@เปิ้น Don Moo Din จากงานอดิเรกสู่อาชีพนักปั้นเซรามิก I Somebody Ordinary | EP.6

เมื่อเส้นทางชีวิตแรกเริ่มไม่ได้บันดาลให้สาวคนนี้เป็นนักปั้นเซรามิก แต่ด้วยใจรัก สุดท้ายเธอได้มาเป็นนักปั้นเซรามิกอย่างที่ใจหวังในถิ่นบ้านเกิดของตัวเอง นี่คือเรื่องราวของ เปิ้น Don Moo Din นักปั้นเซรามิกที่บอกเล่าเรื่องราว วัฒนธรรม ลงบนจาน ชาม แก้วน้ำ และสารพัดเครื่องปั้นที่เธอทำ บวกกับเก๋ไก๋ในดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ อย่างแก้วที่หูพับเป็นทรงยับๆ ที่ไม่ว่าคุณจะถนัดซ้ายหรือขวาก็จับได้ถนัดมือ แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าคุณอยากได้เพิ่มต้องขอแสดงความเสียใจด้วย เพราะวัตถุดิบที่นำมาผลิตแต่ละครั้งมีลักษณะเฉพาะที่ทำให้เสน่ห์ของชิ้นงานเซรามิกที่ปั้นมีความแตกต่างกัน เหมือนที่พี่เปิ้นบอกเราว่า “ทุกอย่างเราไปบังคับอะไรไม่ได้หรอก ทุกคนมีตัวตน และคุณสามารถเลือกได้นะ” การพูดคุยกับเธอจะดี จะสุด จะมัน ขนาดไหน มาดูกัน! #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #SomebodyOrdinary #DonMooDin #เซรามิก #เครื่องปั้นดินเผา

EV กับอนาคตลมหายใจคนไทย

จากการศึกษาของธนาคารเกียรตินาคินภัทร ที่ประเมินออกมาว่าแรงดึงดูดต่อการลงทุนในไทยต่ำลง มีความเสี่ยงที่โลกจะไม่ได้สนใจไทยอย่างที่เคยเป็น หนึ่งในสาเหตุใหญ่ๆ นั้นก็คือ สินค้าส่งออกของไทยไม่มีการเติบโตในกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง ต่างจากแนวโน้มของประเทศคู่แข่งและภูมิภาค การผลักดันให้เราก้าวไปเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญ และหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญของโลกที่กำลังหมุนไปให้เราได้ปรับตัวกันคือ รถยนต์พลังงานสะอาด หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ EV (Electric Vehicle) ในยุคที่เป้าหมายของโลกคือการลดคาร์บอนฯ ลงให้มากที่สุด รถ EV จึงเป็นคำตอบของหลายๆ คน แล้วกับคนไทยล่ะ ร่วมค้นหาจุดเชื่อมโยงระหว่างรถ EV กับคนไทยว่าเราพร้อมกันแค่ไหนใน Green Link : EV กับอนาคตลมหายใจคนไทย

ชีสนมแพะ ทางเลือกที่มาแรงไม่แพ้ชีสนมวัว

“อีก 5 ปีข้างหน้า การทำการค้าเสรีของไทย ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์จะกลายเป็นศูนย์แล้วนะ หมายถึงว่าเขาจะสามารถส่งผลิตภัณฑ์ของเขามาขาย โดยที่ไม่มีกำแพงภาษี ของเราก็เช่นกัน เราก็ส่งไปขายเหมือนกัน แต่ว่าตลาดในบ้านเรามันโตขึ้นทุกปี…ไม่เตรียมพร้อมกับอีก 5 ปีข้างหน้า พี่คิดว่าตอนนั้นเราจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากๆ” ประโยคข้างต้นคือประโยคจาก คุณไก่-รัชนิกร ศรีคง เจ้าของฟาร์ม Little Goat Farm เจ้าของฟาร์มแพะผู้อยู่เบื้องหลังชีสนมแพะ วัตถุดิบที่เป็นเบื้องหลังความกลมกล่อมบนจานอาหารตั้งแต่ขนมปังยันหม้อชาบู ประโยคข้างต้นที่สื่อให้เราเข้าใจว่าวัตถุดิบก้อนขนาดฝ่ามือนี้ ไม่ได้มีความสำคัญแค่เรื่องของรสชาติ แต่ตั้งแต่กระบวนการผลิต ดูแล นั้นส่งผลต่ออนาคตเป็นอย่างยิ่ง และนี่คือเรื่องราวความสำคัญที่เราอยากชวนทุกคนได้รู้จักเจ้าก้อนชีสนี้ให้มากขึ้นใน Hunt I “ชีสนมแพะ” อีกทางเลือกที่มาแรงไม่แพ้ชีสนมวัว

FYI

คลาส ‘มัสมั่นแกะ’ เมนูปราบเซียนสูตร Blue Elephant ฉบับคนทำอาหารไม่เป็นก็ทำอร่อยได้

หากใครผ่านไปมาแถวสาทร จะเห็นอาคารเก่าสไตล์โคโรเนียลอายุกว่า 119 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน กว่าจะมาเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสอนทำอาหารและร้านอาหารไทย ‘Blue Elephant’ ของ ‘เชฟนูรอ-โช๊ะมณี สเต็ปเป้’ เชฟหญิงไทยที่มัดใจชาวต่างชาตินับไม่ถ้วนมากว่า 40 ปี แต่วันนี้เอ็กซ์คลูซีฟกว่าใคร เพราะเราได้กระทบไหล่เชฟนูรอตัวเป็นๆ มาสอนทำเวิร์กช็อป ‘แกงมัสมั่นแกะ’ อาหารที่ขึ้นชื่อว่าปราบเซียน เพราะวิธีการที่ซับซ้อน และใช้วัตถุดิบจำนวนนับไม่ถ้วน มัสมั่นแกงแก้วตา                 หอมยี่หร่ารสร้อนแรงชายใดได้กลืนแกง               แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานที่คุ้นเคย บอกเล่าถึงแกงมัสมั่น ทั้งกลิ่นหอมของเครื่องแกง และรสชาติอันเผ็ดร้อนที่เมื่อเวลาผ่านมาจนปัจจุบัน คนนิยมกินคู่กับโรตีทอดกรอบ ใครบ้างจะไม่คิดถึงรสชาตินี้ แต่ให้คนยุคใหม่มาโขลกเครื่องแกง คอยบรรจงทำมัสมั่นอย่างประณีตคงใช้เวลามากไปเสียหน่อย เวิร์กช็อปกับเชฟนูรอครั้งนี้ เธอจึงทำให้แกงมัสมั่นกลายเป็นเมนูทำง่ายที่คนทำอาหารไม่เป็นก็ทำอร่อยได้! ถึงเวลาทำแกงปราบเซียน เชฟหญิงไทยที่อยู่ตรงหน้าบอกกับฉันว่า แกงมัสมั่นเป็นอาหารไทยที่เธอถนัดที่สุด ไม่ว่าจะทำขายในร้านอาหาร หรือเสิร์ฟให้กับแขกมาเยี่ยมบ้าน ซึ่งเนื้อแกะเป็นวัตถุดิบพรีเมียม […]

ถกความเป็นไปได้กับก้าวต่อไปของศิลปะไทย | Social Impact EP.1

ปีที่แล้วภาพยนตร์อย่าง Parasite กวาดรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในเวทีออสการ์ ปีนี้ โคลอี้ เจา ผู้กำกับหญิงเชื้อสายเอเชียก็ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมอีก นี่คือตัวอย่างของศิลปวัฒนธรรม ที่นอกจากทำหน้าที่ส่งต่อความสวยงามจรรโลงใจ แต่ยังส่งต่อแรงบันดาลใจสร้างมูลค่าได้อีกด้วย หรือเราจะเห็นว่าจริงๆ แล้วบางครั้งศิลปะก็เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า กลับมามองที่บ้านเรา ศิลปะไทยอยู่ในข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน เรื่องการนำมาประยุกต์ใช้ในหลายมิติ เราพอจะมีทางเขยิบขึ้นไปในอีกมิติการรับรู้คุณค่าของศิลปะอย่างเท่าเทียมกันได้รึเปล่า เป็นไปได้ไหมที่เราจะนำศิลปะมาแสดงออกหลากหลายด้านมากกว่าความสวยงาม แล้วทำอย่างไรประเทศไทยและศิลปะจะเติบโตไปอย่างสอดประสานกัน ชวนมาถกถามหาคำตอบใน Social Impact EP.1 ศิลปะไทยไปได้ไกลกว่าที่เป็น?

ZEUS Custom สำนักแต่งมอเตอร์ไซค์ไทยที่ไปไกลระดับโลก | Somebody Ordinary EP.2

สำหรับ หมูหยอง-วรวิทย์ เรืองจันทานุกูล เจ้าของ ZEUS Custom สำนักแต่งรถแล้ว มอเตอร์ไซค์คือชีวิต เขาจึงแลกทั้งเวลา ความสุข งานทั้งหมดให้กับมอเตอร์ไซค์ จนทำให้อดีต Art Director คนนี้พา ZEUS Custom จากสำนักแต่งรถใต้อพาร์ตเมนต์ทะยานขึ้นไปเสริมสร้างความเท่ให้กับแบรนด์มอเตอร์ไซค์ระดับโลกมาแล้ว จนครั้งหนึ่งชาวรัสเซียถึงขั้นบินมาเพื่อขอซื้อมอเตอร์ไซค์ของเขา
อะไรทำให้เขาโบยบินได้ขนาดนี้ พบคำตอบในคลิปวิดีโอเบื้องหลังแนวคิดลมหายใจที่มีไว้ให้รถมอเตอร์ไซค์ ZEUS Custom

ค้นหาทางออกเพื่อให้เรารอดจากขยะพลาสติก ผ่านการนำขยะมาทำเป็นธุรกิจ | City Survive EP.1

“สำหรับปัญหาขยะพลาสติก หากเราไม่ได้จัดการหรือร่วมมือกันแก้ไขทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบ ทุกฝ่ายยังทำแบบที่ทำกันอยู่ ใน ค.ศ. 2050 คาดการณ์ว่าจะมีขยะพลาสติกมากกว่าปลาในทะเล” นี้คือหนึ่งในบทสัมภาษณ์จากสารคดี City Survive ทางรอดขยะพลาสติก ผ่านธุรกิจขยะ City Survive รายการสารคดีที่ว่าด้วยเรื่องการแก้ปัญหาเมืองอย่างสร้างสรรค์ ในตอนแรกนี้เราจึงหยิบยกปัญหาขยะพลาสติกขึ้นมาบอกเล่าและตีแผ่ถึงปัญหา และร่วมหาทางรอดไปพร้อมกัน กับหนึ่งทางออกอย่างสร้างสรรค์คือการนำขยะเหล่านี้มาทำเป็นธุรกิจ ให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน มนุษย์ได้ ภาคธุรกิจได้ โลกได้ สิ่งแวดล้อมได้ และความยั่งยืนได้ รวมไปถึงคำถามที่ว่าพลาสติกนั้นผิดจริงๆ หรือหากไม่มีผิดถูกเราจะอยู่ร่วมกับพลาสติกอย่างไรให้ทั้งเราและโลกไปต่อได้ หลายคำตอบรวมอยู่ในสารคดีทางรอดขยะพลาสติก ผ่านธุรกิจขยะนี้

ลุงผู้ใหญ่แว้นพาเที่ยว บ้านปากซวด จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านนี้มีดีที่สายน้ำ | Green Link EP.1

คุณคิดว่าคนอยู่ร่วมกับป่าได้จริงเหรอ แล้วจะอยู่กันอย่างไร คำตอบอยู่ในสารคดีชุดนี้ Green Link รายการสารคดีที่ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมคือลมหายใจของมนุษย์ ในตอนแรกนี้ คุณจะได้ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ลุง เที่ยวชมบ้านปากซวด จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านที่อยู่กับน้ำ จนได้เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนฯ ที่นี่คือหนึ่งในหมู่บ้านที่เป็นภาพชัดของการอยู่อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ ตลอดเส้นทางที่เหมือนเราได้ไปสูดอากาศดีๆ ฟังเสียงสายน้ำ กินอาหารแสนอร่อยของที่นี่ ไปด้วยจริงๆ ระหว่างกำลังสนุกนั้น เราก็จะได้ไปพบกับเหตุผลว่าทำไมป่าต้นน้ำ ถึงสำคัญกับชีวิตคุณ ไม่ว่าคุณจะอยู่ห่างไกลจากป่าเป็นหลายพันกิโลก็ตาม

เสียงจาก ‘ตลาดนัดจตุจักร’ กับเย็นวันศุกร์ที่ไม่เหมือนเก่า

ย้อนเวลากลับไปสัก 1 ปี ตลาดนัดจตุจักรคือหนึ่งในสถานที่ที่คับคั่งไปด้วยผู้คน ตั้งแต่ตกเย็นไปจนถึงกลางดึก กลับกันในวันนี้ ด้วยมาตรการเพื่อสู้กับโรคภัย ตลาดนัดต้องปรับเปลี่ยนเวลาเข้า-ออก ส่งผลให้ทุกเย็นวันศุกร์ของที่นี่แปลกตาไปจากเมื่อก่อน ไม่เพียงเท่านั้น โรคภัยไม่ได้ส่งผลแค่เพียงสุขภาพ แต่ยังส่งผลไปถึงปากท้องของพี่น้องชาวตลาดจตุจักร และนี่คือเสียงในเย็นวันศุกร์จากตลาดนัดจตุจักร หมายเหตุ : คลิปวิดีโอนี้ ถ่ายทำเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564

‘ฟังเสียงเยาวราช’ ในค่ำคืนที่เปลี่ยนไปเพราะโควิดระลอกใหม่

Sound Check เป็นรายการประจำ Urban Creature ที่จะออกไปสำรวจเสียงคนเมืองทุกๆ เดือน ด้วยโควิดระลอกใหม่ที่กำลังระบาด ตลอดทั้งเดือนนี้ Sound Check จึงทำภารกิจเฉพาะกิจพาทุกคนไปสำรวจเสียงของผู้คนจากย่านต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ เริ่มด้วยเยาวราช ย่านเก่าแก่ที่อยู่คู่กรุงเทพฯ มายาวนาน หนึ่งในย่านสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ตกเย็นทั้งสองฝั่งถนนจะเต็มไปด้วยอาหารเรียงราย พร้อมผู้คนที่มาจับจ่ายใช้สอย แต่กลับกัน วันนี้ภาพชินตาเหล่านั้นของเยาวราชถูกลบหายไป ผู้คนบางตาลงอย่างเห็นได้ชัด เสียงที่เคยจอแจกลับเงียบเหงา อะไรคือสิ่งที่อยู่ในใจของพ่อค้าแม่ค้าตลอดสองข้างทางนี้ เราขอชวนคุณมาฟังด้วยตัวเอง

พาใจไปสัมผัสวิถียั่งยืนกับ ‘เวิร์กชอปธรรมชาติ’ ในหมู่บ้านวันเดอร์ที่งาน Moobaan Wonder โดย Wonderfruit

หลายปีมานี้ แม้เราจะเห็นทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาขยะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์การลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก การนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือการใช้วัสดุทดแทน แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่ได้ทำให้สถานการณ์ขยะดีขึ้นสักเท่าไร เพราะยังคงมีข่าวสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับขยะอยู่เรื่อยๆ  เราได้มีโอกาสไปร่วมงาน ‘MOOBAAN WONDER’ หรือ ‘หมู่บ้านวันเดอร์’ ซึ่งจัดโดยทีม Wonderfruit ด้วยแนวคิดเรื่องความยั่งยืนที่ยึดถือเป็นแกนหลักเหมือนทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้สร้างสรรค์ขึ้นมาในรูปแบบชุมชนขนาดย่อมที่รวบรวมของดีท้องถิ่นของไทย พร้อมให้เราเดินทางไปเปิดประสบการณ์น่าตื่นเต้นจากการผสมผสานภูมิปัญญาไทยกับวัฒนธรรมร่วมสมัย พาใจเราไปสัมผัสศิลปะ วัฒนธรรม และวิถียั่งยืน นอกจากเราจะได้เฉลิมฉลองสิ้นปีไปกับดนตรี แคมปิ้ง อาหารเครื่องดื่ม ไลฟ์สไตล์มาร์เก็ต และกิจกรรมครอบครัว ยังได้ซึมซับงานศิลปะและอินสตอลเลชันภายในงาน ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติของฟาร์มและทุ่งดอกไม้ แต่ไฮไลท์ที่เราขอนำกลับมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังคือเวิร์กชอปที่จะชวนทุกคนกลับมาเห็นความงามในธรรมชาติอีกครั้ง ช่วงต้นปีที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ทำให้เทศกาลดนตรีหลายงานต้องยกเลิกไปซึ่ง Wonderfruit ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นทางทีมงานก็ได้ปัดฝุ่นโปรเจกต์นี้ใหม่ในคอนเซปต์ ‘MOOBAAN WONDER’ หรือ ‘หมู่บ้านวันเดอร์’ โดยเปิดมุมมองใหม่และค้นหาความน่าสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรามีดีอยู่แล้ว มาเริ่มกันด้วยเวิร์กชอป ‘Natural Tie Dye’ การทำผ้ามัดย้อม เป็นบูธที่ได้รับความสนใจมากอีกบูธหนึ่งเลย โดยนำวัสดุธรรมชาติที่ให้สีได้มาใช้เป็นสีย้อม เช่น กากมะพร้าวให้สีน้ำตาลอ่อน ขมิ้นให้สีเหลือง เปลือกต้นเค็งให้สีเเดง ในขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมไม่มีความซับซ้อน แต่ต้องอาศัยความพิถีพิถันเเละใจเย็น  เริ่มจากการจับผ้าขาวม้วนให้เป็นเกลียวเเละขมวดปม เอาหนังยางมัดในจุดที่เราไม่ต้องการให้สีเข้าถึงเพื่อให้เกิดเป็นลวดลาย […]

เบื้องหลังความสร้างสรรค์นักออกแบบอาหารผู้ส่งต่อวัตถุดิบไทยผ่านการแปลงเป็นกลิ่น

“กลิ่นอะไรหอมจังต้องอร่อยแน่เลย” “ได้กลิ่นมาแต่ไกลทำเอาหิว” อีกหลากหลายประโยคที่กลิ่นมักเข้าไปมีส่วนร่วมกับความอร่อยของอาหาร ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลิ่นมีผลกับรสชาติของอาหารแต่ละจาน นอกจากส่งเสริมรสชาติกลิ่นยังสร้างความทรงจำให้เราจดจำรสนั้นได้ขึ้นใจ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่รู้ถึงพลังข้อนั้นคือ ‘คุณวนัสนันท์ กนกพัฒนากูร’ นักออกแบบอาหาร และกูรูอาหารในวงการเชฟจีน เขาไม่เพียงแค่รู้แต่ยังหยิบมาลงมือทำ สร้างสรรค์ ‘นํ้าหอมอาหาร’ นวัตกรรมแต่งกลิ่นบนจาน ที่ส่งต่อเรื่องราววัตถุดิบไทยที่ซ่อนอยู่ในกลิ่นนั้นด้วย

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.