ตามพี่บ่าวไปแทงโวยวาย

เคยแทงโวยวายกันไหม อ่านแล้วหลายคนอาจกำลังขมวดคิ้วว่าคืออะไร เราจะเฉลยให้รู้ว่า ‘การแทงโวยวาย’ คือการจับหมึกสาย หรือที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘ตัวโวยวาย’ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำประมงชายฝั่งของชาวบ้านในตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่ส่งต่อภูมิปัญญากันมาอย่างยาวนาน

กระถางวัดอรุณฯ ผลงานดีไซเนอร์รุ่นใหม่ Mo Jirachaisakul

พระปรางค์วัดอรุณฯ ตั้งตระหง่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภาพจำกรุงเทพฯ ที่ไม่ว่าคนชาติไหนก็ต้องตั้งใจเดินทางมาให้เห็นกับตาสักครั้ง ยิ่งถ้าใครเดินทางด้วยเรือด่วนเจ้าพระยาเป็นประจำ ทุกครั้งที่นั่งเรือผ่านจะต้องหันไปชื่นชมความงามจนเรือแล่นลับสายตา แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือคนส่วนใหญ่มักตื่นตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการ จนมองข้ามรายละเอียดสุดประณีตโดยฝีมือช่างไทยโบราณที่บรรจงรังสรรค์ผลงานศิลปะอันยากจะเลียนแบบ

Colab-19 พลิกวิกฤตโควิดเนรมิต ‘นั่งร้าน’ เป็นพื้นที่กิจกรรมเพื่อคืนชีวิตให้เมืองโบโกตา

ตั้งแต่ COVID-19 เริ่มแพร่ระบาด หลายเมืองทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับเมืองหลวงของประเทศโคลอมเบียอย่าง ‘โบโกตา’ เพราะแค่ในเมืองนี้เมืองเดียวมีรายงานผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในโคลอมเบีย เป็นอีกหนึ่งเมืองที่ใช้มาตรการบังคับกักกัน (Forced Quarantine) นานที่สุดเมืองหนึ่งของโลก ร้านอาหารกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ถูกบังคับให้ปิดตัวลง ส่งผลให้แรงงานนับพันต้องตกงาน ในช่วงเวลานี้เองที่ Alejandro Saldarriaga และ German Bahamon สองสถาปนิกชาวโคลอมเบียได้จับมือกันหาทางออกที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจของเมือง ด้วยการคิดหาวิธีการรักษาระยะห่างใหม่ๆ ผ่านการออกแบบ ให้คนออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัยขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้ชื่อทีม Colab-19 ไอเดียจากการใช้ ‘นั่งร้าน’ เพิ่มระยะห่างใน ‘แนวดิ่ง’ มาตรการรักษาระยะห่างทำให้จำนวนที่นั่งในร้านอาหารลดลงกว่าครึ่ง เช่น บริเวณหน้าตลาด La perse ที่ก่อนการแพร่ระบาดเคยนั่งได้ 16 โต๊ะ กลับเหลือเพียงแค่ 7 โต๊ะเท่านั้น ทีม Colab-19 จึงแก้ปัญหาด้วยแนวคิดว่ามาตรการรักษาระยะห่างในร้านอาหารไม่จำเป็นต้องทำในแนวระนาบอย่างเดียว ผุดไอเดียใช้ ‘นั่งร้าน’ หรือโครงสร้างชั่วคราวสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง โดยการออกแบบนั่งร้านช่วยเพิ่มระยะห่างในแนวดิ่ง ทำให้ร้านอาหารเปิดให้บริการด้วยจำนวนโต๊ะเท่าเดิมแต่ยังรักษาระยะห่างได้อยู่ นอกจากนั้น นั่งร้านยังเป็นวัสดุที่ราคาถูก ใช้เวลาประกอบเร็ว […]

ตึกแถว ศิลปะชิ้นเอกของคนอยู่

ทุกครั้งที่เดินเที่ยวย่านเมืองเก่า จะเห็น ‘ตึกแถว’ เรียงตัวยาวต่อไปกันจนสุดหัวมุมถนนทั้งสองฝั่ง หากมองเจาะลึกลงไปยังโครงสร้างหน้าตาของตึกแถว มักมีความตายตัว เรียบง่าย และเน้นประโยชน์การใช้สอยของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก  แต่หากมองลึกลงไปให้มากกว่านั้น จะเห็นเสน่ห์ของวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในตึกคูหา ผ่านทุกการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่หันออกมาทางหน้าบ้าน เปรียบได้กับ ‘ผ้าใบผืนใหญ่’ ที่วาดลวดลายโดยจิตรกรเอกอย่าง ‘ผู้อยู่อาศัย’ “เฟื่องฟ้า” “ดาวเรือง” “ปั๊มทองเคยันเสา” “ซ่าทั้งโค้ก ทั้งเฮีย ลองเลย” “กุมารเรนเจอร์ในตึกเรนโบว์” “ว่าง ที่ไม่มีที่ว่าง” “ห้ามหยุด ทำไมถึงหยุด” “ขาคู่” “คนละครึ่ง คนละบาน”

Chanintr Work แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่เชื่อว่าไลฟ์สไตล์ไม่ได้อยู่แค่ห้องนั่งเล่น แต่รวมถึงที่ทำงาน

โซฟาบ้านคุณแตกลายแล้วหรือยัง
โต๊ะกินข้าวที่บ้านเก่าจนผุแล้วใช่ไหม
สปริงเตียงนอนยังคงทำงานได้ดีหรือเปล่า
แล้วเก้าอี้ทำงานล่ะ มันทำร้ายคอ บ่า ไหล่ ของคุณบ้างไหม
โอเค ในตอนนี้คุณอาจจะไม่ได้มีปัญหาตามที่เราว่ามา แต่หากคุณเป็นคนที่สนใจการแต่งบ้าน แต่งห้อง แต่งออฟฟิศ นาทีนี้เราอยากพาคุณไปรู้จักกับ Chanintr – ชนินทร์ แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ระดับ High-end ที่เต็มไปด้วยของดีไซน์สวยๆ งามๆ และพรั่งพร้อมด้วยฟังก์ชันที่ครบครัน

ย้อนวันวาน 1991 ผ่านภาพจากสไลด์ฟิล์มที่บังเอิญเจอในตลาดขายของเก่าเชียงใหม่

มนุษย์ชอบถ่ายฟิล์มอย่างผม ยามว่างคือการออกเดินตลาดมือสอง เพื่อมองหากล้องฟิล์มบ้าง ม้วนฟิล์มบ้าง และมีสิ่งหนึ่งที่ผมยังพอเจออีกบ้างคือ เหล่าสไลด์ฟิล์มเก่า ที่มักเป็นภาพถ่ายฟิล์มครอบครัว ไม่ก็งานเทศกาล แต่สไลด์ฟิล์มชุดนี้แตกต่างจากที่ผมเคยเจอ ภาพที่ปรากฏบนสไลด์นั้นน่าสนใจจนอดไม่ได้ที่จะซื้อเก็บ แม้สไลด์ค่อนข้างเก่ามากแล้ว จนสีเพี้ยนไปจากเดิมมากพอสมควร แต่ผมก็ยังคงนำไปส่งแล็บสแกน ก่อนเอาไฟล์มาทำ Color Grading และปรับ White Balance เท่าที่พอจะทำให้สีภาพออกมาดีที่สุด  เพื่อนำมาแบ่งปันให้คุณที่กำลังอ่านอยู่ได้ชมภาพฟิล์มสมัยปี 1991 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแฟชั่นยุคนั้น กับความน่าสนใจของคนในรูปภาพ ที่บางภาพ หรือแฟชั่นบางอย่าง ต้องบอกว่า “มาก่อนกาล” คุณรู้สึกเหมือนผมไหม ว่าหลังจากดูเซตภาพถ่ายฟิล์มจากสไลด์ฟิล์มเก่าเสร็จผมชื่นชมการจัดวางองค์ประกอบภาพที่ดีมากๆ การจัดวาง Subject ก็สวยงาม รวมถึงจังหวะ และทิศทางของแสงก็พาให้ผมรู้สึกตื่นเต้นเมื่อได้มอง  ไม่รู้ว่าช่างภาพเป็นใครไม่รู้ว่าสถานที่คือที่ไหนไม่รู้ว่าใช้กล้องฟิล์มอะไรแต่รู้ว่าคุณในปี 1991 ถ่ายภาพสวยมากๆ เลยครับ

สามล้อถีบ นนทบุรี สองขาปั่น สามล้อหมุน

สามล้อถีบ นนทบุรี ยังคงขับเคลื่อนอย่างเนิบช้าท่ามกลางความรีบเร่ง… ในวันที่ทุกอย่างถูกขับเคลื่อนด้วยความเร่งรีบ เราทุกคนต่างแข่งขันกับเวลาที่เดินไปอย่างไม่รีรอ แต่ท่ามกลางความรีบเร่งยังมี สามล้อถีบ ที่ถูกปั่นด้วยแรงขาสองข้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งดูสวนทางกับโลกปัจจุบัน สามล้อถีบนั้นวิ่งอยู่รอบย่านท่าน้ำนนท์ นนทบุรี เราเองที่เคยผ่านแถวนี้บ่อยๆ ยังไม่เคยได้ลองนั่ง วันนี้มีโอกาสจึงลองโบกเรียกสามล้อถีบสักคัน ไม่นานก็มีสามล้อถีบปั่นมาอย่างรวดเร็วพร้อมกับคำทักทายว่า  “ไปไหนครับ”“ไปท่าน้ำค่ะ”“ขึ้นมาได้เลยครับ” บทสนทนาเริ่มต้นสั้นๆ ที่ทำให้เราได้พูดคุยอย่างออกรสต่อกับ ลุงต้อย นักปั่นสุดเก๋าแห่งท่าน้ำนนท์ เสียงโซ่ที่ถูกปั่นเพื่อหมุนวงล้อดังให้ได้ยินเป็นระยะเมื่อขึ้นมานั่งบนสามล้อถีบ ลมเย็นๆ พัดเข้าหา ภาพบรรยากาศรอบท่าน้ำนนท์เต็มไปด้วยรถรา ผู้คน และวิถีชีวิตผ่านสายตาในมุมใหม่บนสามล้อถีบ นั่งไปสักพัก ก็ถึงเวลาสานต่อบทสนทนากับลุงต้อยที่กำลังออกแรงขาพาเราไปยังจุดหมาย ภาพข้างหลังของลุงต้อยที่งุ้มงอตามวัย ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า เขาขี่สามล้อถีบมานานแค่ไหนแล้ว “ลุงเริ่มขี่สามล้อถีบตั้งแต่อายุ 18 นู่น ตอนนี้ก็ร่วม 40 กว่าปีแล้ว แถวท่าน้ำนนท์ นนทบุรีลุงขี่มานานสุด เพราะเป็นคนพื้นที่ คันอื่นส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนอีสานที่มาหางานทำ ขี่ได้ปีกว่าก็กลับบ้าน แต่ลุงขี่ทุกวันไม่เคยหยุด เพราะลูกค้าประจำลุงจะเยอะหน่อย” ลุงต้อยเล่าให้ฟังต่อว่า ลูกค้าประจำส่วนมากเป็นคนละแวกท่าน้ำนนท์ที่มาจับจ่ายซื้อของในตลาด เมื่อได้ของที่ต้องการก็จะเรียกใช้บริการสามล้อถีบของลุงต้อยให้พากลับบ้าน สำหรับค่าบริการนั่งสามล้อถีบ ลุงต้อยบอกด้วยน้ำเสียงใจดีว่า ค่าโดยสารคิดเริ่มต้นตั้งแต่ 20 บาท ก่อนจะปรับตามระยะทาง ซึ่งลุงต้อยเคยปั่นไปส่งไกลที่สุดคือ บิ๊กซี […]

ศิลปะ วิทยาศาสตร์ นิทานอีสป เส้นบรรจบ ‘ภาพวาดชีววิทยาสะท้อนสังคม’ ของ ลลินธร เพ็ญเจริญ

กาลครั้งหนึ่งในบ้านหลังอบอุ่น มือคู่เล็กของ ลลินธร เปิดสารานุกรม สายตาจดจ้องแผ่นกระดาษที่มีโครงสร้างดอกไม้ตั้งแต่ชั้นนอกสุดอย่างกลีบเลี้ยง ไปจนถึงชั้นเกสร ก่อนพลิกสู่หน้าถัดไปแล้วเจอโครงสร้างสัตว์ที่เห็นเนื้อหนัง โครงกระดูก และอวัยวะภายใน เธอไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร รู้เพียงแค่สวย และเหมือนจริงจนไม่อาจละสายตา กาลครั้งนี้เธอเติบโต ได้รู้แล้วว่าสิ่งที่เห็นในสารานุกรมตอนเล็กเรียกว่า ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ จึงหยิบมาผสมผสานกับศาสตร์ศิลปะที่หลงใหล ซึ่งมีจุดเชื่อมเป็นนิทานอีสปให้ข้อเตือนใจ กลายเป็น ภาพวาดเชิงชีววิทยา ผ่านจินตนาการของ ลลินธร เพ็ญเจริญ ศิลปินที่อยากบอกให้ใครต่อใครรู้ว่า ศิลปะกับวิทยาศาสตร์สามารถบรรจบกันได้อย่างงดงาม สองเส้นที่ขนานกันในสมอง ฉันนั่งตรงข้ามกับลลินธร แล้วมองภาพจิ้งหรีดกับลาที่เห็นไปยันโครงกระดูกข้างในซึ่งจัดแสดงท่ามกลางแสงไฟส้มนวลที่ SAC Gallery ละแวกพร้อมพงษ์ ก่อนเอ่ยถามถึงเบื้องหลังความคิดที่หยิบศาสตร์แห่งศิลป์และวิทย์มาหลอมรวมกัน “รู้ไหมศิลปะกับวิทยาศาสตร์ไม่เคยแยกออกจากกันเลย” คือประโยคที่เธอพูดหลังจากเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ ก่อนเล่าต่อว่าในยุคกรีกโรมัน สองศาสตร์นี้เคยเกื้อหนุนกันเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นไปในจักรวาล กระทั่งวันหนึ่งศิลปะกับวิทย์ต้องแยกจาก เพราะการแบ่งองค์ความรู้เฉพาะด้านให้ชัดเจน แต่ก็แอบเป็นแรงบันดาลใจการทำงานให้กันอยู่เงียบๆ จนพอเข้ายุคหลังสมัยใหม่ ปลายทางที่แยกออกก็กลับมาบรรจบอีกครั้ง เพราะเรียนรู้แล้วว่าบางครั้งความรู้ศาสตร์เดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดได้ทั้งหมด ส่งผลมาถึงปัจจุบันที่มีแนวทางลูกผสมอย่าง Art & Science  ฉันฟังแล้วร้องว้าวออกมาจนเธออมยิ้ม แล้วต่อบทสนทนาให้แคบลงสู่เรื่องของลลินธร ว่าทำไมถึงสนใจสองศาสตร์วิชาที่ชอบถูกนิยามว่า ศิลปะคือเรื่องความรู้สึก แต่วิทยาศาสตร์นั้นว่ากันด้วยเหตุผล เธอเล่าถึงเส้นขนานแรกอย่าง ศิลปะ ที่สมัยมัธยมต้น เวลาว่างขณะเรียนชอบหยิบวงเวียน ไม้บรรทัดสี่เหลี่ยม […]

หน้ากากอนามัย ถูกทอดทิ้ง

หน้ากากอนามัย ที่ใช้แล้วทิ้ง ชวนให้นึกถึงประโยค “เสร็จแล้วก็ทิ้งกันอย่างไม่ไยดี” พวกมัน ‘ถูกถอดทิ้ง’ และ ‘ถูกทอดทิ้ง’ ไว้แทบทุกที่ที่สามารถย่ำเท้าเข้าไปถึง บางชิ้นหล่นร่วงข้างทาง บ้างติดอยู่ที่พุ่มไม้สวยบนเกาะกลางถนน กลายเป็นขยะที่ยิ่งกว่าขยะ เพราะมีเชื้อโรคมากมายฝังตัวอยู่  หลายคนอาจไม่ได้ตั้งใจทิ้งหน้ากากอนามัย มีเผลอทำหล่นหรือลมพัดปลิวหายบ้าง และแน่นอนว่ายังมีคนที่ตั้งใจทิ้งขว้างอย่างไม่ใส่ใจอยู่เช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่ถูกถอดทิ้งก็ควรได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ภาพถ่ายชุดนี้จึงเต็มไปด้วยความตั้งใจที่อยากลบความรู้สึกคุ้นชินเมื่อเห็นหน้ากากอนามัยถูกถอดทิ้งนอกถังขยะ และอยากสะกิดใจผู้ใช้งานให้นึกถึงผู้เก็บขยะที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคบ้างสักนิดก็ยังดี สวัสดีจำเราได้มั้ย เราที่เคยต้องการมากๆ ไง ตอนนั้นเรากล่องละ 800 บาทเลยนะ ตอนนี้ถูกทอดทิ้งเหมือนไม่มีค่าเลย ทิ้งไว้คนเดียวแบบนี้มันหนาวนะ จะทิ้งทั้งทีก็ทำให้มันดีๆ หน่อย หรือบางทีเธออาจลืมไป ลืมว่าเราใช้ซ้ำได้ ลืมไว้กับโพยหวย ลืมไว้กลางเศษแก้ว ตอนนี้ยัง Move on ไม่ได้เลย ถูกทิ้งแล้วยังถูกเหยียบซ้ำอีก นอยด์แล้ว เลิกใจร้ายได้แล้ว เราอยาก Move on

เย็บ | ปัก | ถัก | ชีวิต ศิลปะบนผ้าพื้นเมืองที่ไม่มีวันหมดอายุ

เมื่อพูดถึงผ้าพื้นเมือง หลายคนคงติดภาพเสื้อชาวเขา เสื้อม่อฮ่อม ผ้าซิ่น ซึ่งถูกทำให้กลายเป็นของแปลกใหม่สำหรับคนเมือง กลายเป็นเครื่องนุ่งห่มของคนต่างถิ่น แต่ไม่ใช่สำหรับเธอ บุคคลผู้หลงรักมนตร์เสน่ห์ของผ้าพื้นเมืองในฐานะ ผ้าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น งานของเธอจึงใช้ผ้าพื้นเมืองที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ และใช้กรรมวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติมาใช้เป็นหลัก จากผ้าฝ้ายธรรมดาก็กลับสามารถเพิ่มมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ ด้วยวิธีคิด การมอบคุณค่าให้กับผ้า จนผลงานบนผืนผ้าของเธอได้โลดแล่นในเวทีระดับโลก เธอคนนั้นมีชื่อว่า ‘ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์’ ผ้าพื้นเมืองถึงจะเก่า แต่เก๋าไม่เสื่อมคลาย เสื้อผ้าพื้นเมืองถูกผลักออกจากชีวิตผู้คนสมัยใหม่ ให้กลายเป็นเพียงเสื้อผ้าของชาวเขา และแทนด้วยเสื้อผ้าโรงงานซึ่งเน้นการผลิตจำนวนมาก เสื้อผ้าเหล่านั้นอาจจะดูสวย ทันสมัยสำหรับคนในเมือง แต่สิ่งที่ขาดไปในผ้าทุกผืนนั้นก็คือ มนตร์เสน่ห์และชีวิตของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง จนเราไม่เคยคิดเลยว่าเรากลายเป็นผู้คนที่สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตโดยเครื่องจักรไปเสียแล้ว ในทางกลับกันเสื้อผ้าพื้นเมืองที่ถูกถักทอด้วยมือ กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวทางวัฒนธรรม นอกจากนั้น ยังมีชีวิตของผู้ผลิตอยู่ในนั้น ถึงแม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนาน งานเหล่านี้ก็จะไม่มีวันล้าสมัย และยังคงโดดเด่นอยู่เสมอด้วยเรื่องราวในตัวของมันเอง เสื้อผ้าพื้นเมืองกลายเป็นกระแสทำให้หลายคนเริ่มหันกลับมามองรากวัฒนธรรมของสิ่งที่เราสวมใส่ และเราคงหันมองทุกครั้งถ้าได้เห็นคนใส่ผ้าพื้นเมืองบนรถไฟฟ้า หยุดสายตาเพื่อชื่นชมในเสน่ห์ของชุดของเขาอยู่ไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในบุคคลที่คอยผลักดันภูมิปัญญาพื้นถิ่น ตั้งแต่เครื่องเงิน กระเป๋าสาน กำไลข้อมือ และชิ้นสำคัญอย่างผ้าพื้นเมืองให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งก็คือพี่ซิกแนล เห็นคุณค่าของเวลาจึงออกแบบให้หลากฟังก์ชัน เธอเป็นคนเห็นคุณค่าของเวลา ทำให้การจะสร้างสรรค์งานขึ้นมาสักชิ้น ต้องมีอรรถประโยชน์สูงสุด เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป พี่ซิกแนลได้แนวคิดในการออกแบบงานหนึ่งชิ้นให้มีฟังก์ชันได้หลากหลาย เสื้อ 1 ตัวของเธอจึงใส่ได้ 4 ด้าน ด้วยเทคนิคการออกแบบคอเสื้อเฉพาะตัว […]

จัดช่อตัวต่อดอกไม้ด้วย ‘LEGO’

เราสามารถต่อดอกไม้เองด้วย ‘LEGO’ คอลเลกชัน ‘Botanical’ หรือสวนพฤกษศาสตร์ที่สามารถนำตัวต่อรูปทรงต่างๆ มาเนรมิตเป็นดอกไม้ในจินตนาการ

เท่ ทน โจรยังกรีดไม่เข้า! กระเป๋าจากแผ่นรองตัด Least Studio

แผ่นรองตัดสีเขียวอื๋ออุปกรณ์คู่ใจเด็กศิลป์ไว้รองกรีด รองตัด และรองหั่น (?) เพื่อสร้างศิลปะอันบรรเจิดหรือสำหรับเสกโปรเจกต์ขึ้นมายามค่ำคืน ก่อนถูกพัฒนาโดยอดีตสถาปนิก ‘มิ้น-ธีรพล อัครทิวา’ และ ‘ออม-วรัญญา นันทสันติ’ สองผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Least Studio ที่พัฒนาแผ่นรองตัดให้เป็นมากกว่ากระเป๋าแต่อยากเป็นต้นแบบวัสดุทางเลือกเพื่อลดการใช้หนังสัตว์

1 23 24 25 26 27 32

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.