Stone Head Thai Craft Beer Presents ครั้งแรก! กับงานที่รวบรวมเบียร์มามาก
Date : วันศุกร์ที่ 1 กันยายน – วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน (17.00 – 23.00 น.)
Place : OASIS Creative Market
Fee : ฟรีค่าเข้า
Stone Head Thai Craft Beer Presents ครั้งแรก! กับงานที่รวบรวมเบียร์มามาก
Date : วันศุกร์ที่ 1 กันยายน – วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน (17.00 – 23.00 น.)
Place : OASIS Creative Market
Fee : ฟรีค่าเข้า
Beer drink Eat event lifestye เบียร์
หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]
เมื่อปีที่แล้ว ‘Coors Light’ แบรนด์เบียร์สัญชาติอเมริกันได้เปิดตัว ‘สีทาเล็บ’ เปลี่ยนสีได้ ที่นอกจากจะสร้างความสวยงามให้เล็บแล้ว ยังเป็นตัวช่วยให้รู้ว่าเบียร์ในมือของเรานั้นอยู่ในอุณหภูมิเหมาะสมที่จะดื่มแล้วหรือยัง มาปีนี้ ในช่วงอากาศร้อนๆ ที่เหมาะกับเครื่องดื่มเย็นๆ แบรนด์เบียร์เจ้าเดิมได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่มาช่วยแก้ปัญหาที่หลายๆ คนมักนำขวดเครื่องดื่มไปแช่ไว้ในช่องฟรีซเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้การดื่ม แต่บ่อยครั้งดันลืมขวดที่แช่ไว้ เปิดมาอีกทีก็พบเศษแก้วระเบิดเละเทะเต็มตู้เย็น ด้วยเหตุนี้ ‘Coors Light’ จึงคิดฉลากสุดพิเศษที่เปลี่ยนสีได้ เพื่อช่วยให้เหล่านักดื่มรู้ถึงอุณหภูมิเบียร์ที่เย็นพอดี ผ่านการรวมเอาเครื่องมืออัจฉริยะเข้ากับผลิตภัณฑ์ วิธีการคือ เมื่อนำขวดของ Coors เข้าไปแช่ช่องฟรีซ เราจะสังเกตระดับความเย็นของเครื่องดื่มได้จากรูป ‘ภูเขา’ ที่เป็นสัญลักษณ์เด่นบนฉลาก หากมีการเปลี่ยนแปลงจาก ‘สีเทา’ เป็น ‘สีฟ้า’ ที่เปล่งแสงสดใสออกมา นั่นแหละคืออุณหภูมิที่เหมาะสม หยิบออกมาเปิดดื่มได้เลย นอกจากนี้ ทางแบรนด์เบียร์ยังร่วมกับบริษัทเอเจนซี ‘Alma’ และช่างภาพ ‘Ale Burset’ ทำแคมเปญโฆษณาที่บันทึกช่วงเวลาขวดระเบิดจากหลายตู้เย็น ดังจะเห็นได้ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น The New York Times, San Francisco Chronicle และโฆษณาตามสถานที่ต่างๆ ติดตามงานดีไซน์และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของแบรนด์เบียร์สัญชาติอเมริกันนี้ได้ที่ Coors […]
ประเทศ ‘ญี่ปุ่น’ ถือเป็นอีกดินแดนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการกินดื่ม พวกเขาใส่ใจในรายละเอียดและพิถีพิถันกับการออกแบบเครื่องดื่มที่ให้ทั้งความสวยงามน่ามอง และมีฟังก์ชันที่ตอบสนองผู้บริโภคอยู่เสมอ วันนี้เราขอพาไปดูอีกหนึ่งไอเดียอันแสนเรียบง่าย แต่มีประโยชน์มากๆ สำหรับผู้ที่ชอบดื่มเบียร์ แต่เมื่อเบียร์ต้องถูกบรรจุลงในกระป๋อง การเทลงแก้วอาจทำให้เกิดฟองเยอะเกินความต้องการ ‘กระป๋องเบียร์แบบมีสองห่วงดึงฝา’ จึงถูกคิดค้นขึ้น ผู้ที่คิดไอเดียนี้ขึ้นมาคือสตูดิโอออกแบบสัญชาติญี่ปุ่นชื่อว่า ‘Nendo’ ที่ออกแบบกระป๋องเบียร์ให้มีห่วงดึงฝาถึง 2 จุด ที่หากมองจากด้านบนกระป๋องที่ยังไม่ได้ถูกเปิด เราจะพบกับการดีไซน์ที่มีลักษณะคล้ายอีโมจิที่ให้อารมณ์วกวนชวนสงสัย การออกแบบกระป๋องที่มีสองห่วงดึงฝานี้ใช้หลักการแบบโดมิโนคือ เมื่อเปิดจุดแรกออกจะทำให้เกิดฟองจำนวนมาก ผู้ดื่มสามารถเทฟองลงในแก้วได้ตามปริมาณที่ต้องการ จากนั้นก็มาต่อที่จุดสองที่เราจะต้องดึงฝาห่วงเปิดให้สุด คราวนี้จะเป็นคิวการไหลลงมาของเบียร์ ด้วยวิธีนี้ จะทำให้นักดื่มได้พบกับอัตราส่วนเบียร์และฟองประมาณ 7:3 ซึ่งตรงตามกับสิ่งที่เรียกว่าอัตราส่วนทองคำ ทำให้เราสามารถดื่มเบียร์จากกระป๋องได้อย่างสดชื่นตามชอบใจแบบไร้ฟองกวนได้นั่นเอง เป็นอีกหนึ่งไอเดียง่ายๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาจากปัญหาเล็กๆ ที่ผู้บริโภคเจอ และนำมาต่อยอดกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่รองรับความสุนทรีย์ในการดื่มด่ำรสชาติเบียร์ที่ต้องการได้ Source :Designboom | bit.ly/42zOlM7
เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มเห็นอีเวนต์ต่างๆ จัดขึ้น เตรียมให้เราได้ไปเดินเล่นและร่วมสนุกกันแทบทุกสัปดาห์ ซึ่งอีเวนต์ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งมักจะเป็น ‘Market Event’ ที่มีทั้งโซนขายของ โซนอาหาร มาพร้อมสินค้าที่หลากหลายและน่าสนใจตามธีมของแต่ละงาน ทว่าการจัดอีเวนต์แต่ละครั้ง ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การสร้างขยะภายในงาน การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มลภาวะจากการเดินทาง ฯลฯ เพราะกังวลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอนาคต หลายอีเวนต์ทั่วโลกจึงเริ่มตระหนักถึงความรับผิดชอบในมิติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นอีกโจทย์สำคัญของผู้จัดงานต่างๆ ว่าจะมีวิธีและทิศทางการจัดงานแบบไหนบ้าง ที่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คอลัมน์ Urban Sketch วันนี้จึงขอจำลองวิธีการจัด Sustainable Market Event ที่ทุกคนยังคงเพลิดเพลินกับกิจกรรมได้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือแนวทางเรื่องความยั่งยืน สำหรับจัดอีเวนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมๆ กัน 1) บูททำจากวัสดุธรรมชาติ ลดการใช้อุปกรณ์ยึดโครง– Market Event คือการรวมตัวของบูทร้านค้ามากมาย ซึ่งปกติแล้วโครงสร้างของบูทจะทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียม แต่เพื่อให้ตัวงานเกิดความยั่งยืนมากขึ้น เราจึงเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างที่ทำจากไม้ทั้งหมด และเลี่ยงการใช้ตะปูหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวไม้ เมื่อจบงานแล้วก็สามารถถอดเก็บไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในอนาคต 2) ใช้ป้ายลบได้เพื่อเก็บไว้ใช้ซ้ำ – ยกเลิกการใช้ป้ายต่างๆ ภายในงาน เช่น […]