FYI

5 Things I Love-Hate about Bangkok รักความสบาย แต่เกลียดจะตายกับชีวิตในเมือง

‘รักนะ แต่ก็เกลียดเหมือนกัน’ อาจเป็นหนึ่งในความรู้สึกของการเผชิญหน้ากับ Toxic Relationship ที่คอยบั่นทอนชีวิตทุกวัน ซึ่งความสัมพันธ์สุด Toxic นี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่ระหว่างคนด้วยกันเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความสัมพันธ์ของเมืองและคนที่อยู่อาศัยในเมืองด้วย วาเลนไทน์ปีนี้ Urban Creature ขอขยับออกจากความสัมพันธ์แบบโรแมนติกมาพูดถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบ ‘Love-Hate Relationship’ ของคนและเมืองกันบ้าง ว่ามีอะไรที่ทำให้เราทั้งรักทั้งเกลียด จนหนีออกจากความสัมพันธ์พังๆ นี้ไม่ได้ วินมอเตอร์ไซค์ อยู่ในเมืองรถติดจะตาย แต่ไม่เป็นไร เพราะไม่ต้องขับรถก็เดินทางในเมืองได้ง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะที่มีให้เลือกหลากหลาย (แต่ไม่ดีสักอย่าง) ซึ่งบริการที่ดูจะได้ใช้บ่อยที่สุดก็คงหนีไม่พ้นพี่วินมอเตอร์ไซค์ ที่สามารถพาเราซอกแซกฝ่าการจราจรที่ติดขัดไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงจะเร็วรี่แค่ไหนก็มีปัญหามากมายให้ต้องระแวดระวัง ทั้งความอันตรายที่เกิดจากการขับขี่เร็วเกินไป บางคนก็รอติดไฟแดงไม่เป็น เห็นช่องว่างก็รีบพุ่งตัวออกไปทันที หรือบางทีก็มีการคิดราคาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งความรักตัวกลัวตายก็ทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อความปลอดภัยในชีวิต  ถึงจะเกลียดที่ต้องเสี่ยงชีวิตทุกครั้งที่ซ้อนมอเตอร์ไซค์ แต่ก็รักชีวิตเมืองที่มีวินมอเตอร์ไซค์ เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องทรมานเดินฝ่าความร้อน ห้างสรรพสินค้า นัดเจอเพื่อนทีไร สุดท้ายก็หนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้าทุกที ถึงจะเปลี่ยนย่านไปเรื่อยๆ แต่ด้วยอากาศที่ร้อนและฝุ่นควันที่ลอยคว้างตลอดปีตลอดชาติ ก็ไม่มีที่ไหนจะเหมาะกับการเป็นจุดหมายนัดเจอกันในเมืองมากไปกว่านี้อีกแล้ว แม้การเดินเล่นหรือกินข้าวในห้างฯ จะเย็นสบายดี แต่พอไปบ่อยๆ ก็เริ่มจะเบื่อ บางครั้งก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศไปสนุกที่อื่นบ้าง เช่น ออกไปนั่งปิกนิกกับเพื่อนสาวท่ามกลางสวนดอกไม้ หรือออกไปนอนอ่านหนังสือรับลมเย็นๆ ในสวนแบบเซ็นทรัลพาร์ก ทีนี้พอนึกถึงค่าฝุ่นที่แดงแจ๋แล้วก็คงต้องขอกลับไปอยู่ในห้างฯ เหมือนเดิมแล้วกัน […]

ง้อด้วย ‘ของหวาน’ ทำไมถึงทำให้หายโกรธ?

จริงๆ แล้วแผนการเอาของหวานมาหลอกล่อให้รู้สึกดีไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์และความสัมพันธ์ในร่างกายที่เกี่ยวข้องกัน เราจึงต่อสายตรงไปคุยกับ ‘คุณหมอปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์’ จากเพจ Theory of love​ ผู้มองเรื่องความสัมพันธ์ของความรัก ผ่านวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา เพื่อไขข้อสงสัยว่า ทำไมง้อด้วยของอร่อยถึงหายโกรธง่ายทุกทีเลย

Sapiosexual ความฉลาดมันช่างดึงดูด (?) คนเราเกิดอารมณ์กับคนฉลาดได้จริงหรือไม่

ชวนค้นหาคำตอบว่า เราสามารถมีอารมณ์ หรือตกหลุมรักคนที่ ‘ความฉลาด’ ได้จริงเหรอ ?

ในวันที่ต้องกักตัวจากโลกภายนอก จะเก็บความรักไว้ได้อย่างไร?

ช่วงนี้ใครๆ ก็แสนเหงา ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 เช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคนรักก็ต้องห่างกันสักพัก อะไรที่นัดไว้ก็เป็นอันต้องยกเลิก รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ ก็น้อยลง ความเหงา เบื่อหน่าย ผิดหวัง หรือวิตกกังวล จึงส่งผลไปถึงสภาพจิตใจ การให้กำลังใจกันและกันน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยคลายความรู้สึกเหล่านี้ได้

Age Difference and Love รักต่างวัย อายุห่างไกลแต่ใจใกล้กัน

รักต่างวัยจะไปกันรอดไหม ? ต้องอายุห่างกันขนาดไหน ทุกคนถึงยอมรับ ? ระยะห่างของอายุมีความสำคัญต่อชีวิตคู่มากหรือเปล่า ? ถ้าเสิร์ชข้อมูลเกี่ยวกับ ‘ความรักต่างวัย’ ในอินเทอร์เน็ต มักจะต้องมีคำถามที่เราพูดถึงข้างต้นโผล่ขึ้นมาเสมอ ความหมายที่แฝงไปด้วยความกังวล และไม่มั่นใจในระยะห่างของตัวเลข หากย้อนไปในสมัยก่อนรุ่นพ่อแม่ ความสัมพันธ์รูปแบบนี้อาจจะเป็นที่พูดถึงในสังคมด้วยภาพลักษณ์ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ จนเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ที่ดูเหมือนจะเปิดกว้างกับรูปแบบความรักมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเปิดใจทุกคนเสมอไป แต่ความรักต่างวัย ก็ถือว่าเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ดีอย่างหนึ่ง เราจึงอยากเผยมุมมองความรักเกี่ยวกับ ‘ระยะห่างของวัย’ ให้ทุกคนได้เข้าใจกันมากขึ้น และบอกเล่าให้ฟังถึงความสุขของความสัมพันธ์รูปแบบนี้ | ‘รักต่างวัย’ ความสัมพันธ์ระยะห่างด้วย ‘ตัวเลข’ ในสมัยนี้ เป็นเรื่องปกติที่ผู้ชายจะมีแฟนที่อายุมากกว่าตน หรือผู้หญิงบางคนก็มีสามีวัยเท่าพ่อ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องแปลกเหมือนสมัยก่อน สาเหตุที่มีความรักต่างวัย คงจะเป็นเหมือน ความสัมพันธ์ที่ ‘ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย’ นั่นหมายถึงทั้งคู่ต่างเติมเต็มส่วนที่ขาดให้เข้ากันอย่างลงตัว เช่น ชายสูงวัยจะชอบสาวรุ่นเด็ก เพราะทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย และเหมือนย้อนกลับไปสู่วัยหนุ่มอีกครั้ง ส่วนในมุมของผู้หญิงที่รักผู้ชายที่มีอายุ อาจเป็นเพราะต้องการความเป็นผู้ใหญ่ มั่นคง รู้สึกวางใจที่จะพึ่งพิงได้ ถึงแม้ผลสำรวจจากนักวิจัย Emory University ในรัฐ Atlanta จะกล่าวว่า คู่รักที่ห่างกันแค่ปีเดียว มีโอกาสหย่าร้างกันน้อยสุดถึง 3% ถ้าห่างกันประมาณ […]

A bond of Love : เมื่อความผูกพันซื้อความรักส์ไม่ได้

เมื่อเราโตขึ้นเป็นธรรมดาที่จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนทางพฤติกรรมภายนอกที่สังเกตเห็นได้ด้วยตา หรือการเปลี่ยนแปลงภายในที่ต้องใช้ใจสัมผัส หรือแม้กระทั่งฮอร์โมนสารสื่อประสาท ไปจนถึงการทำงานของเซลล์สมอง ล่วงเลยมาจนถึงห้วงเวลาสำคัญ มนุษย์ทุกคนย่อมต้องการมีความรัก เมื่อใครสักคนเริ่มก้าวเข้ามาในชีวิต หลายครั้งที่ความผูกพันถูกพัฒนากลายเป็นความรัก แต่กับบางคนมันอาจไม่ใช่อย่างที่เราคิด จนทำให้บางครั้งเราสับสันและไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ และตัวตนของเขาหรือเธอคนนั้นเลย หรือจริงๆ แล้วความรักอาจไม่ใช่แค่เรื่องของหัวใจ แต่มันสามารถเข้าใจได้ด้วยหลักจิตวิทยา Attachment Theory | ทฤษฎีความผูกพัน ทฤษฎีความผูกพัน หรือ ทฤษฎีความผูกพันทางอารมณ์ (Attachment theory) เป็นหนึ่งในแบบจำลองทางจิตวิทยา ที่อธิบายถึงความเป็นไปของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ที่โดยพื้นฐานแล้วเด็กทุกคนเมื่อเกิดมามักจะมีความผูกพันกับผู้ที่ให้กำเนิดหรือผู้ที่เลี้ยงดู แต่ลักษณะของความสัมพันธ์ของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป โดยนักจิตวิทยา ‘จอห์น โบลบี (John Bowlby)’ ผู้สร้างทฤษฎีความผูกพัน ได้กล่าวเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า พฤติกรรมความรู้สึกผูกพันที่เกิดขึ้นนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกระบวนการ ‘คัดเลือกตามธรรมชาติ (Natural selection)’ และ ‘การปรับตัวที่สมดุลตามสภาพแวดล้อม (Adaptive value)’ ซึ่งหลักการเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้เด็กมีโอกาสอยู่รอดในสภาวะสังคมได้มากกว่า เพราะมีพ่อแม่และครอบครัวอยู่ใกล้เพื่อให้การปกป้องเลี้ยงดู โดยหลักสำคัญที่สุดของทฤษฎีนี้คือ เด็กจะสร้างความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงเปรียบเสมือน ‘เสาหลัก’ ในชีวิต อย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งกลายเป็นทฤษฎีหลักที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อศึกษาพฤติกรรมของทารกและเด็กในด้านต่างๆ ทั้งยังขยายไปถึงความสัมพันธ์ในแบบคู่รักด้วยนะ หลายคนอาจสงสัยว่าคนนี้ที่กำลังคุยๆ กันอยู่ […]

รักต่างวัย…ปรับความเข้าใจ คน 4 เจนฯ ในครอบครัว

ทุกความสัมพันธ์มีจุดเริ่มต้นมาจากสถาบันครอบครัว ซึ่งเปรียบเป็นที่พักใจของสมาชิกในบ้าน ความผูกพันที่จะอยู่ไปกับเราตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อ คุณแม่ พี่ ป้า น้า อา หรือแม้กระทั่งคุณปู่คุณย่าของเรา ด้วยช่วงอายุที่ห่างกัน บางทีก็อาจเป็นเหตุให้มีเรื่องทะเลาะถกเถียงหรือไม่ลงรอย เพราะความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งอาจจะทำให้มีกำแพงระหว่างวัยจนเกิดความห่างเหินไม่สนิทใจ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.