BUSINESS
จับเข่าคุยกับธุรกิจทุกแขนง ไล่ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงธุรกิจยุคใหม่ พร้อมวิสัยทัศน์จากพี่ใหญ่ในวงการ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือทุกการเปลี่ยนแปลง ร่วมเปิดมุมมองผ่านเทรนด์ธุรกิจและการตลาดเพื่อสานต่อการพัฒนาที่เริ่มจากวัตถุดิบในชุมชน
‘โครงการหลวง สินค้าคุณภาพ จากเลอตอ สู่ซีพี แอ็กซ์ตร้า’ CP AXTRA และ มูลนิธิโครงการหลวง ร่วมกันส่งต่อสินค้าจากยอดดอยถึงมือทุกคน
เราทุกคนต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่า ผักและผลไม้นำเข้านั้น มีราคาค่อนข้างสูง และแม้ว่าในปัจจุบันผักและผลไม้บางชนิดจะสามารถปลูกที่ประเทศไทยได้ แต่ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของสภาพพื้นที่ อาจทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่สามารถเติบโตได้ดี โดยเฉพาะผักและผลไม้เมืองหนาวที่ปลูกได้เฉพาะในบริเวณภาคเหนือของประเทศ พอเป็นแบบนั้น การที่คนทั่วไปจะเข้าถึงผักและผลไม้จากยอดดอยก็ยิ่งยากตามไปด้วย ต่อให้เราอยากสนับสนุนผลิตผลการเกษตรและชาวบ้านในพื้นที่เองก็ตาม ทาง ‘CP AXTRA’ ที่เข้าใจถึงความต้องการตรงนี้ จึงร่วมมือกับ ‘มูลนิธิโครงการหลวง’ ส่งต่อผักและผลไม้คุณภาพดีจากยอดดอยสู่มือผู้บริโภคภายใต้ ‘โครงการหลวง สินค้าคุณภาพ จากเลอตอ สู่ซีพี แอ็กซ์ตร้า’ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวเขา เพื่อสุขภาพที่ดีของชาวเรา (Health & Wellbeing) ด้วยการนำผลิตภัณฑ์จากยอดดอยมาจำหน่ายในราคาย่อมเยาที่โลตัสและแม็คโครทั่วประเทศ Urban Creature ขอชวนไปทำความรู้จักกับโครงการนี้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการซื้อผักและผลไม้ปลอดภัย คุณภาพดีได้ง่ายๆ ใกล้บ้านทุกคน สินค้าคุณภาพดีจากยอดดอยส่งตรงถึงมือ ถ้าพูดถึงผักและผลไม้เมืองหนาวที่ปลูกในประเทศไทยนั้นมักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้ ‘โครงการหลวง’ ที่เป็นโครงการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ประชาชนบนพื้นที่สูง เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชาวเขา ที่นอกจากจะช่วยในเรื่องของอาชีพแล้ว โครงการนี้ยังช่วยให้คนไทยเข้าถึงผักและผลไม้เมืองหนาวที่มีคุณภาพสูง ในราคาที่คุ้มค่าอีกด้วย ในตอนนี้การซื้อพืชเมืองหนาวก็ยิ่งง่ายขึ้นกว่าเดิม เพราะมี ‘โครงการหลวง สินค้าคุณภาพ จากเลอตอ สู่ซีพี แอ็กซ์ตร้า’ ซึ่งเป็นโครงการที่ทางโลตัสและแม็คโคร ภายใต้ ‘บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด […]
#กินหมดจาน Guidebook และ Restaurant Makeover โครงการที่จะชวนกินข้าวให้หมดจาน และช่วยปรับร้านอาหารให้จัดการขยะอย่างถูกวิธี
“ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า” ประโยคคุ้นหูที่ท่องจำกันมาตั้งแต่อนุบาล แต่เหมือนยิ่งโตนั้นจะได้แค่จำแต่ทำไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเวลาที่น้อยลง รสชาติอาหารไม่ถูกปาก เครียดกินข้าวไม่ลง หรือแม้กระทั่งลืมว่ายังกินไม่หมด เช้าวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม ทีมกินหมดจานชวนเราไปชิม 2 ใน 50 ร้านจาก ‘กินหมดจาน Guidebook’ โดยมีร้าน Karo Coffee Roasters คาเฟ่สุดเท่ย่านปรีดี พนมยงค์ ที่แนะนำโดย ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และร้าน No Name Noodle BKK แนะนำโดย ‘ปิ๊ปโป้-เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านราเม็งตัวจริงเสียงจริง พร้อมไปดูวิธีกำจัดขยะเศษอาหารที่เขตวัฒนา กินหมดจาน Guidebook เป็นเสมือนหนังสือรวม 50 ร้านอาหารที่เหล่า KOLs ขอการันตีว่าร้านนี้อร่อยและจัดการขยะได้ดี โดยอยู่ภายใต้โครงการ ‘Restaurant Makeover’ ที่ แพร-พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ หรือ ‘PEAR […]
LittleFits บริการสมาชิกเสื้อผ้าเด็กรายเดือนแห่งแรกในไทย ตัวเลือกใหม่แบบรักษ์โลกของพ่อแม่ยุคปัจจุบัน
“ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เด็กอายุศูนย์ถึงสองปี เปลี่ยนไซซ์เสื้อผ้ามากถึงหกถึงเจ็ดครั้ง บางทีซื้อเสื้อผ้ามา ใช้ไม่กี่ครั้งก็ต้องเปลี่ยนแล้ว หรือบางคนซื้อมาไม่ได้ใช้ต้องทิ้งแล้วก็มี” แม้จะเป็นระยะเวลาสั้นๆ แค่ 2 ปีหลังจากเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลามากพอที่จะสร้างขยะเสื้อผ้าเด็กจำนวนมาก เพราะเฉลี่ยแล้ว แต่ละครอบครัวจะสร้างขยะเสื้อผ้าเหลือทิ้งมากถึง 90 ชิ้น และคาร์บอนฟุตพรินต์กว่า 360 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดปัญหาขยะเสื้อผ้าเด็ก และช่วยเซฟเงินในกระเป๋าคุณพ่อคุณแม่ไปพร้อมๆ กัน ‘ต้า-ธนกฤต จินดามัยกุล’ และ ‘เซน-นรเทพ ถนอมบุญ’ สองหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จับมือกันสร้าง ‘LittleFits’ บริการสมาชิกเสื้อผ้าเด็กรายเดือนแห่งแรกในไทยขึ้น จากคนที่มีความสนใจเหมือนกันสู่คู่หูธุรกิจ นอกจากเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 จากคณะและมหาวิทยาลัยเดียวกันแล้ว ความสนใจเรื่องเสื้อผ้าและสิ่งแวดล้อมยังเป็นอีกเรื่องที่เชื่อมต้ากับเซนเข้าด้วยกัน “แต่จุดเริ่มต้นจริงๆ คือเราทั้งสองคนสนใจเรื่องสตาร์ทอัพอยู่แล้ว และได้มีโอกาสทำเคสธุรกิจในมหา’ลัยด้วยกัน” เซนเท้าความถึงจุดที่ทำให้ทั้งคู่ขยับมาเป็นพาร์ตเนอร์ด้านธุรกิจ “หลังจากนั้นเลยทำให้รู้ว่าผมกับเขาชื่นชอบเรื่องเสื้อผ้าเหมือนกัน จนไปเจอเข้ากับ Pain Point เรื่องขยะที่เกิดจากเสื้อผ้าเด็ก จึงปรึกษาและพัฒนาออกมาเป็น LittleFits ในที่สุด” ต้าเสริม ชายหนุ่มอธิบายรูปแบบธุรกิจนี้อย่างง่ายๆ ให้เราฟังว่า LittleFits คือแบรนด์ให้บริการเสื้อผ้าเด็กแบบพรีเมียมลักซูรีรายเดือนแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีจุดมุ่งหมายในการพยายามลดขยะเสื้อผ้าเด็ก ด้วยการทำให้เกิดการหมุนเวียนของเสื้อผ้าให้ได้มากที่สุด […]
ออกไปฟื้นฟูป่า กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยนพื้นที่สีเขียวรอบชุมชนให้ยั่งยืนไปกับ ‘โพรเทคส์’
‘ถ้าไม่กล้าแล้วจะเปลี่ยนได้ยังไง’ โพรเทคส์ชวนเรากลับมาผจญภัยอีกครั้ง กับภารกิจฟื้นฟูป่า กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยนพื้นที่สีเขียวรอบชุมชนให้ยั่งยืน ผ่านกิจกรรม ‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน’ ที่จัดมาเป็นครั้งที่ 2 ครั้งนี้ โพรเทคส์พาทุกคนมาเปลี่ยนบรรยากาศ ล่องเรือชมธรรมชาติ ณ เมืองสายน้ำสามเวลา จังหวัดสมุทรสงคราม ออกไปขุดดินปลูกต้นโกงกาง ฝ่าเนินโคลนชั้นเซียน ลงมือเปื้อนเพื่อเปลี่ยนต้นกล้าให้กลายเป็นป่าชายเลน พร้อมเรียนรู้ความสำคัญของระบบนิเวศที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผืนใหญ่ของโลก การเข้าร่วมกิจกรรม ‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน ครั้งที่ 2’ ยังคงมีสายฝนเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง อุณหภูมิที่เย็นลง หยาดน้ำฝนที่กระทบหน้าต่าง คล้ายเสียงขับกล่อมให้รู้สึกผ่อนคลาย นั่งรถมาไม่นานก็ถึงที่หมายโดยไม่รู้ตัว ทันทีที่เท้าสัมผัสพื้น กลิ่นอายธรรมชาติและลมทะเลก็ลอยเข้ามาเตะจมูก พร้อมภาพของ ‘ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน’ ที่รายล้อมด้วยต้นโกงกางน้อยใหญ่ ในละแวกเดียวกันยังมีบ้าน ร้านอาหาร และรีสอร์ต แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของป่าชายเลนที่ยึดโยงชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงครามแห่งนี้ หลังจากเปลี่ยนเสื้อและรับหมวกจากโพรเทคส์ เตรียมความพร้อมก่อนทำกิจกรรม ‘กอล์ฟ-ชวณัฐ มังน้อย’ ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์โพรเทคส์ ก็ก้าวขึ้นกล่าวต้อนรับ “แบรนด์โพรเทคส์มีความเชื่อในการออกไปลงมือทำ กล้าเลอะ กล้าเปื้อน เปิดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยไม่ต้องกังวล ซึ่งเป็นที่มาของแคมเปญกล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน” ชวณัฐ กล่าวถึงที่มาของกิจกรรมในวันนี้ นอกจากนี้เขายังเสริมอีกว่า การปลูกป่าที่ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน เป็นการต่อยอดจากครั้งก่อนที่ชวนทุกคนไปลงมือปลูกต้นกล้า ฟื้นฟูป่ากันมาแล้ว […]
‘ไทยเด็ด’ โครงการที่พาสินค้าท้องถิ่นเด็ดๆ มาอยู่ใกล้กับทุกคนมากขึ้นที่ PTT Station กว่า 300 สาขาทั่วประเทศ
เราทุกคนต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่า บ้านเรามีของดีของเด็ดของแต่ละพื้นที่ซุกซ่อนตัวอยู่ทั่วประเทศ แต่ปัญหาคือรู้แล้วก็ใช่ว่าจะหากินได้ง่ายๆ เพราะการส่งออกสินค้าจากจังหวัดหนึ่งไปสู่จังหวัดหนึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเหล่าผู้ประกอบการรายเล็ก รวมไปถึงผู้บริโภคต่างถิ่นที่อยากสนับสนุนสินค้าจากท้องถิ่น แต่ก็ไม่รู้ว่าจะไปหาแหล่งซื้อขายสินค้าที่ไหน จะสั่งสินค้าโดยตรงก็กลัวต้องใช้เวลาส่งนาน แถมกว่าสินค้าจะมาถึงมือก็ไม่รู้ว่าจะเกิดความเสียหายระหว่างทางอีกไหม ทาง ‘บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR)’ ซึ่งเป็นองค์กรที่เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชุมชน ได้นำเอาเพนพอยต์เหล่านี้มาแก้ไข รวมถึงต้องการขยายโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ่านโครงการ ‘ไทยเด็ด’ เพื่อผลักดันการสร้างเศรษฐกิจของคนในชุมชนทั่วประเทศให้เติบโตอย่างแข็งแรงและยั่งยืน สินค้าจากชุมชนท้องถิ่นไทย หาซื้อง่ายๆ ในโครงการไทยเด็ด โครงการไทยเด็ด เป็นโครงการ CSR ที่เป็นการร่วมมือของ OR กับพันธมิตรอีก 8 หน่วยงานที่เล็งเห็นถึงปัญหาการซื้อขายสินค้าของชุมชนที่หายาก บางอย่างเป็นของเด็ดของดังในชุมชน แต่คนนอกพื้นที่กลับไม่รู้เลยว่าจะอุดหนุนได้จากที่ไหน ไทยเด็ดจึงทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ประกอบการท้องถิ่นและผู้บริโภค ภารกิจของโครงการคือ การเฟ้นหาและคัดสรรผลิตภัณฑ์เด็ดๆ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า และเครื่องประดับ หรือของใช้ต่างๆ เพื่อนำมาเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้สินค้าเหล่านี้กระจายตัวสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศได้มากกว่าแค่กระจุกอยู่ในชุมชนเท่านั้น โดยทาง OR จะรับหน้าที่เป็นตัวกลางในการสนับสนุนช่องทางการขายให้กับชุมชน ผ่านการวางขายที่ ‘PTT Station’ หรือ ‘ร้านคาเฟ่อเมซอน’ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น และส่งต่อสินค้าให้ถึงผู้บริโภคอย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น […]
อัปสกิลวิสาหกิจชุมชนไทย ปลดล็อกความรู้ มุ่งสู่ความยั่งยืน โครงการ ‘ไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน’ สร้างคุณค่าร่วมแบบ Ecosystem
‘ผลิตภัณฑ์และบริการจากวิสาหกิจชุมชน’ คือแรร์ไอเทมประจำท้องถิ่นที่รอการส่งเสริมและพัฒนา เพราะนอกจากจะทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง ช่วยยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ยังทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีตามไปด้วย แต่ถ้าถามว่า แล้วการยกระดับที่ว่าเป็นแบบไหน เราขอแนะนำให้รู้จักกับ 2 ผู้ประกอบการจาก 2 วิสาหกิจชุมชนที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม ‘ไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน’ และนำความรู้ไปพัฒนาธุรกิจต่อจนประสบความสำเร็จ คนแรกคือ ‘หนิง-ธนพร วงค์เขื่อน’ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรุ่นที่ 1 ในเขตภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย จากวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรท่าสุด (ท่าสุดเฮิร์บ) จ.เชียงราย ธนพรทำให้เราเห็นภาพความสำเร็จของโครงการนี้ชัดขึ้น ด้วยแนวทางการสร้างความร่วมสมัยให้ผลิตภัณฑ์ บริการแปรรูปสมุนไพร และบริการด้านสุขภาพ ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ง่ายขึ้น เพื่อส่งให้ภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมไปถึงผู้คนในวงกว้าง โดยวิธีการที่ว่าคือ การมุ่งเน้นที่การเพิ่มทักษะด้านการขาย และการสื่อสารการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ใหม่ๆ มีการเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของแบรนด์ผ่านสื่อโซเชียล สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ตามสโลแกน ‘ผ่อนที่กาย คลายที่ใจ By Tasud Herb’ อีกทั้งยังมีการจับมือกับเครือข่ายสายสัมพันธ์มาช่วยเสริมธุรกิจในหลายด้าน ตั้งแต่การเพิ่มพูนความรู้ ปรับปรุงรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้โมเดิร์นน่าใช้ เพิ่มช่องทางตลาดและจุดจำหน่าย ไปถึงยกระดับมาตรฐานแหล่งวัตถุดิบและสินค้า ทั้งหมดนี้ทำให้แบรนด์ Tasud Herb (ท่าสุดเฮิร์บ) ของวิสาหกิจชุมชนเติบโตฮิตติดตลาดอย่างรวดเร็ว และได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก จนมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว […]
‘No Farmer, No Us’ แคมเปญจาก KUBOTA ที่อยากขอบคุณเกษตรกรผู้ทุ่มเทเพื่อเราทุกคน
‘No Farmer, No Us’ แคมเปญจาก KUBOTA ที่อยากขอบคุณเกษตรกรผู้ทุ่มเทเพื่อเราทุกคน
‘Urban Common Source’ แพลตฟอร์มรวมข้อมูลของกรุงเทพฯ ที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาเมืองเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว
การหาข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบัน เราทุกคนต่างเชื่อว่าสามารถค้นหาทุกอย่างได้บนอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งการหาข้อมูลทั่วๆ ไปของเมืองที่เราอาศัยอยู่ กลับต้องใช้เวลาในการยื่นคำร้องสู่หน่วยงานอีกหลายขั้นตอนกว่าจะได้รับข้อมูลนั้นมา และไม่ใช่แค่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการข้อมูลเหล่านี้ไปทำงานหรือทำวิจัย แต่เชื่อหรือไม่ว่า แม้แต่หน่วยงานรัฐเองบางครั้งก็ประสบปัญหาการสืบค้นข้อมูลเมือง ทำให้การพัฒนาพื้นที่บางจุดในเมืองเป็นไปอย่างล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น คอลัมน์ Trouble Solver พาไปทำความรู้จักกับ urbancommonsource.com แพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมือง ที่เกิดจากการทำงานของ Urban Studies Lab ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และการร่วมมือกับกรุงเทพมหานครและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ เพื่อสร้างพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูล ให้การทำงานของหน่วยงานรัฐ รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ที่ต้องการใช้ข้อมูลเมืองมีความสะดวกสบายและง่ายขึ้น Urban Studies Lab กับการเป็นตัวกลางเชื่อมรัฐและชุมชน ‘ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง’ หรือ ‘Urban Studies Lab (USL)’ คือศูนย์วิจัยอิสระด้านการศึกษาเมือง ที่เน้นการพัฒนาเมืองในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสังคม คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติและการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบมีข้อมูลเป็นหลักฐาน การทำงานของ Urban Studies Lab จะเป็นการพัฒนาชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ ภายในเมือง เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาหรืองานวิจัย และภาคประชาสังคม […]
เรียนรู้ความเป็นมาและสัมผัสความสวยงามของผ้าไหมไทย Colors of Buriram
เมื่อพูดถึง ‘ผ้าไหม’ หรือ ‘ผ้าไทย’ ภาพที่เราจะได้เห็นผู้คนสวมใส่ชุดผ้าไหมนั้นมักเป็นโอกาสสำคัญๆ อย่างงานพิธีการ มากกว่าที่จะนำมาใส่ในชีวิตประจำวัน ด้วยภาพจำที่มีต่อผ้าไทยที่ดูไม่ทันสมัยหรือสวมแล้วดูเป็นทางการเกินไป ทำให้ส่วนใหญ่มีแต่ผู้ใหญ่ที่ให้ความสนใจกับผ้าประเภทนี้ คอลัมน์ประจำจังหวัดจะพาทุกคนไปเรียนรู้เรื่องราวผ้าไทยกับงาน ‘Colors of Buriram’ เพื่อเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับผ้าไทย โดยเฉพาะผ้าไหมของชาวบุรีรัมย์ที่มีการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่มีความทันสมัย ใส่ได้ทุกเพศทุกวัย ผ่านการถักทอด้วยความประณีต ออกแบบและตัดเย็บอย่างสวยงาม เพื่อต่อยอดโครงการ ‘ผ้าไทยใส่ให้สนุก’ ให้อยู่คู่กับชุมชนและชาวบุรีรัมย์ รวมถึงสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย และสนับสนุนกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ‘Colors of Buriram’ สีสันและชีวิตของผ้าไหมทอมือ Colors of Buriram นั้นเป็นงานสุดยอดมหกรรมผ้าไทย ที่จัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมภูมิปัญญาชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด จัดแสดงผ้าทอนานาชนิดและงานหัตถกรรมผ้า 2,000 กว่าชิ้น ที่คัดสรรผลิตภัณฑ์มาจากทั้ง 23 อำเภอทั่วจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 19 – 21 มีนาคม บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอนาโพธิ์ ไม่เพียงแต่จัดแสดงผลงานผ้าไทยเท่านั้น แต่ผู้ที่เข้าร่วมงาน Colors of Buriram ทั้งชาวบ้านในพื้นที่หรือนักท่องเที่ยวก็ยังจะได้สัมผัสและเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมความเป็นไทยผ่านผลิตภัณฑ์ผ้าทอนานาชนิด รวมถึงเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตผ้าไหมไทยตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้เข้าใจถึงศักยภาพและความสามารถในการผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน ที่ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบให้มีความทันสมัยใช้ในชีวิตประจำวันได้ […]
ชวนดู ‘เซ็นทรัลพัฒนา’ พลิกโฉมรีเทลครั้งใหญ่ด้วยโครงการระดับโลก ลงทุนต่อเนื่องขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
ความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจนั้นไม่ใช่แค่การมองเห็นแต่ประโยชน์ของธุรกิจของตัวเอง แต่ยังรวมไปถึงการขยายโอกาสให้ธุรกิจหรือภาคส่วนอื่นๆ ได้เติบโตไปด้วยกัน เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ถึงใช้โมเดล The Ecosystem for All กลยุทธ์ที่เชื่อมโยงธุรกิจหลักอย่างศูนย์การค้าที่เป็นหัวใจหลักในการสร้างความแข็งแกร่งของระบบทั้งหมด เข้ากับธุรกิจที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และโรงแรม หวังตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกคน พร้อมทั้งมีการลงทุนในระยะยาวเพื่อสร้างอนาคตแห่งการใช้ชีวิต ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ชวนไปดูกันว่า เซ็นทรัลพัฒนามีกระบวนการดำเนินงานอย่างไร ที่ทำให้ประสบความสำเร็จจนกลายเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งอสังหาริมทรัพย์ไทยเพื่อความยั่งยืน และส่วนการลงทุนที่ว่านั้นมีโครงการอะไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตบ้าง สร้างสรรค์และพัฒนาโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่อง แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้นำเบอร์หนึ่งแล้วก็ตาม แต่ด้วยบทบาทของการเป็น Place Maker ทำให้เซ็นทรัลพัฒนาไม่เคยหยุดนิ่งที่จะสร้างสรรค์พื้นที่ใหม่ๆ เพื่อมุ่งมั่นพัฒนาโปรเจกต์และสร้างประโยชน์ในวงกว้าง จึงเกิดเป็นไอเดียและการวางแผนลงทุนบุกเบิกย่านต่างๆ ผ่านการสร้างโครงการมิกซ์ยูสเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในแต่ละพื้นที่อยู่เสมอ ถือเป็นการสร้างย่าน ผลักดันศักยภาพทั้งเมืองหลัก-เมืองรองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั่วประเทศ รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนและเมืองให้ดีขึ้น ลงทุนในระยะยาวเพื่อรองรับการสร้างแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ก่อนหน้านี้ ทางเซ็นทรัลพัฒนาได้ลงทุนสร้างโครงการมิกซ์ยูสไปแล้วกว่า 20 โครงการทั่วประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ในประเทศไทยที่เซ็นทรัลพัฒนาเชื่อว่าสามารถพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีกมาก โดยภายใน 5 ปีนี้ เซ็นทรัลพัฒนามีแผนการลงทุนระยะยาวตั้งแต่ปี 2567 – ปี 2571 ด้วยจำนวนเงินกว่า 121,000 ล้านบาท ในการเปิดโครงการมิกซ์ยูสแห่งใหม่ […]
‘โตโยต้า’ มอบทุนการศึกษาแก่นิสิตจุฬาฯ เป็นปีที่ 51 ขับเคลื่อนสังคมไทยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันนี้ ธุรกิจต่างๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเติบโตของบริษัทอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเล็งเห็นถึงการเติบโตของสังคมผ่านการดำเนินธุรกิจของตนเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา ช่วยเหลือ หรือขับเคลื่อนสังคมไทยให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่นเดียวกันกับ ‘บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด’ ก็เป็นหนึ่งในบริษัทรถยนต์ ที่ไม่ได้ใส่ใจแค่เพียงคุณภาพของรถยนต์เท่านั้น แต่ยังดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมไทยให้ไปสู่ความยั่งยืน ด้วยการตระหนักถึงการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะพาให้เยาวชนของไทยเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ อย่างการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นิสิต นักศึกษาที่มีผลการเรียนและความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สำหรับปีการศึกษา 2566 นี้ นับเป็นครั้งที่ 51 แล้ว ที่ทางโตโยต้า ได้มอบทุนสนับสนุนแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 รวมทั้งสิ้น 1,615 ทุน เป็นมูลค่า 21,522,000 บาท โดย ปีนี้ ‘นายโนริอากิ ยามาชิตะ’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย‘นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ’ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และ ‘นายสุรภูมิ อุดมวงศ์’ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้มอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำปี […]
PokPok บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่ทำให้ระยะทางไม่ใช่ปัญหาของการกินของอร่อย
เคยไหม อยากกินอาหารจากละแวกอื่น แต่เจอค่าส่งแพ้งแพงซะจนยอมใจ หรือบางทีฮึดสู้ว่าจ่ายไหวก็เจอประโยคทำร้ายจิตใจว่าบ้านไกลอยู่นอกพื้นที่จัดส่ง เราเข้าใจว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ เลยอยากชวนมารู้จักกับ ‘PokPok’ บริการส่งอาหารข้ามโซน ที่จะทำให้ความฝันของเหล่านักกินเป็นจริง Food Delivery ที่บ้านไกลแค่ไหนก็ไม่มีค่าส่งมาเป็นปัญหา PokPok คือบริการส่งอาหารรูปแบบใหม่ที่ขยายขอบเขตของการรับหิ้ว ไม่ว่าบ้านจะอยู่ไกลแค่ไหน ถ้าอยู่ในเส้นทางที่ PokPok จัดสรรไว้ก็สามารถอร่อยกับอาหารจากร้านดังได้หมด ถึงแม้ตัวจะอยู่รังสิต แต่ถ้าอยากกินร้านเด็ดจากเยาวราชก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ PokPok ทำหน้าที่เป็นฟู้ดคอร์ตเคลื่อนที่ เสิร์ฟอาหารไปหาทุกคนโดยไม่มีค่าส่ง ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ริเริ่ม PokPok เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้มาจากเขาเห็นเพนพอยต์ของ Food Delivery “ก่อนหน้านี้ผมเป็นคนที่ไม่สั่งเดลิเวอรีเลย เพราะเสียดายค่าส่ง มันแพง เพิ่งมาใช้ช่วงโควิด-19 นี่เอง เพราะเลี่ยงไม่ได้ เรามองว่าค่าส่งนี่แหละคือปัญหา ระยะทางใกล้ๆ ก็บวกไปเยอะแล้ว ระยะทางไกลไม่ต้องพูดถึง “เราพยายามคิดว่าจะมีทางไหนบ้างที่จะส่งอาหารได้โดยที่ไม่มีค่าส่ง จนมาได้ไอเดียจากว่า ผมเป็นคนที่อยู่บางนาแต่บางทีก็อยากกินอาหารจากเยาวราช เราแค่คิดว่าแล้วคนในคอนโดฯ จะอยากกินเหมือนเราไหม สมมติมีหนึ่งพันคน อย่างน้อยอาจจะมียี่สิบคนที่อยากกิน ถ้าเราประกาศในคอนโดฯ ว่าตอนนี้เราอยู่เยาวราชนะ อยากกินอะไรสั่งมา จะมีคนสั่งไหม” นายเริ่มต้นทดสอบไอเดียนั้นผ่านกรุ๊ปไลน์คอนโดฯ ของตัวเอง […]