการรู้จักข้าศึกจึงเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เราเข้าใจ ‘น้ำท่วม’ ครั้งต่อไปมากขึ้น
เสาไฟไทย ทำไมเป็นงี้ ?
พาไปตามหาคำตอบชวนสงสัยกับ เสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าเพื่อนรักเจ้าปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้น การวางสายไฟในแต่ละเส้น จนถึงการพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตให้หายข้องใจกัน
เพราะโลกร้อนขึ้น ‘ไวรัสโคโรนา’ จึงแข็งแกร่ง ?
ความฝุ่นยังไม่ทันหาย ความวุ่นวายของ ‘ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019’ (Novel Coronavirus) ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามันพัฒนาขึ้นมาจากตัวเดิม ก็เข้ามาแทรก ซึ่งทำเอาหลายคนรับมือแทบไม่ทัน ขนาดพี่จีนที่เป็นประเทศต้นทางของการแพร่ระบาด ยังออกมาประกาศสภาวะฉุกเฉินกันเลยทีเดียว ในขณะเดียวกัน ‘ภาวะโลกร้อน’ ก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของโลกใบนี้ และเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่จุดไฟให้ไวรัสแข็งแกร่ง อึดถึกทน และระบาดได้อย่างรุนแรงยิ่งขึ้น