บ้านวิกลคนประหลาด Ver. ไทย ที่ต่อให้แปลนไม่วิกล ก็ทำคนอยู่อาศัยประหลาดได้

‘บ้านวิกล (The Floor Plan)’ ที่ทำรายได้อันดับ 1 Box Office ในญี่ปุ่นติดต่อกัน 4 สัปดาห์ กวาดรายได้ถล่มทลายไปกว่า 4 พันล้านเยน คือภาพยนตร์ที่ถูกดัดแปลงมาจากหนังสือนิยายแนวสืบสวนสอบสวนที่เป็นกระแสไวรัลในโลกออนไลน์ หนังสือที่ว่าชื่อ ‘บ้านวิกลคนประหลาด’ จากปลายปากกาของ ‘อุเก็ตสึ’ (Uketsu) เป็นเรื่องราวว่าด้วยการจับพลัดจับผลูให้ตัวเอกของเรื่องเข้าไปพัวพันกับคดีปริศนา หลังพบเข้ากับแปลนบ้านอันแสนแปลกประหลาด ที่ดูเหมือนว่าจะมีความลับอะไรบางอย่างซุกซ่อนอยู่ และเมื่อพูดถึงการออกแบบแปลนบ้านประหลาด หรือการจัดวางสิ่งของในบ้านสุดแปลก จริงๆ บ้านของพวกเราชาวไทยเองก็มีไอเดียสุดบรรเจิดไม่แพ้กัน ชนิดที่ว่าไม่ต้องบินไปถึงประเทศญี่ปุ่น ไม่ต้องมีคดีสุดลึกลับ ก็เป็นบ้านวิกลจนคนประหลาดได้ไม่แพ้กัน คอลัมน์ Urban Isekai ประจำเดือนนี้ ขอดึงเอาความประหลาดของบ้านแบบไทยๆ ที่เราอยู่กันจนเคยชินมากางให้ดูว่า มีอะไรบ้างที่เป็นซิกเนเจอร์ของคนไทย ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องสุดเวียร์ดในสายตาเหล่านักสืบ เริ่มจากบ้านที่เป็นแหล่งรวมพหุความเชื่อแบบใหม่แบบสับที่ต่างชาติเห็นเป็นต้องงง เพราะแม้หน้าบ้านจะมีศาลพระภูมิหรือศาลตายายที่กลายเป็น PokéStop หรือบ้านตุ๊กตาในสายตาคนต่างชาติแล้ว ในบ้านของหลายคนยังมีหิ้งพระที่เอาไว้กราบไหว้สารพัดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่พระพุทธรูป พระพิฆเนศ ท้าวเวสสุวรรณ ไปจนถึงไอ้ไข่ หรือพี่กุมาร ที่ดีไม่ดีภายในบ้านอาจจะมีตี่จู้เอี๊ยะสีแดงวางอยู่ด้วย จนทำเอามึนไปเลยว่า สรุปแล้วบ้านนี้นับถืออะไรกันแน่นะ แถมหลายบ้านทั้งประตูหน้าต่างยังถูกออกแบบมาในรูปแบบของลูกกรงเหล็กดัดลวดลายแสนคุ้นตา ที่มองแรกๆ ก็สวยดีอยู่หรอก แต่พออยู่ในบ้านไปนานๆ […]

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลัง STEP INTO SWING เมื่อเสียงเพลงและสเต็ปเท้าอาจพาเราไปสู่กรุงเทพฯ ที่ดีขึ้น

เย็นวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในชุดวินเทจ เสียงเพลงสวิงดังกึกก้อง ฟลอร์เต้นรำเริ่มขยายพื้นที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มไปทั่วทั้งบริเวณ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งเหล่านี้คือตัวชี้วัดความสำเร็จของ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong อีเวนต์สวิงโดย 2 ทีมงานเบื้องหลังอย่าง The Stumbling Swingout วงดนตรีสวิงแจ๊สที่ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มนักเต้นสวิง และ Jelly Roll Jazz Club โรงเรียนสอนเต้นสวิงที่ตั้งใจสร้างนักเต้นใหม่ๆ เพื่อให้สวิงกลายเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงในอนาคต หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เฝ้ามองแวดวงการเต้นสวิงในไทยมาตั้งแต่ยุคก่อนโควิด-19 ในเวลานั้นหลายคนอาจจินตนาการไม่ออกว่า วันหนึ่งกรุงเทพฯ จะมีอีเวนต์ SWING IN THE PARK เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ก่อนจะขยายตัวลามเลยออกไปสู่สถานที่ที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งอาคารลุมพินีสถาน ไปรษณียาคาร ลานชุมชนต่างๆ รวมถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่ได้โคจรกลับมาจัดเป็นครั้งที่สองแล้ว การขยับขยายของฟลอร์สวิงแดนซ์จากในสตูดิโอสู่พื้นที่สาธารณะต่างๆ […]

Shanghai Street Furniture สำรวจเซี่ยงไฮ้ผ่านมุมมองของสถาปนิกผังเมือง

เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่โดดเด่นด้วยการวางผังเมืองที่ใส่ใจความเป็นอยู่ของผู้คนอย่างมาก การออกแบบพื้นที่สาธารณะ ตึก และอาคารร้านค้าต่างๆ ได้รับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมืองอย่างสมดุล สิ่งที่ทำให้เซี่ยงไฮ้มีเอกลักษณ์คือ การผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและวิถีชีวิตแบบจีนได้อย่างลงตัว ตึกสูงระฟ้าสไตล์ยุโรปตั้งอยู่เคียงข้างกับร้านค้าท้องถิ่น โดยมีการแบ่งทางเท้า ทางจักรยานด้วยพื้นผิวที่แตกต่างอย่างชัดเจน เป็นเมืองที่เดินง่าย สะอาด มีต้นไม้ร่มรื่น และตลอดทางในเมืองก็มีร้านค้ากับตึกสวยงามตลอดเส้นถนน ขณะเดียวกัน ร้านรวงคาเฟ่ก็ได้รับการออกแบบให้นั่งนอกร้านได้เหมือนเมืองในยุโรป ในโซนที่อยู่อาศัย ทุกๆ การเดินเท้า 15 นาที จะมีพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนออกมาออกกำลังกาย มีสนามเด็กเล่นกระจายอยู่ทุกที่ ทำให้เมืองมีชีวิตชีวามาก Street Furniture เป็นองค์ประกอบเล็กๆ ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เมืองน่าอยู่และน่าสนใจมากขึ้น เมื่อสังเกตดีๆ จะเห็นว่า การออกแบบม้านั่งต่างๆ ในเซี่ยงไฮ้มีรายละเอียดน่ารักเล็กๆ น้อยๆ ที่ชวนสังเกต เช่น ดีไซน์ที่นำเอกลักษณ์ของเมืองผสมผสานกับความเป็นจีนมาออกแบบม้านั่งริมถนน เท่านั้นไม่พอ ม้านั่งตามถนนและสวนสาธารณะไม่เพียงแค่ให้นั่งพักผ่อน แต่หลายที่นั่งยังออกแบบให้มีฟังก์ชันพิเศษ เช่น ช่องชาร์จโทรศัพท์ด้วยโซลาร์เซลล์ ขั้นบันไดในห้างฯ ที่นั่งพักได้ ฯลฯ หากคุณมีโอกาสไปเที่ยวเซี่ยงไฮ้ นอกจากถ่ายรูปกับสถานที่ยอดฮิตแล้ว อย่าลืมสังเกตองค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้เมืองนี้มีชีวิตชีวาและเป็นเอกลักษณ์ การสำรวจเมืองในมุมมองนี้จะช่วยให้คุณเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสถาปัตยกรรมและชีวิตประจำวันของผู้คนอีกด้วย สำหรับเรา เซี่ยงไฮ้ไม่ใช่แค่จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่สวยงาม แต่ยังเป็นแหล่งแรงบันดาลใจในการออกแบบเมืองที่มีความสร้างสรรค์และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive สิงหาคม 2567

‘น้อยแต่มาก เล็กแต่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด’ วลีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เหล่าคนทำงานออกแบบหรือทำงานสร้างสรรค์มักได้ยินกันจนชินหู ซึ่งการวัดกึ๋นในผลงานออกแบบใดๆ ในปัจจุบัน เรามักไปตามดูกันตรงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ปรากฏอยู่ในผลงานนี่แหละ อย่างไรก็ตาม ตัวผมเองไม่ค่อยอยากจำกัดคำเท่ๆ พวกนี้อยู่แค่ในวงการนักออกแบบหรือคนทำงานสร้างสรรค์เท่านั้น เพราะหลายครั้งผมก็เห็นผลงานออกแบบตามริมทางท้องถนนจากคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนออกแบบ ที่มีลักษณะน้อยแต่มากหรือมีรายละเอียดเล็กๆ ที่เห็นแล้วน่าทึ่งไม่แพ้นักออกแบบตัวจริงอยู่บ่อยๆ ไม่รู้ว่าใครเห็นด้วยกับผมไหมว่า เวลาจะลงรายละเอียดในงานออกแบบใดๆ เราในฐานะนักออกแบบมักพยายามทำให้มันดูแนบเนียนไปกับภาพใหญ่ แต่ในงานออกแบบเล็กๆ ตามริมทางท้องถนนนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะมีความไม่แนบเนียนและโดดออกมาจากชิ้นงานให้เห็น แต่ถึงแม้มันจะสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย แต่หลายคนก็เลือกที่จะมองข้ามไปอยู่บ่อยครั้ง อาจเพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อมองรวมๆ ภาพใหญ่กับทัศนียภาพของเมืองไทยต่างกลมกลืนกันไปอยู่ดีนั่นเอง แต่ไม่ต้องรู้สึกพลาดอะไรไป หากใครไม่ค่อยได้สังเกตเห็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ตามริมทาง ผมได้คัดสรรภาพของเหล่านี้มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมอยู่แล้วเป็นประจำทุกเดือนในคอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้เราฝึกมองของรอบตัวให้ดีมากขึ้น เผื่อเวลาที่เราออกจากบ้านแล้วผ่านตามตรอกซอกซอย อาจจะได้ลองกวาดสายตามองไปตามแนวผนังตามจุดต่างๆ และพระเจ้า (แบบไทยๆ) ที่อยู่ในรายละเอียดอาจจะปรากฏตัวให้เห็นก็เป็นได้ Doll Stopper อะไรที่ดูผิดที่ผิดทาง หลายครั้งมันถูกคิดมาแล้วเป็นอย่างดี อย่างประตูรั้วเหล็กหน้าบ้านในรูปนี้ที่มีตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งถูกมัดติดเอาไว้ เมื่อลองพิจารณาดูรวมๆ ก็พบว่า น้องตุ๊กตาหมีตัวนี้คือดีเทลซับแรงกระแทกของประตูรั้วเหล็กที่อาจเปิดไปชนกับกำแพงด้านข้าง กลายเป็น Doll ที่เป็น Door Stopper นั่นเอง FruitWork […]

‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนที่อยากให้คนเห็นย่านหัวลำโพงในมุมใหม่ๆ ด้วยการ Reconnect คนในและคนนอกเข้าด้วยกัน

ภาพของย่าน ‘หัวลำโพง’ ในความทรงจำของหลายๆ คนอาจหยุดอยู่แค่ที่ ‘สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ ยิ่งเมื่อมีการย้ายเส้นทาง​​การเดินรถไฟบางส่วนไปที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) ภาพจำเกี่ยวกับย่านหัวลำโพงจึงเลือนรางตามไปด้วย แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การเข้ามาของกลุ่ม ‘RTUS-Bangkok ริทัศน์บางกอก’ ทำให้เราเห็นย่านหัวลำโพงในมุมมอง มิติ รวมถึงสถานที่ใหม่ๆ มากขึ้น ผ่านการบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชน พร้อมกับกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมมือกันระหว่างเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และชาวบ้านในชุมชนเอง ตามคอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองไปพูดคุยกับ ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ แก๊งเพื่อนที่ร่วมกันทำกิจกรรมในย่านหัวลำโพงในนามของริทัศน์บางกอกกันว่า หัวลำโพงในมุมมองของพวกเขาและคนในย่านเป็นอย่างไร และในฐานะคนรุ่นใหม่ต่างถิ่นที่เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ พวกเขาทำอย่างไรถึงเชื่อมคนในและคนนอกย่านเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว รวมตัวคนรุ่นใหม่ที่อยากลบภาพจำหัวลำโพงแบบเดิมๆ “ตอนแรกชาวบ้านเขาไม่เข้าใจว่าเรามาทำอะไร ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่ แล้วเขาได้อะไร ทำให้มีการปิดกั้นเล็กน้อย แต่ตอนนี้เวลาเราไปลงพื้นที่ เขาจะต้อนรับแบบเอาน้ำไหม จะจัดกิจกรรมอะไรอีกไหม” คำบอกเล่าจากปกรณ์วิศว์ในวันที่ริทัศน์บางกอกทำงานในพื้นที่ชุมชนย่านหัวลำโพงมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ทำให้เราเห็นภาพความเปลี่ยนแปลงและการโอบรับของผู้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าทั้ง 3 คนจะไม่มีใครเกิดและเติบโตในย่านหัวลำโพงมาก่อนเลยก็ตาม จุดเริ่มต้นของริทัศน์บางกอกไม่ได้เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ในชุมชนเพื่อสื่อสารความเป็นตัวตนสู่สายตาคนภายนอกเหมือนอย่างย่านอื่นๆ แต่เป็นการรวมกลุ่มกันของเด็กวัยรุ่นที่มีความสนใจเรื่องเมืองคล้ายๆ […]

LittleFits บริการสมาชิกเสื้อผ้าเด็กรายเดือนแห่งแรกในไทย ตัวเลือกใหม่แบบรักษ์โลกของพ่อแม่ยุคปัจจุบัน

“ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เด็กอายุศูนย์ถึงสองปี เปลี่ยนไซซ์เสื้อผ้ามากถึงหกถึงเจ็ดครั้ง บางทีซื้อเสื้อผ้ามา ใช้ไม่กี่ครั้งก็ต้องเปลี่ยนแล้ว หรือบางคนซื้อมาไม่ได้ใช้ต้องทิ้งแล้วก็มี” แม้จะเป็นระยะเวลาสั้นๆ แค่ 2 ปีหลังจากเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลามากพอที่จะสร้างขยะเสื้อผ้าเด็กจำนวนมาก เพราะเฉลี่ยแล้ว แต่ละครอบครัวจะสร้างขยะเสื้อผ้าเหลือทิ้งมากถึง 90 ชิ้น และคาร์บอนฟุตพรินต์กว่า 360 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดปัญหาขยะเสื้อผ้าเด็ก และช่วยเซฟเงินในกระเป๋าคุณพ่อคุณแม่ไปพร้อมๆ กัน ‘ต้า-ธนกฤต จินดามัยกุล’ และ ‘เซน-นรเทพ ถนอมบุญ’ สองหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จับมือกันสร้าง ‘LittleFits’ บริการสมาชิกเสื้อผ้าเด็กรายเดือนแห่งแรกในไทยขึ้น จากคนที่มีความสนใจเหมือนกันสู่คู่หูธุรกิจ นอกจากเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 จากคณะและมหาวิทยาลัยเดียวกันแล้ว ความสนใจเรื่องเสื้อผ้าและสิ่งแวดล้อมยังเป็นอีกเรื่องที่เชื่อมต้ากับเซนเข้าด้วยกัน “แต่จุดเริ่มต้นจริงๆ คือเราทั้งสองคนสนใจเรื่องสตาร์ทอัพอยู่แล้ว และได้มีโอกาสทำเคสธุรกิจในมหา’ลัยด้วยกัน” เซนเท้าความถึงจุดที่ทำให้ทั้งคู่ขยับมาเป็นพาร์ตเนอร์ด้านธุรกิจ “หลังจากนั้นเลยทำให้รู้ว่าผมกับเขาชื่นชอบเรื่องเสื้อผ้าเหมือนกัน จนไปเจอเข้ากับ Pain Point เรื่องขยะที่เกิดจากเสื้อผ้าเด็ก จึงปรึกษาและพัฒนาออกมาเป็น LittleFits ในที่สุด” ต้าเสริม ชายหนุ่มอธิบายรูปแบบธุรกิจนี้อย่างง่ายๆ ให้เราฟังว่า LittleFits คือแบรนด์ให้บริการเสื้อผ้าเด็กแบบพรีเมียมลักซูรีรายเดือนแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีจุดมุ่งหมายในการพยายามลดขยะเสื้อผ้าเด็ก ด้วยการทำให้เกิดการหมุนเวียนของเสื้อผ้าให้ได้มากที่สุด […]

ปั่นรถถีบในเชียงใหม่ เพจบ่นเรื่องถนนหนทางของคนขี่จักรยานที่อยากให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่ Bicycle-friendly มากขึ้น

บอส-สิทธิชาติ สุขผลธรรม ไม่ใช่คนเชียงใหม่ แต่เขาคือเจ้าของเพจ ‘Chiang Mai Urban Cyclist: ปั่นรถถีบในเชียงใหม่’ ที่อยากผลักดันให้การขับขี่จักรยานในเชียงใหม่นั้นปลอดภัย มีถนนหนทางและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรต่อนักปั่นกว่าที่เคย จะพูดว่าบอสชอบปั่นจักรยานจนต้องลุกขึ้นมาก่อตั้งเพจก็อาจพูดได้ไม่เต็มปาก แต่หากจะกล่าวว่าชายหนุ่มชินกับการใช้จักรยาน บวกกับความอินเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ติดตัวมาตั้งแต่วัยรุ่น นั่นอาจนับเป็นแรงจูงใจในการทำเพจได้ เพราะมากกว่าการเรียกร้องเรื่องถนนหนทางและความปลอดภัย เพจของบอสยังอยากผลักดันไปถึงการตั้งนโยบายและพัฒนาเมืองในสเกลใหญ่ ที่ผู้ได้ประโยชน์จะไม่ใช่แค่นักปั่น แต่คือคนเชียงใหม่ทุกคน เวลา 3 ปีที่มาอยู่เชียงใหม่ทำให้คนที่ขับขี่จักรยานในชีวิตประจำวันเช่นเขามองเห็นอะไรบ้าง และแรงผลักดันหน้าตาแบบไหนที่ทำให้เขาเชื่อว่าเชียงใหม่จะเป็นเมือง Bicycle-friendly ได้ในที่สุด เรานัดเจอบอสเพื่อสนทนาเรื่องนี้กัน แน่นอนว่าในวันที่นัดเจอ เขาปรากฏตัวพร้อมกับจักรยานคู่ใจที่ขี่ไปไหนมาไหนรอบเมือง “เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด” “เราสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เรียนจบ ม.6 พอขึ้นมหาวิทยาลัยก็ไปอยู่ชมรมอนุรักษ์ งานหลักๆ ของชมรมคือจัดค่ายและแคมเปญ แต่จริงๆ มันเป็นเรื่องการปลูกจิตสำนึกให้คนเข้าใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่า  “พอเรียนปริญญาตรีจบ เราไปเรียนต่อโทด้านวิศวกรรมทางทะเลที่ฮาวาย ที่นั่นทำให้เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด เราใช้รถเมล์บ้าง แต่บางทีรถเมล์ก็ไม่ได้พาเราไปสุดทางที่อยากไป และบางทีมันก็ช้ากว่าขี่จักรยานเสียอีก “ฮาวายเป็นเกาะที่เป็นมิตรกับคนขี่จักรยาน ด้วยเพราะต้นไม้เยอะ ถนนมีร่มเงา คนที่นั่นจึงใช้จักรยานกันค่อนข้างเยอะ ถนนจะมีเลนจักรยานโดยเฉพาะในบางพื้นที่ ส่วนโซนที่ไม่มีเขาก็จะมีป้ายเขียนว่า Share the Road เพื่อให้คนขับรถให้ทางกับคนขี่จักรยานด้วย แม้แต่บนรถเมล์ก็จะมีพื้นที่ให้วางจักรยานบนนั้น   “เราอยู่ฮาวายได้สามปี […]

เก็บตก 3 กิจกรรมผลักดันเชียงรายสู่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในงาน Chiangrai Sustainable Design Week 2024

อยากรู้ไหมว่าตอนนี้เมืองเจียงฮายไปไกลถึงไหนแล้ว หลังจากที่ได้ยินข่าวการพัฒนาเมืองรองแห่งนี้บ่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดเทศกาล ‘เชียงรายเมืองออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2567’ หรือ ‘Chiangrai Sustainable Design Week 2024 (CRSDW2024)’ ที่รวมงานออกแบบและนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย แม้เทศกาลดังกล่าวจะสิ้นสุดลง แต่ Urban Creature ขอหยิบงานออกแบบและนวัตกรรมสร้างสรรค์ที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง ผ่านคอนเซปต์การผลักดันเชียงรายสู่เมืองสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนใน 3 มิติ ได้แก่ เมืองน่าอยู่ น่าลงทุน และน่าท่องเที่ยว SMOG ธุลีกาศ งานออกแบบนวัตกรรม ลดปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่า ปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าจากอุตสาหกรรมเกษตรแบบเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด หรือแม้กระทั่งอ้อยที่ถูกเผาหลังหมดฤดูเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาพเรามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ซึ่งนับเป็นวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่มีมาตรการควบคุมดูแลปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้ปัญหาฝุ่นกลายเป็นเทศกาลประจำปีของเชียงราย CEA ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ ร่วมมือกับ FabCafe Bangkok จัดกิจกรรมโชว์เคสและเวิร์กช็อปเสนอแนวทางเปลี่ยนขยะจากการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภายใต้กิจกรรม ‘SMOG ธุลีกาศ’ กิจกรรมที่ว่าคือการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีเพื่อแปรรูปซากพืชเกษตรเป็นวัสดุ ผ่านการฉีดขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติเป็นรูปทรงต่างๆ โดยหวังว่างานออกแบบเหล่านี้จะเพิ่มอัตราการซื้อซากพืชและช่วยลดปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่า เพื่อให้เชียงรายกลายเป็น […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.