ศิลปะ วิทยาศาสตร์ นิทานอีสป เส้นบรรจบ ‘ภาพวาดชีววิทยาสะท้อนสังคม’ ของ ลลินธร เพ็ญเจริญ

กาลครั้งหนึ่งในบ้านหลังอบอุ่น มือคู่เล็กของ ลลินธร เปิดสารานุกรม สายตาจดจ้องแผ่นกระดาษที่มีโครงสร้างดอกไม้ตั้งแต่ชั้นนอกสุดอย่างกลีบเลี้ยง ไปจนถึงชั้นเกสร ก่อนพลิกสู่หน้าถัดไปแล้วเจอโครงสร้างสัตว์ที่เห็นเนื้อหนัง โครงกระดูก และอวัยวะภายใน เธอไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร รู้เพียงแค่สวย และเหมือนจริงจนไม่อาจละสายตา กาลครั้งนี้เธอเติบโต ได้รู้แล้วว่าสิ่งที่เห็นในสารานุกรมตอนเล็กเรียกว่า ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ จึงหยิบมาผสมผสานกับศาสตร์ศิลปะที่หลงใหล ซึ่งมีจุดเชื่อมเป็นนิทานอีสปให้ข้อเตือนใจ กลายเป็น ภาพวาดเชิงชีววิทยา ผ่านจินตนาการของ ลลินธร เพ็ญเจริญ ศิลปินที่อยากบอกให้ใครต่อใครรู้ว่า ศิลปะกับวิทยาศาสตร์สามารถบรรจบกันได้อย่างงดงาม สองเส้นที่ขนานกันในสมอง ฉันนั่งตรงข้ามกับลลินธร แล้วมองภาพจิ้งหรีดกับลาที่เห็นไปยันโครงกระดูกข้างในซึ่งจัดแสดงท่ามกลางแสงไฟส้มนวลที่ SAC Gallery ละแวกพร้อมพงษ์ ก่อนเอ่ยถามถึงเบื้องหลังความคิดที่หยิบศาสตร์แห่งศิลป์และวิทย์มาหลอมรวมกัน “รู้ไหมศิลปะกับวิทยาศาสตร์ไม่เคยแยกออกจากกันเลย” คือประโยคที่เธอพูดหลังจากเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ ก่อนเล่าต่อว่าในยุคกรีกโรมัน สองศาสตร์นี้เคยเกื้อหนุนกันเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นไปในจักรวาล กระทั่งวันหนึ่งศิลปะกับวิทย์ต้องแยกจาก เพราะการแบ่งองค์ความรู้เฉพาะด้านให้ชัดเจน แต่ก็แอบเป็นแรงบันดาลใจการทำงานให้กันอยู่เงียบๆ จนพอเข้ายุคหลังสมัยใหม่ ปลายทางที่แยกออกก็กลับมาบรรจบอีกครั้ง เพราะเรียนรู้แล้วว่าบางครั้งความรู้ศาสตร์เดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดได้ทั้งหมด ส่งผลมาถึงปัจจุบันที่มีแนวทางลูกผสมอย่าง Art & Science  ฉันฟังแล้วร้องว้าวออกมาจนเธออมยิ้ม แล้วต่อบทสนทนาให้แคบลงสู่เรื่องของลลินธร ว่าทำไมถึงสนใจสองศาสตร์วิชาที่ชอบถูกนิยามว่า ศิลปะคือเรื่องความรู้สึก แต่วิทยาศาสตร์นั้นว่ากันด้วยเหตุผล เธอเล่าถึงเส้นขนานแรกอย่าง ศิลปะ ที่สมัยมัธยมต้น เวลาว่างขณะเรียนชอบหยิบวงเวียน ไม้บรรทัดสี่เหลี่ยม […]

ปะติดปะต่อแนวคิด กราฟิกดีไซเนอร์ Pariwat Studio

องค์ประกอบยิบย่อยในเมืองที่ปะติปะต่อกันเป็นงานดิจิทัลคอลลาจ ดึงดูดให้ฉันหยุดพิจารณาและไล่สายตาดูตึกรามบ้านช่อง ป้ายร้านรวง รถราบนท้องถนน และรถเข็นขายผลไม้ ภาพแทนของกรุงเทพฯ เมืองที่เปรียบเป็นงานศิลปะคอลลาจในตัวเอง

‘ประชาธิปไทป์’ ฟอนต์สะท้อนการเมืองไทย

ในวันที่ตัวอักษรกำลังช่วยกู่ร้องเพื่อ #ประชาธิปไตย ชวนลงลึกเรื่อง ‘ตัวอักษรสะท้อนการเมือง’ อย่างถึงแก่นกับ ประชาธิปไทป์ (Prachathipatype) เพจของนักออกแบบฟอนต์ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวอักษร และกราฟิตี้มือฉมังเทคนิคลายฉลุ Headache Stencil ซึ่งร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้าง ‘เซ็ทตัวอักษร’ ให้เป็นชุดเครื่องมือศิลปะแห่งประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของได้

อาคิเต็ก (พาไป) เจอเมืองในมุมมองแบบไท้ยไทย

มองมุมเมืองสไตล์ไท๊ยไทย ท่ามกลางแสงแดดเจิดจ้า วันนี้โชคดีที่สายฝนไม่โปรยลงมาเลย เมื่อเราเดินทางมาถึง ‘Everyday Architect & Design Studio’ ที่แฝงตัวกลมกลืนอยู่ในย่านฝั่งธนบุรี

คลาสศิลปะ ‘ครูป๊อด โมเดิร์นด็อก’ ที่จูงมือเด็กตั้งคำถามต่อวิชาศิลปะในโรงเรียน

‘ป๊อด-ธนชัย อุชชิน’ แห่ง Modern Dog กับบทบาท ‘ครูป๊อด’ ประจำ POD ART STUDIO สตูดิโอศิลปะแอบสแตรกที่บอกนักเรียนเสมอว่า จะวาดเหมือนจริงหรือไม่เหมือนก็ ‘ไม่ผิด’ แม้ที่โรงเรียนจะบอกว่า ‘ผิด’ ก็ตาม

ZILLUSTATION ยินดีต้อนรับสู่สถานีของนักวาดผังเมือง

‘ชิว-การุญ เจียมวิริยะเสถียร’ ศิลปินเจ้าของเพจ ZILLUSTATION ที่ขีดเขียนจินตนาการวาดเส้นประวัติศาสตร์ผังเมืองจนกลายเป็นผลงาน

‘นิทานเด็ก’ ไม่ได้สอนแค่เด็ก แต่ยังสอนให้ ‘ผู้ใหญ่’ เปิดโลกของเด็กให้กว้างขึ้น

ชวนหนูๆ และผู้ใหญ่มาท่องโลกนิทานเด็กกับ ‘ณิชา พีชวณิชย์’ นักเขียนนิทานเด็กที่สร้างสรรค์นิทานจนคว้ารางวัลหนังสือดีเด่นมาแล้ว บทสนทนาครั้งนี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวของการทำงานเป็นนักเขียนนิทาน ตลอดจนความสำคัญของนิทานเด็กที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ควรรู้ให้มากขึ้นเพื่อเข้าใจธรรมชาติของเด็ก และสอนเขาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า

“ศิลปะไทยมีการเมือง ชนชั้น การคุกคามซ่อนอยู่” ‘เอมรินทร์’ คนเบื้องหลัง Unmuted Project

เงี่ยหูฟังเสียงของ ‘เอม-เอมรินทร์’ คนเบื้องหลัง ‘Unmuted Project’ นิทรรศการศิลปะที่ยืนยันว่า ทุกความคิด และทุกความจริงที่แสดงออกผ่านงานศิลป์ต้องมีสิทธิและเสรีภาพอย่างแท้จริง ซึ่งบทสนทนาครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางงานศิลปะกว่า 300 ชิ้น พร้อมสายตาแน่วแน่ และนำ้เสียงที่มั่นคงของเอม หนึ่งในศิลปินที่อยากให้ การคุกคาม ชนชั้น และอำนาจเชิงการเมืองหมดไปจากงานศิลปะ

‘รังดอกไม้ยักษ์’ ในพระราชวังกระจก

ชื่นชม ‘รังดอกไม้ยักษ์หลากสี’ ในพระราชวัง Palacio de Cristal กรุงมาดริด ประเทศสเปน ที่ศิลปินตั้งใจสรรสร้างผลงานศิลป์ พร้อมนำมาจัดแสดงเพื่อให้เป็นพื้นที่เฉลิมฉลองความรัก นอกจากนี้ยังอยากให้เหล่าดอกไม้ยักษ์คอยย้ำเตือนให้มนุษย์โลกตระหนักว่า ‘เราไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล’

ไขความลับ ‘ศิลปะ’ ชิ้นสำคัญของโลก

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับผลงานชิ้นมาสเตอร์พีซของศิลปินระดับตำนาน ไม่ว่าจะเป็น The Birth of Venus, Mona Lisa, Girl with a Pearl Earring, The Scream และ The Kiss แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้มีมูลค่าที่คนธรรมดาอย่างเราไม่อาจเอื้อม จึงไม่วายที่บางภาพจะถูกขโมยไปจากพิพิธภัณฑ์จนต้องไปตามคืนอยู่บ่อยครั้ง

ศิลปะเพิงพักคนไร้บ้านจากซองขนมและการตีแผ่ปัญหาสังคมสไตล์ Kias Matt

แป๋ม-กนกมาศ มัทนารมยกิจ หรือ Kias Matt ศิลปินนักออกแบบที่อยากใช้พลังของสถาปัตยกรรมจากถุงฟอยล์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘เพิงพักคนไร้บ้าน’

1 2 3 4 5 6 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.