‘ประชาบาร์’ หมุดหมายใหม่ของนักดื่มหัวใจประชาธิปไตย ที่อยากเป็นพื้นที่ปลอดภัยคุยกันได้ทุกเรื่อง

ในยุคที่มีบาร์เปิดใหม่ทั่วทุกมุมเมือง คุณอาจสงสัยว่า ทำไมคอลัมน์ Urban Guide อยากชวนมา ‘ประชาบาร์’ เหตุผลแรก เพราะที่นี่เป็นทั้งบาร์และ Co-working Space ในที่เดียวกัน แถมยังเปิดตั้งแต่เย็นย่ำไปจนถึงดึกดื่น เหตุผลที่สอง นี่คือบาร์ของ ‘เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล’ นักกิจกรรมรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดคนหนึ่ง โดยเขาเปิดร่วมกับผองเพื่อนอย่าง ‘สิรินทร์ มุ่งเจริญ’ และมีผู้จัดการร้าน ‘วสิษฐ์พล ตังสถาพรพันธ์’ ดูแลอยู่ โดยมีร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อ ‘ประชาธิปไตยกินได้’ อยู่ด้านล่าง เหตุผลที่สาม นอกจากมีโต๊ะให้นั่งทำงาน มีหนังสือให้อ่าน และมีคราฟต์เบียร์จากชุมชนในไทยให้จิบ ในโอกาสพิเศษ ที่นี่ยังจัดฉายหนังและเสวนาการเมืองที่ชวนผู้สนใจมาถกเถียงกันในบรรยากาศสุดชิล เหตุผลสุดท้าย นี่คือสเปซที่ขับเน้นคอนเซปต์ประชาธิปไตยในความหมายการโอบรับทุกความหลากหลาย และอยากเป็นพื้นที่ที่คนมารู้สึกปลอดภัยมากพอจะสนทนาเรื่องการเมืองและทุกๆ เรื่องอย่างอิสระ บาร์บ้านเพื่อน Cozy และ Homey เหมือนอยู่บ้านเพื่อน คือไวบ์ที่เราสัมผัสได้หลังจากก้าวขาขึ้นมาบนชั้นสองของอาคาร สิ่งแรกที่เราเจอคือโต๊ะตั้งเรียงรายซึ่งมีลูกค้าจับจองนั่งทำงานอยู่ประปราย มีชั้นหนังสือให้หยิบอ่านเล่มที่สนใจตั้งอยู่ฝั่งขวา ตู้แช่เครื่องดื่มเย็นๆ ตั้งอยู่ข้างประตูทางเข้าฝั่งซ้าย ดนตรีฟังสบายกำลังบรรเลงขับกล่อม สิรินทร์กับวสิษฐ์พลผู้เป็นเจ้าบ้านชวนเรานั่ง ยกเฟรนช์ฟรายส์กับเครื่องดื่มสีสวยมาเสิร์ฟ ไม่ใช่ค็อกเทลหรือเบียร์ที่เราเห็นในบาร์ทั่วไป แต่เครื่องดื่มของพวกเขาล้วนเป็นคราฟต์เบียร์และสาโทของแบรนด์ไทยที่ผลิตโดยคนตัวเล็กในชุมชน “ร้านเรามีไวบ์แบบชิลๆ เครื่องดื่มแต่ละอย่างที่เราเลือกมาจึงเน้นให้ดื่มง่าย” […]

‘วนวน’ แพลตฟอร์มรวมร้านซ่อมใกล้บ้าน ที่อยากให้คนหันมาซ่อมและใช้ของที่มีอยู่วนไป

เวลามีเสื้อผ้าชำรุด ซื้อชุดมาแล้วเอวใหญ่กว่าที่คิด ขายาวกว่าที่คาด ทุกคนจัดการกับปัญหานี้ยังไงบ้าง เชื่อว่าหลายคนคงคิดถึงช่างซ่อมริมทางหรือร้านรับซ่อมเสื้อผ้าใกล้บ้าน ที่เดินผ่านก็บ่อย คิดอยากใช้บริการอยู่หลายครั้ง แต่พอโอกาสมาถึงก็เกิดกลัวขึ้นมาว่าจะซ่อมได้ไม่ถูกใจ หรือแม้แต่เริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะเข้าไปใช้บริการยังไงดี สุดท้ายกลายเป็นว่าต้องเก็บเสื้อผ้ารอซ่อมเหล่านั้นเข้าตู้ไปเหมือนเดิม เราอยากแนะนำคนที่มีปัญหานี้ให้รู้จักกับ ‘วนวน’ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวมข้อมูลความถนัดของร้านซ่อมน้อยใหญ่ พร้อมพิกัดที่อยู่และรีวิวจากผู้ใช้จริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดสังคมแห่งการซ่อม และกลุ่มคนที่ทำวนวนขึ้นมาไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ ‘Reviv’ คอมมูนิตี้อาสาที่ส่งเสริมให้คนหันมาซ่อมและใช้สินค้าซ้ำมากขึ้น ตามไปพูดคุยกับ ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’, ‘พั้นช์-พิมพ์นารา สินทวีวงศ์’, ‘หวาย-ณ.ดี กังวลกิจ’ และ ‘วาดเขียน ภาพย์ธิติ’ ตัวแทนทีมงานผู้พัฒนาวนวนขึ้นมา ถึงความตั้งใจที่อยากทำให้การซ่อมเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนจะคิดถึง และมีวนวนเป็นหนึ่งหนทางช่วยสนับสนุนช่างเย็บกลุ่มเปราะบางทั้งในและนอกพื้นที่เมืองหลวง “แม้กระทั่งคนในทีมเองยังรู้สึกเลยว่าการซ่อมเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก ถ้ามีเสื้อผ้าชำรุดสักตัว คนอาจจะเลือกซื้อใหม่เลยง่ายกว่า เพราะหลายครั้งเราอาจลืมนึกถึงร้านซ่อมใกล้ตัว ไม่รู้ข้อมูลว่าเขามีบริการซ่อมอะไรบ้าง เราเลยอยากทำแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้บริโภคกับช่างซ่อมขึ้นมา รวบรวมร้านซ่อมที่อยู่ในซอกซอยมาไว้ในแพลตฟอร์มเพื่อให้คนรู้สึกว่าการซ่อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว”  หวายผู้เป็น Product Manager ของเว็บแอปพลิเคชันนี้บอกให้ฟังว่า ไอเดียของวนวนคล้ายกันกับสมุดหน้าเหลืองเล่มหนาที่เป็นตัวช่วยรวบรวมข้อมูลร้านค้าและบริการไว้ในเล่มเดียว คนที่สนใจสามารถกดหาร้านซ่อมในละแวกบ้านของตัวเอง พร้อมอ่านข้อมูลการบริการ เบอร์โทร ที่อยู่ วิธีการจ่ายเงิน หรือกระทั่งรีวิวจากผู้ใช้จริงได้ “วนวนไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อบอกว่ามีร้านซ่อมอยู่ใกล้ตัวเยอะแค่ไหน แต่มีขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ณ โมเมนต์ที่คนต้องการจะซ่อม […]

สัมผัสวิถีชนบทในเมืองหลวงที่ ‘ชุมชนวัดจำปา’

ภาพจำของหลายคนที่มองมายังกรุงเทพฯ คือเหล่าตึกสูงระฟ้า รถราติดหนึบ และมลพิษจากย่านใจกลางเมือง แต่จริงๆ แล้ว กรุงเทพฯ ยังมีส่วนของชานเมืองรอบนอกที่ยังคงสภาพวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นชาวสวนผลไม้ที่ผูกพันกับสายน้ำลำคลอง อากาศสดชื่น และบรรยากาศที่แทบไม่ต่างอะไรกับต่างจังหวัด  ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ‘ตลิ่งชัน’ หนึ่งในเขตชานเมืองทางฟากตะวันตกของกรุงเทพฯ ที่หลายคนอาจคุ้นหูจากการเป็นทางผ่านลงภาคใต้ทางถนนเพชรเกษม หรืออาจพอได้ยินมาบ้างจากการเป็นแหล่งรวมคาเฟ่และร้านอาหารบนถนนบรมราชชนนีและถนนราชพฤกษ์ แต่ถัดเข้ามาจากถนนใหญ่หลายสายที่ตัดผ่านเขตนี้ ยังมีชุมชนเล็กๆ กลางสวนและบ้านจัดสรร ที่ยังคงเสน่ห์และวิถีชีวิตดั้งเดิมมากว่าร้อยปี จากเงาของตึกสูงที่ตกลงมาบนถนนใหญ่ใจกลางเมือง เปลี่ยนเป็นร่มเงาต้นไม้ที่ทาบลงบนถนนสายเล็กๆ ของชุมชนและบนผิวน้ำในคลองที่ใสสะอาด เรือหางยาววิ่งเสียงดังลั่นคุ้งน้ำเป็นสัญญาณต้อนรับ เหนือยอดไม้แทบไม่เห็นตึกสูง ฉากหลังของบ้านเรือนไทยเป็นท้องฟ้าสีสดใส ไร้ทัศนะอุจาดรบกวนเหมือนในเมือง ท่ามกลางเสียงจากธรรมชาติที่ได้ยินอยู่ตลอดเวลา เชื่อหรือไม่ว่าภาพเช่นนี้เห็นได้ด้วยการเดินทางจากในเมืองมาไม่นานนัก บรรยากาศของที่นี่ไม่ต่างอะไรจากสวนที่พบเจอได้ในจังหวัดอื่นๆ ผิดแต่ว่าที่นี่อยู่ในเขตของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศที่นับวันจะหาพื้นที่สีเขียวได้ยากขึ้นทุกที หลักฐานความเจริญของย่านตลิ่งชันที่ ‘วัดจำปา’  เราเดินเข้าสู่รั้ววัดจำปา พบกับ ‘พี่ดุ่ย-ทวีศักดิ์ หว่างจันทร์’ ตามนัดหมาย ประธานชุมชนวัดจำปาต้อนรับขับสู้ด้วยไมตรีจิต ก่อนนำเราตรงไปยังอุโบสถวัดจำปา พร้อมทั้งเล่าสารพัดเรื่องราวของวัดโบราณคู่ชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะเหล่าของดีมีราคา และของจากในราชสำนัก “หน้าบันอุโบสถประดับอ่างล้างหน้างานยุควิกตอเรีย สมัยรัชกาลที่ 4 ตอนนี้พบสองที่คือวัดจำปากับพระนครคีรี ที่นู่นสีเขียว ที่นี่สีชมพู อาจจะก่อนหรือหลังรัชกาลที่ 4” พี่ดุ่ยชวนเราเงยหน้ามองที่สิ่งอันซีนอย่างแรก เมื่อเข้าไปด้านในอุโบสถก็พบกับของอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือลูกกรงเหล็กสีทองด้านหน้าพระประธานในอุโบสถ […]

‘จ่าวอัน’ เปลี่ยนโกดังเก่าร้อยปีย่านเยาวราชเป็นคาเฟ่และบาร์ลับกลิ่นอายจีน

หากนิยามของร้านลับคือ ‘ร้านที่ไม่รู้ว่าไปอยู่ตรงนั้นได้ยังไง’ และ ‘ตัดออกจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง’ JAO.UN (จ่าวอัน) คาเฟ่และบาร์ลับในซอยเจริญชัย 2 ติ๊กถูกทุกข้อได้แบบง่ายๆ ต่างจากความพลุกพล่านบนถนนเยาวราชที่อยู่ไม่ไกลแบบลิบลับ จ่าวอันแทรกตัวอยู่ในชุมชนเจริญชัยที่เงียบสงบ ความน่าสนใจคือนอกจากเปิดเป็นคาเฟ่เสิร์ฟกาแฟและขนมในตอนกลางวัน และเปลี่ยนโหมดเป็นบาร์เสิร์ฟค็อกเทลและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ตอนกลางคืนแล้ว นี่ยังเป็นคาเฟ่ฝีมือลูกหลานชาวจีนอย่าง ‘ศิฑ-ศิรพงศ์ ศุภภัทรเศรษฐ์’ เจ้าของร้านอาหาร Zong Ter ที่จับมือกับเพื่อนสนิทอย่าง ‘กิ๊ฟท์-กนกกาญจน์ กมลเดช’ และ ‘โอ๊ธ-รวิภาส มณีเนตร’ มาช่วยกันทำ เพราะก่อตั้งโดยลูกหลานคนจีน บรรยากาศของร้านไปจนถึงเมนูเครื่องดื่มและอาหารจึงมีกลิ่นอายความเป็นจีนจางๆ สอดแทรกอยู่ในรายละเอียด และหลังจากที่ได้ลองนั่งสนทนากับเจ้าของร้าน เรื่องราวเบื้องหลังการออกแบบและคิดเมนูก็เอร็ดอร่อยไม่แพ้กัน 家庭 ครอบครัว ถ้าจะบอกว่า JAO.UN คือธุรกิจที่ต่อยอดมาจากธุรกิจอีกทีก็ไม่ผิด  การเปิดร้าน ZONG TER ธุรกิจที่ศิฑเปลี่ยนร้านยี่ปั๊วประจำครอบครัวให้กลายเป็นร้านอาหาร/คาเฟ่ ส่งผลให้เกิดคาเฟ่/บาร์แห่งนี้ที่เขาชวนเพื่อนๆ ชาวนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ อย่างโอ๊ธและกิ๊ฟท์มาช่วยกันทำ เรื่องของเรื่องคือ เมื่อครั้งยังทำร้านยี่ปั๊วที่เน้นการขายส่ง อากงของศิฑเซ้งบ้านเก่าอายุกว่า 100 ปีในชุมชนเจริญชัยไว้เป็นโกดังเก็บสต็อกสินค้า แต่เมื่อร้านยี่ปั๊วถูกยกเครื่องให้กลายเป็นซงเต๋อ โกดังจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป ครอบครัวของศิฑเลยปล่อยให้คนอื่นเช่าต่อ ทว่าเมื่อปลุกปั้นซงเต๋อจนถึงจุดที่ธุรกิจเริ่มเข้าที่เข้าทาง ศิฑเริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย  “เราไปร้านทุกวัน […]

วัตถุดิบนิยม เปลี่ยนเนื้อมะพร้าวเหลือใช้ให้เป็นโยเกิร์ตรักษาภูมิแพ้และซึมเศร้า

นิยามคำว่าอาหารที่ดีของคุณเป็นแบบไหน เป็นอาหารที่อร่อย ให้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน หรือทำมาจากวัตถุดิบหายาก สำหรับ ‘วีด้า-ภาวิดา กฤตศรัณย์’ อาหารที่ดีของเธอคืออาหารที่ดีต่อตัวเธอ และต้องดีต่อโลก นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอก่อตั้ง วัตถุดิบนิยม แบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพที่อยากสื่อสารให้ทุกคนได้เข้าใจเรื่องขยะอาหาร และเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างคนเมืองกับเกษตรกร ให้มาแชร์ความรู้และวัตถุดิบกันแบบที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ส่วนผู้บริโภคได้ความรู้และของกินกลับไป สินค้าตัวแรกของวัตถุดิบนิยมอย่าง ‘ไบโคเกิร์ต’ ก็มีคอนเซปต์ที่น่าสนใจมาก เพราะนอกจากจะเป็นโยเกิร์ต Plant-based ที่ทำจากเนื้อมะพร้าวเหลือทิ้งจากฟาร์มที่ราชบุรี ผสมรวมกับจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ซึ่งช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ซึมเศร้า และยังเป็นโยเกิร์ตที่ลูกค้าต้องลุ้นทุกครั้ง เพราะรสชาติจะเปลี่ยนไปทุกกระปุก! เช้าวันอากาศดี เรานัดพบกับภาวิดาเพื่อคุยกันถึงเรื่องราวเบื้องหลังธุรกิจของวัตถุดิบนิยม และความตั้งใจในการผลักดันแบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพจากกรุงเทพฯ ที่มีน้ำพักน้ำแรงของเกษตรกรในราชบุรีเป็นส่วนประกอบ กรุงเทพฯ ย้อนกลับไปยังจุดแรกเริ่ม วัตถุดิบนิยม ประกอบสร้างขึ้นจากความชอบในวิถีออร์แกนิกและเงื่อนไขด้านสุขภาพของภาวิดา อาจเพราะเติบโตในครอบครัวยากจนถึงขนาดต้องซื้อบะหมี่ชามเดียวมาแบ่งแม่และพี่น้องกิน ภาวิดาจึงรู้จักและสำนึกในคุณค่าของอาหารเสมอมา แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอเห็นความสำคัญของคำว่าออร์แกนิก เกิดขึ้นตอนไปเรียนปริญญาโทที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย  ราวปี 2537 ในยุคที่คำว่าออร์แกนิกยังไม่แพร่หลาย ผู้คนที่นั่นสอนให้ภาวิดาเข้าใจมันอย่างลึกซึ้งผ่านสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน คนที่เติบโตมากับการใช้ถุงพลาสติก ถูกสอนให้ล้างวัตถุดิบทุกอย่างก่อนนำมาปรุงอาหาร ภาวิดาประหลาดใจกับภาพการใช้ถุงตาข่ายของชาวออสซี่ในซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงการหยิบผักผลไม้จากบนเชลฟ์ให้เด็กๆ กินได้โดยไม่ล้าง เพราะพวกเขามั่นใจว่ามันปลอดสารเคมี ภาวิดาซึมซับภาพเหล่านั้นเป็นประจำ รู้ตัวอีกทีคำว่าออร์แกนิกก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างแยกไม่ออก หลังจากเรียนจบและกลับไทย เธอเข้าทำงานในฝ่ายการตลาดให้สื่อเว็บไซต์แห่งหนึ่งจนได้ขึ้นเป็นระดับผู้บริหาร […]

Chumanee (ชูมณี) : รถซักผ้าที่อยากให้ทุกคนเข้าถึงความสะอาด

8 มิถุนายนที่ผ่านมาคือ ‘วันซักผ้าและอาบน้ำแห่งชาติ’ เป็นครั้งแรกที่สถาปนาวันนี้ขึ้นมาเพื่อให้เห็นความสำคัญของการซักผ้าและอาบน้ำ เราเชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้ เป็นคนที่มีโอกาสได้อาบน้ำและซักผ้าทุกวันโดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ มารบกวนใจอย่างแน่นอน แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีคนอีกมากมายที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงกิจกรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวันเหล่านี้ และมีคุณภาพชีวิตที่แย่กว่าคุณจะจินตนาการถึงได้ เพียงเพราะไม่ได้ซักผ้าและอาบน้ำอย่างที่ควรจะเป็น ‘วันซักผ้าและอาบน้ำแห่งชาติ’ คืองานที่ Otteri wash & dry (อ๊อตเทริ วอช แอนด์ ดราย) ร้านสะดวกซักที่มีมากกว่า 700 สาขาทั่วไทย ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา นำรถซักผ้าเคลื่อนที่ ‘ชูมณี (Chumanee)’ มาบริการคนไร้บ้านให้อาบน้ำและซักผ้ากันฟรีๆ เป็นครั้งแรก ที่บริเวณหลังศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผม ในเขตพระนคร ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งที่คนไร้บ้านในกรุงเทพฯ อาศัยอยู่เยอะ เราถือโอกาสมาร่วมงานและนัดพบกับ กวิน นิทัศนจารุกุล ผู้บริหารของ Otteri Wash & Dry ที่งานนี้ เพื่อฟังเรื่องราวเบื้องหลังการเปิดตัวรถซักผ้าเคลื่อนที่คันแรกของไทย และพูดคุยถึงการยกเรื่องซักผ้าและอาบน้ำมาเป็นประเด็นสำคัญเพื่อสื่อสารกับคนทั้งประเทศ งานวันนี้มูลนิธิกระจกเงาได้ออกเดินแจกบัตรเชิญให้กับคนไร้บ้านมาเข้าร่วมงาน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและมีคนไร้บ้านเข้าร่วมมากกว่า 200 คน ภายในงานจะแบ่งออกเป็นหลายสเตชันเพื่อตอบสนองความต้องการของคนไร้บ้านเป็นหลัก โดยเริ่มจากบูทแรกที่ทุกคนต้องมาแวะคือ ‘แฟชั่นสัญจร’ ที่เปิดให้คนไร้บ้านได้ช้อปชุดใหม่ได้ฟรีๆ คนละ 1 […]

ผ่อนคลายกับบรรยากาศช่วงปลายปีที่ ICONSIAM

ช่วงปลายปีแบบนี้คือช่วงเวลาที่เหมาะกับการออกจากบ้านไปรับลมและอากาศดีๆ ริมแม่น้ำมากที่สุด อากาศแบบนี้ถ้าเราได้นั่งชิลๆ กินอาหารอร่อย กับบรรยากาศริมแม่น้ำ ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายไปได้เยอะ สถานที่ที่เรานึกถึงทุกครั้งและต้องมาเยือนเพื่อมาชมวิวโค้งน้ำที่สวยที่สุดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก็คือ ICONSIAM แลนด์มาร์กระดับโลกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มอบประสบการณ์ความรื่นรมย์ให้ทุกคนได้มาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ทุกวัน เพราะมีทั้งพื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นให้นั่งพักผ่อน คาเฟ่และร้านอาหารริมน้ำที่ได้รับลมเย็นๆ ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมของสิ่งที่ดีที่สุดของไทยที่ทำให้เราได้กินและได้ช้อปกันอย่างจุใจได้ตลอดวัน เหมาะชวนเพื่อนออกจากบ้านไปใช้เวลาด้วยกันทั้งวันแบบสุดๆ มาดูกันว่า 1 วันที่ ICONSIAM ในช่วงนี้มีที่ไหนน่าไปบ้าง Starbucks Reserve® Chao Phraya Riverfront  ถ้าหากถามว่าสตาร์บัคส์สาขาไหนสวยที่สุดในประเทศไทย เราขอส่ง Starbucks Reserve® Chao Phraya Riverfront ที่ตั้งอยู่บนชั้น 7 ของ ICONSIAM เข้าประกวด เพราะที่นี่เป็นสาขาที่ใหญ่ที่สุดและวิวดีที่สุดในประเทศไทย เพราะจะได้เห็นวิวแม่น้ำเจ้าพระยาแบบพาโนรามา มองเห็นอาคารเก่าย่านเจริญกรุงที่อยู่บริเวณฝั่งตรงข้าม เช่น สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส, โรงภาษีร้อยชักสาม, วัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ฯลฯ จึงไม่แปลกใจที่หลายคนเลือกให้เป็นที่นั่งพักผ่อน นั่งคุยงาน หรือแม้กระทั่งมานั่ง Work from Cafe เพราะเป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์และลมดีสุดๆ  นอกจากนี้ยังเป็นสาขาที่มีขนาดใหญ่และพื้นที่กว้างขวางกว่า 1,260 […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.