ใครๆ ก็เป็นฟันเฟืองในการสร้างรอยยิ้มได้ ชวนแชร์เรื่องราวที่ดีต่อใจให้คนทั่วไปได้รู้ กับโครงการ ‘เรื่องของเรา’ โดย UNDP

กว่าจะใช้ชีวิตผ่านพ้นไปในแต่ละวัน แน่นอนว่าย่อมต้องมีทั้งเรื่องดีและไม่ดีเกิดขึ้น หลายครั้งที่รู้สึกหมดหวังหรือท้อถอย ในโมงยามที่เหนื่อยล้านั้น เราอาจประสบกับเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นจากคนรอบตัวหรือคนไม่รู้จัก แล้วทำให้ตระหนักถึงคุณค่าอะไรบางอย่างจนอยากใช้ชีวิตต่อไปด้วยใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความหวัง ‘เรื่องของเรา’ คือโครงการของ UNDP Thailand ที่ชวนทุกคนมาขบคิดและขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกจากจุดเล็กๆ ในกิจวัตรประจำวันและอาชีพของเรา ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของประเทศไทย เพื่อเป็นฟันเฟืองในการสร้างรอยยิ้มและความสุขของตัวเราเองและผู้คนอีกมากมายที่รายรอบเราอยู่ วิธีการส่งพลังงานดีๆ เหล่านี้ทำได้ง่ายๆ แค่คุณมีเรื่องราวปฏิบัติการเล็กๆ ที่ดีต่อใจผู้คน ไม่ว่าจะเป็นของเพื่อน ญาติ พี่น้อง คนที่แอบชอบ คนรู้จัก หรือแม้แต่เรื่องของตัวเอง และอยากประกาศให้โลกรู้ จะเพื่อขอบคุณ ให้กำลังใจ หรือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นก็ตาม เพียงแค่แชร์เรื่องราวเหล่านั้นลงใน Facebook, Instagram, Tiktok หรือ X (Twitter) ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นข้อความ คลิป หรือรูปภาพพร้อมคำบรรยาย ถึงความประทับใจของคุณในกิจวัตรหรือกิจกรรมของคนที่กล่าวถึง ระบุรายละเอียดและผลกระทบในแง่บวกกับสังคมที่เกิดขึ้น ไม่จำกัดรูปแบบ ลีลา ท่วงท่า และความยาว พร้อมใส่แฮชแท็ก #OurSDGs และเปิดโพสต์นั้นเป็นสาธารณะ เรื่องไหนถูกใจทีมงาน UNDP เจ้าของเรื่องจะได้รับสติกเกอร์เชิดชูใจ นำไปติดประกาศให้คนรู้ว่าเราสนและเราแคร์โลกใบนี้ แถมเรื่องราวเหล่านี้จะถูกนำมาเผยแพร่บนสื่อต่างๆ ของ […]

เสียงจากคนรุ่นใหม่สู่สังคมที่ยั่งยืน เสวนาชี้ปัญหาช้างๆ ในสังคมไทย ภายใต้โครงการ SDG Localization

เพราะประเทศไทยยังมีปัญหาและความท้าทายอย่างรอบด้าน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนาภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) UNDP Thailand จึงจัดงานเสวนาภายใต้หัวข้อ ‘ช้างทั้งตัว ใบบัวปิดไม่มิด เสียงจากคนรุ่นใหม่สู่สังคมที่ยั่งยืน’ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 บริเวณชั้น 3 ตึกสามย่านมิตรทาวน์ ภายในงานมีการจัดแสดงภาพถ่ายของเยาวชนผู้ชนะการแข่งขันเรียงความภาพถ่ายในหัวข้อเดียวกัน เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความท้าทายสังคมไทยที่รู้ว่ามีอยู่ แต่กลับไม่แก้ไขอย่างตรงจุด ผู้ร่วมเสวนาครั้งนี้มาจาก 4 วงการ ได้แก่ ‘เชอร์รี่ เข็มอัปสร’ นักแสดงและนักขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมและธุรกิจเพื่อสังคม ‘ดร.เพชร มโนปวิตร’ นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ‘ศุภณัฐ มีนชัยนนท์’ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และ ‘นันทกร วรกา’ เยาวชนผู้ชนะการแข่งขันเรียงความภาพถ่ายในหัวข้อ ‘ช้างทั้งตัว ใบบัวปิดไม่มิด’ เพื่อร่วมตีแผ่ประเด็นสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนต่อด้วยความหวัง โดยประเด็นที่ผู้ร่วมเสวนาแต่ละคนให้ความสำคัญ มีดังนี้ ดร.เพชร มโนปวิตร กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดของการพัฒนาที่ยั่งยืนคือการประเมินตัวชี้วัดในการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศที่เหมาะสม […]

ทำไมจู่ๆ คนเราถึงลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง UNDP ชวนสำรวจสารตั้งต้นความรุนแรง ที่ผลักให้หลายคนกลายเป็น ‘ผู้ก่อการร้าย’

เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นภาพการก่อการร้ายและได้ยินข่าวการใช้ความรุนแรงของกลุ่มต่างๆ ผ่านสื่อ เราอาจคุ้นเคยกับภาพเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมคนเหล่านั้นหลังก่อเหตุ แต่ถ้าหากเราย้อนเวลากลับไปได้ ก่อนที่ใครคนหนึ่งจะได้สถานะ ‘คนร้าย’ หรือ ‘ผู้ก่อการร้าย’ หากเราสำรวจหาเหตุผลเบื้องหลัง เราอาจพบสารตั้งต้นที่จะเปลี่ยนชีวิตพวกเขาไปตลอดกาล การป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่ง (Preventing Violent Extremism) อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายระดับโลก (UN Global Counter-Terrorism Strategy) ที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ แนวทางนี้ไม่ได้มองบุคคลเป้าหมายเป็นศัตรูที่ต้องกำจัด แต่เน้นการจัดการและแก้ไขโครงสร้างสังคมที่ผลักผู้คนให้ลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง คำถามคือ ทำไมจู่ๆ คนเราถึงลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรงล่ะ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP เสนอว่า เราต้องเข้าใจรากเหง้าของความรุนแรงที่ปรากฏออกมาเพื่อที่จะแก้ไขได้ตรงจุด ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง การถูกเลือกปฏิบัติเพราะศาสนาหรือชาติพันธุ์ ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และการขาดโอกาสจากรัฐ ปัญหาเหล่านี้กระตุ้นให้ผู้ที่มีความคับข้องใจเลือกวิถีแห่งความรุนแรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในสภาวะปกติ แม้ว่าเราจะพูดคำว่า ‘ไม่เป็นไร’ กันจนติดปาก และพยายามจะ ‘สบายๆ’ กับทุกอย่าง แต่สังคมไทยกำลังเผชิญความขัดแย้งหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งด้านอัตลักษณ์ เช่น ที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ความขัดแย้งทางการเมืองจากมุมมองอันแตกต่าง และความขัดแย้งเรื่องปากท้องและการจัดสรรทรัพยากรที่ทำให้หลายชุมชนเกิดความคับแค้นใจเมื่อรู้สึกว่าเสียงของพวกเขาไม่ถูกรับฟัง และนำไปสู่การเรียกร้องและเดินขบวนอย่างสันติวิธี หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่ออกมารับฟังอย่างจริงใจและพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน ในที่สุดพวกเขาก็อาจจะเลือกจับอาวุธและใช้ความรุนแรง UNDP ทำงานโดยใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังสถานการณ์จากภาคประชาสังคมและพันธมิตรทางวิชาการ […]

UNDP ชวนหาสาเหตุความรุนแรง เมื่อความสุดโต่งและปัจจัยเชิงโครงสร้างคือบ่อเกิดของการใช้ความรุนแรง

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราเห็นภาพความเคลื่อนไหวทั้งในประเทศไทยและรอบโลก การกลับมาของฝ่ายขวาจัดและแนวคิดนิยมเผด็จการ และที่อีกด้าน ผู้คนออกไปเรียกร้องความเท่าเทียมและความยุติธรรม บางครั้งพวกเขาได้รับการรับฟังและบรรลุเป้าหมายได้ด้วยสันติวิธี แต่ก็มีอีกหลายครั้งที่เกิดความรุนแรงเพราะรัฐเมินเฉยจนทำให้สถานการณ์ยิ่งปะทุ หรือรัฐลงมือปราบอย่างรุนแรง หลายกลุ่มเลือกลงมือก่อการร้ายเพราะความคับแค้นใจที่เผชิญมาเป็นเวลานานและเชื่อว่าความรุนแรงจะเป็นคำตอบ เสียงของอาวุธปืนและระเบิดอาจทำให้ได้รับความสนใจจากสังคม แต่นั่นคือทางออกจริงหรือ ในสังคมประชาธิปไตยที่มีรากฐานมาจากการเคารพความหลากหลาย ไม่ผิดหากจะมีแนวคิดสุดโต่ง (Extremism) ที่หมายถึงยึดถือในอุดมการณ์/ความเชื่อ/ความศรัทธาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สิ่งนั้นอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้นได้ เช่น การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของชาติพันธุ์หรือสิทธิสตรี แต่ถ้าหากแนวคิดสุดโต่งนั้นกลายเป็นแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง (Violent Extremism) เมื่อใด กลุ่มบุคคลนั้นจะมองว่าการใช้ความรุนแรงไม่ผิดและยอมทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และเมื่อนั้น การสูญเสียก็จะเกิดขึ้น ย้อนกลับไปก่อนหน้าที่จะเกิดความสูญเสียขึ้น สาเหตุที่แท้จริงของมันคืออะไร คนเราไม่ได้มีแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงขึ้นมาได้ง่ายๆ ที่ด้านหนึ่ง มันถูกฟูมฟักขึ้นมาจากความขัดแย้งทางศาสนา ชาติพันธุ์ หรือเพศ และความเดือดร้อนต่างๆ ที่มาจากการขาดโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมเพราะไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองและไม่ถูกมองเห็นจากภาคส่วนต่างๆ เช่น ชนกลุ่มน้อยที่ถูกกีดกันทางกฎหมายในเรื่องสัญชาติและโอกาสทางเศรษฐกิจ หรือบุคคลที่มีศาสนาและวัฒนธรรมแตกต่างจากส่วนกลางทำให้รู้สึกเป็นอื่น ส่วนที่อีกด้าน ความรุนแรงอาจมาจากกลุ่มที่ไม่ได้ตระหนักถึงความแตกต่างหลากหลายและไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย (Minority) ในสังคมก็ได้ เช่น กลุ่มหัวรุนแรงขวาจัด (Right-Wing Extremists) ในหลายประเทศ และผู้ที่สมาทานแนวคิดที่ว่าคนขาวเหนือกว่าคนกลุ่มอื่น (White Supremacy) ที่สหรัฐอเมริกา พวกเขาเชื่อว่าคนกลุ่มอื่นจะทำให้สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขาสั่นคลอน จึงลงมือใช้ความรุนแรงเพราะต้องการปกป้องสถานภาพและผลประโยชน์ของตัวเองเอาไว้ หากอยากตัดไฟความรุนแรงแต่ต้นลม เราจะทำอย่างไรได้บ้าง โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ […]

You Me We Us นิทรรศการที่เล่าว่าไม่ว่าชาติพันธุ์ไหนคุณก็คือคน

‘จะดีแค่ไหน ถ้าอยู่ที่ไหนคุณก็ยังเป็นคน’  อาจฟังดูแปลก แต่ความเป็นจริง โลกนี้ยังเต็มไปด้วยคนที่ถูกคนด้วยกันกดขี่ และถูกบังคับให้ไม่เป็นคน เพียงเพราะต่างเพศ ชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา รสนิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง แม้ร่างกายมีเลือดเนื้อเหมือนกัน แต่กลับถูกคนด้วยกันตีคุณค่าต่างจนไม่เท่าเทียม และอาจนำไปสู่การทำร้ายและเข่นฆ่า ประเด็นขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ในสังคมไทยก็เกิดจากสาเหตุคล้ายกัน นั่นอาจเพราะความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมไม่เคยถูกคลี่คลายทำความเข้าใจถ่องแท้ ราวกับว่าการผลักให้คนที่แตกต่างกลายเป็นอื่นจะง่ายกว่าการใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกัน เรากำลังพูดถึง You Me We Us นิทรรศการออนไลน์โดย UNDP ประเทศไทย ซึ่งร่วมมือกับเยาวชนกว่า 10 ชาติพันธุ์ และกลุ่มเยาวชนไร้สัญชาติที่มองเห็นช่องโหว่ด้านการรับรู้เกี่ยวกับกลุ่มชนต่างๆ นิทรรศการนี้จึงหยิบความหลากหลายทางเชื้อชาติในสังคมไทยมาบอกเล่าว่าภายใต้ความต่าง เรามีความเหมือน เพียงแค่ระยะห่างทางสังคมอาจทำให้คนเข้าใจกันน้อยเกินไป You Me We Us จึงเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำพาไปสู่การมองเห็นกันมากขึ้น  บนหน้าเว็บไซต์ของนิทรรศการจะชวนทุกคนไปสำรวจเชื้อชาติของตัวเองและคนรอบข้าง ทดสอบความเข้าใจว่ารู้จักเผ่าพันธุ์ไหนบ้าง เพราะไทยไม่ได้มีแค่ไทย แต่มีคนกว่า 60 ชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ลาวอีสาน กะเหรี่ยง ขมุ ม้ง อาข่า ล้านนา ละว้า มอญ หรือไทใหญ่ ฯลฯ […]

New Year’s Resolution : ปีใหม่ คนใหม่ ด้วย 6 วิธี ‘ปรับชีวิต เปลี่ยนโลก’ ให้น่าอยู่ขึ้น

สำหรับหลายๆ คน การเริ่มต้นปีใหม่อาจเป็นโอกาสในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง อย่างการเลิกนิสัยแย่ๆ หรือตั้งเป้าหมายที่จะเป็นคนที่ดีขึ้น แต่การใช้ชีวิตของเรานั้นส่งทั้งผลดีและผลร้ายให้กับโลก ในแบบที่เรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ซึ่งผลลัพธ์จากสิ่งที่เรากระทำลงไปย่อมสะท้อนกลับมาเสมอ ดังนั้นเราจึงชวนทุกคนมาตั้ง New Year’s Resolution ด้วยการคำนึงถึงโลกและรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากขึ้น เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ตาม 6 แนวทางนี้ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและสังคมที่ดีขึ้น 1. ‘ร้านรีฟิล’ ช่วยโลกลดขยะพลาสติก ขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลกที่ต้องรีบเร่งแก้ไข วิธีการหนึ่งที่กลายเป็นไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่นั่นคือ ‘Zero Waste’ หรือการใช้ชีวิตที่ไม่สร้างขยะ แม้อาจฟังดูเป็นเรื่องยากแต่ตอนนี้บ้านเรามีธุรกิจใหม่มาช่วยแก้ปัญหา อย่าง ‘ร้านค้าแบบเติม’ (Bulk Store) ที่เราสามารถนำภาชนะมาเติมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ได้ อย่างร้านสไตล์ ‘Refill Station’ ที่มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากมาย ทั้งผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ไปจนถึงอาหารแห้งและขนมขบเคี้ยว ซึ่งในกรุงเทพฯ ก็มีร้านรีฟิลเกิดขึ้นมากมาย เช่น Grasstonomy, Zero Moment Refillery, Less Plastic Able แต่ถ้าไม่สะดวกหรืออยู่ไกลยังมีร้าน ‘Greenherit’ เป็นรถรีฟิลเคลื่อนที่ขับไปตามหมู่บ้าน คอนโดมิเนียม หรือออฟฟิศ รวมถึงตลาดนัดสายกรีนต่างๆ […]

“ใช้เวลายื่นขอสัญชาตินานถึง 8 ปี” เยาวชนไร้สัญชาติจากเชียงใหม่ ‘สร้างสื่อเพื่อขอสัญชาติให้คนไร้สัญชาติ’

เยาวชนไร้สัญชาติจากเชียงใหม่รวมตัวกันสร้างสรรค์ ‘สื่อเพื่อการขอสัญชาติ’ เพื่อให้ความรู้ด้านการขอสัญชาติ ผ่านการประกวดโครงการ Youth Co:Lab Thailand 2019 และคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับสองได้ในที่สุด

EAT

เที่ยวยั่งยืนที่ชุมชน ‘เพียรหยดตาล’ กับโครงการ APYE

หากพูดถึงสวนมะพร้าวเราคงนึกถึงมะพร้าวน้ำหอม ถือกินเป็นลูกๆ หวานฉ่ำชื่นใจ แต่มะพร้าวสามารถเป็นได้มากกว่านั้น ทั้งน้ำมันมะพร้าวในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือหากเป็นพันธุ์มะพร้าวแกงก็จะนำเอาเนื้อมะพร้าวไปทำกะทิ ส่วนช่อดอกมะพร้าวที่เรียกว่า จั่น ยังเอามาเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวได้ด้วย ซึ่งเราไปลุยสวนตามล่าน้ำตาลมะพร้าว 100 % กันมา แถมยังเห็นความลำบากในทุกกระบวนการ บอกเลยว่าหากินได้ยากแล้วในปัจจุบัน

Co-Design Lab : โลกที่เปลี่ยนผ่าน นวัตกรรมที่เปลี่ยนไป กับ ‘ราชการไทย’ที่(อยาก)เปลี่ยนแปลง

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จึงร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อพัฒนาการให้บริการของภาครัฐ สำหรับอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลของภาครัฐได้ง่ายขึ้น

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.