คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก

เหมือนเพิ่งจะรู้สึกเศร้าเสียดายกับการปิดปรับปรุงไปไม่นาน แต่รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปเกือบ 3 ปี จนได้เวลาที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้แล้ว แถมยังมีคิวงานยาวเหยียดรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานหนังสือซึ่งจะกลับมาสู่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง หรือการประชุมใหญ่อย่าง APEC Thailand 2022 ที่เราน่าจะได้เห็นการใช้งานศูนย์ประชุมใหม่แห่งนี้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ‘ความเป็นไทย’ เราเฝ้าครุ่นคิดถึงนิยามของคำคำนี้ตลอดบทสนทนากับ ‘ออ–อริศรา จักรธรานนท์’ ในห้องประชุมของ ONION บริษัทสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบและตกแต่งภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ โดยมี Frasers Property Thailand เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ในโลกที่เปรียบเสมือนหม้อใบใหญ่ เคี่ยวกรำวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้าจนบางอย่างแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน อะไรคือสิ่งที่เราพอจะบอกได้ว่านี่แหละคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ภาษา สถาปัตยกรรม ดนตรี หรือว่าอาหาร “สืบสาน รักษา ต่อยอด” คือสามคำที่เธอเล่าว่าเป็นแก่นของการออกแบบในครั้งนี้ สิ่งที่อริศราและทีมต่อยอดออกมานั้น ไม่ใช่ความเป็นไทยในแบบที่จับต้องไม่ได้หรือถูกยกไว้บนหิ้ง แต่เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไม่ประดักประเดิด ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับคนไทยได้ในฐานะศูนย์ประชุมแห่งชาติ แม้จะยังไม่สามารถเข้าไปดูศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ให้เห็นกับตา แต่เราก็ขอให้อริศราช่วยพาเราไปสำรวจเบื้องหลังการรีโนเวตในครั้งนี้ ซึ่งท้าทายตั้งแต่ขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบ อย่างการออกแบบอย่างไรไม่ให้คนเดินแล้วหลง ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกต่างหาก น้อยแต่มาก ไทยแต่เท่ จากโครงสร้างเดิมของศูนย์ฯ สิริกิติ์ที่สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 การรีโนเวตครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ พื้นที่อาคารแห่งใหม่จึงถูกขยายให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่จอดรถเดิม จนได้พื้นที่ใช้สอยรวมกว่า […]

บินลัดฟ้ากับ 8 สนามบินดีไซน์ล้ำที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

ช่วงนี้เรารู้สึกว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง เข้าโซเชียลมีเดียทีไรก็ต้องเห็นเพื่อนๆ และคนรอบตัวแพ็กกระเป๋า เช็กอินสนามบิน โบกมือลาด้วยเอเนอร์จีตื่นเต้น ก่อนจะบินลัดฟ้าไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือบางคนก็ไปไกลถึงต่างประเทศ ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการบินที่กลับมาฟื้นตัวในรอบหลายปีถือเป็นสัญญาณดีว่าภาคธุรกิจจะกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้ง แต่ถ้ามองในแง่สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการบินนั้นโดนวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านอย่างหนักจากหน่วยงานและนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมานานหลายปีแล้ว เพราะเป็นหนึ่งในวงการที่ทำให้โลกของเราเผชิญ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ ที่เป็นแบบนั้นเพราะ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกมาจากอุตสาหกรรมนี้ และเมื่อรวมก๊าซอื่นๆ บวกกับไอน้ำสีขาวที่เครื่องบินพ่นออกมา ซึ่งมีส่วนทำโลกเผชิญภาวะโลกร้อนมากถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันมาแบนการเดินทางด้วยเครื่องบิน และเลือกที่จะเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ อย่างรถไฟแทน เพื่อแสดงจุดยืนและตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น  ถึงอย่างนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินยังคงเป็นตัวเลือกที่คนส่วนใหญ่มองว่าจำเป็น คอลัมน์ Urban’s Pick จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจสนามบินจากทั่วทุกมุมโลกที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และพยายามดีไซน์พื้นที่ ติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหามลพิษและร่วมสร้างโลกที่ยั่งยืน 01 | Dock A at Zurich Airport สนามบินแห่งแรกที่เราอยากพาไปสำรวจก็คือ ‘Zurich Airport’ ตั้งอยู่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1948 แต่ในปี 2032 ที่นี่กำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสาร (Terminal) แห่งใหม่ชื่อว่า […]

KOHLER วิวัฒนาการของการอาบน้ำแบบเหนือชั้น ที่ให้ตัวเราเป็นดั่งศิลปิน

เรื่องราวในประวัติศาสตร์เป็นส่วนสำคัญให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา เพียงเกร็ดเล็กน้อยในชีวิตประจำวันของคนยุคก่อน กินข้าว เดินเล่น นอน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ ไม่พ้นแม้กระทั่งการ ‘อาบน้ำ’ ที่ในอดีตมีเรื่องราวน่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นยุโรปช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ผู้คนเชื่อกันว่าการอาบน้ำในโรงอาบน้ำที่เหมือนอ่างขนาดใหญ่เป็นอันตราย เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค หรือการอาบน้ำเป็นเพียงพิธีกรรมทางศาสนาที่นานๆ ครั้งถึงจะอาบ เราจึงได้รับรู้เกร็ดเล็กน้อยชวนหยีของบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา (Isabella I of Castile) ได้ทรงยอมรับว่าตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์สรงน้ำเพียงแค่สองครั้งเท่านั้น หรือพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (Louis XIV) กษัตริย์ที่ได้ฉายาว่า พระวรกายเหม็นที่สุดในโลก ทุกเช้าจะใช้น้ำหอมครึ่งขวดเพื่อปกปิดกลิ่นพระวรกาย เรื่องราวทั้งหมดนี้ จึงเกิดการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่จะมาแก้ปัญหาในส่วนต่างๆ และเปลี่ยนแปลงบริบทการอาบน้ำ ซึ่ง ‘ฝักบัว’ ก็เป็นนวัตกรรมในเรื่องราวสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ Urban Creature จับมือกับ KOHLER อยากพาทุกคนเข้าสู่ห้องเรียนสังคม ย้อนอ่านต้นกำเนิดของฝักบัวกันสักเล็กน้อย และจนปัจจุบัน KOHLER พัฒนาคอลเลกชันใหม่ ชุดฝักบัวอาบน้ำ & วาล์วคอนโทรล รุ่น ‘Statement & Anthem […]

พระสติ พระเครื่องจากพลาสติกที่เตือนให้ทุกคนบริโภคอย่างมีสติและรักสิ่งแวดล้อม

เมื่อช่วงงาน Bangkok Design Week 2022 ที่ผ่านมา หลายคนน่าจะได้ไปร่วมกิจกรรมหรือได้ยินข่าวเกี่ยวกับ ผ้าป่า Design Week โปรเจกต์เชิงทดลองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการทอดผ้าป่า ในการนำวัฒนธรรมการแบ่งปันสู่คนรุ่นใหม่ ด้วยวิธีการทำบุญแบบใหม่ ในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล สิ่งที่ทำให้งานผ้าป่างานนี้ต่างจากงานผ้าป่าทั่วไปคือ การเชื่อมโยงระหว่างผู้บริจาคและผู้รับบริจาคให้เกิดความสะดวก โปร่งใส มีทางเลือกในการบริจาคหลากหลายตามความสนใจของผู้บริจาค ทั้งวัด การแพทย์ และการศึกษา ทั้งยังเพิ่มทางเลือกในการบริจาคขยะพลาสติกและขวดแก้วสะอาดแทนเงิน เพื่อนำไป Upcycle เป็นโปรดักต์ต่อไปด้วย ทว่า นอกจากไอเดียสร้างสรรค์ที่ปรับประยุกต์ความเชื่อประเพณีของคนไทยที่ดูเชยให้กลับมาร่วมสมัย จนคนไปร่วมงานแน่นขนัดชนิดที่เรียกว่างานผ้าป่าแตกแล้ว ‘พระสติ’ ที่สร้างขึ้นจากขยะพลาสติก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกกับผู้ที่บริจาค ผู้รับบริจาค และผู้สนับสนุนโครงการ ก็ถือเป็นไฮไลต์ดึงดูดผู้คนให้มาร่วมงานไม่ต่างกัน จากวัสดุที่คนทิ้งขว้าง ไม่สนใจ กลับกลายเป็นของหายากที่ผลิตเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังไม่นับสตอรี่ที่มาพร้อมกับการออกแบบ และการนำเสนอความเชื่ออิงหลักพุทธร่วมสมัยที่เตือนให้บริโภคอย่างมีสติ สนับสนุนความเท่าเทียม และรักษ์โลกอีกนะ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ผ่านการศึกษาและคิดมาอย่างถี่ถ้วน เพราะต่อให้คนอยากได้พระเครื่องเพราะความแรร์หรือรูปลักษณ์เท่ๆ ก็ตาม ทว่า อย่างน้อยๆ คนคนนั้นจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหลักศาสนา สิ่งแวดล้อม หรือการรีไซเคิลไปด้วย เบื้องหลังของไอเดียพระสตินี้คืออะไร กว่าขยะพลาสติกจะกลายมาเป็นพระเครื่องยอดฮิตที่ใครๆ ต่างอยากได้มาบูชา ต้องผ่านกระบวนการคิดและออกแบบอย่างไรบ้าง เรามาคุยกับ ‘ไจ๋–ธีรชัย […]

รีโนเวต หอสมุดวังท่าพระ 57 ปี ให้เชื่อมบริบทท่าช้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะกับโบราณคดี

ห้องสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากรในความทรงจำคุณเป็นแบบไหน? หากคุณเป็นชาวศิลปากร อาจจดจำภาพห้องสมุดเล็กๆ ที่นักศึกษาล้อมวงแน่นรอบโต๊ะ เต็มไปด้วยเสียงพูดคุยจอแจ ซึ่งบ่อยครั้งต้องแย่งชิงที่นั่ง และต่อคิวยืมหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ถ้าคุณเป็นผู้แวะเวียนมาใช้บริการเป็นครั้งคราว อาจพบว่าที่นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือศิลปะ งานดีไซน์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ซึ่งเต็มไปด้วยมนตร์ขลังของบรรยากาศเก่าแก่ ไม่ว่าภาพจำจะเป็นแบบไหน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ห้องสุดเก่าในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งนี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ก่อนเป็น ‘หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ห้องสมุดแห่งนี้เคยเปิดทำการครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2507 โดยตั้งอยู่ภายในอาคารบริเวณหลังลานอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก่อนย้ายมาสร้างด้านหน้าสำนักงานอธิการบดีเมื่อปี 2518 จนถึงปัจจุบัน เดิมทีออกแบบโดย ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุริยา รัตนพฤกษ์’ เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เริ่มต้นไว้อย่างดี แต่ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ตามกาลเวลา โดยไม่ได้มีแผนการพัฒนาชัดเจน จึงทำให้ภาพรวมการขยับขยายพื้นที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ  ในปี 2558 นับตั้งแต่เริ่มโครงการปรับปรุงวิทยาเขตวังท่าพระของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทั้ง 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะมัณฑนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะโบราณคดี รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ซึ่งหอสมุดเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพล จั่นเงิน’ หรือ ‘อาจารย์โอ๊ต’ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้ออกแบบหอสมุดวังท่าพระเวอร์ชันล่าสุด จึงตั้งใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้อาคารหอสมุดมีภาพลักษณ์และภูมิทัศน์ที่ดีขึ้น […]

‘ศูนย์พักคอยตันปัน’ เปลี่ยนตึก 30 ปีเป็นที่ที่ผู้ป่วยโควิด-19 อยู่แล้วไม่เครียดกว่าเดิม

01 ปัดฝุ่นตึกเก่าอายุ 30 ปี ให้เป็นพื้นที่ช่วยคน 30 กว่าปีที่แล้ว อาคารสูง 8 ชั้น ประดับด้วยเสา และฟอร์มสไตล์โรมันตั้งเด่นอยู่ทางเข้าย่านสถานบันเทิง RCA เคยเป็นสตูดิโอถ่ายรูปแต่งงาน ที่หนุ่มสาวแถวนั้นแวะเวียนมาใช้บริการเมื่อถึงวันสำคัญ และตึกนี้ยังเป็นตึกแรกในชีวิตที่ ตัน ภาสกรนที ซื้อมาทำธุรกิจส่วนตัว “ตึกนี้ติดถนนใหญ่ ชั้นละสี่ร้อยตารางเมตร มีดาดฟ้า และ Penthouse เล็กๆ ข้างบน ผมใช้สอยพื้นที่เป็นร้านถ่ายรูปแต่งงานได้สบาย โดยกลุ่มลูกค้าเราก็คือคนที่มาเที่ยว RCA ที่วันหนึ่งแต่งงานก็จะนึกถึงเรา แต่พอเวลาผ่านไป ผมพบว่าจริงๆ ตึกนี้ไม่ใช่สไตล์ผมเลย ขัดกับตัวเองสุดๆ ก็เลยปล่อยเช่าไปยาวๆ” นักธุรกิจอย่างเขา ปล่อยเช่าให้คนอื่นทำธุรกิจแทนจนแทบไม่ได้ไปเหยียบตึกเก่าที่เคยซื้อไว้ในอดีต กระทั่งได้ยิน สรยุทธ สุทัศนะจินดา พูดถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรายการ เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งตัวเลขคนตายไม่ได้มีแค่ที่โรงพยาบาล แต่ตายที่บ้านก็มี ตายข้างถนนก็มี  “สถานการณ์ในประเทศหดหู่มาก ประชาชนพบปัญหาเดียวกันคือไม่มีเตียง เพื่อนผมเองก็โทรมาถามว่า คุณตันรู้จักใครไหม ช่วยหาเตียงหน่อย ซึ่งเราก็หาให้เขาไม่ได้ ผมก็คิดว่า ถ้าเป็นผมที่ติด จะไปหาเตียงที่ไหน […]

Startup Village เปลี่ยนที่ว่างในอัมสเตอร์ดัมเป็นหมู่บ้านสตาร์ทอัปจากคอนเทนเนอร์มือสอง

การจะสร้างคอมมูนิตี้ของสตาร์ทอัปให้เกิดขึ้นได้จริง นอกจากต้องการการสนับสนุนอย่างเอาจริงเอาจังจากรัฐแล้ว ยังจำเป็นต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำงานของเหล่าสตาร์ทอัปด้วย  โปรเจกต์ Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัปในอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นอีกโปรเจกต์หนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นโครงการเปลี่ยนพื้นที่ร้างให้กลายเป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีชั้นนำของเมือง โดยที่ใช้งบประมาณการก่อสร้างอย่างจำกัด แต่ทำออกมาแล้วเวิร์กสุดๆ  Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัป เป็นส่วนหนึ่งของ Amsterdam Science Park ที่รวมผู้ประกอบการ สตาร์ทอัป งานวิจัย และนวัตกรรมเอาไว้ที่เดียว ทำให้ที่นี่เป็นพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการสร้างสรรค์ ต่อยอด และพัฒนาเทคโนโลยีของเหล่าสตาร์ทอัปภายในประเทศ เพราะรวมคนเจ๋งๆ จากหลายด้านเอาไว้กว่า 55 บริษัท  เปลี่ยนที่ว่างเป็นหมู่บ้าน โปรเจกต์นี้เริ่มต้นเมื่อปี 2016 โดย Julius Taminiau สถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้ริเริ่มโครงการหมู่บ้านสตาร์ทอัปได้รับโอกาสจาก UvA Ventures Holding และ Amsterdam Science Park ให้มาทำโปรเจกต์หมู่บ้านให้เกิดขึ้นจริง โดยการพลิกฟื้นพื้นที่ดินร้างและว่างเปล่าแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ใช้สอยที่มีประโยชน์สำหรับสตาร์ทอัปและคนที่สนใจเรื่องนวัตกรรมในเมืองอัมสเตอร์ดัม ก่อนจะย้ายกลับมาที่เนเธอร์แลนด์ Julius เคยทำงานในลอนดอนให้กับ Carl Turner Architects ในระหว่างการออกแบบและสร้าง Pop […]

ส่องสถานีรถไฟรวมมิตร Mixed-use มิกซ์พื้นที่ให้ใช้งานได้สารพัด

เพราะ ‘เมืองขยายตัว’ ทำให้ประชากรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้พื้นที่สูงตามจึงกลายเป็นต้นตอของการมิกซ์ยูสพื้นที่ในแบบต่างๆ เช่น มีทั้งห้างสรรพสินค้า อาร์ตแกลเลอรี สำนักงาน หรือลานอเนกประสงค์รวมในที่เดียว โดยการเลือกทำเล ‘มิกซ์ยูส’ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ต้องดูว่าคนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งสถานที่ที่ตอบโจทย์มากที่สุด นั่นก็คือ ‘สถานีรถไฟ’ เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมือง แถมเป็นศูนย์กลางของโครงข่ายคมนาคมสาธารณะตั้งแต่ระดับเมืองไปจนถึงท้องถิ่น ซึ่งนอกจากมิกซ์ยูสสถานีจะช่วยกระตุ้นการขนส่งสาธารณะ ลดการก่อมลพิษ เพิ่มมูลค่าที่ดินให้กับอสังหาริมทรัพย์ ยังสร้างอาชีพในพื้นที่อีกด้วย ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ของประเทศไทยเอง ก็พัฒนาให้เป็นมิกซ์ยูสรูปแบบ ‘Vertical Mixed-Use Building’ คือการเอาพื้นที่มาใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งอย่าง โดยแบ่งสัดส่วนภายในอาคารประกอบไปด้วยร้านค้า โรงแรม สำนักงาน ฯลฯ เพื่อรองรับผู้โดยสารและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ใครที่ยังไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ก็ไม่เป็นไร เราลองไปสำรวจ ‘สถานีรถไฟ’ รอบโลกกันก่อนดีกว่าว่าเขามิกซ์เข้ากับอะไรกันบ้าง | ปรับหน้าสถานีรถไฟเป็นลานสาธารณะ เราอาจไม่ค่อยคุ้นหูกับ ‘Assen Station’ เท่าไหร่นัก เพราะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ ในเทศบาลอัสเซน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่จำนวนผู้โดยสารต่อวันยังน้อยกว่า Rotterdam Central Station หลายพันเท่า ด้วยความไม่เป็นที่สนใจเนี่ยแหละ จึงเป็นสาเหตุให้นายกเทศมนตรีสั่งรีโนเวตเสียใหม่ […]

Made in Charoenkrung ปลุกร้านเก่าแก่ย่านเจริญกรุงให้กลับมาคูลอีกครั้ง

Made in Charoenkrung คือโปรเจกต์ที่ดึงความสามารถของเหล่าช่างฝีมือ และทักษะความเจ๋งของร้านเก่าแก่ในย่านเจริญกรุง ให้กลับมาผงาดอีกครั้งด้วยการผนึกกำลังเสริมของเหล่าดีไซเนอร์รุ่นใหม่ที่จะมาช่วยกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ปังขึ้น

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ออกแบบอย่างเข้าใจชาวพุทธยุคใหม่ ปฏิรูปพุทธวิถีให้เข้าถึงง่าย

ไม่เข้าวัด ห่างไกลวัดออกไปทุกที ถ้าไม่ไปทำบุญ หรืองานศพ ก็ไม่รู้จะพาตัวเองเข้าวัดไปทำอะไร เรารู้สึกแบบนั้นเสมอ แต่เมื่อได้มาเยือน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง ละแวกปากเกร็ด นนทบุรี ความคิดที่ขยับออกจากวัดกลับกลายเป็นความรู้สึกอยากชิดใกล้ ผ่านกิจกรรมทางพุทธศาสนารูปแบบใหม่ และงานดีไซน์ร่วมสมัยชวนเข้าหา สู่วัดบันดาลใจสำหรับพุทธศาสนิกชนยุคใหม่ หนึ่ง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่ออกแบบโดยยึดหลักสัปปายะ หรือการออกแบบให้สะดวกสบายกับพุทธบริษัท หรือพุทธศาสนิกชน สอง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่เปิดให้จัดงานที่เป็นกุศล ปราศจากอบายมุข เช่น งานแต่งงานอย่างเรียบง่ายในรูปแบบธรรมสมรส สาม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่มีนวัตกรรมการฌาปนกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่รับพวงหรีด เผาไร้ควัน และมีหอมนุษยชาติ ดิจิทัลอัฐิ ทั้งสามข้อข้างต้นเป็นเพียงน้ำจิ้ม ที่จะชวนมารู้จักวัดชลประทานรังสฤษดิ์อย่างถึงแก่นผ่าน 3 บทต่อจากนี้ที่เราตั้งใจเขียน และเต็มใจนำเสนอเพื่อเชิญชวนชาวพุทธรุ่นใหม่ขยับเข้าใกล้ แล้วมองวัดในมุมที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป  ผู้สร้าง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ สร้างขึ้นในปี 2502 โดย ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ก่อนปี 2503 ได้อาราธนา ท่านปัญญานันทภิกขุ มาเป็นเจ้าอาวาส ด้วยความศรัทธาในการสอนธรรมะแนวใหม่ที่เปลี่ยนจากการ ถือใบลาน นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ มาเป็นการยืนพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมยกตัวอย่างที่ร่วมสมัยและใกล้ตัวชาวพุทธ […]

บ้านเอาถ่าน! Char Co- ของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง ดำแต่เท่ ดูดกลิ่น ไม่เลอะมือ

จับถ่านทีมือดำปี๋ ไม่ระวังให้ดีหล่นนิดเดียวก็แตก ทำเอาหลายคนไม่อยากสัมผัสถ่าน จะหยิบก็ต้องควานหาถุงมือมาใส่กันเลอะ ความไม่อยากจับถ่านที่ใครๆ รู้สึก กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ Char Co- แบรนด์ของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง ของสามนักออกแบบเอาถ่านอย่าง ปอนด์-ธีรศักดิ์ ลิ้มทัตธนกุล น็อต-นภดล สังวาลเพ็ชร และ แนค-วรภัทร์ เมืองรวมญาติ ที่ฉีกกฎความเป็นถ่านว่าต้องใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น สู่การเพิ่มคุณค่าเป็นของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง “Char Co- มาจากคำว่าถ่าน แต่ตัด al ออกจากคำว่า Coal แล้วเติม – เพื่อสื่อว่า จะเอาถ่านมาสร้างความเป็นไปได้รูปแบบใหม่ ผ่านการใช้ร่วมกับวัสดุต่างๆ ไปจนถึงการนำถ่านไปร่วมงานกับแบรนด์อื่นๆ” ซึ่งของแต่งบ้านแต่ละชิ้น ไม่ว่าจะเป็นแจกัน ที่รองแก้ว นาฬิกา แผ่นแต่งผนัง ไปจนถึงท็อปโต๊ะนั้นไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะต้องเดินทางไปถึงชุมชนยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อตามหาถ่านไม้โกงกาง ก่อนนำมาผสมเรซิน กลึง หั่น เพาะ เชื่อม แล้วขึ้นรูปเป็นของแต่งบ้านจากถ่านที่มีคุณสมบัติดูดกลิ่น ซับความชื้น กรองความสกปรก และหากวันหนึ่งเกิดแตกหักก็สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิง หรือกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อีกครั้ง คนเอาถ่าน  เปลี่ยนมุมมองถ่านที่ประโยชน์เยอะ แต่ไม่มีใครอยากสัมผัส […]

1 2 3 4 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.