เดินเท้าย่ำสวน นั่งเรือดูงานศิลป์ เรื่องราวในพื้นที่สีเขียวและครีเอทีฟริม ‘คลองบางมด’

แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจและมาทำความรู้จักให้มากกว่าเดิม แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ […]

ถอด 7 ประเด็นน่ารู้เรื่องการพัฒนาเมืองจากนโยบาย Car Free Day ที่ กทม. พยายามผลักดัน

แนวคิด Car Free หรือแนวคิดปลอดรถยนต์ คือการลดการขับขี่รถยนต์ เพื่อลดปัญหารถติด มลภาวะทางอากาศ มลพิษทางเสียง รวมถึงเป็นการคืนพื้นที่ถนนให้คนเมือง ด้วยการใช้การเดินทางในรูปแบบการเดินเท้า ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะ ซึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็นำมาใช้งานกับเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ จนได้ผลที่น่าพอใจไปแล้วไม่น้อย ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เองมีความพยายามผลักดันนโยบาย Car Free มาตลอด อาจจะเป็นรูปแบบของการเชิญชวนบ้าง การรณรงค์บ้าง หรือการจัดกิจกรรมปั่นจักรยานบ้าง แต่ในปีนี้ แนวคิด Car Free ดูจะเป็นรูปเป็นร่าง มีการนำมาทำให้เห็นภาพมากขึ้นจากกิจกรรม Car Free Day ที่ กทม.ร่วมมือกับภาคีเปลี่ยนถนนบรรทัดทองในระยะทาง 350 เมตรให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ จัดกิจกรรมอื่นๆ ให้คนเมืองได้ออกมาพักผ่อนหย่อนใจ และมองเห็นความเป็นไปได้ของการลดพื้นที่ถนน แล้วนำมาสร้างความเป็นไปได้อื่นๆ ในการพัฒนาเมือง หลังจบกิจกรรม แน่นอนว่าย่อมมีเสียงสะท้อนที่หลากหลายจากคนเมือง ทั้งในแง่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย Urban Creature จึงนัดคุยกับ ‘วันพัฒน์ มาตังคะ’ และ ‘ศิรดา ดาริการ์นนท์’ สถาปนิกผังเมืองอาวุโสของ Healthy Space […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กันยายน 2567

ต้องยอมรับว่า ผมไม่ใช่คนเดียวที่ชอบถ่ายรูปสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันตามท้องถนน เพราะหลังจากที่ออกหนังสือ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ผมก็ได้พบปะผู้คนมากมายที่ชอบถ่ายรูปคล้ายๆ กัน แถมมีภาพที่น่าตื่นเต้นมากกว่าผมเสียอีก จนมีคนแซวว่า ใครๆ ก็เป็นคอลัมนิสต์ของคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอได้ ถ้าเป็นคนที่ชอบเดินเล่นและมีนิสัยช่างสังเกตพอ ซึ่งผมก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะไม่ได้ห่วงตำแหน่งอะไร (ฮา) อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าถึงแม้จะถ่ายรูปคล้ายกัน แต่วิธีมองหรือคำอธิบายของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันออกไป บางคนมองเป็นไอเดีย บางคนมองเป็นงานครีเอทีฟ บางคนมองเป็นมีมตลกร้าย หรือบางคนมองเป็นปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่เรามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องเดียวกัน และผมมองว่าการบาลานซ์มุมมองต่างๆ เวลาพบเจอสิ่งของเรี่ยราดพวกนี้แหละคือหัวใจสำคัญ เพราะสิ่งของเหล่านี้ส่วนใหญ่มักสะท้อนปัญหาบางอย่างในสังคม ผมเลยอยากย้ำเพื่อนๆ ผู้อ่านตอนนี้อีกครั้งว่า คอลัมน์นี้มีความตั้งใจแบ่งปันมุมมองเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองว่า เหตุใดพวกเขาถึงต้องดีไซน์ของกันเองจนกลายเป็นคัลเจอร์ มากกว่าแค่รูปภาพสนุกๆ เฉยๆ และในฐานะคอลัมนิสต์ ผมจึงมีความรับผิดชอบที่ต้องคัดสรรภาพสิ่งของเหล่านี้จำนวนหนึ่งมาฝากให้ทุกท่านได้รับชมอีกครั้งในรอบนี้ เพราะไม่งั้นตำแหน่งนี้อาจโดนแย่งไปจริงๆ (ฮา) อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผมเกริ่นไปตอนต้น หากใครมีภาพสิ่งของแนวๆ เดียวกันนี้ จะติด #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อแบ่งปันกันก็ได้ อยากรู้จริงๆ ว่าทุกคนมีมุมมองแบบไหนกันบ้าง หรือจะท้าชิงตำแหน่งกับผมก็ไม่ว่ากัน ศาล Pave หากใครพอมีความรู้เรื่องการตั้งศาลพระภูมิมาบ้าง เราจะพบว่าความหมายของศาลพระภูมิก็คือเจ้าที่ ‘ดิน’ ทำให้การตั้งศาลทั่วไปนั้นมักต้องอยู่บนแท่งเสา เพื่อจำลองลักษณะเหมือนอยู่บนต้นไม้ที่งอกจากดิน และพันผ้าสามสีเอาไว้ให้เป็นแบบเดียวกับต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่เราเห็นกันบ่อยๆ […]

เจาะเวลาหาอดีตที่ถูกลบเลือน อนาคตที่ไร้หนทาง และความหวังที่จะก้าวต่อไป ในหนังไซไฟไทย ‘Taklee Genesis ตาคลี เจเนซิส’

การเดินทางข้ามเวลา ไคจู ไดโนเสาร์ โลกอนาคต ความไซไฟทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาดูเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยปรากฏบนประวัติศาสตร์หนังไทย และน้อยครั้งมากที่จะประสบความสำเร็จในด้านคำวิจารณ์และรายได้ หลายครั้งที่คนทำหนังไทยริอ่านท้าทายขนบ ทะเยอทะยานจินตนาการถึงสิ่งเหล่านี้ แต่สุดท้ายล้วนแล้วแต่ออกมาเป็นภาพที่เกินฝันชาวไทยเสมอ และต้องเจอข้อครหามากมายรอบด้านจนต้องละทิ้งความฝันนี้ไปในที่สุด ทั้งที่หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไซไฟเชื้อสายไทยนั้นก็ไม่ได้มีให้พบเห็นบ่อยมากอยู่แล้ว นับตั้งแต่ ‘มันมากับความมืด’ (2514), ‘ขอชื่อ สุธี สามสี่ชาติ’ (2532), ‘กาเหว่าที่บางเพลง’ (2537), ‘สลิธ โปรเจกต์ล่า’ (2566) มาจนถึง ‘Uranus 2324’ (2567) แต่ดูเหมือนความฝันในการพยายามเนรมิตไซไฟแบบไทยๆ จะยังไม่หมดลงแต่อย่างใด ผู้กำกับ ‘มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล’ ที่แม้จะเพิ่งผ่านผลงานที่มีความเป็นไซไฟผสมอยู่อย่าง ‘มอนโด รัก | โพสต์ | ลบ | ลืม’ (2566) มาไม่นาน ก็ขอสานต่อความกล้าที่จะท้าทายผู้ชมชาวไทยด้วยผลงานไซไฟเต็มรูปแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนใน ‘Taklee Genesis’ ซึ่งถือว่าเป็นวาระสำคัญของประวัติศาสตร์หนังไทย ที่จะมีทั้งผู้กำกับไทย และค่ายหนังอย่าง ‘เนรมิตรหนัง ฟิล์ม’ ร่วมด้วยสตูดิโอระดับโลกอย่าง ‘Warner Bros.’ ที่กล้าบ้าบิ่นกันขนาดนี้ […]

บ้านวิกลคนประหลาด Ver. ไทย ที่ต่อให้แปลนไม่วิกล ก็ทำคนอยู่อาศัยประหลาดได้

‘บ้านวิกล (The Floor Plan)’ ที่ทำรายได้อันดับ 1 Box Office ในญี่ปุ่นติดต่อกัน 4 สัปดาห์ กวาดรายได้ถล่มทลายไปกว่า 4 พันล้านเยน คือภาพยนตร์ที่ถูกดัดแปลงมาจากหนังสือนิยายแนวสืบสวนสอบสวนที่เป็นกระแสไวรัลในโลกออนไลน์ หนังสือที่ว่าชื่อ ‘บ้านวิกลคนประหลาด’ จากปลายปากกาของ ‘อุเก็ตสึ’ (Uketsu) เป็นเรื่องราวว่าด้วยการจับพลัดจับผลูให้ตัวเอกของเรื่องเข้าไปพัวพันกับคดีปริศนา หลังพบเข้ากับแปลนบ้านอันแสนแปลกประหลาด ที่ดูเหมือนว่าจะมีความลับอะไรบางอย่างซุกซ่อนอยู่ และเมื่อพูดถึงการออกแบบแปลนบ้านประหลาด หรือการจัดวางสิ่งของในบ้านสุดแปลก จริงๆ บ้านของพวกเราชาวไทยเองก็มีไอเดียสุดบรรเจิดไม่แพ้กัน ชนิดที่ว่าไม่ต้องบินไปถึงประเทศญี่ปุ่น ไม่ต้องมีคดีสุดลึกลับ ก็เป็นบ้านวิกลจนคนประหลาดได้ไม่แพ้กัน คอลัมน์ Urban Isekai ประจำเดือนนี้ ขอดึงเอาความประหลาดของบ้านแบบไทยๆ ที่เราอยู่กันจนเคยชินมากางให้ดูว่า มีอะไรบ้างที่เป็นซิกเนเจอร์ของคนไทย ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องสุดเวียร์ดในสายตาเหล่านักสืบ เริ่มจากบ้านที่เป็นแหล่งรวมพหุความเชื่อแบบใหม่แบบสับที่ต่างชาติเห็นเป็นต้องงง เพราะแม้หน้าบ้านจะมีศาลพระภูมิหรือศาลตายายที่กลายเป็น PokéStop หรือบ้านตุ๊กตาในสายตาคนต่างชาติแล้ว ในบ้านของหลายคนยังมีหิ้งพระที่เอาไว้กราบไหว้สารพัดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่พระพุทธรูป พระพิฆเนศ ท้าวเวสสุวรรณ ไปจนถึงไอ้ไข่ หรือพี่กุมาร ที่ดีไม่ดีภายในบ้านอาจจะมีตี่จู้เอี๊ยะสีแดงวางอยู่ด้วย จนทำเอามึนไปเลยว่า สรุปแล้วบ้านนี้นับถืออะไรกันแน่นะ แถมหลายบ้านทั้งประตูหน้าต่างยังถูกออกแบบมาในรูปแบบของลูกกรงเหล็กดัดลวดลายแสนคุ้นตา ที่มองแรกๆ ก็สวยดีอยู่หรอก แต่พออยู่ในบ้านไปนานๆ […]

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลัง STEP INTO SWING เมื่อเสียงเพลงและสเต็ปเท้าอาจพาเราไปสู่กรุงเทพฯ ที่ดีขึ้น

เย็นวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในชุดวินเทจ เสียงเพลงสวิงดังกึกก้อง ฟลอร์เต้นรำเริ่มขยายพื้นที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มไปทั่วทั้งบริเวณ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งเหล่านี้คือตัวชี้วัดความสำเร็จของ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong อีเวนต์สวิงโดย 2 ทีมงานเบื้องหลังอย่าง The Stumbling Swingout วงดนตรีสวิงแจ๊สที่ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มนักเต้นสวิง และ Jelly Roll Jazz Club โรงเรียนสอนเต้นสวิงที่ตั้งใจสร้างนักเต้นใหม่ๆ เพื่อให้สวิงกลายเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงในอนาคต หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เฝ้ามองแวดวงการเต้นสวิงในไทยมาตั้งแต่ยุคก่อนโควิด-19 ในเวลานั้นหลายคนอาจจินตนาการไม่ออกว่า วันหนึ่งกรุงเทพฯ จะมีอีเวนต์ SWING IN THE PARK เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ก่อนจะขยายตัวลามเลยออกไปสู่สถานที่ที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งอาคารลุมพินีสถาน ไปรษณียาคาร ลานชุมชนต่างๆ รวมถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่ได้โคจรกลับมาจัดเป็นครั้งที่สองแล้ว การขยับขยายของฟลอร์สวิงแดนซ์จากในสตูดิโอสู่พื้นที่สาธารณะต่างๆ […]

Shanghai Street Furniture สำรวจเซี่ยงไฮ้ผ่านมุมมองของสถาปนิกผังเมือง

เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่โดดเด่นด้วยการวางผังเมืองที่ใส่ใจความเป็นอยู่ของผู้คนอย่างมาก การออกแบบพื้นที่สาธารณะ ตึก และอาคารร้านค้าต่างๆ ได้รับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมืองอย่างสมดุล สิ่งที่ทำให้เซี่ยงไฮ้มีเอกลักษณ์คือ การผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและวิถีชีวิตแบบจีนได้อย่างลงตัว ตึกสูงระฟ้าสไตล์ยุโรปตั้งอยู่เคียงข้างกับร้านค้าท้องถิ่น โดยมีการแบ่งทางเท้า ทางจักรยานด้วยพื้นผิวที่แตกต่างอย่างชัดเจน เป็นเมืองที่เดินง่าย สะอาด มีต้นไม้ร่มรื่น และตลอดทางในเมืองก็มีร้านค้ากับตึกสวยงามตลอดเส้นถนน ขณะเดียวกัน ร้านรวงคาเฟ่ก็ได้รับการออกแบบให้นั่งนอกร้านได้เหมือนเมืองในยุโรป ในโซนที่อยู่อาศัย ทุกๆ การเดินเท้า 15 นาที จะมีพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนออกมาออกกำลังกาย มีสนามเด็กเล่นกระจายอยู่ทุกที่ ทำให้เมืองมีชีวิตชีวามาก Street Furniture เป็นองค์ประกอบเล็กๆ ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เมืองน่าอยู่และน่าสนใจมากขึ้น เมื่อสังเกตดีๆ จะเห็นว่า การออกแบบม้านั่งต่างๆ ในเซี่ยงไฮ้มีรายละเอียดน่ารักเล็กๆ น้อยๆ ที่ชวนสังเกต เช่น ดีไซน์ที่นำเอกลักษณ์ของเมืองผสมผสานกับความเป็นจีนมาออกแบบม้านั่งริมถนน เท่านั้นไม่พอ ม้านั่งตามถนนและสวนสาธารณะไม่เพียงแค่ให้นั่งพักผ่อน แต่หลายที่นั่งยังออกแบบให้มีฟังก์ชันพิเศษ เช่น ช่องชาร์จโทรศัพท์ด้วยโซลาร์เซลล์ ขั้นบันไดในห้างฯ ที่นั่งพักได้ ฯลฯ หากคุณมีโอกาสไปเที่ยวเซี่ยงไฮ้ นอกจากถ่ายรูปกับสถานที่ยอดฮิตแล้ว อย่าลืมสังเกตองค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้เมืองนี้มีชีวิตชีวาและเป็นเอกลักษณ์ การสำรวจเมืองในมุมมองนี้จะช่วยให้คุณเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสถาปัตยกรรมและชีวิตประจำวันของผู้คนอีกด้วย สำหรับเรา เซี่ยงไฮ้ไม่ใช่แค่จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่สวยงาม แต่ยังเป็นแหล่งแรงบันดาลใจในการออกแบบเมืองที่มีความสร้างสรรค์และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive สิงหาคม 2567

‘น้อยแต่มาก เล็กแต่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด’ วลีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เหล่าคนทำงานออกแบบหรือทำงานสร้างสรรค์มักได้ยินกันจนชินหู ซึ่งการวัดกึ๋นในผลงานออกแบบใดๆ ในปัจจุบัน เรามักไปตามดูกันตรงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ปรากฏอยู่ในผลงานนี่แหละ อย่างไรก็ตาม ตัวผมเองไม่ค่อยอยากจำกัดคำเท่ๆ พวกนี้อยู่แค่ในวงการนักออกแบบหรือคนทำงานสร้างสรรค์เท่านั้น เพราะหลายครั้งผมก็เห็นผลงานออกแบบตามริมทางท้องถนนจากคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนออกแบบ ที่มีลักษณะน้อยแต่มากหรือมีรายละเอียดเล็กๆ ที่เห็นแล้วน่าทึ่งไม่แพ้นักออกแบบตัวจริงอยู่บ่อยๆ ไม่รู้ว่าใครเห็นด้วยกับผมไหมว่า เวลาจะลงรายละเอียดในงานออกแบบใดๆ เราในฐานะนักออกแบบมักพยายามทำให้มันดูแนบเนียนไปกับภาพใหญ่ แต่ในงานออกแบบเล็กๆ ตามริมทางท้องถนนนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะมีความไม่แนบเนียนและโดดออกมาจากชิ้นงานให้เห็น แต่ถึงแม้มันจะสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย แต่หลายคนก็เลือกที่จะมองข้ามไปอยู่บ่อยครั้ง อาจเพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อมองรวมๆ ภาพใหญ่กับทัศนียภาพของเมืองไทยต่างกลมกลืนกันไปอยู่ดีนั่นเอง แต่ไม่ต้องรู้สึกพลาดอะไรไป หากใครไม่ค่อยได้สังเกตเห็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ตามริมทาง ผมได้คัดสรรภาพของเหล่านี้มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมอยู่แล้วเป็นประจำทุกเดือนในคอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้เราฝึกมองของรอบตัวให้ดีมากขึ้น เผื่อเวลาที่เราออกจากบ้านแล้วผ่านตามตรอกซอกซอย อาจจะได้ลองกวาดสายตามองไปตามแนวผนังตามจุดต่างๆ และพระเจ้า (แบบไทยๆ) ที่อยู่ในรายละเอียดอาจจะปรากฏตัวให้เห็นก็เป็นได้ Doll Stopper อะไรที่ดูผิดที่ผิดทาง หลายครั้งมันถูกคิดมาแล้วเป็นอย่างดี อย่างประตูรั้วเหล็กหน้าบ้านในรูปนี้ที่มีตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งถูกมัดติดเอาไว้ เมื่อลองพิจารณาดูรวมๆ ก็พบว่า น้องตุ๊กตาหมีตัวนี้คือดีเทลซับแรงกระแทกของประตูรั้วเหล็กที่อาจเปิดไปชนกับกำแพงด้านข้าง กลายเป็น Doll ที่เป็น Door Stopper นั่นเอง FruitWork […]

‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนที่อยากให้คนเห็นย่านหัวลำโพงในมุมใหม่ๆ ด้วยการ Reconnect คนในและคนนอกเข้าด้วยกัน

ภาพของย่าน ‘หัวลำโพง’ ในความทรงจำของหลายๆ คนอาจหยุดอยู่แค่ที่ ‘สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ ยิ่งเมื่อมีการย้ายเส้นทาง​​การเดินรถไฟบางส่วนไปที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) ภาพจำเกี่ยวกับย่านหัวลำโพงจึงเลือนรางตามไปด้วย แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การเข้ามาของกลุ่ม ‘RTUS-Bangkok ริทัศน์บางกอก’ ทำให้เราเห็นย่านหัวลำโพงในมุมมอง มิติ รวมถึงสถานที่ใหม่ๆ มากขึ้น ผ่านการบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชน พร้อมกับกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมมือกันระหว่างเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และชาวบ้านในชุมชนเอง ตามคอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองไปพูดคุยกับ ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ แก๊งเพื่อนที่ร่วมกันทำกิจกรรมในย่านหัวลำโพงในนามของริทัศน์บางกอกกันว่า หัวลำโพงในมุมมองของพวกเขาและคนในย่านเป็นอย่างไร และในฐานะคนรุ่นใหม่ต่างถิ่นที่เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ พวกเขาทำอย่างไรถึงเชื่อมคนในและคนนอกย่านเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว รวมตัวคนรุ่นใหม่ที่อยากลบภาพจำหัวลำโพงแบบเดิมๆ “ตอนแรกชาวบ้านเขาไม่เข้าใจว่าเรามาทำอะไร ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่ แล้วเขาได้อะไร ทำให้มีการปิดกั้นเล็กน้อย แต่ตอนนี้เวลาเราไปลงพื้นที่ เขาจะต้อนรับแบบเอาน้ำไหม จะจัดกิจกรรมอะไรอีกไหม” คำบอกเล่าจากปกรณ์วิศว์ในวันที่ริทัศน์บางกอกทำงานในพื้นที่ชุมชนย่านหัวลำโพงมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ทำให้เราเห็นภาพความเปลี่ยนแปลงและการโอบรับของผู้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าทั้ง 3 คนจะไม่มีใครเกิดและเติบโตในย่านหัวลำโพงมาก่อนเลยก็ตาม จุดเริ่มต้นของริทัศน์บางกอกไม่ได้เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ในชุมชนเพื่อสื่อสารความเป็นตัวตนสู่สายตาคนภายนอกเหมือนอย่างย่านอื่นๆ แต่เป็นการรวมกลุ่มกันของเด็กวัยรุ่นที่มีความสนใจเรื่องเมืองคล้ายๆ […]

LittleFits บริการสมาชิกเสื้อผ้าเด็กรายเดือนแห่งแรกในไทย ตัวเลือกใหม่แบบรักษ์โลกของพ่อแม่ยุคปัจจุบัน

“ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เด็กอายุศูนย์ถึงสองปี เปลี่ยนไซซ์เสื้อผ้ามากถึงหกถึงเจ็ดครั้ง บางทีซื้อเสื้อผ้ามา ใช้ไม่กี่ครั้งก็ต้องเปลี่ยนแล้ว หรือบางคนซื้อมาไม่ได้ใช้ต้องทิ้งแล้วก็มี” แม้จะเป็นระยะเวลาสั้นๆ แค่ 2 ปีหลังจากเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลามากพอที่จะสร้างขยะเสื้อผ้าเด็กจำนวนมาก เพราะเฉลี่ยแล้ว แต่ละครอบครัวจะสร้างขยะเสื้อผ้าเหลือทิ้งมากถึง 90 ชิ้น และคาร์บอนฟุตพรินต์กว่า 360 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดปัญหาขยะเสื้อผ้าเด็ก และช่วยเซฟเงินในกระเป๋าคุณพ่อคุณแม่ไปพร้อมๆ กัน ‘ต้า-ธนกฤต จินดามัยกุล’ และ ‘เซน-นรเทพ ถนอมบุญ’ สองหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จับมือกันสร้าง ‘LittleFits’ บริการสมาชิกเสื้อผ้าเด็กรายเดือนแห่งแรกในไทยขึ้น จากคนที่มีความสนใจเหมือนกันสู่คู่หูธุรกิจ นอกจากเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 จากคณะและมหาวิทยาลัยเดียวกันแล้ว ความสนใจเรื่องเสื้อผ้าและสิ่งแวดล้อมยังเป็นอีกเรื่องที่เชื่อมต้ากับเซนเข้าด้วยกัน “แต่จุดเริ่มต้นจริงๆ คือเราทั้งสองคนสนใจเรื่องสตาร์ทอัพอยู่แล้ว และได้มีโอกาสทำเคสธุรกิจในมหา’ลัยด้วยกัน” เซนเท้าความถึงจุดที่ทำให้ทั้งคู่ขยับมาเป็นพาร์ตเนอร์ด้านธุรกิจ “หลังจากนั้นเลยทำให้รู้ว่าผมกับเขาชื่นชอบเรื่องเสื้อผ้าเหมือนกัน จนไปเจอเข้ากับ Pain Point เรื่องขยะที่เกิดจากเสื้อผ้าเด็ก จึงปรึกษาและพัฒนาออกมาเป็น LittleFits ในที่สุด” ต้าเสริม ชายหนุ่มอธิบายรูปแบบธุรกิจนี้อย่างง่ายๆ ให้เราฟังว่า LittleFits คือแบรนด์ให้บริการเสื้อผ้าเด็กแบบพรีเมียมลักซูรีรายเดือนแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีจุดมุ่งหมายในการพยายามลดขยะเสื้อผ้าเด็ก ด้วยการทำให้เกิดการหมุนเวียนของเสื้อผ้าให้ได้มากที่สุด […]

ปั่นรถถีบในเชียงใหม่ เพจบ่นเรื่องถนนหนทางของคนขี่จักรยานที่อยากให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่ Bicycle-friendly มากขึ้น

บอส-สิทธิชาติ สุขผลธรรม ไม่ใช่คนเชียงใหม่ แต่เขาคือเจ้าของเพจ ‘Chiang Mai Urban Cyclist: ปั่นรถถีบในเชียงใหม่’ ที่อยากผลักดันให้การขับขี่จักรยานในเชียงใหม่นั้นปลอดภัย มีถนนหนทางและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรต่อนักปั่นกว่าที่เคย จะพูดว่าบอสชอบปั่นจักรยานจนต้องลุกขึ้นมาก่อตั้งเพจก็อาจพูดได้ไม่เต็มปาก แต่หากจะกล่าวว่าชายหนุ่มชินกับการใช้จักรยาน บวกกับความอินเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ติดตัวมาตั้งแต่วัยรุ่น นั่นอาจนับเป็นแรงจูงใจในการทำเพจได้ เพราะมากกว่าการเรียกร้องเรื่องถนนหนทางและความปลอดภัย เพจของบอสยังอยากผลักดันไปถึงการตั้งนโยบายและพัฒนาเมืองในสเกลใหญ่ ที่ผู้ได้ประโยชน์จะไม่ใช่แค่นักปั่น แต่คือคนเชียงใหม่ทุกคน เวลา 3 ปีที่มาอยู่เชียงใหม่ทำให้คนที่ขับขี่จักรยานในชีวิตประจำวันเช่นเขามองเห็นอะไรบ้าง และแรงผลักดันหน้าตาแบบไหนที่ทำให้เขาเชื่อว่าเชียงใหม่จะเป็นเมือง Bicycle-friendly ได้ในที่สุด เรานัดเจอบอสเพื่อสนทนาเรื่องนี้กัน แน่นอนว่าในวันที่นัดเจอ เขาปรากฏตัวพร้อมกับจักรยานคู่ใจที่ขี่ไปไหนมาไหนรอบเมือง “เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด” “เราสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เรียนจบ ม.6 พอขึ้นมหาวิทยาลัยก็ไปอยู่ชมรมอนุรักษ์ งานหลักๆ ของชมรมคือจัดค่ายและแคมเปญ แต่จริงๆ มันเป็นเรื่องการปลูกจิตสำนึกให้คนเข้าใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่า  “พอเรียนปริญญาตรีจบ เราไปเรียนต่อโทด้านวิศวกรรมทางทะเลที่ฮาวาย ที่นั่นทำให้เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด เราใช้รถเมล์บ้าง แต่บางทีรถเมล์ก็ไม่ได้พาเราไปสุดทางที่อยากไป และบางทีมันก็ช้ากว่าขี่จักรยานเสียอีก “ฮาวายเป็นเกาะที่เป็นมิตรกับคนขี่จักรยาน ด้วยเพราะต้นไม้เยอะ ถนนมีร่มเงา คนที่นั่นจึงใช้จักรยานกันค่อนข้างเยอะ ถนนจะมีเลนจักรยานโดยเฉพาะในบางพื้นที่ ส่วนโซนที่ไม่มีเขาก็จะมีป้ายเขียนว่า Share the Road เพื่อให้คนขับรถให้ทางกับคนขี่จักรยานด้วย แม้แต่บนรถเมล์ก็จะมีพื้นที่ให้วางจักรยานบนนั้น   “เราอยู่ฮาวายได้สามปี […]

เก็บตก 3 กิจกรรมผลักดันเชียงรายสู่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในงาน Chiangrai Sustainable Design Week 2024

อยากรู้ไหมว่าตอนนี้เมืองเจียงฮายไปไกลถึงไหนแล้ว หลังจากที่ได้ยินข่าวการพัฒนาเมืองรองแห่งนี้บ่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดเทศกาล ‘เชียงรายเมืองออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2567’ หรือ ‘Chiangrai Sustainable Design Week 2024 (CRSDW2024)’ ที่รวมงานออกแบบและนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย แม้เทศกาลดังกล่าวจะสิ้นสุดลง แต่ Urban Creature ขอหยิบงานออกแบบและนวัตกรรมสร้างสรรค์ที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง ผ่านคอนเซปต์การผลักดันเชียงรายสู่เมืองสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนใน 3 มิติ ได้แก่ เมืองน่าอยู่ น่าลงทุน และน่าท่องเที่ยว SMOG ธุลีกาศ งานออกแบบนวัตกรรม ลดปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่า ปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าจากอุตสาหกรรมเกษตรแบบเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด หรือแม้กระทั่งอ้อยที่ถูกเผาหลังหมดฤดูเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาพเรามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ซึ่งนับเป็นวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่มีมาตรการควบคุมดูแลปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้ปัญหาฝุ่นกลายเป็นเทศกาลประจำปีของเชียงราย CEA ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ ร่วมมือกับ FabCafe Bangkok จัดกิจกรรมโชว์เคสและเวิร์กช็อปเสนอแนวทางเปลี่ยนขยะจากการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภายใต้กิจกรรม ‘SMOG ธุลีกาศ’ กิจกรรมที่ว่าคือการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีเพื่อแปรรูปซากพืชเกษตรเป็นวัสดุ ผ่านการฉีดขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติเป็นรูปทรงต่างๆ โดยหวังว่างานออกแบบเหล่านี้จะเพิ่มอัตราการซื้อซากพืชและช่วยลดปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่า เพื่อให้เชียงรายกลายเป็น […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.