‘Khudi Bari’ บ้านประกอบได้ราคาถูกและทำจากวัสดุธรรมชาติเพื่อรับมือกับวิกฤตภูมิอากาศ

คุณเคยย้ายที่อยู่อาศัยเพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไหม? เราอยากชวนจินตนาการนึกภาพตามว่าถ้าหากบ้านของคุณตั้งอยู่ในจุดที่ด้านขวามือคือทะเล และด้านซ้ายเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สายไหลมาบรรจบกัน เป็นแหล่งสะสมตะกอนชั้นดีสำหรับเพาะปลูก หรือดำรงชีพด้วยการหาปลา แต่ผู้อยู่อาศัยก็ต้องโยกย้ายตามฤดูกาล คุณจะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้อย่างไร?  และหากน้ำทะเลด้านขวาเพิ่มสูงขึ้น แม่น้ำด้านซ้ายปริมาณมากขึ้นเพราะน้ำแข็งละลายจากบนเทือกเขา และท้องฟ้าด้านบนฝนตกหนักผิดวิสัย สถานการณ์วิกฤตสภาพภูมิอากาศเช่นนี้ทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องเผชิญภัยธรรมชาติ บ้างต้องโยกย้ายที่อยู่บ่อยครั้งกว่าปกติ และบ้างต้องจำใจทิ้งวิถีชีวิตแบบเดิมเข้าไปหาเลี้ยงชีพในเมืองใหญ่และอาศัยอยู่ในสลัม นี่คือสถานการณ์ในบังกลาเทศจาก Marina Tabassum สถาปนิกชาวบังกลาเทศผู้ออกแบบโปรเจกต์ ‘Khudi Bari – บ้านจิ๋ว’ ขนาดรองรับสมาชิก 4 คนสำหรับผู้ที่อาศัยตามพื้นที่ลุ่มน้ำ  ความตั้งใจของ Tabassum คือจะใช้สถาปัตยกรรมที่เธอร่ำเรียนมาให้เป็นประโยชน์กับคนที่อาศัยตามพื้นที่ปากแม่น้ำ (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Char Dwellers’) อย่างไรให้ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และปรับให้เข้ากับบริบททางธรรมชาติเพื่อรองรับความผันแปรให้ได้มากที่สุด จากการเก็บข้อมูลของเธอ โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายการสร้างบ้านสำหรับคนในพื้นที่ลุ่มน้ำอยู่ที่ราว 1,500 ปอนด์ (ประมาณ 60,000 บาท) และต้องใช้สถาปนิก 3 คน ช่างไม้ 1 คน เพื่อประกอบในเวลา 15 วันให้เป็นรูปร่าง โปรเจกต์ ‘Khudi Bari’ นี้ Tabassum […]

‘โคเปนเฮเกน’ จากเมืองอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยมลพิษ สู่เมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลก

จะดีแค่ไหนถ้าได้อยู่ในเมืองที่น่าอยู่ คุณภาพชีวิตดี แถมยังรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ท่ามกลางวิกฤต ‘การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ หลายเมืองทั่วโลกเดินหน้าผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในเมืองที่ยืนหนึ่งด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ ก็คือ ‘โคเปนเฮเกน’ เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก นิตยสาร Time Out ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 27,000 คนจากหลายร้อยเมืองทั่วโลก เพื่อหาคำตอบว่าเมืองใดคือเมืองที่ ‘ยั่งยืนที่สุดในโลก’ ประจำปี 2021 โดยผลการสำรวจชี้ว่า 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจยกให้ ‘โคเปนเฮเกน’ เป็นเมืองที่ครบเครื่องเรื่องความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าโคเปนเฮเกนจะกลายเป็นเมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลกได้ อากาศในเมืองหลวงแห่งนี้เคยเต็มไปด้วยมลพิษ ส่วนแหล่งน้ำก็ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี ขยะ และสิ่งปฏิกูล Urban Creature จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่า โคเปนเฮเกนทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมที่เข้มแข็ง จนกลายเป็นเมืองที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนได้ 01 | Public and Private Sectors : เมืองที่ภาครัฐร่วมมือกับเอกชน ก่อนอื่นต้องอธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า รัฐบาลเดนมาร์กบริหารงานแบบ ‘กระจายอำนาจการปกครอง’ […]

buildbetternow.co นิทรรศการจาก COP26 รวม 17 แนวคิดสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ที่เล่าเรื่องผ่านภาพ เสียง และวิดีโอจากทั่วโลก

นอกจากการแสดงวิสัยทัศน์เรื่องสิ่งแวดล้อมของบรรดาผู้นำกว่า 190 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุม COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (UN Climate Change Conference of the Parties) ในปีนี้ยังมีนิทรรศการออนไลน์ ‘Build Better Now’ ที่เปิดให้ผู้ชมทางบ้านจากทั่วมุมโลกเข้าชมได้ฟรีที่เว็บไซต์ www.buildbetternow.co  Build Better Now เป็นนิทรรศการออนไลน์แบบ 360 องศาที่จัดแสดงไอเดียและโปรเจกต์ที่ออกแบบเกี่ยวกับ ‘Built Environment’ หรือแนวคิดสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ที่คำนึงถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรับมือกับปัญหา Climate Change โดยมีแนวคิดว่าการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นตึกสูง อาคาร บ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จะต้องทำให้เกิดความสมดุล 3 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่และส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์จะพบกับโครงการสถาปัตยกรรมต้นแบบจากทั่วโลกกว่า 17 โครงการที่คัดสรรโดย UK Green Building Council (UKGBC) เช่น Favela […]

Tarket แพลตฟอร์มของมือสองที่จะทำให้การซื้อขายของใช้แล้วเป็นเรื่องสนุก

เมื่อปัญหาโลกร้อนกลายเป็นกระแสสังคมที่รังแต่จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้คนทั่วโลกหรือกระทั่งในบ้านเราเองหันมาใส่ใจและร่วมกันรณรงค์ใช้ชีวิตอย่างนึกถึงโลกใบนี้กันมากขึ้น โดยหนึ่งในวิธีที่มาแรงมากๆ คือการลดการซื้อของใหม่แล้วใช้ของมือสอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ ภาดา กาญจนภิญพงศ์ กับเพื่อนๆ จึงร่วมกันคิดแพลตฟอร์มส่งต่อของมือสองรูปแบบใหม่ที่มีชื่อว่า Tarket ซึ่งมีความแตกต่างจากแอปพลิเคชันขายของอื่นๆ ขึ้นมา ความพิเศษคือการเจาะกลุ่มผู้ใช้คนรุ่นใหม่ ทำให้มีการนำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์วัยรุ่นอย่างฟังก์ชันการปัดแบบแอปฯ เดตติ้ง ชอบ-ไม่ชอบชิ้นไหนก็ปัดใช่ปัดชอบได้ มากไปกว่านั้นตัวแพลตฟอร์มยังให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการแสดงข้อมูลต่างๆ อีกด้วย “ที่ผ่านมา เรายังไม่เคยเจอแพลตฟอร์มขายของมือสองไทยที่สร้างขึ้นมาเพื่อกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะ ก็เลยทำให้คิดว่านี่อาจเป็นอุปสรรคในการซื้อ-ขายของมือสองของคนรุ่นเราด้วยหรือเปล่า เราจึงสร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาพร้อมกับจุดดึงดูดใหม่ๆ ที่ปกติคนไม่น่าจะเคยเห็นกันในตลาดขายของออนไลน์” ตัวอย่างฟีเจอร์ใน Tarket ที่ภาดากับทีมวางแผนดีไซน์ไว้ มีดังนี้ – ให้อิสระกับคนซื้อในการเสนอราคาที่ชอบ และให้โอกาสกับคนขายให้เลือกราคาที่ใช่ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า – มี AI เช็กปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ของสินค้าชิ้นนั้นๆ แล้วเปลี่ยนเป็นแต้มส่วนลดได้ รวมถึงนำเสนอข้อมูลว่าเราช่วยโลกได้ยังไงอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น เสื้อที่คุณส่งต่อ ช่วยลดมลพิษเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 10 ต้น – มีความปลอดภัยสูง เพราะทุกคนต้องผ่านระบบการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้ นอกจากนี้ภาดายังเสริมถึงมิชชันระยะยาวของเขาอีกว่าต้องการที่จะเห็นคนรุ่นใหม่เปลี่ยนมายด์เซตเกี่ยวกับของมือสอง โดยหวังว่า Tarket จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างค่านิยมในการส่งต่อและใช้ของมือสองให้กลายเป็นเรื่องปกติ สนุก และไม่ว่าใครก็ทำได้เหมือนการซื้อของใหม่ […]

เวิลด์ทัวร์โฉมใหม่ของ Coldplay ตั้งเป้าลดการปล่อยคาร์บอน 50% และใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งคอนเสิร์ต

หลังจาก Coldplay ประกาศหยุดทัวร์คอนเสิร์ตมาตั้งแต่ปี 2019 เพื่อหาทางจัดคอนเสิร์ตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากที่สุด เพราะการออกทัวร์แต่ละครั้งเป็นหนึ่งในสาเหตุของ Climate Change จากการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางโดยใช้เครื่องบิน การขนส่งวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการแสดงบนเวที การใช้ไฟฟ้าต่อครั้งในปริมาณมาก หรือการผลิตสินค้าที่ระลึก  เนื่องจากสถานการณ์หลายๆ อย่างยังไม่เป็นใจ ทำให้ Coldplay ใช้เวลากว่า 2 ปี ทั้งศึกษาข้อมูล พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับการออกแบบคอนเสิร์ตให้ ‘ยั่งยืนที่สุด’ เท่าที่จะเป็นไปได้ และในที่สุดพ่อก็คัมแบ็กด้วยการประกาศเวิลด์ทัวร์ ‘Music of the Spheres’ ในปี 2022 พร้อมตั้งเป้าว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ตลอดทัวร์ลง 50% หรือเป็นศูนย์ให้จงได้! โดยแผนของพี่ในครั้งนี้ คือ Coldplay จะใช้พลังงานหมุนเวียนด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ จักรยานไฟฟ้า และพื้นพลังงานจลน์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและเก็บไว้ในแบตเตอรี่ที่เคลื่อนย้ายได้ ซึ่งร่วมมือกับ BMW สำหรับใช้ในคอนเสิร์ต ถัดมาพวกเขายังสนับสนุนให้แฟนๆ เดินทางไป-กลับด้วยการใช้ขนส่งแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะคำนวณปริมาณการปล่อยคาร์บอนจากการเดินทางแต่ละครั้งผ่านแอปฯ ทัวร์  รวมถึง Coldplay จะหลีกเลี่ยงเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ และจ่ายเงินเพิ่มเพื่อใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) ส่วนตัวเวทีจะสร้างจากวัสดุใช้ซ้ำและยั่งยืน เช่น […]

Terra Sustainability Pavilion พาวิลเลียนที่ทำจากเหล็กรีไซเคิลกว่า 97% ดีไซน์ให้เก็บได้ทั้งพลังงานน้ำและไฟฟ้า

Terra Sustainability Pavilion พาวิลเลียนที่ทำจากเหล็กรีไซเคิลกว่า 97% ดีไซน์ให้เก็บได้ทั้งพลังงานน้ำและไฟฟ้า

บริจาคพลาสติกให้ Qualy Design รีไซเคิลเป็นของแต่งบ้าน

ยิ่งอยู่บ้าน Work from Home กันนานๆ พลาสติกเริ่มจะล้นบ้านไม่มีที่ทิ้ง ไม่ว่าจะกล่องพลาสติกจากอาหาร ขวดน้ำ หรือ​​ขยะพลาสติกอื่นๆ ที่มาจากการบริโภคของเรา ขยะเหล่านี้มักจะถูกนำกลับมารีไซเคิลน้อยมาก ส่งให้ซาเล้งขายต่อก็ไม่ค่อยมีใครอยากจะรับ สุดท้ายจึงลงเอยที่เตาเผาหรือหลุมฝังกลบ ทั้งที่จริงๆ แล้วพลาสติกเหล่านี้ควรมีชีวิตใหม่ที่ดีกว่านี้  จะทิ้งก็เสียดาย จะขายก็ยาก Qualy Design แบรนด์ไทยที่ผลิตสินค้ารีไซเคิลจากขยะพลาสติกเป็นของน่าใช้ ดีไซน์เก๋ และส่งออกกว่า 60 ประเทศทั่วโลก จึงขอรับบริจาคพลาสติกเหลือใช้ที่ทำความสะอาดแล้วจากทุกบ้าน เพื่อนำมารีไซเคิลผลิตเป็นสินค้าใหม่ที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดีในโครงการ Qualy Circular (QC) และให้ส่วนลดในการซื้อสินค้าเป็นการตอบแทน รับรองว่าพลาสติกจากบ้านคุณจะแปลงโฉมเป็นของใช้ หรือของแต่งบ้านชิ้นใหม่ที่น่าใช้มากกว่าเดิม พลาสติกที่นำมาบริจาคทุกๆ 1 กก. สามารถใช้เป็นส่วนลด 20 บาท ต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น เฉพาะการซื้อสินค้าที่ Qualy Design Space ประเภทพลาสติกที่รับ ได้แก่ PETE / HDPE / LDPE / PP / […]

Stooping NYC : IG ชี้เป้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเด็ดแสนเก๋ถูกทิ้งทั่ว NYC ให้เจอบ้านใหม่

ถ้าอยากได้เฟอร์นิเจอร์แต่งบ้านเก๋ๆ สักชิ้นคุณจะเริ่มหาจากที่ไหน?  เราเชื่อว่า Journey ในการหาของทุกคนคงไม่ต่างกันมากนัก เริ่มจากค้นหาในเว็บไซต์ของแต่งบ้าน ตามหาร้านขายของแต่งบ้านวินเทจใน Instagram ไปเดินตามหาที่จตุจักร โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์นำเข้า โกดังญี่ปุ่นมือสอง หรือร้านเฟอร์นิเจอร์วินเทจ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นต้องใช้เงินทั้งสิ้น แต่ถ้าคุณอาศัยอยู่ที่นิวยอร์ก โอกาสที่คุณจะได้เฟอร์นิเจอร์สวยๆ หรือของใช้คุณภาพดีไปใช้ฟรีๆ มีอยู่จริง ถ้าคุณรู้จักคำว่า ‘Stooping’  ‘Stooping’ คือการอุปการะ (Adopt) สิ่งของที่คนแปลกหน้าวางทิ้งไว้ไปใช้ต่อ โดยของเหล่านี้มักจะวางไว้หน้าบ้าน บนทางเท้า ข้างถังขยะ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะติดป้ายบอกไว้เพื่อให้คนที่เดินผ่านไปมารู้ว่าสิ่งนี้สามารถหยิบไปใช้ต่อฟรีๆ ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่ต้องบอกใคร ในบางรัฐจะทิ้งไว้ตรงจุดที่ทิ้งขยะ อยากได้ชิ้นไหนก็ไปช้อปปิงกันได้เลย ส่วนคนที่ไปตามหาของเหล่านี้ไปใช้จะเรียกว่า ‘Stooper’ ซึ่งต้องเป็นคนที่มีหูตาไว หาของเก่ง และเลือกของเป็น จึงจะได้ของดีๆ มาใช้ บางคนตาดีมากจนได้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ๆ ติดมือกลับไป โซฟา ตู้ โต๊ะ เตียง ในอะพาร์ตเมนต์แทบจะไม่ต้องซื้อเลยสักชิ้น  วัฒนธรรมการวางเฟอร์นิเจอร์ หรือของเหลือใช้ที่ยังสภาพดีๆ ไว้บนทางเท้าเกิดขึ้นในนิวยอร์กมาหลายสิบปีแล้ว (มองเผินๆ เหมือนกำลังเตรียมขนของย้ายบ้าน เพราะของที่ถูกทิ้งอยู่ในสภาพดีมาก) แต่จริงๆ แล้วคือของเหลือทิ้งสภาพดีทั้งนั้น การ Stooping […]

ChopValue แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ ที่รีไซเคิลตะเกียบไม้ 33 ล้านคู่ เป็นของใช้และของเล่น ช่วยลดปริมาณขยะใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ตะเกียบไม้ดูเหมือนจะเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะย่อยสลายง่ายและทำจากวัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติ แต่ในความเป็นจริง เราต้องตัดต้นไม้จำนวนมากเพื่อนำมาผลิตเป็นตะเกียบใช้แล้วทิ้ง ที่จะอยู่กับเราเพียงอาหารหนึ่งมื้อเท่านั้น ChopValue บริษัทเฟอร์นิเจอร์ของแคนาดาจึงติดต่อร้านอาหารกว่า 300 ร้านในแวนคูเวอร์ เพื่อนำตะเกียบไม้ใช้แล้ว มารีไซเคิลให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้านสุดเก๋ เช่น โต๊ะ ชั้นวางของ เขียง หรือแม้แต่ของเล่นอย่างโดมิโน  พวกเขาจะนำตะเกียบที่รวบรวมได้ประมาณ 100 กิโลกรัมต่อวัน เข้าเครื่องจัดเรียง แล้วนำไปเคลือบเรซินเพื่อป้องกันการไหม้จากการอบฆ่าเชื้อโรคเป็นเวลา 5 ชั่วโมง จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบันพวกเขารีไซเคิลตะเกียบไม้ไปแล้วกว่า 33 ล้านคู่  เรียกว่าเป็นไอเดียที่สร้างสรรค์มากๆ เพราะนอกจากจะเป็นการลดขยะใช้ครั้งเดียวทิ้งแล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของตะเกียบไม้ได้นานขึ้นอีกด้วย ผู้ที่สนใจเลือกซื้อสินค้าได้ที่ https://chopvalue.com/  Source : Insider | https://bit.ly/3tXGln4 

นักศึกษาฝรั่งเศสปิ๊งไอเดีย เปลี่ยนหมากฝรั่งเคี้ยวแล้วเป็น ‘ล้อสเก็ตบอร์ด’ แก้ปัญหาขยะบนท้องถนน

ไม่น่าเชื่อเลยว่า ‘หมากฝรั่ง’ ที่เราหยิบขึ้นมาเคี้ยวเล่นเพลินๆ แล้วคายทิ้งเมื่อหมดรสหวานนั้น ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายกว่า 50 ปี Hugo Maupetit และ Vivian Fischer สองนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส ที่มีแนวคิดจะช่วยดูแลความสะอาดของถนนอย่างยั่งยืน จึงเกิดไอเดียนำหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วมาแปรรูปเป็นล้อสเก็ตบอร์ด ไอเทมที่กำลังฮิตกันอยู่ตอนนี้ พวกเขาบอกว่าเป็นการนำหมากฝรั่งที่เป็นขยะบนท้องถนนกลับคืนสู่ท้องถนนอีกครั้ง  วิธีการคือนำกระดานไปติดทั่วเมืองและในพื้นที่มีคน ทุกคนสามารถนำหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วมาแปะไว้ ทุกๆ สัปดาห์หมากฝรั่งเหล่านั้นจะถูกรวบรวมและส่งไปที่โรงงานเพื่อผสมพวกมันเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงแบ่งเป็นก้อนเล็กๆ แล้วเอาไปขึ้นรูป ทำเป็นล้อสเก็ตบอร์ด ขยะชิ้นเล็กๆ ใกล้ตัวที่เรามองข้ามจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืน Source : Yanko Design | https://bit.ly/3rUuzIw 

รัสเซียมีแผนใช้ป่าในประเทศ เป็นศูนย์กลางดักจับมลพิษขนาดใหญ่ ที่คาดว่าดูดซับคาร์บอนฯ ได้ 620 ล้านตัน

ปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษมากที่สุดในโลกเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้เอง รัสเซียจึงมีแผนที่จะใช้ป่าในประเทศ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียถึงสองเท่า หรือคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งโลก ให้เป็นศูนย์กลางดักจับคาร์บอนฯ ขนาดใหญ่ โดยคาดว่าจะดูดซับคาร์บอนฯ ได้เกือบ 620 ล้านตันเทียบเท่าปี 2018 ซึ่งเพียงพอที่จะชดเชยการปล่อยมลพิษในประเทศได้ราว 38 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้ ยังมีแผนเปิดแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อรวบรวมข้อมูลดาวเทียมและโดรนเกี่ยวกับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนฯ ของป่าไม้ในประเทศอีกด้วย หลายฝ่ายมองว่าการปลูกต้นไม้ไม่สามารถช่วยลดคาร์บอนฯ ในชั้นบรรยากาศ พวกเขาแค่ต้องการลบคำครหาที่ว่าเป็นผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่ที่สุดของโลก และต้องการสร้างรายได้โดยการให้องค์กรอื่นๆ เช่าพื้นที่ตรงนี้ เพื่อปลูกป่าชดเชยที่ปล่อยคาร์บอนฯ ค่อนข้างน่าจับตามองว่า หลังจากนี้รัสเซียจะเดินหน้าต่ออย่างไรท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ ถ้าพวกเขาทำได้จริงๆ ก็ถือเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง Sources :Bloomberg | https://bloom.bg/3sZg5IyEarth | https://bit.ly/3wJhaGD 

Kuube ม้านั่งพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ชาร์จแบตและเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ ให้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น

ลองคิดภาพเล่นๆ ถ้าพื้นที่สาธารณะใกล้บ้านเรามีที่นั่งพักที่ชาร์จแบตและเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ฟรี เราก็คงอยากออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านกันมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าแบตมือถือจะหมดหรือต้องเสียเงินเข้าคาเฟ่ เพื่อแลกกับการเข้าถึงความสะดวกสบายเหล่านี้ ‘Kuube’ คือม้านั่งอัจฉริยะสัญชาติฮังการี ออกแบบโดยอดีตพนักงานกราฟิกดีไซน์ที่เชื่อว่าความยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนา โดยเป้าหมายของพวกเขาคือการได้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองอัจฉริยะยั่งยืนผ่าน Micro-Mobility หรืออุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานจากตัวมันเอง Kuube เป็นม้านั่งที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวเมืองและนักท่องเที่ยวได้ใช้งาน แถมยังเป็นการสนับสนุนให้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้นอีกด้วย ตัวเครื่องเป็นอะลูมิเนียมสเตนเลสที่รีไซเคิลได้ มีกระจกนิรภัยที่ทนทานต่อสภาพอากาศและทำความสะอาดง่าย มีหน้าจอแสดงผลที่ให้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ตอนนี้สภาพอากาศเป็นอย่างไร อุณหภูมิเท่าไร โดยเก้าอี้ชนิดนี้ถูกออกแบบมา 3 ขนาด ได้แก่ ‘Kuube Eco’ ม้านั่งขนาดเล็ก ‘Kuube Nano’ ม้านั่งขนาดกลาง และ ‘Kuube Plus’ ม้านั่งขนาดใหญ่ที่นั่งได้ถึง 8 คน ซึ่งแต่ละขนาดจะมีฟังก์ชันจำเป็นต่างๆ เช่น พอร์ต USB ที่ชาร์จไร้สาย และ Wi-Fi เหมือนกันแต่มีจำนวนต่างกันไป  เรียกว่าเป็นการออกแบบที่ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของความสะดวกสบายและความยั่งยืน ถ้าใครสนใจอยากเป็นเจ้าของม้านั่งพลังงานแสงอาทิตย์นี้ ก็ติดต่อสั่งซื้อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://kuube.hu/en/  Sources :Kuube | https://kuube.hu/en/ Yanko […]

1 4 5 6 7 8 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.