จิ้นยูนิฟอร์มนักกีฬาทีมชาติไทยใน Olympic 2024

ตั้งแต่วันที่นายกฯ ญี่ปุ่นขโมยซีนด้วยการแปลงร่างเป็นมาริโอ้ในพิธีปิดโอลิมปิกปี 2016 จนถึงพิธีเปิดของกีฬาโอลิมปิก 2020 ณ แดนอาทิตย์อุทัย ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนน่าจดจำ ชวนให้เราอยากติดตามและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งแรงใจเชียร์พลพรรคนักกีฬาทีมชาติไทย  แต่สิ่งที่ขัดใจพวกเราไม่น้อย จนกลายเป็นดราม่าที่ทุกคนพูดถึงกัน ก็คือเครื่องแต่งกายของทีมชาติไทย ตั้งแต่ชุดสูทเดินขบวนที่ขาดสีสันความน่าจดจำ ยังคงอนุรักษ์รูปแบบเสมือนดีไซน์ประจำชาติไว้ตั้งแต่ปี 1988 อย่างไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง  หรือดราม่าเรื่องชุดการแข่งขัน จนเราต้องตั้งคำถามทุกครั้ง เมื่อเห็นเหล่านักกีฬาต้องคอยถกแขนเสื้ออยู่ตลอดเวลาที่ลงสนาม และสงสัยว่าเป็นความเคยชินของนักกีฬา หรือเป็นเพราะการออกแบบที่ไม่คำนึงถึงการใช้งานจริงกันแน่ เพราะชุดเดินขบวนในพิธีเปิดเปรียบเหมือนเป็นหน้าตาของประเทศ และส่งผลถึงประสิทธิภาพในการแข่งขันของนักกีฬาทีมชาติ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบชุดกีฬาของทัพนักกีฬาไทย เพื่อโอลิมปิกครั้งหน้าที่ปารีส 2024 แบบฉบับ Concept Design ดึงภาพลักษณ์ความเป็นไทยแบบแคชชวลแต่ชาวต่างชาติต้องร้องอ๋อ เช่น ผ้าสามสี กางเกงลายช้าง เสื้อลายเสื่อกกลายขิด ออกมาใช้ให้สร้างสรรค์และน่าจดจำกันสักหน่อย …ชุดนักกีฬาไทยในใจของคุณๆ เป็นยังไงบ้าง ไหนลองแชร์ให้ฟังหน่อย นอกจากชุดกีฬาจะเป็นหน้าตาของประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อการแข่งขันทั้งทางตรงและทางอ้อม เราจึงเห็นพัฒนาการของอุปกรณ์หรือชุดกีฬาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการออกแบบอุปกรณ์ทางกีฬา อยู่ภายใต้แนวคิดว่า ทำอย่างไรให้นักกีฬา Perform ได้ดีขึ้น เป็นสารตั้งต้นง่ายๆ ที่ทำให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะทุกท่วงท่าในการเคลื่อนไหวของนักกีฬาล้วนสัมพันธ์กับอุปกรณ์และเครื่องสวมใส่ทั้งสิ้น เรื่องเล็กๆ อย่างการถกแขนเสื้อแค่หนึ่งครั้ง อาจหมายถึงการเสียแต้มสำคัญ […]

ส่องสถานีรถไฟรวมมิตร Mixed-use มิกซ์พื้นที่ให้ใช้งานได้สารพัด

เพราะ ‘เมืองขยายตัว’ ทำให้ประชากรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้พื้นที่สูงตามจึงกลายเป็นต้นตอของการมิกซ์ยูสพื้นที่ในแบบต่างๆ เช่น มีทั้งห้างสรรพสินค้า อาร์ตแกลเลอรี สำนักงาน หรือลานอเนกประสงค์รวมในที่เดียว โดยการเลือกทำเล ‘มิกซ์ยูส’ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ต้องดูว่าคนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งสถานที่ที่ตอบโจทย์มากที่สุด นั่นก็คือ ‘สถานีรถไฟ’ เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมือง แถมเป็นศูนย์กลางของโครงข่ายคมนาคมสาธารณะตั้งแต่ระดับเมืองไปจนถึงท้องถิ่น ซึ่งนอกจากมิกซ์ยูสสถานีจะช่วยกระตุ้นการขนส่งสาธารณะ ลดการก่อมลพิษ เพิ่มมูลค่าที่ดินให้กับอสังหาริมทรัพย์ ยังสร้างอาชีพในพื้นที่อีกด้วย ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ของประเทศไทยเอง ก็พัฒนาให้เป็นมิกซ์ยูสรูปแบบ ‘Vertical Mixed-Use Building’ คือการเอาพื้นที่มาใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งอย่าง โดยแบ่งสัดส่วนภายในอาคารประกอบไปด้วยร้านค้า โรงแรม สำนักงาน ฯลฯ เพื่อรองรับผู้โดยสารและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ใครที่ยังไม่ได้ไปเยี่ยมเยือนสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ก็ไม่เป็นไร เราลองไปสำรวจ ‘สถานีรถไฟ’ รอบโลกกันก่อนดีกว่าว่าเขามิกซ์เข้ากับอะไรกันบ้าง | ปรับหน้าสถานีรถไฟเป็นลานสาธารณะ เราอาจไม่ค่อยคุ้นหูกับ ‘Assen Station’ เท่าไหร่นัก เพราะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ ในเทศบาลอัสเซน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่จำนวนผู้โดยสารต่อวันยังน้อยกว่า Rotterdam Central Station หลายพันเท่า ด้วยความไม่เป็นที่สนใจเนี่ยแหละ จึงเป็นสาเหตุให้นายกเทศมนตรีสั่งรีโนเวตเสียใหม่ […]

ทำไมต่างประเทศถึงรื้อทางด่วน

แท็กซี่ : สวัสดีครับ ไปไหนครับสมศรี : ไปสนามบินดอนเมืองค่ะ ขึ้นทางด่วนเลยนะพี่ หนูรีบ! ในวันที่เร่งรีบ การเดินทางด้วย ‘ทางด่วน’ คงเป็นตัวเลือกอันดับแรกที่คนเมืองใช้เพื่อหลีกหนีการจราจรที่หนาแน่นในกรุงเทพฯ และย่นระยะเวลาให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น ซึ่งพอมองดูแล้วการมีทางด่วนก็ทำให้ชีวิตการเดินทางของเราง่ายขึ้นนี่นา แล้วทำไมอยู่ๆ ต่างประเทศถึงลุกขึ้นมารื้อทางด่วนกันนะ ‘ทางหลวงที่ควบคุมการเข้าถึง’ หรือที่เรียกกันว่า ‘ทางด่วน’ (Expressway) เป็นทางหลวงประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เราเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งตามหลักแล้วตลอดเส้นทางจะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก มีแสงสว่าง จุดพักรถ รวมไปถึงระบบตรวจจับความเร็ว อาจเปิดให้ใช้ในลักษณะถนนที่เก็บค่าผ่านทางหรือไม่ก็ได้ ‘ลองไอส์แลนด์มอเตอร์พาร์กเวย์’ (Long Island Motor Parkway) ในเกาะลองไอส์แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา คือทางด่วนเส้นแรกของโลก สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ รวมถึงความต้องการที่จะเดินทางให้รวดเร็วมากขึ้น โดยทางด่วนเส้นนี้เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อปี 1908 เป็นถนนที่ประกอบด้วยฟังก์ชันทันสมัยหลายอย่าง เช่น พื้นเอียงบริเวณทางโค้ง ราวกันอันตราย คอนกรีต และยางมะตอยเสริมแรง มีประโยชน์ขนาดนี้ แล้วทำไมถึงยังรื้อทิ้ง ‘เกาหลีใต้’ เป็นเรื่องที่เราประหลาดใจพอสมควร เมื่อได้ยินข่าวว่าเกาหลีใต้ได้ตัดสินใจรื้อทางด่วนสายสำคัญในกรุงโซลทิ้ง และแทนที่ด้วยเลนสำหรับรถบัสที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทางด่วนดังกล่าวหรือที่คนเกาหลีเรียกว่า […]

เรื่องเล่าหลังความตายกับเพื่อนคนสุดท้ายที่ชื่อว่า ‘สัปเหร่อ’

ความตั้งใจของเฟิร์นนิสิตจุฬาฯ ชั้นปีสุดท้ายที่เลือกทำโปรเจกต์นี้คือ การสร้างความเข้าใจให้กับคนรุ่นใหม่ว่าสัปเหร่อในปัจจุบันเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มคุณค่าและความสำคัญของอาชีพนี้ เพราะการทำงานของสัปเหร่อนั้นมีรายละเอียดมากมายกว่าที่พวกเราเคยเห็น

‘ป้ายบิลบอร์ด’ จากสิ่งโปรโมตคณะละครสัตว์ ไปเป็นการ์ดอวยพรวันเกิดศิลปิน

คำว่า ‘ให้เช่าพื้นที่โฆษณา’ แผ่หลาไปทั่วทุกอณูของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ใบปลิวเล็กๆ ป้ายตามสถานีรถไฟฟ้า ไปจนถึงบิลบอร์ดริมมอเตอร์เวย์ เพื่อเชิญชวนให้เหล่าผู้ประกอบการใช้โปรโมตธุรกิจของตัวเอง หรือในปัจจุบันก็เห็นเหล่าแฟนคลับใช้พื้นที่โฆษณาเป็นการ์ดอวยพรวันเกิดศิลปิน หรือดาราที่ชื่นชอบ แต่หารู้ไม่ว่าต้นกำเนิดของป้ายโฆษณาถูกใช้ในแวดวงของ ‘คณะละครสัตว์’ มาก่อน เริ่มต้นจากคณะละครสัตว์ จริงๆ แล้วจุดเริ่มต้น ‘ป้ายโฆษณา’ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1835 โดย Jared Bell สำหรับประชาสัมพันธ์คณะละครสัตว์ Barnum And Bailey ในนิวยอร์ก เขาทำโปสเตอร์ขนาด 9×6 ฟุตและอัดแน่นไปด้วยสีสันอันดึงดูดตา พ่วงด้วยกิจกรรมต่างๆ ในคณะละคร เพื่อบอกกล่าวผู้ชมที่สนใจว่าหากคุณมาชมการแสดงจากคณะละครสัตว์ คุณจะได้รับประสบการณ์แบบไหนกลับไปบ้าง หลังจากที่เขาปล่อยป้ายประชาสัมพันธ์ออกไป ก็เริ่มมีคณะละครสัตว์อื่นๆ อย่าง The Hagenbeck-Wallace Circus หันมาใช้ป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์บ้าง  ป็อปปูลาร์เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์ ช่วงยุคศตวรรษที่ 20 ถือเป็นยุคปฏิวัติครั้งสำคัญของป้ายโฆษณา เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังเข้ามาทำตลาด ซึ่ง Model T เป็นหนึ่งในรถยนต์ราคาประหยัดคันแรกๆ ทำให้คนอเมริกันจับจ่ายซื้อรถมากขึ้น ส่งผลให้ถนนและทางหลวงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับปริมาณรถยนต์ที่หลั่งไหลเข้าเมืองอย่างไม่ขาดสายและกลายเป็นรูปแบบการขนส่งหลักของเมือง ทำให้บริษัทใหญ่ๆ เห็นพื้นที่โฆษณาและตั้งป้ายริมถนนเยอะขึ้น โดยเฉพาะ […]

BIBI ศิลปินเกาหลีที่เขียนบ่นชีวิตใน EP. ใหม่ “ชีวิตมันเหี้ย แต่นี่แหละคือชีวิต”

BIBI ศิลปินเดี่ยวจากเกาหลีใต้ ปล่อยผลงานเพลงป็อปใน EP ใหม่ ชื่อว่า Life is a Bi… เพื่อบอกทุกคนว่า “ชีวิตมันห่วยแตก แต่นี่แหละคือชีวิต”

นิทรรศการภาพถ่ายในไลต์บ็อกซ์ 365° บันทึกเหตุการณ์โลกผ่านสายตาช่างภาพแฟชั่น

ห่างหายจากการชมงานศิลปะกันไปนาน พาตัวเองไปเปิดกล่อง 365° นิทรรศการภาพถ่ายรูปแบบใหม่ที่ฉายภาพในไลต์บ็อกซ์บนพื้นที่แสดงงานกว่า 1,200 ตารางเมตร ซึ่งถ่ายทอดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึงสถานการณ์ปัจจุบัน การเมือง ภัยพิบัติ ความสำเร็จของมนุษยชาติ และอื่นๆ อีกมากมาย เช่น เหตุวินาศกรรม 9/11 ในมหานครนิวยอร์ก ไฮไลต์จากชีวิตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร รอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ Star Wars และผลงานของศิลปินระดับโลกที่เราหลงใหล ไม่ว่าจะเป็น Banksy, Edward Hopper, Salvador Dali, René Magritte, Mondrian และ Van Gogh นิทรรศการ 365° หรือ 365 องศา สร้างสรรค์ขึ้นจากมุมมองของช่างภาพแฟชั่นและศิลปินชาวสเปน ‘Eugenio Recuenco’ ที่มีต่อโลกใบนี้ ซึ่งในมุมของเขานั้นช่างเป็นโลกที่น่าขำขัน เสียดสี และบางครั้งก็เป็นโลกที่สวยงาม เขาจึงใช้เวลากว่า 8 ปีร่วมกับทีมงานถึง 300 คนในการรวบรวมผลงานกว่า 120 ชิ้น […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.