‘Pecgo’ ตลาดสัตว์เลี้ยงออนไลน์ ตัวกลางตรวจสอบทุกการซื้อขาย ครอบคลุมสัตว์เลี้ยงกว่า 18 ชนิด

หากจะหาซื้อสัตว์เลี้ยงสักตัว ทางเลือกที่ง่ายที่สุดคงเป็นตลาดนัดหรือช่องทางออนไลน์อย่างเพจเฟซบุ๊ก แต่ข้อเสียของการซื้อสัตว์เลี้ยงผ่านช่องทางเหล่านี้คือ ความเสี่ยงที่เราอาจถูกผู้ขายหลอกขายสัตว์เลี้ยงที่ไม่ตรงปก หรือสัตว์เลี้ยงที่ป่วยและไม่แข็งแรง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและยังเป็นการทำร้ายสัตว์เลี้ยงทางอ้อมอีกด้วย ชวนมารู้จักกับแอปพลิเคชัน ‘Pecgo’ แพลตฟอร์มซื้อ-ขายสัตว์เลี้ยงออนไลน์ที่มีความน่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ อีกทั้งยังมีสัตว์เลี้ยงให้เลือกมากกว่า 18 ชนิด แอปฯ นี้เกิดขึ้นโดย ‘ต้า-ปธานิน เจนณรงค์ศักดิ์’ ‘บุ๋น-ชนก พลายทรัพย์’ และ ‘กานต์-พุฒิสรรค์ ตันสุวรรณนนท์’ ที่มีความฝันและต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตลาดสัตว์เลี้ยงที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพื่อไม่ให้มีคนต้องถูกโกงเพิ่ม และช่วยให้คุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงดีขึ้น Pecgo มีระบบการจัดการหลังบ้านที่ช่วยคัดกรองร้านค้าที่มีโปรไฟล์ดีและน่าเชื่อถือ พร้อมลงทะเบียนยืนยันตัวตนของผู้ขายผ่านบัตรประชาชน หน้าสมุดบัญชี และสถานที่เพาะสัตว์เลี้ยง เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อสัตว์เลี้ยงได้อย่างสบายใจ นอกจากนี้ แอปฯ ยังมีมาตรการจัดการกับร้านค้าที่โกงโดยการฟ้องเอาผิด พร้อมประกาศรายชื่อร้านค้าที่โกงในทุกช่องทางของ Pecgo และทำการแบนไม่ให้สามารถเข้ามาขายในระบบได้อีก สำหรับฟาร์มสัตว์เลี้ยงที่สนใจ ลงทะเบียนเข้าร่วมเป็นร้านค้าได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งทาง Pecgo จะคอยเป็นที่ปรึกษาเรื่องการขายและช่วยขยายฐานลูกค้า พร้อมทั้งยังป้องกันความเสี่ยงจากการทิ้งมัดจำของผู้ซื้ออีกด้วย สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นพาร์ตเนอร์เพิ่มเติมได้ที่ Pecgo.Official ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Pecgo ได้แล้ว ทั้งในระบบ Android ทาง Google Play และ iOS ทาง […]

‘Gratitude Jar’ แอปฯ บันทึกความรู้สึก ให้กำลังใจตัวเอง เปลี่ยนวันที่แย่ให้ดีขึ้น ผ่านข้อความที่พับดาวไว้ในขวดโหล

ไม่รู้ว่าตั้งแต่เมื่อไหร่ที่ชีวิตของเราเต็มไปด้วยความกดดัน ผสมกับความเหน็ดเหนื่อยในแต่ละวัน จนเผลอสร้างมวลลบให้ตัวเองอยู่บ่อยๆ แต่เชื่อเถอะว่า บางครั้งข้อความสั้นๆ ที่พูดถึงสิ่งดีๆ เพียงเล็กน้อย ก็สามารถฉุดเราขึ้นมาจากห้วงแห่งความเศร้าได้ไม่ยาก ย้อนกลับไปในอดีต หลายคนคงเคยเขียนบันทึกประจำวันถึงวันดีๆ หรือพับดาวบันทึกความทรงจำดีๆ ไว้ในขวดโหล ที่แค่ได้ย้อนกลับมาอ่านข้อความก็หัวใจพองโตอีกครั้ง สำหรับใครที่คิดถึงวันวานอย่างการพับดาวใส่ขวด เรามี ‘Gratitude Jar’ แอปพลิเคชันไดอารีบันทึกสิ่งดีๆ ประจำวัน เพื่อเปลี่ยนวันที่แย่ให้ดีขึ้นมาฝาก การทำงานของ Gratitude Jar คือ ในแต่ละวันเราสามารถบันทึกความรู้สึกเก็บพับเป็นดาวใส่ขวดโหลได้วันละ 1 ดวง และเมื่อไหร่ที่เศร้า แอปฯ ก็มีฟีเจอร์ ‘Jar Shake’ ที่จะช่วยให้ความเศร้านั้นหายไปด้วยการให้เราเขย่าโทรศัพท์หรือกดที่คำว่า Shake เพื่อสุ่มข้อความดีๆ ในโหลแก้วที่เราเคยบันทึกไว้ขึ้นมาอ่าน นอกจากนี้ สำหรับชาวขี้ลืมที่เพิ่งเริ่มต้นเขียนบันทึกประจำวัน ทางแอปฯ ก็มีฟีเจอร์ตั้งเวลาแจ้งเตือนให้เรากลับมาบันทึกเรื่องราวที่เจอในระหว่างวันได้ แถมถ้าโมเมนต์ดีๆ นั้นเกี่ยวข้องกับคนรอบตัว แอปฯ ยังเปิดโอกาสให้เราส่งต่อความรู้สึกขอบคุณไปยังพวกเขาผ่านฟีเจอร์ ‘Share Your Gratitude’ ได้ด้วย ใครที่อยากพับดาวให้ใจฟู เข้าไปดาวน์โหลดแอปฯ ได้ที่ t.ly/mCEVo

ให้น้องเหมียวช่วยจดรายจ่ายให้ กับแอปฯ บันทึกรายจ่าย ‘MeowJot’ ที่คำนวณจากสลิปโอนเงินอัตโนมัติ

คนจำนวนไม่น้อยคงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับการจดบัญชีรายรับรายจ่ายมาตั้งแต่เด็ก เพราะแค่ตอนเช้ากินอะไรไปบ้างอาจต้องใช้เวลานึกหลายนาที แบบนี้แทบไม่ต้องพูดถึงจำนวนเงินที่เราจ่ายไปในแต่ละวันเลย ในเมื่อจำไม่ได้ ก็ลองให้ผู้ช่วยตัวจิ๋วแสนขยันอย่าง ‘น้องเหมียว’ ในแอปพลิเคชัน ‘MeowJot’ (เหมียวจด) ช่วยดูแลจัดการให้ไหม ช่วงที่ผ่านมาหลายคนอาจเคยได้ยินชื่อแอปฯ MeowJot มาบ้าง แต่อาจยังไม่รู้ว่าแอปฯ นี้ทำงานแตกต่างจากแอปฯ รายรับรายจ่ายอื่นๆ อย่างไร เนื่องในโอกาสที่ MeowJot กลับมาปล่อยให้ดาวน์โหลดแอปฯ กันอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ต้องนำออกจากหน้า App Store เพราะมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนยอดดาวน์โหลดดีดขึ้นอันดับ 2 ของ App Store ประเทศไทย Urban Creature เลยไปก๊อกๆ หน้าประตูบ้านน้องเหมียว เพื่อคุยกับทีม KBTG อย่าง ‘พิมพ์พัช ดำรงเกียรติ’ Innovation Product Manager, ‘ชวิศ ทองภักดี’ Innovation Product Manager, ‘ศุภชัย สุวรรณวัชรชาติ’ UX Designer และ ‘ธนวิชญ์ ประสงค์พงษ์ชัย’ UX […]

มีอะไรมันพังไป หนักเบาเราซ่อมได้! WonWon เว็บฯ รวมร้านซ่อมเสื้อผ้าใกล้บ้าน ส่งเสริมสังคมแห่งการใช้ซ้ำที่ไม่รู้จบ

เมื่อไม่นานมานี้ Reviv แบรนด์เย็บซ่อมและตกแต่งเสื้อผ้าออนไลน์จากย่านอารีย์ ที่มีความตั้งใจในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นให้มีความยั่งยืนมากขึ้น ได้เปิดตัวเว็บแอปพลิเคชัน ‘WonWon (วนวน)’ เพื่อส่งเสริมการบริโภคแฟชั่นที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและดีต่อโลก วนวนเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ไม่แสวงกำไร ที่มีเป้าหมายช่วยให้ทุกคน ‘ซ่อมและใช้ซ้ำ’ สิ่งของได้ง่ายขึ้น โดยฟีเจอร์แรกที่เปิดตัวคือ ‘การค้นหาร้านซ่อมเสื้อในกรุงเทพฯ’ โดยเมื่อกดเริ่มใช้งาน ตัวเว็บไซต์จะแสดงผลรายชื่อร้านซ่อมในบริเวณนั้นทั้งหมดพร้อมกับข้อมูลครบครัน เช่น ระยะห่างจากผู้ใช้งาน เขตที่ตั้ง เวลาบริการ รวมถึงรีวิวที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ปัจจุบันวนวนมีข้อมูลร้านซ่อมราว 100 ร้าน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หลักๆ ของกรุงเทพฯ ได้แก่ ประเวศ วัฒนา พญาไท ราชเทวี ปทุมวัน สวนหลวง บางนา คลองเตย และห้วยขวาง ที่สำคัญ เว็บฯ วนวนยังยึดมั่นในพันธกิจของ Reviv ที่จะ ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ ในตลาดการซ่อมแซมที่มีร้านซ่อมของเหล่าคุณลุงคุณป้าอยู่แล้ว ซึ่งวนวนจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงช่างซ่อมตัวเล็กๆ ฝีมือดีในพื้นที่กับลูกค้าทั่วกรุงเทพฯ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยและคืนกำไรสู่ชุมชน ทาง Reviv เชื่อว่า เว็บฯ วนวนจะมีส่วนทำให้ผู้บริโภคทุกคนเข้าถึงการซ่อมและใช้ซ้ำได้ง่ายขึ้น เกิดความคุ้นชินและใช้บริการบ่อยขึ้นจนเป็นนิสัย ซึ่งจะทำให้สังคมของเราเข้าใกล้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) […]

นับถอยหลังสู่เดดไลน์แบบน่ารักๆ ด้วยแอปฯ ‘Bears Countdown’ ที่มีวิดเจ็ตพี่หมีคอยช่วยเตือน

ถ้าการนับถอยหลังเข้าสู่วันเดดไลน์เป็นเรื่องน่ากลัว ลองให้พี่หมีในแอปพลิเคชัน ‘Bears Countdown’ เป็นผู้ช่วยในการนับถอยหลังดูไหม เพราะแอปฯ Bears Countdown เป็นแอปฯ สำหรับนับถอยหลังที่มีสีสันสดใสและตัวการ์ตูนพี่หมีสุดน่ารัก ที่จะทำให้ทุกการเคานต์ดาวน์เหตุการณ์ต่างๆ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเหมือนเดิม นอกจากความน่ารักของตัวคาแรกเตอร์พี่หมีแล้ว ภายในแอปฯ ยังมีหมวดหมู่อีเวนต์ให้เลือกนับถอยหลังมากถึง 4 หมวด ได้แก่ Work, Play, Love และ Health โดยแต่ละหมวดยังสามารถแยกย่อยเจาะจงไปยังกิจกรรมต่างๆ ให้ครอบคลุมกับไลฟ์สไตล์ของทุกคน ผ่านกราฟิกภาพน่ารักๆ ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ดูหนัง ไปคอนเสิร์ต วันครบรอบ นัดหมายกับหมอ เป็นต้น แถมในตัวแอปฯ ยังมีวิดเจ็ตบนเครื่องไอโฟนที่แสดงข้อมูลการนับถอยหลังได้จากตัวแอปฯ ทันทีโดยไม่ต้องกดเข้าไปในตัวแอปฯ ให้ยุ่งยาก ซึ่งเราสามารถใช้งานแอปฯ นี้ฟรีๆ สูงสุด 5 เหตุการณ์นับถอยหลัง หรือถ้าอยากใช้งานมากกว่านี้ก็แค่กดซื้อ Bears Unlimited แบบตลอดชีพในราคา 99 บาท ใครที่อยากมีพี่หมีคอยช่วยนับเคานต์ดาวน์เหตุการณ์สำคัญๆ ในชีวิต เข้าไปดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ที่ Apple Store (t.ly/DO3fa)

‘Hangles’ ศูนย์รวมเสื้อผ้ามือสองที่อยากให้ทุกคนรักโลกไปพร้อมๆ สนุกกับการแต่งตัว

หลายคนประสบปัญหาเปิดตู้เสื้อผ้ามาแต่ไม่มีอะไรจะใส่ ทำให้ต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่อยู่ตลอด จนกลายเป็นว่ามีเสื้อผ้ามากมายล้นตู้ เพราะบางตัวใส่ไปแค่ครั้งเดียว บางตัวซื้อมาแค่ลองใส่ บางตัวใส่จนเบื่อ หรือบางตัวเก็บเอาไว้นานจนลืมไปแล้วว่าเคยมี แต่จะให้ทิ้งเสื้อผ้าเหล่านั้นไปเฉยๆ ก็รู้สึกเสียดายเงินทองที่จ่ายไปจำนวนไม่น้อย ทว่าจะให้รวบรวมไปวางขายก็อาจไม่ได้มีเวลาขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงอยากพาทุกคนมารู้จักกับ ‘Hangles’ ตัวกลางการโละตู้ที่ทำให้เราไม่ต้องหอบเสื้อผ้าไปหาสถานที่ขาย ไม่ต้องเปิดโซเชียลมีเดียใหม่ทำเป็นร้านค้า แค่เข้าไปขายหรือตามหาเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นมือสองได้ง่ายๆ ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน Hangles เกิดขึ้นเมื่อสามปีก่อนจากความสนใจด้านแฟชั่น ความยั่งยืน และการทำธุรกิจสตาร์ทอัพของสองพี่น้อง ‘ลูกน้ำ-เพ็ญพิชชา สันตินธรกุล’ และ ‘นุ่น-พิชชาธร สันตินธรกุล’ โดยทั้งคู่เริ่มต้นทำตลาดนัดออนไลน์แห่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางให้ใครที่อยากโละตู้เสื้อผ้าได้นำสิ่งของของตัวเองเข้ามาหมุนเวียนแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ ผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อส่งต่อสินค้าเหล่านั้นให้ได้กลับมาใช้งานอีกครั้ง นอกจากนี้ พวกเธอยังอยากให้ทุกคนที่ซื้อสินค้าต่อจากแพลตฟอร์มนี้ได้สนุกกับแฟชั่นโดยยังคงให้ความสำคัญกับความยั่งยืนไปด้วย ศูนย์รวมเสื้อผ้ามือสองที่เปิดพื้นที่ให้คนมาส่งต่อของให้คนที่สอง สาม สี่ จุดเริ่มต้นของ Hangles เกิดขึ้นจากปัญหาที่สาวๆ หลายคนต้องประสบพบเจอ นั่นคือ ปัญหาเสื้อผ้าล้นตู้ที่มีเยอะจนไม่รู้จะไปเก็บไว้ที่ไหน หรือบางตัวก็ลืมไปแล้วว่าเคยมี ซึ่งสองพี่น้องลูกน้ำกับนุ่นก็เคยเป็นหนึ่งในนั้น แน่นอนว่าทั้งคู่ชอบแต่งตัวและเป็นสายแฟชั่นอยู่แล้ว ทว่าในช่วงที่นุ่นไปเรียนต่อต่างประเทศ เธอเริ่มมีความสนใจและศึกษาเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) อย่างจริงจัง ประกอบกับพี่สาวอย่างลูกน้ำเองก็มีความสนใจในการทำสตาร์ทอัพ นั่นจึงทำให้สองพี่น้องนำความสนใจทั้งสามอย่างมาประกอบร่างเข้าด้วยกัน และกลายมาเป็น Hangles แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าแฟชั่นมือสองทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าอย่างในตอนนี้ “การใช้สินค้ามือสองมีส่วนช่วยอุตสาหกรรมแฟชั่นตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือ ลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตเสื้อผ้าใหม่ […]

Chook แอปฯ เดลิเวอรีที่เชื่อว่าอาหารโฮมเมดพิเศษ จนสร้างแพลตฟอร์มให้เชฟที่ไม่มีหน้าร้าน

วันนี้ ที่ออฟฟิศ Urban Creature มีข้าวกลางวันฟรี เป็นเมนูแกงเขียวหวานเนื้อของร้าน ‘บ้านศรีโบว์’ ที่นอกจากจะใช้เนื้อวัวที่ตุ๋นจนเปื่อยเป็นวัตถุดิบหลัก น้ำแกงยังมีสีเขียวกว่าแกงเขียวหวานทั่วไป ไม่ได้ปรุงพลาดหรือใส่เครื่องแกงเยอะเกินไป แต่เป็นสูตรลับเฉพาะของคนทำที่บอกว่า แกงเขียวหวานบ้านเขาต้องเขียวแบบนี้เท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ไม่ได้หาซื้อที่ไหนก็ได้ ถ้าไปเสิร์ชในแอปฯ สั่งอาหารทั่วไปคงไม่เจอ ยกเว้นแอปฯ เดียวที่ทางร้านเปิดขายชื่อ Chook Chook คือแอปฯ สั่งอาหารน้องใหม่ที่เปิดตัวในยุคที่ตลาดแอปฯ เดลิเวอรีแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่เอกลักษณ์ที่ทำให้ Chook โดดเด้งมากกว่าแอปฯ ไหน คือการเป็นแอปฯ ที่ขายเฉพาะเมนูโฮมเมดเท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในแอปฯ ยังมีเมนูและร้านอาหารจากครัวประจำบ้านอีกนับร้อยให้เลือกสรร ความน่ารักคือร้านเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าร้านจริงจัง และเชฟผู้ปรุงเมนูเหล่านั้นอาจไม่ได้ทำอาชีพเชฟจริงจัง แต่เป็นคนธรรมดาๆ ที่ทำอาหารอร่อย และอยากแชร์สูตรอาหารโฮมเมดในบ้านตัวเองให้คนอื่นกินบ้าง เบื้องหลังแอปฯ ที่ธรรมดาแต่พิเศษนี้เป็นยังไง Vincent Kao ผู้ก่อตั้งแอปฯ มีนัดกับเราที่ออฟฟิศ Urban Creature เพื่อเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง ไม่ใช่แค่เล่า แต่ชายหนุ่มยังขอเลี้ยงมื้อกลางวัน แน่นอนว่ามันคือเมนูแกงเขียวหวานร้านบ้านศรีโบว์ หนึ่งในเมนูอาหารโฮมเมดซึ่งเปิดขายในแอปฯ ที่เขาสร้างขึ้นมานั่นเอง อาหารประจำครอบครัว “ทุกคนมีเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารที่บ้านของตัวเอง” คือประโยคที่จุดประกายให้วินเซนต์ริเริ่มสตาร์ทอัปชื่อ Chook ไม่ต่างจากเราทุกคน […]

ตัวช่วยพ่อแม่รุ่นใหม่รับมือลูกเล็ก แอปฯ วิเคราะห์เสียงร้องไห้ ‘CryAnalyzer’ เพื่อแปลงเป็น 5 อารมณ์ ผ่านอีโมจิน่ารัก

สำหรับพ่อแม่มือใหม่ การต้องรับมือกับเสียงร้องไห้ของลูกเล็กคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ว่าจะฟังอย่างไรก็แยกไม่ออกอยู่ดีว่า ระหว่างร้องไห้เพราะหิวกับร้องไห้เพราะง่วงนอน มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ‘CryAnalyzer’ คือแอปพลิเคชันวิเคราะห์เสียงเด็กร้องไห้ ที่อาจเป็นตัวช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจเสียงร้องไห้ของเด็กได้มากขึ้นผ่านการวิเคราะห์เสียงจาก AI CryAnalyzer เป็นผลงานการออกแบบของ ‘First Ascent inc.’ บริษัทเทคโนโลยีสำหรับเด็ก สัญชาติญี่ปุ่น ที่เกิดขึ้นจากการเก็บตัวอย่างช่วงอารมณ์ต่างๆ ของทารกอายุตั้งแต่แรกเกิด – 2 ปี จำนวนมากกว่า 20,000 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์เสียงร้องไห้และแปลงเป็น 5 อารมณ์ ได้แก่ หิว ง่วงนอน เบื่อ โกรธ หรือรู้สึกไม่สบายตัว ผ่านอีโมจิน่ารักๆ ส่วนวิธีการอ่านค่าความรู้สึกก็ทำได้ง่ายๆ แค่กดบันทึกเสียงร้องของทารกเป็นเวลา 5 – 10 วินาที จากนั้นแอปฯ จะทำการวิเคราะห์อารมณ์ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของทารกตามข้อมูลประวัติที่จัดเก็บไว้ โดยคำนึงถึงเพศและอายุของทารกร่วมด้วย ซึ่งทางทีมผู้พัฒนาแอปฯ อ้างว่ามีความแม่นยำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ในการระบุสภาวะทางอารมณ์ เพื่อให้พ่อแม่มือใหม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ของทารกดีขึ้น นอกจากนี้ ภายในแอปฯ ยังมีการแสดงประวัติการร้องไห้ย้อนหลัง สำหรับดูความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของลูกน้อยได้อีกด้วย ผู้ที่สนใจ ดาวน์โหลดแอปฯ ‘CryAnalyzer’ […]

เช็กสีเสื้อ ออกรถ คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่ ดูทุกดวงทุกฤกษ์ได้เพียงปลายนิ้ว

ด้วยแอปฯ ปฏิทินมงคลน่ำเอี๊ยง พูดได้ว่าฤกษ์งามยามดีนั้นสอดคล้องกับความเชื่อและสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนตั้งแต่เกิดจนตาย โดยโปรดักต์หนึ่งที่น่าจะเป็นของคุ้นตาตามผนังบ้านของหลายๆ คน คงหนีไม่พ้นภาพปฏิทินจีนหรือปฏิทินน่ำเอี๊ยง เหตุผลที่ผู้คนนิยมใช้กันก็เพราะปฏิทินน่ำเอี๊ยงมีคุณสมบัติมากกว่าแค่บอกวันเดือนปี แต่ยังบอกฤกษ์ดี ฤกษ์มงคล ดวงประจำ หรือสิ่งที่ไม่ควรทำในแต่ละวันได้ด้วย และเมื่อปฏิทินนี้ถูกนำมาปรับใช้ในสังคมไทยเมื่อหนึ่งร้อยปีที่แล้ว ก็ได้ผนวกเข้ากับศาสตร์ปฏิทินแบบสุริยคติและจันทรคติ ทำให้มีการระบุวันพระและวันข้างขึ้น-ข้างแรม รวมถึงคุณลักษณะอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้ใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคเทคโนโลยี จากปฏิทินน่ำเอี๊ยงที่เป็นกระดาษก็วิวัฒนาการกลายมาเป็นแอปพลิเคชันที่อยู่ในสมาร์ตโฟน แอปพลิเคชันนี้มีชื่อว่า ‘Num Eiang Astrolendar’ หรือชื่อไทย ‘ปฏิทินมงคลน่ำเอี๊ยง’ ที่มีการออกแบบหน้าตาปฏิทินให้เป็นแพลตฟอร์มที่มีเอกลักษณ์ หน้าตาทันสมัย ใช้งานง่าย และรองรับการเข้าใช้งานพร้อมกันได้ถึงวันละเกือบหนึ่งแสนคน เมื่อโหลดมาแล้ว ทุกคนจะพบกับบริการเบื้องต้นอย่างคำพยากรณ์ทั่วไปในวันนั้นๆ ปีนักษัตรที่ไม่ถูกกัน วันพระไทย,จีน วันธงไชย วันกาลกิณี วันอุบาทว์ เลขมงคล สีมงคล เวลามงคล ทิศมงคล หรือสิ่งที่ควรปฏิบัติกับหลีกเลี่ยงในวันนั้น รวมถึงฟังก์ชันการแจ้งเตือนวันสำคัญต่างๆ ล่วงหน้า เป็นต้น สำหรับสายมูฯ แอปฯ นี้ยังมีฟีเจอร์ที่เป็นทางเลือกเพิ่มเติม เพื่อช่วยตัดสินใจในชีวิตประจำวัน หลักๆ คือการดูฤกษ์งามยามดีในโอกาสสำคัญ ไม่ว่าจะวันแต่งงาน ฤกษ์คลอดบุตร เวลาก่อสร้าง การทำธุรกิจ ออกรถ และขึ้นบ้านใหม่ […]

เข้าใจความรู้สึกของตัวเองระหว่างวัน ผ่านแอปฯ บันทึกอารมณ์ ‘How We Feel’ ที่มีให้เลือกถึง 4 หมวด 144 อารมณ์

เพราะความรู้สึกในหนึ่งวันของแต่ละคนไม่สามารถอธิบายได้ด้วยอารมณ์เพียงอารมณ์เดียว และไม่สามารถนิยามได้ด้วยคำไม่กี่คำ เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จัก ‘How We Feel’ แอปพลิเคชันสำหรับบันทึกอารมณ์ระหว่างวันที่คล้ายกับไดอารี เพื่ออธิบายความรู้สึกที่แท้จริงในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งจะเป็นเสมือนตัวช่วยที่ทำให้เราได้รู้จักอารมณ์ของตัวเองในแต่ละวันได้มากขึ้น How We Feel เป็นแอปฯ ตัวแรกขององค์กรไม่แสวงผลกำไรทางวิทยาศาสตร์อย่าง ‘How We Feel Project, Inc.’ ที่พัฒนาขึ้นในช่วงโควิด-19 ระบาด นำโดย Ben Silbermann หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Pinterest ที่หลงใหลในการสร้างโลกที่ดีต่อสุขภาพทางอารมณ์ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบ วิศวกร นักจิตวิทยา ไปจนถึงนักบำบัด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าฟังก์ชันต่างๆ ภายในแอปฯ จะสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของตัวเองได้ครอบคลุมมากกว่าแอปฯ ไหนๆ ส่วนการใช้งานก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการเช็กอินภาวะทางอารมณ์ความรู้สึกระหว่างวันด้วยตัวเองอย่างไม่จำกัดจำนวน ทั้งยังตั้งเวลาแจ้งเตือนได้ด้วยตนเอง เพราะทางผู้ให้บริการเข้าใจว่าภายในหนึ่งวัน คนเราสามารถมีอารมณ์ที่หลากหลายและไม่ซ้ำกัน  โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกคำอธิบายอารมณ์ ณ เวลานั้นได้จากคำนิยามทางอารมณ์ที่มีให้เลือกกว่า 144 อารมณ์ ซึ่งแบ่งเป็น 4 หมวดหลักที่แทนด้วย 4 สี ได้แก่ 1) สีแดง แทนกลุ่มอารมณ์ […]

Introvert’s City ถ้าเมืองนี้เป็นเมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต

จะดีแค่ไหนถ้าเมืองของเราออกแบบให้เข้ากับมนุษย์ ‘Introvert’ มากขึ้น เพื่อให้การท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ไม่สูบพลังชีวิต ต้องกลับมานอนติดห้องไปอีกหลายวัน จนหลายคนรู้สึกว่า เรานี่ช่างไม่เหมาะกับการออกไปข้างนอกซะเลย ทั้งที่ความจริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้การออกจากบ้านของประชากร Introvert สูญเสียพลังงานมากกว่าชาว Extrovert นั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเมืองของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้คำนึงถึงคนกลุ่มนี้เท่าไหร่นัก ทั้งที่ผลสำรวจของ The Myers-Briggs Company พบว่ามีผู้คนทั่วโลกมากถึง 56.8 เปอร์เซ็นต์เป็น Introvert ด้วยซ้ำ เพื่อให้การใช้ชีวิตในเมืองเป็นของทุกคน คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบ ‘เมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต’ ในรูปแบบของตัวเอง ที่ทำให้การออกจากบ้านของผู้คนกลุ่มนี้ไม่เป็นเรื่องยากจนเกินไป โดยเน้นที่การออกแบบพื้นที่ให้คำนึงถึงชาว Introvert มากขึ้น 01 | Private Zone in Public Space โดยปกติแล้ว พื้นที่สาธารณะหลายแห่งมักสร้างขึ้นเพื่อนำพาให้ผู้คนในสังคมออกมามีปฏิสัมพันธ์กัน แต่ถ้าหากเราอยากใช้พื้นที่สาธารณะไปพร้อมๆ กับความเป็นส่วนตัวและไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นมากจนเกินไปล่ะ สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องยากไม่น้อยเลยทีเดียว เราจึงขอหยิบเอาแนวคิด ‘Private Zone in Public Space’ ที่เป็นเหมือนหลุมหลบภัยเล็กๆ ในพื้นที่ใหญ่ๆ มาตอบโจทย์ชาว Introvert […]

Oho! แอปฯ สั่งของกินเมนูพิเศษที่ทั้งอร่อย ถูกกว่า และได้ช่วยร้านค้าลดขยะอาหาร

ในสายตาของคนที่รักของเซลล์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะไปไหน ซื้ออะไร เรามักตาเป็นประกายเสมอเมื่อเห็นส่วนลด แม้แต่อาหารที่กดสั่งเดลิเวอรีทุกวัน เชื่อว่าหลายคน (ที่เป็นคนแบบเรา) ไม่พลาดที่จะเช็กโค้ดโปรโมชัน บางครั้งถึงกับตั้งเวลาปลุกให้เข้าไปออเดอร์ช่วง Flash Sale ให้ทัน ฟังดูเหมือนจริงจังไปนิด แต่เราก็ทำถึงขนาดนั้นเลย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้อาหารที่ลดราคาแบบสุดๆ แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วย เรารู้จักแอปพลิเคชัน Oho! ครั้งแรกราวกลางปีที่ผ่านมา ในฐานะแอปฯ สั่งอาหารที่ละลานตาไปด้วยการลดราคาอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เลขเปอร์เซ็นต์สุดว้าวนั้นจูงใจให้คนรักของเซลล์อย่างเราโหลดมาใช้ ก่อนจะพบว่าแอปฯ นี้มีความพิเศษมากกว่าราคาที่ลดแล้วลดอีกไปมากโข แท้จริงแล้ว Oho! คือแอปฯ ขายอาหารเมนูป้ายเหลืองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่อาหารใกล้หมดอายุอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่บางเมนูมีความสดใหม่และคุณภาพอยู่ในระยะเวลาจำกัด ถ้าปล่อยไว้นาน คุณภาพนั้นจะดร็อปลงจนร้านค้าต้องจำใจทิ้งไป  Oho! เกิดขึ้นเพราะอยากช่วยแบ่งเบาภาระนั้นจากร้านอาหาร ทุกเมนูบนแอปฯ จึงลดราคาได้แบบจัดหนักจัดเต็มอย่างที่เห็น ฟังดูเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ลึกลงไปมากกว่านั้น ‘วริทธิ์ธร มังกรทองสกุล’, ‘สมิทธ์ ชัยชาญชีพ’ และ ‘Richard Armstrong’ ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนตั้งใจอยากให้ Oho! เป็นแอปฯ ของคนรุ่นใหม่ที่อยากแบ่งเบาภาระโลกจากปัญหา Food Surplus […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.