3’Orn Co-living ธีสิสหอพักย่านสะพานเหลืองที่อยากลดค่าครองชีพให้ชาว First Jobber

หนึ่งในปัญหาใหญ่ของวัยเริ่มทำงานคือ การต้องตัดสินใจเลือกระหว่างที่พักที่เดินทางไปทำงานสะดวกในราคาสูง หรือลดราคาที่พักลงมาแต่ต้องแลกกับการเดินทางที่ค่อนข้างลำบาก ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว สุดท้ายอาจไม่คุ้มกันอยู่ดี  จะดีกว่าไหม ถ้ามีที่อยู่อาศัยที่ทั้งใกล้ขนส่งมวลชน เดินทางง่าย ห้องพักอยู่สบาย และราคาเหมาะสมที่ไม่ถึงกับต้องตัดค่าใช้จ่ายบางส่วนทิ้งไป ‘อัน-อรวรา เวโรจน์วิวัฒน์’ นิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มองเห็นปัญหานี้ รวมไปถึงปัญหาการล่มสลายของชุมชนอยู่อาศัยดั้งเดิมในเมืองชั้นใน ซึ่งเกิดจากความต้องการที่อยู่อาศัยในเมืองที่เพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่เมืองชั้นในถูกรื้อ ส่งผลให้ผู้คนในชุมชนย้ายออก ร้านค้าซบเซา มีจำนวนตึกว่างให้เช่าหรือขายเพิ่มขึ้นในพื้นที่ชุมชน  เธอจึงนำมันมาเป็นไอเดียสำหรับการทำธีสิสในหัวข้อ ‘โครงการพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยสะพานเหลืองเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชากรวัยทำงานตอนต้นและผู้อาศัยดั้งเดิม’ และไม่ใช่แค่การออกแบบผ่านโครงงานจนได้เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี 2562 เท่านั้น แต่ธีสิสหัวข้อนี้ยังกลายเป็น ‘หอพัก 3’Orn Co-living’ ที่เปิดให้คนเข้าพักได้จริงในย่านสะพานเหลือง ตรงกับความตั้งใจของผู้ออกแบบที่ต้องการทำที่อยู่อาศัยราคาเข้าถึงได้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กลุ่ม First Jobber อย่างตัวเอง First Jobber และปัญหาค่าครองชีพในเมือง “ด้วยความที่เราเป็นเด็กต่างจังหวัดเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ได้รับเงินค่ากินอยู่เป็นรายเดือน ทำให้เป็นกังวลต่อการแบ่งค่าใช้จ่าย ค่ากิน ค่าอยู่ ยิ่งตอนปี 5 ใกล้จะเรียนจบ ก็เริ่มคิดว่าเราจะไปทำงานที่ไหน จะอยู่ยังไง จะจัดการค่าใช้จ่ายยังไง ซึ่งคาบเกี่ยวพอดีกับช่วงที่ทำธีสิส เราเลยเอาความกังวลและคำถามเหล่านั้นไปศึกษาต่อ  “จริงๆ ทำเพื่อตอบคำถามให้ตัวเองแหละ […]

Ban Phru Cemetery Park ธีสิสเปลี่ยนสุสานบ้านพรุในหาดใหญ่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนเมือง

เมษายนคือช่วงเวลาที่ลูกหลานชาวจีนจะได้กลับมาเจอกันอีกครั้งใน ‘วันเช็งเม้ง’ ประเพณีสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จะต้องไปเคารพและทำความสะอาดหลุมศพของบรรพบุรุษทุกๆ ปี  แต่เคยคิดกันไหมว่าพื้นที่สุสานที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ นอกจากวันเช็งเม้งแล้ว พื้นที่หลายร้อยไร่ที่เราไปทุกปีได้ถูกใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาอื่นบ้างไหม? โดยเฉพาะสุสานที่อยู่ในย่านชุมชน อยู่ใกล้เมือง มีคนพลุกพล่าน ที่มีทั้งคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีศักยภาพในการใช้งานมากกว่าแค่ปีละครั้ง จะดีกว่าไหมถ้าสุสานที่อยู่ใกล้เมืองหลายแห่งถูกพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายโอกาส และเปิดให้คนภายนอกได้เข้าไปใช้งานนอกจากวันเช็งเม้งบ้าง  เก่ง-ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือลูกหลานชาวจีนในหาดใหญ่ที่ไปเช็งเม้งที่ ‘สุสานบ้านพรุ’ เป็นประจำทุกปี และมองเห็นความเป็นไปได้ของพื้นที่นี้มากกว่าการมาเช็งเม้ง จึงออกมาเป็นธีสิส ‘Ban Phru Cemetery Park’ โครงการพัฒนา ‘สุสานบ้านพรุ’ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนในเมือง เพื่อให้คนในหาดใหญ่ได้เข้าถึงพื้นที่สีเขียว มีกิจกรรมนันทนาการ มีพื้นที่เชิงวัฒนธรรม และที่สำคัญคือช่วยเพิ่มยอดขายหลุมฝังศพบนพื้นที่ที่เหลืออยู่ให้กับสุสานบ้านพรุได้อีกด้วย ธีสิสที่เริ่มจากการไปเช็งเม้ง เก่งเล่าให้ฟังว่า เหตุผลที่เลือกสุสานบ้านพรุมาทำธีสิสเพราะที่นี่คือที่ที่เขาและครอบครัวต้องไปเช็งเม้งเป็นประจำทุกปี จึงมีความคุ้นเคยและผูกพันกับสุสานนี้เป็นพิเศษ “​​แรงบันดาลใจของธีสิสนี้มาจากตอนปี 4 ได้เรียนวิชา Intro to Urban Architecture ซึ่งมีไฟนอลโปรเจกต์ให้ทำ ตอนนั้นสนใจเกี่ยวกับพื้นที่สุสานในเมืองอยู่แล้ว และสนใจเรื่องการนำมาปรับใช้ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ จึงได้ไปศึกษาเกี่ยวกับสุสานแต้จิ๋วในสาทร ซึ่งมีพื้นที่ประมาณแปดสิบห้าไร่ และเปิดเป็นพื้นที่ให้ประชาชนโดยรอบเข้ามาใช้งานในเชิงสันทนาการได้ตั้งแต่ปี 2539 เป็นสุสานแรกๆ ที่เปิดให้คนเข้ามาใช้ทำกิจกรรมอย่างอื่นได้นอกจากพิธีธรรม” […]

จินตนาการจากผ้าปาเต๊ะ ธีสิสเย็บปักถักร้อยจากชีวิตสาวปักษ์ใต้ผู้คิดถึงบ้าน

ชวนดูศิลปนิพธ์ของสาวใต้จากจิตรกรรมฯ ศิลปากร ผู้หยิบผ้าปาเต๊ะมาสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งชวนหลงใหลบรรยากาศแดนใต้

Untitled ศิลปนิพนธ์เรียนรู้โรคกลัวรูของเด็กโฟโต้อาร์ตแห่งเชียงใหม่ผู้เป็นโรคกลัวรู

ชวนดูศิลปนิพนธ์โรคกลัวรูของนักศึกษาสาขาศิลปะการถ่ายภาพ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.