‘เมืองลิง’ ออกแบบเมืองเก่าลพบุรี สร้างเมืองใหม่ให้ลิง เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า

ปี 2499 อันธพาลครองเมือง ส่วนปี 2564 ลิงครองเมืองลพบุรี  เหตุการณ์วันนั้นเกิดขึ้นที่สี่แยกไฟแดงกลางเมือง บริเวณถนนรอบพระปรางค์สามยอด-หน้าศาลพระกาฬ แลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดลพบุรี  จ่าฝูงแก๊งลิงพระปรางค์สามยอดยกพวกจำนวนมากปีนรั้วลงถนน ทางด้านลิงจากฝั่งธนาคารออมสินและลิงถิ่นตลาด ก็ยกพวกทั้งหมดวิ่งกรูเข้ามาเตรียมเข้าปะทะกันท่ามกลางสายตาของชาวบ้านและนักท่องเที่ยว เสียงดังอื้ออึงมาจากเสียงกรีดร้องเจ็บปวด เสียงตะโกนสร้างความฮึกเหิม รวมถึงเสียงบีบแตร เบิ้ลเครื่องยนต์ของชาวเมือง สงครามวานรครั้งนั้นทำให้ ตาต้า-ชญตา ลีวงศ์เจริญ นิสิตปริญญาตรีภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเรื่องขำกลิ้งลิงกับเมืองที่มีความตลกร้ายแฝงอยู่บนปัญหาระดับวิกฤตที่ยังหาทางแก้ไม่ตก มาใช้เป็นสารตั้งต้นกำหนดหัวข้อธีสิสที่ชื่อว่า ‘โครงการบูรณะพื้นที่เมืองเก่าลพบุรี เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า’ ในวันที่สงครามสงบลงแล้ว เราอยากพาไปดูหนึ่งในไอเดียการแก้ปัญหาลิงครองเมืองลพบุรี เพื่อที่อนาคตจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก แถมคนกับสัตว์อาจอยู่ร่วมกันในเมืองได้อย่างสันติ เรื่องมันเริ่มมาจากลิง ปัญหาใหญ่และหนักสุดระดับวิกฤตของจังหวัดลพบุรีคือ ‘ลิง’ เพราะจำนวนของพวกมันที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก ปัจจัยหลักๆ คือการที่มนุษย์หยิบยื่นอาหารให้ลิงจนเป็นเรื่องปกติ ทำให้เดิมทีลิงที่หากินเองออกลูกได้ปีละตัว กลับออกลูกได้สองตัวต่อปี ปัญหาที่ตามมาจากการเพิ่มจำนวนดังกล่าวคือเจ้าหน้าที่จับลิงมาทำหมันได้ยากขึ้น ชาวบ้านบางคนถึงกับบอกว่า “ลิงมันสื่อสารกันรู้เรื่อง มันหนีทันตลอด” ปีนี้ผลสำรวจพบว่า ชุมชนลิงในเมืองลพบุรีมีจำนวนถึงห้าพันกว่าตัว และคาดว่าในอีกห้าปีข้างหน้าน่าจะขยายเผ่าพันธุ์เพิ่มอีกเป็นหมื่นๆ ตัว  ตาต้าเล่าว่า ลิงเป็นสัตว์สังคมไม่ต่างจากมนุษย์ มีการจับกลุ่ม รวมแก๊ง แบ่งก๊กเป็น 7 พวกหลักๆ แบ่งเป็น 3 […]

ไขคดีฆาตกรรมท้องมหาสมุทร หนังสือภาพที่สอนให้คนระวังพิษสัตว์ทะเล

พบผู้เสียชีวิตหลังจากไปดำน้ำในทะเล ไม่พบบาดแผลเด่นชัด เจอเพียงรอยบวมบนแขนเล็กๆ และเนื้อซีดจนเป็นสีน้ำเงินคล้ำ จากข้อมูลผู้ตายเป็นคนชอบดำน้ำและสะสมของสวยงาม คาดว่าฆาตกรน่าจะใช้ของมีคมปลายแหลมขนาดเล็กทำร้ายเหยื่อ แล้วคนร้ายคือใครกัน? ผู้ต้องสงสัย 1 : หมึกสายวงน้ำเงิน ลายของมันเป็นวงแหวนสีน้ำเงินและเรืองแสงได้ พิษของมันอยู่ในน้ำลาย สามารถพบได้ในฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ผู้ต้องสงสัย 2 : หอยเต้าปูน มีลวดลายของหอยเป็นเอกลักษณ์ พิษของมันอยู่ที่งวงที่ยื่นออกมาเป็นเข็มพิษ มักจะพบตามแนวปะการัง ——————————————————————- เฉลย : ผู้ร้ายคือ หอยเต้าปูน เนื่องจากแผลของผู้เสียชีวิตมีรอยบวมเล็กๆ จนแทบมองไม่เห็น สอดคล้องกับหอยเต้าปูนที่มีอาวุธตรงงวงเป็นเข็มพิษเล็กๆ และตัวมันมีลวดลายสวยงามตรงกับนิสัยผู้ตายที่ชอบสะสมของแปลกตา วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกหอยเต้าปูนทำร้ายคือ ใช้แอลกอฮอล์รีบเช็ดบาดแผล ดึงเข็มพิษออกแล้วคัดเลือดบริเวณแผลให้ออกมากที่สุดและรีบนำส่งโรงพยาบาล จากเนื้อหาคดีฆาตกรรมดังกล่าวอาจจะมองเป็นเกมสืบสวนทั่วไป แต่สิ่งสำคัญที่ซ่อนไว้คือ การทำให้คนตระหนักถึงพิษสัตว์น้ำในมหาสมุทรและการป้องกันตนเองเบื้องต้น ผ่านการเล่าเรื่องสืบสวนคดีฆาตกรรมที่น่าติดตาม ซึ่งเป็นแนวคิดของ ‘แอล-นวพรรษ เอื้อพัทธยากร’ ผู้ทำหนังสือภาพประกอบแนวสืบสวนคดีฆาตกรรมเกี่ยวกับพิษสัตว์ทะเล ‘Criminal of the Sea’ ผลงานวิทยานิพนธ์ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร น้อยคนรู้จักพิษสัตว์ทะเล จุดตั้งต้นทำหนังสือเกี่ยวกับพิษสัตว์ทะเล เริ่มมาจากแอลสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์ของคนและสัตว์เป็นสิ่งใกล้ตัว ส่วนใหญ่คนรับรู้อันตรายของสัตว์บก เช่น แมงป่อง […]

PERMADEATH ธีสิสแบรนด์เบียร์ผู้ชนะเลิศรางวัล B.A.D Beer Contest ที่ฝันว่าการวาดรูปและต้มเบียร์จะเป็นอาชีพได้

‘B.A.D Beer Contest’ คือโครงการประกวดเบียร์ชิงแชมป์แห่งประเทศไทย จัดโดย บริษัท ส้มจี๊ด เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ธุรกิจเพื่อสังคมที่ก่อตั้งโดย ‘คณะก้าวหน้า’ ร่วมกับ ‘พรรคก้าวไกล’ เพื่อสร้างองค์ความรู้เรื่องการผลิตเบียร์และเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ร่าง ‘พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า’ เพราะการผลักดันเพียงแค่ในสภาอาจไม่เพียงพอ การขับเคลื่อนนอกสภาจึงเป็นอีกวิธีการที่จะช่วยให้เครื่องดื่มสากลโลกในไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลง  สำหรับผู้ชนะเลิศในการประกวดเบียร์ครั้งแรกประเภทเบียร์ IPA เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาคือแบรนด์ PERMADEATH ส่งเบียร์สีขุ่นกลิ่นหอมตัวที่ใช้ชื่อว่า ‘HAZE SHOT HAZY IPA 6.3%’ เข้าร่วมประกวด ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานธีสิสของ ‘นนท์-ณัชนนท์ เรียบร้อย’ บัณฑิตป้ายแดงจากศิลปากร วังท่าพระ คณะมัณฑนศิลป์ สาขานิเทศศิลป์  “กรรมการที่ตัดสินบอกว่าเบียร์กลิ่นดี รสชาติเยี่ยม กินง่ายและคลีน เป็นเบียร์ที่บอดี้มีความหนาแน่น แต่อาจจะเพิ่มความเข้มข้นได้อีก ความคิดเห็นส่วนตัวของผม คิดว่าเบียร์ที่หนักเกินไปมันอร่อยแค่คำสองคำแรก อาจกินไม่หมดแก้วก็เลี่ยนซะก่อน ผมจึงตั้งใจทำเบียร์ที่ไม่ได้บางจ๋อย ให้กลิ่นรสสัมผัสมาเต็ม เพื่อทำให้กินได้จนหมด อยากทำเบียร์ที่คนกินมีความสุขตลอดแก้ว”  เขาเล่าให้ฟังถึงชัยชนะแก้วแรกของ PERMADEATH แบรนด์ที่ตั้งใจทำเพื่อเป็นธีสิสในด่านสุดท้ายก่อนจบการศึกษา และหวังผลต่อยอดเป็นแบรนด์ที่ตัวเองจะได้เป็นเจ้าของวันข้างหน้า  เพื่อการอ่านออกรส ‘Cheers!’ PERMADEATH […]

Food Matter ธีสิสแพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกิน ที่อยากช่วยลด Food Waste ในแต่ละวัน

คุณรู้ไหมว่าอาหารที่ร้านผลิตเกินมาในแต่ละวันถูกจัดการอย่างไร?  สำหรับคนที่ชอบเดินซูเปอร์มาร์เก็ตช่วงค่ำๆ จะเห็นหลายร้านนำอาหารที่ยังคุณภาพดีเหล่านี้มาติด ‘ป้ายเหลือง’ และลดราคาในช่วงสุดท้ายของวัน แต่ก็ยังมีอีกหลายร้านเช่นกันที่แม้จะมีอาหารเหลือจำนวนมาก แต่พวกเขาเลือกที่จะทิ้งโดยเสียเปล่าเพราะเป็นมาตรการด้านความสะอาดและเพื่อรักษามาตรฐานของร้าน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม การทิ้งอาหารที่ยังคุณภาพดีเหล่านี้ทำให้เกิด ‘ขยะอาหาร (Food Waste)’ ปริมาณมากในแต่ละวัน แค่ลองคิดเล่นๆ ว่าแต่ละร้านต้องทิ้งอาหารวันละ 1 กก. ทั้งเดือนก็ไม่ต่ำกว่า 30 กก. และถ้าทุกร้านมีขยะที่ต้องทิ้งทุกวัน กรุงเทพฯ จะมีขยะอาหารเยอะมากแค่ไหน? จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถนำอาหารส่วนเกินเหล่านี้มาทำเป็น ‘อาหารป้ายเหลือง’ และขายผ่านช่องทางเดลิเวอรีได้ ทำให้ผู้คนในเมืองนี้ได้เข้าถึงอาหารคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง และยังมีส่วนช่วยในการลดขยะอาหารที่เกิดขึ้นในทุกๆ วันได้อีกด้วย คอลัมน์ Debut สัปดาห์นี้เราจะพาไปรู้จักกับ ‘Food Matter’ แพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกินจากร้านอาหารที่ทำให้คนเมืองเข้าถึงอาหารคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง เหมือนได้เข้าไปเดินเลือกซื้ออาหารป้ายเหลืองในซูเปอร์มาร์เก็ตด้วยตัวเอง  ธีสิสนี้ออกแบบโดย กรีน-เมธพร ทุกูลพาณิชย์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ CommDe (Communication design) กรีนเป็นผู้เห็นถึงปัญหาของอาหารส่วนเกินที่เหลือทิ้งจากร้านอาหารในแต่ละวัน เธออยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดขยะ และอยากทำให้ผู้บริโภคในเมืองนี้มีทางเลือกในการกินมากขึ้นด้วย จึงทำแอปฯ ฉบับทดลองใช้ 11 วันขึ้นมาเพื่อดูว่าจะช่วยลดขยะอาหารในเมืองนี้ได้มากแค่ไหน ทดลองใช้เว็บไซต์ได้ที่นี่ www.foodmatterth.com  […]

Ban Phru Cemetery Park ธีสิสเปลี่ยนสุสานบ้านพรุในหาดใหญ่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนเมือง

เมษายนคือช่วงเวลาที่ลูกหลานชาวจีนจะได้กลับมาเจอกันอีกครั้งใน ‘วันเช็งเม้ง’ ประเพณีสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จะต้องไปเคารพและทำความสะอาดหลุมศพของบรรพบุรุษทุกๆ ปี  แต่เคยคิดกันไหมว่าพื้นที่สุสานที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ นอกจากวันเช็งเม้งแล้ว พื้นที่หลายร้อยไร่ที่เราไปทุกปีได้ถูกใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาอื่นบ้างไหม? โดยเฉพาะสุสานที่อยู่ในย่านชุมชน อยู่ใกล้เมือง มีคนพลุกพล่าน ที่มีทั้งคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีศักยภาพในการใช้งานมากกว่าแค่ปีละครั้ง จะดีกว่าไหมถ้าสุสานที่อยู่ใกล้เมืองหลายแห่งถูกพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายโอกาส และเปิดให้คนภายนอกได้เข้าไปใช้งานนอกจากวันเช็งเม้งบ้าง  เก่ง-ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือลูกหลานชาวจีนในหาดใหญ่ที่ไปเช็งเม้งที่ ‘สุสานบ้านพรุ’ เป็นประจำทุกปี และมองเห็นความเป็นไปได้ของพื้นที่นี้มากกว่าการมาเช็งเม้ง จึงออกมาเป็นธีสิส ‘Ban Phru Cemetery Park’ โครงการพัฒนา ‘สุสานบ้านพรุ’ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนในเมือง เพื่อให้คนในหาดใหญ่ได้เข้าถึงพื้นที่สีเขียว มีกิจกรรมนันทนาการ มีพื้นที่เชิงวัฒนธรรม และที่สำคัญคือช่วยเพิ่มยอดขายหลุมฝังศพบนพื้นที่ที่เหลืออยู่ให้กับสุสานบ้านพรุได้อีกด้วย ธีสิสที่เริ่มจากการไปเช็งเม้ง เก่งเล่าให้ฟังว่า เหตุผลที่เลือกสุสานบ้านพรุมาทำธีสิสเพราะที่นี่คือที่ที่เขาและครอบครัวต้องไปเช็งเม้งเป็นประจำทุกปี จึงมีความคุ้นเคยและผูกพันกับสุสานนี้เป็นพิเศษ “​​แรงบันดาลใจของธีสิสนี้มาจากตอนปี 4 ได้เรียนวิชา Intro to Urban Architecture ซึ่งมีไฟนอลโปรเจกต์ให้ทำ ตอนนั้นสนใจเกี่ยวกับพื้นที่สุสานในเมืองอยู่แล้ว และสนใจเรื่องการนำมาปรับใช้ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ จึงได้ไปศึกษาเกี่ยวกับสุสานแต้จิ๋วในสาทร ซึ่งมีพื้นที่ประมาณแปดสิบห้าไร่ และเปิดเป็นพื้นที่ให้ประชาชนโดยรอบเข้ามาใช้งานในเชิงสันทนาการได้ตั้งแต่ปี 2539 เป็นสุสานแรกๆ ที่เปิดให้คนเข้ามาใช้ทำกิจกรรมอย่างอื่นได้นอกจากพิธีธรรม” […]

Once Upon a Book ธีสิสร้านเช่าหนังสือออนไลน์ที่ให้ใครก็ได้มาปล่อยเช่า

กาลครั้งหนึ่ง ‘ร้านเช่าหนังสือ’ เคยเป็นแลนด์มาร์กที่ทำให้บางคนพบหนังสือเล่มโปรดราวกับว่าเป็นพรหมลิขิต และเป็นสถานที่อัปเดตนิยายแจ่มใส มังงะโชโจ ค้นหนังสือคลาสสิกจนมือเปื้อนหมึก คุยกับเฮียเจ้าของร้านจนได้ส่วนลด หรือเป็นแหล่งนัดเจอชาวแก๊งหลังเลิกเรียนยอดฮิต…พูดแล้วก็คิดถึง จากที่เคยเป็นพื้นที่เบาใจของนักอ่านหนังสือ เผลอแป๊บเดียวช่วงหลายปีมานี้ ราคาหนังสือสูงขึ้นสวนทางกับค่าครองชีพที่ต่ำ ร้านเช่าหนังสือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยกระชับช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และทำให้ผู้คนเข้าถึงความรู้ที่หลากหลาย กระตุ้นให้คนเข้าถึงหนังสือได้โดยไม่ต้องจ่ายราคาเต็ม ต้องปิดตัวลงเพราะเศรษฐกิจประเทศซบเซา  วันที่ไม่สามารถบอกเพื่อนได้ปุ๊บปั๊บว่า “มึง วันนี้ไปยืมหนังสือร้าน…กัน” และแทบหาร้านเช่าหนังสือใกล้บ้านได้ยาก ‘Once Upon a Book’ ธีสิสร้านเช่าหนังสือออนไลน์ของ ไข่มุก-แพรวา สุจริตกุล แพรว-พลอยไพลิน เมืองสิทธิ์ และ มายด์-รัชนนท์ สามารถ บัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม เอกคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเป็นพื้นที่ทวงคืนเรื่องเล่ากาลครั้งหนึ่งในหนังสือให้กลับมาโลดแล่นในใจนักอ่านอีกครั้งด้วยราคาที่เอื้อมถึง ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน คุณสามารถเลือกเช่าหนังสือได้บนเว็บไซต์ และไม่ว่าคุณจะเป็นนักสะสมหนังสือตัวยงที่ชั้นเก็บหนังสือเต็มแล้ว ร้านเช่าหนังสือออนไลน์แห่งนี้มีบริการให้คุณ และใครก็ได้มาปล่อยเช่า 01 หนอนหนังสือที่โตมากับร้านเช่าหนังสือ ไข่มุก แพรว มายด์ เป็นยอดนักอ่านที่ทุกงานเทศกาลหนังสือจะเจอพวกเธอขนหนังสือกลับบ้านอย่างต่ำ 10 เล่ม อย่างมาก 80 เล่ม จนแทบจะต้องใช้กระเป๋าลากมาช่วยขน  ‘ไข่มุก’ ชอบอ่านหนังสือเชิงปรัชญา หรืออะไรก็ได้ที่ภาษาสละสลวย […]

The Rattanakosin Henge ธีสิสที่อยากเห็นกรุงเทพฯ โรแมนติกด้วยวิวพระอาทิตย์ตก

ช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน คือความสวยงามทางธรรมชาติที่ผู้คนทั้งโลกสามารถเข้าใจและซาบซึ้งไปพร้อมๆ กัน โดยไม่มีกำแพงของภาษาหรือต้องการคำอธิบายอะไรเพิ่มเติม เราจึงได้เห็นฉากในหนังรักโรแมนติกหลายเรื่องที่พระเอกนางเอกเดินทอดน่องคุยกันได้นานๆ ไปเดตกันในสวน และมองวิวพระอาทิตย์ตกด้วยกันในที่สาธารณะ เป็นโมเมนต์โรแมนติกที่แสนจะธรรมดา แต่กลับเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ยากมากในกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ไม่โรแมนติก และผังเมืองไม่ได้ออกแบบมาสอดรับกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ไม่มีพื้นที่สาธารณะที่ใช้เป็นจุดพักผ่อนหรือเป็นจุดชมวิว เราจึงไม่มีโอกาสได้นั่งชิลๆ ชมวิวพระอาทิตย์ตกแบบเต็มตาสักครั้งในพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองแห่งนี้  มายด์-มาธวี ติลกเรืองชัย บัณฑิตจากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งคนที่ตั้งคำถามกับความโรแมนติกของกรุงเทพฯ เชื่อว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนา และมีพื้นที่ดีๆ ที่สามารถปรับปรุงพื้นที่สาธารณะให้รองรับวิวพระอาทิตย์ตก เธอจึงนำคำถามที่ตัวเองอยากรู้มาทำธีสิส ‘The Rattanakosin Henge โครงการรักษาวิวพระอาทิตย์ตกดิน’ (โครงการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อมุมมองอัสดงสาธารณะ) และพาไปดูว่า ถ้าเราเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้โรแมนติกมากกว่านี้ได้ จะออกมาหน้าตาอย่างไรบ้าง วิวพระอาทิตย์ตกไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เกิดจากผังเมืองที่คิดมาแล้ว ในช่วงแรกที่เริ่มหาหัวข้อทำธีสิส มายด์พยายามมองหาเรื่องที่เป็นตัวเองและอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เธอสนใจเรื่องสุนทรียศาสตร์ของเมือง จึงพยายามจะตีโจทย์เรื่อง ‘Romantic City’ แต่ยิ่งรีเสิร์ชยิ่งพบว่าคำกว้างไป และอธิบายยาก จึงสโคปประเด็นลงมา และพบว่าความโรแมนติกคือการได้ดื่มด่ำกับช่วงเวลาดีๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง จึงสรุปออกมาได้ว่า ความโรแมนติกของเธอคือช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตก จากโจทย์เรื่องความโรแมนติกของเมืองและช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกดิน ทำให้มายด์ได้พบว่าทั้งสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องกันโดยตรงและมีให้พบอยู่ทั่วโลก โดยปรากฏการณ์นี้เรียกว่า […]

SAVANT AUTISM ธีสิสที่ใช้จิวเวลรี่ลบภาพออทิสติก = เอ๋อ

สายตาของคนนอกที่มองเด็กออทิสติก = เอ๋อ นั่งน้ำลายยืด ติงต๊อง ปัญญาอ่อน ล้วนเป็นสิ่งที่ มุ้ย-พิชชาภา จรีภรณ์พงษ์ เจ้าของศิลปนิพนธ์ ‘Savant Autism’ เห็นคนอื่นมอง ‘อิคคิว’ น้องชายออทิสติกมาตั้งแต่เด็กจนโต ทำให้เธอคิ้วขมวดสงสัยว่าเพราะอะไรสังคมถึงมองเด็กออทิสติกเป็นคนแปลกแยก ในเมื่อเธอใช้ชีวิตคลุกคลีกับน้องชายมาทุกวันทุกเวลามาตลอด 18 ปี และเห็นอิคคิวมีอารมณ์ ความรู้สึก การวิเคราะห์เหมือนคนปกติ อาจบกพร่องทางการสื่อสารบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าน้องชายของเธอ ‘บกพร่องความเป็นมนุษย์’ การไม่เข้าใจตัวตนและมองข้ามความสำคัญเด็กออทิสติกของสังคมไทย กลายเป็นแพสชันของมุ้ยตั้งแต่ยังเล็กว่าอยากสื่อสารให้เข้าใจ ‘เด็กออทิสติก’ เสียใหม่ ผนวกเข้ากับความฝันที่อยากมาทางศิลปะ และถูกใจสาขาออกแบบเครื่องประดับ เลยเป็นโจทย์ท้าทายว่าเธอจะใช้จิวเวลรี่เหล่านี้ถ่ายทอดเรื่องราวที่อยากสื่อสารออกมาอย่างไรดี วันนี้ความตั้งใจของมุ้ยออกมาเป็นรูปเป็นร่างกับ ‘Savant Autism’ ธีสิสที่เธอออกแบบเครื่องประดับและอุปกรณ์เสริม ไม่ว่าจะเป็นกำไล สร้อยคอ แหวน เข็มกลัด หมวก เสื้อ และกระเป๋า เพื่อแสดงคุณค่าและความเป็นอัจฉริยะของเด็กออทิสติกผ่านปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและผู้อื่น Savant Autism = อัจฉริยะออทิสติก ถ้าใครเคยดูเรื่อง ‘Rain Man’ ตัวละครที่ชื่อว่า ‘เรย์มอนด์ แบทบิท’ เป็นชายออทิสติกที่มีความจำดีเกินเรื่อง […]

เรื่องเล่าหลังความตายกับเพื่อนคนสุดท้ายที่ชื่อว่า ‘สัปเหร่อ’

ความตั้งใจของเฟิร์นนิสิตจุฬาฯ ชั้นปีสุดท้ายที่เลือกทำโปรเจกต์นี้คือ การสร้างความเข้าใจให้กับคนรุ่นใหม่ว่าสัปเหร่อในปัจจุบันเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มคุณค่าและความสำคัญของอาชีพนี้ เพราะการทำงานของสัปเหร่อนั้นมีรายละเอียดมากมายกว่าที่พวกเราเคยเห็น

จินตนาการจากผ้าปาเต๊ะ ธีสิสเย็บปักถักร้อยจากชีวิตสาวปักษ์ใต้ผู้คิดถึงบ้าน

ชวนดูศิลปนิพธ์ของสาวใต้จากจิตรกรรมฯ ศิลปากร ผู้หยิบผ้าปาเต๊ะมาสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งชวนหลงใหลบรรยากาศแดนใต้

Our Body, Our Ground ธีสิสที่เชื่อว่าไม่มีใครอยากท้องเพื่อทำแท้ง

My Body, My Choice เป็นเรื่อง Common Sense ที่สังคมควรตระหนักได้แล้วว่าหน่วยเซนติเมตรที่ถูกวัดตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า หรือทุกอวัยวะทั้งภายนอกและภายในซึ่งประกอบกันจนเรียกว่า ‘ร่างกาย’ เป็นของแต่ละบุคคล และบุคคลเหล่านั้นมีสิทธิ์จะทำอะไรกับมันก็ได้ จริงอยู่ที่การเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยในเวลานี้บอกแบบนั้น กลับกัน ชารอน-โอบอุ้ม ลีลาศวัฒนกุล นิสิตจุฬาฯ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ แสดงทัศนะของเธอว่า “หลายคนเรียกร้องสิทธิ ตีแผ่ความเหลื่อมล้ำ ผลักดันความเท่าเทียม แต่ทำไมพอมีคำว่า ‘ทำแท้ง’ เข้ามา ถึงรับไม่ได้ เข้าใจไม่ได้ สรุปคุณก็ไม่เคารพสิทธิเนื้อตัวร่างกายของคนอื่นอยู่ดี” Our Body, Our Ground เว็บไซต์สร้างความเข้าใจถึงประเด็น ‘ท้องไม่พร้อม’ และปริญญานิพนธ์ CommDe Degree Show 2021 ที่เธอเลือกทำ เพื่อบอกสังคมว่าเรื่องนี้ควรพูดกันได้ตามปกติโดยปราศจากการตีตรา เธอใส่ช่องทางช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา เสียงของคนเคยท้องหรือทำแท้ง รวมทั้งเหตุผลหลากมิติที่คนคนหนึ่งจะตัดสินใจทำแท้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายทำแท้งให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่อคติในสังคมลดลงและช่องโหว่ทางกฎหมายถูกอุด เมื่อนั้นผู้มีมดลูกจะไม่ต้องเสี่ยงกับการทำแท้งเถื่อน หรือกินยาขับเลือดซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต 01 On The Ground […]

Untitled ศิลปนิพนธ์เรียนรู้โรคกลัวรูของเด็กโฟโต้อาร์ตแห่งเชียงใหม่ผู้เป็นโรคกลัวรู

ชวนดูศิลปนิพนธ์โรคกลัวรูของนักศึกษาสาขาศิลปะการถ่ายภาพ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.