Animal and Wildlife Friendly City เมื่อคนกับสัตว์ต้องอยู่ร่วมกันในเมืองใหญ่ จะออกแบบป่าคอนกรีตยังไงให้เกิดสมดุล

ไอจีสตอรีคือพื้นที่ที่เราพบหมาแมวจรจัดมากที่สุด เพื่อนเราบางคนถ่ายภาพเจ้าขนปุยแสนน่ารัก พี่ที่รู้จักนำขนมไปให้ หรือกระทั่งเราเองที่ถ่ายวิดีโอเกาพุงให้น้อง แต่อย่าลืมว่าหลังจากมนุษย์แสนใจดีจากไป สัตว์จรเหล่านี้ต้องกลับไปเผชิญความโหดร้ายในสังคมเช่นเดิม ทั้งจากการถูกทำร้าย โรคติดต่อ หรืออุบัติเหตุ เมื่อการขยายตัวของเมืองผลักให้สัตว์ตาดำๆ กลายเป็นผู้ร้ายโดยไม่รู้ตัว ไม่ใช่เพียงหมาแมวจรจัดเท่านั้นที่กำลังเผชิญกับปัญหา เพราะสัตว์ในป่าคอนกรีตที่มาอาศัยอยู่เต็มเมืองอย่างหนูท่อ กระรอก อีกา นกพิราบ หรือแม้แต่ตัวเหี้ย ล้วนสร้างความไม่น่าอภิรมย์ในชีวิตประจำวันให้ชาวเมือง แถมยังเป็นพาหะเชื้อโรคหรือส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ อีกข้อน่ากังวลคือ ‘พฤติกรรมของสัตว์เมือง’ ที่กำลังเปลี่ยนไป และนับวันจะยิ่งก่อเรื่องปวดหัวมากขึ้น ทั้งกระรอกที่เปลี่ยนจากกินพืชมากินเนื้อและทิ้งซากศพไว้ทั่วเมือง หรือตัวเหี้ยที่เริ่มออกหาอาหารในบ้านคนแทนการลากไก่ไปกินในน้ำ ซึ่งหนึ่งในสาเหตุของพฤติกรรมเหล่านี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เกิดจากการที่เราไปพรากธรรมชาติในการใช้ชีวิตของพวกมัน หลายเมืองจึงเริ่มจริงจังกับการจัดการพวกสัตว์เหล่านี้ โดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การสร้างระบบนิเวศธรรมชาติ และการจัดการขยะ เพื่อทำให้คนกับสัตว์ในเมืองอยู่ร่วมกันได้ คำถามคือ ทำไมสัตว์ทั้งหมดทั้งมวลถึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเมืองต้องจัดการเพื่อหาสมดุลอย่างไร มาร่วมหาคำตอบในคอลัมน์ Curiocity ไปพร้อมๆ กัน ป่าคอนกรีตที่อุดมไปด้วยสัตว์เมือง ‘พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นของเรา’ คำตอบและความจริงจากเหล่าสัตว์ผู้วิมลที่ถูกมนุษย์ผู้มาทีหลังยึดครองบ้านมาเป็นของตน ในยุคที่ความเจริญของเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ธรรมชาติ กระทบต่อระบบนิเวศและชีวิตของสัตว์ป่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรุงเทพฯ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นบ้านของสัตว์หลากชนิด ปัจจุบันกลับเหลือเพียงเศษเสี้ยวของความหลากหลายทางชีวภาพที่เคยมีอยู่ เมื่อป่าเดิมถูกแทนที่ด้วย ‘ป่าคอนกรีต’ อาหารที่เคยมี ต้นไม้ที่เคยอยู่กลับอันตรธาน ทำให้พื้นที่สีเขียวในเมืองกลายเป็นแหล่งชุมชนเล็กๆ ของสัตว์ป่าอย่างเต่า ตัวเหี้ย […]

มองความเชื่อในผีและเอเลียนผ่าน DANDADAN ที่สะท้อนปัญหาสังคมที่น่ากลัวยิ่งกว่า

มนุษย์ชอบเรื่องลี้ลับตั้งแต่ตอนไหนคงไม่มีใครทราบ เพราะความกลัวคือหนึ่งในความบันเทิงของมนุษย์ที่มีมาอย่างยาวนานจวบจนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเรื่องภูตผีปีศาจ ตำนานเมือง เวทมนตร์ หรือในยุคร่วมสมัยที่เรามีทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) อ้างอิงหลักวิทยาศาสตร์อย่างเอเลียนหรือมอนสเตอร์ แต่จะเป็นอย่างไรถ้าทั้งสองเรื่องเหนือธรรมชาติถูกยำรวมกันจนกลายเป็นอนิเมะน้องใหม่ไฟแรงอย่าง ‘DANDADAN’ เรื่องราวแสนวายป่วงเริ่มขึ้นจาก ‘อายาเสะ โมโมะ’ (Ayase Momo) เด็กสาวมัธยมปลายผู้เชื่อในเรื่องผี และ ‘ทาคาคุระ เคน’ (Takakura Ken) หรือในอีกชื่อว่า ‘โอคารุน’ เด็กชายผู้เชื่อในเรื่องของสิ่งมีชีวิตต่างดาว ทั้งสองได้ท้าพิสูจน์ในสิ่งที่ตนเชื่อ และปรากฏว่าทั้งผีและเอเลียนดันมีอยู่จริงๆ เสียด้วย ทั้งคู่จึงต้องจำใจร่วมทีมฝ่าฟันต่อสู้กับพวกมัน ผ่านเรื่องราวแสน ‘กาว’ ที่พาให้เราหัวเราะเคล้าน้ำตาไปตลอดทั้งเรื่อง แม้ภายนอกอาจดูเหมือนอนิเมะโชเน็งพลังมิตรภาพตามปกติ แต่อย่าประมาทเด็ดขาด เพราะ DANDADAN พร้อมเสิร์ฟเนื้อหาหนักๆ ที่พาให้เราตับสั่นอยู่ไม่น้อย ทั้งประเด็นปัญหาสังคม การสูญเสีย ความโหดร้ายของมนุษย์ที่น่ากลัวเสียยิ่งกว่าผีหรือเอเลียน คอลัมน์เนื้อหนังจึงขอพาทุกคนมองย้อนกลับมาสำรวจความกลัวของมนุษย์อย่างรอบด้านอีกครั้ง และตั้งคำถามถึงสิ่งที่เราควรกลัวจริงๆ ว่าคืออะไรกันแน่ ความกลัวที่มนุษย์สร้างขึ้น “ถ้าเราเลี้ยงเด็กคนหนึ่งขึ้นมาโดยไม่ให้รับรู้เรื่องผีเลย เด็กคนนั้นจะกลัวผีหรือไม่” หนึ่งในคำถามที่ตั้งแง่เกี่ยวกับความกลัวของมนุษย์ เพราะหากเราร้อยเรียงประวัติศาสตร์ความกลัวของ ‘สัตว์โลก’ มนุษย์นั้นถือว่าแปลกออกไป สัญชาตญาณการเอาตัวรอดของคนและสัตว์ดูเหมือนคล้ายกันแต่ความจริงกลับแตกต่าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่กลัวสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สามารถทำอันตรายกับตัวมัน เช่น ความร้อนจากไฟ […]

สำรวจ ‘ฉงชิ่ง’ เมืองแห่งภูเขากับความซับซ้อนทางภูมิทัศน์และดาวรุ่งเศรษฐกิจจากการพัฒนาสถาปัตยกรรมล้ำยุค

นาทีนี้คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธความฮอตทั้งความเผ็ดชาและความนิยมของหมาล่าได้ แต่นอกจากความจัดจ้านจากพริกหมาล่าแล้ว เมืองผู้เป็นต้นกำเนิดหม้อไฟแสนอร่อยจากมณฑลเสฉวนอย่าง ‘ฉงชิ่ง’ เองก็กำลังร้อนแรงไม่แพ้กัน ฉงชิ่ง เป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน จากการปลุกปั้นโดยรัฐบาลในช่วงปลายยุค 90 ให้กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ แต่ด้วยภูมิทัศน์ประเทศที่เป็นภูเขาและเนินสูงต่ำมากมายจนเรียกได้ว่าเป็น ‘เมืองแห่งภูเขา’ จึงเป็นเหมือนข้อจำกัดหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงเมือง อย่างไรก็ตาม อุปสรรคเหล่านี้กลับกลายเป็นข้อดีในการสร้างเอกลักษณ์ด้านการวางผังเมือง ที่สามารถเชื่อมต่อระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น ทำไมรัฐบาลจึงเลือกเปลี่ยนเมืองชนบทกลางภูเขาให้กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในจีน รวมถึงแนวคิดการสร้าง ‘เมืองซ้อนเมือง’ เพื่อทลายข้อจำกัดด้านพื้นที่ และจุดยืนในการเป็นเมืองไฮเทคด้วยสถาปัตยกรรมล้ำสมัย ตามคอลัมน์ City in Focus ไปดูกัน เมืองซ้อนเมืองซ้อนภูเขาซ้อนถนน หากจะนิยามเมืองที่ ‘ซับซ้อน’ ฉงชิ่งคือตัวอย่างของเมืองที่มีผังเมือง ‘ซ้อน’ กันอย่างแท้จริง ด้วยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาล้อมรอบและเนินเขาลาดชัน อีกทั้งยังมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำสองสายสำคัญทั้งแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเจียหลิง จุดโดดเด่นแรกคงหนีไม่พ้นการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงาม แต่เมื่อรัฐเลือกให้เป็นพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจ การพัฒนาผังเมืองจำเป็นต้องยืดหยุ่นไปตามพื้นที่อย่างเลี่ยงไม่ได้ แนวคิดเมืองซ้อนเมืองจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับปัญหานี้ ตึกระฟ้า อาคารสูง และถนน ถูกสร้างขึ้นแตกต่างหลายระดับเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน อีกทั้งสะพานยกระดับข้ามแม่น้ำหรือบันไดวนสูงรอบภูเขาก็สามารถพบได้ทั่วไป จนทำให้มองเผินๆ ดูคล้ายกับว่ามีเมืองอีกเมืองหนึ่งซ้อนทับอยู่ด้านบน ด้วยความเป็นเอกลักษณ์​เกินปกติของผังเมือง การสัญจรภายในเมืองจึงซับซ้อนคดเคี้ยวราวกับเดินเขาอยู่ตลอดเวลา แต่ฉงชิ่งก็แก้เกมการเดินทางด้วยเทคโนโลยีด้านคมนาคมที่ราวกับหลุดออกมาจากหนังไซไฟอย่าง ‘รถไฟลอยฟ้าทะลุตึก’ เมื่อเศรษฐกิจเติบโต เทคโนโลยีจึงเติบใหญ่ เมื่อได้รับเลือกให้เป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศ ฉงชิ่งกลายเป็นที่ตั้งของบริษัทขนาดใหญ่กว่า 500 […]

เปิดข้อมูลสำรวจลานกีฬาทั่วกรุงเทพฯ อยากให้คนเมืองแข็งแรง แต่กลับไม่มีพื้นที่ให้ออกกำลังกาย

‘กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ’ หลายคนคงเผลอร้อง ‘ฮ้าไฮ้ ฮ้าไฮ้’ ตามหลังเสมือนกำลังอยู่ในช่วงกีฬาสีวัยเด็ก โดยเพลง ‘กราวกีฬา’ ได้แต่งขึ้นมากว่า 100 ปี เป็นหลักฐานที่ว่าประเทศไทยมีการส่งเสริมชาวสยามให้เล่นกีฬาออกกำลังกายมาอย่างยาวนาน สอดคล้องกับสำนวนโบราณแสนเชยที่เราฟังจนเอียนหู ‘การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ’ ฟังดูแล้วเหมือนจุดเริ่มของการลดโรคคือ ‘การออกกำลังกาย’ แต่การตามหาพื้นที่เล่นกีฬาในเมืองหลวงที่มีขอบเขตแสนจำกัดย่อมเป็นเรื่องที่ต้องพยายาม อย่างไรก็ตาม เรายังมี ‘ลานกีฬา’ พื้นที่สำหรับออกกำลังกายเพื่อสนับสนุนชาวเมืองให้มีสุขภาพแข็งแรง โดยกระจัดกระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ กว่า 1,126 แห่ง จุดประสงค์ของลานกีฬาคือ การอำนวยพื้นที่ในการออกกำลังกายให้ผู้รักสุขภาพ แต่ชาวกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งกลับส่ายหัว ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพื้นที่เหล่านี้อยู่ตรงไหน และเลือกที่จะยอมเสียเงินรายชั่วโมงเช่าสนามหรือคอร์ตแทน อีกทั้งในบางลานกีฬาคนทั่วไปกลับไม่สามารถเข้าถึงได้หรือมีเงื่อนไขเฉพาะตัว โดยใน ‘เมืองชีวิตดีๆ ที่ลงตัว’ กลับมีลานกีฬาสาธารณะเพียง 107 แห่งเท่านั้น สถานที่ตั้งลานกีฬาที่บางคนหาไม่เจอ เริ่มจากเรามาดูกันว่าลานกีฬาในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในสถานที่ไหนบ้าง สิริรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,126 แห่ง แบ่งเป็น 1) สถานศึกษา 419 แห่ง (37.21%)2) ลานกีฬาชุมชน 324 แห่ง […]

สิงคโปร์ พลิกฟื้นสลัมสู่เมืองแนวตั้งและชุมชนทันสมัย สร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด

จากชุมชนชาวประมงเล็กๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเกาะภูเก็ตเพียงเล็กน้อย ปัจจุบัน ‘สิงคโปร์’ กลายเป็นหนึ่งในประเทศศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยโอกาสและเม็ดเงินมหาศาลจากทั่วโลก แต่ถึงอย่างนั้น ทุกเมืองทุกพื้นที่ย่อมมีข้อจำกัดของตัวเอง ด้วยความที่เป็นเกาะขนาดเล็กและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะแรงงานต่างชาติ ทำให้ดินแดนแห่งเมอร์ไลออนกลายเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ติดอันดับหนึ่งในสามของโลกอยู่เสมอ แต่ด้วยความสามารถในการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้สิงคโปร์ยังรองรับผู้คนจากทั่วโลกได้โดยไร้ข้อบกพร่อง ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายการสร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยด้วย ‘HDB Flat’ หรือแฟลตรัฐบาลที่เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในราคาที่จับต้องได้ และนอกจากโมเดลที่อยู่อาศัยแนวตั้งสำหรับชาวสิงคโปร์ อีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงความท้าทายใน ‘แฟลตของประชาชน’ ที่ยังมีข้อจำกัดในกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นงานของรัฐบาลที่ต้องหาทางแก้ไขต่อไป จากชุมชนแออัดสู่ตึกอาคารชุดโดยรัฐ หลังจากหลุดพ้นการเป็นหนึ่งในอาณานิคมของประเทศอังกฤษในปี 1959 เกาะสิงคโปร์ต้องเผชิญกับคลื่นผู้อพยพจากผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งชาวจีน อินเดีย และมาเลเซีย ซึ่งทั้งหมดได้กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศในเวลาต่อมา ด้วยเหตุดังกล่าว ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ในปี 1960 รัฐบาลสิงคโปร์นำโดยนายกรัฐมนตรี ‘ลี กวน ยู’ ได้เริ่มต้นวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยจัดตั้ง Housing & Development Board (HDB) หรือหน่วยการเคหะแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย โดยรัฐบาลได้กว้านซื้อที่ดินสลัมทั่วประเทศและเปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับพัฒนาเมือง  ปัจจุบันประชากรในสิงคโปร์กว่า 80 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ใน HDB แฟลต ซึ่งเป็นตึกที่อยู่อาศัยแนวตั้งเพื่อป้องกันปัญหาความแออัด โดยที่รัฐเป็นผู้วางแผนทั้งหมด ผู้เช่าอาศัยจะได้รับสิทธิ์อยู่อาศัยเป็นเวลา […]

ทำไมซอยแคบถึงเป็นตัวร้ายในการพัฒนาเมือง และเมืองที่จัดการกับความคับแคบให้กลายเป็นประโยชน์

‘ความแคบ’ เป็นคำที่ฟังดูไม่น่าอภิรมย์เท่าไหร่ หลายต่อหลายคนเกลียดความแคบจนเกิดเป็นโรคกลัวที่แคบ เพราะใครจะอยากนำตัวเองเข้าไปในที่แสนอึดอัด โดยเฉพาะ ‘ซอยแคบ’ ที่ทั้งเดินเท้าลำบาก รถยนต์เข้ายาก แต่ดันง่ายต่อการหลงทางอย่างที่ Google Maps ก็ช่วยไม่ไหว ทางแคบเหล่านี้เกิดจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว และขาดการจัดการผังเมืองที่ดีจนนำไปสู่ปัญหาซอยขนาดเล็กผุดขึ้นทั่วทั้งเมือง รวมถึงซอยตันซึ่งเกิดจากเอกชน เมื่อดินเริ่มพอกหางหมู ปัญหาอื่นๆ ก็เดินเท้าเรียงตามกันมา แต่ทุกเมืองย่อมมีบริบทที่แตกต่างกัน ในบางครั้งซอยแคบดันกลายเป็นฮีโร่ในการแก้ปัญหาอย่างคาดไม่ถึงทั้งเรื่องความปลอดภัยและมลภาวะ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมองว่าซอยแคบเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ดังนั้นคอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนลงเดินสำรวจซอยแคบทั่วโลก เพื่อส่องปัญหาและการจัดการในแต่ละบริบท จนไปถึงด้านสว่างของซอยแคบ ซอยแคบ ซอยตัน กับการเป็นปัญหาเรื้อรัง ‘ผังเมืองกรุงเทพฯ’ คือความโกลาหล ซอยเล็กถนนน้อยหรือตึกพาณิชย์ที่ตั้งติดกับบ้านคน อาจเรียกได้ว่าเราเริ่มผิดตั้งแต่กระดุมเม็ดแรก ซึ่งซอยแคบคือหนึ่งในผลพวงที่ตามมา ทั้งการจราจรที่ติดขัดในซอย ความปลอดภัยในการเดินเท้า ขนส่งสาธารณะที่เข้าไม่ถึง ทำให้รถยนต์กลายเป็นสิ่งจำเป็น ยังไม่นับรวมความแออัดของชุมชน ลามไปถึงรถพยาบาล รถกู้ภัย หรือรถดับเพลิงที่บางครั้งไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเพราะความคับแคบของถนน ‘ปัญหาเมืองแตก’ เรื้อรังอยู่กับกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน อีกทั้งการคิดแก้ปัญหาโดยการวางผังและรื้อเมืองใหม่ทั้งหมดยิ่งฟังดูเป็นไปไม่ได้เข้าไปใหญ่ ตัวอย่างเมืองในต่างประเทศที่เผชิญปัญหาคล้ายๆ กันคือ อิตาลีกับการมีซอยแคบในเขตเมืองเก่า ที่เกิดจากการตัดถนนในสมัยที่ยังไม่มียานพาหนะขนาดใหญ่ แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากสำหรับรถยนต์ในการสัญจรบนทางรถม้าที่คับแคบและถนนไม่เอื้ออำนวย ทำให้บางซอยแคบเสียจนยานพาหนะปัจจุบันไม่สามารถผ่านได้ ส่งผลให้จราจรติดขัดอยู่เป็นครั้งคราว แต่จะให้มองเพียงแง่ร้ายคงไม่ได้ เพราะซอยแคบตัวแสบกลับใช้ข้อจำกัดของตัวเองสร้างประโยชน์ให้กับเมืองได้อย่างน่าสนใจในหลายๆ […]

‘ความมืดนั้นสำคัญไฉน’ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดกับผลกระทบต่อเมือง ธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต

‘ฟ้ามืดทีไรมันเหงาทุกคืน’ ท่อนหนึ่งในเพลงฟ้ามืดทีไร ของวง Dept ว่าไว้อย่างนั้น อย่างที่คุ้นชินกันว่า ความมืดมักถูกยึดโยงกับสิ่งไม่ดี ชั่วร้าย ความเศร้าซึม หรือความเหงา แต่แท้จริงแล้วความมืดมิดยามค่ำคืนกลับมอบสุนทรียศาสตร์ที่ไม่มีสิ่งไหนสามารถแทนที่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า อุปสรรคใหญ่ที่คอยขัดขวางความมืดคือมลภาวะทางแสงยามค่ำคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม โดยที่ไม่รู้ถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ ทั้งต่อสัตว์ป่าและระบบนิเวศในตอนกลางคืน แน่นอนว่ารวมถึงการศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่จำเป็นต้องพึ่งพาความมืดมิดในการสังเกตธรรมชาติและดวงดาว จนนำไปสู่การจัดตั้ง ‘เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ ด้วย ในประเทศไทยรวมถึงทั่วโลกเริ่มมีการพูดถึงและเพิ่มจำนวนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดมากขึ้นทุกปี คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนลดแสงไฟ มุ่งหน้าสำรวจความมืดมิดถึงที่มาของเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ความสำคัญของความมืดต่อเมือง และตัวอย่างนโยบายการจัดการแสงสว่างจากทั่วโลก เมื่อเมืองสว่างเกินไปจนลดความมืดของธรรมชาติ แสงรถ แสงไฟจากตึกรามบ้านช่อง และการใช้งานแสงสว่างด้านอื่นๆ ของมนุษย์ ล้วนเติบโตขยายตามขนาดของเมืองและเทคโนโลยีในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 จนเกิดการใช้แสงสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดมลพิษทางแสงที่ลดความมืดของท้องฟ้าในยามค่ำคืนตามมา ทั้งเรื่องเล่าจากดวงดาว ทางช้างเผือกที่พาดผ่านในยามค่ำคืน และจินตนาการในอวกาศอันไกลโพ้นล้วนค่อยๆ ถูกลบหายไปพร้อมกับแสงสว่างจ้าที่บดบังความสวยงามในธรรมชาติ มิหนำซ้ำแสงเหล่านี้ยังรบกวนพฤติกรรมของสัตว์ป่าและการนอนหลับของมนุษย์อีกด้วย แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจมลภาวะทางแสงเสียก่อน ‘มลภาวะทางแสง’ คือแสงสว่างที่ปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน ซึ่งเกิดจากการติดตั้งแหล่งกำเนิดแสงอย่างไม่ถูกต้อง ไม่ได้ควบคุมปริมาณและทิศทางให้เหมาะสมกับบริเวณที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้แสงเหล่านี้ส่องสว่างไปบนท้องฟ้า ส่งผลให้ท้องฟ้าที่เคยมืดมิดกลับไม่มืดสนิทอย่างที่ควรจะเป็น เราสามารถแบ่งมลพิษทางแสงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แสงเรืองบนท้องฟ้า แสงจ้าบาดตา และแสงรุกล้ำ […]

Urban Legend ล้อมวงเล่า 5 เรื่องลี้ลับประจำเมือง ที่สร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยในสังคม

สำหรับมนุษย์ ‘ความกลัว’ คือเครื่องมือสำหรับควบคุมพฤติกรรมของคนตั้งแต่สมัยโบราณที่ยังไม่มีกฎหมายชัดเจน เทพเจ้า ศาสนา และสิ่งเหนือธรรมชาติมักถูกยกขึ้นเป็นบทลงโทษสร้างความเกรงกลัวในการกระทำผิด สิ่งเหล่านี้ตกทอดหลงเหลือมาในคราบของตำนานและเรื่องเล่า แม้ปัจจุบันโลกจะหมุนนำด้วยหลักวิทยาศาสตร์ แต่ความกลัวในสิ่งเหนือธรรมชาติยังคงมีในสังคม ส่งผลให้เกิดการสร้างเรื่องราวใหม่เพื่อเป็นบทเรียนเตือนใจให้ความปลอดภัยในสังคม เราจึงยังเห็นเรื่องสยองขวัญประจำเมืองอย่าง ‘Urban legend’ ที่ปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ Kuchisake-onna (หญิงสาวปากฉีก) – ญี่ปุ่นอย่าคุยกับคนแปลกหน้า ถ้าไม่อยากเจอพี่สาวปากฉีก ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในแหล่งรวมเรื่องสยองขวัญ แต่หากพูดถึงเรื่องราวที่โด่งดังที่สุดและพบได้ในหลายเมืองคงหนีไม่พ้น ‘Kuchisake-onna’ ยามโพล้เพล้ในที่เปลี่ยว หญิงปริศนามักจะปรากฏตัวโดยสวมหน้ากากหรือผ้าปิดปากไว้ และถามผู้โชคร้ายที่เดินผ่านว่า ‘ฉันสวยไหม’ หากตอบว่า ‘ใช่’ เธอจะถอดหน้ากากออก เผยให้เห็นปากที่ฉีกขาด แล้วถามคำถามเดิมอีกครั้ง ถ้าตอบว่า ‘ไม่’ เธอจะฆ่าคนคนนั้นทันที แต่ถ้าตอบว่า ‘ใช่’ เธอจะใช้กรรไกรตัดปากของผู้ตอบให้เป็นเหมือนเธอ แม้ฟังดูสยองขวัญ แต่หญิงสาวปากฉีกมักปรากฏตัวเฉพาะเวลาโพล้เพล้หรือตอนกลางคืนเท่านั้น เป้าประสงค์ที่แท้จริงคือการเตือนใจให้ระมัดระวังในการเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้า โดยเฉพาะเด็กที่ควรรีบกลับบ้าน ไม่เถลไถลหรือคุยกับคนที่ไม่รู้จัก The Hookman (ชายมือตะขอ) – มิชิแกน, สหรัฐอเมริกาเตือนใจคู่รักที่มักชอบสนุกกันในที่เปลี่ยว สหรัฐอเมริกามีภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ ทำให้ตำนานประจำเมืองมีความหลากหลายต่างออกไป แต่เรื่องราวของ ‘The Hookman’ จากรัฐมิชิแกนยังคงร่วมสมัยตั้งแต่อดีตยุค 60 […]

สำรวจความวายป่วงของสัตว์ป่า ที่เข้ามาทำซ่าในเมืองมนุษย์

ในปี 1659 ตัวแทนจาก 5 เมืองตอนเหนือของอิตาลีรวมตัวกันพิจารณาคดีโดยมีจำเลยเป็น ‘หนอนผีเสื้อ’ ที่ถูกชาวบ้านร้องทุกข์ว่า หนอนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่และลักทรัพย์จากสวนผลไม้ โดยมีการออกหมายให้หนอนผีเสื้อมารายงานตัวกับศาล แน่นอนว่าไม่มีหนอนตัวไหนมาตามนัด แต่คดีก็ยังดำเนินการต่อไป และศาลตัดสินยอมรับสิทธิ์ให้หนอนผีเสื้อใช้ชีวิตอย่างอิสรเสรีและมีความสุข โดยจะต้อง ‘ไม่เบียดเบียนความสุขของมนุษย์’ นี่คือหนึ่งตัวอย่างของคดีจากคำนำหนังสือ ‘ป่วนปุย เมื่อธรรมชาติทำผิดกฎมนุษย์’ ผลงานจาก ‘แมรี โรช’ นักเขียนขายดีของ The New York Times ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวความซับซ้อนในปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์ จากกระบวนการยุติธรรมที่แปลกประหลาด กับการใช้กฎหมายของมนุษย์ตัดสินการกระทำของเหล่าสัตว์ที่ไม่มีทางเข้าใจเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือศีลธรรมอันดี ไปจนถึงคดีลักทรัพย์ ก่อกวน หรือการฆาตกรรม ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกจากสิ่งมีชีวิตผู้ไร้เดียงสา หากจะลดความอุกฉกรรจ์ลงมาหน่อย ก็คงเป็นปัญหาที่พบเจอได้ทั่วไปอย่างปัญหาสัตว์ที่ไม่ยอมข้ามถนนบนทางม้าลาย นกนางนวลที่ทำลายทรัพย์สินสาธารณะอย่างไม่มีเหตุผล สัตว์ฟันแทะที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าลิงที่ฉลาดในการกลั่นแกล้งมนุษย์ เมื่อเหตุร้ายเกิดจากสัตว์ป่าแสนน่ากลัว มนุษย์บางคนก็ลุกขึ้นจับอาวุธทำร้ายสัตว์เหล่านั้น โดยไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันใช่ผู้ร้ายตัวจริงหรือไม่ แมรีจึงพาเราเข้าสู่กระบวนการสืบสวนด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการตามหาสัตว์ร้ายผู้กระทำความผิด และทวงคืนความยุติธรรมให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ แกะรอยสืบสาวหาสัตว์ร้ายและทวงคืนความยุติธรรม พบศพชายคนหนึ่งนอนตายอยู่ริมถนน สภาพศพเละเทะ เสื้อผ้าฉีกขาด คาดว่าเกิดจากการถูกสัตว์ป่าโจมตี คดีทำนองนี้มักเกิดขึ้นในตอนเหนือของประเทศแคนาดาและอเมริกาที่คุณพบสัตว์ป่าได้เป็นเรื่องปกติ แต่สัตว์ร้ายตัวไหนกันที่ก่อเหตุอุกฉกรรจ์ขึ้นกลางเมืองแบบนี้ ก่อนจะมาเขียนหนังสือเล่มนี้ แมรีเข้าอบรมหลักสูตร ‘WHART หรือ […]

‘โมนาโก’ เมืองที่ใช้คาสิโนสร้างชาติ พลิกฟื้นเศรษฐกิจทั้งประเทศด้วยธุรกิจการพนัน

‘การพนันไม่เคยทำให้ใครรวย’ ประโยคข้างต้นอาจมีมูลความจริงอยู่ไม่น้อยสำหรับบางสังคม แต่แนวคิดนี้ไม่สามารถใช้ได้กับ ‘ราชรัฐโมนาโก’ (Monaco) ประเทศขนาดเล็กอันดับสองของโลก ที่สามารถกู้วิกฤตเศรษฐกิจจนร่ำรวยด้วยธุรกิจคาสิโน ภาพจำของโมนาโกสำหรับหลายคนคือเมืองแห่งความร่ำรวยหรูหรา ท่าเรือที่เต็มไปด้วยเรือยอช์ตจอดเรียงรายริมชายฝั่ง สถาปัตยกรรมที่สวยงามราวกับหลุดมาจากนิยาย หรือเส้นทางถนนเก่าแก่สำหรับการแข่งขัน ‘โมนาโก กรังด์ปรีซ์’ (Monaco Grand Prix) แต่รู้หรือไม่ ก่อนโมนาโกจะกลายเป็น ‘สนามเด็กเล่นของคนรวย’ ประเทศนี้ต้องเผชิญกับปัญหาการสูญเสียรายได้มหาศาลหลังจากแยกตัวออกจากฝรั่งเศส กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘มอนติคาร์โล’ (Monte Carlo) คาสิโนเก่าแก่ผู้กลายเป็นหัวหอกพลิกฟื้นนำประเทศไปสู่ความร่ำรวยจากเม็ดเงินของนักเสี่ยงโชคทั่วโลก เพราะเหตุใดคาสิโนเพียงหนึ่งแห่งถึงพลิกฟื้นเศรษฐกิจทั้งประเทศได้ และความท้าทายของเมืองแห่งความร่ำรวยอย่างโมนาโกมีอะไรบ้าง ตามไปหาคำตอบได้ในบทความนี้ ฟื้นฟูเมืองด้วยธุรกิจคาสิโน ภายหลังการรับรองเอกราชจากฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1861 ประเทศโมนาโกจำเป็นต้องเริ่มต้นวางระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ใกล้ล้มละลายใหม่อีกครั้ง จากดินแดนเล็กๆ ที่มีพื้นที่เพียง 0.81 ตารางไมล์ ทรัพยากรธรรมชาติแทบไม่มี พื้นที่ใช้สอยก็น้อยนิด ข้อจำกัดมากมายเหล่านี้นำพวกเขาไปสู่ลู่ทางธุรกิจใหม่ที่ยังคงผิดกฎหมายในประเทศโดยรอบในสมัยนั้นอย่าง ‘คาสิโน’ คาสิโนแห่งแรกของประเทศสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1865 แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ต่อมาโมนาโกได้สร้างคาสิโนแห่งใหม่อีกครั้งที่เมืองมอนติคาร์โล ผนวกกับเส้นทางรถไฟสายใหม่จากกรุงปารีสมายังโมนาโก ที่สร้างความสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้นหลายเท่า ทำให้นักเสี่ยงโชคจากทั่วยุโรปหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก คาสิโนมอนติคาร์โลจึงประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจนประเทศกลับมาร่ำรวยอีกครั้ง ถึงอย่างนั้น คาสิโนแห่งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความมั่งคั่งที่สืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน เนื่องจากรัฐที่เห็นโอกาสตรงนี้ได้ต่อยอดจากเพียงคาสิโนหนึ่งแห่ง กลายเป็นนโยบายและสิทธิประโยชน์เอาใจคนรวยอย่างการ ‘ยกเลิกภาษีเงินได้’ […]

ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีปัญหารถเก่าใช้งานไม่ได้ทิ้งตามรายทางอยู่เต็มไปหมด

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีประชากรต่อพื้นที่หนาแน่นมากที่สุดในประเทศไทย ทุกพื้นที่มีความสำคัญและมูลค่าที่ทุกคนต้องแย่งชิง ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่ของรถยนต์ ด้วยระบบขนส่งมวลชนของบ้านเราที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อรถยนต์ส่วนตัวเพื่อความสะดวกสบาย บ้านบางหลังมีรถยนต์มากกว่าหนึ่งคันแต่กลับไม่มีที่จอด เราจึงพบเห็นผู้จอดรถไว้ตามริมทางได้ทั่วเมือง บางคันเป็นรถเก่าที่ไม่มีที่เก็บและปล่อยทิ้งไว้เลยตามเลยจนกลายสภาพเป็น ‘ซากรถ’ ซากรถจำนวนมากถูกทิ้งด้วยความมักง่าย เกิดเป็นปัญหาสะสมที่ขัดขวางทั้งทางคนเดินและทางเดินรถ อีกทั้งยังเป็นแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยสร้างความสกปรกให้กับพื้นที่ ถึงอย่างนั้น ต้นตอของปัญหาซากรถเต็มเมืองอาจมีมากกว่าจิตสำนึกของคน เพราะกฎหมายและนโยบายการจัดการซากรถเองก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงต้นตอของปัญหาการทิ้งซากรถ ทั้งค่าใช้จ่ายจุกจิกในการกำจัดรถ ขั้นตอนการดำเนินการที่มากมาย และนโยบายการแก้ไขที่ทางภาครัฐกำลังทำอยู่ ขั้นตอนมากมายกับค่าใช้จ่ายท่วมหัวในการกำจัดรถ คงไม่มีเจ้าของรถคนไหนอยากปล่อยรถของตนทิ้งไว้ริมทาง แต่ด้วยค่าซ่อมแซมที่มากโขในช่วงเศรษฐกิจซบเซา หรือจะขยายพื้นที่ทำที่จอดรถก็จำเป็นต้องใช้เงินสูง ส่งผลให้บางคนเลือกปล่อยเลยตามเลยทิ้งรถไว้ริมทางโดยไม่สนใจผลกระทบต่อสาธารณะ ครั้นจะเป็นพลเมืองดีนำรถไปกำจัด พอเห็นค่าใช้จ่ายและขั้นตอนก็ทำเอาหลายคนถอดใจไปก่อน ประกันภัยรถยนต์เป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับการกำจัดรถที่น่าสนใจ เพราะหากรถยนต์คันหนึ่งเสียหายหนัก ต้องจ่ายค่าซ่อมมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทุนประกัน เจ้าของรถสามารถเลือกขายซากรถคันนั้นให้ทางบริษัทประกัน เพื่อรับค่าชดเชยทุนประกันได้ทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีประกันภัยรถยนต์ซึ่งรถเก่าส่วนใหญ่มักไม่มีอยู่แล้ว เจ้าของรถจำเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองทั้งหมด ทั้งเรียกรถมายก ตรวจสภาพ ดำเนินเรื่องซื้อขายกับอู่ที่รับซื้อ และเตรียมเอกสารแจ้งกับทางขนส่ง ซึ่งแน่นอนว่าทุกขั้นตอนจำเป็นต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ทำให้หลายคนเลือกปล่อยทิ้งซากรถเหล่านั้นไว้ริมถนนเพราะเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด แต่สำหรับผู้มีทุนทรัพย์ที่พร้อมจ่ายค่าดำเนินการต่างๆ ก็ใช่ว่าจะทำได้สะดวกสบาย เพราะยังต้องพบเจอกับปัญหาสุสานรถยนต์หรือสถานที่กำจัดรถอย่างถูกต้องที่มีไม่เพียงพอ จนกลายเป็นการสร้างมลพิษจากการกำจัดรถยนต์ที่ไม่ถูกวิธี ขาดแคลนสถานที่กำจัดซากรถ แถมยังสร้างมลพิษ สถานที่ในการกำจัดรถยนต์ส่วนใหญ่มักตั้งอยู่นอกเมือง เพราะต้องใช้เนื้อที่กว้างขวางในการปฏิบัติงาน แค่ลำพังการหาพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ก็เป็นเรื่องยากระดับหนึ่ง แต่การได้รับการยินยอมจากชาวบ้านในพื้นที่อาจยากยิ่งกว่า […]

รู้จัก Heat Wave คลื่นความร้อนตัวร้าย กับวิธีการรับมือและนโยบายป้องกันประชากรจากทั่วโลก

“เขาว่ากันว่า ประเทศไทยมีสามฤดูคือ ร้อน ร้อนมาก ร้อนที่สุด” นี่คือคำพูดประชดประชันที่สะท้อนถึงความร้อนระอุของอากาศประเทศไทยที่เราไม่อยากชินชา แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกปีนั้นไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เนื่องจากปัญหาอากาศร้อนสามารถส่งผลต่ออารมณ์และสภาพสังคม ซึ่งในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และหนึ่งในสาเหตุหลักคือ ‘Heat Wave’ หรือคลื่นความร้อน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) ได้กำหนดนิยามของคลื่นความร้อนว่า ภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจำวันเกินค่าอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน แน่นอนว่าในบรรดาประเทศที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ล้วนได้รับผลกระทบมากมายจากความร้อนที่สะสมในพื้นที่ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชียที่เกิดความผิดปกติของอุณหภูมิอากาศค่อนข้างมาก ทำให้ในแต่ละปีจะมีผู้คนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน (Heat-related Illness) เป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างฉับพลันได้ ทำให้ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อน ประชาชนในหลายพื้นที่มีอัตราการใช้พลังงานสูงขึ้น เพราะต้องใช้เครื่องปรับอากาศทำความเย็น จนส่งผลให้บางพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งปัญหาคลื่นความร้อนยังส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายในปริมาณมาก รวมถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์อีกด้วย  จากที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อผู้คนทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องประกาศนโยบายและแนวทางการแก้ไขเพื่อรับมือกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นทุกปีๆ นโยบายมาตรการรับมือคลื่นความร้อนจากทั่วโลก คลื่นความร้อนสร้างปัญหาให้เมืองมากกว่าแค่ทางความรู้สึก เพราะมันส่งผลถึงทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ รวมไปถึงปัญหาด้านพลังงาน ทำให้หลายประเทศสร้างแผนรับมือคลื่นความร้อน ซึ่งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ ยกตัวอย่าง ประเทศฝรั่งเศส ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้งการสร้างอาคารทนความร้อน โดยเฉพาะสถานที่สาธารณะ เช่น […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.