กล่าวหาวัคซีนแบบผิดๆ เตรียมช่องปลิว! YouTube ประกาศแบนวิดีโอ และปิดช่อง เนื้อหาเท็จ ต่อต้านวัคซีนที่ WHO รับรอง

ต่อไปนี้ใครกล่าวหาว่าวัคซีนจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพเรื้อรัง วัคซีนไม่ลดการแพร่เชื้อ ทำให้เป็นมะเร็ง ออทิซึม มีบุตรยาก หรือข้อมูลเท็จอื่นๆ เตรียมโดนแบน แอ็กเคานต์ปลิวจาก YouTube ได้เลย! เพราะ YouTube แพลตฟอร์มวิดีโอชื่อดังประกาศมาตรการตรวจสอบคอนเทนต์เมื่อวันพุธที่ 29 กันยายน 2564 ว่า ‘ห้าม’ ผู้ใช้บัญชีโพสต์คลิปซึ่งเป็นการให้ข้อมูลที่ ‘ผิด’ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ซึ่งผ่านการรับรองจาก องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) หรืออยู่ในการดูแลของหน่วยงานด้านสุขภาพในท้องถิ่น ว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ หากฝ่าฝืนครบ 3 ครั้ง (หรือที่เรียกว่า Strike) ภายในระยะเวลา 90 วัน จะถูกลบบัญชีผู้ใช้ทันที แต่หากเนื้อหาถูกประเมินว่าร้ายแรงมาก ก็จะถูกลบบัญชีไปเลย แม้โพสต์วิดีโอเพียงครั้งเดียว YouTube จำกัดความ ‘ข้อมูลที่ผิด’ ไว้ว่า เป็นเนื้อหาที่พูดถึงวัคซีน (ซึ่งได้รับการอนุมัติแล้ว) ว่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพเรื้อรัง อ้างว่าวัคซีนไม่ลดการแพร่เชื้อ ไม่ลดการหดตัวของโรค หรือมีข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับสารที่มีอยู่ในวัคซีนโควิด-19 โดย YouTube มีข้อยกเว้นในการโพสต์ว่า หากเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการทดลองวัคซีนใหม่ หรือเล่าเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จ […]

คนกลัวเข็มมีลุ้น! นักวิทยาศาสตร์กำลังคิดค้น แผ่นแปะวัคซีน 3 มิติ ไม่ต้องใช้เข็มฉีดยา

กลัวเข็มฉีดยาจนเครียด เกิดอาการแพนิกกลัวฉีดวัคซีนแล้วเจ็บแทบจะเป็นลม นี่เป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนกำลังเผชิญในช่วงที่ต้องตบเท้ากันไปฉีดวัคซีนโควิด-19 และเป็นปัญหาที่ทำให้หลายคนเลือกที่จะปฏิเสธการฉีดวัคซีน หรือเลื่อนออกไปก่อน ส่วนปัญหาสำหรับคุณภาพวัคซีนแบบฉีดที่พบตอนนี้คือการที่วัคซีนต้องจัดเก็บในอุณหภูมิเย็นที่ถูกต้องเพื่อคงประสิทธิภาพไว้ ทว่าเรากลับเห็นกรณีวัคซีนเสียในบางล็อตเพราะคลาดเคลื่อนทางการจัดเก็บ เพื่อให้คนกลัวเข็ม คนที่เป็นโรคแพนิก หรือคนที่วิตกกังวล ได้เบาใจลง แถมประชาชนสบายใจได้ว่าวัคซีนจะไม่เสียเพราะอุณหภูมิ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์ จึงพัฒนา ‘แผ่นแปะวัคซีน 3 มิติ’ โดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ฝังวัคซีนบนแผ่นพอลิเมอร์ไว้แปะบนผิวหนัง ซึ่งแทบจะใช้เวลาไม่นานในการส่งวัคซีนเข้าผิวหนัง โดยไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนด้วยเข็ม  จากการศึกษาพบว่าแผ่นแปะวัคซีนดังกล่าวตอบสนองต่อเซลล์ภูมิต้านทานที่มีหน้าที่กำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อ (T-cell) และยังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายมากกว่าการฉีดใต้ผิวหนัง 50 เท่า ซึ่งการตอบสนองภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้นโดยใช้แผ่นแปะเล็กๆ จะช่วยในการประหยัดวัคซีนได้ เพราะจากการศึกษาโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ Proceedings of the National Academy of Sciences ก็พบอีกว่าแผ่นแปะวัคซีนมีผลตอบสนองมากกว่าการฉีดวัคซีนที่แขนถึง 10 เท่า จากการทดลองกับสัตว์ พวกเขาพยายามคิดค้นเทคโนโลยีนี้ที่สามารถส่งวัคซีนไปยังที่ใดก็ได้บนโลกโดยไม่ต้องมีการจัดเก็บแบบพิเศษโดยห้องเย็น ช่วยประหยัดการใช้โดส ลดความเจ็บปวด ความเครียด ความวิตกกังวล และผู้คนสามารถนำแผ่นแปะอันจิ๋วไปติดเองได้ด้วย จริงๆ การศึกษาเรื่องแผ่นแปะวัคซีนไม่ได้เพิ่งมี แต่งานของสแตนฟอร์ด และนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์ […]

โควิดหลบไป ฟินแลนด์จะผลิตวัคซีนแบบพ่นจมูก

ได้ยินครั้งแรกก็รู้สึกเซอร์ไพรส์สุดๆ ว่าวัคซีนอะไร ทำไมถึงใช้พ่นทางจมูกได้นะ แต่นี่คือเรื่องจริงที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ เพราะโลกของเรากำลังจะได้ยลโฉมเจ้าวัคซีนชนิดนี้แบบเต็มตา นวัตกรรมนี้มาจากฐานการวิจัยของสองพันธมิตรอย่าง ‘มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ’ และ ‘มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นฟินแลนด์’ ในประเทศฟินแลนด์ และอีกไม่นานเกินรอนัก การทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนก็จะเริ่มต้นขึ้นในปลายปีนี้แล้ว ที่น่าตื่นเต้นพอๆ กับวัคซีนแบบละออง ก็คือการที่ศูนย์วิจัยในฟินแลนด์ใช้หัวมนุษย์เทียมในห้องทดลองเพื่อให้นักวิจัยได้ตรวจสอบกลไกของการหยด และการส่งละอองวัคซีนเข้าไปในจมูก ศีรษะประดิษฐ์สุดล้ำนี้ เปิดตัวตั้งแต่เมื่อต้นปี 2564 ซึ่งหายใจ ไอ จามได้ และเหมาะกับการทดสอบละอองลอยในรูปแบบต่างๆ มาก ซึ่งนอกจากเป็นตัวช่วยของการทดลองวัคซีน ยังนำมาช่วยด้านการทดสอบประสิทธิภาพของหน้ากาก เครื่องฟอกอากาศ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจในท้องตลาดได้อีกด้วย ผู้ออกแบบสเปรย์เล่าว่าส่วนประกอบของวัคซีนพ่นจมูกสำหรับป้องกันโคโรนาไวรัสที่พัฒนาขึ้นในฟินแลนด์ตัวนี้ ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในช่วงฤดูร้อน (ก.ค. – ก.ย.) เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะช่วยป้องกันเราจากสายพันธุ์ไวรัสโดยทั่วไปได้ดียิ่งขึ้น ผู้นำโปรเจกต์ที่เป็นศาสตราจารย์ด้านไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิอย่าง Kalle Saksela บอกว่านอกจากจะพ่นวัคซีนทางจมูก เป้าหมายสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 สายพันธ์ุต่างๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น ทีมวิจัยก็ไม่ได้ทำงานอย่างโดดเดี่ยว เพราะในเบื้องต้น เจ้าวัคซีนที่นำเข้าสู่ร่างกายคนผ่านรูจมูกตัวนี้ยังได้เงินทุนประมาณ 9 ล้านยูโรจากนักลงทุนมาพัฒนางานวิจัยให้ดีขึ้น แถมยังได้บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการทดลองทางคลินิกเข้ามาช่วยซัปพอร์ตทีม สำหรับวัคซีนเวอร์ชันอัปเดตล่าสุดนั้น พบว่าจะช่วยเรื่องการป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยัง…ยังไม่จบแค่นั้น ภูมิคุ้มกันประเภทนี้ยังมีฟังก์ชันที่ใช้งานเป็นวัคซีนเสริม […]

NDV-HXP-S วัคซีนโควิด-19 จากไข่ไก่ฟัก ราคาไม่แพง ผลิตได้เองโดยนักวิจัยไทย

หลายเดือนมานี้เราตั้งคำถามกับ ‘ความมั่นคง’ ของประเทศ เมื่อนานาชาติสลัดหน้ากากอนามัยและออกมาใช้ชีวิตแบบที่คุ้นเคย ระบบสาธารณสุขที่เคยวิกฤตเริ่มกลับเข้าร่องเข้ารอย ในขณะที่สถานการณ์ของประเทศไทยยังคงต้องหาทางออกกันต่อไป เมื่อความมั่นคงของประเทศก้าวไปไกลกว่าอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่ว่ากันด้วยเรื่องเทคโนโลยีและ ‘สาธารณสุข’ Urban Creature จึงพาไปสนทนากับ ศ. พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าโครงการวิจัยศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังวิจัยความปลอดภัยให้ประเทศผ่านการผลิตวัคซีนโควิด-19 จากไข่ไก่ฟัก ที่ได้ความร่วมมือจากองค์กรนานาชาติในการแบ่งปันเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤต จนออกมาเป็นวัคซีนที่ราคาไม่แพง กระบวนการไม่ซับซ้อน และผลิตได้เองในประเทศไทย วัคซีนจากไข่ไก่ การผลิตวัคซีนสามารถนำวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยหรือผลิตออกมาแล้ว มาปรับปรุงหรือต่อยอดได้หากมีโรคใหม่เกิดขึ้น แต่เดิมศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการวิจัยวัคซีนหลากชนิดเป็นทุนเดิมทั้งหัด โปลิโอ เอดส์ หรือมะเร็ง แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ H1N1 เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว องค์การเภสัชกรรมได้รับเทคโนโลยีวัคซีนไข่ไก่ฟัก (Egg-based Flu Vaccine) จากประเทศรัสเซีย จนผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มาใช้ได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน “เมื่อหลายปีก่อนเราไม่มีบุคลากรที่มีความรู้และศักยภาพเพียงพอ เพราะว่าการผลิตวัคซีนถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีการลงทุนเยอะมาก ในการคิดค้นปกติแล้วต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสิบปี ต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุนมหาศาล  “สมมติว่าเราคิดหรือค้น Antigen (สารก่อภูมิต้านทาน) ขึ้นมาตัวหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าสารตัวนี้จะก่อให้เกิดภูมิต้านทานที่จะใช้ป้องกันโรคได้ บางครั้งพบเป็นร้อยตัวก็ยังไม่สำเร็จ” […]

#TeamHalo เมื่อคนวงการแพทย์ร้องรำฮัมเพลงสร้างแคมเปญ บน TikTok สู้แก๊ง Fake News

| เมื่อคนในวงการแพทย์ใช้ TikTok สร้างแคมเปญระดับโลกต่อสู้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน จนมีคนดูทั่วโลกมากกว่า 98 ล้านครั้ง การป้องกันการติดเชื้อไวรัส ​COVID-19 ที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีน แต่กลับมีผู้คนบางกลุ่มออกมาต่อต้านการป้องกันเชื้อไวรัสด้วยการฉีดวัคซีน และส่งต่อความเข้าใจผิด ไปบนโลกออนไลน์กลายเป็นข้อมูลเท็จ อาทิ การฉีดวัคซีนจะทำให้เสียชีวิต การฉีดวัคซีนจะทำให้มีบุตรยาก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวล้วนมีผลทำให้ผู้คนต่างสับสน หวาดระแวง และลังเลใจในการฉีดวัคซีนเป็นวงกว้าง ความร้ายแรงของข้อมูลเท็จชุดนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสาธารณสุขของประชาชน ลามไปถึงระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จนทำให้หลายภาคส่วนต้องออกมาแก้ไขปัญหาและสร้างความเข้าใจอย่างเร่งด่วน แคมเปญ #TeamHalo จึงถือกำเนิดขึ้นภายใต้โจทย์ที่ว่า จะทำอย่างไรให้กระจายข้อมูลที่ถูกต้องถึงประชาชนได้มากที่สุด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นเรื่องวัคซีนให้ประชาชน ผ่านการเชิญชวนแพทย์และนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกมาเป็นอาสาสมัคร เพื่อสร้างสรรค์สื่อในรูปแบบวิดีโอสั้นตามที่ตนเองถนัด ไม่ว่าจะร้องรำฮัมเพลงบน TikTok และ Instagram เพื่อหักล้างข้อมูลเท็จ และสร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน COVID-19 ที่ถูกต้องในฉบับที่เข้าถึงได้ง่ายและบันเทิง จนมีผู้เข้าชมทั่วโลกมากกว่า 98 ล้านครั้ง  และหากใครมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ตามไปเต้น ตามไปดูเหล่าคุณหมอและนักวิทยาศาสตร์ได้ใน #Teamhalo ทั้ง TikTok และ Instagram  Sources :Teamhalo | https://bit.ly/3xsppGWVice | https://bit.ly/3wuKyjn

ฉีดครบโดสแล้วหายเลย? ฉีดแล้วตายใครเยียวยา? ถาม-ตอบ ‘วัคซีนโควิด-19’ อะไรที่ควรรู้

การมีอยู่ของวัคซีนโควิด-19 ทำให้เกิดคำถามมากมายวิ่งเข้ามาในหัวแทบทุกวัน ยิ่งคนไทยซึ่งไม่สามารถเลือกยี่ห้อวัคซีนฉีดเอง แถมวัคซีน 2 ชนิดอย่าง Sinovac และ AstraZeneca ที่ใช้ฉีดในประเทศยังเกิดข้อครหาด้านประสิทธิภาพและอาการแพ้ ยิ่งทำให้ประชาชนอย่างพวกเรากังวลเข้าไปอีก

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.