ไปศึกษาและชิมชาไต้หวันแบบเนิร์ดๆ ใน ‘Taiwanese Tea Workshop’ วันที่ 22 / 23 ก.ย. 66 ที่ร้าน Casa Formosa

ไม่ต้องบินไปไกลถึงไต้หวัน สายชาก็สามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชา วิถีดื่มชา และวิธีการชงชาแบบคนไต้หวันแท้ๆ ได้ใน ‘Taiwanese Tea Workshop’ กิจกรรมเวิร์กช็อปโดย ‘Taa Experience’ และ ‘Casa Formosa Taiwan Tea House’ นอกจากการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชาแบบลงลึกแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้ชิมชามากกว่า 10 ชนิด พร้อมของว่างและชา 6 เซตจากกิจกรรมที่อัดแน่นตลอด 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น Taiwanese Tea Workshop จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 22 และวันเสาร์ที่ 23 กันยายน (เลือกวันใดวันหนึ่ง) ตั้งแต่เวลา 09.00 – 12.00 น. ที่ร้าน Casa Formosa Taiwan Tea House โดยมีค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม 1,700 บาท/คน ติดตามรายละเอียดและการจองได้ทาง Instagram : taaexperience

‘รถไฟหมิงรื่อ (The Future)’ รถไฟชมวิวและห้องอาหารเคลื่อนที่ของไต้หวัน ที่จะยกระดับประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบใหม่ให้ผู้โดยสาร

การท่องเที่ยวโดยรถไฟอาจเป็นตัวเลือกสุดท้ายของนักท่องเที่ยวหลายคน เพราะด้วยระยะการเดินทางที่ใช้เวลานานหลายชั่วโมง แต่หากใครไม่เร่งรีบและอยากสัมผัสประสบการณ์การนั่งรถไฟเที่ยว ประเทศไต้หวันก็มีรถไฟชมวิวที่เป็นหนึ่งในรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีมาตั้งแต่อดีต เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่การคมนาคมยังเข้าไม่ค่อยถึง แถมยังได้สัมผัสความสวยงามของธรรมชาติภายนอกระหว่างการเดินทางด้วย หลังจากเปิดให้บริการรถไฟชมวิวเพื่อการท่องเที่ยวมากว่า 20 ปี ‘หน่วยงานกรมการรถไฟในไต้หวัน’ (Taiwan Railways Administration) ก็ได้รีโนเวต ‘รถไฟหมิงรื่อ (The Future)’ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 70 ปี ให้กลายเป็นรถไฟท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ โดยได้ ‘ชิวป๋อเหวิน’ (Johnny Chiu) ผู้ก่อตั้งบริษัทออกแบบ ‘JC. Architecture & Design’ มาเป็นผู้ออกแบบ เพื่อเปลี่ยนภาพจำของขนส่งสาธารณะแบบเก่าให้เป็นเรื่องเซอร์ไพรส์สำหรับนักท่องเที่ยว รถไฟหมิงรื่อได้รับการออกแบบใหม่ภายใต้คอนเซปต์ ‘สายลมในฤดูใบไม้ร่วง’ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสีส้มและสีดำ ซึ่งเป็นสีหลักในการออกแบบรถไฟยุคแรกของจักรพรรดิญี่ปุ่นที่ใช้โดยสารมาไต้หวัน และตัวอักษรบนตัวรถก็เป็นรูปแบบเดิมที่หลงเหลือมาจากช่วงที่ไต้หวันตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของญี่ปุ่น โดยองค์ประกอบทั้ง 2 ส่วนนี้ยังถูกเก็บเอาไว้อย่างดี เพื่อทำหน้าที่เป็นภาพความทรงจำของผู้โดยสารที่มีต่อรถไฟในยุคก่อน ส่วนการตกแต่งภายในมีการใช้สีฟ้าและสีเทาเป็นหลัก เพื่อสะท้อนถึงภาพท้องทะเลรอบๆ ไต้หวันและทิวทัศน์ที่ล้อมรอบด้วยหินของ ‘อุทยานแห่งชาติทาโรโกะ’ (Taroko Gorge) ในเมืองฮวาเหลียน ที่เป็นแหล่งธรรมชาติขนาดใหญ่ของไต้หวัน เพื่อทำให้ผู้โดยสารรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นในระหว่างเดินทาง ไม่เพียงแค่ปรับปรุงภาพลักษณ์รถไฟหมิงรื่อรูปแบบใหม่และเปิดให้ใช้บริการในปี 2020 เท่านั้น แต่ทาง JC. […]

ไต้หวันขยายสิทธิให้คู่รัก LGBTQ+ รับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกันได้

เมื่อพูดถึงการเปิดกว้างเรื่อง ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ‘ไต้หวัน’ น่าจะเป็นประเทศที่โอบรับความหลากหลายทางเพศมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ เพราะเป็นประเทศแรกที่ให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่สิทธิที่ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันได้หลังจากแต่งงานยังไม่เท่าเทียมกับคู่แต่งงานชายหญิง เพราะกฎหมายยังห้ามไม่ให้คู่แต่งงานเพศเดียวกันรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกัน เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไต้หวันพูดเรื่องความเสมอภาคได้อย่างไม่เต็มปาก แต่ล่าสุดไต้หวันได้ผลักดันการแก้กฎหมายที่ยังละเมิดความเท่าเทียมทางเพศ โดยอนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศในทุกๆ ด้าน ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่มีความเสมอภาคมากที่สุดในเอเชีย ‘ไต้หวัน’ ประเทศแรกในเอเชียที่ให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย แต่เดิมการแต่งงานของเพศเดียวกันยังเป็นข้อห้ามทางด้านกฎหมายในไต้หวัน จนกระทั่งปี 2560 ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาและตัดสินว่ากฎหมายข้อนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิและความเสมอภาคของพลเมืองตามหลักรัฐธรรมนูญ รัฐสภาไต้หวันจึงต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล ทำให้ในปี 2562 รัฐสภาไต้หวันได้ผ่านร่างกฎหมายให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากฝ่ายอนุรักษนิยม แต่ไต้หวันก็สามารถเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  แต่งงานกับชาวต่างชาติได้ถ้าประเทศคู่รักรองรับสมรสเท่าเทียม การสมรสเท่าเทียมทำให้คู่รัก LGBTQ+ ได้รับสิทธิเกือบเท่าเทียมคู่รักชายหญิง แต่พวกเขายังถูกจำกัดสิทธิเรื่อง ‘การแต่งงานกับชาวต่างชาติ’ และ ‘การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม’ ที่ยังคงจำกัดสิทธิบางอย่างอยู่ เพราะตามกฎหมายเดิม ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันจะแต่งงานกับชาวต่างชาติได้ก็ต่อเมื่อ คู่รักมาจากประเทศที่มีกฎหมายรองรับสมรสเท่าเทียมเท่านั้น เช่น ถ้าคู่รักเป็นชาวไทยก็จะไม่สามารถแต่งงานกันได้ เพราะประเทศไทยยังไม่บังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่เมื่อเดือนมกราคม 2566 การสมรสเท่าเทียมของไต้หวันก็มีความเท่าเทียมมากขึ้น หลังจากกฎหมายเพิ่มสิทธิรองรับการแต่งงานคู่รัก […]

‘Design & Politics’ งานดีไซน์เพื่อการเลือกตั้งจากไต้หวัน ที่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

การเลือกตั้งที่ไทยจบลงไปแล้วกับชัยชนะของฝั่งประชาธิปไตย แต่หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจแต่เราอาจมองข้ามไปคือ การสร้างสรรค์ดีไซน์หรือฮาวทูต่างๆ ที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงและเข้าใจการเลือกตั้งได้อย่างชัดเจนขึ้น เพราะก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจในกติกาหรือรายละเอียดการเลือกตั้ง จนกลายเป็นผลเสียตามมา Urban Creature ขอพามาดูตัวอย่างงานออกแบบการเมืองของประเทศไต้หวัน ที่พยายามใช้งานดีไซน์ทำให้ประชาชนเข้าใจการเลือกตั้งได้ง่ายขึ้น จาก ‘Golden Pin Design Award’ งานรางวัลการออกแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดในตลาดการออกแบบแห่งไต้หวัน จีน มาเก๊า และฮ่องกง ที่ต้องการเปิดโอกาสและสนับสนุนงานออกแบบหลากหลายประเภทจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย ไต้หวันมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกๆ 4 ปี โดยจัดสลับกันระหว่างสองการเลือกตั้งนี้ในทุกๆ 2 ปี แน่นอนว่าต้องมีการโปรโมตเพื่อหาเสียงเหมือนกับการเลือกตั้งในบ้านเรา และแนวคิดที่ชาวไต้หวันเลือกนำมาใช้คือการออกแบบการหาเสียงที่จะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หนึ่งในงานออกแบบการหาเสียงที่น่าสนใจคือ การเปิดช่องทางให้ประชาชนทั่วไปได้ทำความเข้าใจนโยบายของผู้สมัครเลือกตั้งในด้านต่างๆ เช่น นโยบายในประเทศ นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคงของชาติ และระบบเศรษฐกิจ ผ่านการออกแบบฟังก์ชัน ‘ห้องแชตประธานาธิบดี’ โดย ‘Block Studio’ เพื่อเป็นช่องทางให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ เริ่มต้นจากการเลือกผู้สมัครที่สนใจ และระบบจะนำเราเข้าสู่ห้องแชตที่อธิบายนโยบายต่างๆ ในรูปแบบของบทสนทนาที่ใช้กันทั่วไป จากนั้นระบบจะประมวลผลจากการสื่อสารและนโยบายที่ผู้ใช้งานได้เลือกระหว่างสนทนาว่า พรรคไหนคือพรรคที่มีนโยบายตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด ซึ่งวิธีดังกล่าวนอกจากจะทำให้ประชาชนเข้าใจและเลือกนโยบายที่ตอบโจทย์แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เลือกผู้สมัครที่มีวิสัยทัศน์ตรงกับตัวเอง โดยไม่ตัดสินจากตัวพรรคที่สังกัดอย่างที่เคยเป็นมา อีกหนึ่งการออกแบบคือ ‘คู่มือการเลือกตั้ง’ ซึ่งเป็นผลงานจาก ‘graphic room’ […]

‘Sensing Taiwan’ ชวนสัมผัสไต้หวันผ่านซีรีส์หนังคลาสสิค ดูออนไลน์ฟรีตลอดเดือนเมษายน 65

หลายคนอาจจะรู้จัก ‘ไต้หวัน’ ผ่านทั้งการท่องเที่ยว วัฒนธรรม อาหารการกิน หรือชานมไข่มุก ไปจนถึงเรื่องราวทางการเมืองในภูมิภาค  วันนี้แม้โควิดจะทำให้เราเดินทางออกนอกประเทศได้ลำบาก เราจึงอยากชวนสัมผัสไต้หวันอีกมุมหนึ่งที่ทุกคนทำได้ผ่านหน้าจอ นั่นคือภาพยนตร์นั่นเอง  ซีรีส์ภาพยนตร์คลาสสิคออนไลน์ ‘Sensing Taiwan’ จัดโดยภาควิชาภาพยนตร์และสื่อจากมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกาจะชวนทุกคนสัมผัสไต้หวันผ่านภาพยนตร์คลาสสิคในช่วงทศวรรษ 1960-1990 จำนวน 3 เรื่อง ตั้งแต่วันที่ 8-18 เมษายน 2565 เรื่องแรกคือ ‘The Husband’s Secrets (1960)’ ภาพยนตร์ขาว-ดำสไตล์เมโลดรามาเกี่ยวกับความรักสามเศร้าที่ฉายให้เห็นสภาพสังคม-เศรษฐกิจของไต้หวันในสมัยนั้น เรื่องที่สองคือ ‘Storm over the Yangtze River (1969)’ ภาพยนตร์เกี่ยวกับตัวละครที่เป็นสายลับในสงครามช่วงจักรวรรดิญี่ปุ่นเรืองอำนาจ ความน่าสนใจคือภาพยนตร์เรื่องนี้ฉีกกรอบภาพยนตร์สงครามแบบเดิมๆ ฉายให้เห็นความซับซ้อนของ ‘สงคราม’ ผ่านการปฏิสัมพันธ์ของตัวละคร  เรื่องที่สามคือ ‘Super Citizen Ko (1995)‘ ภาพยนตร์เกี่ยวกับยุคสมัยที่ไต้หวันปกครองด้วยระบอบเผด็จการช่วงทศวรรษ 1950 กลุ่มศึกษาทฤษฎีการเมืองในสมัยนั้นเป็นเรื่องต้องห้าม แต่มีกลุ่มนักเรียนกลุ่มหนึ่งแอบจัด และเมื่อโดนจับได้นั้นเพื่อนคนหนึ่งชื่อ ‘Ko’ ได้เผลอแพร่งพลายความลับของเพื่อนอีกคนให้ตำรวจฟังจนนำไปสู่การประหารชีวิตเพื่อนคนนั้น 30 ปีต่อมา […]

แฟนหนังสารคดีห้ามพลาด เทศกาลสารคดีไต้หวัน ปี 2021

สำหรับคนที่ตกหลุมรักหนังไต้หวัน ปีนี้เทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวัน (Taiwan Documentary Film Festival in Thailand) กลับมาตามนัดแบบส่งท้ายปี 2021 โดยปีนี้เทศกาลจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว และมีหนังยาวฉายจำนวนถึง 10 เรื่อง รวมถึงหนังสั้นจำนวน 3 โปรแกรม แถมปีนี้ยังจัดเทศกาลพร้อมๆ กันในสามจังหวัดทั้งกรุงเทพฯ หาดใหญ่ (สงขลา) และพะเยา โปรแกรมของเทศกาลในกรุงเทพฯ มีตั้งแต่วันที่ 15 – 19 ธันวาคม ที่ House Samyan และ Doc Club & Pub. ส่วนอีกสองจังหวัดมีตั้งแต่วันที่ 17 – 19 ธันวาคม ที่ Lorem Ipsum Space (หาดใหญ่) และเมืองทองรามา (พะเยา) ส่วนหนังไฮไลต์ประจำปีนี้ก็คือหนังเปิดเทศกาลในวันพุธที่ 15 ธันวาคม เรื่อง Flowers […]

ไต้หวันระแวงจีน เมื่อจีนจัดกำลังล้อมรอบเกาะ

ถ้าติดตามการเมืองภูมิภาคเอเชีย ก็จะรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันไม่ค่อยจะสู้ดีมานานมากแล้ว นอกจากการพยายามควบรวมฮ่องกงในช่วงที่ผ่านมา ไต้หวันก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายใหญ่ของ ‘นโยบายจีนเดียว’ ใหญ่ขนาดที่ประกาศว่าถ้าคนไต้หวันต้องการอิสรเสรีก็ต้องแลกกับเลือดเนื้อและสงคราม จริงๆ แล้วไต้หวันปกครองเป็นอิสระจากจีนตั้งแต่ปี 2492 แต่ถึงอย่างนั้นรัฐบาลปักกิ่งก็มองว่าเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตตัวเอง ซึ่งปักกิ่งตั้งใจแน่วแน่ว่าจะ ‘รวม’ ไต้หวันกับแผ่นดินใหญ่เข้าด้วยกันให้ได้ และจะแข็งข้อใช้กำลังหากจำเป็น ไม่กี่วันมานี้ กระทรวงกลาโหมไต้หวันเผยว่าแสนยานุภาพของกองกำลังติดอาวุธจีนมีศักยภาพมากขึ้น จนพอที่จะขัดขวางการป้องกันตัวเองของชาติได้ มิหนำซ้ำแผ่นดินใหญ่ยังคอยมอนิเตอร์ไต้หวันอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนทางฝั่งไต้หวันเองก็มีการประเมินถึงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ เพราะทางการปักกิ่งกำลังดำเนินการเพิ่มกิจการทางทหารล้อมเกาะ ชนิดที่ว่าจงใจมาหายใจรดต้นคอ สาเหตุที่ช่วงหลังการเมืองระหว่างสองจีนคุกรุ่น เพราะประธานาธิบดีหญิงของไต้หวันอย่าง ‘ไช่ อิงเหวิน’ แสดงจุดยืนประณามความพยายามของปักกิ่งที่จะบ่อนทำลายประชาธิปไตยของเกาะ ปักกิ่งจึงลุกขึ้นมาเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองและการทหารต่อไทเป กระทรวงกลาโหมไต้หวันเสนอต่อรัฐสภาว่าด้วยเรื่องกองทัพจีน เพราะประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้ายแรงขึ้นกว่าปีที่แล้ว เพราะปี 2564 จีนเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ‘การโจมตีอิเล็กทรอนิกส์ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง’ รวมถึงยุทธการบล็อกการสื่อสารข้ามฝั่งตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่หมู่เกาะที่ทอดยาวจากหมู่เกาะญี่ปุ่นผ่านไต้หวัน และทอดยาวลงไปที่ฟิลิปปินส์ หรือที่เรียกว่าจุดยุทธศาสตร์ First Island Chain ปัจจุบันจีนกำลังใช้ยุทธวิธีแบบออนไลน์ โดยรวบรวมกองทัพอินเทอร์เน็ตเพื่อโจมตีอินเทอร์เน็ตทั่วโลกทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้การป้องกันทางอากาศของไต้หวันเป็นอัมพาตผ่านการบังคับบัญชาทางทะเล และใช้ระบบตอบโต้การโจมตีที่มีประสิทธิภาพ นี่จึงเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อเกาะเล็กๆ อย่างไต้หวัน ทางกระทรวงได้เสริมว่าจีนได้พัฒนาขีดความสามารถของตัวเองด้วยการใช้ดาวเทียม Beidou ซึ่งเป็นการตอบโต้ระบบ GPS ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของ นั่นหมายความว่าปักกิ่งติดตามความเคลื่อนไหวรอบๆ ไต้หวันโดยได้รับความช่วยเหลือจากเครื่องบินสอดแนม โดรน และเรือรวบรวมข่าวกรองของจีน ในขณะที่กระทรวงกลาโหมจีนไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นของไต้หวัน […]

The Guidebook of Marine Debris ไกด์บุ๊กชวนสำรวจขยะทะเลที่ได้ไอเดียจากการ์ตูน Pokémon

The Guidebook of Marine Debris โปรเจกต์จากไต้หวัน รวบรวมขยะทะเลมาถ่ายภาพ 360 องศา ลงเว็บในรูปแบบไกด์บุ๊ก ทั้งสนุกและสร้างความตระหนักเรื่องมลพิษทางทะเลไปพร้อมกัน

Xinzhongshan Linear Park ลานเดินขนาดจำกัด 500 ม. ที่เพิ่มความสุขให้ชาวไทเปไม่จำกัด

‘Xinzhongshan Linear Park’ พื้นที่สาธารณะซึ่งเพิ่งปรับปรุงใหม่กลางเมืองไทเปที่น่าสนใจและเป็นตัวอย่างที่เข้าใจผู้คน ทั้งยังเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับเมืองนั้นน่าอยู่มากขึ้น

‘Words Studio’ ร้านขายการ์ดที่เหลือเพียงแห่งเดียวในไต้หวัน

ทุกคนยังจำช่วงเวลาที่ออกไปหาซื้อการ์ด หรือทำการ์ดด้วยตัวเองได้ไหม ? ยังจำความรู้สึกตอนตั้งใจเขียนตัวหนังสือลงการ์ดให้สวยได้หรือเปล่า ? เราจะพาทุกคนย้อนไปนึกถึงความรู้สึก ณ ช่วงเวลานั้นที่ ‘Words Studio’ ร้านขาย ‘การ์ด’ ที่เหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไต้หวัน

ภาษีที่จ่ายไป ได้อะไรกลับมา

รู้หรือไม่ รายได้ของรัฐบาลในหลายประเทศมาจากการเก็บภาษีประชาชน โดยในปี พ.ศ. 2562 กรมสรรพากรเก็บภาษีได้มากถึง 2.01 ล้านล้านบาท มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มถึง 8 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล 6.94 แสนล้านบาท ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3.36 แสนล้านบาท ตามลำดับ

ตะลุยตามหา ‘ร้านหนังสืออิสระในไทเป’ ฉบับเจ้าถิ่น

ตามประสามนุษย์หนังสือไม่ว่าจะเดินทางไปเมืองไหน เรามักจะปักหมุดร้านหนังสืออิสระของแต่ละเมืองไว้เป็นหนึ่งในลิสต์สถานที่ที่ต้องไปเยือนเสมอ และถ้าเป็นไปได้ก็จะหยิบหนังสือสักเล่มติดไม้ติดมือกลับมาอ่าน รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง แต่ก็ได้ดูภาพประกอบและเลย์เอาต์ของหนังสือไปพลาง ก็เหมือนได้ทำความรู้จักประเทศนั้นๆ เพิ่มมากขึ้น หากพูดถึงที่ประเทศไต้หวัน นอกจากร้านหนังสือเชนสโตร์อย่าง ‘Eslite Bookstore’ ที่มีสาขากระจายตัวอยู่ทั่วไทเปและหลายเมืองแล้ว ความโดดเด่นของวงการหนังสือและสิ่งพิมพ์ไต้หวันคือยังมีคนตัวเล็กๆ ที่ปลุกปั้นร้านหนังสืออิสระในแบบเฉพาะของพวกเขาซึ่งซุกซ่อนอยู่ตามมุมต่างๆ ทั้งใน Creative Park บ้าง แอบอยู่บนชั้นสองของตึกแถวเล็กๆ ในซอยที่ไม่ค่อยมีคนพลุกพล่าน วันนี้เราเลยรวบรวมมาเป็นลิสต์เบื้องต้นสำหรับเหล่าหนอนหนังสือที่มาเยือนไทเปก็ไม่ควรพลาดไปแวะชมร้านหนังสือเหล่านี้ 青鳥 Bleu&Book สาขาหลักของร้านนี้อยู่ที่ Huashan 1914 Creative Park ทันทีที่ผลักบานประตูสีเขียวเข้าไป โลกแห่งความสงบภายในก็รอให้เราได้มาสัมผัส ‘Bleu&Book’ เป็นร้านหนังสืออิสระขนาดใหญ่ที่คัดสรรหนังสือหลากหลายประเภท แม้ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาจีน แต่เราก็เพลิดเพลินไปกับการไล่สายตาดูหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้บนชั้นที่คัดสรรมาอย่างดีได้นานพอดู หรือใครที่เดินเที่ยวมาเหนื่อยๆ ร้านนี้ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการหลบมานั่งพักดื่มกาแฟ และที่นี่ยังมักจะจัดเสวนาเปิดตัวหนังสือหรือชักชวนนักเขียนชาวไต้หวันมาพูดคุยใกล้ชิดกับนักอ่านอยู่บ่อยๆ เรียกว่าเป็นอีกบรรยากาศที่น่าลองไปสัมผัสดูเหมือนกัน Sources: https://bleu.com.tw/www.facebook.com/bleubook/ 浮光書店 Illumination Books สิ่งที่ทำให้เราประทับใจร้านหนังสือแห่งนี้ตั้งแต่การไปครั้งแรก คือถึงแม้จะตั้งอยู่ในย่านวัยรุ่นสุดฮิปอย่าง Zhongshan แต่การต้องปีนบันไดสุดชันขึ้นไปบนชั้นสองของห้องแถวที่ล้อมรอบไปด้วยธุรกิจเซียงกงก็ทำให้เราตื่นเต้นไม่น้อย สำหรับเอกลักษณ์ของร้านนี้เน้นหนังสือ non-fiction สไตล์สังคมศาสตร์ ปรัชญา และการเมืองซึ่งถือว่าเฉพาะตัวมากๆ Jc Chen […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.