จำลองตัวเองเป็นนักปลูกผัก ใช้ชีวิตในเกม Farming Sim ช่วยจัดระเบียบชีวิต ชุบชูใจด้วยการพิชิตชัยชนะเล็กๆ

นึกภาพตอนที่เราตื่นขึ้นมาในฟาร์มของเรา มีแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าของฤดูใบไม้ผลิสาดส่อง พร้อมกับเสียงเพลงคลอเบาๆ เริ่มต้นวันด้วยการรดน้ำพืชผักท่ามกลางธรรมชาติ เก็บเกี่ยวผลผลิตเตรียมเอาไปแบ่งปันกับชาวเมือง กิจกรรมนี้น่าจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับเหล่ามนุษย์เมืองในสังคมเมืองที่เร่งรีบ เกม Farming Simulator หรือเกมจำลองการใช้ชีวิตในฟาร์มจึงเป็นเหมือนอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่อยากพักจากชีวิตในเมืองที่วุ่นวาย Farming Simulator หรือที่ชาวไทยเรียกง่ายๆ ว่า เกมปลูกผัก เช่น Stardew Valley เกมขวัญใจชาวปลูกผัก, Coral Island หรือ Harvest Moon เกมปลูกผักในความทรงจำของใครหลายคน ซึ่งนอกจากความสนุกแล้ว การเล่นเกม Farming Simulator ยังช่วยเรื่องสุขภาพจิตได้อีกด้วย ชีวิตที่วางแผนได้จากกิจวัตรในฟาร์ม อย่างที่หลายคนรู้กันว่า การเล่นเกมช่วยลดความเครียดได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นของเกมแนว Farming Simulator คือ เราสามารถจัดการวางแผนชีวิตได้ ตั้งแต่กิจวัตรประจำวัน To-do List ไปจนถึงการเลือกมีปฏิสัมพันธ์กับชาวเมืองในเกม มากไปกว่านั้น ยังต้องรู้จักเรียนรู้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งการวางแผนจัดแจงที่ดีมักจะตามมาด้วยผลลัพธ์ที่เหมือนเป็นรางวัลเล็กๆ ให้เราเสมอ เช่น การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เราปลูกเอง การช่วยเหลือชาวเมืองเล็กๆ น้อยๆ การปลดล็อกสูตรอาหารใหม่ๆ ฟังดูอาจเป็นเรื่องไม่สลักสำคัญอะไร เพราะไม่ส่งผลใดต่อชีวิตจริง แต่สำหรับคนที่ตั้งใจเล่นเกม […]

ทางเท้ากรุงเทพฯ ทำไมถึงไม่มีทางเดินดีๆ ให้ดื่มด่ำบรรยากาศเมือง

แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการปรับปรุงทางเท้าใหม่ในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงยังมีการปรับทัศนียภาพทางเท้าบางจุดที่เคยถูกบุกรุกพื้นที่ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังไม่รู้สึกว่ากรุงเทพฯ น่าเดินเล่นชิลๆ อยู่ดี บางครั้งปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากสภาพทางเท้าอย่างเดียว เพราะต่อให้ทางเดินเรียบขนาดไหน แต่ถ้ายังต้องคอยระแวงหลบสิ่งกีดขวางอยู่ประจำก็คงไม่สบอารมณ์นัก ยังไม่นับบรรยากาศรอบข้างที่ไม่เอื้อให้รู้สึกอยากเดินเสพบรรยากาศไปเรื่อยๆ ทั้งที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองท่องเที่ยวระดับโลกแท้ๆ ทำไมเราถึงเดินเดตกันแบบเมืองปารีสหรือกรุงโซลไม่ได้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนมาเดินส่องหาสาเหตุกันว่า ทำไมเราถึงไม่สามารถเอนจอยกับการเดินทางเท้ากรุงเทพฯ ได้เสียที ปรับปรุงสภาพแต่ไม่ขยายขนาด ก็ไม่อาจทำให้ทางเท้าน่าเดินได้ ปัจจุบัน กทม.ทยอยปรับปรุงทางเท้าในกรุงเทพฯ หลายจุดทั่วเมืองตามโครงการปรับปรุงทางเท้า 1,000 กิโลเมตร แต่เนื่องจากระยะเวลาที่มีจำกัดและปัญหาอื่นที่ยังรุมเร้า คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในกรุงเทพฯ ยังมีทางเท้าอีกหลายจุดที่สภาพไม่ดีนัก โดยเฉพาะบริเวณชานเมืองและพื้นที่ที่ไกลออกไป ภาพจำของทางเท้าที่ขรุขระและสมบุกสมบันจึงยังไม่ถูกลบหายไปง่ายๆ และต่อให้เป็นทางเท้าที่ปรับปรุงแล้วก็ยังไม่วายมี ‘อุปสรรค’ มากีดขวางให้ผู้คนไม่สามารถเดินตรงๆ สบายๆ ยกตัวอย่าง เสาไฟฟ้า สะพานลอย ต้นไม้ที่ขนาดใหญ่เกินครึ่งของทางเท้า กระทั่งอากาศร้อนจัดเพราะไม่มีร่มเงาใดๆ ช่วยบดบังแสงแดด แม้บางพื้นที่มีตึกแถวเป็นร่มเงา ก็ดันมีน้ำไม่พึงประสงค์ที่หยดลงมาจากตึกแถวจนต้องเดินหลบกันจ้าละหวั่น แต่ที่หนักสุดคงเป็นขนาดทางเท้าที่ไม่สามารถขยับขยายไปมากกว่านี้ได้อีกแล้ว เนื่องจากการปรับปรุงทางเท้าที่กล่าวมามักเป็นการ ‘ปรับปรุง’ พื้นผิวทางเท้าอย่างเดียว ไม่ได้ขยายทางเดินให้กว้างขึ้นแต่อย่างใด มากไปกว่านั้น บางพื้นที่ยังปาดทางเท้าให้กลายเป็นถนนเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นพื้นที่ที่เคยประสบปัญหาทางเท้าแคบจึงไม่ได้รับการแก้ไข ส่วนพื้นที่ที่เคยมีทางเท้ากว้างก็อาจจะแคบลงไปเรื่อยๆ ซ้ำร้ายถนนบางเส้นไม่มีทางเท้าให้เดินเลยแม้แต่เซนติเมตรเดียว อยากปรับปรุงเหมือนกัน แต่เหมือนหน่วยงานอื่นจะไม่เข้าใจ ข้อจำกัดหลักที่ทำให้ทางเท้ายังมีอุปสรรคจนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก […]

City Walk, City Work ก่อนจะเป็นเมืองน่าอยู่ ต้องเป็นเมืองที่คนเดินได้เดินปลอดภัยก่อน

ในชีวิตแต่ละวัน ‘การเดิน’ เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของผู้คนโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่ออกจากประตูบ้านมาถึงที่เรียนหรือที่ทำงาน ต่อให้ขึ้นรถลงเรืออย่างไรก็ยังต้องอาศัยการเดินอยู่ดี ทั้งที่การเดินไม่จำเป็นต้องใช้อะไรนอกจากขาของเรา แต่เหมือนว่าวิธีเดินทางที่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุดนี้จะยังมีปัญหาซ่อนอยู่ ทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากร่างกายของเราได้อย่างเต็มที่และมีความสุขนัก นั่นเป็นผลจากเมืองที่เราอาศัยอยู่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนและการเดินมาตั้งแต่แรก พอคนเดินได้ไม่ดีก็ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ ไม่ว่าจะเป็นร่างกายที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวจนเกิดโรคตามมา หรือกระทั่งความเหงาที่เกิดขึ้นเพราะไม่มีพื้นที่ให้ทำกิจกรรมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กลับกัน ในเมืองที่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้จะออกแบบและจัดตั้งนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้คนอยากเดิน เช่น แนวคิดเมือง 15 นาที ที่กำหนดให้แต่ละพื้นที่ต้องมีบริการสาธารณะที่จำเป็นโดยคนสามารถเดินถึงภายใน 15 นาที หรือแนวคิดเมืองเดินได้ ที่ทำให้เมืองมีกายภาพน่าเดิน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ล้วนส่งผลดีในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติสุขภาพที่ประชาชนได้ออกกำลังกายไปในตัว มิติสิ่งแวดล้อมที่เมื่อลดการใช้รถยนต์ลงอากาศก็ดีขึ้น หรือมิติเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยระหว่างคนเดินกับร้านค้าริมทางเดิน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์ City Walk, City Work ขอชวนมาเดินสำรวจด้วยกันว่า จริงๆ แล้วเมืองที่เดินได้และปลอดภัยควรเป็นอย่างไร อะไรกันแน่ที่ทำให้คนไทยไม่อยากเดิน ไปจนถึงตอนนี้เมืองของเราทำอะไรไปบ้างแล้วเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองเดินได้เดินดีในอนาคต หลักการออกแบบทางเท้าที่ดี สำหรับนักเดินเมืองทั้งขาประจำและขาจรทั้งหลายคงรู้กฎการเดินเมืองเบื้องต้น 101 กันอยู่แล้วว่า การเดินที่ปลอดภัยที่สุดคือ ‘การเดินบนทางเท้า’ หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า ‘ฟุตพาท’ ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ‘Foot = เท้า’ ‘Path = ทาง’ แต่น้อยฟุตพาทนักที่น่าเดินหรือเอื้อต่อการเดินเล่นและเดินจริงจังในปัจจุบัน […]

ใครยังโสดยกมือขึ้น!เมื่อกรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองร้างรัก จากจำนวนคนโสดเกินครึ่งเหตุเพราะผังเมืองและชีวิตไร้ความโรแมนติก

ทิ้งทวนกระแส Single’s Inferno รายการเดตสุดฮิตของประเทศเกาหลีใต้ ด้วยคอนเซปต์เข้าใจง่ายอย่างการมีคู่จะได้ไปเดตกันที่เกาะสวรรค์ ใช้ชีวิตสนุกสนาน มีความสุข ส่วนคนที่จับคู่ไม่สำเร็จก็ต้องจมอยู่ในเกาะนรกต่อไป ถ้าพูดว่าสถานที่ที่เต็มไปด้วยคนโสดคือเกาะนรก ตอนนี้กรุงเทพมหานครของเราก็อาจจะเป็นเกาะนรกไม่ต่างกัน เนื่องจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2566 พบว่า ทั้งประเทศมีคนโสดอยู่ 23.9 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดง่ายๆ ว่า ถ้ามีคนไทยเดินมา 5 คน หนึ่งในนั้นเป็นคนโสด และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรในพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ถึงร้อยละ 50.4 อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ 1 ใน 3 ของคนโสด (32.7%) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป และเมื่อแบ่งตามเพศพบว่า คนโสดเพศหญิงมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 42 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าเพศชายเกือบเท่าตัว โดยคนโสดเพศชายมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 25.7 เปอร์เซ็นต์ หรือสรุปง่ายๆ ว่า คนโสดส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่จบปริญญาตรีและอาศัยอยู่ในตัวเมือง แน่นอนว่าพออ่านมาถึงตรงนี้ก็อาจพานคิดถึงเหมยลี่ ไอคอนิกแห่งสาวโสดชาวกรุง หรือแม้กระทั่งเราๆ เองที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ด้วยใจลำพังเช่นกัน ช้ำใจที่ยังโสด ต้องโทษผังเมืองกรุงเทพฯ […]

ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่

เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]

‘ตัวโดนเท’ โปรเจกต์ถังดักไขมันพกพาร้านรถเข็น แก้ปัญหาแบบ 2 in 1 ทั้งลดท่ออุดตันและได้ทางเท้าคืน

ปัญหาไขมันอุดตันในท่อระบายน้ำและการกีดขวางทางเดินของร้านรถเข็นสตรีทฟู้ด คือสองปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพมหานครที่ไม่ว่าจะจัดการเท่าไหร่ก็ไม่หมดไปสักที จะเป็นยังไงถ้าสองปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียว ที่เป็นได้ทั้งถังดักไขมันและอุปกรณ์สำหรับเทินล้อร้านรถเข็นให้สามารถจอดคร่อมระหว่างทางต่างระดับ คอลัมน์ Debut ขอดึงตัว ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกแห่ง Everyday Architect Design Studio เจ้าของโปรเจกต์ที่หลายคนอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาจากอีเวนต์ Bangkok Design Week 2025 ที่เพิ่งจบไป มาพูดคุยเจาะลึกถึง ‘ตัวโดนเท’ โปรเจกต์ออกแบบนวัตกรรมถังดักไขมันแบบพกพา ที่โดนเทน้ำมันใส่ยังไงก็ไม่เล็ดลอดลงสู่ท่อระบายน้ำ แถมยังได้พื้นที่ทางเดินคืนมาให้คนเดินเท้าด้วย จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง สู่การออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาจริง ถ้าพูดถึงจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้ คงต้องย้อนไปถึงหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ ที่ชัชวาลเขียนขึ้น โดยมีแกนหลักคือการบันทึกภาพสเก็ตช์และเรื่องราวสั้นๆ ของข้าวของรอบตัวที่เกิดขึ้นเรี่ยราดตามรายทางจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ในเมือง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ “เราได้แรงบันดาลใจมาจากการเห็นร้านรถเข็นมีปัญหาเรื่องฟุตพาททางเท้า เขาเลยมักจะเอาอิฐมวลเบาแถวนั้นมาเทินล้อ เป็นการแก้ปัญหาแบบเมืองๆ” เจ้าของโปรเจกต์เล่าถึงไอเดียตั้งต้น ก่อนจะนำมารวมกับปัญหาที่พ่อค้าแม่ขายมักเทน้ำเสียจากการประกอบอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันลงท่อระบายน้ำของเมืองโดยตรง ‘ตัวโดนเท’ ถือเป็นโปรเจกต์ในลักษณะ Product Design ตัวแรกของทาง Everyday Architect Design Studio ที่ชัชวาลออกแบบร่วมกับ ‘รมย์รวินท์ พิพัฒน์นัดดา’ และนักศึกษาฝึกงาน ‘มยุรฉัตร […]

ถนนท่าแพ ตามนักสะสมของพม่าไปชมวัดพม่าในเชียงใหม่

ใช่ว่าเชียงใหม่จะมีแค่วัดวาอารามศิลปะล้านนา หากแต่บนถนนท่าแพ ถนนสายเศรษฐกิจดั้งเดิมที่โดดเด่นด้วยทิวอาคารคอนกรีตสไตล์โมเดิร์น ยังมีวัดเก่าแก่ที่สะท้อนอิทธิพลของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมพม่าอายุเกินร้อยปีแทรกตัวอยู่อย่างกลมกลืนและสง่างาม ดังชื่อบทความ เราจะพาเดินสำรวจมรดกจากศิลปะพม่า รวมถึงย้อนรอยถึงที่มาของวัดวาอารามบนถนนสายนี้ แต่ก่อนอื่น มีบุคคลสองท่านที่เราอยากแนะนำให้รู้จัก ‘จ่อย-อินทนนท์ สุกกรี’ คือชื่อแรก ชายชาวเชียงใหม่ลูกเสี้ยวพม่าวัยสามสิบเศษ นักสะสมของเก่า และเจ้าของร้าน ‘ชเว ผ้าพิมพ์ลุนตยา’ เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา จ่อยได้ร่วมกับกลุ่มแม่ข่าซิตี้แลป จัดกิจกรรม ‘Mae Kha Walk Along เดินเมืองเรียนรู้คลองแม่ข่า’ พาผู้ที่สนใจไปเดินชมสถาปัตยกรรมแบบพม่าในวัดบนถนนท่าแพ ถนนสายสำคัญที่ลำน้ำแม่ข่าตัดผ่าน อันเป็นที่มาของบทความนี้ ส่วนคนที่สอง หากท่านยังมีชีวิตอยู่ก็น่าจะมีอายุเกือบ 200 ปีแล้ว ‘เมาง์ปานโหย่ว’ หรือ ‘รองอำมาตย์เอก หลวงโยนะการพิจิตร’ พ่อค้าไม้สักจากเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ที่ต่อมากลายเป็นคหบดีที่มีบทบาทสำคัญในการนำเข้าอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากดินแดนบ้านเกิดมาสู่เชียงใหม่ ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์วัดหลายแห่งบนถนนท่าแพ อันเป็นที่มาของกิจกรรมครั้งนี้ “จริงอยู่ที่ก่อนหน้านี้เชียงใหม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึงสองร้อยกว่าปี (พ.ศ. 2101 – 2317) แต่หลักฐานเชิงประจักษ์ของอิทธิพลจากศิลปกรรมจากพม่าในสมัยนั้นก็มีอยู่น้อยเต็มที ในขณะที่ศิลปะพม่ามาเบ่งบานในเมืองนี้ โดยเฉพาะบนถนนสายนี้จริงๆ คือเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งไม่ได้เกิดเพราะเหตุผลด้านการเมือง แต่เป็นผลพวงจากการค้าขาย ซึ่งวันนี้เราจะไปตามรอยกัน” จ่อย ไกด์อาสาในทริปนี้กล่าว […]

‘เจริญกรุง’ จากถนนดินอัดแห่งแรก สู่ย่านสร้างสรรค์ต้นแบบ เส้นทางความเจริญของกรุงเทพฯ ตามชื่อที่ตั้ง

รู้ไหมว่า กว่า ‘เจริญกรุง’ จะกลายมาเป็นย่านท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างในปัจจุบันนี้ต้องเจอสถานการณ์อะไรบ้าง ภาพจำของเจริญกรุงที่เราคุ้นตาคงเป็นแหล่งรวมร้านถ่ายรูปที่เรียงรายอยู่ตลอดแนวถนน ทั้งยังเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการและอาร์ตแกลเลอรีที่หมุนเวียนมาไม่ซ้ำเป็นประจำทุกเดือน จนได้เป็นย่านแรกของไทยที่ก้าวสู่การเป็น ‘ย่านสร้างสรรค์’ จากการรวมตัวของคนหลายกลุ่มที่ช่วยกันฟื้นฟูและขับเคลื่อนย่านให้กลับมาคึกคักกันอีกครั้งเช่นในปัจจุบัน โดยเริ่มดำเนินการผ่านโปรเจกต์ Bangkok Design Week ที่เราคุ้นเคย แต่ก่อนที่เจริญกรุงจะเดบิวต์ใหม่เป็นย่านสร้างสรรค์ที่เหมาะกับการมาเดินเล่นในวันหยุดสุดสัปดาห์นั้น ย่านนี้เคยเป็นที่รู้จักในด้านการเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของการเดินทางบนคอนกรีตที่สะดวกสบายในปัจจุบัน เพราะเจริญกรุงนับว่าเป็น ‘ถนนสายแรก’ ของกรุงเทพฯ ที่สร้างด้วยเทคนิคตะวันตก ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายสำคัญที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางสังคม สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองและความเจริญที่เริ่มคืบคลานทยอยเข้ามาในเมืองทีละนิดๆ ส่งผลให้เกิดเป็นการคมนาคมที่เข้าถึงง่าย มีความสะดวกสบายในปัจจุบัน คอลัมน์ Urban Tales ขอพาทุกคนย้อนดูไทม์ไลน์การเดินทางกว่า 160 ปีของเจริญกรุง ตั้งแต่เริ่มมีถนนใช้เป็นครั้งแรก พากรุงเทพฯ ก้าวเข้าสู่เมืองแห่งความทันสมัย ก่อนผลัดเปลี่ยนสู่ยุคตกทุกข์ได้ยากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และผงาดขึ้นอีกครั้งในฐานะย่านสร้างสรรค์แรกของไทย กำเนิด ‘ถนนเจริญกรุง’ จากเส้นทางสายน้ำสู่พื้นคอนกรีตแบบตะวันตก ไม่ว่าเราจะเดินไปที่ไหนในกรุงเทพฯ สังเกตได้ว่าแทบทุกพื้นที่จะมีคลองเล็กใหญ่ให้เห็นอยู่เสมอ และส่วนใหญ่คลองเหล่านี้มักบรรจบหรือมีจุดที่เชื่อมโยงเป็นสายเดียวกัน ถือเป็นร่องรอยจากอดีตที่แสดงให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ มีความใกล้ชิดกับสายน้ำมาก ไม่ว่าจะเป็นการตั้งบ้านเรือนติดแม่น้ำลำคลอง การประกอบอาชีพประมง รวมถึงการใช้ทางน้ำเป็นเส้นทางหลักสำหรับสัญจรไปมาในอดีต จึงไม่แปลกที่เขตหรือแขวงในกรุงเทพฯ มักขึ้นต้นด้วยคำว่า ‘บาง’ ที่หมายถึงทางน้ำเล็กๆ ที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หรือทะเล เพื่อใช้เรียกสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับสายน้ำ […]

วิ่ง สู้ ฝุ่น ไปกับสวนสาธารณะที่ออกแบบมาให้ออกกำลังกายได้อย่างสบายปอด

ช่วงนี้ใครที่อยากออกไปทำกิจกรรมข้างนอกคงไม่ค่อยแฮปปี้เท่าไหร่ เพราะต้องเจอกับฝุ่น PM 2.5 ที่ปกคลุมทั่วประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็รับฝุ่นไปเต็มๆ ปอด จากสถานการณ์นี้ส่งผลให้คนจำนวนไม่น้อยเลือกทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตในสถานที่ปิดแทน โดยเฉพาะสายออกกำลังกายที่ต้องงดวิ่งหรือออกกำลังกายในสวนสาธารณะ เพราะกังวลเรื่องสุขภาพและโรคทางเดินหายใจ  แต่แหม…เคยวิ่งชมนกชมไม้อยู่ดีๆ ต้องมาวิ่งในยิมคงเศร้าแย่ คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียเอาใจสายรักสุขภาพในช่วงเวลาที่สภาพแวดล้อมไม่ค่อยเอื้ออำนวย ด้วยการออกแบบพื้นที่สวนสาธารณะที่สามารถใช้งานท่ามกลางฝุ่นได้ อุ่นใจกับ ‘อุโมงค์ไร้ฝุ่น’ แน่นอนว่าการวิ่งในพื้นที่แบบเปิดโล่งย่อมเป็นสวรรค์ของนักวิ่งหลายคน เพราะนอกจากได้ออกกำลังกายแบบใจฟู ไม่ต้องพาตัวเองไปอยู่ห้องออกกำลังกายแบบปิดมิดทุกซอกทุกมุมแล้ว ยังได้ชมวิวทิวทัศน์ในระหว่างวิ่งไปด้วย แต่ถ้าฝุ่นเยอะแบบนี้ เราจะวิ่งข้างนอกแบบสบายใจก็คงไม่ไหว นำมาสู่นวัตกรรม ‘อุโมงค์ไร้ฝุ่น’ ที่จะมาตอบโจทย์ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้ทุกคนวิ่งกลางแจ้งได้แบบสบายใจ ด้วยการออกแบบให้ทุกๆ พื้นที่โล่งในเส้นทางมีพื้นที่ปลอดฝุ่นในรูปแบบอุโมงค์ที่คอยรองรับเหล่านักวิ่งให้ได้พักปอดตลอดเส้นทาง และยังสามารถพับเก็บในวันที่ไม่มีฝุ่นได้ด้วยนะ อุโมงค์ที่ว่านี้เป็นอุโมงค์โปร่งใสครอบคลุมถนนทางวิ่งทั้งสองเลน แถมยังติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อดึงไฟฟ้ามาใช้กับเครื่องฟอกอากาศภายใน เรียกว่าเป็นการวิ่งที่ทั้งรักปอดคนวิ่งและรักษ์โลกไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งการออกแบบอุโมงค์ในรูปแบบที่มองเห็นภายนอกยังทำให้เราชมนกชมไม้ได้เหมือนเดิม แวะ ‘ศาลาปลอดฝุ่น’ พักขา ผ่อนคลายปอด วิ่งมาเหนื่อยๆ นั่งพักตากแอร์เย็นๆ แบบไร้ฝุ่นใน ‘ศาลาปลอดฝุ่น’ กันไหม เพราะศาลาปลอดฝุ่นกระจายตัวอยู่ทุกที่รอบสวน และใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เช่นเดียวกันกับอุโมงค์ไร้ฝุ่น แตกต่างตรงที่ภายในศาลาจะใช้ ‘แอร์ฟอกอากาศ’ ที่นอกจากให้ความเย็นแบบฉ่ำปอดแล้ว ยังไร้กังวลเรื่องฝุ่นเพราะสามารถกรองมลภาวะในอากาศ รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ เพื่อทำให้อากาศภายในศาลากลายเป็นอากาศบริสุทธิ์ ให้เรานั่งพักได้แบบสบายกายสบายใจ […]

HUA LAMPHONG DESIGN WEEK 2025 สำรวจชีวิตคนในย่าน ตามไปมองความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในหัวลำโพง

แม้จะผ่านมาเกือบครึ่งทาง แต่เชื่อว่าหลายคนยังมีอีกหลายย่านใน Bangkok Design Week 2025 ที่ยังไม่ได้ย่างเท้าเข้าไปเยือนกัน เพราะครั้งนี้เทศกาลฯ จัดขึ้นในหลายย่านของกรุงเทพฯ แถมยังมีระยะเวลาจัดงานที่แตกต่างกัน เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเร่งรีบเก็บให้ครบทุกย่านเหมือนปีก่อนๆ วันนี้คอลัมน์ Events ขอพามาโฟกัสกันที่ย่านหัวลำโพงกับ ‘HUA LAMPHONG DESIGN WEEK 2025’ ที่ปีนี้จัดขึ้นเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 8 – 9, 15 – 16, 22 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ตั้งแต่ซอยพระยาสิงหเสนี, ชุมชนตรอกสลักหิน, ซอยสุนทรพิมล ไปจนถึงถนนรองเมือง โดยมี Co-Host ย่านเจ้าเดิมคือริทัศน์บางกอก (RTUS-Bangkok) นอกจากไฮไลต์ที่เราเลือกมาให้ทุกคนจับมือจูงแขนพาเพื่อนสนิทหรือคนรู้ใจไปเดินเที่ยววีกเอนด์นี้ ใครที่อยากรู้ว่าในหัวลำโพงมีกิจกรรมอะไรอีก เข้าไปดูได้ที่ t.ly/oiwM_ เพราะครั้งนี้หัวลำโพงจัดเต็มกับ 12 นิทรรศการ 1 เวิร์กช็อป 4 อีเวนต์ 1 เสวนา และ […]

ตามไปดูโปรเจกต์ Street Wise ที่ใช้งานสร้างสรรค์สร้างสีสันและภาพจำใหม่ๆ ให้ย่านปากคลองตลาดและบางลำพู

‘ปากคลองตลาด’ เป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งค้าขายดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ลองนึกภาพพื้นที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนขวักไขว่ ทางเดินเฉอะแฉะจากการพรมน้ำดอกไม้ให้สดใส กลีบดอกไม้ที่เคยสวยงามร่วงโรยลงบนถนน จะว่ามีชีวิตชีวาก็ใช่ แต่จะบอกว่าดูวุ่นวายด้วยก็ได้เช่นกัน ถึงอย่างนั้นหลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าวันหนึ่งปากคลองตลาดจะกลายเป็นย่านสร้างสรรค์ได้เหมือนกัน ส่วนหนึ่งของการที่ปากคลองตลาดได้ชื่อว่าเป็นย่านสร้างสรรค์นั้นมาจากการทำงานของ ‘หน่อง-รศ. ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์’ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และนักออกแบบผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนาพื้นที่และชุมชนหลายแห่ง อาจารย์หน่องไม่ได้มองแค่การพัฒนาพื้นที่อย่างเดียว แต่ยังนำความสร้างสรรค์ เปิดรับไอเดียใหม่ๆ และดึงจุดเด่นของบริบทพื้นที่มาทำให้พื้นที่ตรงนั้นเกิดความน่าสนใจมากขึ้นด้วย และในปีนี้อาจารย์หน่องก็ไม่ได้สร้างสีสันให้ย่านปากคลองตลาดแห่งเดียว แต่เธอยังกลับไปยังย่านเก่าที่เคยทำงานด้วยอย่าง ‘บางลำพู’ พร้อมกับการนำสิ่งที่น่าสนใจของย่านมาผนวกรวมเข้ากับความสร้างสรรค์ เพื่อส่งต่อความน่าสนใจของทั้งสองย่านสู่ผู้คนผ่านงาน Bangkok Design Week 2025 ในโมงยามที่เทศกาลงานสร้างสรรค์ประจำปีของกรุงเทพฯ กำลังดำเนินอยู่นี้เอง คอลัมน์ Art Attack ชวนอาจารย์หน่องมาคุยกันถึงโปรเจกต์ ‘Bangkok Flower Market Festival @Pak Khlong Talat’ และ ‘Bang Lamphu Festival @New World Shopping Mall’ ที่ได้รับทุน ‘Connections Through Culture’ ประจำปี 2024 […]

โฆษณาข้างรถเมล์ มีความชอบธรรมขนาดไหนในการบังทิวทัศน์

ในโลกทุนนิยมนั้นคงเป็นปกติที่เราจะเห็นโฆษณาสินค้ารายล้อมอยู่ตามที่ต่างๆ ตามความสร้างสรรค์ ตั้งแต่บนป้ายบิลบอร์ด ในโซเชียลมีเดีย จนไปถึงข้าง ‘รถเมล์’ รถเมล์ไม่ได้เป็นแค่รถสาธารณะที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารไปยังปลายทาง แต่ยังเป็นพื้นที่โฆษณารูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยนับว่าเป็น ‘สื่อเคลื่อนที่’ ที่ไม่ได้ตั้งอยู่กับที่เหมือนป้ายโฆษณาอื่นทั่วไป แต่จะวิ่งไปตามที่ต่างๆ รอบเมืองตลอดทั้งวัน โอกาสที่ผู้คนจะได้เห็นโฆษณาบนรถเมล์จึงมีมากกว่าด้วย อย่างไรก็ตาม แม้จะช่วยให้ผู้คนรับรู้ถึงการมีอยู่ของโฆษณานี้มากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าที่ผ่านมาโฆษณาบนรถเมล์จะไม่ใช่สิ่งน่าอภิรมย์สำหรับผู้โดยสารเท่าไร เพราะหลายครั้งก็ติดทับกระจกจนคนข้างนอกรถมองไม่เห็นข้างใน ส่วนคนข้างในรถก็มองเห็นแต่ร่องจุดเล็กๆ ชวนเวียนหัว ยิ่งถ้าฝนตกเมื่อไร ร่องเล็กๆ ที่เจาะไว้ก็มักมีน้ำซึมเข้ามาจนผู้โดยสารในรถแทบจะถูกตัดขาดการมองเห็นโลกภายนอกไปเลย ไม่ใช่แค่บดบังทัศนียภาพ แต่ยังชวนสงสัยไปถึงความปลอดภัยอื่นๆ เพราะรถเมล์บางคันติดโฆษณาทับประตูฉุกเฉินไปทั้งบาน ในขณะที่รถบางคันก็เว้นไว้ จนไม่รู้ว่าสรุปแล้วสามารถติดทับได้ไหม จากคำถามมากมายเหล่านี้ทำให้เกิดความสงสัยว่า แล้วโฆษณาบนรถเมล์ที่ผ่านหน้าเราทุกวันนี้อยู่อย่างถูกต้องแค่ไหน แล้วจะมีทางติดโฆษณาแต่ไม่บังวิวบ้างหรือเปล่า คอลัมน์ Curiocity ครั้งนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน โฆษณาข้างรถเมล์มีรูปแบบไหนบ้าง ปัจจุบันรถเมล์ในกรุงเทพฯ มีรูปแบบการติดโฆษณาข้างรถอยู่ 2 แบบด้วยกัน แบบแรกคือ ‘Full Wrap’ ซึ่งเป็นการติดโฆษณาทับตัวถังรถทั้งคัน และ ‘Half Wrap’ ซึ่งเป็นการติดทับเพียงแค่ช่วงครึ่งคันหน้าหรือตรงกลางของรถเท่านั้น ความแตกต่างระหว่างการติดโฆษณาแบบ Full Wrap และ Half Wrap อยู่ตรงที่ Full […]

1 2 3 22

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.