Curiocity
ชวนคุยในประเด็นที่มีการถกเถียงและอยากหาคำตอบ ตั้งแต่การฝ่าไฟเหลืองผิดไหม ไปจนถึงทิศทางเมืองหลังวิกฤต
อาคารถล่มในตุรกี เพราะแผ่นดินไหวหนักหรือโครงสร้างไม่ได้มาตรฐาน?
อาคารพังถล่มกว่า 7,000 หลังผู้เสียชีวิตกว่า 41,000 รายผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 100,000 ราย เหล่านี้คือตัวเลขความเสียหายซึ่งเป็นผลพวงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 แมกนิจูด ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ติดกับพรมแดนประเทศซีเรีย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ยังไม่รวมถึงประชาชนหลายหมื่นรายที่ยังสูญหาย และผู้รอดชีวิตอีกหลายแสนรายที่ต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566) ตุรกีถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ทำให้ทางรัฐบาลกำหนดข้อบังคับในการก่อสร้างอาคารให้ปลอดภัยและต้านทานต่อแผ่นดินไหวได้มาตั้งแต่อดีต แต่สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับภัยพิบัติครั้งล่าสุดคือ อาคารที่พังถล่มลงมาจำนวนไม่น้อยเป็นอาคารสร้างใหม่ ซึ่งอาจสอดคล้องกับคำเตือนของผู้เชี่ยวชาญในช่วงหลายปีก่อนว่าอาคารใหม่หลายหลังในตุรกีไม่ปลอดภัย เนื่องจากการทุจริตในพื้นที่และนโยบายของรัฐบาล คอลัมน์ Curiocity พาไปหาคำตอบว่า ความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในรอบร้อยปีของตุรกีเกิดจากอะไร เป็นเพราะแผ่นดินไหวที่รุนแรงเทียบเท่าระเบิดนิวเคลียร์ หรือปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่ทำให้ผลกระทบหลังแผ่นดินไหวรุนแรงกว่าควรจะเป็น ประเทศที่อยู่บนแนวรอยเลื่อนเปลือกโลก แผ่นดินไหวคือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยจนเป็นเรื่องปกติในตุรกี เนื่องจากประเทศนี้ตั้งอยู่บนภูมิภาคที่คร่อมอยู่บนแผ่นเปลือกโลกมากถึงสามแผ่น ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวที่รุนแรง โดยบันทึกทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ภูมิภาคนี้เริ่มเกิดแผ่นดินไหวมาอย่างน้อย 2,000 ปีแล้ว ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 17 ที่ตอนนั้นได้ทำลายเมืองหลายสิบแห่งพังราบเป็นหน้ากลอง แผ่นดินไหวขนาด 7.5 และ 7.8 แมกนิจูดครั้งล่าสุดในตุรกีและซีเรียเกิดขึ้นบริเวณ ‘แนวรอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออก’ […]
Micro Condo ที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก เทรนด์ใหม่หรือจำใจต้องเลือก?
จำไม่ได้แล้วว่าตั้งแต่เมื่อไหร่ที่การหาห้องพักใจกลางกรุงเทพฯ ขนาดพอเหมาะประมาณ 30 – 40 ตารางเมตร และไม่แพงจนเกินไป ถึงกลายเป็นเรื่องยากขนาดนี้ เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีแต่ห้องพักแบบสตูดิโอขนาด 21 – 25 ตารางเมตรที่ไม่ได้แยกสัดส่วนชัดเจน หรือที่เรียกกันว่า ‘Micro Condo’ ถ้าอยากมีห้องพักที่กว้างขวางและมีสัดส่วนชัดเจน ก็ต้องยอมจ่ายราคาที่แพงกว่าห้องสตูดิโอหลายเท่าตัว เมื่อห้องพักราคาจับต้องได้มีอยู่ค่อนข้างจำกัด นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จึงมองว่าที่อยู่อาศัยแบบ Micro Condo จะเป็นเทรนด์ใหม่มาแรงของโลกในอนาคต วันนี้คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาไปหาคำตอบว่า จริงๆ แล้ว Micro Condo คืออะไร การออกแบบห้องพักขนาดเล็กกว่าปกติเช่นนี้สอดคล้องกับกฎหมายที่ประเทศไทยกำหนดหรือไม่ และทำไมห้องพักไซซ์มินิถึงกำลังกลายเป็นเทรนด์ที่อยู่อาศัยของคนเมืองในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ Micro Condo คืออะไร ทำไมถึงกลายเป็นเทรนด์ แม้คำว่า ‘Micro Condo’ หรือ ‘คอนโดมิเนียมขนาดเล็ก’ จะไม่มีการนิยามอย่างเป็นทางการ แต่วงการอสังหาริมทรัพย์กลับให้ความสนใจคำคำนี้มานานแล้ว โดยในปี 2014 ทาง ‘Urban Land Institute’ ได้นิยามไว้ว่า Micro Condo คือรูปแบบห้องพักแบบสตูดิโอขนาดเล็กทั่วไปที่มีพื้นที่น้อยกว่า 32 […]
ผู้เยาว์ในวงการบันเทิง นำเสนอความสามารถหรือละเมิดสิทธิเด็ก?
‘ลีโอนาร์ด วิตติง’ และ ‘โอลิเวีย ฮัซซีย์’ คู่พระนางจากภาพยนตร์ Romeo and Juliet (1968) ถูกบังคับให้ถ่ายฉากเปลือย ‘จูดี การ์แลนด์’ ผู้รับบทโดโรธี เกล ในเรื่อง The Wizard of Oz ถูกบังคับให้กินยานอนหลับเพื่อควบคุมเวลานอน ควบคุมอาหาร และทำงานเกินชั่วโมงที่กำหนด ‘ฮเยอิน วง NewJeans’ ร้องเพลง Cookie ในบริบทที่มีความหมายสองแง่สองง่าม เหล่านี้ล้วนเป็นความไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นกับเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือ ‘ไมเนอร์’ ที่โลดแล่นอยู่ในอุตสาหกรรมบันเทิงทั้งไทยและเทศมาอย่างยาวนาน ซึ่งถือเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ที่อาจนำมาสู่ปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย แม้การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ ‘แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมบันเทิง’ บนโลกออนไลน์จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนอีกหลายกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจถึงต้นตอของปัญหาและมองว่าสิ่งเหล่านี้คือเรื่องปกติ คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนไปทำความเข้าใจว่า แท้จริงแล้วการใช้แรงงานเด็กในวงการบันเทิงนั้นเป็นปัญหาขนาดไหน ความไม่เหมาะสมและผลกระทบต่อตัวเด็กมีอะไรบ้าง และกฎหมายที่มีอยู่จะช่วยคุ้มครองเด็กกลุ่มนี้ได้จริงไหม เมื่อความเยาว์วัยกลายเป็นสินค้า สำหรับประเทศในเอเชียอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน หรือแม้แต่ไทย ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ที่ดาราหรือไอดอลจะได้เดบิวต์ตั้งแต่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ […]
ตึกสูงที่ถูกทิ้งร้างในเมือง ส่งผลอะไรกับการใช้ชีวิตของคนเมืองบ้าง
‘ตึกร้าง’ มักเป็นสถานที่อันดับต้นๆ ที่ใช้เป็นโลเคชันประจำในรายการแนวลึกลับ กับการเข้าไปทำภารกิจพิสูจน์ความลี้ลับของอาคารเก่าทรุดโทรม ไม่ว่าจะเป็นตึกร้างชื่อดังหรือตึกร้างโนเนม เพราะทุกที่มีเรื่องเล่าทั้งสิ้น แต่นอกเหนือจากเรื่องผีๆ ที่เชื่อมโยงกับตึกร้างแล้ว ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีตึกร้างเยอะแยะนัก เพราะไม่ว่าเราจะเดินทางไปย่านไหนก็มักพบเห็นตึกสูงที่ปล่อยทิ้งร้างเอาไว้แทบทุกที่ ทั้งๆ ที่มีข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในตึกร้างมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบถึงเรื่องนี้ พร้อมกับสำรวจว่าการมีอยู่ของตึกร้างพวกนี้ส่งผลเสียอะไรกับเมืองและผู้คนบ้าง เบื้องหลังตึกสูงที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ย้อนกลับไปในช่วง พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังเฟื่องฟูและพัฒนา ส่งผลให้เกิดโครงการก่อสร้างอาคารจำนวนมากในเมือง โดยส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักอาศัยในทำเลทองต่างๆ เพื่อรองรับการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมือง แต่ขณะที่การก่อสร้างกำลังดำเนินไป ก็เกิดวิกฤตการเงินปี 2540 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เศรษฐกิจพังพินาศ สถาบันการเงินหลายแห่งถูกสั่งปิดจนทำให้ต้องยุติการกู้เงิน โครงการก่อสร้างต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยังไม่เสร็จดีก็ตาม ทำให้มีอาคารที่ถูกปล่อยทิ้งร้างมากกว่า 200 แห่ง เวลาผ่านไปกว่า 20 ปี หลายตึกได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นตึกใหม่ใช้งานได้แล้ว แต่บางตึกก็ยังถูกปล่อยทิ้งไว้ด้วยหลายเหตุผล ตั้งแต่ปัญหาเงินทุนที่นายทุนยังไม่สามารถหามาเดินหน้าโครงการต่อได้ การรอเจ้าของคนใหม่มารับช่วงต่อในการก่อสร้าง การฟ้องร้องค่าเสียหายจากการหยุดปล่อยเงินกู้จนผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการจนแล้วเสร็จได้ ติดคดีความเกี่ยวกับการสร้างอาคารผิดแบบหรือโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง และอีกเหตุผลสำคัญคือค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารที่อาจสูงกว่าการเดินหน้าสร้างต่อ นายทุนหลายเจ้าจึงเลือกวิธีการปล่อยอาคารทิ้งไว้เฉยๆ ให้เก่าไปตามกาลเวลา ดีกว่าต้องมาเสียเงินก้อนโต นอกจากนี้ อาคารบางแห่งที่ถูกหน่วยงานรัฐฟ้องร้องเนื่องจากก่อสร้างโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร […]
สิทธิประกันสังคมของคนวัยทำงาน จ่ายเงินไปแล้วได้อะไรกลับมาบ้าง
คนทำงานส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับคำว่า ‘ประกันสังคม’ กันอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้อย่างเราๆ ต้องจ่ายทุกเดือนเพื่อสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต และรับสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่พึงจะได้ ซึ่งสมาชิกที่มีรายได้อาจต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมสูงสุดถึง 750 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า การจ่ายเงินในแต่ละเดือนไม่ใช่แค่การรับผิดชอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย เช่น ค่ารักษาพยาบาลทั่วไปและสิทธิทำฟัน 900 บาทต่อปีเท่านั้น แต่สิทธิประกันสังคมยังครอบคลุมถึงกรณีอื่นๆ เช่น คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร หรือว่างงานด้วย วันนี้คอลัมน์ Curiocity จึงอยากอาสาพาทุกคนไปไขข้อข้องใจว่า ‘ประกันสังคม’ ที่เราถูกหักเงินไปทุกๆ เดือนคืออะไร จ่ายไปแล้วจะได้สิทธิประโยชน์อะไรกลับคืนมาบ้าง และในปี 2023 สิทธิประกันสังคมมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง จะได้วางแผนและเตรียมใช้สิทธิ์กันได้ทัน ประกันสังคมคืออะไร ใครจำเป็นต้องจ่ายบ้าง ‘ประกันสังคม’ ถือเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้ที่จ่ายเงินสมทบเข้า ‘กองทุนประกันสังคม’ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม (Social Security Office) ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อรับผิดชอบในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งในประเทศไทยมีการแบ่งผู้ประกันตนภายใต้ระบบประกันสังคมออกเป็น 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 33, […]
เปิดช่องโทรทัศน์ไทย รายการเด็กหายไปไหนหมด
เมื่อนึกถึงวันวานเก่าๆ บรรยากาศชวนให้นึกถึงช่วงเวลาตอนเด็กที่คุณแม่ถักเปียให้ในตอนเช้าระหว่างที่เรากำลังนั่งดูรายการเจ้าขุนทองก่อนไปโรงเรียน ส่วนตอนเย็นหลังเลิกเรียน เมื่อกลับบ้านมาเปิดโทรทัศน์ก็จะมีรายการเด็กสลับสับเปลี่ยนให้ดูทุกวัน หรือแม้แต่วันเสาร์อาทิตย์ที่ยอมตื่นมาดูรายการสนุกๆ แต่เช้า พอนึกย้อนกลับไปแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เด็กยุคนี้จะเคยดูรายการต่างๆ ในโทรทัศน์เหมือนที่เราเคยดูในวัยเด็กบ้างไหมนะ แต่เมื่อลองเปิดโทรทัศน์และเปลี่ยนช่องไปเรื่อยๆ กลับพบว่า รายการเด็กที่เคยมีอยู่เกือบทุกช่องหายไปแทบจะหมดแล้ว ไม่ใช่แค่รายการเก่าๆ เท่านั้นที่หายไป แต่รายการใหม่ก็แทบจะไม่มีให้เห็นเลย คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนทุกคนมาหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กมีน้อยลงเรื่อยๆ และในอนาคตรายการประเภทนี้ยังจำเป็นสำหรับประเทศไทยหรือไม่ เนื้อหารายการเด็กที่ไม่เหมือนเดิม หากพูดถึงรายการสำหรับเด็ก หลายคนอาจมองว่าช่องโทรทัศน์ของไทยมีการ์ตูนให้ดูเยอะอยู่แล้ว ทว่ารายการเด็กที่เรากำลังพูดถึงไม่ใช่แค่สื่อเพื่อความสนุกหรือความบันเทิงเท่านั้น แต่หมายถึงรายการที่แฝงไปด้วยความรู้รอบตัวมากมายที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ให้แก่เด็ก ตัดภาพมาที่รายการเด็กในตอนนี้ ถ้าไม่นับช่องการ์ตูนจากต่างประเทศ รายการอื่นๆ มักเน้นไปที่การแข่งขันโดยมีเด็กเป็นตัวหลักของรายการ เช่น การแข่งขันชิงรางวัลด้วยการร้องเพลงหรือเล่นเกม กลายเป็นว่ากลุ่มคนที่ดูรายการเหล่านี้กลับไม่ใช่เด็ก แต่เป็นผู้ใหญ่ที่อยากติดตามความน่ารักของเด็กๆ ที่ร่วมรายการแทน รายการเด็กทำกำไรได้ไม่ดี ในปี 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีข้อกำหนดว่า ช่องโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องมีรายการสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเหมาะสมและไม่เป็นภัยต่อการพัฒนาทั้งสติปัญญา อารมณ์ และสังคมของเด็กและเยาวชนอย่างน้อย 60 นาที ในช่วง 16.00 – 18.00 น. ของทุกวัน และ […]
Sick Building Syndrome โรคตึกเป็นพิษ โรคฮิตของคนใช้ชีวิตในห้องสี่เหลี่ยม
การอาศัยอยู่ในเมืองหลวงประเทศไทย ก็เหมือนการใช้ชีวิตในกล่องสี่เหลี่ยมหลายๆ กล่อง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปในแต่ละช่วงเวลา ตั้งแต่การตื่นนอนในห้องสี่เหลี่ยมบนตึกสูง การเดินทางด้วยรถรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าระหว่างวัน เพื่อย้ายตัวเองไปยังห้องทำงานสี่เหลี่ยมไซซ์เล็กใหญ่ใจกลางเมือง หรือแม้แต่ไปเดินห้างสรรพสินค้าทรงเหลี่ยมที่กระจายตัวอยู่แทบทุกหัวมุมถนน จะว่าไปแล้ว ในแต่ละวันที่เราต้องเปลี่ยนห้องสี่เหลี่ยมไปเรื่อยๆ มีสถานที่ไหนบ้างไหมที่เมื่อคุณเข้าไปทีไรก็จะรู้สึกปวดศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ ระคายเคืองตา จมูก ผิวหนัง หรือคอจนเกิดอาการไอแห้งไปซะทุกครั้ง หากคุณตกอยู่ในอาการเหล่านี้ทุกครั้งที่เข้าไปในสถานที่เดิมๆ คุณอาจกำลังเผชิญอยู่กับ ‘Sick Building Syndrome’ หรือ ‘โรคตึกเป็นพิษ’ อยู่ก็ได้นะ Sick Building Syndrome อาการป่วยของคนในเมืองใหญ่ ‘Sick Building Syndrome (SBS)’ หรือชื่อภาษาไทยว่า ‘โรคตึกเป็นพิษ’ เป็นกลุ่มอาการที่ปรากฏครั้งแรกในช่วงปี 1970 และถูกบันทึกลงในรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 1984 เพื่ออธิบายผู้ป่วยที่มักมีอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคืองตา จมูก หรือลำคอ จาม มีน้ำมูก คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน รวมไปถึงอาการแพ้จะกำเริบมากขึ้นในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้อยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้าไปภายในอาคารบางแห่ง […]
ไม่ให้เงินพ่อแม่ เราจะเป็นคนอกตัญญูไหม
ถ้าไม่มีเงินให้พ่อแม่ เราจะกลายเป็นคนอกตัญญูไหม เชื่อว่าประโยคข้างต้นเป็นคำถามที่ติดอยู่ในใจใครหลายคน โดยเฉพาะคนวัยเริ่มต้นทำงานในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงลิ่วสวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิมหรือน้อยลง บางคนอาจจะเอาตัวรอดเลี้ยงดูตัวเองได้สบายๆ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องรัดเข็มขัดให้แน่นหรือใช้ชีวิตเข้าเนื้อพอสมควร ปัญหาของคนรุ่นใหม่หลายคนที่เริ่มทำงานได้ไม่นาน ไม่เพียงแค่จัดการเงินเลี้ยงดูตัวเองให้อยู่รอดในแต่ละวัน แต่ยังต้องแบ่งให้ครอบครัวส่วนหนึ่ง ด้วยค่านิยมที่ปลูกฝังกันมายาวนานว่า ‘ให้เงินพ่อแม่ = เด็กกตัญญู’ แม้ว่าถ้าให้เงินไปแล้ว พวกเขาอาจจะใช้ชีวิตลำบากมากกว่าเดิม แต่ถ้าไม่ให้ก็อาจจะโดนสังคมมองว่าเป็น ‘เด็กอกตัญญู’ แนวคิดดังกล่าวเริ่มทำให้เราตั้งคำถามในใจว่า หากเราไม่มีเงินมากพอที่จะให้พ่อแม่ใช้จ่ายอย่างสุขสบาย หรือเราไม่ให้เงินพวกท่านเพราะรู้สึกยังไม่พร้อมทางการเงิน ท้ายที่สุดแล้วเราจะกลายเป็นคนไม่ดีในสายตาคนรอบตัวหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนไปหาคำตอบเหล่านี้พร้อมกัน กตัญญูกตเวทีคืออะไร อ้างอิงจากวารสารมานุษยวิทยาศาสนา (Journal of Religious Anthropology : JORA) อธิบายความหมายของคำว่า ‘กตัญญูกตเวที’ คือ ผู้ที่รู้ระลึกคุณของผู้มีพระคุณและทำคุณประโยชน์ตอบแทน โดยความกตัญญูในสังคมไทยมักมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1) การทำความดีเพื่อหวังผลประโยชน์ คือการตอบแทนคนที่ช่วยเหลือเรา ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการตั้งนิยามในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต สังเกตได้จากค่านิยมการมีลูกสมัยก่อนที่ว่า ‘มีลูกเพื่อให้พวกเขาเลี้ยงดูตอนแก่’ 2) การทำความดีด้วยโดยไม่หวังผลตอบแทน ลักษณะนี้สอดคล้องกับคำว่า ‘บุพการี’ ในพุทธศาสนา แปลว่า ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลประโยชน์ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมีภาพจำความกตัญญูกตเวทีกับรูปแบบแรกที่ต้องตอบแทนผู้ที่ช่วยเหลือเรา […]
‘ทำไมบอลไทยไม่ได้ไปบอลโลก’ คำถามยอดฮิตที่ไม่ว่านานแค่ไหนก็ยังถามได้เสมอ
‘ฟุตบอล’ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศไทย เราเชื่อว่าช่วงวัยเด็กของใครๆ หลายคน น่าจะเคยมีโมเมนต์ที่วิ่งไปจองสนามฟุตบอลตอนกลางวันหรือเลิกเรียน แล้วเตะเจ้าลูกกลมๆ นี้จนเหงื่อโชกตัวมอมแมม หรือต่อให้ดูฟุตบอลไม่เป็น ไม่เข้าใจกติกา หรือไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับวงการลูกหนังเลย อย่างน้อยๆ ก็ต้องเคยได้ยินชื่อของสโมสรดังจากต่างประเทศหรือนักเตะในตำนานที่คนไทยหลายคนปวารณาตัวเป็นแฟนคลับเดนตายและติดตามการแข่งขันทุกแมตช์แน่นอน นอกจากนี้ การที่มีรายการแข่งขัน The Match Bangkok Century Cup 2022 ศึกแดงเดือดระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูล ที่ไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และปัญหาสารพัดของฟุตบอลโลก 2022 ที่เริ่มตั้งแต่ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่อีนุงตุงนังสุดๆ และอีกมากมายปัญหาที่ตามมา ทว่าสุดท้ายแล้วเสียงเฮที่ดังลั่นตามบ้านเรือน วงเหล้า และร้านรวงต่างๆ ในเวลาที่บอลโลกถ่ายทอดสด ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคนไทยสนใจกีฬาประเภทนี้ขนาดไหน ทว่าในขณะเดียวกันเราก็อดสงสัยตามไม่ได้ว่า ในช่วงเวลาที่กีฬาประเภทอื่นของบ้านเราสามารถไปไกลถึงระดับโลก แต่กับฟุตบอลไทยที่แม้ว่าจะมีเพอร์ฟอร์แมนซ์เยี่ยมยอดในหลายการแข่งขันระดับอาเซียน กลับไม่เคยไปได้ไกลกว่านี้สักที ไม่ว่าจะผ่านพ้นไปกี่ปี คนไทยยังคงวนเวียนอยู่กับคำถามเดิมๆ ที่ว่า ‘ทำไมบอลไทยถึงไม่ได้ไปบอลโลก’ คอลัมน์ Curiocity ขออาศัยช่วงบอลโลกฟีเวอร์นี้ชวนไปหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ไทยยังไม่สามารถไปถึงการแข่งขันระดับโลกได้ และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่เหตุผลที่นักกีฬาเราไม่เก่งหรือไม่มีความสามารถแน่นอน เส้นทางไม่ชัดเจน โมเดลไม่ไกลพอ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหน เยาวชนก็เป็นรากฐานสำคัญของการสร้างผลงานที่มีคุณภาพ ซึ่งปัญหาหลักๆ ที่เห็นอยู่บ่อยครั้งมักเป็นเรื่องของการสนับสนุนจากผู้ปกครอง เด็กไทยหลายคนชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลอยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจะเป็น เพราะถึงแม้ว่าเส้นทางอาชีพนักกีฬาในตอนนี้จะไม่ได้ลำบากเท่ากับเมื่อก่อน แต่ผู้ปกครองหลายคนยังมองไม่เห็นภาพว่าลูกๆ […]
บัตรคอนเสิร์ตราคาแพงขึ้น 30% แฟนเพลงจ่ายไหวไหม
แม้จะดีใจทุกครั้งเวลาศิลปินที่ชื่นชอบมาจัดการแสดงที่ไทย แต่ก็แอบเศร้าทุกทีที่เห็นบัตรคอนเสิร์ตราคาแรงขึ้นจนต้องคิดหนักตอนกดจ่ายเงิน เพราะทุกวันนี้ราคาบัตรคอนเสิร์ตทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019 ช่วงก่อนเกิดโควิด ยกตัวอย่าง KCON งานคอนเสิร์ตสไตล์เกาหลี K-pop ปี 2019 จัดที่ประเทศไทย มีราคาที่นั่งแพงสุด 6,000 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง ปัจจุบันปี 2022 ราคาที่นั่งแพงสุด 8,900 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง หมายความว่าค่าบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ราคาบัตรพุ่งจนฉุดไม่อยู่ คอลัมน์ Curiocity ขอเชิญทุกคนไปหาคำตอบด้วยกัน อัตราเงินเฟ้อสูง เหตุการณ์โควิดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งที่ตามมาคือ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงมากกว่าเดิม และผลกระทบจากสงครามและวิกฤตทางการเมือง ที่ทำให้ราคาสินค้า การผลิต และการขนส่งต่างๆ ปรับราคาเพิ่มขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมคอนเสิร์ตก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ‘ญาณกร อภิราชกมล’ กรรมการบริหาร บริษัท ครีเอท อินเทลลิเจ้นซ์ จำกัด ผู้จัดงานคอนเสิร์ตและเทศกาลไทยให้สัมภาษณ์กับ The Standard Wealth ว่า […]
‘ปิดถนน ห้ามเดิน ขอผ่านทาง’ 3 ประเทศเจ้าภาพกับมาตรการการเดินทางสำหรับการประชุมนานาชาติ
ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนลากยาวจนมาถึงสัปดาห์นี้ ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาแห่งการประชุมระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มกันที่ ASEAN Summit ประเทศกัมพูชา ตามมาด้วย G20 ประเทศอินโดนีเซีย และล่าสุดคือ APEC ที่ประเทศไทยได้กลับมาเป็นเจ้าภาพต้อนรับบรรดาผู้นำโลกอีกครั้ง เมื่อมีบุคคลสำคัญจากหลายประเทศมาร่วมงาน การเดินทางจึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด ทางเจ้าบ้านต้องหาวิธีจัดการดูแลเรื่องนี้ให้ปลอดภัยและสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการเตรียมตัวเพื่อต้อนรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่หลังจากที่มีการแจ้งแผนจำกัดการใช้งานถนนและเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ก่อนวันงานเพียงหนึ่งสัปดาห์ ไหนจะการประกาศปิดถนนกับข้อห้ามมากมายที่ออกมาระหว่างช่วงที่จัดการประชุม ก็ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมายถึงความเดือดร้อนต่อการเดินทางของคนทำงานและผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น ที่ต้องแบกรับผลกระทบเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ คอลัมน์ Curiocity ชวนไปติดตามกันว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันที่มีการประชุมทั้งในกัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย สามประเทศเจ้าภาพนี้มีมาตรการการจัดการจราจรเพื่อต้อนรับแขกสำหรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างไร แล้วใครที่ได้รับผลกระทบบ้าง ASEAN Summit กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การประชุม ‘ASEAN Summit’ หรือ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ เป็นการประชุมประจำปี ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปีนี้ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 40 และ 41 จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน […]
‘Sharenting’ พ่อแม่ยุคใหม่ โพสต์รูปลูกอย่างไร ไม่ให้ละเมิดสิทธิเด็ก
คุณจำได้ไหมว่ามีแอ็กเคานต์โซเชียลมีเดียเป็นของตัวเองตอนอายุเท่าไหร่ หากย้อนกลับไปในวันที่เริ่มมีตัวตนบนโลกออนไลน์สำหรับหลายๆ คน เราคิดว่าน่าจะเป็นช่วงประถมศึกษาตอนปลายหรือมัธยมต้นที่เริ่มสมัคร Facebook และอัปโหลดรูปตัวเองบนโลกออนไลน์เป็นครั้งแรก แต่กับสมัยนี้ หลายบ้านเริ่มสร้างตัวตนให้ลูกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ รูปอัลตราซาวนด์กลายเป็นรูปแจ้งเกิดในโลกออนไลน์ของเด็กรุ่นใหม่ แถมพอโตขึ้นมาหน่อย ไม่ว่าจะทำอะไรก็มักถูกพ่อแม่บันทึกไว้เป็นรูปภาพและวิดีโอโพสต์ลงบนออนไลน์เต็มไปหมด ‘ใครๆ เขาก็ลงรูปลูกตัวเองกันทั้งนั้น’‘บ้านไหนจะโพสต์รูปลูกตัวเองก็เรื่องของเขา อย่าไปยุ่ง’‘ทำไมพ่อแม่ถึงจะไม่มีสิทธิ์โพสต์รูปลูกตัวเองล่ะ’ จากความคิดเห็นเหล่านี้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนกลับมาตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้วการที่พ่อแม่ทำแบบนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะผลกระทบอาจไม่ตกอยู่ที่ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งเท่านั้น พ่อแม่ยุคใหม่ ให้ชาวเน็ตช่วยเลี้ยงลูก ย้อนกลับไปในปี 2010 พ่อแม่ทั่วโลกต่างโพสต์รูปลูกตัวเองลงบนออนไลน์เป็นเรื่องปกติ จนสำนักข่าว ‘Wall Street Journal’ คิดค้นศัพท์ใหม่อย่าง ‘Sharenting (n.)’ เพื่อใช้นำเสนอปรากฏการณ์นี้ ก่อนได้รับการบันทึกลงใน Collins English Dictionary เมื่อปี 2016 และใช้อย่างกว้างขวางต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน Sharenting เกิดขึ้นจากการผสมคำระหว่าง Share และ Parenting เพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของพ่อแม่ยุคใหม่ที่โพสต์ภาพและวิดีโอของลูกตัวเองบนโซเชียลมีเดียจนเกินพอดี จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2010 พบว่า มีทารกกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และเด็กอายุน้อยกว่า 2 […]