พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก

“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH

การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ในการช่วยกันพัฒนาย่านทรงวาด | Made in Song Wat

‘ทรงวาด’ ย่านที่มีมนตร์เสน่ห์ที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิม รวมถึงยังกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป ด้วยการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงและทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง “อยากจะสร้างย่านแบบไหน พวกเราไม่มีใครรู้เลย เราแค่มีใจที่อยากจะทำ มันไม่มีสูตรสำเร็จ” ผู้ประกอบการเหล่านี้รวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ ประสานพานิช’ ร่วมกับสมาชิกผู้ก่อตั้งในปีแรกในการลงมือพัฒนาย่านนี้ด้วยกัน ซึ่งผลของการร่วมมือร่วมใจของคนในย่านที่สนับสนุน ยอมรับ และเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกัน จนทำให้เมื่อปีที่แล้ว ทรงวาดกลายเป็นหนึ่งใน 40 ย่านสุดเจ๋งที่ได้รับการจัดอันดับจากสื่อระดับโลก ส่งผลให้ผู้คนยิ่งอยากเข้ามาลองสัมผัสความเป็นทรงวาดที่หาจากย่านไหนไม่ได้

พัฒนาย่านอารีย์กับกลุ่มคนขับเคลื่อนเมือง | AriAround

‘อารีย์’ ย่านชิกที่หลายคนอาจจะมีภาพจำของการไปเที่ยวคาเฟ่และถ่ายรูปกันเป็นประจำ ทั้งที่จริงแล้วภายในย่านนี้กลับไม่ได้มีแค่ร้านกาแฟอยู่มากมาย แต่ยังมีธรรมชาติภายใต้เมืองให้เราได้สัมผัส รวมถึงคอมมูนิตี้ที่แข็งแรงที่พร้อมเปิดรับให้ทุกคนเข้ามา และสถานที่ Hidden Gems ที่หลายคนอาจไม่ได้รู้ ซึ่งอารีย์อาจไม่ได้เป็นอย่างนี้เลยหากว่าที่ย่านนี้ไม่ได้มีกลุ่มคนที่คอยซัพพอร์ตการพัฒนาย่านอย่าง ‘AriAround’ อยู่ “เมื่อก่อนเราคิดว่างานพัฒนาเมืองเป็นงานของรัฐ แต่มันลำบากจนต้องลุกขึ้นมาทำอะไรแล้ว สุดท้ายพอเราลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง ได้คอนเนกต์กับรัฐ เราถึงเห็นว่ารัฐก็อยากทำงาน แต่บางทีเขาก็ไม่รู้ว่าจะคอนเนกต์กับคนอย่างไร “การที่มี AriAround มันพาคนในพื้นที่มาคอนเนกต์กับคนจำนวนมากในพื้นที่อีกทีหนึ่ง” AriAround คือแพลตฟอร์มทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่เป็นตัวกลางเชื่อมคนในย่านอารีย์ให้เข้าหากันและกัน ทั้งยังสร้างเสริมคอมมูนิตี้ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น เพื่อหวังว่าทุกคนในย่านจะมีชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตในย่านได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น เพราะการพัฒนาเมืองไม่ได้มีเพียงแค่รัฐที่ทำได้ฝ่ายเดียว Urban Creature เลยไปคุยกับ ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ ผู้ร่วมก่อตั้ง AriAround ถึงพื้นที่อารีย์ในปัจจุบัน และความเปลี่ยนแปลงของย่านอารีย์หลังจากที่กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองนี้ได้สร้างพื้นที่ให้มีมากกว่าแค่ร้านกาแฟถ่ายรูปชิกๆ เก๋ๆ

Acousticity | WANYAi ความทรงจำที่ยังหายใจ Live Session @BACC

ใครที่ไปเดินเล่นแถวสยามบ่อยๆ น่าจะเคยเห็นหรือได้ยินเสียงเพลงจากวงดนตรีเปิดหมวก ที่มาโชว์ความสามารถทั้งร้องทั้งเล่นให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมารับฟังกัน บ่อยครั้งที่นี่คือสถานที่จัดคอนเสิร์ตกลางแจ้งเสียด้วยซ้ำ สยามในปัจจุบันจึงเป็นเหมือนศูนย์รวมของนักดนตรีและศิลปินหลากหลายรุ่น วันนี้ Urban Creature พา ‘แว่นใหญ่’ มาย้อนความหลังผ่านเพลง ‘ความทรงจำที่ยังหายใจ’ ที่บริเวณหน้าหอศิลปกรุงเทพฯ ในรายการ Acousticity ที่จะชวนศิลปินมาเล่นเพลงในพื้นที่สาธารณะของเมือง อันอบอวลไปด้วยเสียงบรรยากาศของพื้นที่นั้น และรับรู้เบื้องหลังภายใต้เสียงเพลงที่เราได้ยิน

มองหนังฮ่องกงผ่านเลนส์ผู้กำกับร่วมสมัย

เมื่อพูดถึงภาพจำที่มีต่อหนังฮ่องกงแนวกังฟูอย่าง ‘Ip Man’ หรือหนังโจรกรรมแอ็กชันอย่าง ‘Police Story’ ภาพจำในอดีตเหล่านี้หลายๆ ครั้งก็เป็นกับดักที่ทำให้ผู้ชมทั่วโลกมองไม่เห็นถึงความหลากหลายของหนังฮ่องกงเช่นกัน “ในช่วงยุค 80 – 90 ผู้สร้างหนังในฮ่องกงเปรียบเสมือนศิษย์พี่ศิษย์น้อง การสร้างผลงานจะออกมาคล้ายๆ กัน แต่ในสมัยใหม่ คนรุ่นใหม่มักสนใจการสร้างหนังเกี่ยวกับเรื่องรอบตัว ใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่” Urban Creature คุยกับ ‘HO Miu-ki’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Love Lies และ ‘Nick CHEUK’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Time Still Turns the Pages สองผู้กำกับหนังฮ่องกงร่วมสมัยจากเทศกาลภาพยนตร์ฮ่องกง 2024 ถึงอุตสาหกรรมหนังฮ่องกงในยุคปัจจุบันว่ามีปัญหาอะไร การหาทุนทำหนังในประเทศมีมากพอหรือไม่ หรือมีอะไรเปลี่ยนไปบ้างจากสมัยก่อน เทศกาลภาพยนตร์ฮ่องกง 2024 จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงภาพยนตร์ ‘House Samyan’ (ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์) ติดตามข่าว […]

เรียนดำน้ำกับครูหุย Dive Potato ชวนคนเมืองสัมผัสธรรมชาติใต้ทะเล

การได้ดำลงไปในน้ำทะเลลึกเพื่อชมสภาพแวดล้อมที่หาดูไม่ได้บนพื้นดิน เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์มหัศจรรย์ นอกจากได้พักผ่อนแล้วยังถือว่าเป็นกีฬาที่สร้างความท้าทาย เพราะต้องใช้ความสามารถทั้งระบบหายใจและระบบกล้ามเนื้อที่ต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกฝน “ในฐานะที่เป็นครูสอนดำน้ำ ทะเลเป็นออฟฟิศ ฉะนั้นเราต้องรักษาออฟฟิศของเราให้สวยงามอยู่เสมอ” รายการ The Professional ชวนไปคุยกับ ‘เนตรนภา ยิ่งกิจภิญโญ’ หรือ ‘ครูหุย’ PADI Course Director หญิงเพียงไม่กี่คนในประเทศไทย ที่จะมาเล่าถึงแรงบันดาลใจสู่การเป็นครูสอนดำน้ำที่ Dive Potato เพื่อส่งต่อความสวยงามของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้กับคนรุ่นต่อๆ ไป

‘บุญรอด นาคศิธร’ ช่างทำว่าวจุฬาแห่งแม่กลอง ประธานชมรมว่าวไทยจังหวัดสมุทรสงคราม

‘ฬ’ คือพยัญชนะตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย มีรูปร่างคล้ายคลึงกับดาวห้าแฉก ซึ่งเป็นลักษณะของว่าวจุฬาที่คนไทยในสมัยก่อนละเล่นกัน และมาถึงวันนี้ว่าวจุฬาก็เริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา เนื่องด้วยเทคโนโลยีหรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากแต่ก่อน เราไม่ได้พูดถึงแค่ตัวว่าว แต่อาชีพช่างทำว่าวก็กำลังกลายเป็นแค่ความทรงจำเช่นกัน “ถ้าเราเรียนหนังสือ ท่อง ก-ฮ จะมี ฬ จุฬา ท่าผยอง เพราะพ่อขุนรามฯ เป็นคนประดิษฐ์อักษรไทย ว่าวตัวนี้น่าจะมาก่อนพ่อขุนรามฯ “เมื่อเราตายไป ถ้าเราไม่สอนไว้ ไอ้ ฬ จุฬา ท่าผยอง คงจะหายไปจากอักษรไทย” รายการ The Professional ชวนไปคุยกับ ‘บุญรอด นาคศิธร’ ประธานชมรมว่าวไทย จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ชุบชีวิตการทำว่าวจุฬาไทยในจังหวัดสมุทรสงครามให้ยังคงถลาล่องลอยติดลมบน แม้ในวันที่แทบไม่มีใครสนใจเงยหน้ามองท้องฟ้าอีกแล้ว

คุยเรื่องเมืองและอุตสาหกรรมดนตรีกับเจ้าของค่ายเพลง ‘บอล – What The Duck’

หลายคนคงรู้จัก ‘บอล Scrubb’ หนึ่งในนักดนตรีไทยที่มีผลงานเพลงติดหูมามากมายกว่า 20 ปี แต่ในฐานะเจ้าของค่ายเพลง ‘What The Duck, MILK! BKK Music Label และ MILK! Artist Service Platform’ อาจมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่ามีเขาเป็นเบื้องหลังกำลังหลักคอยขับเคลื่อนอยู่ “เมืองหมายถึงความเจริญ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ขนส่ง น้ำ ไฟ ประปา ถ้าสิ่งที่จับต้องได้จริงๆ มันไม่ดีพอ เดินทางมาไม่ถึงหรือเข้าถึงยาก คนก็จะรู้สึกเข้าไม่ถึง เพราะความสุขหรือศิลปะมันไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน เพราะฉะนั้นปัจจัยหลักมันต้องดีก่อน คนถึงจะมีเวลาไปมองหาอะไรที่เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มความสุขส่วนตัว” Urban Creature คุยกับ ‘บอล-ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของค่าย What The Duck กับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดนตรีไทย และเมืองในฝันที่จะน่ารักกับดนตรีได้อย่างแท้จริง

ยินดีต้อนรับสู่ดินแดน PiXXiE เมืองในฝันของเหล่า PiXXeL

คุยกับสามสาว @PiXXiE จาก @LIT Entertainment ถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงยุคสมัยของวงที่เดินทางควบคู่ไปกับอุตสาหกรรม T-Pop ในเมืองไทย จนมาบรรจบที่หมุดหมายสำคัญกับคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของพวกเธอ ‘PiXXiE Tales Concert : Welcome to PiXXiE Land’

Acousticity | ภูมิจิต ชีพจร Live Session @ป้ายรถเมล์

‘เช้าที่ตื่นขึ้นมารีบขึ้นรถเมล์สาย 29 ยืนเบียดๆ เสียดๆ จุดหมายปลายทางคือหมอชิต กว่าจะลงรถก็ติดเหลือเกิน’ หนึ่งท่อนในเนื้อเพลง ‘ชีพจร’ ที่สะท้อนชีวิตและภาพของเมืองกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดี ความวุ่นวายจากชีวิตที่ต้องตื่นเช้าไปทำงานในทุกวันที่หลายคนคงมีจุดร่วมกันภายใต้เมืองนี้ จนหลายๆ ครั้งเรามัวแต่เสียเวลาชีวิตไปกับการทำงาน จนหลงลืมความฝันหรือจุดหมายปลายทางที่ตัวเองเคยตั้งไว้ หากวันนี้พลังของคุณเหลือน้อยเต็มที เราอยากให้คุณลองฟังเพลงนี้ เพื่อหวังว่าชีพจรของคุณจะกลับมามีแรงอีกครั้งและก้าวเดินต่อไปอย่างมีพลัง วันนี้ Urban Creature ชวน ‘ภูมิจิต’ ศิลปินอิสระ มาบรรเลงเพลง ชีพจร ให้ทุกคนฟังกันที่ป้ายรถเมล์ย่านเอกมัย ในรายการ Acousticity รายการที่จะนำศิลปินมาเล่นเพลงในพื้นที่สาธารณะของเมือง พร้อมอบอวลไปด้วยเสียงบรรยากาศของพื้นที่นั้น และรับรู้เบื้องหลังภายใต้เสียงเพลงที่เราได้ยิน สามารถติดตามวงภูมิจิตได้ที่ : www.facebook.com/poomjitband และ www.instagram.com/poomjitband

คุยกับป๊าและม้าของน้อนปาป้า-ทูทู่ มาสคอตปลาทูแห่งแม่กลอง

ถ้าพูดถึงมาสคอตประจำเมือง คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเจ้าคุมะมง มาสคอตประจำจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น แล้วอย่างนี้ประเทศไทยจะน้อยหน้าได้ยังไง ขอแนะนำให้รู้จักกับ ‘ปาป้า-ทูทู่’ มาสคอตเอเลียนในชุดปลาทูแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม “คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องปลื้มใจอยู่แล้ว เวลามีคนพูดถึงลูกเรา หรือเห็นบรรยากาศที่มีเด็กๆ คุณลุง คุณป้า อยากถ่ายรูปกับน้องปาป้า-ทูทู่ เราก็รู้สึกดีใจ” Urban Creature คุยกับ ‘วิน-ภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล’ และ ‘เต-เตชสิทธิ์ ยศวิปาน’ ผู้เปรียบเสมือนคุณพ่อ-คุณแม่ของน้องปาป้า-ทูทู่ ที่ออกแบบจากการดึงเอาเอกลักษณ์ของดีแม่กลองอย่าง ‘ปลาทู’ มาเติมความน่ารักน่าเอ็นดูเข้าไป จนกลายเป็นเอเลียนตัวสีฟ้าหน้ามู่ทู่ ใครที่มีโอกาสแวะไปเยี่ยมเยือนจังหวัดสมุทรสงคราม แล้วได้เจอกับน้องปาป้า-ทูทู่ ก็สามารถแวะถ่ายรูปกับน้องปลาทูตัวนี้ได้นะ

URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่ LGBTQIAN+ ไม่ได้เล่า

TW : เนื้อหาในคลิปมีการพูดถึงความรุนแรงจากการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ในเดือนมิถุนายนของทุกปี หากเราเห็นคนมากมายใส่เสื้อสีสันหลากหลายร่วมกันเดินขบวนพาเหรดโบกธงสีรุ้งอยู่บนถนนก็คงไม่แปลกใจนัก เพราะมันคือการเฉลิมฉลอง Pride Month ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน จากการต้องหลบซ่อนจากความเกลียดชังหรือการทำร้ายกันซึ่งเกิดจากเพศ การต่อสู้กว่าจะได้ซึ่งสิทธิของเพศหลากหลายเพื่อให้เคารพทุกคนได้เท่าเทียมกัน ‘เพศ’ ที่ในโลกเคยกำหนดไว้ผ่านแค่ ‘จู๋’ หรือ ‘จิ๋ม’ มีเพียงชายจริงหญิงแท้ ได้ถูกพัฒนาและซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเราพบว่า จริงๆ แล้วตัวตนของคนคนหนึ่งหรือเพศนั้นไม่ควรถูกกำหนดจากเพียงแค่อวัยวะเพศอย่างเดียว หากแต่มนุษย์คนหนึ่งล้วนมีความหลากหลายและซับซ้อนไปมากกว่านั้น แต่ความหลากหลายและความซับซ้อนนี้ หลายๆ ครั้งก็ทำให้สังคมอาจไม่เข้าใจว่าทำไมมันต้องยุ่งยากเสียเหลือเกิน และไม่ใช่แค่สังคมภายนอกเท่านั้น บางทีภายในคอมมูนิตี้ของพวกเขาเองก็ยังมองว่ายุ่งยากและมีปัญหาอื่นๆ ตามมาด้วยเช่นเดียวกัน วันนี้ Urban Untold จึงขอไปสำรวจภายในคอมมูนิตี้ของเพศหลากหลายว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง Urban Creature ขอต้อนรับวาระผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วยเรื่องเล่าภายในสังคมความหลากหลายทางเพศที่ไม่ได้ถูกเล่า ผ่านตัวของพวกเขาเอง เพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่า ไม่ได้มีเพียงแค่ปัญหาจากสังคมภายนอกเท่านั้น แต่สังคมหรือวัฒนธรรมภายในก็ควรเปลี่ยนด้วยเช่นกัน

1 2 3 4 24

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.