REX เก้าอี้รีไซเคิลจากขยะ ที่ขายคืนได้หลังไม่ใช้งานแล้ว

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยซื้อเก้าอี้สักตัวมาด้วยความคิดว่าจะใช้ไปนานๆ แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป เก้าอี้ตัวนั้นอาจหมดความหมาย ถูกทิ้งขว้างกลายเป็นขยะชิ้นโตในบ้าน ครั้นจะนำไปทิ้งก็เสียดาย จะขายต่อก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะยึดมั่นในแนวคิดการใช้โปรดักต์อย่างยั่งยืน Ineke Hans ดีไซเนอร์แห่ง Circuform แบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติดัตช์ จึงคิดและออกแบบ REX เก้าอี้รีไซเคิลที่ลูกค้าสามารถนำมาขายคืนหลังใช้งานแล้วเป็นเวลานานได้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก Hans ต้องการออกแบบเก้าอี้ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ผ่านการคิดนวัตกรรมที่ครอบคลุมตั้งแต่จุดกำเนิดไปจนถึงจุดสิ้นสุดของวงจรชีวิตโปรดักต์ เพื่อใช้งานมันให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด REX เป็นเก้าอี้ที่ทำด้วยพลาสติกรีไซเคิลจากอวนจับปลา แปรงสีฟัน ส่วนประกอบเก้าอี้สำนักงาน และขยะอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งแบรนด์จะคืนเงินมัดจำที่รวมในราคาขาย 20 ยูโรให้ลูกค้าเมื่อส่งคืนเก้าอี้หลังไม่ใช้งานแล้ว โดยจะนำมาซ่อมแซมเพื่อใช้งานอีกครั้ง หรือกระทั่งนำมารีไซเคิลเพื่อสร้างเก้าอี้ตัวใหม่ “มันเป็นเก้าอี้ที่จะอยู่ต่อไปอีกนาน แต่ความจริงแล้วผู้คนไม่ได้ใช้งานมันนานเช่นนั้น บางครั้งพวกเขาอยากใช้งานแค่หกเดือน อย่างงานที่จัดขึ้นชั่วคราวหรืออีเวนต์ต่างๆ” Hans อธิบายและเสริมอีกว่าเธออยากเห็นโลกที่บริหารจัดการกับของมือสองอื่นๆ เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เก้าอี้ที่เธอออกแบบประกอบด้วยสองส่วนหลัก นั่นคือ ส่วนเบาะนั่งกับขา และพนักพิงแขนที่แยกออกมาโดยสามารถเสียบเข้ากับช่องว่างด้านหลังเบาะ แถมยังเพิ่มที่พักแขนได้ สอดคล้องกับจุดประสงค์ในการเป็นเก้าอี้ที่เหมาะกับทุกคน ขณะเดียวกันตัวบริษัทผู้ผลิตเองก็จัดตั้งสถานีรับคืนเก้าอี้ไว้หลายแห่งทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการคืนโปรดักต์ให้ลูกค้า ไม่ใช่แค่ออกแบบแล้ววาดฝันกระบวนการขึ้นมาลอยๆ เท่านั้น เรียกว่าคิดมาครบตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำจริงๆ Source : dezeen | https://bit.ly/3nLGnNd

ยกระดับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Starbucks สาขาใหม่ในเซี่ยงไฮ้ ใช้เฉพาะแก้วรียูส และแต่งร้านด้วยวัสดุรีไซเคิล

หลังจากก่อนหน้านี้เคยเปลี่ยนจากหลอดพลาสติกเป็นหลอดกระดาษเพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาแล้ว ล่าสุด Starbucks สาขาใหม่ในเซี่ยงไฮ้ จะเลิกเสิร์ฟกาแฟในแก้วกระดาษ และเปลี่ยนแก้วทุกใบในร้านให้เป็นประเภทที่นำกลับมาใช้งานใหม่ได้เท่านั้น  ไม่เพียงแต่ภาชนะ เพราะการตกแต่งภายในของสาขานี้มีการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้งานมากถึงครึ่งหนึ่งของร้าน รวมถึงส่วนประกอบต่างๆ เช่นบันได หรือประตูก็ถูกนำมาจากสตาร์บัคส์สาขาอื่นในเมืองที่กำลังอยู่ระหว่างการรีโนเวต พร้อมออกแบบเคาน์เตอร์บาร์ให้แยกชิ้นส่วน และประกอบเข้าด้วยกันใหม่ได้ง่าย เพื่อความสามารถในการเคลื่อนย้ายในอนาคต ร้านกาแฟที่อยากเป็นบ้านหลังที่สามสำหรับทุกคนในสาขานี้ยังมีอีกหลายกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่นำกากกาแฟทั้งหมดไปหมักหรือรีไซเคิล ใช้ใบเสร็จและเมนูแบบดิจิทัลแทนกระดาษ ให้บาริสต้าใส่ผ้ากันเปื้อนที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล และพื้นที่ของร้านจะเปิดโอกาสให้ดีไซเนอร์ท้องถิ่นนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อโลกมาจำหน่ายภายใต้แนวคิดการออกแบบหมุนเวียน (Circular Design) ซึ่งเป็นคอนเซปต์เดียวกันกับร้านนี้ด้วย คาเฟ่แห่งนี้ยังใช้หลักการ Greener Store ที่กำหนดมาตรฐานความยั่งยืนต่างๆ เช่นการควบคุมอุณหภูมิ การลดคาร์บอนฟุตพรินต์ การใช้พลังงานหมุนเวียน หรือการประหยัดน้ำซึ่งถูกนำไปใช้แล้วกับสตาร์บัคส์ 2,000 สาขา ในอเมริกาและแคนาดา ซึ่งสตาร์บัคส์วางแผนจะสร้างหรือปรับปรุงร้านกาแฟอีก 10,000 สาขา ทั่วโลกให้ได้มาตรฐานเดียวกันนี้ในอีก 4 ปีข้างหน้า 

บริจาคพลาสติกให้ Qualy Design รีไซเคิลเป็นของแต่งบ้าน

ยิ่งอยู่บ้าน Work from Home กันนานๆ พลาสติกเริ่มจะล้นบ้านไม่มีที่ทิ้ง ไม่ว่าจะกล่องพลาสติกจากอาหาร ขวดน้ำ หรือ​​ขยะพลาสติกอื่นๆ ที่มาจากการบริโภคของเรา ขยะเหล่านี้มักจะถูกนำกลับมารีไซเคิลน้อยมาก ส่งให้ซาเล้งขายต่อก็ไม่ค่อยมีใครอยากจะรับ สุดท้ายจึงลงเอยที่เตาเผาหรือหลุมฝังกลบ ทั้งที่จริงๆ แล้วพลาสติกเหล่านี้ควรมีชีวิตใหม่ที่ดีกว่านี้  จะทิ้งก็เสียดาย จะขายก็ยาก Qualy Design แบรนด์ไทยที่ผลิตสินค้ารีไซเคิลจากขยะพลาสติกเป็นของน่าใช้ ดีไซน์เก๋ และส่งออกกว่า 60 ประเทศทั่วโลก จึงขอรับบริจาคพลาสติกเหลือใช้ที่ทำความสะอาดแล้วจากทุกบ้าน เพื่อนำมารีไซเคิลผลิตเป็นสินค้าใหม่ที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดีในโครงการ Qualy Circular (QC) และให้ส่วนลดในการซื้อสินค้าเป็นการตอบแทน รับรองว่าพลาสติกจากบ้านคุณจะแปลงโฉมเป็นของใช้ หรือของแต่งบ้านชิ้นใหม่ที่น่าใช้มากกว่าเดิม พลาสติกที่นำมาบริจาคทุกๆ 1 กก. สามารถใช้เป็นส่วนลด 20 บาท ต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น เฉพาะการซื้อสินค้าที่ Qualy Design Space ประเภทพลาสติกที่รับ ได้แก่ PETE / HDPE / LDPE / PP / […]

ประกาศออกไปให้โลกรู้ Green Road เปิดรับบริจาคถุงวิบวับ และถุงก๊อบแก๊บจนกว่าจะหมดโลก

“รับบริจาคถุงวิบวับและถุงก๊อบแก๊บจนกว่าจะหมดโลก” โครงการดีๆ จาก Green Road องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่รับบริจาคขยะพลาสติกมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ คืนให้กับสังคม โดยในคราวนี้มาพร้อมแคมเปญใหม่เพื่อเชิญชวนให้ทุกคน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น ผ่านการบริจาคขยะพลาสติกจากถุงวิบวับ ทำความเข้าใจกันสักหน่อยเกี่ยวกับ “ถุงวิบวับ” คือถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ประเภทกาแฟ เครื่องดื่ม ขนม เครื่องสำอาง ยา ฯลฯ ทำจากฟิล์มพลาสติกจำพวก Nylon, PET, LLDPE ประกบเข้ากับแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ด้วยความร้อน ทำให้มีข้อดีในการป้องกันความชื้น กันแสงแดด และอากาศได้ดี แต่มีข้อเสียที่ใหญ่หลวงคือการนำกลับไปรีไซเคิลยาก เพราะต้องแยกฟิล์มแต่ละชั้นออกจากกันก่อน ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าขยะพลาสติกทั่วไป จนกลายเป็นปัญหาส่งผลให้หลายๆ ที่ไม่รับซื้อหรือรับบริจาคขยะประเภทนี้ไปรีไซเคิล แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ผนวกกับการศึกษาวิจัยและพัฒนาทำให้ทาง Green Road สามารถนำถุงวิบวับ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลร่วมกับถุงก๊อบแก๊บจนนำกลับมาผลิตใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling อาทิโต๊ะ เก้าอี้ บล็อกปูพื้น รวมไปถึงผนัง พื้น หลังคาบ้าน เพื่อนำไปบริจาคให้กับโรงเรียน วัด อุทยานแห่งชาติ รวมถึงพื้นที่สาธารณะ นับเป็นการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทยที่น่าสนใจ และเราทุกคนก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับการเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้อย่างง่ายๆ เพียงเริ่มจากการแยกขยะพลาสติกใกล้ตัว สำหรับท่านที่สนใจบริจาคสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3i3JOgK […]

อังกฤษเปิดตัวแคมเปญ ‘Retask the Mask’ เปลี่ยนหน้ากากอนามัยใช้แล้วเป็นที่คีบขยะ

ตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 ‘หน้ากากอนามัย’ ก็กลายมาเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของมนุษย์ไปโดยปริยาย เมื่อความต้องการเพิ่มมากขึ้น แน่นอนว่าผลที่ตามมาคือขยะจากหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งกว่า 129 พันล้านชิ้นต่อเดือน แถมเมื่อปีที่แล้วยังพบเป็นขยะลอยอยู่ในทะเลกว่า 1.5 พันล้านชิ้นอีกด้วย Waterhaul องค์กรเพื่อสังคมในอังกฤษ จึงคิดแคมเปญรักษ์โลกที่ชื่อว่า ‘Retask the Mask’ ขึ้นมา พวกเขาจะนำหน้ากากอนามัยใช้แล้วเข้าเตาหลอม เพื่อฆ่าเชื้อและทำให้หน้ากากอนามัย 6,000 ชิ้นกลายเป็นก้อนเดียวกันในแผนกปลอดเชื้อ โรงพยาบาล Royal Cornwall ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส จากนั้นก็จะผลิตเป็นเม็ดพลาสติก แล้วนำเข้าแม่พิมพ์ ขึ้นรูปเป็นที่คีบขยะ  เพียง 5 ชั่วโมงหลังการเปิดตัว แคมเปญนี้ก็ได้รับเสียงชื่นชมว่าเป็นแนวคิดการรีไซเคิลที่ฉลาด เพราะจากขยะหลายพันล้านชิ้น กลายมาเป็นอุปกรณ์ช่วยกำจัดขยะ ที่สร้างประโยชน์ให้โลกต่อไป  ผู้ที่สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3xoJPRI  Sources :Kickstarter | https://bit.ly/3xoJPRI Waste-Ed | https://bit.ly/32USZaD 

โรงละครอังกฤษเตรียมสร้าง Croquet Pavilion ศาลาที่ทำจากจุกแชมเปญและเปลือกหอย

ในพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัย ย่อมมีขยะเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งในแต่ละเมืองก็จะมีนโยบายกำจัดขยะต่างกันออกไป สิ่งที่เราจะช่วยกันได้ง่ายที่สุด ก็คงจะเป็นการนำขยะบางส่วนที่ยังพอใช้ได้มารีไซเคิลเพื่อลดขยะ สตูดิโอออกแบบ BakerBrown จึงปิ้งไอเดียสร้างอาคารจากขยะและวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ในท้องถิ่น โดยพวกเขาดีไซน์ศาลาในสวนให้โรงโอเปร่า ‘Glyndebourne’ ของประเทศอังกฤษ โดยการนำขยะจากงานเลี้ยงที่จัดในโรงละครมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น นำ ‘จุกแชมเปญ’ มาใช้แทนปูนปลาสเตอร์ นำ ‘เปลือกหอยนางรม’ และ ‘เศษแก้ว’ มาทำกระเบื้องมุงหลังคาแทนการใช้คอนกรีต รวมถึง ‘ไม้แอช’ พืชท้องถิ่นมาทำเป็นโครงสร้างหลักของตัวศาลา  ไม่เพียงเท่านั้น ศาลาแห่งนี้ยังถูกออกแบบให้แยกโครงสร้างออกจากกันได้ เพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับอาคารอื่นๆ ในอนาคต แถมยังมีแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอนการก่อสร้างอีกด้วย ศาลารักษ์โลกนี้มีกำหนดเริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2021 หลังรวบรวมขยะจากเทศกาลโอเปร่าที่จะจัดขึ้นในปีนี้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

‘แยก-ทิ้ง-เก็บ’ สไตล์เยอรมัน จนได้แชมป์โลกรีไซเคิลขยะ

เวลาเจอขยะ 1 ชิ้น คุณทำอย่างไร หยิบไปทิ้งเลย หรือยืนคิดสักประเดี๋ยวว่าเจ้าขยะชิ้นนี้ควรจัดการอย่างไร สำหรับชาวเยอรมนีคงเป็นอย่างหลัง พวกเขาจะประมวลผลการจัดการเหล่าขยะอย่างตั้งใจ จะเริ่มคิด วิเคราะห์ ไปจนถึงแยกชิ้นส่วนขยะ ให้สมกับตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกด้าน ‘การรีไซเคิลขยะชุมชน’ ในปี 2017 ซึ่งรีไซเคิลได้ถึง 56.1% (จัดอันดับโดย Eunomia บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอิสระในสหราชอาณาจักร) เราเองในฐานะที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเลยมีเรื่องราวการแยกขยะแบบฉบับเยอรมนีมาฝากกัน เริ่มตั้งแต่นโยบายรัฐในการจัดการ การแยก การลดปริมาณขยะ ไปจนถึงโครงการต่างๆ จากภาคเอกชนที่สนับสนุนการลดขยะในเมือง | ฉันแยกและทิ้งแบบมีระบบ นโยบายการทิ้งขยะในครัวเรือนของประเทศเยอรมนีมีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละเมือง ซึ่งขึ้นกับรัฐอีกทีว่ามีรูปแบบการกำจัดขยะอย่างไร แต่โดยรวมแล้วการแยกขยะในครัวเรือนแบ่งได้ตามนี้ 1.ขวดน้ำ กระป๋อง ขวดแก้วที่มีค่ามัดจำขวด – นำไปคืนเพื่อรับเงินตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ (ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละที่จะรับคืนขวดแบบไหนด้วยนะ) นอกจากนี้อาจวางไว้ข้างถังขยะ ให้ผู้คนที่หาเงินจากการเก็บขวดคืนมารับไป 2.ขยะรีไซเคิล เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก ขวดแก้วสีต่างๆ อะลูมิเนียม – เหล่านี้จะมีรายละเอียดเฉพาะของแต่ละเมือง เช่น มิวนิกจะตั้งคอนเทนเนอร์รอบเมืองให้คนทิ้งขยะรีไซเคิลที่ล้างมาเรียบร้อยแล้ว  3.เสื้อผ้าและรองเท้า – บริจาคได้ตามตู้รับบริจาครอบเมืองต่างๆ มีหลายองค์กรที่เปิดรับ เช่น สภากาชาดเยอรมนี ซึ่งรับบริจาคเพื่อนำไปขายมือสองต่อให้กลุ่มคนรายได้น้อย […]

‘Upcycle’ ผ้าห่มจากพลาสติก ทางออกใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาขยะที่ยั่งยืน

‘พิษจาก COVID-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพจิตของพวกเราทุกคนเพียงเท่านั้น’ แต่ยังส่งผลกระทบต่อโลกไม่น้อยเลยทีเดียว New Normal ทำให้ผู้คนหันมาอยู่บ้านมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากความหวาดระแวงไม่อยากพบเจอผู้คน จึงทำให้ไม่อยากออกจากบ้านไปไหน เพื่อลดอัตราความเสี่ยงต่อโรค COVID-19 อีกทั้งความนิยมที่พุ่งสูงของบริการ Food Delivery ที่แม้จะทำให้เราสะดวกสบาย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยปริมาณขยะพลาสติกที่สูงขึ้นเช่นกัน ท่ามกลางความสะดวกสบายกลับส่งผลกระทบที่ไม่คาดคิดเมื่อขยะพลาสติกจำนวนมากจากระบบ Food Delivery และ Online Shopping ส่งผลให้ขยะพลาสติกในกรุงเทพมหานครเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 60 ในช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นปัญหาพลาสติกในท้ายที่สุด ปัญหาของขยะพลาสติก ในหนึ่งวันคนกรุงเทพฯ สร้างขยะจำนวนมากถึง 10,500 ตัน คิดเป็นขยะพลาสติกประมาณร้อยละ 20 หรือ 2,000 ตันต่อวัน แต่หลังจากการเข้ามาของ COVID-19 ทำให้ปริมาณขยะโดยรวมลดลงคิดเป็นร้อยละ 11 เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับน่ากลัวกว่าที่คิดเพราะถึงแม้ขยะโดยรวมจะลดลง แต่ปริมาณขยะพลาสติกกลับเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นกังวล โดยมีจำนวนขยะพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 60 ในกรุงเทพมหานคร กลายเป็นปัญหาในเรื่องการจัดการขยะ นั่นเป็นเพราะถ้าเทียบกับขยะชนิดอื่นๆ แล้ว ขยะพลาสติกนั้นกำจัดยากกว่าขยะชนิดอื่น เนื่องจากพลาสติกถูกออกแบบมาให้มีความคงทนในการใช้งาน ซึ่งตัวมันเองตอบโจทย์การทำงานอย่างสูง แต่อาจจะดีเกินไปสักหน่อย จนไม่ตอบโจทย์การจัดการสักเท่าไหร่ กลายเป็นข้อเสียที่ใหญ่หลวงเพียงข้อเดียวคือ […]

Hugely แบรนด์ที่เปลี่ยนสายดับเพลิงเก่า ให้เป็นกระเป๋าที่ทิ้งร่องรอยความถึกทนเอาไว้

ชวนสัมผัสเบื้องหลังกระเป๋าสุดอึด ถึก ทน Hugely ที่นักออกแบบหยิบสายดับเพลิงเก่ามาแปลงร่างจนน่าใช้

VINNA เครื่องประดับสุดยูนีคที่เกิดจาก “ขยะ” ต้นองุ่นในไร่ไวน์หลังบ้าน

แนวคิด Fast Fashion หรือการผลิตสินค้าแฟชั่นด้วยต้นทุนที่ถูกที่สุด ผลิตให้ได้ปริมาณมากที่สุด และเร่งขายให้รวดเร็วที่สุด โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนี้ มีกระแสต่อต้านมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษและทำลายโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยทีเดียว

เสิร์ฟความมันส์แบบรักษ์โลก ! กับ ‘สเก็ตบอร์ด’ ที่รีไซเคิลจากส้อมไม้ 800 คัน

ดีไซเนอร์ชื่อ ‘Jason Knight’ จึงปิ้งไอเดียทำแผ่นกระดานสเก็ตบอร์ดจากขยะพลาสติกรีไซเคิลแบบ 100% ที่มีชื่อว่า ‘Skateboard Decks’ ที่ไม่ได้เน้นแค่ความสวยงาม แต่เพิ่มความแข็งแรงทนทานเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะหล่นหรือโดนกระแทกแรงแค่ไหนก็หายห่วง

ปิ่นโตจากเปลือกโกโก้และใยธรรมชาติ จากฝีมือนักออกแบบชาวลอนดอนที่อยากให้ขยะพลาสติกให้หมดไป

สตูดิโอดีไซน์จากลอนดอน PriestmanGoode หยิบเปลือกโกโก้มาแปลงร่างเป็น ‘ปิ่นโต’ ที่ช่วยลดขยะภาชนะจากฟู้ดเดลิเวอรี

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.