Re-desire
งานออกแบบที่ ‘คิดใหม่ ทำใหม่’ เปิดกว้าง และไม่จำกัดวิธีการ
เย็บ | ปัก | ถัก | ชีวิต ศิลปะบนผ้าพื้นเมืองที่ไม่มีวันหมดอายุ
เมื่อพูดถึงผ้าพื้นเมือง หลายคนคงติดภาพเสื้อชาวเขา เสื้อม่อฮ่อม ผ้าซิ่น ซึ่งถูกทำให้กลายเป็นของแปลกใหม่สำหรับคนเมือง กลายเป็นเครื่องนุ่งห่มของคนต่างถิ่น แต่ไม่ใช่สำหรับเธอ บุคคลผู้หลงรักมนตร์เสน่ห์ของผ้าพื้นเมืองในฐานะ ผ้าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น งานของเธอจึงใช้ผ้าพื้นเมืองที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ และใช้กรรมวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติมาใช้เป็นหลัก จากผ้าฝ้ายธรรมดาก็กลับสามารถเพิ่มมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ ด้วยวิธีคิด การมอบคุณค่าให้กับผ้า จนผลงานบนผืนผ้าของเธอได้โลดแล่นในเวทีระดับโลก เธอคนนั้นมีชื่อว่า ‘ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์’ ผ้าพื้นเมืองถึงจะเก่า แต่เก๋าไม่เสื่อมคลาย เสื้อผ้าพื้นเมืองถูกผลักออกจากชีวิตผู้คนสมัยใหม่ ให้กลายเป็นเพียงเสื้อผ้าของชาวเขา และแทนด้วยเสื้อผ้าโรงงานซึ่งเน้นการผลิตจำนวนมาก เสื้อผ้าเหล่านั้นอาจจะดูสวย ทันสมัยสำหรับคนในเมือง แต่สิ่งที่ขาดไปในผ้าทุกผืนนั้นก็คือ มนตร์เสน่ห์และชีวิตของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง จนเราไม่เคยคิดเลยว่าเรากลายเป็นผู้คนที่สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตโดยเครื่องจักรไปเสียแล้ว ในทางกลับกันเสื้อผ้าพื้นเมืองที่ถูกถักทอด้วยมือ กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวทางวัฒนธรรม นอกจากนั้น ยังมีชีวิตของผู้ผลิตอยู่ในนั้น ถึงแม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนาน งานเหล่านี้ก็จะไม่มีวันล้าสมัย และยังคงโดดเด่นอยู่เสมอด้วยเรื่องราวในตัวของมันเอง เสื้อผ้าพื้นเมืองกลายเป็นกระแสทำให้หลายคนเริ่มหันกลับมามองรากวัฒนธรรมของสิ่งที่เราสวมใส่ และเราคงหันมองทุกครั้งถ้าได้เห็นคนใส่ผ้าพื้นเมืองบนรถไฟฟ้า หยุดสายตาเพื่อชื่นชมในเสน่ห์ของชุดของเขาอยู่ไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในบุคคลที่คอยผลักดันภูมิปัญญาพื้นถิ่น ตั้งแต่เครื่องเงิน กระเป๋าสาน กำไลข้อมือ และชิ้นสำคัญอย่างผ้าพื้นเมืองให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งก็คือพี่ซิกแนล เห็นคุณค่าของเวลาจึงออกแบบให้หลากฟังก์ชัน เธอเป็นคนเห็นคุณค่าของเวลา ทำให้การจะสร้างสรรค์งานขึ้นมาสักชิ้น ต้องมีอรรถประโยชน์สูงสุด เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป พี่ซิกแนลได้แนวคิดในการออกแบบงานหนึ่งชิ้นให้มีฟังก์ชันได้หลากหลาย เสื้อ 1 ตัวของเธอจึงใส่ได้ 4 ด้าน ด้วยเทคนิคการออกแบบคอเสื้อเฉพาะตัว […]
จัดช่อตัวต่อดอกไม้ด้วย ‘LEGO’
เราสามารถต่อดอกไม้เองด้วย ‘LEGO’ คอลเลกชัน ‘Botanical’ หรือสวนพฤกษศาสตร์ที่สามารถนำตัวต่อรูปทรงต่างๆ มาเนรมิตเป็นดอกไม้ในจินตนาการ
เท่ ทน โจรยังกรีดไม่เข้า! กระเป๋าจากแผ่นรองตัด Least Studio
แผ่นรองตัดสีเขียวอื๋ออุปกรณ์คู่ใจเด็กศิลป์ไว้รองกรีด รองตัด และรองหั่น (?) เพื่อสร้างศิลปะอันบรรเจิดหรือสำหรับเสกโปรเจกต์ขึ้นมายามค่ำคืน ก่อนถูกพัฒนาโดยอดีตสถาปนิก ‘มิ้น-ธีรพล อัครทิวา’ และ ‘ออม-วรัญญา นันทสันติ’ สองผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Least Studio ที่พัฒนาแผ่นรองตัดให้เป็นมากกว่ากระเป๋าแต่อยากเป็นต้นแบบวัสดุทางเลือกเพื่อลดการใช้หนังสัตว์
เมื่อกาว UHU และแผ่นรองตัดสวมใส่ได้
นักเรียนออกแบบในนิวยอร์กกว่า 10 ชีวิตอยากร่วมชนแก้ว เอ้ย ! เฉลิมฉลองและขอบคุณเครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านั้นว่าพวกมันเจ๋งกว่าใคร ด้วยการนำมันมาเป็นแรงบันดาลใจในการผลิตเครื่องแต่งกายแนวสตรีทสุดมัน ‘Boolean Brands’
Blue Bangkok โปรเจกต์ถอดแบบตึกเก่าในย่านเก่าเป็นของที่ระลึก
คุยกับทีม Blue Bangkok ผู้รักย่านเก่าถึงขึ้นถอดแบบตึกเก่าให้กลายเป้นของที่ระลึกสุดน่ารัก
ชวนดูการออกแบบ 7 หอพักนักศึกษาทั่วโลก ที่คิดเพื่อคนอยู่ ดีต่อใจ ไม่ใช่ห้องรูหนู
หอพักนักศึกษาประเทศอื่นหน้าตาเป็นอย่างไร เหมือนหรือต่างจากของบ้างเรากันนะ ชวนดู 7 การออกแบบหอพักนักศึกษาทั่วโลก
“ยกทางจักรยานขึ้นฟ้า” ท่ามกลางทิวป่าสนเหนือเหมืองเก่า
ปั่นจักรยานไปแตะขอบฟ้าที่ลิมเบิร์ก ประเทศเบลเยียม กับโปรเจกต์ที่ชื่อว่า ‘Cycling through the Trees’ ที่เนรมิต ‘เหมืองเก่า’ ให้กลายเป็น ‘ทางจักรยานลอยฟ้า’ เหนือทิวป่าสน ซึ่งยาวกว่า 700 เมตร ด้วยการออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวงปีของต้นไม้และการก่อสร้างให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติให้มากที่สุด เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ที่เป็นมิตรกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม ‘ลิมเบิร์ก’ (Limburg) เป็นมณฑลหนึ่งที่อยู่ทางตะวันออกสุดของเขตฟลามส์ ประเทศเบลเยียม ในอดีตดินแดนแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะการถลุงเหล็กและเหมืองถ่านหิน ทำให้มีการปลูกต้นสนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย แต่ต่อมาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เหมืองแร่หลายแห่งปิดตัวลงในที่สุด รวมถึงต้นสนที่ปลูกไว้ก็เริ่มขยายจำนวนมากขึ้นเพราะไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร เบลเยียมจึงลงมือทำโปรเจกต์ที่ชื่อว่า ‘Cycling through the Trees’ คือโปรเจกต์ที่พัฒนาเส้นทางจักรยานลอยฟ้าในเมืองลิมเบิร์ก เป็นผลงานการออกแบบของสตูดิโอ ‘BuroLandschap’ และ ‘De Gregorio & Partners’ ที่ต้องการลดความหนาแน่นของระบบนิเวศน์ และปรับภูมิทัศน์ให้คนสามารถมาทำกิจกรรมได้ ทางจักรยานลอยฟ้านี้มีความยาว 700 เมตรท่ามกลางต้นสน ก่อนจะไล่ระดับจากพื้นสูงขึ้นไป 10 เมตร และวนลงกลับสู่พื้นป่าในระดับความชันเพียง 3-4% และเสริมความปลอดภัยด้วยราวกันตกที่ทำจากตะแกรงเหล็ก ทีมสถาปนิกได้ไอเดียการออกแบบทางจักรยานเป็นวงกลมจากวงปีของต้นไม้ ส่วนเสาทำจากเหล็กที่แข็งแรงทาทับด้วยสีน้ำตาลคล้ายสีต้นสน […]
สัมผัสเมืองโตเกียว ผ่านบันไดวนรอบโรงแรม Siro
เพราะอยากให้แขกที่เข้าพักโรงแรมได้สัมผัสกับเสน่ห์ของวิถีชีวิตแบบเก่าใหม่ วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงประวัติศาสตร์และอุตสาหกรรมที่เจริญรุ่งเรืองของโตเกียว สตูดิโอสถาปนิก “Mount Fuji” จึงได้ออกแบบด้านหน้าโรงแรม “Siro” ให้เป็นบันไดที่เชื่อมคนและเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
‘ศาลพระภูมิ’ ยุคใหม่ บทพิสูจน์ที่ยืนหยัดบนความเชื่อ
บริษัทศาลพระภูมิ ‘Holyplus’ ศาลพระภูมิยุคใหม่ ที่เปลี่ยนมุมมองของศาลพระภูมิให้เข้ากับยุคเข้าสมัย และเป็นส่วนหนึ่งของอาคารบ้านเรือน ซึ่งกลมกลืนเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้อย่างลงตัวที่แม้กาลเวลาก็ไม่ใช่เงื่อนไขอีกต่อไป
‘ถ้วยกาแฟ’ แรงบันดาลใจจากสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
ปรเจกต์ Mugo Ceramica คอลเลคชั่นแก้วเซรามิกที่ได้แรงบันดาลใจจากสัตว์ทั่วโลก เช่น เต่าทะเล แมวสายพันธุ์ต่างๆ หมาป่า สิงโต ฉลามหัวค้อน ฉลามขาว ยีราฟ แรด และนกฟลามิงโก้
ชุดเก้าอี้ปรับท่านั่งเพื่อเด็กประถมฯ ‘โตไปไม่ปวดหลัง’
ฝันร้ายของเด็กประถมฯ จะหมดไป ด้วยเก้าอี้ดีไซน์เก๋ไก๋ในโปรเจกต์ ‘Active Classroom’ จาก Studio Lancelot สตูดิโอนักออกแบบชาวดัตซ์เพื่อการโยกขยับอย่างเต็มประสิทธิภาพ
‘ที่ใส่กระดาษชำระ’ กลายเป็นศิลปะในห้องน้ำ
อะไรเอ่ยนั่งบนชักโครกแล้วสาวได้สาวเอา เฉลย… กระดาษทิชชูไงจ๊ะ ! เข้าห้องน้ำสาธารณะทีไรพอเสร็จธุระปุ๊บก็มักจะลากทิชชูออกมายาวเป็นเมตร เพราะกังวลแต่ว่าน้องจะสะอาดก่อนออกจากห้องน้ำหรือเปล่า แต่ๆๆ ขณะที่เอาทิชชู่พันมือเราไม่รู้ตัวหรอกว่าได้ตัดต้นไม้ไปกี่ต้นแล้ว ?