ลองนึกภาพว่าถ้าคุณต้องสวมหน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่นควันตลอดเวลา และตื่นขึ้นมาพร้อมกับเลือดที่ไหลออกทางจมูก นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับคนเชียงใหม่ที่เผชิญกับไฟป่าและฝุ่นควันมากว่า 10 ปี ค่าดัชนีคุณภาพอากาศของที่นี่พุ่งสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2562 ทําให้เชียงใหม่กลับมามีชื่อเสียงโด่งดังอีกครั้งในฐานะ “เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก”
‘วิศรุต แสนคำ’ ช่างภาพที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ จึงปิ๊งไอเดียสร้าง Preset “CNXPM2.5” ขึ้น โดยมี ‘ตรัยภูมิ จงพิพัฒนสุข’ ช่วยพัฒนาด้านเทคนิค Preset ดังกล่าวจะเปลี่ยนภาพถ่ายสีสันสดใสของเรา ให้เหมือนบรรยากาศของเมืองเชียงใหม่ในช่วงที่ถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นควัน เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหานี้ ว่ายังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัยหรือเครื่องฟอกอากาศ
“CNXPM2.5” เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ #Photoforair ของกลุ่มช่างภาพ Realframe ที่เชิญชวนทุกคนมาแต่งภาพผ่าน Preset ตัวนี้และนำเงินที่ได้จากการบริจาคไปซื้อหน้ากาก N95 เพื่อแจกจ่ายให้แรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่
สำหรับใครที่สนใจ เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://realframe.co/pfa/
RELATED POSTS
Acousticity | Purpeech รักรออยู่ไม่ไกล Live Session @Whattheduck
เรื่อง
kamonlak j.
‘บ้าน’ สถานที่ที่หลายคนอยู่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และคงมีหลายครั้งที่เราอาจต้องห่างไกลจากบ้านหลังเดิมด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไป บางคนอาจจะออกมาเพื่อเดินตามความฝันเช่นเดียวกับวงดนตรี ‘Purpeech’ ที่ห่างไกลจากเชียงใหม่และต้องย้ายมาบ้านหลังใหม่ที่กรุงเทพฯ จนทำให้เกิดเพลงที่เล่าเรื่องราวการไกลบ้านของพวกเขาอย่างเพลง ‘รักรออยู่ไม่ไกล’ Urban Creature เลยชวน Purpeech มาบรรเลงเพลงที่ ‘What The Duck’ บ้านหลังใหม่ที่ทำให้พวกเขารู้สึกอบอุ่นไม่ไกลบ้านจนกลายเป็นบ้านหลังที่สองของพวกเขา พร้อมทั้งคุยถึงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมหลังย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังนี้
CEA จับมือ MUJI ผลักดันสินค้าท้องถิ่น ดึง 2 สตูดิโอเซรามิกจากเชียงใหม่เข้าโครงการ Found MUJI Thailand
เรื่อง
Urban Creature
‘Found MUJI’ คือโครงการของ MUJI ที่เริ่มต้นขึ้นในปี 2003 ผ่านการวางจำหน่ายสินค้าในร้าน Found MUJI Aoyama ในย่านอาโอยามะ กรุงโตเกียว ก่อนจะกระจายไปตามร้านสาขาทั่วญี่ปุ่นและในต่างประเทศ ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการเฟ้นหาสินค้าคุณภาพจากท้องถิ่นที่รักษาคุณค่าของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมจากทั่วทุกมุมโลก มาพัฒนาและวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกของ MUJI ก่อนที่ช่วงปลายปี 2023 โครงการดังกล่าวจะเกิดขึ้นครั้งแรกในไทย โดยทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เข้ามาร่วมมือต่อยอด Found MUJI Thailand ผ่านกิจกรรม ‘ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมศักยภาพท้องถิ่นผ่านงานหัตถกรรม’ (Collaborative Program to Support Craft Community) ความร่วมมือที่ว่าคือ การเชิญชวนผู้ประกอบการสร้างสรรค์ท้องถิ่นในสาขาเซรามิก กลุ่ม Chiangmai Clayative และกลุ่มผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติมาร่วมทำเวิร์กช็อป เพื่อเฟ้นหาผู้ประกอบการนำร่องมาพัฒนาสินค้าร่วมกันกับ MUJI ประเทศไทย ‘InClay Studio’ สตูดิโอเซรามิกของ ‘ชิ-จิรวงษ์ วงษ์ตระหง่าน’ และ ‘ชามเริญ สตูดิโอ (Charm-Learn Studio)’ ของ […]
Sapphic Riot บาร์ของนักกิจกรรมที่อยากสร้างพื้นที่กิน-ดื่ม และเป็นตัวเองได้เต็มที่ให้ชาวแซฟฟิกในเชียงใหม่
เรื่อง
พัฒนา ค้าขาย
ความมืดกำลังโรยตัวปกคลุมเชียงใหม่ ฉันก้าวขาจากรถลงเดินบนถนนสิงหราชที่นักท่องเที่ยวขวักไขว่ เปิดประตูเข้าร้านเล็กๆ ริมทางและปล่อยสายตาให้ได้ปรับตัวกับแสงไฟ อาจเป็นเพราะจังหวะเพลงที่พอโยกตัวได้ เสียงชงเครื่องดื่มเบาๆ จากบาร์ และป้ายประกาศซึ่งตั้งอยู่รอบร้านที่ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจ PRIDE, SISTERHOOD, RESPECT คือตัวอย่างคำที่ฉันปรายตาเร็วๆ แล้วสังเกตเห็น และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้รู้สึกอย่างนั้น อย่างไม่ต้องสงสัย Sapphic Riot คือบาร์ที่สร้างสรรค์มาเพื่อชาวแซฟฟิก (Sapphic) โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร หมวย หญิงสาวเจ้าของบาร์ผู้กำลังนั่งอยู่ตรงหน้าฉันตอนนี้อธิบายว่า แซฟฟิกคือคอมมูนิตี้ของคนที่เป็นผู้หญิงและคนที่รักผู้หญิง ซึ่งไม่ได้นับรวมแค่คนที่นิยามอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเลสเบี้ยนเท่านั้น แต่ร่มของแซฟฟิกนั้นครอบคลุมไปถึงไบเซ็กชวล แพนเซ็กชวล ทรานส์เจนเดอร์ เควียร์ ไปจนถึงกลุ่มนอนไบนารี นี่คือบาร์แซฟฟิกแห่งแรกในเชียงใหม่ และนั่นคือสิ่งที่ชวนให้ฉันสนใจบาร์แห่งนี้ในทีแรก แต่พอได้นั่งคุยกับผู้ก่อตั้งจริงๆ สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ความตั้งใจของหญิงสาวตัวเล็กๆ ที่อยากสร้างพื้นที่ที่เธอเสาะแสวงหามาทั้งชีวิต เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนในคอมมูนิตี้ และพื้นที่ที่เธอกับเพื่อนชาวแซฟฟิกสามารถ ‘เป็น’ และ ‘ทำ’ อะไรได้โดยไม่ถูกตัดสินจากใคร Sapphic Pride “สิ่งที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดเกี่ยวกับคอมมูฯ แซฟฟิกคืออะไร” ท่ามกลางเสียงเพลงในร้านที่ดังคลอ ฉันเปิดบทสนทนาด้วยการชวนหมวยครุ่นคิดเกี่ยวกับคอมมูนิตี้ของเธอ “คนส่วนมากจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาททางเพศว่าเราต้องเป็นฝ่ายไหน ใครจะต้องเป็นฝ่ายเทกแคร์อีกคน ซึ่งจริงๆ มันค่อนข้างลื่นไหลมาก” หญิงสาวตอบชัดถ้อยชัดคำ “แต่ปัญหาหลักๆ เราคิดว่ามันคือการที่เราไม่ถูกมองเห็นโดยคนในสังคมมากกว่า […]
‘corn smog ice cream crunch’ ไอศกรีมรสชาติใหม่จาก ‘kintaam’ แรงบันดาลใจจาก PM2.5 ในเชียงใหม่
เรื่อง
Urban Creature
‘kintaam’ คือร้านไอศกรีมแซนด์วิชจากเชียงใหม่ ที่นอกจากความเอร็ดอร่อยแล้ว ยังเต็มไปด้วยความครีเอทีฟในการสร้างสรรค์รสชาติให้เหล่านักชิมได้ลิ้มลองไอศกรีมรสชาติใหม่ๆ อีกด้วย สำหรับฤดูร้อนนี้ที่คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วทุกพื้นที่ สำทับด้วยปัญหาของ ‘ฝุ่น’ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะ PM2.5 ในเชียงใหม่ที่ยังคงอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วง kintaam ได้สะท้อนวิกฤตที่ชาวเชียงใหม่ต้องเจออยู่ทุกวันผ่านไอศกรีมรสชาติใหม่ ‘corn smog ice cream crunch’ corn smog ice cream crunch เป็นไอศกรีมรสนมที่คลุกด้วยคอร์นเฟลกส์อบกรอบผสมคาราเมลชาร์โคล จนได้หน้าตาที่เหมือนกับก้อนฝุ่น ซึ่งคอร์นเฟลกส์นั้นก็เป็นตัวแทนของผลผลิตข้าวโพดที่มีการเผาไร่ข้าวโพดในการทำเกษตรกรรม จนทำให้เกิดมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน ‘น้ำอบ-ถมทอง ไชยจินดา’ และ ‘น้ำทิพย์ ไชยจินดา’ เล่าถึงไอเดียการริเริ่มทำไอศกรีมรสนี้ว่า ปัญหา PM2.5 ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของพวกเธอในช่วงปีหลังๆ อย่างเห็นได้ชัด จึงอยากทำครีเอชันนี้ขึ้นมา เพราะปกติร้านขนมหรือร้านกาแฟมักจะต้องออกเมนูพิเศษใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อ และลูกค้าใหม่ได้รู้จักแบรนด์เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ ทั้งสองจึงมองว่าการที่กินตามออกเมนู ‘corn smog’ ในช่วงฤดูฝุ่นนี้ ไม่ได้ต่างจากการออกเมนูพิเศษประจำฤดูกาลอื่นๆ เช่น วาเลนไทน์หรือฮาโลวีน เพราะวิกฤตฝุ่นคือเหตุการณ์พิเศษที่ไม่ได้เกิดในชีวิตประจำวันปกติ แต่ส่งผลกระทบทางสุขภาพในระยะยาว พวกเธอต้องการสื่อสารว่ามันคือปัญหาที่เราทุกคนเผชิญอยู่ในตอนนี้ ใครที่สนใจ ตามไปชิม […]