หอพักพยาบาลจุฬาฯ ลบภาพอาคารซ้ำๆ ปั๊มๆ ด้วยฟังก์ชันที่พยาบาลเลือกเอง

มองไกลๆ ‘หอพักพยาบาล’ หลังใหม่ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วยอาคารสูงฉาบปูนสีขาวสบายตา 26 ชั้น เรียงรายไปด้วยห้องพัก 523 ห้อง ดีไซน์ระเบียงสลับเป็นแพตเทิร์นฟันปลายึกยัก (นึกถึงศิลปะกระดาษแบบ Pop-up Craft เหมือนกัน) กลางตึกคว้านเป็นรูปทรงบวก หรือสัญลักษณ์อุณาโลมแดง โลโก้สภากาชาดไทยในอดีต  มากกว่าดีไซน์ด้านนอกที่ไม่ค้านสายตาว่าสวย เก๋ ปัง เขยิบไปมองใกล้ๆ อีกนิด จะพบฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานจริงมากมาย ทั้งอาคารหอพักถูกแยกออกเป็นสองซีก เว้นตรงกลางและด้านข้างไว้รับลมธรรมชาติ พร้อมเปลี่ยนลานจอดรถเก่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวหรือ Public Space ที่พยาบาลสามารถออกมานั่งหย่อนใจ คลายเครียดระหว่างพัก เช่นเดียวกับบริเวณตราอุณาโลมแดงที่ตั้งใจไว้เป็นส่วนกลาง ให้นำต้นไม้มาปลูกได้ แค่นั้นยังไม่พอ มุมอินไซด์ใกล้ชิดคนอยู่อาศัยสุดๆ ที่ Plan Architect บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม เจ้าของผลงานลงไปนั่งล้อมคุยกับพยาบาลว่า “หอพักแบบไหนโดนใจทุกคน” ก็ว้าวตั้งแต่ดีไซน์ระเบียงห้องให้มีองศาเฉียงหลบตาตึกตรงข้ามเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว แยกฝั่งห้องนอนและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสองฝั่ง เพราะไม่ใช่ทุกคนจะสนิทกับรูมเมต (โคตรเรียล) และคำนึงถึงการลดค่าแอร์สูงลิ่วจากสภาพอากาศบ้านเราด้วยเทคนิคระบายความร้อนรอบอาคารยันห้องนอน 01 หอพักพยาบาลที่เป็นมากกว่าห้องติดๆ กัน วรา จิตรประทักษ์ และ เมฆ-นภสร เกียรติวิญญู […]

Sculpturebangkok นักออกแบบตู้ถ่ายรูปอัตโนมัติให้เป็นงานศิลปะตั้งทั่วเมือง

“แชะ แชะ แชะ” เพียงเสี้ยววินาที ตู้ถ่ายภาพก็กดสแนปช็อตอย่างไม่ปรานีสภาพหน้า ทำให้หวนคิดถึงสมัยผมติ่ง แบกเป้เดินสยาม แล้วแวะถ่ายรูปตู้สติกเกอร์พุริคุระกับเพื่อนก่อนไปเรียนพิเศษ ยิ่งโมเมนต์โหวกเหวกในตู้แคบๆ คอยจัดแจงว่าใครยืนหน้า-หลัง กลายเป็นความทรงจำสมัยเรียนที่มีของที่ระลึกเป็น ‘ภาพถ่าย’ ขนาดจิ๋ว (เพราะต้องตัดแบ่งให้เพื่อนอีกนับสิบคน) หรือย้อนกลับไปสมัยตัวกะเปี๊ยก เวลาเจอตู้ถ่ายสติกเกอร์ตามห้าง ต้องจูงมือพ่อกับแม่วิ่งเข้าไปแอ็กท่าสักสองสามแชะ ก่อนจะได้รูปถ่ายเฟรมฟรุ้งฟริ้ง ที่เตรียมแปะอวดรูปครอบครัวพร้อมหน้า แบบไม่ต้องมีใครหายไปจากภาพ เพราะต้องถือกล้องถ่ายให้ พอรู้ตัวอีกที ตู้ถ่ายภาพในความทรงจำ ณ ตอนนั้นต่างทยอยปิดตัวจนแทบไม่เหลือให้เดินไปสแนปขำๆ กับเพื่อนกลางสยาม แต่เมื่อไม่นานมานี้ ‘ปิ่น-ลักษิกา จิระดารากุล’ และ ‘พี-สาริษฐ์ ตรัยเลิศวิเชียร’ ผู้สร้างตู้ถ่ายภาพจาก ‘Sculpturebangkok’ ได้ทำให้หลายคนต้องนึกถึงวันวานอีกครั้ง ตู้ถ่ายภาพ ‘อัตโนมือ’ ที่มาที่ไปของตู้ถ่ายภาพอันฮอตฮิต เริ่มจากปิ่นเดินทางไปนิวยอร์ก แล้วเห็นตู้ถ่ายภาพกระจายอยู่ทั่วทั้งเมือง ประกอบกับตู้ส่วนใหญ่มีม่านกั้นให้ความเป็นส่วนตัว ทำให้ปิ่นอยากเข้าไปถ่ายเรื่อยๆ เพราะตัวเองค่อนข้างเคอะเขินเวลาต้องไปแอ็กท่าจังก้าให้คนยกกล้องขึ้นมาถ่ายกลางที่สาธารณะ จากการถ่ายเพื่อเอาสนุก กลายเป็นคนชอบเช็กอินตู้ Photoautomat ในต่างแดนเป็นที่ระลึกแต่ใครจะไปคิดว่าตู้ถ่ายภาพอัตโนมัติของ Sculpturebangkok ที่เราเห็นๆ กันอยู่ตอนนี้ จะใช้ระบบ ‘อัตโนมือ’ มาก่อน!  ปิ่นบินกลับมาประเทศไทยช่วงปลายปี 2019 […]

Pica Pen ลอกคราบความเชยของเครื่องเขียนให้อยากพกติดตัว

เปิดประสบการณ์ใหม่ผ่านเครื่องเขียนกับเจ้าของและนักออกแบบแบรนด์ Pica Pen ‘ก้อง-พิชชากร มีเดช’ ที่ตกหลุมรักเครื่องเขียนตั้งแต่วันแรกที่ได้เจอ จนสานต่อมาเป็นผลงานออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ว่าวจุฬา Originals : จักรกฤษณ์ อนันตกุล กับการถอดรองเท้ามาออกแบบเป็น Installation Art

“ดึงไปทางซ้าย วิ่งอีกๆ” เสียงน้องชายตะโกนเชียร์ฉันที่กำลังวิ่งว่าวตัวใหญ่ ลมพัดหอบมันสูงขึ้นๆ ขณะที่ขนาดของมันค่อยๆ เล็กลง จนดูเหมือนนกตัวน้อยบินลู่ลมอยู่บนฟ้า เชื่อว่าสมัยเด็กๆ หลายคนคงมีประสบการณ์วิ่งว่าวในท้องนา หรือเคยเห็นคนเล่นว่าวกลางท้องสนามหลวงกันมาบ้าง

Apaul Product แบรนด์ยาดมที่ออกแบบประสบการณ์ผ่านการดมกลิ่น

ความท้าทายครั้งใหม่ของการสร้างแบรนด์ยาดม ให้กลายเป็นตัวกลางส่งต่อความสุขของการดมกลิ่นที่ไม่ว่าจะเรื่องทุกข์ใจ เศร้าจนน้ำตาไหล หรือเครียดจัดจนเวียนหัว Apaul Product อยากให้คุณเชื่อว่าการดมกลิ่นสามารถบำบัดอาการเหล่านั้นให้ทุเลาลงได้

กระถางวัดอรุณฯ ผลงานดีไซเนอร์รุ่นใหม่ Mo Jirachaisakul

พระปรางค์วัดอรุณฯ ตั้งตระหง่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภาพจำกรุงเทพฯ ที่ไม่ว่าคนชาติไหนก็ต้องตั้งใจเดินทางมาให้เห็นกับตาสักครั้ง ยิ่งถ้าใครเดินทางด้วยเรือด่วนเจ้าพระยาเป็นประจำ ทุกครั้งที่นั่งเรือผ่านจะต้องหันไปชื่นชมความงามจนเรือแล่นลับสายตา แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือคนส่วนใหญ่มักตื่นตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการ จนมองข้ามรายละเอียดสุดประณีตโดยฝีมือช่างไทยโบราณที่บรรจงรังสรรค์ผลงานศิลปะอันยากจะเลียนแบบ

Colab-19 พลิกวิกฤตโควิดเนรมิต ‘นั่งร้าน’ เป็นพื้นที่กิจกรรมเพื่อคืนชีวิตให้เมืองโบโกตา

ตั้งแต่ COVID-19 เริ่มแพร่ระบาด หลายเมืองทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับเมืองหลวงของประเทศโคลอมเบียอย่าง ‘โบโกตา’ เพราะแค่ในเมืองนี้เมืองเดียวมีรายงานผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในโคลอมเบีย เป็นอีกหนึ่งเมืองที่ใช้มาตรการบังคับกักกัน (Forced Quarantine) นานที่สุดเมืองหนึ่งของโลก ร้านอาหารกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ถูกบังคับให้ปิดตัวลง ส่งผลให้แรงงานนับพันต้องตกงาน ในช่วงเวลานี้เองที่ Alejandro Saldarriaga และ German Bahamon สองสถาปนิกชาวโคลอมเบียได้จับมือกันหาทางออกที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจของเมือง ด้วยการคิดหาวิธีการรักษาระยะห่างใหม่ๆ ผ่านการออกแบบ ให้คนออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัยขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้ชื่อทีม Colab-19 ไอเดียจากการใช้ ‘นั่งร้าน’ เพิ่มระยะห่างใน ‘แนวดิ่ง’ มาตรการรักษาระยะห่างทำให้จำนวนที่นั่งในร้านอาหารลดลงกว่าครึ่ง เช่น บริเวณหน้าตลาด La perse ที่ก่อนการแพร่ระบาดเคยนั่งได้ 16 โต๊ะ กลับเหลือเพียงแค่ 7 โต๊ะเท่านั้น ทีม Colab-19 จึงแก้ปัญหาด้วยแนวคิดว่ามาตรการรักษาระยะห่างในร้านอาหารไม่จำเป็นต้องทำในแนวระนาบอย่างเดียว ผุดไอเดียใช้ ‘นั่งร้าน’ หรือโครงสร้างชั่วคราวสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง โดยการออกแบบนั่งร้านช่วยเพิ่มระยะห่างในแนวดิ่ง ทำให้ร้านอาหารเปิดให้บริการด้วยจำนวนโต๊ะเท่าเดิมแต่ยังรักษาระยะห่างได้อยู่ นอกจากนั้น นั่งร้านยังเป็นวัสดุที่ราคาถูก ใช้เวลาประกอบเร็ว […]

Chanintr Work แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่เชื่อว่าไลฟ์สไตล์ไม่ได้อยู่แค่ห้องนั่งเล่น แต่รวมถึงที่ทำงาน

โซฟาบ้านคุณแตกลายแล้วหรือยัง
โต๊ะกินข้าวที่บ้านเก่าจนผุแล้วใช่ไหม
สปริงเตียงนอนยังคงทำงานได้ดีหรือเปล่า
แล้วเก้าอี้ทำงานล่ะ มันทำร้ายคอ บ่า ไหล่ ของคุณบ้างไหม
โอเค ในตอนนี้คุณอาจจะไม่ได้มีปัญหาตามที่เราว่ามา แต่หากคุณเป็นคนที่สนใจการแต่งบ้าน แต่งห้อง แต่งออฟฟิศ นาทีนี้เราอยากพาคุณไปรู้จักกับ Chanintr – ชนินทร์ แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ระดับ High-end ที่เต็มไปด้วยของดีไซน์สวยๆ งามๆ และพรั่งพร้อมด้วยฟังก์ชันที่ครบครัน

เย็บ | ปัก | ถัก | ชีวิต ศิลปะบนผ้าพื้นเมืองที่ไม่มีวันหมดอายุ

เมื่อพูดถึงผ้าพื้นเมือง หลายคนคงติดภาพเสื้อชาวเขา เสื้อม่อฮ่อม ผ้าซิ่น ซึ่งถูกทำให้กลายเป็นของแปลกใหม่สำหรับคนเมือง กลายเป็นเครื่องนุ่งห่มของคนต่างถิ่น แต่ไม่ใช่สำหรับเธอ บุคคลผู้หลงรักมนตร์เสน่ห์ของผ้าพื้นเมืองในฐานะ ผ้าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น งานของเธอจึงใช้ผ้าพื้นเมืองที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ และใช้กรรมวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติมาใช้เป็นหลัก จากผ้าฝ้ายธรรมดาก็กลับสามารถเพิ่มมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ ด้วยวิธีคิด การมอบคุณค่าให้กับผ้า จนผลงานบนผืนผ้าของเธอได้โลดแล่นในเวทีระดับโลก เธอคนนั้นมีชื่อว่า ‘ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์’ ผ้าพื้นเมืองถึงจะเก่า แต่เก๋าไม่เสื่อมคลาย เสื้อผ้าพื้นเมืองถูกผลักออกจากชีวิตผู้คนสมัยใหม่ ให้กลายเป็นเพียงเสื้อผ้าของชาวเขา และแทนด้วยเสื้อผ้าโรงงานซึ่งเน้นการผลิตจำนวนมาก เสื้อผ้าเหล่านั้นอาจจะดูสวย ทันสมัยสำหรับคนในเมือง แต่สิ่งที่ขาดไปในผ้าทุกผืนนั้นก็คือ มนตร์เสน่ห์และชีวิตของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง จนเราไม่เคยคิดเลยว่าเรากลายเป็นผู้คนที่สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตโดยเครื่องจักรไปเสียแล้ว ในทางกลับกันเสื้อผ้าพื้นเมืองที่ถูกถักทอด้วยมือ กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวทางวัฒนธรรม นอกจากนั้น ยังมีชีวิตของผู้ผลิตอยู่ในนั้น ถึงแม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนาน งานเหล่านี้ก็จะไม่มีวันล้าสมัย และยังคงโดดเด่นอยู่เสมอด้วยเรื่องราวในตัวของมันเอง เสื้อผ้าพื้นเมืองกลายเป็นกระแสทำให้หลายคนเริ่มหันกลับมามองรากวัฒนธรรมของสิ่งที่เราสวมใส่ และเราคงหันมองทุกครั้งถ้าได้เห็นคนใส่ผ้าพื้นเมืองบนรถไฟฟ้า หยุดสายตาเพื่อชื่นชมในเสน่ห์ของชุดของเขาอยู่ไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในบุคคลที่คอยผลักดันภูมิปัญญาพื้นถิ่น ตั้งแต่เครื่องเงิน กระเป๋าสาน กำไลข้อมือ และชิ้นสำคัญอย่างผ้าพื้นเมืองให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งก็คือพี่ซิกแนล เห็นคุณค่าของเวลาจึงออกแบบให้หลากฟังก์ชัน เธอเป็นคนเห็นคุณค่าของเวลา ทำให้การจะสร้างสรรค์งานขึ้นมาสักชิ้น ต้องมีอรรถประโยชน์สูงสุด เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป พี่ซิกแนลได้แนวคิดในการออกแบบงานหนึ่งชิ้นให้มีฟังก์ชันได้หลากหลาย เสื้อ 1 ตัวของเธอจึงใส่ได้ 4 ด้าน ด้วยเทคนิคการออกแบบคอเสื้อเฉพาะตัว […]

จัดช่อตัวต่อดอกไม้ด้วย ‘LEGO’

เราสามารถต่อดอกไม้เองด้วย ‘LEGO’ คอลเลกชัน ‘Botanical’ หรือสวนพฤกษศาสตร์ที่สามารถนำตัวต่อรูปทรงต่างๆ มาเนรมิตเป็นดอกไม้ในจินตนาการ

เท่ ทน โจรยังกรีดไม่เข้า! กระเป๋าจากแผ่นรองตัด Least Studio

แผ่นรองตัดสีเขียวอื๋ออุปกรณ์คู่ใจเด็กศิลป์ไว้รองกรีด รองตัด และรองหั่น (?) เพื่อสร้างศิลปะอันบรรเจิดหรือสำหรับเสกโปรเจกต์ขึ้นมายามค่ำคืน ก่อนถูกพัฒนาโดยอดีตสถาปนิก ‘มิ้น-ธีรพล อัครทิวา’ และ ‘ออม-วรัญญา นันทสันติ’ สองผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Least Studio ที่พัฒนาแผ่นรองตัดให้เป็นมากกว่ากระเป๋าแต่อยากเป็นต้นแบบวัสดุทางเลือกเพื่อลดการใช้หนังสัตว์

1 2 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.